ชีวประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย uree, 15 ธันวาคม 2009.

  1. uree

    uree Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +39
    ผมได้คัดลอก ชีวประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่อาจารย์ไพรพนา ได้ค้นคว้าและเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ เพื่อช่วยกันพิจารณาอย่างกัลยาณมิตรครับ

    ชีวประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสีffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    มีนามจารึกตามหิรัญบัตรว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์”<O:p></O:p>
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ทรงเป็นพระเถรภูมิแห่งแผ่นดินสยามที่เปี่ยมล้นไปด้วยคุณงามความดี ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติต่างให้ความศรัทธา และเสาะแสวงหาพระสมเด็จที่ท่านได้สร้างตลอดจนการได้ท่องพระชินบัญชรคาถาอันจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวสืบไป <O:p></O:p>
    สิ่งที่น่าสนใจมากประการหนึ่งของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี คือชีวประวัติของท่านซึ่งมีผู้ศึกษาค้นคว้ามากมายหลายท่านแต่น่าแปลกตรงที่ว่าไม่ค่อยจะตรงกันนัก คงเป็นเพราะในสมัยนั้นขาดการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรืออาจจะจดไว้บ้างแต่สูญหายไม่ได้พิทักษ์รักษาไว้ตามที่ควร เพราะฉะนั้นเราจึงพบว่า วัน เดือน ปีเกิด สถานที่เกิด ชื่อบิดา ชื่อมารดา และวัน เดือน ปี สถานที่ ที่ท่านมรณภาพ ตลอดจนอายุ และพรรษาก็ไม่ตรงกัน (บุคคลส่วนใหญ่จะลืมนึกถึงการนับอายุครบอุปสมบทในสมัยโบราณนับอายุในครรภ์ด้วย) นอกจากนั้นในการบรรพชาและอุปสมบท เป็นสามเณรและพระภิกษุก็ว่ากันไปต่างวัดต่างสถานที่ เป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไปว่าชีวประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ตำราไหนถูกต้องที่สุดเพราะแต่ละท่านก็ดูจะมีเหตุมีผลพร้อมแหล่งอ้างอิง เหล่านี้คงต้องอาศัยนักวิชาการที่สนใจในเรื่องนี้หลายๆท่านมาช่วยกันชำระประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ให้ถูกต้องเสียทีเพื่อถวายเป็นกุศลแด่ท่าน แต่จะอย่างไรก็ตามผมได้พยายามสืบค้นข้อมูลชีวประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั้งจากตำราและประสบการจากเรื่องเล่าของอาจารย์หลายๆท่าน จึงได้นำข้อมูลเหล่านี้มาเรียบเรียงวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อให้ท่านได้พิจารณา ดังนี้ <O:p></O:p>
    ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ ตรงกับเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จ.ศ. ๑๑๕๐ เวลา พระบิณฑบาต ๐๖.๔๕ น. (ย่ำรุ่ง ๙ บาท) ที่เรือนปลูกใหม่บางขุนพรหม กรุงเทพฯ<O:p></O:p>
    บิดา เชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์จักรกรี มารดา นางงุด
    ตา นายผล ยาย นางลา
    เยาว์วัย<O:p></O:p>
    ปี พ.ศ. ๒๓๓๘ อายุ ๗ ปี เบื้องต้น เรียนหนังสือภาษาไทยและภาษาขอม โดยมีพระครูใหญ่ แห่งเมืองพิจิตร เป็นอาจารย์<O:p></O:p>
    บรรพชา<O:p></O:p>
    ปี พ.ศ. ๒๓๔๓ บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร โดยมีพระครูใหญ่ แห่งเมืองพิจิตรเป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทกับพระครูวัด ณ เมืองชัยนาทบุรี
    ปี พ.ศ. ๒๓๔๘ อายุได้ ๑๗ ปี ศึกษากับพระอรัญญิกเถร (ด้วง) เจ้าอาวาสวัดบางขุนพรหมนอก “ท่านเป็นพระกรรมฐาน ชาวเวียงจันทร์ได้เข้ามาตามการอาราธนาของเจ้าอินทร์ น้าชายเจ้าเขียวน้อย พระชายา ในพระพุทธยอดฟ้า ราชตระกูลเวียงจันทร์ ผู้ปฏิสังขรวัดอินทรวิหาร” และพระบวรวิริยเถระ วัดสังเวชวิศยาราม จากนั้นได้เรียนวิชาวิปัสนากรรมฐานจาก สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน และยังได้ศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งสามปิฎกกับพระโหราธิบดี และพระวิเชียรกรมราชบัณฑิต สำนักท่านพระครูวัดเมืองไชยนาทบุรี
    ปี พ.ศ. ๒๓๔๙ เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี พระโหราธิบดี พระวิเชียร และเสมียนตราด้วง พระอาจารย์ffice:smarttags" /><?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]แก้ว วัดบางลำพูบน</st1:personName> ได้นำถวายตัวต่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร และให้จำพรรษาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราชมี วัดนิพพานาราม (วัดนิพพานาราม คือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ในปัจจุบัน) ได้ศึกษาเล่าเรียนในแนวทางแห่งพระสงฆ์จากสมเด็จพระสังฆราชเจ้าจนชำนาญ และเรียนพระธรรมกับพระอาจารย์เสม วัดนิพพานาราม
    อุปสมบท<O:p></O:p>
    ครั้นถึงเดือน ๖ ปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๕๐ สามเณรโต อายุตาม ปี พ.ศ. เกิด ครบ ๑๙ ปี (การนับอายุครบอุปสมบท ในสมัยโบราณนับอายุในครรภ์ด้วย จึงเท่ากับ ๒๐ ปีบริบูรณ์ การนับพรรษาจึงนับหนึ่งในปีที่อุปสมบท ) สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร จึงมีรับสั่งให้พระโหราธิบดีกับเสมียนตราด้วงเข้าเฝ้าแล้วมีรับสั่งให้พระโหราธิบดีเป็นผู้แทนพระองค์อุปสมบทสามเณรโต บรรพชาเป็นนาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก โดยมี สมเด็จพระวันรัตวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แก้ววัดบางลำภูบน เป็นกัมวาจา พระอธิการวัดตะไกรเมืองพิษณุโลก เป็นอนุสาวะนะประชุมสงฆ์ ๒๘ รูป เป็นคณะปักกะตัดตะในพัทธสีมา หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วได้กลับมาจำพรรษาที่วัดนิพพานาราม (คือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์) กาลต่อมา พระโหราธิบดี ขุนพรมเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนตราด้วง เสมียนบุญ ขรัว ยายโหง เกิดความศรัทธาจึงรับเป็นโยมอุปัฏฐากตั้งแต่นั้นมา<O:p></O:p>
    สมณศักดิ์<O:p></O:p>
    ปี พ.ศ. ๒๓๖๑ อายุ ๓๐ ปี พรรษา ๑๑ พรรษา อันเป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้ทรงโปรดพระราชทานเรือพระที่นั่งกราบเป็นเรือสี ถวายแก่พระภิกษุโต โปรดรับสั่งว่า เอาไว้สำหรับไปเทศน์โปรดญาติโยม ทั้งยังทรงตั้งให้เป็น มหาโต
    ปี พ.ศ. ๒๓๖๙ อายุ ๓๘ ปี พรรษา ๑๙ พรรษา เป็นพระครูสามัญ
    ปี พ.ศ. ๒๓๗๘ อายุ ๔๗ ปี พรรษา ๒๘ พรรษา เป็นพระครูปริยัติธรรม
    ปี พ.ศ. ๒๓๘๖ อายุ ๕๕ ปี พรรษา ๓๖ พรรษา เป็นพระราชปัญญาภรณ์<O:p></O:p>
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า สมณศักดิ์ (คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระสงฆ์) ดังนี้<O:p></O:p>
    ปี พ.ศ. ๒๓๙๕ อายุ ๖๔ ปี พรรษา ๔๕ พรรษา เป็นพระราชาคณะ "พระเทพกวีศรีวิสุทธินายก"ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตาราม <O:p></O:p>
    ปี พ.ศ. ๒๓๙๗ อายุ ๖๖ ปี พรรษา ๔๘ พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ "พระธรรมกิตติโสภณ" ปี พ.ศ. ๒๔๐๗ อายุ ๗๖ ปี พรรษา ๕๘ พรรษาเป็น "สมเด็จพระ พุฒาจารย์" มีนามจารึกตามหิรัญบัตรว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทร พรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปริณายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ขณะนั้นมีอายุ ๗๖ ปี ๕๘ พรรษา
    สิ้นชีพตักษัย (มรณภาพ)<O:p></O:p>
    ปี พ.ศ. ๒๔๑๐ (จุลศักราช ๑๒๓๔) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ องค์หลวงพ่อโต ที่วัดอินทรวิหาร ก่อสร้างได้สูงถึงพระนาภีก็มีเหตุให้ไม่สำเร็จ เพราะวันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ เวลาประมาณ ๒๔.๐๐ น.เศษ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สิ้นชีพตักษัย (มรณภาพ) บนศาลาเก่าบางขุนพรหม สิริอายุ ๘๔ ปี ๒ เดือน ๕ วัน มีพรรษา ๖๖ พรรษา (เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
    คุณูปการที่สำคัญที่เพียงบางส่วนท่านมอบไว้แก่ประชาชนชาวไทย <O:p></O:p>
    พระคาถาชินปัญชร <O:p></O:p>
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ในคราวเดินทางไปกำแพงเพชร ท่านได้ไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งชื่อ วัดเสด็จ มีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิง ได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งเป็นภาษาสิงหลเก็บอยู่ในเจดีย์ (พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา) ท่านจึงนำมาเก็บไว้ที่กุฏิแดงวัดระฆังโฆษิตาราม ในเวลาต่อมาท่านได้นำคัมภีร์นั้นออกมาศึกษา และแปลได้ความว่า ปัญจระสูตรอัญเชิญพระบารมีพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์มาปกป้องคุ้มครอง ท่านจึงได้ตั้งชื่อพระคาถาบทนี้ว่า "ชินปัญชร" เพื่อถวายกุศลแด่ท้าวมหาพรหมชินปัญจระ มีเนื้อความดังนี้ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    พระคาถาชินปัญชร <O:p></O:p>
    ชะยาสะรากะตา พุทธา เชตตะวา มะรัง สะวาหะนัง <O:p></O:p>
    จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา <O:p></O:p>
    ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา <O:p></O:p>
    สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก มุนิสสะรา <O:p></O:p>
    สีเล ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน <O:p></O:p>
    สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัย อุเร สัพพะคุณากะโร <O:p></O:p>
    หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ <O:p></O:p>
    โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก <O:p></O:p>
    ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล <O:p></O:p>
    กัสสะโป จะ มหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก <O:p></O:p>
    เกเลนเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโยวะ ปะภังกะโร <O:p></O:p>
    นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว <O:p></O:p>
    กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก <O:p></O:p>
    โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร <O:p></O:p>
    ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลีนันทะสีวะลี <O:p></O:p>
    เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละถา มะมะ <O:p></O:p>
    เสสาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา <O:p></O:p>
    ชะวันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา <O:p></O:p>
    ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง <O:p></O:p>
    ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลาละกัง <O:p></O:p>
    ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง <O:p></O:p>
    อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา <O:p></O:p>
    ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา <O:p></O:p>
    วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา <O:p></O:p>
    อะเสสา วินะยัง ยันตุ อนันตะชินะเตชะสา <O:p></O:p>
    วะทะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร <O:p></O:p>
    ชินะปัญชะระมัชเฌนหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล <O:p></O:p>
    สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา <O:p></O:p>
    อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข <O:p></O:p>
    ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว <O:p></O:p>
    ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค <O:p></O:p>
    สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย <O:p></O:p>
    สัทธัมมานุภาวะ ปาลิโต ชะจะรามิ ชินะปัญชะเรติ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    วิธีการทำลายกิเลส <O:p></O:p>
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใสอีกประการหนึ่ง คือ ไม่ว่าท่านจะไปฉันภัตตาหารที่ไหน ไม่ว่าในวัดในวังหรือตามที่เขานิมนต์ท่านไปก็ตาม อาหารที่นำมาถวายนั้นท่านรับทุกอย่าง แต่พอเวลาฉันแล้ว ถ้าคำใดที่ท่านขบเคี้ยวแล้วรู้สึกอร่อยขึ้นมา ท่านก็จะรีบคายอาหารคำนั้นออกจากปาก โดยใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและค่อยคายออกมาไม่ให้เป็นที่สังเกตหรือน่ารังเกียจแก่บุคคลทั่วไป การคายอาหารที่มีรสอร่อยก่อให้เกิดกิเลสนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นผู้มีสติคอยพิจารณาอยู่ตลอดเวลา จึงสามารถรู้เท่าทันและจับกิเลสของตัวเองได้ว่า เมื่อใดมีความโลภ ความโกรธ ความหลง นับว่าท่านได้ปฏิบัติจิตอันเป็นการทำลายกิเลสอยู่ตลอดเวลา <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    สร้างปูชนียสถานทางพุทธศาสนา <O:p></O:p>
    ๑. พระพุทธรูปที่วัดกลาง ต. คลองข่อย อ.โพธาราม จ.ราชบุรี เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตร ทำด้วยอิฐถือปูน สูง ๖ วาเศษ ต่อมาได้กลายเป็นสำนักสงฆ์ และเป็นวัดในที่สุด (สร้าง ปี พ.ศ. ๒๓๗๕)<O:p></O:p>
    ๒. พระพุทธรูปนั่งที่วัดพิตเพียน (วัดกุฎีทอง) จังหวัดพระนคร เป็นพระก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ วา ๓ ศอก (สร้างประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๙๓) <O:p></O:p>
    ๓. สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่หน้าตักกว้าง ๘ ว่า ๗ นิ้ว สูง ๑๑ วา ๑ ศอก ๗ นิ้ว ก่ออิฐถือปูนประทับนั่ง พระมหาพุทธพิมพ์ปางสมาธิ วัดไชโยวรวิหาร ตำบลไชโย อำเภอไชโยจังหวัดอ่างทอง (สร้างประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๐) <O:p></O:p>
    ๔. รูปปั้นแทนโยมตาและโยมแม่ สร้างกุฏิ ๒ หลัง อยู่ด้านทิศใต้ของวัดอินทรวิหาร ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดเท่ากัน กว้าง ๑ วา ยาววาครึ่ง ปั้นรูปแทนโยมตาเป็นรูปพระสงฆ์นั่งขัดสมาธิ หน้าตักกว้าง ๒๔ นิ้ว อยู่กุฏิหลังซ้าย ส่วนแทนโยมมารดาปั้นเป็นรูปภิกษุนั่งขัดสมาธิ หน้าตักกว้าง ๒๓ นิ้ว ประดิษฐานอยู่กุฏิหลังขวา (สร้าง ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๙) <O:p></O:p>
    ๕. พระศรีอริยเมตไตรย์ (หลวงพ่อโต) วัดอินทรวิหาร ที่ตำบลบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร สูง ๑๖ วาเศษ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จสร้างได้ประมาณ ๙ วาเศษ ท่านก็ถึงแก่มรณภาพเสียก่อน ต่อมาหลวงปู่แดงได้ก่อสร้างเพิ่มเติมจนเสร็จสมบูรณ์ (สร้าง ปี พ.ศ. ๒๔๑๐) <O:p></O:p>
    ๖.พระพุทธรูปนอนใหญ่ที่วัดสะตือ ต. ท่าหลวง อ. ท่าเรือ จ. พระนครศรีอยุธยา เป็นพระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูน องค์พระยาว ๑ เส้น ๖ วา สูง ๘ วา ฐานยาว ๑ เส้น ๑๐ วา กว้าง ๔ วา ๒ ศอก (สร้าง ปี พ.ศ. ๒๔๑๓) <O:p></O:p>
    ๗. พระเจดีย์นอนวัดละครทำ ที่แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี เป็นพระเจดีย์นอน ๒ องค์ หันฐานเข้าหากัน ห่างกันประมาณ ๒ ศอก ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมมาก องค์ด้านใต้ถูกรื้อทำลายไปนานแล้ว องค์ด้านเหนือก็แทบจะไม่เป็นรูปร่างเสียแล้ว เนื่องจากถูกคนขุดค้นหากรุพระสมเด็จ (สร้าง ปี พ.ศ. ๒๔๑๔) <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    สร้างมงคลวัตถุ (พระสมเด็จ)<O:p></O:p>
    สร้างพระสมเด็จ โดยที่เจ้าประคุณสมเด็จ ท่านเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนาธุระยิ่งนัก ด้วยพระเมตตาบารมีสูงยิ่ง เมื่อท่านเจริญชนมายุเป็นพระมหาเถระแห่งกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ก็ได้ปรารภเหตุว่า มหาเถระแต่ปางก่อนนั้น มักจะนิยมสร้างพระพิมพ์จำนวนมาก บรรจุลงไว้ในปูชนียสถานต่าง ๆ เพื่อเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนา และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนคนรุ่นหลังได้กราบไหว้บูชาเป็นการเจริญพุทธานุสติ ปรารภเหตุดังกล่าวนี้ เจ้าประคุณสมเด็จ จึงได้สร้างพระพิมพ์รุ่นแรกขึ้นจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ เป็นพระสมเด็จรุ่นแรกที่เรียกกันว่า "ทรง ๓ ชั้น” และต่อมาได้สร้างพระสมเด็จที่หลากหลายทรงพิมพ์ รูปแบบ และหลากหลายเนื้อ เป็นที่เคารพสักการะยิ่งในปัจจุบัน<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    นามธรรมเป็นปัจจัยให้มีขันธ์ ขันธ์เป็นปัจจัยให้ถึงธรรม ธรรมเป็นปัจจัยให้ถึงนิพพาน “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี” <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>
    อ้างอิง<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    ๑. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรีพระยา ทิพโกษา (สอน โลหะนันทน์) ปี พ.ศ. ๒๔๗๓<O:p></O:p>
    . ประวัติของเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ “เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์” ปี พ.ศ. ๒๔๖๖<O:p></O:p>
    ๓. ประวัติประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ผู้แต่ง : พระครูกัลยาณานุกูล รวบรวมและเรียบเรียงจัดพิมพ์:พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นาย<st1:personName w:st="on" ProductID="ล้อม ฟักอุดม">ล้อม ฟักอุดม</st1:personName> และนางพิมเสน ฟักอุดม ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2512พระมหาเฮง วัดกัลยาณมิตร<O:p></O:p>
    ๔. หนังสือ “สมเด็จโต” โดย แฉล้ม โชติช่วง , มนัส ยอขันธ์ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ <O:p></O:p>
    ๕. หนังสือพระสมเด็จ โดยตรียัมปวาย ปี พ.ศ. ๒๔๙๕<O:p></O:p>
    ๖. หนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" โดย อธึก สวัสดิมงคล<O:p></O:p>
    ๗. ประวัติและอภินิหารของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรสี) หนังสือ "๘๐ ปี เขตบางกอกน้อย" ๑๕ ตุลาคม ๒๕๓๘<O:p></O:p>
    ๘. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี<O:p></O:p>
    ๙. ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี โดยหลวงพ่อจรัญ ฐิตธรรมโม <O:p></O:p>
    วัดอัมพวัน สิงห์บุรี<O:p></O:p>
    ๑๐.จากบทความเรื่อง ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จจากไป โดยนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ในหนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๕<O:p></O:p>
    ๑๑. สี่สมเด็จ โดยนายสุคนธ์ เพียรพัฒน์ พิมพ์ที่ แอลซีเพรสส์ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗<O:p></O:p>
    ๑๒. หนังสือภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต โดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะ นาวิน พิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ๑ มีนาคม ๒๕๒๗<O:p></O:p>
    ๑๓. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง นายธงชัย พลอยช่าง (สกุลเดิม อิศรางกูร ณ อยุธยา) ช่างปั้นพระปฏิมากร บางกอกน้อย กรุงเทพฯ<O:p></O:p>
    ๑๔. เรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรง พระภิกษุวงษ์ สุธรรมโม (พระอาจารย์จิ้ม กันภัย) วัดดงมูลเหล็ก กรุงเทพฯ (อายุ ๘๕ ปี ๕๐ พรรษา)<O:p></O:p>
    ๑๕. ภาพเขียนบนผนังโบสถ์วัดอินทรวิหาร<O:p></O:p>
    ๑๖. สมณศักดิ์ โดยพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๔๘<O:p></O:p>
    ๑๗. บรรพชา และอุปสมบท จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี<O:p></O:p>
    ๑๘. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร จากวิกิพีเดียร สารานุกรมเสรี<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...