ขอประวิตัพระธาตุอินทร์แขวน และเจดีย์ชเวดากอง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Tele, 9 เมษายน 2005.

  1. Tele

    Tele บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ใครพอมีประวัติ หรือข้อมูลคราว ๆ ของพระธาตุอินทร์แขวน และเจดีย์ชเวดากอง บ้าง
    ขอบรบกวนเป็นความรู้ซักหน่อย :)
     
  2. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=712 bgColor=#ffffff height=798><TABLE height=27 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=519 border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#002100 height=18><CENTER>[font=Angsana New, AngsanaUPC][size=+2]ของดีใกล้ตัว ตามรอยเจ้าจันท์ ฝันหามะเมียะ พระธาตุอินทร์แขวน.....[/size][/font][font=Angsana New, AngsanaUPC][size=+2][size=+1]มาลา คำจันทร์[/size][/size][/font] </CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>[font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][size=-1][​IMG]รู้จักพระธาตุอินทร์แขวนมานานแล้วตั้งแต่ยังเป็นเด็กเป็นเล็กอยู่ที่บ้านดอย
    เมืองพานรู้จักจากตำนานปากเปล่าที่ย่าเล่าให้ฟังและรู้จักจากซองยาผงแดงตราพระธาตุอินทร์แขวน
    ตำนานปากเปล่าของย่าให้ภาพพระธาตุอินทร์แขวนไม่ชัดเจน แต่ไม่เป็นไร
    เราเป็นเด็ก เอาจินตนาการใส่แทนได้ แล้วภาพในใจที่วาดขึ้นเองก็ติดอยู่ในห้วงนึกเรามาโดยตลอด ภาพนั้นคือพระธาตุหรือเจดีย์ รูปทรงเป็นแบบเจดีย์บ้านเรา เพียงแต่ส่วนฐานไม่ติดหน้าดิน แขวนลอยเรี่ยๆขนาดเส้นผมลอดได้
    ย่าเล่าให้ฟังว่าคนมีบุญเท่านั้นถึงจะปูผมลอดได้
    [/size][/font]

    [font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][size=-1]ไอ้เราก็ฝังจำจากคำบอกเล่าของย่ากระทั่งมาเขียนเรื่องเจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวนก็ยังใช้ภาพเดิมในความจดจำ ไม่ได้ใช้ภาพจริงจากของจริงที่มีอยู่ณ ท้องถิ่นไกลแสนสุดแดนฟ้าหลั่งหากได้เห็นของจริงก่อน รับรองได้ว่าโลกนี้ไม่มีวรรณกรรมเรื่องเจ้าจันท์ผมหอม เพราะในความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์
    ไม่มีทางที่ใครจะเอาผมลอดพระธาตุอินทร์แขวนได้เลย แล้วความจริงก็จะสกัดกั้นเราให้จนตรอกอยู่ตรงนั้น มันจะผลักดันเราให้เบี่ยงเบนไปคิดเชิงอื่นเสีย

    พระธาตุอินทร์แขวนเป็นอย่างไร โปรดดูภาพเอาเองก็แล้วกันชื่อทัวร์ครั้งนี้ ทางฝ่ายผู้จัดคืออาจารย์เครือมาศ วุฒิการณ์ ตั้งไว้ว่าตามรอยเจ้าจันท์ ฝันหามะเมียะ
    แต่พวกเราทั้งหลายไปตามหามะเมียะกันก่อนแล้วค่อยเดินทางต่อไปที่ไจ้ทีโยหรือพระธาตุอินทร์แขวน [/size][/font]

    [font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][size=-1]การเดินทางสะดวกสบายพอสมควร กิจกรรมในรถก็ไม่น่าเบื่อ ไกด์คล่อง สมาชิกร่วมทัวร์เป็นกันเอง ผู้รอบรู้ประจำกลุ่มคืออาจารย์วิถีก็รู้จริง
    อาจารย์มักสรุปประเด็นแล้วให้แง่คิดเสริมจากข้อความที่ไกดืไม่สามารถสังเคราะห์แก่นแกนความคิดแล้วถ่ายทอดเป็นภาษาไทยได้ [/size][/font]

    [font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][size=-1]เมื่อไปถึงฐานพระธาตุ พวกเราจะต้องเดินขึ้นหรือนั่งเสลี่ยงขึ้นไป ผมเลือกเดินทั้งที่ไม่แน่ใจเรื่องหัวเข่า แรงบันดาลใจยิ่งใหญ่ก็คือได้เห็นคนขาเดียวเดินขึ้นพระธาตุ นึกมานะขึ้นมาว่ากูสองขา หากเดินไม่ไหวค่อยพักไปตามทาง ยังไงๆก่อนตะวันตกดินก็คงถึงมั้ง[/size][/font]

    [font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][size=-1]อีกอย่างก็นึกอายอาจารย์วิถี ท่านเองเพิ่งผ่าหัวเข่ามาไม่นาน ท่านยังเดินขึ้นเลย ทางขึ้นเป็นทางรถยนต์ คดโค้งขึ้นไปเรื่อยๆ
    เหนื่อยมากแต่หากไม่ฝืนแรงก็พอขึ้นไหว พักไปเรื่อยๆ สักชั่วโมงก็ขึ้นไปถึงโรงแรมที่พักที่อยู่ห่างจากพระธาตุราวครึ่งกิโลเมตรเห็นจะได้
    เป็นโรงแรมของทางราชการพม่า ห้องหับใช้ได้ การต้อนรับขับสู้ใช้ได้ มีหลายระดับ หลายราคา คืนนั้นพวกเราไปไหว้พระธาตุ ยิ่งใหญ่มาก
    มหัศจรรย์เหมือนฝัน องค์พระธาตุตั้งบนหินก้อนใหญ่ที่ดูง่อนแง่นหมิ่นเหม่ ปิดทองทั้งองค์ ดูรุ่งเรืองสว่างไสวในแสงไฟสาดส่อง มีคนคลาคล่ำยั้วเยี้ย มีร้านรวงคึกคัก นึกคิดคำนึงไปถึงคำบอกเล่าของปู่ย่าสมัยเราเป็นเด็ก พระธาตุอินทร์แขวนอยู่ไกลแสนที่แดนฟ้าหลั่งจริงๆ ขนาดเราบินข้ามฟ้าแล้วนั่งรถเร็วยังใช้เวลาร่วมสองสามวันกว่าจะมาถึง
    สมัยเจ้าจันท์ [/size][/font]

    [font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][size=-1]การเดินทางจากเชียงใหม่ไปไหว้พระธาตุอินทร์แขวนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่ร่ำรวยมากมีทั้งธนานุภาพและพลานุภาพอย่างพ่อเลี้ยงปะหล่องต่องสู่ ขณะเดินขึ้นแล้วหอบแฮ่ก ๆ ไปด้วยกัน อ.ผ่องพรรณแห่งสำนักหอสมุด
    ม.ช.ถามผมว่าถ้าผมเป็นพ่อเลี้ยงจะทำอย่างไร ผมตอบว่า "ทุกข์ยากอย่างอี้ล้ำเหลือ มึงไปคนเดียวเทอะ ฮาบ่าเอาแล้วอี่เฮ้ย"[/size][/font]

    [font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][size=-1]อันนี้เป็นคำตอบเล่นๆ มึงฮาบ่าอี่เป็นคำพูดธรรมดาสามัญของคนพื้นบ้านล้านนาเรา ไม่มีนัยทางลบหลู่ดูแคลนหรือประณามหยามเหยียดอะไร อันนี้ก็แล้วแต่ใครจะคิด ขณะตอบคำถาม ผมไม่ได้คิดถึงพ่อเลี้ยงเพราะพ่อเลี้ยงอยู่ในวิสัยที่จะทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่ผมคิดถึงเจ้าหล้าอินทะ สิบเจ้าหล้าก็พาเจ้าจันท์มาไหว้พระธาตุอินทร์แขวนไม่ได้[/size][/font]

    [font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][size=-1]คิดถึงเจ้าหล้าอินทะในนิยายเรื่องเจ้าจันท์ผมหอม คิดถึงเจ้าน้อยสุขเกศมในเรื่องจริง แล้วมาคิดถึงสัจธรรมกระท่อนกระแท่นบางประการของชีวิต ไม่ได้คิดยืดยาวทะลุโล่งทั้งระบบเพราะหอบแฮ่กๆน้ำลายเหนียวเต็มคอ คิดถึงนัยบางประการที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังการเดินทางไปแสวงบุญของศาสนิกศาสนาต่าง ๆ [/size][/font]

    [font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][size=-1]บางคนไปถึง บางคนไปไม่ถึง บ้างไม่ประจักษ์ด้วยซ้ำว่าไปทำไม แต่ถึงอย่างไร การได้ร่วมทัวร์ไปกับคณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครั้งนี้ได้บุญ
    ได้ความอิ่มใจ ได้กำไรชีวิต มีแต่ได้ไม่มีเสียเพราะทางผู้จัดไม่เก็บเงินผม ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอบคุณครับ.[/size][/font]

    [font=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][size=-1]หนังสือพลเมืองเหนือรายสัปดาห์ ฉบับที่ 30 ประจำวันที่ 20 - 26 พฤษภาคม 2545[/size][/font]
    </TD></TR><TR><TD width=160 bgColor=#002100 height=2> </TD><TD vAlign=bottom align=left width=10 bgColor=#ffffff height=2>[​IMG]</TD><TD width=712 bgColor=#ffffff height=2> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. Kamen rider

    Kamen rider เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    3,763
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,998
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=4 width="100%" bgColor=#1e3a60 border=0><TBODY><TR></TR><TR bgColor=#7ed6f0><TH align=left><CENTER>มหัศจรรย์สิ่งก่อสร้าง</CENTER></TH></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>เจดีย์ชเวดากอง
    </CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0>
    <TBODY><TR width="100%"><TD align=left width="10%"></TD><TD></TD><TD width="70%"><TABLE><TBODY><TR><TD>สถานที่ตั้ง ประเทศ พม่า
    ปัจจุบัน สามารถเข้าเยี่ยมชมได้
    </TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><BASEFONT face="MS Sans Serif" color=black size=1> "ชเว" คือ ทอง ส่วน "ดากอง" คือชื่อเดิมของเมืองย่างกุ้ง สมัยที่พระเจ้าอลองพญาสถาปนาเมืองเล็กริมฝั่งแม่น้ำแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2298 กล่าวกันว่า "ทอง" แห่งมหาเจดีย์มหาศาลกว่าทองในธนาคารแห่งอังกฤษ ซึ่งน้อยคนปฏิเสธความเป็นไปได้
    ประวัติความเป็นมาของมหาเจดีย์องค์สำคัญนี้ ที่มีผู้ค้นคว้าและบันทึกไว้อย่างน่าอ่านก็คือ ข้อมูลจากหนังสือ "พม่า" ในชุด "หน้าต่างสู่โลกกว้าง"
    ตามตำนานกว่า 2,500 ปี ของเจดีย์แห่งนี้กล่าวไว้ว่าเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุทั้งแปดเส้นของพระพุทธเจ้า และพระบริโภคเจดีย์ของพระอดีตพระพุทธเจ้าทั้งสามองค์ องค์สถูปหุ้มด้วยทองคำทั้งหมด 8,688 แท่ง แต่ละแท่งมีค่ามากกว่า 400 ยูเอสดอลลาร์ ปลายยอดสถูปประดับด้วยเพชร 5,448 เม็ด ทับทิม นิล และบุษราคัมอีก 2,317 เม็ด มีมรกตเม็ดเขื่องอยู่ตรงกลาง เพื่อรับลำแสงแรกและลำแสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์ ทั้งหมดนี้ประดับอยู่ด้านบนเหนือฉัตรขนาด 10 เมตร ซึ่งสร้างขึ้นบนไม้หุ้มทองเจ็ดเส้น ประดับด้วยกระดิ่งทองคำ 1,065 ลูก และกระดิ่งเงิน 420 ลูก รอบองค์สถูปรายล้อมไปด้วยสิ่งปลูกสร้างกว่า 100 หลัง มีทั้งสถูปบริวาร วิหารทิศ วิหารราย และศาลาอำนวยการ
    เจดีย์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในสมัยพวก บะกัน เรื่องอำนาจ พระเจ้าอโนรธา เคยเสด็จประพาสชเวดากองระหว่างการรบพุ่งทางใต้ในศตวรรษที่ 11 พระเจ้าบญาอู แห่งพะโค ก็ทรงบูรณะเจดีย์แห่งนี้ในปี พ.ศ.1925 และ 50 ปีต่อมา พระเจ้าเบียนยาเกียนก็โปรดให้ยกองค์สถูปให้สูงขึ้นไปถึง 90 เมตร
    ผู้สืบราชบัลลังก์ต่อจาก พระเจ้าเบียนยาเกียน คือ พระนางฉิ่นซอปู้ หรือ นางพญาตะละเจ้าท้าว ได้ทรงสร้างลานและกำแพงล้อมรอบองค์สถูป และพระราชทานทองคำเท่าน้ำหนักพระองค์เอง 40 กิโลกรัม ให้นำไปตีเป็นแผ่นทองหุ้มสถูป เป็นแบบอย่างให้กษัตริย์รุ่นหลัง ๆ ทรงประพฤติปฏิบัติตาม ทั้งนี้เพราะพายุลมฝนในช่วงมรสุมนั้นโหมแรง จนทำให้แผ่นทองคำชำรุดหลุดร่วงลงมาอยู่บ่อย ๆ พระเจ้าธรรมเซดี ผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระนางก็ได้ทรงบริจาคทองคำหนักเป็นสี่เท่าของน้ำหนักพระองค์เอง เพื่อบูรณะซ่อมแซมพระเจดีย์
    ในปี พ.ศ.2028 พระเจ้าธรรมเซดีทรงสร้างศิลาจารึกสามหลังเอาไว้บนบันไดด้านตะวันออกของเจดีย์ชเวดากอง บอกเล่าประวัติของเจดีย์เป็นภาษามอญ พม่า และบาลี จารึกนั้นยังคงมีให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้
    เจดีย์ชเวดากองตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอังกฤษนานถึง 77 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2395-2472 แต่ชาวพม่าก็ยังสามารถเข้ามาสักการะเจดีย์ได้
    ในปี พ.ศ.2414 พระเจ้ามินดง แห่งมัณฑะเลย์ ทรงส่งฉัตรฝังเพชรอันใหม่มาถวายเป็นพุทธบูชา มีการจัดงานฉลองและมีชาวพม่ากว่าแสนคนมาเที่ยวชมงาน พระองค์จึงทรงถือโอกาสนี้ปรารถนาเรื่องเอกราชของพม่า สร้างความไม่พอใจให้กับอังกฤษเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่อาจทำอะไรได้ Next >>



    อ้างอิง : วารสารเพื่อนเดินทาง ปีที่ 21 ฉบับที่ 240 ธันวาคม 2542 </BASEFONT></TD><TD></TD><TD align=right width="20%"><CENTER>[​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     

แชร์หน้านี้

Loading...