ฉันเป็นพรหมชั้นที่ ๘ ฉันเป็นเจ้าของตำราของท่านปาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย timetime, 1 พฤศจิกายน 2009.

  1. timetime

    timetime เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2005
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ประวัติครูบาอาจารย์ ที่หลวงพ่อ พระราชพรหมยาน เคารพนับถือ

    [​IMG]




    [​IMG]






    [​IMG]





    [​IMG]





    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 65.jpg
      65.jpg
      ขนาดไฟล์:
      103.8 KB
      เปิดดู:
      3,255
    • 66.JPG
      66.JPG
      ขนาดไฟล์:
      231.1 KB
      เปิดดู:
      3,004
    • 68.JPG
      68.JPG
      ขนาดไฟล์:
      195.8 KB
      เปิดดู:
      2,951
    • 70.JPG
      70.JPG
      ขนาดไฟล์:
      200 KB
      เปิดดู:
      2,931
    • 72.JPG
      72.JPG
      ขนาดไฟล์:
      217.8 KB
      เปิดดู:
      2,915
    • 74.JPG
      74.JPG
      ขนาดไฟล์:
      202.7 KB
      เปิดดู:
      2,913
    • 76.JPG
      76.JPG
      ขนาดไฟล์:
      236.6 KB
      เปิดดู:
      2,928
    • 78.JPG
      78.JPG
      ขนาดไฟล์:
      207 KB
      เปิดดู:
      2,869
    • 80.JPG
      80.JPG
      ขนาดไฟล์:
      222.1 KB
      เปิดดู:
      2,857
    • 82.JPG
      82.JPG
      ขนาดไฟล์:
      210.5 KB
      เปิดดู:
      2,871
  2. timetime

    timetime เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2005
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ประวัติครูบาอาจารย์ ที่หลวงพ่อ พระราชพรหมยาน เคารพนับถือ


    [​IMG]




    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 84.JPG
      84.JPG
      ขนาดไฟล์:
      215.5 KB
      เปิดดู:
      2,771
    • 86.JPG
      86.JPG
      ขนาดไฟล์:
      222.2 KB
      เปิดดู:
      2,694
    • 88.JPG
      88.JPG
      ขนาดไฟล์:
      220.4 KB
      เปิดดู:
      2,687
    • 90.JPG
      90.JPG
      ขนาดไฟล์:
      201.9 KB
      เปิดดู:
      2,694
    • 92.JPG
      92.JPG
      ขนาดไฟล์:
      230.7 KB
      เปิดดู:
      2,664
    • 94.JPG
      94.JPG
      ขนาดไฟล์:
      208.5 KB
      เปิดดู:
      2,681
    • 96.JPG
      96.JPG
      ขนาดไฟล์:
      235.5 KB
      เปิดดู:
      2,652
    • 98.JPG
      98.JPG
      ขนาดไฟล์:
      229.3 KB
      เปิดดู:
      2,682
  3. timetime

    timetime เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2005
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +3,373
  4. timetime

    timetime เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2005
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ลิงค์ธรรมะในเว็บต่างๆ ของหลวงพ่อ ที่พอจะรวบรวมให้ศิษย์ใหม่ๆ ได้ค้นหาง่ายๆครับffice:eek:ffice" /><O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>
    <O:p> </O:p>
     
  5. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ


    เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p</O:p

    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่
    www.tangnipparn.com<O:p</O:p

    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]</O:p><!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
  6. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    [​IMG]
     
  7. noonei789

    noonei789 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +6,958
    อนุโมทนาในธรรมค่ะ ใช่จากหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน รึเปล่าคะ
     
  8. srtumsrtum

    srtumsrtum Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2009
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +44
    สาธุ..สาธุ..สาธุ ขอกราบอนุโมทนาบุญเป็นอย่างสูงครับ
    ขอให้ลูกเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันกาลนี้ด้วยเทอญ
     
  9. Jarinporn

    Jarinporn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    262
    ค่าพลัง:
    +687
    สาธุ อนุโมทนามิ ธรรมใดที่พระพุทธองค์ทรงบรรลุแล้วขอให้ธรรมนั้นจงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด. สาธุ
     
  10. พลศิล

    พลศิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2009
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +1,265
    อนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ
     
  11. CITYNAVYMAN

    CITYNAVYMAN Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +97
    คำสมาทานพระกรรมฐาน
    แบบวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ. พระนครศรีอยุธยา

    คำบูชาพระรัตนตรัย

    โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สวากขาโต เยนะ ภะคะวาตา ธัมโม สุปะฎิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อภิปูชะยามะ สาธุ โน ภันเต
    ภะคะวา สุจิระปะนิพพุโตปิ ปัจฉิมมาชะนะตานุกัมปะมานะสา อิเมสักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
    สวาขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ)
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

    คำขอขมาพระรัตนตรัย

    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

    คำสมาทานพระกรรมฐาน

    (หลวงพ่อนำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส

    (ว่าพร้อมกัน 3 ครั้ง) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจจะฉามิ

    ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอมอบกาย ถวายชีวิตแด่องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาบารมี พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลายสืบๆกันมา มีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และพระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุงเป็นที่สุด ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะ พระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปิติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 ขอพระกรรมฐานทั้ง 40 ทัศ พระปิติทั้ง 5 และวิปัสสนาญาณทั้ง 9 จงมาบังเกิดปรากฏ ในกายทวาร ในวจีทวาร ในมโนทวาร ของข้าพพระพุทธเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    ขอได้โปรดยกจิตของข้าพเจ้า ขึ้นสู่ภาวะเมฆจิต สามารถกำหนดจิต รู้ภาวะการณ์ต่างๆทั้งเหตุ ผล อดีต อนาคต และปัจจุบัน ได้ทุกขณะจิตทีปรารถนาจะรู้ เมื่อรู้แล้วขอให้เห็นภาพนั้นได้ชัดเจนแจ่มใสและพยากรณ์ได้ตามความเป็นจริงทุกๆประการ เหตุที่จะพึงบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้รู้เหตุนั้นโดยมิต้องกำหนดจิตแม้แต่ประการใด ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    เมื่อ หายใจเข้าภาวนาว่า นะ มะ หายใจออกภาวนาว่า พะ ทะ

    คาถาเงินล้าน

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ตั้งนะโม 3 จบ)
    สัมปะจิตฉามิ นาสังสิโม
    พรหมมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ
    พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม
    มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม
    มิเตพาหุหะติ
    พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง
    วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ
    มานีมานะ พุทธัสสะ สวาโหม
    สัมปะติจฉามิ
    เพ็ง เพ็ง พา พา หา หา ฤา ฤา (ลือ ลือ)


    คำอุทิศส่วนกุศล

    อิทัง ปุญญะ ผะลัง ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิหรรม ให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้ตราบท้าวเข้าสู่พระนิพพาน
    และ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักษ์รักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพญายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพญายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
    และขออุทิศส่วนกุศล นี้ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้า ทั้งหลาย ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
    สวาขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

    การขอขมา พระรัตนตรัย


    มีสองวิธีการ คือ
    1.การปฏิบัติบูชา ด้วยการเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ในทางโลก และ ทางธรรม
    2.ด้วยอามิสบูชา ถึงจะเป็นสิ่งที่ดู ว่าไม่ปราณีตนัก แต่ก็เป็นอานิสงค์ ให้เข้าถึงการปฏิบัติ บูชาในที่สุด
    2.1 การสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ ขนาด ตั้งแต่ 30 นิ้ว ขึ้นไป จนถึงขนาด 4 ศอก
    2.2 การสร้างหนังสือ พระไตรปิฏก ประเภทต่างๆ รวมถึงหนังสือ มนพิธี ( ถือว่าเป็นพระไตรปิฏกฉบับย่อ )
    2.4 การชำระหนี้สงฆ์ด้วย ผ้าไตรจีวร
    2.5 การชำระหนี้สงฆ์ด้วย บริจาคเงินซื้อที่ดินถวายวัด
    2.6 การชำระหนี้สงฆ์ด้วย สังฆทาน ผ้าป่า กฐิน
    ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการแบบที่ 2 แบบอามิสบูชา

    เครื่องสักการะพื้นฐาน
    1. ธูปเทียนแพ. 1 ชุด
    2. พวงมาลัยมะลิสด 1. พวง
    3. พานที่จะวางธูปเทียนแพ 1 พาน.
    4.ธูป 16 ดอก ตามกำลังใจ
    5. เทียนหนัก 1 บาท .2. เล่ม
    นำเครื่องสักการะนั้นไปต่อหน้า พระปฏิมากร ( ในต่างประเทศให้ อนุโลมใช้ พระเครื่อง หรือ รูปภาพพระพุทธเจ้า ก็ได้เช่นกัน )

    วิธีการ
    วางเครื่องสักการะนั้นๆไว้ในที่สมควร หน้าพระพุทธรูป จุดเทียนก่อน แล้วจึงจุดธูปที่เตรียมไว้

    คำขอขมาพระรัตนตรัย

    นะโม....3 จบ
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

    ข้าพเจ้า ชื่อ......
    อานิสงค์ในการฝึก " ฤทธิ์ทางใจ "


    1. ดอกไม้ 3 สี / ธูป 3 ดอก / เทียนหนัก 1 บาท 2 เล่ม / ได้อานิสงค์ เบื้องต้น คือ " อามิสบูชา " แก่พระพุทธเจ้า

    2. บริจากเงิน 1 สลึง หรือ 1 บาท เป็นค่าบูชาครู ( คือ พระรัตนตรัย ) ได้อานิสงค์ ใน " จาคานุสสติกรรมฐาน "

    3. สมาทานพระกรรมฐาน ก่อนทุกครั้ง ได้อานิสงค์ ใน " พุทธานุสติ ธรรมมานุสสติ สังฆานุสติ " และ " อิธิษฐานบารมี "

    4. เมื่อเริ่มนั่งสมาธิ จิตทรงตัวในดี เบื้องต้น ว่างจากกิเลสชั่วขณะ วันหนึ่งชั่วขณะจิตหนึ่ง ได้ชื่อว่า " เป็นผู้ไม่ว่างจากฌาน " ได้อานิสงค์ หากตายตอนนั้นได้อยู่ที่ สวรรค์ก่อน

    5. เมื่อกำหนดรู้ลมหายใจ เข้า / ออก ได้อานิสงค์ " อานาปานุสติกรรมฐาน "

    6. เมื่อบริกรรมภาวนา " นะ มะ / พะทะ" รวมกำลังของกสิณ หากฝึกได้เชี่ยวชาญแล้ว จะทรงอภิญญา 5

    นะ ในที่นี้ท่านหมายถึง ธาตุดิน ได้อานิสงค์ ของ " กสิณดิน "
    มะ ในที่นี้ท่านหมายถึง ธาตุน้ำ ได้อานิสงค์ ของ " กสิณน้ำ "
    พะ ในที่นี้ท่านหมายถึง ธาตุลม ได้อานิสงค์ ของ " กสิณลม "
    ทะ ในที่นี้ท่านหมายถึง ธาตุไฟ ได้อานิสงค์ ของ " กสิณไฟ "

    7. เมื่อในขณะ บริกรรม ภาวนา ตามลมหายใจ เข้า /ออก ให้กำหนดพุทธนิมิต ให้จิตป็นผู้รู้ จิตเป็นผู้เห็น ได้อานิสงค์
    " พุทธานุสสติ " ในบางกรณี ระลำถึงพระอริยสงฆ์ ได้อานิสงค์ " สังฆานุสสติ "

    8. เมื่อขณะจิตทรงอารมณ์ฌาน ที่ 1 2 3 4 ได้อานิสงค์ ขององค์ฌานต่างตามลำดับ เบื้องต้น จะเกิดความคล่องตัว ในวิปัสสนาญาณ และได้อานิสงค์ ในการเกิดในพรหมโลก ตั้งแต่ชั้นที่ 1 ถึง 12 ตามแต่กำลังใจในการเข้าฌานได้

    9. เมื่อมาตั้งกำลังใจในการพิจารณา ใน " อริยะสัจจะ " ข้อที่ 1 คือ " ทุกข์ " ในเบื้องต้นอันได้แก่

    ( ๑ ). ความเกิดเป็นทุกข์
    ( ๒ ). ความป่วยไข้ไม่สบายเป็นทุกข์
    ( ๓ ). ความพลัดพรากของรักของชอบเป็นทุกข์
    ( ๔).ความแก่ที่ย่างก้าวเข้ามาเป็นทุกข์
    ( ๕ ). ความตายที่ก้าวเข้ามาเป็นทุกข์

    ได้อานิสงค์ ใน " ธรรมมานุสสติกรรมฐาน " เนื่องด้วย " วิปัสสนาญาณ 9 "

    10. เมื่อตั้งใจอธิษฐานว่า ขึ้นชื่อว่าการเกิดใน พรหมโลก เทวะโลก มนุษยโลก อบายภูมิ4 เราไม่ต้องการที่จะไปเกิดอีก ภายหลังจากตายไปในชาตินี้ เราขอมุ่งตรงอย่างเดียว คือพระนิพพาน ได้อานิสงค์ " ขณิกะนิพพาน " ในขณะนั้นจิตจะว่างจากกิเลสชั่วขณะ เข้าสู่กระแสแห่ง อริยะเจ้าเบื้องต้น ( พระโสดาบัน ต้นๆ ) ชั่วขณะ

    11. จึงเกิดเป็นทิพย์จักขุญาณ หรือเป็นผลของอภิญญานั้นเอง ได้อานิสงค์ ให้ถอด " อทิสมานกาย " ได้เพราะจิตว่างจากกิเลส คือเครื่องเศร้าหมองร้อยใจ

    12.เมื่อได้พบพระพุทธเจ้า ที่นำอทิสมานกายไปสู่โลกแห่งความเป็นทิพย์ ได้อานิสงค์ พุทธานุสติ เมื่อได้พบพระอริยะสงฆ์ ที่นำอทิสมานกายไปสู่โลกแห่งความเป็นทิพย์ ได้อานิสงค์ สังฆานุสติ
    เมื่อได้พบ เทวดา หรือ พรหม ที่นำอทิสมานกายไปสู่โลกแห่งความเป็นทิพย์ ได้อานิสงค์ เทวตานุสติ

    13. เมื่อได้บารมีมาถึงลำดับที่ 12 นี้แล้วความดีเดิม ที่เคยฝึกได้ " อภิญญา 5 " จะรวมตัวกันจนเป็นผลในชาติปัจจุบัน เป็นอภิญญา เล็กๆน้อยๆ คือ ทิพยจักขุญาณ และ " ฤทธิ์ทางใจ " นั้นเอง ได้อานิสงค์ สามารถที่จะท่องเที่ยว ใน อบายภูมิ 4 , มนุษยโลก , เทวะโลก , พรหมโลก , และ เมืองพระนิพพาน ในที่สุด

    14.เมื่อได้ " ฤทธิ์ทางใจ " แล้ว จะได้อานิสงค์ เป็นความรู้ตามมาอีก 8 อย่าง หรือ ญาณ 8 นั้นเอง วึ่งท่านจะได้ศึกษาในเนื้อหาต่อไป

    15. เมื่อรู้ความไม่เที่ยงใน ภพทั้ง 4 แล้ว และรู้ความเที่ยงในพระนิพพาน "จิตก็จะเบื่อหน่ายในการเกิด ในภบทั้ง 4 และตั้งกำลังใจไว้ที่พระนิพพาน เพียง สถานที่เดียว ด้วยเหตุทั้งหลายเหล่านี้เอง ขอให้ข้าพระพุทธเจ้า และหมู่คณะ จงได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด

    พุทธคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ทั้ง ๙ ประการ ที่เราทั้งหลายควรระลึกถึง

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
    เป็นการระลึกถึงผลที่พระองค์ ทรงบรรลุคุณธรรม ๙ ประการ ดังนี้

    ๑. อะระหัง
    ๒. สัมมาสัมพุทโธ
    ๓. วิชชาจะระณะสัมปันโน
    ๔. สุคะโต
    ๕. โลกะวิทู
    ๖. อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    ๗. สัตถา เทวะมะนุสสานัง
    ๘. พุทโธ
    ๙. ภะคะวาติ

    ๑. อะระหัง หมายถึง พุทธคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นผู้ที่ไกลจากกิเลส
    หมายความถึงว่า พระพุทธองค์ไม่มี " กิเลส " เครื่องเศร้าหมอง อยู่ในพระทัยท่านเลยอันได้แก่ อารมณ์เศร้าหมอง ๑๐ อย่าง คือ สังโยชน์ ๑๐ นั้นเอง
    สังโยชน์ ๑๐ ประการ ได้แก่

    1.สักกายทิฎฐิ มีความรู้สึกเสมอว่าร่างกายไม่เป็นเรา เป็นของเรา หรือ " ร่างกายไม่มีในเรา เราไม่มีในเรากาย "
    2.วิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัย ในคำสั่ง คำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยะสงฆ์
    3.สีลัพพตปรามาส ไม่ละเมิดศีลเป็นปกติ ( ศีล ๕ , ๘ , ๑๐ , ๒๒๗ ข้อ )( เป็น คุณธรรมของ พระโสดาบัน )
    4.กามฉันทะ ละความพอใจใน กามคุณ 5 ได้แก่ ๑.รูปสวย ๒.เสียงไพเราะ ๓.กลิ่นหอม ๔. รสอร่อย ๕.สัมผัสระหว่างเพศ
    5.ปฏิฆะ มีอารมณ์กระทบใจ จิตที่มีแต่ความโกรธ พยาบาท( เป็น คุณธรรมของ พระสกิทาคามี )
    6.รูปราคะ มีความหลงอยู่ใน " รูปฌาน "
    7.อรูปราคะ มีความหลงอยู่ใน " อรูปฌาน "
    8.มานะ การถือตัวถือตน
    9.อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน ในฝ่ายกุศล ( เป็น คุณธรรมของ พระอนาคามี )10.อวิชชา ไม่รู้ตามความเป็นจริงในเรื่องพระนิพพาน( เป็น คุณธรรมของ พระอรหันต์ )
    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เข้าถึงเป็นพระองค์แรกของโลก

    ๒.สัมมาสัมพุทโธ หมายถึง พุทธคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นตรัสรู้เองโดยชอบ ( รู้ขึ้นเองจากใจ ) ในคุณธรรม ๔ ประการ หรือ " อริยสัจ ๔ " ดังต่อไปนี้

    1. รู้ " ทุกข์ " อันได้แก่ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
    2. รู้ " สมุทัย " อันได้แก่ รู้เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ อันได้แก่
    2.1. กามตันหา คือ ความทยานอยากได้ ในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ หรือ อยากให้มีขึ้น
    2.2. ภวตันหา คือ สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว อยากให้คงสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่อยากให้เก่า ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
    2.3. วิภวตันหา คือ อยากให้สิ่งที่จะต้องตัวนั้น ทีเป็นไปตามกฎความเป็นธรรมดา มีความปรารถนาไม่ให้กฎความเป็นธรรมดานั้นๆเกิดขึ้น หรือ ไม่อยากให้สลายตัวไป หรือ เสื่อมไป หรือ ตายไป

    3. รู้ " นิโรธ " อันได้แก่ ความดับสูญไปแห่งความทุกข์
    4. รู้ " มรรค " อันได้แก่ ปฏิปทาในการที่จะปฏิบัติ ให้เข้าถึงความดับทุกข์ ให้lสูญสิ้นไป อันได้แก่

    อริยมรรคมี องค์ ๘ คือ

    ๑. สัมมาทิฎฐิ มีความเห็นชอบ ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ๒.สัมมาสังกัปโป มีความดำริชอบ ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ๓.สัมมาวาจา เจราจาชอบ ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ๔.สัมมากัมมันโต มีการงานชอบ ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ๕.สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ๖.สัมมาวายาโม ตั้งความเพียรพยายามชอบ ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    ๘ สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ ตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

    ในอริยมรรค ๘ คือ ข้อปฏิบัติตน จะเข้าได้ถึงความดับสูญไป เหตุแห่งทุกข์ มีความตั้งมั่นในพระนิพพานเป็นอารมณ์ แบบโดยย่อ ลงเหลือ ๓ ประการ คือ

    ๑. ศีล การรักษา กายวาจาใจให้เรียบร้อย ตามขอบเขตของสิกขาบท ( ศีล ๕ , ๘ , ๑๐ , ๒๗๗ )
    ๒. สมาธิ ดำรงค์ความตั้งมั่นของจิต ที่ไม่ให้ไปเป็นเวร เป็นภัยต่อสังคม ไดแก่ ฌาน ที่มีความมั่นคง
    ๓. ปัญญา คิดพิจารณา เหตุ และ ผล จนเข้าถึงความเห็นจริง ของกฎความเป็นธรรมดา ไม่มีอารมณ์จิตต์ที่ฝืนกฎความเป็นธรรมดานั้นๆได้

    ๓. วิชชาจะระณะสัมปันโน หมายถึง พุทธคุณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในข้อนี้ควรแยกอธิบายเป็น สอง อย่างได้แก่ ๓.๑. วิชา ๓.๒. จรณะ ๑๕

    ๓.๑. วิชชา ท่านหมายถึง การรู้ในวิชชา สาม ที่สามัญชนไม่สามารถที่จะรู้ได้ อันได้แก่
    ๓.๑.๑ ปุบเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้
    ๓.๑.๒.จุตูปปาติญาน รู้จุติในชาติกำเนิด
    ๓.๑.๓.อาสวักขยญาน ด้วยนำความรู้ดังกล่าว มาตัดสิเลส
    ๓.๒. จรณะ ๑๕ ท่านหมายถึง พระองค์มีความประพฤติครบถ้วน ยอดเยี่ยมทั้งสิ้น ๑๕ ประการ

    ๑. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ( ๕ ๘ ๑๐ ๒๒๗ )
    ๒. อินทรียสังวรณ์ ระมัดระวังในการเคลื่อนไหว ทุกอิริยาบถ เช่น สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กายใจ
    ๓. โภชเนมัตตัญญุตา รู้พอดีในการกิน
    ๔. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่
    ๕..ศรัทธา มีความเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ๖. หิริ ความละอายต่อบาป
    ๗. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว
    ๘. พาหุสัจจะ ความทรงจำของผู้มีสมาธิดีอยู่เป็นปกติ
    ๙. วิริยะ ความเพียรก็จะทรงตัว
    ๑๐.สติ มีความตั้งมั่น ทรงตัวอยู่เสมอ
    ๑๑.ปัญญา มีความรอบรู้เพราะปัญญาเกิดโดยอาศัยกำลังของสมาธิเป็นสำคัญ

    ๑๒.ปฐมฌาน ฌาน ที่๑
    ๑๓.ทุติยฌาน ฌานที่ ๒
    ๑๔.ตติยฌาน ฌานที่ ๓
    ๑๕.จตุตถฌาน ฌานที่ ๔

    ๔. สุคโต พระองค์ทรง เสด็จไปดีแล้ว หมายถึง เมื่อพระองค์เสด็จไป ณ.ที่ใด พระองค์นำแต่ความสุขไปให้เจ้าของถิ่นไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด ใครก็ตามบูชาพระองค์แล้ว ไม่เคยผิดหวังที่จะได้รับความสุขในทางปฏิบัติ
    ๕. โลกวิทู พระองค์ทรง รู้แจ้งโลก หมายความว่า โลกทุกโลก ยมโลก มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก และโลกแห่งพระนิพพาน
    ๖. อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ พระองค์ทรง เป็นนายสารถี ผู้ฝึก ไม่มีนายสาระถีใดมีความสามารถ ฝึกได้เสมอเหมือนพระองค์ หมายถึงฝึกการปฏิบัติธรรมเหตุเพราะ มีญาณพิเศษ คือ เจโตปริยญาณ เป็นต้น
    ๗. สัตถา เทวมนุสานัง พระองค์ทรงเป็นครูของ เทวดา และมนุษย์
    ๘. พุทโธ พระองค์ทรงเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น แล้วผู้เบิกบานแล้ว โดยย่อ ท่านบริบูรณ์ด้วย สติสัมปชัญญะ อยู่ตลอดเวลานั่นเอง
    ๙. ภควาติ พระองค์ทรงเป็น ผู้มีโชค หมายถึง พระองค์ทรงมีโชคก่อนใครๆ ที่พระองค์เป็นผู้รู้เท่าทันอวิชชา ๆไม่สามารถครอบงำ พระองค์ได้ เหตุที่พระองค์พบ อริยสัจ ภ จึงสามารถทำลายอำนาจของอวิชชา เสียได้ นี่คือสุขยอดเยี่ยมไม่สุขใดยิ่งกว่า

    2.คู่มือการฝึก " ฤทธิ์ทางใจ " ในเชิงปฏิบัติการ


    เป็นการประมวลประสพการณ์ในการปฏิบัติธรรม ฤทธิ์ทางใจ ในแง่มุมของการปฏิบัติ ธรรม ดังนี้ ในทางธรรม

    2.1. การตั้งกำลังใจในขณะฝึก
    2.2.การศึกษาวัตถุประสงค์หลัก ในการฝึก " ฤทธิ์ทางใจ "
    2.3.ผลจากการฝึก " ฤทธิ์ทางใจ " 8 ประการ
    2.3.1.วิธีพิจารณาเพื่อมาเป็น " อาสวคยญาน "
    2.3.2.เพื่อใช้ควบคู่กับทางโลก โดยไม่ให้ " เสียหายในทางธรรม "
    2.3.3.จึงยังสังขารให้อยู่ดีมีสุขตามแต่อัตภาพ


    การตั้งกำลังใจในขณะฝึก ฤทธิ์ทางใจ

    2.1. การตั้งกำลังใจในขณะฝึก สำหรับ" ท่านที่ฝึกใหม่ " หรือ " ท่านที่เคยฝึกแล้วแต่ยังไม่ได้ ฤทธิ์ทางใจ ควรที่จะเตรียมกำลังใจ ไว้ก่อนพอสมควร ดังนี้
    ๑.เป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นเบื้องต้น
    ๒.เป็นผู้ให้ทานตามสมควร หรือ ค่าครู
    ๓. เป็นผู้ที่รักษาศีลดี เป็นปรกติ
    ๔.มีจิตต์ตั้งมั่นในสมาธิ ตามแต่กำลังใจของตน " ท่านหมายเอาถึงจิตต์เป็นสุข เป็นเกณฑ์ "

    หรือทรงฌาน ในระดับต่าง ( ได้แก่ คณิกสมาธิ อุปจาระสมาธิ ฌานที่ ๑ / ฌานที่ ๒ / ฌานที่ ๓ / ฌานที่ ๔ ) หรือ ( อรูปฌาน ๑ / อรูปฌาน ๒ / อรูปฌาน ๓ / อรูปฌาน ๔ ) ควรที่จะปฏิบัติสมาธิให้มีความต่อเนื่อง

    ในกรณีที่ต้องการฝึก " ฤทธิ์ทางใจ " แบบครึ่งกำลังควรที่จะตั้งกำลังใจดังนี้

    ๔.๑. กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก ตามความเป็นจริง เช่น จังหวะในการหายใจเข้าสั้นหรือยาว ก็มีสติรู้และรักษาระดับจังหวะในการหายใจนั้น
    ๔.๒. กำหนดรู้ในคำภาวนา ให้ควบคู่กับลมหายใจ คือ เมื่อหายใจเข้า นึกรู้อยู่ในใจว่า " นะ มะ " กำหนดรู้ในคำภาวนา ให้ควบคู่กับลมหายใจ คือ เมื่อหายใจออก นึกรู้อยู่ในใจว่า " พะ ทะ "
    ๔.๓. กำหนดรู้ในภาพนิมิต ของ " พระพุทธเจ้า " หรือ " พระอริยะสงฆ์ " ในอิริยาบทต่างๆ หรือ ตามความพอใจ หรือ จินตนาการความจำ ( สัญญา คือ การจำได้หมายรู้ ในนิมิต )
    ในกรณี ที่จำภาพนิมิต ไม่ได้จริงๆ ก็ไม่ต้องฝืนอารมณ์จิต หรือ บังคับจิตต์ให้มีความรู้สึกว่าเห็น เพราะจะทำให้เกิดความหนักใจ
    ๔.๔. อิริยาบท ๔ ให้เลือกใช้อิริยาบทอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามความพอใจ ในอิริยาบทนั้นๆ
    ๔.๕.ระยะเวลาในการปฏิบัติสมาธิ หมายเอาอารมณ์จิตต์ที่เป็นสุข เป็นเกณฑ์ เช่น ๕ นาที หรือ ๑๐ นาที หรือ ๓๐ นาที เป็นต้น

    ลำดับขั้นตอนการฝึก " ฤทธิ์ทางใจ " แบบครึ่งกำลัง มีขั้นตอนดังนี้

    1. สมาทานพระกรรมฐาน ก่อน
    2..นั่งในท่าที่สบาย ๆ มือวางแบบสบาย ๆ (ไม่จำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิ)
    3..ก่อนภาวนาหายใจเข้า และ ออกให้ลึกสุด ๆ 3 ครั้ง
    4..ผ่อนคลายลมหายใจให้อยู่ในระดับปกติ แล้วนำ สติ-สัมปชัญญะ ไปรับรู้ ลมหายใจเข้าและออก
    5..นำสติ-สัมปชัญญะไปรับรู้ " คำภาวนา " เมื่อหายใจเข้าให้ท่องในใจว่า '' นะ มะ '' เวลาหายใจออกว่า " พะ ทะ '' จะท่องเป็นคำออกเสียงก็ได้ นะครับ แต่ว่าอาจทำให้เกิดการสับสน จนในที่สุดกว่าจะเข้าถึง ฌาน ได้ จะเสียเวลามากไปได้นะครับ
    6..ระหว่างที่ภาวนา ให้แยก สติ-สัมปชัญญะ ความรู้สึกออกไปส่วนหนึ่ง ไปทำการระลึกถึง พุทธานุสสติ โดยให้ระลึกถึง พระพุทธรูปองค์ใดก็ได้ที่ท่านชอบที่สุดระลึกถึง พระพุทธรูปองค์ใดก็ได้ที่ท่านชอบที่สุด ( ตรงนี้อาจจะลำบากสักนิด เพราะบางท่านที่ ฌาน ยังไม่ทรงตัวอาจทำให้ รูปพระพุทธรูปไม่ชัดเจน ไม่เป็นไรนะครับ ได้แค่ไหนก็แค่นั้นก่อน ไม่ต้องเพ่งจน ทำให้ปวดหัวหรือปวดตานะครับ หรือบางท่านอาจจะไม่ได้ชอบองค์ไหนเป็นพิเศษก็ จะทำให้ระลึกถึง ยากหน่อย ตรงนี้ขอแนะนำให้ท่านลองใช้ จินตนาการก่อนสักนิด ให้พยายามนึกถึงว่าให้เป็น รูปร่างของ พระพุทธรูปก่อน แต่ยังไม่ต้องคิดถึงรายละเอียดขององค์พระท่านนั้นครับ รับรู้แค่นี้ก่อนก็พอ แล้วหลัง ๆ ไปความชัดเจนจะมีมากขึ้นไปเองครับ ถ้ารีบเพ่งแล้วจะปวดหัวปวดตาได้ครับ เทียบการระลึกถึง พระพุทธรูปได้กับ ปฏิภาคนิมิต ( ในกสิณ ) จนเมื่อจิตทรงตัวระดับหนึ่งแล้ว ภาพพระพุทธรูปจะชัดมากขึ้นจัดเป็น อุคนิมิต ( ในกสิณ ) และจะเริ่มทรงตัวใน ฌาน ระดับต่าง ๆ เริ่มจาก 1 ถึง 4 ตามลำดับ และให้ตัดอารมณ์ฟุ้งซ่านใน ระดับต้น ๆ ออกก่อน

    7..ภาวนาใช้เวลาพอสมควร ท่านผู้เป็นต้นตำรับท่านบอกว่า กะแค่พอ จิต เป็นสุขทรงอยู่ใน เอกคตารมณ์ เท่านั้น อาจแค่ 1-10 วินาที สำหรับผู้คล่อง ตัวในการทรงฌานในระดับต่าง ๆ ( 1,2,3,4) อย่างสูง หรือใช้เวลา 10- 30 นาที สำหรับผู้ที่ไม่คล่องใน การทรงฌานในระดับต่าง ๆ ( 1,2,3,4) แบบปกติ

    8.เมื่อสมาธิทรงตัวให้มีความสุขอยู่ในฌานนั้น ๆ ได้แล้วในระยะเวลาที่บอกไปในข้อ 7 แล้วให้ลดอารมณ์จิตลงมาที่อุปจารสมาธิ เพื่อมาวิเคราะห์วิปัสนาญาณที่ว่า '' ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพรัดพรากจากของที่รักที่ชอบก็เป็นทุกข์ '' โดยให้พิจารณาด้วยความนอบน้อมในธรรมนั้นจริง ๆ จะมีผลกับความเป็นทิพย์
    โดยจะมีอยู่ 3 ระดับคือ
    8.1. นอบน้อมในระดับต้น ๆ = ภาพนิมิตในมโนฯขั้นตอนจริงจะเหมือนจิตเราตอบจิตของเราเอง
    8.2. นอบน้อมในระดับกลาง ๆ = ภาพนิมิตในมโนฯขั้นตอนจริงจะเหมือนดูภาพสลัว ๆ จากหนังตะลุง
    8.3.นอบน้อมในระดับเต็มที่ = ภาพนิมิตในมโนฯขั้นตอนจริงจะเหมือนดูภาพปกติตอนกลางวัน
    " เหมือนกลางวันของเรานั้นเปรียบเทียบได้กับแสงหิ่งห้อยนะครับ "

    9...จากนั้นนอบน้อมจิต อธิษฐานตัดอวิชชาในขอบเขตที่ว่า '' ขึ้นชื่อว่า พรหมโลก เทวะโลก มนุษย์โลก และอบายภูมิ 4 เราไม่ต้องการอีก เราต้องการอย่างเดียวว่า เมื่อสังขารสลายจากโลกนี้ไปแล้ว ขอตามรอย พระบาทของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย เพื่อไปอยู่ที่เมืองนิพพาน ตรงนี้ขอให้ตัดสินใจ อย่าได้ลังเล ถ้าลังเลแล้วจะส่งผลให้เกิดเป็นผลให้ ภาพนิมิตในขั้นตอนการฝึกต่อไปจะมีความ มัวมากขึ้น ( ถือว่ายังมี สักกายทิฏฐิ อยู่ )

    10.. ข้อนี้ขอแนะนำเสริมเทคนิคจากประสพการณ์ของผมว่า ( จากข้อ 9) ให้นอบน้อมใจเหมือนว่าเราได้ พนมมือไหว้พระเสมือนเราท่านได้อธิษฐานจิต ต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ในระหว่างนี้อารมณ์จิตจะฟู ( ละจากกิเลสชั่วขณะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เกิด ปิติธรรม ) เนื่องจากปีติแห่งธรรมสูงมาก จิตจะมีอาการเบาสบาย
    จิตจะชุ่มชื่นในธรรมมาก แล้วขอให้ระลึกด้วยกำลัง ใจของเราท่านว่าได้นอบน้อม อทิสมานกายของเรานั้น ว่าได้กราบเฉพาะเบื้องพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า เป็นจำนวน 3 ครั้งด้วยกัน วาระแรกกราบพระพุทธเจ้า วาระที่สองกราบพระธรรม และ วาระที่สามกราบพระสงฆ์

    11. เมื่อนอบน้อมกราบแล้ว จิตก็จะมีความชุ่มชื่นเพราะปีติแห่งธรรมก็ยังคงมีอยู่ (อาจจะมากกว่าข้อ 10 ก็ได้นะครับ สำหรับบางท่าน) ให้ค่อย ๆ กำหนดเสมือนว่า อทิสมานกายของเราท่านเงยหน้าขึ้น หากจิตที่ได้ทรงฌาน มาดีแล้วได้พอสมควรก็จะมีความรู้สึกคล้ายอย่างกับตาเห็นว่ามี พระพุทธเจ้า ( กายเนื้อ , กายพระพุทธรูป หรือ จะเป็นกายพระพุทธรูปแบบปูนปั้น เป็นต้น) หรือ พระอริยะเจ้าที่นับถือ หรือ พรหม หรือ เทวดา ที่ท่านนับถือ ปรากฏอยู่ตรงหน้าท่าน ตรงนี้เรียกได้ว่าเริ่มจะเห็นกระแสแห่ง โคตระภูญาณ ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่าง โลกียะธรรม กับ โลกุตระธรรม เพราะ มีกำลังจิตและวิปัสนาญาณ พอสมควร ท่านจึงจะสามารถเห็นองค์พระพุทธเจ้าได้ ( เป็นผลจากข้อ 9 ที่บอกนั่นแหละครับ ว่าถ้าจิตไม่นอบน้อมตัดอวิชชา ด้วยความจริงใจแล้ว ผลที่ได้ในขั้นนี้จะมีความมัวมากครับ )ซึ่งขั้นตอนนี้ เรียกที่ว่า ''' ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต '''' หากเป็นในสมัยพุทธกาล ก็จะมีปรากฏบ่อย ๆ ครับ ดังกรณีพระวักลิของ พระอริยเจ้านามว่า พระวักลิ (อ่านว่า วัก-กะ-ลิ) เพราะเหตุแห่งติดในพระรูปพระโฉมของพระพุทธเจ้า ท่าน ติดในพระรูปพระโฉมของพระพุทธเจ้า เลยทำให้ท่านไม่สามารถ ตัดกิเลสให้เป็นพระอรหันต์ได้ พระพุทธองค์ทรงทราบดี จึงทรงแกล้งทำเป็นตรัสไล่พระวักลิออกไปเสีย ท่านพระวักลิน้อยใจ เลยจะไปโดดหน้าผาตาย ระหว่างที่จะโดดนั้นจิตของท่านมีความน้อยใจที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไล่เลยเบื่อหน่ายในสภาพของคน ตอนนั้นพระพุทธองค์ ทรงเปล่งฉัพพรรณรังสีแล้วเป็นพระพุทธนิมิตไปเฉพาะหน้าพระวักลิ เสร็จแล้วทรงแสดงธรรมให้พระวักลิเห็นถึงความไม่เที่ยง ของโลกนี้ ซึ่งรวมไปถึงพระรูปพระโฉมของพระพุทธเจ้าท่านด้วย หลังจากได้ฟังธรรมแล้วพระวักลิก็สำเร็จอรหัตผลในที่หน้าผา แห่งนั้นหละครับ.......... นี่ก็คือตัวอย่างของการที่บอกว่า ''' ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ''' ในสมัยพุทธกาลครับ

    12.. เมื่อเห็นพระตถาคตแล้วในขั้นตอนนี้ควรตัดความฟุ้งซ่าน (อย่างกลาง ๆ เช่นว่า เอ...นี่นิมิตหลอกเราหรือเปล่า เป็นต้น) ออกเสียให้หมด เพราะในขณะที่กำลังใจของท่านในขณะนั้น จะมีคุณธรรมของ ทาน,ศีล,ภาวนา ซึ่งส่งผลให้เกิด ปัญญา ได้ครบถ้วน อยู่แล้วบริบูรณ์ ท่านย่อมเห็นพระพุทธเจ้าไม่ผิดเพี้ยน เพียงแต่ให้ตัดสัญญาความจำของลักษณะทางกายของพระองค์ท่านออกเสีย "" ให้คิดแบบคนฉลาดน้อย ๆ ว่า "" กายของพระองค์ท่านจะเป็นแบบใดก็ไม่สนใจ เราถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน

    13.. เมื่อหมดความสงสัยแล้ว ก็กราบพระพุทธองค์ขอให้ได้ทรงโปรด นำอทิสมานกายของเราท่านไปยังพระจุฬามณีย์เจดีย์สถาน ในเขตของสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์
    โดยอาจแบ่งได้เป็น 3 เทคนิค ในการแก้ปัญหาที่บางท่านพบเจอคือ มักจะบอกกันว่าจิตไม่เคลื่อนออกจากกายเนื้อให้แก้ไขดังนี้

    13.1.. ยึดมั่นในกายเนื้อนี้มากไป เลยทำให้สงสัยว่ากายทิพย์ จะออกไปได้อย่างไร ( ให้แก้ไขโดยการพิจารณาทบทวนข้อ และข้อ 9 ) อีกครั้งหรือจนกว่าจะหายยึดมั่น

    13.2.. ยึดมั่นถือมั่นในโลกธาตุ เกี่ยวกับพระรูปพระโฉมของพระพุทธองค์ว่า ทำไมเป็นแบบนี้ ทำไมไม่เป็นแบบนั้น เป็นต้น วิธีแก้ไขคือให้ใช้ " กฎพระไตรลักษณ์ " เข้ามาพิจารณาร่วมว่า ในขอบเขตที่ว่า ทุกสิ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง
    และอนัตตา ไม่มีสิ่งใดที่เที่ยงแท้แน่นอนตลอดไป แม้แต่พระรูปพระโฉมของพระพุทธองค์ก็ตาม'

    13.3...ให้อธิฐานเพิ่มเติมว่า กุศลใดที่เคยบำเพ็ญมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ถ้าหากอธิฐานไม่ตรงพระนิพพาน ข้าพระพุทธเจ้าขอเปลี่ยนอธิฐาน " เพื่อขอพระนิพพาน ในชาตินี้ "

    13.4..ให้อธิฐาน ขอขมาลาโทษต่อพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง ''' ขั้นตอนนี้จะสังเกตุว่าบางท่าน อาจจะมี
    พระพุทธนิมิตไม่ครบสมบูรณ์ทั้งองค์ เช่น อาจจะ เศียรขาดบ้าง ขาขาดบ้าง แขนขาดบ้าง ทองถูกลอกไป
    บ้าง เป็นต้น ''' ถ้าเกิดมีการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ต้องอธิฐานขอชำระหนี้สงฆ์ด้วยนะครับ ( ให้ดูบทขอขมา )

    13.5 ให้ใช้พระพุทธนิมิตนั้นแหละมาเป็น กสิณ โดยที่เราควรจะขอบารมี ท่านให้ทำภาพนิมิตขึ้นมา (โดยปกติของการฝึก กสิณ นั้นเราท่านต้อง กำหนดรู้ภาพนิมิตเองโดยที่ต้องใช้อำนาจจิตของตน เองบังคับองค์กสิณให้ได้ตามใจปรารถนา) เช่น ขอพระบารมีของพระองค์ท่านได้โปรดสงเคราะห์ โปรดขยายพระวรกายของพระองค์ท่านให้ใหญ่ขึ้น....หรือเล็กลงก็ได้ เสร็จแล้วเมื่อท่านสงเคราะห์ตาม ที่เราขอท่านแล้ว เราก็กราบท่าน หรือจะขอให้พระองค์ท่านสงเคราะห์ให้พระองค์ ขยับพระวรกาย ให้ไกลออกไปหรือร่นใกล้เข้ามา.......เมื่อพระองค์ทรงสงเคราะห์เราแล้วเราก็กราบท่านด้วยนะครับ จนเมื่อจิตได้ที่แล้วพอใจแล้ว จิตจะมีความคล่องตัวสูงมาก (ต้องอย่าห่วงร่างกายนะครับ) และขอ พระบารมีของพระองค์ท่านให้โปรดนำเราไปยัง พระจุฬามณีเจดีย์สถาน เราก็รวบรวมจิตที่คล่องแล้ว พุ่งอทิสมานกายตามพระองค์ท่านไปเลย แต่เราท่านไม่ควรไปตามลำพังควรจะเกาะชายจีวรของพระองค์ท่าน หรือ เกาะแท่นที่ประทับของท่านไปก็ได้ ระหว่างนี้ถ้ามีความฟุ้งซ่านต้องรีบตัดออกไปทันที หน้า ๑๒

    14.. ในกรณีที่อทิสมานกายเหาะไปได้ช้ามากเกินไป ให้อธิฐานด้วยความนอบน้อมแด่พระพุทธนิมิตว่า พระพุทธเจ้าขอเพิ่มความเร็วเป็น 1 เท่า 2 เท่า ไปจนถึง 10 เท่าตามแต่ใจของแต่ละท่านต้องการ พออธิฐานเสร็จให้ภาวนา นะมะ พะทะ จนกว่าจะถึง

    15.. เมื่อถึงพระจุฬามณีแล้ว อารมณ์จิตจะรู้สึกว่าหยุด

    15.1 บางท่านจะเห็น พระจุฬามณีแจม่ชัด หรือ อาจเห็น พรหม หรือ เทวดา หรือ วิมานของเทวดา ได้ทันที

    15.2 หากขึ้นถึงพระจุฬามณีแล้วเกิดความมืดเข้ามาแทนที่ ก็ต้องพิจารณาตาม ข้อ และ( 9) ใหม่อีกครั้ง
    ทันที สภาวะธรรมของท่านที่จะเห็นก็ จะสว่างขึ้นและสามารถรู้เรื่องต่าง ๆ ของสวรรค์ได้ และควร ขอพระบารมีเพื่อลองรับสัมผัสว่า อารมณ์จิตของการที่เป็นเทวดา อยู่ในสวรรค์นั้นมีความสุขเช่นใด และลองเทียบกับความสุขของมนุษย์ดู

    16..จากนั้นให้พิจารณาข้อ และ 9) อีกครั้ง จึงตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปพระนิพพาน คราวนี้ท่านทั้ง หลายก็จะได้รู้กันเสียทีว่า พระนิพพานนั้นสูญหรือไม่สูญ ตามที่พระพุทธเจ้าพระองค์ไม่เคยตรัสว่า นิพพานสูญ จะสูญไปก็แต่กิเลสเท่านั้น เสร็จแล้วขอพระบารมีเพื่อไปชมวิมานของเราที่พระนิพพาน หรือจะขอพระบารมีเพื่อไปที่ไหนก็ได้ตามใจเรา...........

    17.. เมื่อฝึกได้แล้วควรรักษาอารมณ์ไว้ให้ดีเพื่อจะได้นำไป ตัดกิเลสตามลำดับต่อไป และก็เตรียมเรียน ท่องเที่ยวในไตรภูมิ และ ญาณ 8 ต่อได้เลยนะครับ
    จบขั้นตอนเบื้องต้นการฝึก " ฤทธิ์ทางใจ " แบบครึ่งกำลัง

    ขั้นตอนเบื้องต้นการฝึก ฤทธิ์ทางใจเต็มกำลัง

    ลำดับขั้นตอน

    1..นำผ้าแดง หรือกระดาษแข็ง ตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม กะขนาดให้สามารถนำมาผู้ปิดหน้าได้
    2..เขียนคาถาบนหน้ากากว่า " นะ โม พุท ธา ยะ " หรือจะเป็นภาษาขอมก็ได้ถ้าเขียนเป็น
    3..สมาทานพระกรรมฐาน ( ดูหน้า 2 )
    4..เสร็จแล้วให้ตั้งกำลังใจว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ถ้าจะต้องตายเพราะการฝึกนี้ก็ขอยอมตายเป็นอะไรให้รู้ไป ตายเพื่อความดีแบบนี้เรายอมตายได้
    5..ให้ผ้าแดงปิดตา เขียน ยันต์พระพุทธเจ้า 5 พระองค์
    6..ใช้คาถากำกับในการท่องภาวนาว่า """ นะ โม พุท ธา ยะ "" หรือ " สัมมาอรหันต์ " หรือ " สัมปจิตฉามิ " หรือ" " นะมะพะทะ " หรือ " โสตัตตะภิญญา " อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ท่องคาถาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ในขณะที่ว่าคาถานั้นก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจด้วยเช่นกัน ( ไม่ต้องท่องออกมาก็ได้เหมือนกับที่อธิบายไปแล้วในการฝึกมโนมยิทธิครึ่งกำลัง เมื่อจิตทรงตัวในเขต ของ อุปจารสมาธิ จะมีอาการของปิติ 5 อย่างเกิดขึ้นเหมือนพระกรรมฐานกองอื่นๆ ได้แก่๑) ขนลุกชูชัน ๒) ตัวไหวโยกโครง ๓) น้ำตาไหลริน ๔) เหมือนกายขยายไปรอบข้าง ๕)เหมือนกายขยายสูงขึ้น " หากมีอาการเช่นนี้เกิดขึ้น ผู้ฝึกไม่ต้องตกใจหรือกังวลใดๆ เพราะเมื่อชินแล้วจะหายไปเอง

    7..พอภาวนาไประยะหนึ่งจิตจะเริ่มทรงตัวขึ้นเรื่อย ๆ ลมหายใจจะค่อย ๆ ละเอียดขึ้นและแผ่วเบาลง ซึ่งจะมีลักษณะไม่สอดคล้องกับคำภาวนา ก็ไม่ต้องสนใจ ภาวนาไปอย่างเดียว
    โดยที่คำภาวนาในตอนนี้จะมีลักษณะที่ถี่ขึ้น และอาจมีอาการปีติอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมากขึ้น หรือ คำภาวนาอาจหายไปเลยก็ได้ อยู่ใน ฌานที่ 3

    8..พอถึงลำดับ ฌาน ที่ 4 ทรงตัวพอสมควรกำลัง ฌาน ก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่น จาก อุปจารสมาธิแล้วเพิ่มขึ้นไปเป็น ฌาน 1->2->3->4 หรือ จาก ฌาน 4->3->2->1-> อุปจารสมาธิ
    จะเป็นแบบนี้สลับไปมาโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วงนี้เองสภาวะความเป็นทิพย์จะเกิดขึ้น ทำให้ท่านจะเห็นเป็น อาโลกสิณ เช่น ช่องแสง, แสงพุ่งเข้ามาหา, ประตู ,โพรงถ้ำ , พระพุทธเจ้าเสด็จมารับบ้าง ,หรือ อาจเป็นพระอริยเจ้ามารับบ้าง เป็นต้น

    9.. เมื่อเห็นแล้วให้รวบรวม กำลังใจน้อมนำจิตพุ่งตามแสง ( พุทธรังสี หรือท่านอื่น ๆ ) ที่มารับนั้นไป บางครั้งจะเหมือนมีพลังมหาศาลมาดูด กายในของเราออกไปถ้ามีลักษณะดูดเช่นนี้ ก็ให้พุ่งกำลังใจออกตามไปเลยเช่นกัน

    10..เมื่ออทิสมานกายหลุดออกไปจากกายเนื้อจริง ๆ (ผลของการที่จะหลุดได้ต้องเข้าถึง ฌาน 4 แต่สภาวะที่เหมาะสมที่จะให้กายทิพย์ออกไปได้คือ อุปจารสมาธิ ) ร่างกายของคุณตอนนี้อาจจะทรงตัวไม่อยู่ อาจจะต้องนอนราบไปเลยก็ได้ ในช่วงนี้จะมีความรู้สึกทางกายเพียง 2-10%เท่านั้นที่คอยจะควบคุมร่างกายไว้ หรืออทิสมานกายหลุดออก ๘๐%ขึ้นไป

    11..ขอใหัสังเกตุว่า การฝึกเต็มกำลังในเบื้องต้น พระ หรือ เทวดา หรือ พรหม จะพาท่านไปเที่ยว โดยที่ท่านที่พาเราไปนั้นท่านอาจพาไปได้ 2 ที่คือ

    11.1.ถ้าเป็นสุคติภูมิ แสงหรือลำแสง ที่ส่องเข้ามาหาผู้ฝึกนั้นจะส่องตั้งแต่ระดับสายตาขึ้นไป
    11.2.ถ้าในโลกมนุษย์ แสงหรือลำแสง ที่ส่องเข้ามาหา ผู้ฝึกจะส่องตั้งแต่ระดับสายตา
    11.3.ถ้าเป็นทุคติภูมิ แสงหรือลำแสง ที่ส่องเข้ามาหาผู้ฝึกนั้นจะส่องตั้งแต่ระดับสายตาลงมา

    12.. เมื่อฝึกจนคล่องแล้ว ญาณ 8 ก็จะตามมาเอง
    13.. นำกำลัง ฌาน ต่าง ๆ ที่ฝึกได้แล้ว มาตัดกิเลส ( สังโยชน์) อีกที
    14.. และอธิฐานให้จิตมีความรักในพระนิพพาน

    มีข้อสังเกต 2 ประการณ์

    1. ขณะที่กำลังถอดอทิสมานกายแบบ เต็มกำลังนั้นทีสุดของการไปเราจะไม่มีความสามารถ ที่จะมีสติควบคุมสังขารเราไว้ได้ เล็กน้อย( ส่วนใหญ่ของผู้ฝึกได้ใหม่ๆ ) มักต้องล้มลงนอน ครึ่งหลับครึ่งตื่นครับ ถ้ามีความชำนานแล้วจะอยู่ได้ทั้ง 4 อิริยาบทครับ ในระยะต้นๆที่คุณเป็นอยู่ ควรหลับตาครับ ถ้าลืมตาจะไปได้เพียง มโนฯครึ่งกำลังครับ

    2. การพุ่งออกของอทิสมานกาย แบบเต็มกำลังในระยะต้นๆ จะไปตามที่พระท่านให้ไป เมื่อชำนานแล้วกำหนดจิตไปได้ทุกที่ อารมณ์กลัวตาย ครับ ให้ลองคิดดูว่าชีวิตนี้เกิดหนเดียวตายหนเดียว แต่เราตายในชาตินี้หรือเดี๋ยวนี้ เราจะยอมตายเพื่อพระนิพพาน จะไม่ยอมตายเพราะทำชั่วเด็จขาด เพียงนี้ไม่ช้าก็ไปได้ครับ

    3. การพุ่งออกไปในระยะต้นๆ ไม่แน่ครับว่าจะได้พบหลวงพ่อก่อน รวมความว่าพบท่านผู้ใดก็ขอบารมีท่านก็แล้วกันครับ เรื่องคาถากำกับ แล้วแต่ความคุ้นเคยมาแต่ปางก่อน ของแต่ละบุคคลครับ ในวาระจิตที่กำลังเข้าฌาน ในลำดับต่างๆ ในการฝึก " ฤิทธิ์ทางใจ แบบเต็มกำลัง " นั้นมักมีนิวรณ์ 5 + อุปกิเลส เข้ามากินใจแทรกระหว่างการประคับประคอง กำลังใจให้ทรงฌาน

    ถ้าได้ " ฤทธิ์ทางใจครึ่งกำลัง " มาก่อนจะมีอาการ ลักษณะเดียวกันนี้มาก คือ

    1. เหมือนว่ามีกำลังจิตอีก ส่วนหนึ่งไปคอยเฝ้าดูว่า มีความเคลื่อนไหวต่างๆเช่นไร
    2. กำลังจิตกำลังทรงอารมณ์ถึงระดับไหนแล้ว อทิสมานกาย จะหลุดออกจากกายในลักษณะใด หน้า 14
    3. อทิสมานกาย จะหลุดออกจากกายในลักษณะใด เช่น ดิ่งขึ้นข้างบน หรือ ออกทาง ซ้าย -- ขวา หรือ หน้า -- หลัง จะเป็นประการใดกันแน่
    4. ไม่เห็นเหมือนที่ได้รู้มาเลย นะ
    5. อาการหายใจเริ่มถี่กระชั้นเหลือเกิน แทบจะกลั้นใจตายอยู่แล้ว หยุดดีกว่า
    6. กลัวว่าไปแล้วจะไม่กลับ ทั้งๆที่ยังไม่ได้เคยไปเลย
    ในประการทั้ง 6 อย่างนี้ มักเป็นอุปสรรค์ในการฝึกฤิทธิ์ แบบเต็มกำลัง หรือครึ่งกำลัง​
     

แชร์หน้านี้

Loading...