ขรัวอีโต้

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 18 เมษายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    e0b882e0b8a3e0b8b1e0b8a7e0b8ade0b8b5e0b982e0b895e0b989.jpg


    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือ “สมเด็จโต” “หลวงปู่โต” หรือ “สมเด็จวัดระฆัง”

    เรื่องขรัวโตวัดระฆังฯ เล่ากันหลายเล่มสมุดไท เรื่องหนึ่ง เล่ากันว่า พระสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อเทศน์หน้าพระที่นั่ง ท่านมักเล่นภาษา ความกระแสนิยมแห่งสมัย…เช่น คำ ไมตรี เป็นไม้ตรี โอกาส เป็นโอ้กาส

    หรือกระทั่งตอนบอกศักราช…ฉศก ก็มักออกเสียงเป็น “ฉ้อศก”

    คนในราชสำนักคุ้นหูอย่างนี้ ทันทีที่ขรัวโตบอกศักราช “ฉอศก” ก็เป็นเรื่องแปลก มีเสียงหัวเราะคิกคัก

    ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงนิ่งไม่ได้แสดงปฏิกิริยาแต่ประการใด

    ขรัวโตเทศน์จบ รัชกาลที่ 4 ทรงถวายเงินติดกัณฑ์เทศน์ 6 บาท สูงกว่าที่เคยถวายให้เทศน์กัณฑ์อื่น ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ขรัวโต บอกศักราชว่า ฉอศก นั้น เป็นการออกเสียงภาษาไทยถูกต้องนัก

    โยมเบื่อหูคำว่า “ฉ้อศก” มานานแล้ว ฟังแล้วรู้สึกเหมือนว่า เป็นศกของความขี้ฉ้อมดเท็จ เสียจริงๆ”

    มีพระราชโองการ ให้พระภิกษุ ถวายพระธรรมเทศนา ให้ออก เสียงคำว่า ฉศก เป็น “ฉอศก” มาตั้งแต่บัดนั้น

    เรื่องของขรัวโต มีทั้งบันทึกเป็นเอกสารราชการ มีทั้งเรื่องเล่าหลายเรื่อง แต่ที่ผมแปลกใจ เคยได้ยินคำ “ขรัวอีโต้ วัดเลียบ” แต่หาหลักฐานทางเอกสารไม่ได้

    ขรัวอีโต้ เป็นใคร สมณศักดิ์ อะไร อยู่วัดเลียบ จริงหรือไม่

    ชื่อ “ขรัวอีโต้” วัดเลียบ มากับพระเครื่อง ขนาดและแม่พิมพ์คล้ายพระรอด เนื้อดินผสมผง เรียกกันว่า พระรอดเมืองใต้ พุทธคุณเด่นทางแคล้วคลาด

    สร้างเมื่อ พ.ศ.2425 แตกกรุเมื่อ พ.ศ.2474 แต่ไม่มีเอกสารหลักฐานอ้างอิง

    มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า เป็นพระวัดเลียบ ถูกข้อครหามีน้องสาวมานอนที่ชานกุฎิทุกคืนๆ ท่านท้าพิสูจน์ เอามีดอีโต้ อธิษฐานแล้วขว้างลงแม่น้ำ ปรากฏว่ามีดไม่จมน้ำลอยน้ำขึ้นมาเป็นที่น่าอัศจรรย์

    ชื่อขรัวอีโต้ลอยน้ำ ก็ลือลั่นนับแต่นั้น

    เรื่อง “ขรัวอีโต้” ในวงการหนังสือ ส.พลายน้อย ค้นคว้าได้มาอีกอย่าง มีพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 4 เรื่องหนึ่งว่า

    “บางพวกกล่าวว่า (ในสมัยกรุงแตก) พระสงฆ์รามัญรูปหนึ่ง (รอนแรมจากพม่า) กับน้องหญิงมาด้วยกันในป่า ครั้นมาถึงเมืองสยามแล้ว พระสงฆ์ทั้งปวงรังเกียจ ไม่ร่วมสังฆกรรมด้วย

    พระสงฆ์รามัญรูปนั้น จึงบอกว่า “ตัวบริสุทธิ์อยู่” เมื่อเวลานอนในป่า ได้วางพร้า ภาษารามัญเรียกว่า “ปะแระตะราย” เล่มหนึ่งไว้ท่ามกลาง มีแต่พร้าเป็นพยาน

    จึงทำสัตยาธิษฐานเฉพาะต่อความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ แล้วขว้างพร้าลงไปในน้ำ พร้านั้นบันดาลลอยเห็นเป็นประจักษ์

    พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบความเรื่องนี้ จึงทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใส ตั้งพระภิกษุนั้นเป็นที่ “พระไตรสรณธัช” แล้วทรงนับถือพระสงฆ์รามัญ ซึ่งเป็นศิษย์พระไตรสรณธัชนั้นสืบมา

    จึงให้อาราธนาแต่พระสงฆ์รามัญ มาสวดพระปริตในพระราชวัง

    เรื่องที่ทรงเอามาเล่านี้ ส.พลายน้อยว่า ไม่ได้ระบุว่าเกิดในวัดเลียบ และในสมัยกรุงเทพฯ

    ถ้าเกิดในสมัยกรุงเทพฯ รัชกาลที่ 4 ทรงบวชในรัชกาลที่ 2 ต้องเป็นเรื่องใหญ่ ต้องมีพระบรมราชาธิบายให้ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่

    ผมอ่านเรื่องขรัวอีโต้ทั้งสองเรื่อง ขอเดาเอาตามประสา คนรุ่นหลังตั้งใจ เอาเรื่องพระเครื่องที่พบในวัดเลียบ มาผสมกับเรื่องเล่าเก่าๆ ให้เข้าเนื้อเป็นเรื่องเดียวกัน

    ท่วงทำนองของพระเครื่อง หลายกรุ หลายวัด ก็ต้องมีเรื่องเล่าประกอบเพิ่มความขลัง

    ผมนึกถึงเรื่องนักการเมือง ถ้าไม่สังกัดพรรค ก็ลงเลือกตั้งไม่ได้ เหตุผลเดียวกัน เรื่องพระขรัวอีโต้ลอยน้ำ ยังไม่มีวัดจำพรรษา จึงต้องมีวัดให้จำพรรษา ด้วยประการฉะนี้แล.

    กิเลน ประลองเชิง


    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1257789
     

แชร์หน้านี้

Loading...