"...ท่านให้ทำความดี ไม่ใช่ให้ยึดถือในความดี คือให้ทำความดี เพราะเป็นสิ่งที่ควรจะทำเมื่อทำไปแล้ว ก็ให้ปลอดโปร่งโล่งใจว่า สิ่งที่ควรทำ เราได้ทำแล้ว... ถ้าทำด้วยความรู้อย่างนี้ จิตใจของเราจะเป็นอิสระ แต่คนเรามักจะยึดติดในความดี เสร็จแล้ว เราก็อาจจะต้อง มาคร่ำครวญรันทดใจว่า เราทำดีแล้ว ทำไมคนไม่เห็นความดี ทำไมเขาไม่ยกย่อง ไม่สรรเสริญ ทำไม เราไม่ได้รับผลอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเราก็เสียอกเสียใจเพราะความดีอีก เพราะฉะนั้น ความยึดติดถือมั่นในความดี จึงยังทำให้เกิดทุกข์ได้
หากยังอ่อนไหว จิตย่อมกระเพื่อม อย่าได้ประมาท กำหนดอาการเกิดดับแห่งความแปลเปลี่ยนที่ยังเหลือเถิด จงเสพไตรลักษ์ด้วยการกำหนดรู้เพียงอาการเกิดดับเถิด อย่ารู้ไตรลักษณ์ด้วยการคิดนึกเลย มิเช่นนั้นท่านจะไม่อาจพ้นความไหวหวั่นได้แท้ จงกำหนดรู้ความเกิดดับด้วยใจ อย่าไปปรุงแต่งธรรมเอง จงให้ธรรมเกิดเองโดยมิต้องคิด เพียงแต่จำต้องรู้ นั่นแล่คือ อารมณ์ที่เราหมายถึง สาธุ สาธุ สาธุ
ความทุกข์มีรสเดียว อย่าหมายมั่นในสิ่งอื่น เมื่อตัดอิตถี หรือ ปุงลิงค์ ออกเสียได้ จะเหลืออันใดอยู่อีกหรือแก่ใจ บรุษใดหรือกลืนกินเกลือแล้วมีรสหวาน สตรีใดหรือกลืนกินน้ำตาลแล้วมีรสเค็ม ทุกๆคนคือผู้เสพ รสที่เสพหาได้เกิดแต่เพศเลย จงกำหนดรู้ในอาการแห่งอารมณ์เถิด แล้วจะเสพธรรมอันพ้นโทษทั้งปวง จะนำท่านให้พ้นภัยแห่งตนที่กำลังเสพนี้อย่างเด็จขาด สาธุ ขอท่านจงข่มจิตส่วนแห่งความอ่อนไหว ท่านฉลาดแล้ว แต่ยังมิทันเฉลียว เราจะอยู่กับท่านเท่าที่เราพอจะทำได้ อย่าไหวหวั่นเลย
อาตมานี้ ทำไมถึงสัมผัสความเป็นอิตถี จากคุณโยมหนอ หรือว่าอาตมาจะปรุงแต่งไปเอง ขออภัยที่ถามในเรื่องอย่างนี้ จะได้ต่อในธรรมอื่นอันพอมีให้
ชัยชนะใดหรือจะยังเหลืออยู่ในจิตของผู้มิต้องการจะเอาชัย ขอท่านจงพ้นภัยเถิด เพราะเหตุนั้นนั่นเอง ชัยชนะที่เรากล่าวจึงมิได้แปลไปไหน และเรายังยืนยันชัยชนะนั้นดั่งเดิม ผู้ใดมิทันจะพ้นชัยชนะอันเป็นของโลก ผู้นั้นย่อมให้ความหมายคำว่าชัยชนะนั้นวนเวียนในโลกโลกีแล ท่านยังมิแจ้งจิตแห่งเรา ท่านจึงมิแจ้งคำเรา ผู้ใดอวยชัยแก่ผู้อื่นเพื่อจะเอาชัยผู้อื่น ผู้นั้นยังได้ชื่อว่าสมณะอยู่หรือ ขอท่านจงแจ้งใจเราเถิด แล้วท่านจะแจ้งคำนั้น มีสิ่งไรเตือนขอท่านจงเตือนเถิด แต่ท่านจงฟังเราแก้แล้วอย่าได้หวั่นไหว สาธุ สาธุ สาธุ