ตายแล้วไม่สูญจริงหรือจากข้อค้นคว้าของมรว.เสริม สุขสวัสดิ์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 8 กันยายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    [​IMG]
    คำถาม นี่ก็เลยโยงไปถึงคำถามว่า คนตายแล้วเกิดอีกจริงหรือ ที่ถามกันไม่รู้จักหยุด
    คำตอบ ความจริงเรื่อง คนตายแล้ว เกิดนี้ ไม่น่าจะสงสัย เพราะพระพุทธเจ้า ทรงสอนว่า ให้ไปอมตนิพพาน เพื่อพ้นจากการเวียนเกิดเวียนตาย (วัฏสงสาร) แสดงว่า ตายแล้วเกิดใหม่อยู่แล้ว
    แต่ในความหมาย ที่ถามกันนั้น ตั้งใจจะถามว่า คนตายแล้วจะมาเกิดเป็นคนใหม่หรือ ?
    หากถามเช่นนี้ก็ต้อง ตอบว่า ไม่จริง
    ได้กล่าวมา ในข้ออื่นแล้วว่า คนตายแล้วไปเกิดเป็นสัตว์นรก (ตกนรก) ก็มี เป็นสัตว์เดียรัจฉานก็มี เป็นมนุษย์ก็มี เป็นเทวดาก็มี เป็นเปรตก็มี เล่ม 24 หน้า 280 บ่งว่า มีกุศลกรรมบท 10 จึงได้เกิดเป็นคน
    เรื่องตายแล้วเกิด หรือ มีชาตินี้ ชาติหน้านั้น มีหลักฐานพูดไว้ชัดในพระไตรปิฎกเล่ม 20 หน้า 45
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ ไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดปีติวิสัยมากกว่าโดยแท้"
    เพราะฉะนั้น จึงตอบได้ว่า ตายแล้วเกิดอีก และชาติหน้ามีจริง
    อย่างไรก็ดี ปรากฏว่า พระที่มีชื่อเสียงบางองค์อ้างพระไตรปิฎก มาแสดงเหมือนกันว่า พระพุทธเจ้าท่าน ไม่ทรงยืนยันว่า ตายแล้วเกิดอีก เช่น
    เล่ม 13 หน้า 207 " วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ ว่า สัตว์เบื้องหน้า แต่ตายไปมีอยู่ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ
    ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น
    ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สิ่งนี้ เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ
    ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น"
    ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ ก็มิ ใช่สิ่งนี้ เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ
    ดูกรวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น
    เมื่อท่าน ได้ยกพระไตรปิฎกตอนนี้มา แล้วก็ชี้ว่า นี่ยังไงล่ะ พระพุทธเจ้า ไม่ได้ทรงยืนยันเลยว่า ตายแล้ว เกิดหรือไม่ได้เกิดสักหน่อย
    ตรงนี้น่าจะยกพระไตรปิฎกเล่ม 16 หน้า 302 มาแสดง
    "พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวถึง พระสูตรที่ตถาคต กล่าวแล้วอันลึกมีอรรถอันลึกเป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรมอยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรม เหล่านั้น ว่า ควรเล่าเรียนควรศึกษา
    แต่ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตร อันนักปราชย์รจนาไว้ อันปราชญ์ร้อยกรองไว้มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิตอยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับจักเข้าไป ตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา"
    ถ้าเราพิจารณาว่า ปัญหานี้มีคำตอบที่ตอบได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น คือ
    ตายแล้วเกิด หรือ ตายแล้วไม่เกิดแล้ว
    ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าท่าน "ไม่ได้เห็นอย่างนั้น" ทั้งคู่ เช่นนี้ก็คงจะต้องมีอะไรที่ลึกกว่านี้ซ่อนอยู่
    ความจริง ในอีกแห่งหนึ่ง ท่านแปล ทับศัพท์ว่า " ท่าน พระโคดม มีทิฐิว่า..... หรือ" ซึ่งในสมัยนั้น มีความ เชื่อ หรือ ทิฐิกันต่าง ๆ 62 อย่าง รวมทั้งอุจเฉททิฐิ และสัตตทิฐิ ที่นิยม ยกมาอ้างกันด้วย ที่พระพุทธเจ้า ท่านทรงตอบนั้น นักศึกษามักจะไปสนใจเอาถ้อยคำข้างหลัง เช่น
    มีความเห็นว่า สัตว์ตายแล้ว ยังมีอยู่หรือ ก็จะไปสนใจว่า ตายแล้วมีอยู่หรือเปล่า
    แต่ความจริงแล้ว ท่านทรงตอบ เฉพาะ ตอนหน้า คือ มี ความเห็นหรือไม่มีความเห็น (คือมีทิฐิว่า.....หรือ) ซึ่งทรง ตอบว่า ไม่มีความเห็น (ทิฐิ)..... เท่านั้น ใจความข้างหลังไม่มีความสำคัญ
    ฉะนั้นถึงจะถามมา 62 คำถาม ท่าน ก็ตอบว่า ไม่มีความเห็น ทั้งนั้น
    อันนี้ ก็คือทรงตอบว่า ไม่ทรงยึดถือในอะไรทั้งนั้นนั่นเอง ไม่ว่าความเห็นนั้นจะถูกหรือผิด
    ในกรณีของวัจฉโคตร นี้ ทรงอธิบายว่า ความเห็นเหล่านั้น ไม่เป็นไป เพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน พูดกันตรงๆ ก็จะทรงสอนว่า ไปติดใจ ในความเห็น ต่างๆ นั่นทำไม ไม่มีประโยชน์ แก่พระนิพพานเลย ต่างหาก
    คำตอบนี้ เลยย้อนมาถึง ผู้ที่ถามปัญหานี้ ในสมัยปัจจุบันด้วยว่า มัวแต่ไปติดใจปัญหาขี้ผงนี้อยู่ทำไม
    ท่านทรงอธิบายไว้ ในที่อื่นว่า การยอมรับว่า มีความตายความเกิดอะไรนั้น เท่ากับยอมรับว่า มีตัวตนของ ตน พระพุทธเจ้า (และพระอรหันต์ทั้งหลาย) พ้นแล้ว จากการนับว่า เป็นตัวตน เมื่อไม่มีตัวตนของตน (ซึ่ง ทำให้เกิดทุกข์ ) เสียแล้ว การพูดเรื่องตาย เรื่องเกิด ก็ไร้ความหมาย ป่วยการพูด ไม่เกิดประโยชน์
    ที่ท่านตอบ วัจฉโคตรเช่นนั้น ก็เป็นการตอบเชิงสอนนั่นเอง ความลึกของพระธรรมอยู่ที่ตรงนี้ แต่คนสมัย นี้ ไปจับเอา อย่างตื้น ๆ (อย่างที่ท่าน ทรงพยากรณ์ไว้แล้ว) ว่า ไม่ทรงยืนยัน ว่า ตายแล้ว เกิด หรือไม่เกิด (ความจริงน่าจะรู้ว่า พระพุทธเจ้านั้น ทรงมีสัพพัญญุตญาณ ไม่มีอะไรที่พระพุทธเจ้าไม่รู้)
    พระไตรปิฎกอีกตอนหนึ่งที่มักจะยกมาอ้าง คือ เล่ม 19 หน้า 92 ข้อ 107
    "ดูกรพราหมณ์ และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณะพราหมณ์เหล่านั้น บุรุษผู้รู้แจ้งย่อมตระหนักชัดว่า ถ้าโลกหน้าไม่มี เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักทำตนให้สวัสดีได้ ถ้าโลกหน้ามีเมื่อเป็นเช่นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไปจักเข้าถึง อบายทุคติวินิบาตนรก"
    เมื่อคัดมา แสดงแล้วก็ชี้ว่า เห็นไหม แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็ยังไม่ยืนยันว่า โลกหน้ามี (ตายแล้วเกิด) แต่ความจริง แล้วในหน้าก่อน คือ ข้อ 106 มีใจความว่า
    "ก็โลกหน้ามีอยู่จริง ความเห็นของผู้นั้นว่า โลกไม่มี ความเห็นของเขานั้น เป็นมิจฉาทิฐิ.... เขากล่าวว่า โลกหน้าไม่มี ผู้นี้ ย่อมทำตน เป็นข้าศึก กับพระอรหันต์ ผู้รู้แจ้งโลกหน้า ฯลฯ "
    ผู้คัดกลับไม่คัดมาแสดง
    ความจริงเรื่องนี้ พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม แก่คนพวกใหม่ เมื่อเทศน์ไปว่า มีโลกหน้า ผู้ที่ยังไม่นับถือ พระพุทธเจ้าก็ยังมีอยู่ ที่ยังไม่เชื่อคำสอน ก็คงจะมีอยู่ ดังนั้นพระพุทธเจ้า ท่านจึงสรุปท้ายในข้อ 107 ว่า
    ถ้าประพฤติชั่วไว้ และโลกหน้าไม่มีก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าเกิดมีเข้าจริง ๆ ก็ต้องตกนรก
    เพราะฉะนั้น ทำดีไว้จึงเป็นการปลอดภัยกว่า (ธรรมนี้เรียกว่า อปัณณกธรรม) เท่านั้นเอง
    ผู้ที่คัดไปเพื่อเป็นการแสดงว่า พระพุทธเจ้า ไม่ยืนยันว่า โลกหน้ามีนั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นพวกขี้โกง คัดมาสำหรับหลอกลวงผู้ไม่เคยอ่าน พระไตรปิฎก เพื่อความประสงค์ ที่จะบิดเบือน หรือทำลายพระพุทธศาสนา นั่นเอง
    บางคนทูลถาม พระพุทธเจ้าตรงๆ ว่า คนนั้น ๆ ตายไปแล้วไปเกิดที่ไหน ท่านก็ทรงตอบ
    เล่ม 19 หน้า 406
    พระอานนท์ทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพแล้ว คติของเธอเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเธอเป็นอย่างไร ภิกษุณีชื่อ นันทา มรณภาพแล้ว...ฯลฯ"
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุชื่อ สาฬมรณภาพแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไปด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุณี ชื่อ นันทา มรณภาพแล้วเป็น อุปปาติกะ จักนิพพานในภพนั้น..."
    อีตาพราหมณ์วัจฉโคตร ที่เคยได้รับคำตอบ "ไม่ได้คิดอย่างนั้น" มาแกคอยจับผิดอยู่ แกก็ค่อนแคะ ในทำนองว่า พระพุทธเจ้าก็คุยอวดเหมือนอาจารย์อื่น ๆ แหละน่าว่า ลูกศิษย์ของตนได้ดี แล้วตบท้ายว่า
    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้น มีความเคลือบแคลงสงสัยแท้ว่า อย่างไร ๆ พระสมณโคดม ก็ต้องทรงรู้ธรรมอันบุคคลพึงรู้ยิ่ง" (เล่ม 18 หน้า 428)
    ตอนนี้ถ้าจะให้ดี เราควรสมมติตัวเอง เป็นพระพุทธเจ้า แล้วคิดว่า โดนเข้าท่านี้จะตอบอย่างไร ปรากฏคำตอบของท่านดังนี้
    "ดูกรวัจฉะ จริงทีเดียว ควรที่ท่านจะสงสัยเคลือบแคลงใจ ความเคลือบแคลงเกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน ในฐานะที่ควรสงสัย ดูกรวัจฉะ เราย่อมบัญญัติความเกิดขึ้น แก่คนที่ยังมี อุปาทานเท่านั้น หาบัญญัติ แก่คนที่หาอุปาทานมิได้ ไม่"
    นี่ท่านศอกกลับเอาวัจฉะโคตรว่า เป็นบุคคลประเภทไม่มีอุปาทานเสียอีกด้วย ซึ่งคงจะทำให้วัจฉโคตรภูมิอกภูมิใจเป็นอันมาก
    ในเล่ม 13 หน้า 179 ตรัสว่า "ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย ตถาคตจะพยากรณ์ สาวกทั้งหลายผู้ทำกาละล่วงลับไปแล้ว ในภพที่เกิดทั้งหลายว่า สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น ดังนี้ เพื่อให้คนพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคน ก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์ คือ ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ก็หามิได้ ด้วยความประสงค์ว่า คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้ก็หามิได้ ดูกรอนุรุทธะทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธามีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มากมีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้น ได้ฟังคำพยากรณ์ นั้นแล้ว จะน้อมจิตเข้าไป เพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ข้อนั้นจะมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน ฯ"
    จะเห็นได้ว่า คำถามอย่างเดียวกัน จะทรงตอบแก่บุคคลต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ ก็ควรระลึกถึงบทพรรณนาพระคุณของพระพุทธเจ้าว่า ทรงเป็นครูผู้เยี่ยมยอด ทรงตอบให้เหมาะกับที่ จะเกิดประโยชน์ กับบุคคลนั้น ๆ เป็นหลัก บางทีก็ตอบเพื่อสอนไปในตัว เช่น กรณีวัจฉโคตร เป็นต้น
    ความจริง เรื่องตายแล้วเกิดนี้ โดยเฉพาะพระภิกษุแล้วไม่ควรเลยที่จะสงสัย เพราะควรจะต้องรู้ประวัติการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี เล่ม 1 หน้า 6 บุพเพนิวาสานุสสติญาณ
    "เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสนุสสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อน ได้เป็นอันมาก คือระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง....แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลป เป็นอันมากบ้าง.... ว่าใน ภพโน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น ครั้นจุติ จากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพโน้นนั้น เราก็ได้ชื่ออย่างนั้น.... วิชชาที่หนึ่งนี้ แลเราได้บรรลุแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี...."
    เห็นได้ชัดว่ามีการตายแล้วเกิดใหม่ และที่บางคนพยายามอธิบายว่า ชาตินี้ชาติหน้าก็หมายถึงว่า เมื่อเด็ก ๆ (คือ เวลาล่วงมาแล้วในชาตินี้) คือ ชาติก่อนอนาคต ของชาตินี้ ก็คือ ชาติหน้า นั้นไม่ตรงกับที่พระพุทธเจ้า ตรัสเล่าไว้เลย
    บุคคลประเภทค้านพระพุทธเจ้า หรือ สอนแข่งกับพระพุทธเจ้า คือ สอนไปเสียคนละทางเช่นนี้ มีอยู่ไม่ใช่น้อย ทำให้ผู้ที่ไม่สนใจค้นหลักฐานในพระไตรปิฎก (เลยไม่รู้จริง) เป๋ไปเป๋มา ในที่สุดคนไม่รู้ก็เถียงกับคนไม่รู้แล้วเลยเอาเป็นยุติไม่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในสมัยนี้
    ที่มา http://www.firstbuddha.com/Real/oiy7.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...