เรื่องเด่น จีน-สหรัฐฯ ลืมความบาดหมางชั่วคราว จับมือลดโลกร้อน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 11 พฤศจิกายน 2021.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b8b1e0b890e0b8af-e0b8a5e0b8b7e0b8a1e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b89ae0b8b2e0b894e0b8abe0b8a1e0b8b2.jpg

    จีนและสหรัฐฯ ลืมความบาดหมางชั่วคราว หันมาจับมือบรรลุข้อตกลงใหม่ในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนร่วมกัน เป็นข้อตกลงที่สร้างความประหลาดใจอย่างมาก ท่ามกลางความตึงเครียดเรื่องเกาะไต้หวัน


    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน เตือนว่า อย่านำภูมิเอเชีย-แปซิฟิกหวนคืนสู่ความตึงเครียดในยุคสงครามเย็น พร้อมเรียกร้องให้ร่วมมือกันมากขึ้นในการแก้ปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

    ท่ามกลางความตึงเครียดกับสหรัฐฯ กรณีเกาะไต้หวัน แต่ยังมีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นอยู่บ้างระหว่าง 2 มหาอำนาจโลก หลังจากเกิดข้อตกลงระหว่างจีนและสหรัฐฯ เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ เมื่อพวกเขาให้คำมั่นว่าจะร่วมมือกันเร่งมาตรการแก้ปัญหาโลกร้อนใน 10 ปีนี้ ซึ่งเป็นข้อตกลงใหม่ที่สร้างความประหลาดในการเผชิญกับปัญหาโลกร้อน ที่กำลังก่อให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงทั่วโลกอยู่ในขณะนี้

    การประกาศความร่วมมือครั้งนี้ มีขึ้น ขณะที่การประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 หรือ COP26 ในเมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ เข้าสู่วาระสุดท้ายของการพิจารณาที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก โดยคณะผู้แทนเจรจาต้องขบคิดหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อควบคุมอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิดระดับ 1.5-2 องศาเซลเซียส จากระดับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม

    25fe.png 25fe.png 25fe.png

    1f534.png จีนบรรลุความเข้าใจกับสหรัฐฯ เรื่องโลกร้อน

    ประธานาธิบดีสี กล่าวว่า ทุกประเทศในภูมิภาคต้องทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ โดยเขากล่าวในการประชุมธุรกิจเสมือนจริงนอกรอบการประชุมสุดยอดความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค ว่า ความพยายามที่จะวาดเส้นทางอุดมการณ์ หรือสร้างวงกลมเล็ก ๆ ด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์-การเมือง จะต้องไม่เกิดขึ้น ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกไม่สามารถและไม่ควรหวนกลับไปสู่การเผชิญหน้า และความแตกแยกเหมือนที่เกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น


    จีนแถลงว่า ได้บรรลุความเข้าใจกับสหรัฐฯ ในที่ประชุมสุดยอด COP26 ในเมืองกลาสโกว์ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาโลกร้อน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน มองเห็นศักยภาพในการร่วมมือกัน

    แต่ประธานาธิบดีสี ไม่ได้กล่าวถึงข้อตกลงกับสหรัฐฯ โดยตรง กล่าวแต่เพียงว่า ทุกฝ่ายสามารถเริ่มดำเนินการบนเส้นทางของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีคาร์บอนต่ำ หากร่วมมือกัน เราสามารถพัฒนาสีเขียวได้ในอนาคต

    ผู้นำจีน กล่าวด้วยว่า จีนจะยึดมั่นพันธสัญญาในการส่งเสริมความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดีไบเดน วิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของประธานาธิบดีสี ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมสุดยอด COP26 ในเมืองกลาสโกว์ว่า จีนเดินหนีปัญหา ซึ่งจีนก็ออกมาตอบโต้ทันควัน

    แต่ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ดูเหมือนจะดีขึ้นก่อนการเจรจาทวิภาคีที่รอคอยมานานระหว่างผู้นำ 2 ประเทศในสัปดาห์หน้า ที่จะเป็นรูปแบบการประชุมผ่านวิดีโอคอลล์ แต่ยังไม่มีการระบุวันและเวลาที่แน่ชัด


    25fe.png 25fe.png 25fe.png

    1f534.png ยินดีที่สหรัฐฯ-จีน ร่วมมือกู้โลก

    ด้านกลุ่มนักเคลื่อนไหวและนักการเมืองทั่วโลก ต่างออกมาแสดงความยินดีกับการร่วมมือของ 2 ชาติยักษ์ใหญ่คู่อริของโลก และนับเป็นชาติที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุดในโลก

    นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม จะช่วยให้ชาวโลกหลีกเลี่ยงจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงได้

    แต่ก็ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ว่าทั้ง 2 ประเทศจะดำเนินการลดการปล่อยก๊าซพิษในช่วง 9 ปีข้างหน้าอย่างไร

    ด้านองค์กรกรีนพีซสากล ได้กล่าวแสดงความยินดีกับแถลงการณ์ของ 2 ชาติ แต่ก็เตือนทั้ง 2 ประเทศว่า จะต้องแสดงความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงในการไปให้ถึงเป้าหมายดังกล่าว

    ทั้งนี้ 5 ชาติที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก ประกอบด้วย (เมกะตัน/ปี – ข้อมูลปี 2019)

    จีน 11,535 เมกะตัน/ปี

    สหรัฐฯ 5,107 เมกะตัน/ปี

    อียู 3,304 เมกะตัน/ปี

    อินเดีย 2,597 เมกะตัน/ปี

    รัสเซีย 1,792 เมกะตัน/ปี

    ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เคยประกาศเมื่อเดือนกันยายนว่า จีนจะเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2060 โดยคาดว่าจะปล่อยก๊าซสูงสุดในปี 2030 ส่วนสหรัฐฯ ตั้งเป้าว่าจะปล่อยก๊าซเป็นศูนย์ (net zero) ในปี 2050

    25fe.png 25fe.png 25fe.png

    1f534.png อุณหภูมิโลกน่าจะสูงเกิน 1.5 องศาฯ ในปี 2030

    กลุ่มนักวิเคราะห์อิสระที่ชื่อไคลเมต แอ็กชั่น แทร็กเกอร์ (Climate Action Tracker) หรือ CAT เปิดเผยว่า คำสัญญาของประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ ว่าจะทำการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงภายในปี ค.ศ. 2030 นั้น ไม่ได้จะส่งผลดีต่อความพยายามแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างทันท่วงที เพราะอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มที่จะพุ่งขึ้นสูงกว่าระดับที่องค์การสหประชาชาติ ตั้งเป้าในปี 2100 แล้ว

    กลุ่ม CAT ระบุว่า แม้ผู้นำทั่วโลกจะให้คำมั่นในการลดการปล่อยก๊าซภายในปี 2030 การประเมินล่าสุดชี้ว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากทั่วโลกในปีดังกล่าว น่าจะสูงขึ้นกว่าเป้าหมายเพื่อควบคุมการปรับขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ด้วยเหตุนี้ CAT จึงเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกพิจารณาปรับเปลี่ยนเป้าหมายการปล่อยก๊าซของตนโดยด่วน

    ทางกลุ่มยังเปิดเผยผลการวิเคราะห์ ในกรณีที่บางประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) ได้ภายในหรือหลังปี 2050 การปรับขึ้นของอุณหภูมิโลกในศตวรรษนี้ก็จะอยู่ที่ราว 1.8 องศาเซลเซียส สูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียสอยู่ดี

    และเพื่อให้ทั่วโลกสามารถบรรลุเป้าการควบคุมการปรับขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส นักวิทยาศาสตร์ของ CAT กล่าวว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกต้องลดลง 45% จากระดับที่บันทึกไว้เมื่อปี 2010 ภายในปี 2030 และประสบความสำเร็จกับเป้าหมายดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2050 ด้วย

    การคาดการณ์ดังกล่าว มีขึ้นขณะที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักร เตือนว่า ประชาชนหนึ่งพันล้านคนอาจได้รับผลกระทบจากความร้อนและความชื้นรุนแรง หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก เพิ่มสูงขึ้นเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม 2 องศาเซลเซียส

    —————

    แปล-เรียบเรียง: ภัทร จินตนะกุล

    ภาพ: Nicholas Kamm, Ludovic MARIN / AFP


    ขอบคุณที่มา

    https://www.tnnthailand.com/news/world/96273/
     

แชร์หน้านี้

Loading...