"จิต คือ พุทธ"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย มิยู, 15 มกราคม 2006.

  1. มิยู

    มิยู สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +21
    <CENTER>[SIZE=+2]"จิต คือ พุทธ"[/SIZE]
    </CENTER>
    [SIZE=+1]<DD>พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียง จิตหนึ่ง นอกจาก จิตหนึ่ง แล้วมิได้มีอะไรตั้งอยู่เลย <DD>จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้น และไม่อาจจะถูกทำลายได้เลย มันไม่ใช่เป็นของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูป ไม่มีทั้งการปรากฏ ไม่ถูกนับรวมอยู่ในบรรดาสิ่งทั้งที่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการตั้งอยู่ ไม่อาจจะลงความเห็นว่า เป็นของใหม่หรือของเก่า ไม่ใช่ของยาวหรือของสั้น ของใหญ่หรือของเล็ก ทั้งนี้เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัดเหนือการตั้งชื่อ เหนือการทิ้งร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบทั้งหมดทั้งสิ้น <DD>จิตหนึ่ง นี้เป็นสิ่งซึ่งเราเห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผล (ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนกับความว่างอันปราศจากขอบทุกๆ ด้านซึ่งไม่อาจจะหยั่งหรือวัดได้ <DD>จิตหนึ่ง นี้เท่านั้นเป็น พุทธ ไม่มีความแตกต่างระหว่าง พุทธ กับสัตว์โลกทั้งหลาย เพียงแต่ว่าสัตว์โลกทั้งหลายไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ เสีย และเพราะเหตุนั้นเขาจึงแสวงหา พุทธภาวะ จากภายนอก การแสวงหาของสัตว์เหล่านั้นเองทำให้เขาพลาดจาก พุทธภาวะ การทำเช่นนั้นเท่ากับการใช้สิ่งซึ่งเป็น พุทธ ให้เที่ยวแสวงหา พุทธ และการใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต <DD>แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะได้พยายามจนสุดความสามารถของเขาอยู่ตั้งกัปป์หนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถบรรลุถึงพุทธภาวะได้เลย เขาไม่รู้ว่าถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวาย เพราะการแสวงหาเสียเท่านั้น พุทธ ก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่าจิตนี้คือ พุทธ นั่นเอง และ พุทธ ก็คือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงนั่นเอง สิ่งๆ นี้เมื่อปรากฏอยู่ที่สามัญสัตว์จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ <DD>สำหรับการบำเพ็ญปารมิตาทั้งหกก็ดี การบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติที่คล้ายๆ กันอีกเป็นจำนวนมากก็ดี หรือการได้บุญมากมายนับไม่ถ้วนเหมือนจำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาก็ดี เหล่านี้นั้น จงคิดดูเถิดเมื่อเราเป็นผู้สมบูรณ์โดยสัจจะพื้นฐานในทุกๆ กรณีอยู่แล้ว คือเป็นจิตหนึ่ง หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธ ทั้งหลายอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามจะเพิ่มเติมอะไรให้แก่สิ่งซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วนั้น ด้วยการบำเพ็ญวัตรปฏิบัติต่างๆ ซึ่งไร้ความหมายเหล่านั้นไม่ใช่หรือ เมื่อไหร่โอกาสอำนวยให้ทำ ก็ทำมันไป และเมื่อโอกาสผ่านไปแล้วอยู่เฉยๆ ก็แล้วกัน <DD>ถ้าเรายังไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่า จิต นั้นคือ พุทธ ก็ดี และถ้าเรายังยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ อยู่ก็ดี ต่อวัตรปฏิบัติต่างๆ อยู่ก็ดี และต่อวิธีการบำเพ็ญบุญกุศลต่างๆ ก็ดี แนวความคิดของเราก็ยังคงผิดพลาดอยู่ และไม่เข้าร่องรอยกันกับทางๆ โน้นเสียเลย <DD>จิตหนึ่ง นั่นแหละ คือ พุทธ ไม่มีพุทธะอื่นใดที่ไหนอีก ไม่มีจิตอื่นใดที่ไหนอีก มันแจ่มจ้าและไร้ตำหนิ เช่นเดียวกับความว่าง คือ มันไม่มีรูปร่าง หรือปรากฏการณ์ใดๆ เลย ถ้าเราใช้จิตของเราให้ปรุงแต่งความคิดฝันไปต่างๆ นั้น เท่ากับเราทิ้งเนื้อหาอันเป็นสาระเสีย แล้วไปผูกพันตัวเองอยู่กับรูปธรรมซึ่งเป็นเหมือนกับเปลือก พุทธ ซึ่งมีอยู่ตลอดกาลนั้น ไม่ใช่ พุทธ ของความยึดมั่นถือมั่น <DD>การปฏิบัติปารมิตาทั้งหก และการบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ที่คล้ายคลึงกันอีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ด้วยเจตนาที่จะเป็น พุทธ สักองค์หนึ่งนั้นเป็นการปฏิบัติชนิดคืบหน้าทีละขั้นๆ แต่ พุทธ ซึ่งมีตลอดกาลดังที่กล่าวแล้วนั้นหาใช่ พุทธ ที่บรรลุถึงได้ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นๆ เช่นนั้นไม่ เรื่องมันเป็นเพียงแต่ ตื่น และ ลืมตา ต่อ จิตหนึ่ง นั้นเท่านั้น และไม่มีอะไรที่จะต้องบรรลุถึงอะไร นี่แหละ คือ พุทธที่แท้จริง พุทธ และสัตว์โลกทั้งหลาย คือ จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจากนี้อีกเลย <DD>จิตเป็นเหมือนกับความว่าง ซึ่งภายในนั้นย่อมไม่มีความสับสนและความไม่ดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นย่อมให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก ความว่างที่แท้จริงนั้นมันก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง ปรากฏการณ์ของความสว่างและความมืดย่อมสับเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่ธรรมชาติของความว่างนั้น ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่นั่นเอง จิต ของ พุทธ และของสัตว์โลกทั้งหลายก็เป็นเช่นนั้น <DD>ถ้าเรามองดู พุทธ ว่าเป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่บริสุทธิ์ ผ่องใส และรู้แจ้งก็ดี หรือมองสัตว์โลกทั้งหลายว่า เป็นผู้แสดงออกซึ่งความปรากฏของสิ่งที่โง่เง่า มืดมน และมีอาการสลบไสลก็ดี ความรู้สึกนึกคิดเหล่านี้ อันเป็นผลเกิดมาจากความคิดยึดมั่นต่อรูปธรรมนั้น จะกันเราไว้เสียจากความรู้อันสูงสุดถึงแม้ว่าเราจะได้ปฏิบัติมาตลอดกี่กัปป์นับไม่ถ้วน ประดุจเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาแล้วก็ตาม มีแต่จิตหนึ่งเท่านั้นและไม่มีสิ่งอื่นใดแม้แต่อนุภาคเดียว ที่จะอิงอาศัยได้ เพราะจิตนั้นเองคือ พุทธ <DD>เมื่อพวกเราที่เป็นนักศึกษาเรื่องทางโน้น ถ้าไม่ลืมตาต่อสิ่งซึ่งเป็นสาระ กล่าวคือ จิตนี้ พวกเราจะปิดบังจิตนั้นเสียด้วยความคิดปรุงแต่งของเราเอง พวกเราจะเที่ยวแสวงหาพุทธนอกตัวเราเอง พวกเรายังยึดมั่นถือมั่นต่อรูปธรรมทั้งหลายต่อการปฏิบัติเมาบุญต่างๆ และสิ่งอื่นๆ ทำนองนั้น ทั้งหมดนี้เป็นอันตราย และไม่ใช่หนทางอันนำไปสู่ความรู้อันสูงสุดที่กล่าวนั้นแต่อย่างใดเลย <DD>เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น โดยภายในแล้วย่อมเหมือนกันไม้หรือก้อนหิน คือ ภายในนั้นปราศจากความเคลื่อนไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือ ปราศจากขอบเขต หรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิ่งนี้ไม่ใช่เป็นฝ่ายนามธรรมหรือฝ่ายรูปธรรม มันไม่มีที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่าง และไม่อาจจะหายไปไหนได้เลย <DD>จิตนี้ ไม่ใช่จิตซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็นสิ่งซึ่งอยู่ต่างหาก ปราศจากการเกี่ยวข้องกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ฉะนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และสัตว์โลกทั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น พวกเราเพียงแต่สามารถปลดเปลื้องตนเองออกจากความคิดปรุงแต่งเท่านั้น พวกเราจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง <DD>หลักธรรมที่แท้จริงก็คือ จิต นั่นเอง ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย จิตนี่แหละคือหลักธรรม ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้วมันก็ไม่ใช่จิต จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังไม่ใช่ มิใช่จิต การที่กล่าวว่าจิตนั้น มิใช่จิตดังนี้ นั่นแหละ ย่อมหมายถึงสิ่งบางสิ่งซึ่งมีอยู่จริงสิ่งนี้มันอยู่เหนือคำพูด ขอจงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดก็ได้ผูกตัดขาดไปแล้ว และพฤติของจิต ก็ถูกเพิกถอนขึ้นสิ้นเชิงแล้ว <DD>จิตนี้คือ พุทธโยนิ อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติ อันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิดๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวง ทุกชนิดไม่มีหยุด <DD>ธรรมชาติแห่งความเป็น พุทธ ดั้งเดิมของเรานั้นโดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตน แม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่ง สงบเงียบและไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง <DD>จงเข้าไปสู่สิ่งๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละคือ สิ่งๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว <DD>จิต คือ พุทธ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่งมันย่อมมีส่วนแห่งความเป็น พุทธ เท่ากันหมดและทุกสิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับ พุทธ อยู่ตลอดเวลา <DD>ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองนี้ได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเอง ได้ด้วยความเข้าใจอันนั้นเท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหา แม้แต่อย่างใดเลย <DD>จิต ของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราจะได้พบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่า เป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้นมันเป็นครรภ์ หรือเป็นกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย <DD>ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูดเราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัว สติ ปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมคือ ไม่ได้เป็นตัวสติ ปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึง ในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่หรือไม่ใช่ความมีอยู่ <DD>ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวารอยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไรในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้นเราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น <DD>มูลธาตุทั้ง 5 ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้นมันเป็นของว่างเปล่า และมูลธาตุทั้ง 4 ของรูปกายนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นตัวของเรา จิตจริงแท้นั้นไม่มีรูปร่างและไม่มีอาการมาหรืออาการไป ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้น เป็นสิ่งๆ หนึ่งซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตายแต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด <DD>จิต ของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้ง เห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวของเราเองเท่านั้น ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิงและเป็นสิ่งๆ เดียวกับสิ่งสูงสุดสิ่งนั้น เราจะได้บรรลุถึงภาวะแห่งความที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป ฉะนั้นนี่แหละคือหลักธรรมที่เป็นหลักมูลฐานอยู่ในที่นี้ <DD>สัมมาสัมโพธิ เป็นชื่อของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็นโมฆะ ถ้าเราเข้าใจความจริงข้อนี้แล้วของหลอกลวงทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรแก่เรา <DD>ปรัชญา คือ ความรู้แจ้ง ความรู้แจ้ง คือ จิตต้นกำเนิดดั้งเดิมซึ่งปราศจากรูป ถ้าเราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ คือ จิตและวัตถุเป็นของสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวกันนั้นแหละจะนำเราไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้งและลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเราจะได้ลืมตาต่อสัจจธรรมที่แท้จริงโดยตัวเราเอง <DD>สัจจธรรมที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ได้หายไปจากเราแม้ในขณะที่เรากำลังหลงผิดด้วยอวิชชา และไม่ได้รับกลับมาในขณะที่เรามีการตรัสรู้ มันเป็นธรรมชาติแห่ง ภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่าง เป็นเนื้อหาอันแท้จริงของจิตหนึ่งนั้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่างๆ ที่จิตของเราได้สร้างขึ้น ทั้งฝ่ายนามธรรมและฝ่ายรูปธรรมจะเป็นสิ่งซึ่งอยู่นอกความว่างนั้นได้อย่างไร <DD>โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้น เป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่างๆ แห่งการกินเนื้อที่ คือ ปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม และปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเราต้องทำความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่าโดยแท้จริงแล้วไม่มีอะไรเลย ไม่มีมนุษย์สามัญ ไม่มีพุทธ ทั้งหลาย เพราะว่าในความว่างนั้น ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งซึ่งสามารถจะมองเห็นได้โดยทางมิติ หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่เลย มันไม่ต้องอาศัยอะไร และไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด มันเป็นความงามที่ไร้ตำหนิเป็นสิ่งซึ่งอยู่ได้ด้วยตัวมันเองและเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ เราต้องแยกรูปถอดด้วย วิชชา มรรค จิต เหตุต้องละ ผลต้องละ ใช้หนี้ก็หมดพ้นเหตุเกิด <DD>สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ในจักรวาลมีนับไม่ถ้วน รวมแล้วมีรูปกับนามสองอย่างเท่านั้น นามเดิมก็คือความว่างของจักรวาลเข้าคู่กันเป็นเหตุเกิด ตัวอวิชชาเกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูปที่นั้นต้องมีนาม ที่ใดมีนามที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกันเป็นเหตุเกิด ปฏิกิริยาให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาล และเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหวและหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ต้องมีนาม ความว่างกั้นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ <DD>เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิตและไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลงเป็นไตรลักษณ์เกิดดับสืบต่อทุกขณะจิต ไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิตวิญญาณก็เกิดมาจากรูปนามของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามที่มีชีวิตมาเป็นรูปนามที่ไม่มีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณแล้ว จิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่นามว่างที่ปราศจากรูป นี้เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงรูปนาม <DD>ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิดรูปนามพิภพต่างๆ ตลอดทั้งดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนาม พิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิดรูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิดรูปนามสัตว์เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ความจริงรูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและมีการเปลี่ยนแปลง เรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็นเหตุให้เกิดจิตวิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม <DD>สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และมีความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุปัจจัยภายนอก ภายใน ที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มีตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 อย่าง ไปกระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 5 อย่าง แล้วก็มาประทับ บรรจุ บันทึกถ่ายภาพติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่นตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น <DD>เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ได้ตายลง มีกรรมชั่วอย่างเดียวเป็นเหตุให้สัตว์เกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้องใช้หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอมใช้หนี้เกิดกันไม่ มันกลับเพิ่มหนี้ให้เป็นเหตุเกิดทวีคูณด้วยเพศผู้ เพศเมีย เป็นสุขุมรูปติดอยู่ใน 5 กองนี้เป็นทวีคูณ จนปัจจุบันชาติ ดังนั้นด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป 5 กอง ก็เกิดหมุนกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง ไม่หยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอดก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่นตา หู จมูก ลิ้น กายนั้นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่างรูปวิญญาณ จึงมีชีวิตคงทนอยู่นานกว่ารูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุน คงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตามได้ นอกจากนิพพานเท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย <DD>ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูปตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 กองนั้น รวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมีสำนักงานของจิตติดอยู่ในวิญญาณ 5 กองรวมกัน เป็นที่ทำงานของจิตกลาง แล้วไปติดต่อกับตา หู จมูก ลิ้น กายภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษารูปสุขุม (รูปที่ถอดจากรูปหยาบมีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย) อยู่ในวิญญาณไว้ได้ เป็นเหตุเกิด สืบภพ ต่อชาติ <DD>เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัยชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูปปรมาณูวิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะ หมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วยชีวิตแท้ รูปถอดหรือ วิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เองเป็นเหตุให้จิตเกิด​
     

แชร์หน้านี้

Loading...