ความมุ่งหมายในการเจริญสมาธิ โดยพระราชพรหมยานเถระ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 17 ตุลาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <TABLE width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ความมุ่งหมายในการเจริญสมาธิ <HR SIZE=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top>การเจริญสมาธิมีความมุ่งหมายดังนี้คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระพุทธประสงค์ฺเพื่อให้พ้นจากความทุกข์ มีการเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน เป็นต้น ถ้าจะเกิดก็ต้องการให้เกิดเป็นมนุษย์ชั้นดี มีรูปสวย เสียงไพเราะ มีโรคน้อย มีอายุยืนยาวนานถึงอายุขัย มีทรัพย์สมบัติมาก มีความสุขเพราะทรัพย์สิน และทรัพย์สินไม่ถูกทำลายเพราะโจร ไฟ น้ำ ลม

    มีคนในปกครองดีไม่ฝ่าฝืนคำสั่ง มีเสียงไพเราะ ผู้ที่ฟังเสียงไม่อิ่มไม่เบื่อในการฟัง พูดเป็นเงินเป็นทอง รวยเพราะเสียง ไม่มีโรคประสาท หรือโรคบ้ารบกวน มีหวังพระนิพพานเป็นที่ไปแน่นอน หรือมิฉะนั้นเมื่อยังไปนิพพานไม่ได้ ไปเกิดเป็นพรหมหรือเทวดาก่อนแล้วต่อไปนิพพาน แต่ความประสงค์ของพระพุทธองค์ มีพระุพุทธประสงค์ให้ไปพระนิพพานโดยตรง
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    เกิดดี ไม่มีอบายภูมิ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    เมื่อยังต้องเกิดก็เกิดดี ไม่มีการไปอบายภูมิ ท่านให้ปฏิบัติดังนี้ เราเป็นนักสมาธิคือมีอารมณ์มั่นคง ถ้ามุ่งแต่สมาธิธรรมดาที่นั่งหลับตาปฏิบัติ ความดีไม่ทรงตัวได้นานต่อไปอาจจะสลายตัวได้ มีมากแล้วที่ทำได้แล้วก็เสื่อมและก็เสื่อมประเภทเอาตัวไม่รอด คือสมาธิหายไปเลย ตัวอย่างในอดีตเช่น พระเทวทัต ขนาดได้อภิญญายังเสื่อมแล้วก็ลงอเวจี ในปัจจุบันนี้ที่ได้แล้วเสื่อมก็มีมาก เพื่อเป็นการป้องกันการเสื่อมและเป็นผู้มีหวังในการเกิดที่ดีแน่นอนท่านให้ทำดังนี้

    คิดว่าชีวิตนี้ต้องตายแน่แต่เราไม่ทราบวันตาย ให้คิดตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า "เธอทั้งหลายจงอย่าคิดว่าวันตายจะเข้ามาถึงเราในวันพรุ่งนี้ ให้คิดว่าอาจจะตายวันนี้ก็ได้" เมื่อคิดถึงความตายแล้วไม่ใช่ทำใจห่อเหี่ยว คิดเตรียมตัวว่าเราตายเราจะไปไหน จงตัดสินใจว่าเราต้องการนิพพาน ถ้าไปนิพพานไม่ได้ขอไปพักที่พรหมหรือสวรรค์ ถ้าต้องกลับมาเกิดเป็นมนุษย์จะต้องไม่ลงอบายภูมิ แล้วพยายามรักษากำลังใจให้ทรงตัวในความดีที่เป็นที่พึ่งเพื่อให้เราเข้าถึงได้แน่นอนตามที่เราต้องการ คือ

    ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพ โดยปฏิบัติใน พุทธานุสสติ ตามที่แนะนำมาแล้วอย่าให้ขาด เคารพในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยใจนึกถึงความตายอย่างไม่ประมาท ทรงอารมณ์ไว้ใน อานาปานุสสติกรรมฐาน และกรรมฐานข้ออื่นๆ ที่ทำได้แล้วเป็นปกติอย่าให้กรรมฐานนั้นๆ เลือนหายจากใจในยามที่ว่างจากการงาน เวลาทำงานใจอยู่ที่งาน เวลาว่างงานใจอยู่ที่กรรมฐาน ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ด้วยการปฏิบัติตามพระธรรมของพระพุทธเจ้า ที่พระสงฆ์นำมาแนะนำเลือกปฏิบัติตามที่พอจะทำได้

    ข้อต่อไป ปฏิบัติและทรงกำลังใจใน ศีลและกรรมบถ ๑๐ อย่างเคร่งครัด ไม่ยอมละเมิดศีลและกรรมบถ ๑๐ อย่างเด็ดขาด เว้นไว้แต่ทำไปเพราะเผลอไม่ตั้งใจ สำหรับศีลควบกรรมบถ ๑๐ ท่านให้ปฏิบัติดังนี้

    อันดับแรก จงมีความเข้าใจว่าการปฏิบัติคือการใช้อารมณ์ให้เป็นสมาธิ หมายถึงว่าจำได้เสมอไม่ลืมว่า ศีล และ กรรมบถ ๑๐ มีอะไรบ้าง เมื่อจำได้แล้วก็พยายามเว้นไม่ละเมิดอย่างเด็ดขาด ใหม่ๆ อาจจะมีการพลั้งเผลอละเมิดไปบ้างเป็นของธรรมดา เมื่อชินคือชำนาญที่เรียกว่าจิตเป็นฌาน คือปฏิบัติระวังจนชิิน จนกระทั่งไม่ต้องระวังก็ไม่ละเมิด อย่างนี้ท่านเรียกว่า เป็นฌานในศีล และกรรมบถ ๑๐ ประการ ผลที่ทำได้ก็มีผลในขั้นต้นก็คือไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม หรือมาเกิดเป็นมนุษย์ชั้นดีตามที่กล่าวมาแล้ว ผลของศีลและกรรมบถ ๑๐ มีดังนี้

    ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์และทรมานสัตว์ให้ได้รับความลำบากตลอดชีวิต เว้นอย่างนี้ได้ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ใหม่จะเป็นคนมีรูปสวยมาก ไม่มีโรคเบียดเบียน อายุยืนยาวครบอายุขัย ตายใหม่ไม่ต้องลงอบายภูมิต่อไป จนกว่าจะเข้านิพพาน

    ๒. เว้นการถือเอาทรัพย์สินที่คนอื่นไม่เต็มใจให้ หรือขโมยของเขาตลอดชีวิต และมีการให้ทานตามปกติเว้นตามนี้ได้และให้ทานเสมอตามแต่จะให้ได้ ถ้ายังไม่มีพอจะให้ได้ก็คิดว่าถ้าเรามีทรัพย์เราจะให้เพื่อเป็นการสงเคราะห์ อย่างนี้ถ้าตายไปจากชาตินี้ ก็ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม หมดบุญจากเทวดาหรือพรหมมาเกิดเป็นคนจะเป็นคนร่ำรวยมาก มีความปรารถนาในทรัพย์สมหวังทุกอย่าง ทรัพย์ไม่ถูกทำลายเพราะโจร ไฟ น้ำ ลม และจะรวยตลอดชาติ

    ๓. เว้นจากการทำชู้ ลูกเขา ผัวเขา เมียเขา ตลอดชีวิต เว้นอย่างนี้ได้ตายจากความเป็นคน ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมแล้วลงมาเกิดเป็นคนจะมีคนในปกครองดีทุกคน จะไม่หนักใจเพราะคนในปกครองเลย

    ๔. เว้นจากการพูดปด

    ๕. เว้นจากการพูดหยาบ

    ๖. เว้นจากการพูดยุให้ชาวบ้านแตกร้าวกัน เว้นจากการพูดวาจาที่ไม่เป็นประโยชน์ตลอดชีวิต เว้นอย่างนี้ได้ หลังจากเป็นเทวดาหรือพรหมแล้วมาเกิดเป็นคน จะเป็นคนที่มีวาจาเป็นที่รักของผู้รับฟัง ไม่มีใครอิ่มหรือเบื่อในการฟัง ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านท่านเรียกว่ามีวาจาเป็นมหาเสน่ห์ หรือมีเสียงเป็นทิพย์ คนชอบฟังเสียงที่พูด การงานทุกอย่างจะสำเร็จเพราะเสียง ทรัพย์สินต่างๆ จะเกิดขึ้นเพราะเสียง ถ้าพูดโดยย่อก็ต้องพูดว่ารวยเพราะเสียงหรือเสียงมหาเศรษฐีนั่นเอง

    ๗. เว้นจากการดื่มน้ำเมาที่ทำให้เสียสติทุกประการตลอดชีวิต เว้นได้ตามนี้ เมื่อเกิดเป็นคนใหม่ จะไม่้มีโรคปวดศีรษะ ไม่เป็นโรคประสาท ไม่มีโรคบ้ามารบกวน เป็นคนมีมันสมองดีปลอดโปร่งในอารมณ์ เป็นคนฉลาดมาก

    ๘. เว้นจากการคิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่นเอามาเป็นของตนข้่อนี้ไม่ได้ขโมยและไม่คิดว่าจะขโมยด้วย เป็นการคุมอารมณ์ใจ

    ๙. ไม่คิดประทุษร้ายจองเวรจองกรรมจองล้างจองผลาญใคร มีจิตเมตตาคือความรักในคนและสัตว์เหมือนรักตัวเอง

    ๑๐. ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า และปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงสั่งสอนทุกประการ ไม่สงสัยในคำสอนและผลของการที่ปฏิบัติตามคำสอนแล้วมีผลความสุขปรากฏขึ้น ผลของการเว้นในข้อ ๘ ๙ ๑๐ นี้เมื่อเกิดใหม่จะเป็นคนมีอารมณ์สงบสุข ไม่มีความทุกข์ทางใจอย่างใดอย่างหนึ่งเลย และเป็นผลที่ทำให้เข้าถึงพระนิพพานง่ายที่สุด

    เมื่อท่านเว้นตามนี้ได้ การเว้นควรเว้นแบบนักเจริญสมาธิ คือมีอารมณ์รู้เพื่อเว้นตลอดเวลา เมื่อเว้นจนชิน จนไม่ต้องระวังก็ไม่ละเมิด อย่างนี้ถือว่าท่านมีฌานในศีลและกรรมบถ ๑๐ ประการท่านเรียกว่า เป็นผู้ทรงฌานใน สีลานุสสติกรรมฐาน
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    อานิสงส์ที่ได้แน่นอน
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    อานิสงส์คือผลของการปฏิบัติได้ครบถ้วนและทรงอารมณ์คือไม่ละเมิดต่อไป ท่านบอกว่าเมื่อตายจากความเป็นคนชาตินี้ไม่มีคำว่าตกนรก เป็นต้น ต่อไปอีก ในระยะแรกก่อนปฏิบัติท่านจะมีบาปหนักหรือมากขนาดใดก็ตาม บาปนั้นหมดโอกาสลงโทษท่านตลอดไปทุกชาติจนกว่าท่านจะเข้าพระนิพพาน
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    เมื่อไรจะไปนิพพาน
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top>
    ในเมื่อท่านปฏิบัติได้ตามนี้ครบถ้วนแล้ว จะไปนิพพานเมื่อไรท่านตรัสไว้ดังนี้คือ

    ๑. ถ้ามีอารมณ์เข้มข้นคือบารมีเข้มแข็ง บารมีคือกำลังใจ มีกำลังใจมั่นคงปฏิบัติแบบเอาจริงไม่เลิกถอนหรือย่อหย่อน แต่ไม่ทำจนเครียด เอาแค่นึกได้เต็มใจทำจริง อยู่ในเกณฑ์อารมณ์เป็นสุข อย่างนี้ท่านบอกว่าตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมลงมาเกิดเป็นมนุษย์ชาติเดียว ในชาตินั้นเองเป็นพระอรหันต์ไปนิพพานในชาตินั้น

    ๒. ถ้ามีบารมี คือกำลังใจปานกลาง ทำไปไม่ละแต่การทำนั้นอ่อนบ้างเข้มแข็งบ้าง อย่างนี้เกิดเป็นมนุษย์อีกสามชาติไปนิพพาน

    ๓. ประเภทกำลังใจอ่อนแอ ทำได้ครบจริง แต่ระยะการกระตือรือล้นมีน้อย ปล่อยประเภทช่างเถอะตามเดิม ฉันรักษาได้ไม่ขาดก็แล้วกัน อย่างนี้ท่านว่ามาเกิดเป็นมนุษย์อีกเจ็ดชาติไปนิพพาน

    รวมความแล้วประเภทแข็งเปรี๊ยะไปนิพพานเร็ว ประเภทแข็งบ้างอ่อนบ้างไปนิพพานช้านิดหนึ่ง ประเภทอ่อนไม่ค่อยจะแข็ง แต่ไม่ยอมทิ้งความดีที่ปฏิบัติได้ เรียกตามภาษาชาวบ้านว่า ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง อย่างนี้ถึงช้านิดหนึ่ง แต่ก็ต้องถือว่าเป็นผู้มีโชคดีเหมือนกันหมด คืองดโทษบาปที่ทำมาแล้วทั้งหมด มีกำลังเข้าพระนิพพานแน่นอน ถ้ายังไปนิพพานไม่ได้แต่เมื่อมาเกิดเป็นคน ก็เป็นคนพิเศษ มีรูปสวยรวยทรัพย์เป็นต้น ตายจากคนก็เป็นเทวดา นางฟ้า หรือพรหม ต้องถือว่าโชคดีมาก เป็นอันว่า กรรมฐานปฏิบัติด้วยตนเองแบบง่ายๆ แต่ไปถึงนิพพานได้ ก็ยุติกันเพียงเท่านี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="98%" border=0><TBODY><TR><TD>

    สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง
    ท่านทั้งหลาย จงอย่าทำความชั่วทั้งหมด
    กุสะลัสสูปะสัมปะทา
    จงทำแต่ความดี
    สะจิตตะปะริโยทะปะนัง
    จงทำจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส
    เอตัง พุทธานะสาสะนัง
    พระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด
    ที่มา จากหนังสือวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ โดย พระราชพรหมยาน จ.อุทัยธานี​




    </TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.geocities.com/4465/samadhi/sambody.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2007

แชร์หน้านี้

Loading...