เรื่องเด่น ตำนานบทสวดมนต์ ตอน คาถาพญาไก่เถื่อนยอดคาถาสำเร็จทั้งปวง

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 13 กรกฎาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    .
    ตำนานบทสวดมนต์ ตอน คาถาพญาไก่เถื่อนยอดคาถาสำเร็จทั้งปวง
    20046706_10213693329677195_5224643283606939274_n.jpg
    พระเถราวุฒาจารย์ ครูบารุ่งเรือง ได้สอนพระคาถา แก่ สมเด็จพระสังฆราชสุก กล่าวว่าเป็นคาถานํา พระคาถาทั้งปวง ใช้ในทางสําเร็จประโยชน์ ผู้ใช้พระคาถานี้ ต้องมีสมาธิจิตเป็นเอกัคตาจิตชั้นสูง ถึงเมตตาเจโตวิมุตติ จึงจะใช้พระคาถานี้ได้
    เพราะเป็นพระคาถา ปลดปล่อยสัตว์ และปลดปล่อยจิตตัวเอง
    พระอริยเถราจารย์ครูบารุ่งเรือง ท่านเห็นธรรมอะไร ในพระคาถา พระยาไก่เถื่อนบ้าง พระอาจารย์สุกนั้นทรงใกล้ชิดกับไก่ป่า มาแต่ยังทรงพระเยาว์ และทรงเรียนรู้ พระคัมภีร์มิลินท์ปัญหา มาแล้ว พระองค์ท่านจึงทราบธรรม ที่เกียวกับไก่ป่าอย่างมากมาย
    ทรงกล่าวกับพระอริยเถราจารย์ว่า
    ไก่ป่านี้ปราศเปรียว คอยหนีคน หนีภัยอย่างเดียว เหมือนกับจิตของคน ไก่ป่าเชื่องคนยากเหมือนจิตของคนเรา ซึ่งเชื่องต่ออารมณ์ยากมากเหมือนกัน ไก่ป่าแม้เสกข้าวด้วยเมตตาให้กิน แรกๆมันก็ไม่กล้าเข้ามาหาคน นานๆเข้าจึงจะกล้าเข้ามาหาคน เหมือนจิตคนเราก็ชอบท่องเทียว ไปไก :040:ลตามธรรมารมณ์ต่าง ฝึกตั้งจิตเป็นสมาธิแรกๆนั้น จิตมักจะอยู่พักเดียวก็เตลิดไป ต่อๆนาน จิตชินกับอารมณ์ดีเเล้ว จึงจะเชื่องและ ตั้งมั่นเป็นสมาธิ
    พระอริยเถราจารย์ครูบารุ่งเรือง ถามพระอาจารย์สุกอีกว่า
    พระคาถาไก่เถื่อน สี่วรรค แต่ละวรรค กลับไป-กลับมา เป็น อนุโลม-ปฏิโลม หมายถึงอะไร
    พระอาจารย์สุกตอบว่า
    แต่ละวรรค หมายถึงโลกธรรมแปด วรรคหนึ่งหมายถึง มีลาภเสื่อมลาภ วรรคสองหมายถึง มียศเสื่อมยศ วรรคสามหมายถึง มีสรรเสริญก็มีนินทา วรรคสี่ หมายถึงมีสุขก็มีทุกข์ ทุกอย่างย่อมแปลปรวนมีดีและมีชั่ว
    ไม่แน่นอน ไม่ควรยึดติด มีหยาบ ก็มีละเอียด
    ต่อมาพระอาจารย์สุก ทรงยกคุณแห่งไก่ป่าใน มิลินท์ปัญหา มาให้พระอริยเถราจารย์ครูบารุ่งเรืองฟังว่า ผู้ที่จะบรรลุ มรรค ผล นิพพานต้องประกอบด้วย คุณสมบัติอันเปรียบเทียบได้กับไก่ หรือไก่ป่า มี 5 ประการดังนี้คือ
    1.เมื่อเวลายังมืดอยู่ ก็ไม่บินลงหากิน
    2.พอสว่างก็บินลงหากิน
    3.จะกินอาหารต้องใช้เท้าเขี่ยเสียก่อน แล้วจึงจิกกิน
    4.กลางวันมีตาใสสว่างเห็นอะไร ได้ถนัดแต่เวลากลางคืน ตาฟางคล้ายคนตาบอด
    5.เมื่อถูกเขาขว้างปา หรือถูกตะเพิดไม่ให้เข้ารัง ก็ไม่ทิ้งรังของตน นี้ เป็นองค์คุณ 5 ประการของไก่
    ผู้มุ่งมรรคผลต้องประกอบให้ได้กับคุณสมบัติ อันเปรียบเทียบได้กับ องค์คุณเหล่านี้
    1.เวลาเช้าปัดกวาดที่อยู่และจัดตั้งเครื่องใช้สอย ให้เรียบร้อย อาบนํ้าชําระกายให้สะอาด บูชากราบไหว้ปูชนียวัตถุ
    2.ครั้นสว่างแล้วจึงกระทําการ หาเลี้ยงชีพ ตามหน้าที่ของเพศตน
    3.พิจราณาก่อนแล้วจึงบริโภค ดังพุทธภาสิตว่า ผู้บริโภคอาหารพึงพิจราณา เห็นเหมือนคนบริโภคเนื้อบุตร ของตนในทางกันดาร และไม่มัวเมา มุ่งแต่ทรงชีวิตไว้ เพื่อทําประโยชน์สุขแก่ตน และผู้อื่น
    4.ตาไม่บอดก็พึงทําเหมือนคนตาบอด คือไม่ยินดียินร้าย ดุจภาษิต ที่พระมหากัจจายนะ กล่าวไว้ว่า มีตาดีก็พึงทําเหมือนคนตาบอด มีหูดีก็พึงเป็นเหมือนหูหนวก มีลิ้นเจรจาได้ก็พึงเหมือนเป็นใบ้ มีกําลัง ก็พึงเหมือนคนอ่อนเพลีย เรื่องร้ายเกิดขึ้น ก็พึงนอนนิ่งเสีย เหมือนคนนอนเฉยอยู่ฉะนั้น
    5.จะทํา จะพูด ไม่พึงละสติ สัมปชัญญะ ประหนึ่ง ไก่ป่า ไม่ทิ้งรังฉะนั้น

    ถ้าปฏิบัติได้ อย่างนี้ จะบรรลุมรรคผลนิพพาน

    พระคาถานี้แต่ก่อน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กะฐานธรรม แต่ภายหลัง ถึงยุคพระอาจารย์สุก พระคาถานี้จึงเรียกขานใหม่ว่า พระคาถาไก่เถื่อนบ้าง พระคาถาพระยาไก่เถื่อนบ้าง

    พระคาถาบทนี้ทางภาคเหนือเรียกว่า พระคาถาไก่แก้ว กุกลูกพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านทรงออกรุกข์มูลไปได้ ประมาณปีเศษก็เข้าสู่เขตป่าใหญ่ แขวงเมืองเชียงใหม่ ท่านใช้เวลาอยู่ที่ป่า แขวงเมืองเชียงใหม่ ป่าแขวงเชียงราย ป่าแขวงเชียงแสน เกือบปี พระองค์ท่านทรงพบพระมหาเถรวุฒาจารย์ ผู้ทรงอภิญญามากมาย ทั้งที่เชี่ยวชาญในด้านกสิณดิน กสิณไฟ กสิณลม กสิณน้ำ และเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระ

    ต่อมาพระอาจารย์สุกฯ มาถึงวัดท่าหอยแล้ว พระองค์ท่าน ก็ทรงแปลง พระคาถาพระยาไก่เถื่อน เป็นรูปยันต์ เรียกว่าพระยันต์ มหาปราสาท ไก่เถื่อน ตามนิมิตสมาธิเวลาลงพระคาถาพระยา ไก่เถื่อน ลงเป็นยันต์มหาประสาท ให้ลงด้วยเงินก็ดีทองก็ดี ผ้าก็ดี กระดาษก็ดี

    ลงแล้วเสกด้วย พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๓ จบ ไปเทศนาดีนัก เป็นเมตตาแก่คนทั้งหลาย เกิดความศรัทธาในตัวเรา (ไก่ร้อง เสียงฟังได้ไกล)เอายันต์นี้ ไปกับตัวค้าขายดีนัก เกิดลาภสักการะ มากกว่าคนทั้งหลาย เหมือนไก่ป่า ขยันหากินให้เขียนยันต์ปราสาทไก่เถื่อน ไว้กับเรือน เวลาเขียน ให้แต่งเครื่องบูชาครูสิ่งละ ๑๖ คือ ข้าวตอก ๑๖ ถ้วยตะไล ดอกไม้ ๑๖ ถ้วยตะไล เทียน ๑๖ แท่ง ธูป ๑๖ ดอกข้าวเปลือก ๑๖ ถ้วยตะไล สิ่งของเหล่านี้วางบนผ้าขาว ให้เสกด้วยพระคาถาพระยาไก่เถื่อน ๑๐๘ จบ ๑๐๘ คาบ ให้อธิษฐานเอาตามแต่ปรารถนา กันโจรภัยอันตรายทั้งหลายมีชัยแก่ศัตรู ลงเป็นธงปักในนา กันแมลง มาเบียดเบียน เสกน้ำมันงาใส่แผล แลกระดูกหัก เสกข้าวปลูกงอกงามดี เสกน้ำมนต์พรมของกัมนัลพระยารักเราแล เสกเมตตาก็ได้ ถ้าต้องคุณโพยภัยใดๆ ให้เสกส้มป่อยสระหัวหายแล ใช้สารพัดตามแต่จะอธิษฐานเถิดฯ

    พระคาถา และยันต์ไก่เถื่อน นี้มีผู้คนเคารพเชื่อถือมาก และจะว่านำพระคาถาอื่นๆก่อนเสมอ โด่งดังมาจนถึงปัจจุบันนี้

    พระคาถานี้ ได้เมื่อ พระกกุสันโธ เป็นไก่ป่า เป็นอาการสามสิบสอง ของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ ประองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตยพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนี้ ได้ในสมัยพระพุทธเจ้า พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระศรีอริยเมตไตย ยังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็น พญาไก่เถื่อน แม้พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ก็เคยเกิดเป็น ไก่เถื่อน บำเพ็ญบารมีมา แต่การสร้างบารมีนั้น ต่างๆกัน

    และพระคาถาพระยาไก่เถื่อนนั้น ยังเป็นอาการสามสิบสอง ของพระอาจารย์สุกด้วย และเป็นตะปะเดชะ ของพระอาจารย์สุก ในเมตตาบารมีนี้ด้วยพระคาถาบทนี้ ถ้าจำเริญภาวนา จะมีอานุภาพมาก ผู้ใดภาวนาเป็นนิจสิน จะเกิดลาภ ยศ มิรู้ขาด ทำมาค้าขึ้น ทำนา ทำสวน ทำไร่ เจริญงอกงามดี ทั้งทำให้บังเกิดสติปัญญาด้วย ถ้าเดินทางไป ทางบก หรือเข้าป่า สวดภาวนาคลาดแคล้ว จากภัยอันตรายดีนักแล บั้นปลายก็จะ บรรลุพระนิพพาน ด้วยเมตตาบารมีนี้

    คัดความจาก

    หนังสือ พระวัติสมเด็จพระสังราชสุก ไก่เกื่อน ยุคกรุงศรีอยุธยา บรมครูฝ่ายวิปัสสนาธุระ ประจำยุครัตนโกสินทร์ และพระธรรมทายาท คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับอานุภาพของการสวด"พระคาถาไก่เถื่อน" มีดังนี้ครับ

    ๑. พระคาถาไก่เถื่อนนี้ผู้ใดภาวนาได้ 3 เดือน ทุกๆวันอย่าได้ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญาดังพระพุทธโฆษาจารย์
    ๒. แม้สวดเทศนาร้องหรือพูดจาสิ่งใดให้สวดเสีย สามที่ มีตบะเดชะนัก
    ๓. แม้สวดได้ถึงเจ็ดเดือนอาจสามารถรู้ใจคน
    ๔. ถ้าสวดได้ครบ 1 ปี มีตบะเดชะนัก ทรงธรรมรู้ยิ่งกว่าคนทั้งหลาย
    ๕. แม้จะเดินทางไกลให้สวด 8 ทีเป็นสวัสดีแก่คนทั้งหลาย

    ๖. ให้เสกหินเสกแร่ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายเข้าปล้นสะดมมิได้ ผีร้ายมิกล้าเข้ามาในเขตบ้าน คร้ามกลัวยิ่งนัก คนเดินไปถูกเข้าก็ล้มลงแล แพ้อำนาจแก่เรา
    ๗.ให้เขียนอักขระนี้ลงเป็นยันต์ประสาท ลงด้วยเงินก็ดี ทองก็ดี เอาพระคาถานี้เสก 3 คาบไปเทศนาดีนักเป็นเมตตาแก่คนทั้งหลายให้เขียนยันต์ประสาทนี้ไว้กันเรือน กันโจรภัย อันตรายทั้งหลาย

    ๘. เสกปูน ใส่บาดแผลและฝีดีนัก
    ๙. เสกน้ำมันงาใส่กระดูกหัก
    ๑๐. เสกเมล็ดข้าวปลูกงอกงามดีนัก
    ๑๑. เสกน้ำมนต์พรมของกำนัลไปให้ขุนนางท้าวพระยา รักเราแล
    ๑๒. เสกหมาก เมี่ยงทางเมตตา
    ๑๓. ต้องยาแฝด ต้องภัยอันตรายต่างๆก็ดี ให้เสกส้มป่อยหายสิ้นแล
    ๑๔. พระคาถานี้ผู้ใดทรงไว้มีปัญญามาก
    จากหนังสือพระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน
    วัดราชสิทธาราม(พลับ)

    พระคาถาว่าดังนี้
    นโมสามจบ
    คาถาหัวใจไก่เถื่อน

    เวทาสากุ กุสาทาเวทา
    ทายะสาตะ ตะสายะทา
    สาสาทิกุ กุทิสาสา
    กุตะกุภู ภูกุตะกุ

    ..
     
  2. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,101
    sa148.jpg
     
  3. mp5_decode

    mp5_decode Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +88
    ขออนุญาตนำภาพพร้อมคาถาให้สมาชิกได้นำไปบูชากันครับ
    image-E96C_59682E72.jpg
     
  4. ra_15

    ra_15 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    155
    ค่าพลัง:
    +116
    สาธุ 1f64f_1f3fd.png สาธุ 1f64f_1f3fd.png สาธุ 1f64f_1f3fd.png
     
  5. เดือนตุลา

    เดือนตุลา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2015
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +18
    คาถาที่ถูกต้อง ดูจากใต้ภาพสมเด็จพระสังฆราช สุก เลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...