คำแนะนำในการเจริญพระกรรมฐาน โดยพระราชพรหมยานเถระ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 17 ตุลาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <TABLE width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>คำแนะนำในการเจริญพระกรรมฐาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>คำแนะนำในการเจริญพระกรรมฐาน <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=110>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>๏ การเจริญพระกรรมฐานเบื้องแรกที่เรียกว่า สมถภาวนา พระพุทธเจ้าทรงมีความมุ่งหมายให้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ทรงสติสัมปชัญญะเป็นสำคัญ เมื่อสติสัมปชัญญะสมบูรณ์แล้ว สามารถควบคุมอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้ที่เรียกกันว่า เอกัคตารมณ์ ได้เฉพาะเวลา ๑๕ นาที ๒๐ นาที หรือ ๕ นาที ๑๐ นาที หรือยิ่งกว่านั้นก็ตาม

    เมื่อการทรงสติคุมอารมณ์สติไว้ได้โดยเฉพาะเรียกว่าทรงสมาธิได้ อันนี้ต่อไป พระพุทธเจ้าทรงสอนให้บรรดาพุทธบริษัท ปลงขันธ์ ๕ เห็นทุกข์ของการเกิด ว่าการเกิดมีขึ้นแล้วก็พิจารณาหาความทุกข์ว่าในขณะที่มีชีวิตอยู่มีความสุขหรือความทุกข์ ถ้าเราใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง จะเห็นว่าการทรงชีวิตอยู่เต็มไปด้วยความทุกข์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>๏ อารมณ์ของสมถภาวนา สมถภาวนาเมื่อสรุปแล้วก็เรียกว่า เป็น อารมณ์มัดใจ เป็นการตั้งใจให้อยู่ในขอบเขตที่เราต้องการให้ทรงอยู่ ถ้าหากว่าเราต้องการให้อารมณ์ของเราไม่ฟุ้งซ่านเป็นสุขจากอารมณ์ภายนอกตามที่เราต้องการ เช่น เราเจริญพุทธานุสติกรรมฐาน ต้องการโดยเฉพาะว่า เวลานี้เราคิดถึงความดีของพระพุทธเจ้า ให้ติดอยู่เฉพาะในเขตนั้น หรือว่าพิจารณากายคตานุสติกรรมฐาน ก็ให้จิตคิดพิจารณาอยู่เฉพาะอาการ ๓๒ หรือว่าเราเจริญมรณานุสติกรรมฐาน ก็ให้จิตคิดอยู่เฉพาะความตาย ถ้าอสุภกรรมฐาน ก็ให้พิจารณาเฉพาะความสกปรกของร่างกาย

    เป็นอันว่าการเจริญสมถกรรมฐาน เรามัดใจอยู่ในขอบเขต ติดวงล้อมอยู่ในใจ ไม่ให้ใจไหลไปสู่อารมณ์ภายนอกที่เราไม่ต้องการ เมื่อเราสามารถจะควบคุมอารมณ์ใจไว้ได้โดยเฉพาะ เวลาเท่าไรก็ตาม ถือว่าเป็นผู้ทรงฌาน นี่การทรงอารมณ์สมถภาวนา ถึงแม้ว่าเราจะทรงอารมณ์ได้สูงเพียงไรก็ตาม ตั้งแต่ขณิกสมาธิถึงฌาน ๘ คือรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ การที่ทรงสมถภาวนานี้ เราจะรู้สึกว่า ไม่อยากจะเคลื่อนกายไม่อยากจะเคลื่อนใจมากนัก เพราะเกรงว่าสมาธิที่ทรงไว้จะเคลื่อนคลาดหรือเสื่อมไป

    ฉะนั้น บรรดาท่านทั้งหลายที่ทรงฌานในด้าน ฌานโลกีย์ จะเห็นว่าการเจรจาของท่านพวกนี้ อยู่ในอาการเคร่งครัดมัธยัสถ์ เคลื่อนไหวน้อย ไม่อยากจะทำอะไรทั้งหมด เพราะมีความต้องการอยู่อย่างเดียว กำหนดจิตใจให้ตั้งอยู่ในองค์ของสมาธิ นี่เป็นความต้องการเมื่อสามารถทรงอารมณ์เป็นสมาธิได้แล้ว ต่อไปก็ปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในด้านวิปัสสนาญาณ

    ๏ สำหรับ วิปัสสนาญาณ นี้เป็นอารมณ์คิด คิดอยู่ในขอบเขตพิจารณา วิปัสสนาญาณนี้ตามที่บูรพาจารย์สอนไว้ว่า ในระยะต้น ให้ควบคุมอารมณ์ใจอยู่ในอำนาจของสมถภาวนา ให้นานที่สุดที่จะทรงได้ เมื่อทรงอยู่ได้ด้วยดีแล้ว ต่อไปก็ใช้อารมณ์สมาธินี้พิจารณาขันธ์ ๕ เห็นว่าขันธ์ ๕ นี้เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขอะไรไม่ได้ แล้วก็มีการสลายตัวไปในที่สุด

    เป็นอันว่าขันธ์ ๕ นี้ แม้ว่าเราจะปรนเปรอขนาดไหนก็ตาม มันก็ไม่ตามใจเรา เราไม่ต้องการให้มันแก่ มันก็จะแก่ เราไม่ต้องการให้มันป่วย มันก็จะป่วย เราไม่ต้องการให้มันพลัดพรากจากเรา หรือเราพลัดพรากจากมัน เราก็ทำไม่ได้ ในที่สุดเราไม่ต้องการอยากให้ตาย มันก็จะตาย ห้ามไม่ได้ ขันธ์ ๕ คือร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา นี่ว่าโดยย่อ เราพิจารณาขันธ์ ๕ การเจริญวิปัสสนาญาณก็มีอยู่หลายแบบด้วยกัน แต่ก็รวมอยู่ในขันธ์ ๕ ว่าเป็นโทษ เป็นทุกข์ จะพิจารณาแบบไหนก็ตาม ถ้าเลยขันธ์ ๕ ไปไม่ใช่วิปัสสนาญาณ เพราะว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยเฉพาะ

    ๏ อารมณ์พระกรรมฐานกับอารมณ์ชาวโลกไม่เหมือนกัน มันกลับกัน มันกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ ไอ้การงาน ของชาวโลกนี่ ถ้าขยันมากมุมานะมากผลงานมันสูงแล้วก็ดี แต่การเจริญพระกรรมฐาน มุมานะมาก ถอยหลังแทนที่จะก้าวหน้ามันกลับลงต่ำ ใช้ไม่ได้ เพราะว่าการปฏิบัติความดีเพื่อการบรรลุในพุทธศาสนา ต้องละส่วนสุดสองอย่างคือ หนึ่ง อัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนที่เรียกว่าขยันเกินไป สอง กามสุขัลลิกานุโยค เวลาทรงสมาธิหรือพิจารณาวิปัสสนาญาณ มีตัวอยากประกอบไปด้วย อยากจะได้อย่างนั้น อยากจะถึงอย่างนี้ อยากจะได้ตอนโน้น อีตอนนี้มันเจ๊งทั้งสองทาง ที่ถูกคือจะต้องวางใจเฉยๆ ปล่อยอารมณ์ให้มันเป็นไปตามสบายๆ มัชฌิมาปฏิปทา

    ๏ การปฏิบัติไม่ว่ากรรมฐานกองใดทั้งหมด อุปสรรคทางจิตย่อมปรากฏมีขึ้นเสมอ และอุปสรรคใดๆ เกิดจากอารมณ์ก็ดี หรือว่าเกิดจากทางกายก็ดี ถ้าเราไม่ยอมแพ้เสียอย่างเดียวเราก็ชนะ อุปสรรคต่างๆ มันจะมีขึ้นได้มันก็ต้องสลายตัวได้เหมือนกัน ต้องถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ทุกอย่างถ้าเราเอาจิตเข้าไปจับธรรมดาเสียอย่างเดียว จิตมันก็มีความสุข การเจริญพระกรรมฐานความมุ่งหมายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือต้องการให้มีความสุข

    ๏ ความจริงการทำจิตให้เป็นสมาธิหรือทำจิตให้เป็นฌานสมาบัติเป็นของไม่ยาก คนที่จะได้ดีเขาทำกันแบบนี้ ขณะที่ฟังก็ดี ขณะที่ตั้งใจทรงสมาธิจิตก็ดี เขาไม่ให้อารมณ์ส่งไปสู่อารมณ์อื่น รู้จักควบคุมใจของเราให้อยู่เฉพาะกิจที่เราจะพึงทำ คือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกและคำภาวนา ลมหายใจเข้านึกว่า พุท ลมหายใจออกนึกว่า โธ นึกอยู่ ควบคุมกำลังอยู่ เท่านี้ตามเวลาที่เรากำหนดไว้ เราจะไม่ยอมให้อารมณ์จิตเราไปสู่อารมณ์อื่น นอกจากลมหายใจเข้า ออก และคำภาวนาว่าพุทโธ ถ้าเราบังคับจิตของเราอย่างนี้ไปทุกคราวที่เจริญพระกรรมฐาน จนกระทั่งจิตมีอารมณ์ ชิน อย่างนี้จิตของเราก็เป็นฌาน

    ๏ การฝึกจิตให้คล่องในการเข้าสมาธิ ต้องพยายามทำ จงอย่าคิดว่าทำไม่ได้ ไม่มีใครเขาทำได้มาตั้งแต่เกิด ทุกคน ต้องฝึกเหมือนกัน พระอรหันต์ทุกองค์ที่ท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านก็ฝึกกันมาแบบนี้ ค่อยทำค่อยไปทีละน้อยๆ ใน ที่สุดมันก็เข้าถึง ถ้าเราไม่ละความพยายาม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>๏ ไอ้เรื่องอาการทางกายนี่เลิกถามกันเสียทีนะ มันจะเป็นมันจะตายอย่างไร ก็เชิญมันเถอะ ให้มันตายไป ถ้ามัวกลัวตายจะมานั่งเจริญกรรมฐานกันอยู่ทำไม ความดีมันไม่ได้หรอก คนกลัวตาย ห่วงกายห่วงมันมากกว่าความดี มันใช้ไม่ได้ อย่างนี้ไม่เอาไม่คบ</TD></TR></TBODY></TABLE>๏ การเจริญสมถภาวนานี่เราต้องการให้จิตสงบจากอกุศล และจิตน้อมอยู่ในส่วนของกุศลเป็นปกติ พระโบราณาจารย์ท่านแนะนำให้นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ โดยใช้คำว่า พุทโธ แต่ว่าถ้าภาวนาว่า พุทโธ อย่าง เดียว จิตก็จะลอยเกินไป ไม่มีที่เกาะ เพราะจิตมีสภาพกวัดแกว่ง ท่านจึงแนะนำให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก อานาปานุสสติกรรมฐาน หรือการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก นี่เป็นกรรมฐานที่ลดความฟุ้งซ่านของจิต และเป็นกรรมฐานที่ระงับกายสังขาร เวลาที่เราป่วยไข้ไม่สบาย ให้ใช้ อานาปานุสสติกรรมฐาน เข้าระงับ และประการที่สาม อานาปานุสสติ นี่เป็นกรรมฐานระงับ โมหจริต และ วิตกจริต รวมความว่าตัดความโง่ของจิตทำให้จิตฉลาดขึ้น

    ๏ ด้านสมาธิก็ฝึกซ้อมไว้เป็นปกติ เวลาฝึกซ้อมไม่ต้องไปนั่งหลับตา หลับตามันไม่เก่ง ลืมตาอยู่อย่างนี้แหละให้จิต มันทรงสมาธิ ลืมตาอยู่อย่างนี้แหละให้จิตมันทรงตัวยอมรับนับถือกฎของธรรมดา และความเป็นจริง เห็นอะไรเข้า ตายหมด เห็นคน คนตาย เห็นสัตว์ สัตว์ตาย เห็นวัตถุธาตุ วัตถุธาตุพัง แล้วก็นึกถึงว่าเราจะต้องตายเหมือนกัน นี่ต้องถอยหน้าถอยหลัง จะก้าวไปแต่ข้างหน้าแล้วก็ไม่เหลียวหลัง ท่านทั้งหลายที่ระงับความวุ่นวายของจิตไม่ได้นั้นน่ะ เขาเรียกว่า สีลัพพตปรามาส เป็นผู้ลูบคลำในศีล จิตตปรามาส ลูบคลำในสมาธิ ปัญญาปรามาส ลูบคลำในวิปัสสนาญาณ ทำเท่าไรเท่าไรก็ไม่พ้นความวุ่นวายของจิต มีอารมณ์หุนหันพลันแล่นโฉงเฉงโวยวาย ปราศจากเหตุผล คนประเภทนี้ทำกี่แสนกัปก็ลงนรก เพราะสักแต่ว่าปฏิบัติ ไม่รู้จักพิจารณาจิตตัวเองว่าดีหรือชั่ว

    ๏ จงตั้งใจไว้ว่า สมถภาวนาเป็นอุบายเครื่องสงบใจ อารมณ์สมาธิของเราจะถึงไหนก็ช่าง เราพอใจอารมณ์สมาธิที่เราถึงในขณะนั้น ต้องการอย่างเดียวคืออารมณ์จิตเป็นสุข ถ้าหากว่าท่านไปกำหนดว่า วันนี้จะต้องเอาอย่างนั้น วันนี้จะต้องเอาอย่างนี้ นั้นมันเป็น นิวรณ์ เข้ามาครอบงำจิต คือ อุทธัจจกุกกุจจะ ถ้าอารมณ์ไม่สามารถจะถึงจุดนั้นได้จริงๆ ความกลุ้มมันก็เกิด แทนที่จะมีสุขอารมณ์สงบตามความมุ่งหมายของสมถภาวนา มันก็เลยกลายเป็นจิตพล่านไป ขาดทุน ตอนนี้ต้องจำให้ดี วิธีที่จะดีที่สุดนั้นก็คือ นั่งอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี เดินไปบิณฑบาต เดินไปทำงานหรือทำงานทำการอยู่ก็ดี เอาจิตจับคำภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ไว้เป็นปกติ อย่าให้อารมณ์ขาดจากอนุสสติทั้ง ๓ ประการ ถ้าอาการของท่านทรงได้อย่างนี้ละก็ ถือว่าท่านเป็นผู้ทรงฌาน
    ๏ ไอ้ตัวสงบนี่ต้องระวังให้ดีนะ มันไม่ใช่ว่าง คำว่าสงบนี่ไม่ใช่ว่าง จิตของคนนี่มันไม่ว่าง คือว่ามันต้องเกาะส่วนใดส่วนหนึ่ง ถ้ามันละอกุศลมันก็ไปเกาะกุศล ไอ้จิตตัวที่เรียกว่าสงบก็เพราะว่า สงบจากกรรมที่เป็นอกุศล คือ อารมณ์ที่เป็นอกุศลอารมณ์ชั่วสงบ ความปรารถนาในการเกิดอารมณ์สงบ คือไม่คิดว่าเราต้องการความเกิดอีก และจิตก็มีความสงบ เห็นว่าสภาพร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ไอ้ตัวคิดว่าเรา ว่าของเรานี่สงบไป สงบตัวยึดถือวัตถุก็ตาม สิ่งมีชีวิตก็ตาม ว่าเป็นเรา เป็นของเรา นี่สงบตัวนี้นะ มีอารมณ์เป็นปกติ อยู่เสมอ คิดว่าอัตภาพร่างกายนี้ไม่มีเรา ไม่มีของเรา และมันก็ไม่มีอะไรเป็นเราอีก หาตัวเราในนั้นไม่ได้

    ๏ ถ้าหากว่าท่านไม่สามารถจะทรง อานาปานุสสติกรรมฐาน ได้ถึง ปฐมฌาน ผลแห่งการเจริญวิปัสสนาญาณของท่านทั้งหลายจะไม่มีผลตามต้องการ เพราะจิตมีกำลังไม่พอที่จะทำลายกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานได้

    ๏ ถ้าใครเขาว่าสมถภาวนาไม่มีความสำคัญ ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของการบรรลุมรรคผล ก็อย่าไปเชื่อเขา เพราะสมถภาวนาถ้าไม่ดีจริงๆ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงสอนให้เราปฏิบัติ และพระพุทธเจ้าก็จะไม่ยึดสมถภาวนาไว้เป็นอารมณ์ ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว นี่จงอย่าลืมว่าพระอรหันต์ทุกท่าน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี ใช้กรรมฐาน ๔๐ กอง ควบกับวิปัสสนาญาณเพื่อความอยู่เป็นสุข ไม่ใช่ว่าเป็นพระอรหันต์แล้วเลิกกัน อย่างนั้นเข้าใจผิด พระอรหันต์นี่ท่านกลับขยันกว่าเราทั้งหมด เพราะท่านเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ หมายถึงว่าการเห็นสภาวะตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕ ท่านเห็นเป็นปกติ ท่านไม่ยอมปล่อย ไม่ยอมละ

    ๏ หลักสูตรในพระพุทธศาสนานี้ไม่มีอะไร เบื้องสูงลงมา ท่านสอนตั้งแต่ปลายผมลงมาถึงฝ่าเท้า เบื้องต่ำขึ้นไป ท่านสอนตั้งแต่ปลายเท้าถึงปลายผม มีแค่นี้
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#99ccff>๏ โปรดจำไว้ด้วยว่า การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกจะทำเป็นปกติ นี่ผมไม่ได้บอกว่าให้ท่านเลือกเวลาทำ ขณะใดที่ใจของท่านยังตื่นอยู่ แม้ตาจะหลับแต่ใจยังตื่นอยู่ ให้เอาจิตรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกไว้เสมอ เวลาหายใจเข้า รู้ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้ว่าหายใจออก ในด้านของมหาสติปัฏฐานสูตร เท่านี้ก็พอ รู้ไว้เสมอ แม้แต่เวลาที่เราจะพูดจะคุยกัน จิตใจก็ตั้งกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้ด้วย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ธรรมปกิณกะ โดย พระสุธรรมยานเถระ ธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๑๓๘ เดือนสิงหาคม ๒๕๓๕

    ที่มาhttp://www.geocities.com/4465/samadhi/samp1.htm

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...