สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    หลวงป๋าให้พร ปีใหม่ 2559

    ...................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Facebook.mp4
      ขนาดไฟล์:
      2.3 MB
      เปิดดู:
      241
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    การไปทำบุญที่วัดแห่งหนึ่ง เขาจะกลั่นเครื่องไทยทาน ดอกไม้ ธูป เทียน อาหาร หวานคาว ของสาธุชนทุกท่านขึ้นไปถวายพระพุทธเจ้าบนนิพพาน แล้วสาธุชนก็จะได้บุญใหญ่มหาศาล กล่าวคือ เราทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียว ก็ยังไม่ได้บุญใหญ่เท่านั้นเลย จริงหรือไม่ครับ ? และวัดปากน้ำกับวัดสระเกศเคยทำไหมครับ ? กรุณาชี้แจงให้สว่างด้วยครับ ?


    ------------------------------------------------


    ตอบ:

     
     
    เรื่องนี้อาตมา(พระเทพญาณมงคล เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดฯ)ขอแยกตอบเป็น 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้คือ

    ประเด็นที่ว่า  กลั่นเครื่องไทยทานแล้ว นำไปถวายพระพุทธเจ้าในนิพพานนั้น   จะถึงหรือไม่ ?
    แล้วสาธุชนผู้มาร่วมในการถวายเครื่องไทยทานนั้น จะได้บุญมหาศาล   กล่าวคือ แม้จะเคยได้ทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย  โดยไม่มีเว้นเลยสักวันเดียว  ก็ยังไม่ได้บุญใหญ่เท่านั้น  จริงหรือไม่ ?
    ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ   และที่วัดสระเกศ   เคยทำอย่างนี้บ้างหรือไม่ ?
    อาตมาขอเจริญพรว่า เครื่องไทยทานนั้นไม่ถึงพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานที่แท้จริงแต่ประการใด  แม้จะมีผู้ติดตามดูและเห็นตามได้ก็ตาม    ทั้งนี้เพราะ

    ธรรมชาติทุกอย่างในอายตนะนิพพานนั้น  เป็นแต่ธาตุล้วนธรรมล้วน ซึ่งไม่ประกอบด้วยปัจจัย (เช่น ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม) ปรุงแต่ง   ที่พระท่านเรียกว่า อสังขตธาตุ อสังขตธรรม หรือเรียกว่า “สังขาร” ในภพ 3 นี้แต่ประการใดเลย    เพราะฉะนั้น ธรรมชาติใดๆ ที่ เป็นสังขารกล่าวคือที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานอย่างแน่นอน

    ธรรมชาติในอายตนะนิพพานที่ว่าเป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม  อันไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง แม้ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ก็ไม่มีในอายตนะนิพพานนั้น   มีหลักฐานในพระไตรปิฎก ในนิพพานสูตรที่ 3 ว่า  “ภิกษุทั้งหลาย   อายตนะ (นิพพาน) นั้น มีอยู่,  ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีแล,  อากาสานัญจายตนะก็ไม่ใช่  วิญญานัญจายตนะก็ไม่ใช่  อากิญจัญญายตนะก็ไม่ใช่  เนวสัญญานาสัญญายตนะก็ไม่ใช่ ...”  และ  “ภิกษุทั้งหลาย   ธรรมชาติที่ไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว   มีอยู่..”

    แต่เครื่องไทยทาน (อันได้แก่ดอกไม้ ธูป เทียน อาหารหวานคาว) ซึ่งถ้าผู้ทรงวิชชานั้น ยังเป็นแค่โคตรภูบุคคล มิใช่พระอริยบุคคลวิชชานั้น ก็เป็นแต่เพียงโลกิยวิชชา แม้จะกลั่น (เครื่องไทยทานนั้น) ให้เห็นใสละเอียดยิ่งกว่าของหยาบที่มีผู้นำมาถวายก็เป็นได้เพียงแค่ของทิพย์ ซึ่งยังจัดเป็น “สังขาร” อันเป็นส่วนประกอบของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่

    เพราะฉะนั้นเครื่องไทยทานนั้น แม้จะกลั่นให้ดูเป็นของทิพย์ ดูเห็นใสละเอียด ก็ตาม ย่อมจะเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงได้เลย

    แม้กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมของผู้กลั่น  และผู้นำเครื่องไทยทานไปถวายพระพุทธเจ้านั้น ก็ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงไม่ได้   เพราะยังเป็นสังขารที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอยู่อีกเช่นกัน

    แต่มูลเหตุที่ทั้งผู้ทำวิชชาเช่นนั้น  และผู้ติดตามดู  สามารถเห็นสมจริงได้ว่า เห็นท่านผู้นั้นๆ นำเครื่องไทยทานที่กลั่นใสละเอียดแล้วไปถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานได้    ก็เพราะเหตุผล 2 ประการคือ

    จิตของผู้ทรงโลกิยวิชชา “ปรุงแต่ง” ขึ้น  เป็นมโนมยิทธิ คือ อิทธิฤทธิ์ทางใจ  ที่นึกจะ “ให้เห็น” อะไร หรือ “ให้มี” อะไร ที่ไหน ก็จะ “เห็น” หรือ “มี” สิ่งนั้น ด้วยใจที่กำลังทรงโลกิยวิชชานั้นอยู่ได้
    ท่านที่ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว  ลองคิดให้เห็น “ด้วยใจ” เป็นอะไร  ณ ที่ใด  ก็จะสามารถเห็นได้    นี้เป็นข้อพิสูจน์เบื้องต้น   โลกิยวิชชานี้แหละที่ยังจัดเป็น “อภิสังขารมาร” กล่าวคือเป็นคุณธรรมที่ให้มีความสามารถเหนือผู้อื่นในหมู่ชาวโลกด้วยกัน   แต่ยังต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอยู่   มีคุณค่าเหมือนโลกิยทรัพย์ที่มีคุณอนันต์หากรู้จักธรรมชาติของมันและรู้จักใช้ให้เกิดแต่ประโยชน์อันปราศจากโทษ   แต่มีโทษมหันต์ถ้าไปหลงติดด้วยตัณหาและทิฏฐิคือความหลงผิดเข้า
    โดยเหตุนี้  ผู้มีปัญญาเขาจึงอาศัยอภิสังขารมารนั้นแหละเป็นฐานของการบำเพ็ญบารมีเจริญภาวนา ทำนิโรธดับสมุทัยไปให้ใสละเอียดเป็นประจำ   เพื่อแยกพระแยกมาร   กล่าวคือ  ใช้ประโยชน์ของโลกิยวิชชานี้แหละเป็นพื้นฐานในการทำวิชชาไปสู่โลกุตตรวิชชาเพื่อความเข้าถึงและเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนของพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรมที่บริสุทธิ์ที่สุด
    หลวงพ่อ พระภาวนาโกศลเถร ท่านจึงได้กล่าวกับศิษยานุศิษย์ของท่านเสมอๆ ว่า “เพียงแต่ปฏิบัติได้ธรรมกายในระดับโคตรภูบุคคลนั้น  ยังไม่อาจวางใจได้ว่าจะเอาตัวรอดได้” 

    อายตนะภายใน (กล่าวคือเครื่องรู้เห็นและสัมผัส) ของกายในกาย ณ ภายใน จากสุดหยาบของกายมนุษย์ ไปจนสุดละเอียดของกายธรรม ของท่านผู้กลั่นเครื่องไทยทานไปถวายพระพุทธเจ้าและของผู้ติดตามดูนั้น มีศูนย์กลางตรงกันหมดทุกกาย    แม้กายในกาย ณ ภายในในระดับโลกิยะ (กายมนุษย์ มนุษย์ ละเอียด, ทิพย์ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหม รูปพรหม ละเอียด และอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด) จะเข้าไม่ถึงอายตนะนิพพานที่แท้จริงได้    แต่ก็อาศัยที่ว่าอายตนะภายในของกายเหล่านี้ไปตรงกับของ “ธรรมกาย” ที่สุดละเอียด ซึ่งสามารถเข้าไปถึงอายตนะนิพพาน และไปรู้เห็นและสัมผัสอายตนะนิพพานได้ โดยการให้ใจของธรรมกายเจริญภาวนาดับหยาบไปหาละเอียดจนสุดละเอียดเสมอกับอายตนะนิพพาน และอวิชชาทำอะไรไม่ได้ชั่วคราว  เรียกว่า “ตทังคนิโรธ” หรือ “วิกขัมภนนิโรธ”   กล่าวคือ หลุดพ้นด้วยการข่มกิเลส (ชั่วคราว)   ภาพที่เห็นด้วยอายตนะภายในของธรรมกายที่สุดละเอียด ซึ่งเข้าถึงและเห็นความเป็นไปในอายตนะนิพพานนั้น จึงเป็นภาพเชิงซ้อนกับเครื่องไทยทานและอาหารที่นำไปถวายที่เป็นทิพย์   จึงให้เห็นสมจริงว่า กลั่นเครื่องไทยทานนำไปถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานได้  
    อาตมายืนยันโดยหลักฐานในทางปริยัติและหลักปฏิบัติว่า   สิ่งที่เป็นสังขารไม่อาจจะเข้าถึงหรือไปสัมผัสถึงอายตนะนิพพานซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดนั้นได้เลย เพียงแต่ว่าความรู้เห็นและสัมผัสของธรรมกายที่สุดละเอียดนั้น มีศูนย์กลางตรงกันกับของกายในภพ 3   อันให้สามารถเชื่อมต่อหรือสื่อถึงกันได้โดยอัตโนมัติเท่านั้น
    ผู้ปฏิบัติภาวนาที่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน  จึงต้องพึงสังวรระวังไว้ให้เข้าใจทั้งหลักปริยัติและหลักปฏิบัติให้ถ่องแท้แน่นอน   มิฉะนั้นจะถูกอภิสังขารมารหลอกเอาให้เข้าใจไขว้เขวผิดไปได้   จงระลึกไว้เสมอว่าวิชชาในระดับโลกิยะของผู้ที่ไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน ยังจัดเป็นอภิสังขารมาร ซึ่งเป็นความปรุงแต่งให้มีดีเหนือผู้อื่นในระดับโลก   แต่ยังมีสภาวะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ผู้ใดหลงยึดมั่นถือมั่นด้วยตัณหาและทิฏฐิแล้วเป็นทุกข์
    อานิสงส์ของผู้ไปร่วมถวายเครื่องไทยทานแด่พระพุทธเจ้าเช่นนั้น   มีคล้ายๆ กับการถวายข้าวพระพุทธหรือบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ธูปเทียนธรรมดา  ในฐานะของผู้ที่ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าโดยทั่วไป    แต่มิใช่ว่าจะได้บุญใหญ่มหาศาลยิ่งกว่าการที่เราทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย  โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียวแต่ประการใด   เพราะ

    จากประเด็นแรก   เครื่องไทยทานที่กลั่นเป็นของทิพย์ (โดยผู้ทรงโลกิยวิชชา)  ซึ่งจัดเป็นสังขารธรรมนั้น  ไม่ถึงพระนิพพาน คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว ของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพ ซึ่งเข้าอนุปาทิเสสนิพพานและไปปรากฏอยู่ในอายตนะนิพพานแล้วนั้น อย่างแน่นอน
    การทำบุญ (ทานกุศล) กับพระพุทธเจ้า พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ กายเนื้อ เป็นมหากุศลหรือบุญกุศลตามส่วน   ก็เพราะท่านได้บริโภคขบฉันใช้สอยหรือทำประโยชน์จากเครื่องไทยทานนั้นเพื่อยังชีวิต (กายเนื้อ) ของท่านให้เป็นไป หรือดำเนินไปได้
    ส่วนพระนิพพานนั้นมิได้ปรารถนาที่จะบริโภคขบฉันใช้สอยหรือทำประโยชน์ จากเครื่องไทยทานทิพย์เช่นนั้น เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตของพระองค์ท่านแต่ประการใดเลย เครื่องไทยทานทิพย์เช่นนั้นจึงมีค่าไม่แตกต่างอะไรจากเครื่องไทยทานธรรมดา ซึ่งมีผู้นำไปบูชาพระพุทธรูปโดยทั่วไป  แล้วจะไปเอาหรือได้บุญมหาศาลจากไหน ?    และหากหลงผิดคิดว่า ได้บุญมหาศาลเช่นนั้น   ก็ยังกลับจะได้ “โมหะ” บาปอกุศลติดตนเป็นของแถมเสียอีก
    จึงขอเจริญพรเพื่อทราบว่า สิ่งที่หล่อเลี้ยงธรรมกายจากสุดหยาบไปจนถึงพระนิพพานที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานถอดกายและอายตนะนิพพานเป็นนั้น  มิใช่เครื่องไทยทานอันเป็นอามิสทานของหยาบ  ซึ่งจัดเป็นสังขารธรรม (สังขตธาตุ สังขตธรรม) แต่ประการใด    หากแต่เป็น “บุญ”  ซึ่งได้กลั่นตัวจนแก่กล้าแล้ว เป็นบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี รัศมี กำลัง ฤทธิ์ อำนาจ (ในการปกครองธาตุธรรม) สิทธิ สิทธิเฉียบขาด ฯลฯ ซึ่งเป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม คือธาตุล้วนธรรมล้วนไปจนถึงธาตุธรรมที่สุดละเอียดของอายตนะนิพพานเป็น นั้นแล
    ผู้ทำนิโรธดับสมุทัยและเจริญภาวนาวิชชาธรรมกายชั้นสูงอยู่เสมอ   เขาทราบเรื่องนี้ดีว่า  การทำนิโรธให้แจ้ง และการทำมรรคให้เจริญเท่านั้นจึงเป็นธรรมปฏิบัติที่จะสามารถกำจัดอวิชชา อันเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสังขาร-วิญญาณ-นามรูป-ตัณหา-อุปทาน-และภพ-ชาติ-ชรา-มรณะ-ทุกข์ ให้ถึงพระนิพพาน (อสังขตธาตุ อสังขตธรรม) ที่แท้จริงได้
    มีปรากฏหลักฐานเอกสารในที่มากแห่งในพระไตรปิฎกว่า บุคคลผู้ทำบุญด้วยใจศรัทธากับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพผู้มีอาสวะกิเลสสิ้นแล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่ท่านเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ นั้น ได้รับผลบุญในปัจจุบันทันตาเห็นมากมาย...  นี่ว่าแต่เฉพาะที่ทำบุญกับพระพุทธเจ้าองค์เดียว กับพระอรหันต์จำนวนหนึ่งเท่านั้น... แล้วถ้าทำบุญกับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพเจ้าเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน ซึ่งประทับเข้านิโรธสมาบัติมาโดยตลอดเช่นนั้นได้ถึงจริงละก็   ป่านนี้ผู้ที่ไปร่วมพิธีถวายเครื่องไทยทานทั้งหลายจะมิได้รับผลบุญในปัจจุบัน และกลายเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีทันตาเห็นกันไปหมดหรือแทบจะหมดทุกคน   ยิ่งกว่าตัวอย่างของบุคคลผู้ทำบุญ (ทานมัย) กับพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ขีณาสพเจ้าในสมัยพุทธกาล ละหรือ ?
    ท่านลองถามตัวเองดูซิว่า   ตั้งแต่มีการทำบุญเช่นนั้นเป็นต้นมา   มีใครร่ำรวยเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีขึ้นมาทันตาเห็นบ้าง ? (แม้ผู้ทำบุญไม่ปรารถนาผลบุญเช่นนั้นตอบแทน   บุญก็ทำหน้าที่ของเขา เป็นทั้งโลกิยสมบัติและโลกุตตรสมบัติเองอยู่ดีแหละ)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ   ซึ่งเป็นสถานที่ต้นธาตุต้นธรรมของวิชชาธรรมกาย    เขาจึงไม่ได้ทำเช่นนั้น   ที่วัดสระเกศ ซึ่งผู้ให้การอบรมพระกัมมัฏฐานผู้เป็นศิษย์ผู้ได้รับการถ่ายทอดวิชชาธรรมกายมา  ก็มิได้ทำเช่นนั้น เพราะพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ  พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ซึ่งเป็นต้นวิชชาธรรมกายก็มิได้เคยสั่งสอน หรือแนะนำให้ศิษยานุศิษย์คนใดให้ทำเช่นนั้น   และท่านก็ไม่เคยรับรองหรืออนุมัติวิชชาถวายเครื่องไทยทาน โดยการถือว่ากลั่นเป็นของทิพย์นำขึ้นถวายพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพาน  แล้วมีผลเป็นกุศล มหาศาลยิ่งใหญ่กว่าการทำบุญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยไม่เคยเว้นแม้เพียงวันเดียว แต่ประการใดเลย

    แต่ถ้าใครอยากทำ  ก็ไม่มีใครเขาห้าม  และก็เป็นความดีส่วนหนึ่ง    เพียงแต่ความจริงมีอยู่ว่า

    ไม่ถึงพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพานที่แท้จริง
    ไม่ใช่จะได้บุญใหญ่มหาศาลเช่นนั้น และ
    ถ้าทำไปเพราะหลงเข้าใจผิดจะได้ “โมหะ” เป็นบาปอกุศลแถมติดตัวติดใจไปด้วยตามส่วน
    ใจ “หยุด” ใจ “นิ่ง” ที่ตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของกาย ทุกกาย สุดหยาบสุดละเอียด ซึ่งตรงกับศูนย์กลางของพระนิพพาน และอายตนะนิพพานนั้นแหละที่ เป็น บุญใหญ่ กุศลใหญ่ จริงๆ
    การทำมรรคให้เจริญ  และทำนิโรธให้แจ้งอยู่เสมอ (เท่าที่จะทำได้) นั้นแหละ ที่ดับ “สมุทัย”  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อวิชชา ซึ่งเป็นเหตุแห่งสังขาร-วิญญาณ-นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา-ตัณหา-อุปาทาน-ภพ-ชาติ-ชรา-มรณะ-ทุกข์ได้จริง และจะสามารถเข้าถึงธาตุล้วน ธรรมล้วน (อสังขตธาตุ อสังขตธรรม)  ของพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรมที่บริสุทธิ์ที่สุดได้  และ ให้สามารถรู้ว่าอะไรคือของปลอม ของจริง ตามที่เป็นจริงได้แล



    (ผู้ถาม: สมาชิกชมรมผู้ปฏิบัติธรรม "ลานโพธิ์" วัดบึงบวรสถิตย์ ชลบุรี ในการอบรมพระกัมมัฏฐานแด่พระสงฆ์ รุ่นที่ 10 พฤษภาคม 2529 ณ สถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี)
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    พระเกตุมาลาของพระพุทธเจ้า ทำไมจึงมีหลายลักษณะ เช่น เกตุเปลว เกตุดอกบัวตูม เกตุตุ้ม ?


    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    พระเกตุมาลาของพระธรรมกายนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้าไปรู้ไปเห็นตรงกันว่า เป็นธรรมชาติมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม

    ส่วนการที่ช่างปั้น ปั้นพระพุทธรูปมี เกตุเปลว นั้น ก็ด้วยสมมุติว่าเป็นพระรัศมี ซึ่งมีลักษณะเหมือนเปลวเพลิง

    บางครั้งก็จะพบพระเกตุมาลาเป็นรูปดอกบัวตูม ตามพระพุทธลักษณะที่เป็นจริงของพระธรรมกาย

    ส่วนช่างปั้นที่ปั้นพระพุทธรูปเป็นลักษณะ เกตุตุ้ม นั้น เข้าใจว่าจำลองแบบจากพระพุทธรูปที่ทำขึ้นในยุคแรกในรัฐคันธารราษฎร์ ซึ่งช่างปั้นในยุคนั้นได้รับอิทธิพลจากศิลปะชาวกรีก ที่ทำพระพุทธปฏิมาจำลองพระวรกายเนื้อของพระพุทธเจ้า


    [​IMG]


    พุทธลักษณะ พระธรรมกาย นิพพานถอดกาย(นิพพานธรรมกาย)



    พุทธลักษณะ พระธรรมกาย นิพพานเป็นคล้ายดังภาพข้างล่างนี้


    [​IMG]
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    จักรพรรดิ ภาคผู้เลี้ยง คืออะไร ?

    

    ตอบ:

    ที่เห็นคล้ายพระทรงเครื่อง นั้นเรียกว่า “จักรพรรดิ” นั่นเป็นพระภาคผู้เลี้ยง พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ในเรื่อง “ธรรมะ” แต่จักรพรรดิเป็นใหญ่ในเรื่อง “สมบัติ”

    จักรพรรดิมีด้วยกันทั้ง 3 ฝ่าย 3 ฝ่ายคืออะไร ธรรมชาติทั้งหมด มีอยู่ 3 ฝ่าย ฝ่ายอกุศลหรือฝ่ายธรรมดำหรือฝ่ายมาร หรือฝ่ายบาปอกุศล แล้วแต่จะเรียกกันอย่างไร

    ถ้าเป็นการกระทำเขาเรียกว่า “บาปอกุศล” ถ้าเป็นธรรมชาติที่ดลจิตดลใจให้คิดผิด รู้ผิด เห็นผิด ทำผิด เป็นบาปอกุศลเขาเรียกว่า “กิเลส“ มีวรรณะดำจริงๆ จึงเรียกว่า “ธรรมดำ“ แล้วเราเรียกกิเลสว่าเป็นเครื่องกั้นความดี และเมื่อมีอยู่ในสัตว์บุคคลใดกี่มากน้อย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีเทพบุตรชั้นต่ำลงมาที่ตกอยู่ในอำนาจของธรรมดำ คือกิเลสมากด้วยก็มี ชื่อว่า “เทพบุตรมาร“ เช่น พวกยักษ์ ซึ่งส่วนมากจะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ประพฤติผิดศีล แต่ที่มีส่วนที่เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่บ้างก็มี นี้ธาตุธรรม “ภาคดำ“ หรือ “ภาคมาร“ ผู้ขัดขวางคุณความดี

    ส่วนภาคกลางๆ ก็ ไม่ดีไม่ชั่ว

    ส่วนธาตุธรรมอีกฝ่ายหนึ่ง เป็น “ภาคขาว“ ถ้าเป็นการกระทำที่ชื่อว่ากรรมดีก็เรียกว่า “กุศลกรรม“ ถ้าว่าธรรมชาติฝ่ายขาวที่ดลจิตดลใจให้ประพฤติปฏิบัติไปตามพระปิฎก คือ ดีทางด้านความประพฤติ ชื่อว่า “พระวินัยปิฎก“ ดีทางด้านจิตใจสงบ ชื่อว่า “พระสุตตันตปิฎก“ ดีทางด้านปัญญา ชื่อว่า “พระอภิธรรมปิฎก“

    ธรรมชาติที่ดลจิตดลใจฝ่ายดีให้ประพฤติปฏิบัติไปตามปิฎกฝ่ายดีนี้ชื่อว่า “บุญ“ บุญเป็นธรรมชาติชำระจิตใจให้ผ่องใส จึงชื่อว่า “ธรรมขาว“ เป็นฝ่ายที่เมื่อใครปฏิบัติตามแล้ว นำชีวิตตนไปสู่ความสุขความเจริญฝ่ายเดียวมีแต่ดีกับดี ธรรมชาติฝ่ายนี้จึงชื่ออีกอย่างว่า “ฝ่ายพระ“

    ส่วนธรรมชาติทั้ง 3 ฝ่ายหรือ 3 ภาคนี้ เหมือนหนึ่งว่าคนเล่นเก้าอี้ดนตรี ถ้าฝ่ายมารเขาครองเก้าอี้ ฝ่ายพระก็ต้องถอย พูดอย่างง่ายๆ ในจิตใจของคน ถ้ากิเลสเข้ามาบุญก็ถูกบังหายไป เพราะฉะนั้น เมื่อกิเลสเข้ามาก็ไม่ทำกันแล้วความดี นี่แหละที่ว่า “มารเป็นธรรมชาติที่ขัดขวางคุณ ความดี“ ส่วนความดีหรือบุญกุศลเป็นธรรมชาติที่ชำระกิเลสมารทำให้จิตใจผ่องใส ชื่อว่า “บุญ“ บุญให้แต่คุณเป็นความสุข ความเจริญอย่างเดียว ส่วนบาปอกุศลให้ความทุกข์เดือดร้อนแต่อย่างเดียว

    ธรรมที่ว่าเป็นบุญหรือฝ่ายพระ ก็มี “จักรพรรดิ“ นี้เป็นภาคผู้เลี้ยง ฝ่ายพระมีประจำอยู่ในกาย จากสุดหยาบไปจนสุดละเอียดถึงพระพุทธเจ้า จากพระพุทธเจ้ายังมีพระในพระที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไปอีก ถึงพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม (Primorial Buddhas) กลางของกลางพระ พระพุทธเจ้าเป็นใหญ่ฝ่าย “ธรรม“ แต่มีจักรพรรดิมีพุทธลักษณะเหมือนพระทรงเครื่อง ใสบริสุทธิ์อยู่กลางพระนั้น นี้เป็นใหญ่ฝ่าย “สมบัติ“ คือ

    เมื่อไหร่ที่จักรพรรดิฝ่ายพระมีอำนาจมาก ก็เลี้ยงธาตุธรรมของฝ่ายพระด้วย สมบัติทั้งหลายที่ดีๆ ทั้งปวง ตั้งแต่ปัจจัย 4 เครื่องอำนวยความสะดวก ให้สุขสมบูรณ์บริบูรณ์ทุกอย่าง แต่เมื่อไหร่ที่จักรพรรดิฝ่ายพระไม่ว่าจะประจำอยู่ที่ธาตุธรรมใด เช่นประจำอยู่ที่บุคคลใดหรือครอบครัวใดโดยส่วนรวม หรือของกลุ่ม ชนใดโดยส่วนรวม หรือของประเทศชาติใดโดยส่วนรวม

    ถ้าเป็นจักรพรรดิที่มีอำนาจน้อย ชื่อว่า “จุลจักรพรรดิ“ ความเป็นอยู่ก็ฝืดเคือง สัตว์โลกหรือมนุษย์หรือกลุ่มชนนั้นก็ฝืดเคือง ยากจน แต่ถ้าจักรพรรดิมีอำนาจมาก กล้าแข็งมากเพียงไร ประจำอยู่ในธาตุธรรมของบุคคลใด หรือกลุ่มชนใดตั้งแต่เล็กจนใหญ่ ตั้งแต่ครอบครัวไปถึงประเทศชาติ จาก “จุลจักรพรรดิ“ เป็น “บรมจักรพรรดิ“ ความสุขสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ก็จะมากขึ้นตามลำดับ ถ้าถึง “บรมจักรพรรดิ“ ก็จะสมบูรณ์บริบูรณ์ที่สุด และถ้าว่าเป็นจักรพรรดิของภาคผู้ปกครองภพ 3 ก็จะเลี้ยงดูกันสุขสบายหมดทั่วทั้งทวีปทีเดียว

    ถ้าว่าเป็นจักรพรรดิของภาคมารหรือธรรมดำก็จะให้แต่โทษ ของดีกลายเป็นโทษ ให้สังเกตดูประเทศที่เจริญด้วยโภคทรัพย์อย่างประเทศในตะวันออกกลางหรือที่ไหนๆ แม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือในยุโรป หรืออย่างเอธิโอเปียซึ่งแย่มากที่สุด เป็นจุลจักรพรรดิที่ต่ำที่สุด อานุภาพน้อยที่สุด ยากจนเหลือเกิน หรือประเทศอินเดียก็ยากจนมาก ที่รวยก็รวยมาก เฉพาะบุคคล ในตะวันออกกลางมีทรัพยากรมาก ทรัพย์สมบัติมาก แต่ทรัพยากรถูกใช้ไปด้วยอำนาจของฝ่ายมารหรือธรรมดำ เปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นธรรมชาติกลางๆ ให้เป็นไปทางด้านลบหรือด้านทำลายล้างกัน รบราฆ่าฟันกัน เอารัดเอาเปรียบ กบฎคดโกง รุกรานกัน แย่งชิงความเป็นใหญ่กัน ไม่มีความสุข มีแต่รบราฆ่าฟันกัน ประชาชนเป็นทุกข์เดือดร้อนกันทั่ว

    จักรพรรดิที่แย่มากที่สุด ก็คือ จักรพรรดิที่ประจำหล่อเลี้ยงด้วยผลกรรมชั่วอยู่ใน ธาตุธรรมของสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานอย่างเปรตนี่หิวตลอดกาล สัตว์นรกก็รุ่มร้อน ได้รับความทุกข์ทรมานตลอด จักรพรรดิของเขาก็เป็น “ภาคดำ“ หล่อเลี้ยงผลกรรมให้ได้รับ ความทุกข์ เดือดร้อน ไม่รู้จักจบสิ้น อย่างอเวจีมหานรก ไฟนรกเผาไหม้ร้อนเหลือเกิน ท่านเปรียบเทียบว่า สะเก็ดไฟห่างจากตัวเราเป็นร้อยโยชน์ 1 โยชน์เท่ากับ 400 เส้น 1 เส้นเท่ากับ 20 วา เป็นร้อยๆ โยชน์ เพียงแต่เราเห็นไฟนรกแวบเดียว ตานี้จะเสียเลย ในคัมภีร์บอกไว้ ใส่อะไรลงไป ละลายหมด ยิ่งกว่าภูเขาไฟระเบิดสัตว์นรกจริงๆ ไหม้แดงแต่ไม่เป็นขี้เถ้า ไม่ไหม้หมดเป็นเถ้าถ่าน ไม่ตาย เพราะจักรพรรดิภาคผู้เลี้ยงสัตว์นรก ทำให้เป็นไปตามกรรมอย่างนั้น ไม่ตาย ร้องไปเถิด ตัวแดงเป็นไฟ ไหม้เหม็น ผู้ถึงธรรมกายเขาเห็นเสื้อผ้าก็ไม่มีใส่ ตัวก็ถูก จองจำแน่นหนา มีปรากฏในคัมภีร์ด้วย ในคัมภีร์บอกไว้เลยว่า เหล็กหลาวเท่าต้นตาลเสียบทะลุ จากกระหม่อมข้างบนลงไปข้างล่าง เสียบทะลุจากข้างหน้าไปข้างหลัง จากซ้ายไปขวา กระดุกกระดิกไม่ได้ ได้แต่ร้องลูกเดียว ในคัมภีร์บอกไว้ เดี๋ยวนี้มีสอนสมัยใหม่ว่า นรกสวรรค์ไม่มี ที่แท้มีอยู่จริงตามหลักฐานในคัมภีร์ เพราะตัวผู้สอนไม่รู้ไม่เห็น นึกว่านรกสวรรค์อยู่บนดิน ที่แท้นรกสวรรค์มีจริง ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกายที่แก่กล้าเขาเห็น นี่คือเรื่องของจักรพรรดิภาคผู้เลี้ยง

    ถ้าสงสัยทำไมจักรพรรดิจึงมี 3 ภาค ทำไมไม่เลี้ยงดีๆ ทำไมต้องเป็นไปด้วยธรรมะ ของฝ่ายมาร หรือฝ่ายบาปอกุศลบ้าง ? เป็นไปด้วยธรรมของฝ่ายบุญกุศลบ้าง ? ก็เพราะว่าฝ่ายบุญ ให้ทำความดี จักรพรรดิก็เก็บเหตุแห่งความดีทางกาย ทางวาจา ทางใจ ส่งถ่ายทอดเข้าสู่เครื่องธาตุเครื่องธรรม ปรุงแต่งเป็นผลของกรรมดีส่งย้อนกลับเข้ามาในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของสัตว์โลก จากสุดละเอียดมาสู่ส่วนสุดหยาบ ซึ่งเจริญเติบโตมาเป็นกาย ใจ จิต วิญญาณ และการ ดำเนินชีวิตประจำวันให้เป็นไปด้วยความสุขสบาย นั่นจักรพรรดิภาคผู้เลี้ยงเป็นอย่างนั้น จักรพรรดิเป็นไปตามอำนาจของต้นธาตุต้นธรรมของเขานั้นเอง ถ้าต้นธาตุต้นธรรมเป็นฝ่ายบุญ เป็นฝ่าย สัมมาทิฎฐิ จักรพรรดิเขาก็เป็นฝ่ายดีให้แต่ความสุข ใครทำดี ธรรมชาติฝ่ายขาวก็เข้าปกครองธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของผู้นั้น เหมือนเล่นเก้าอี้ดนตรี

    เมื่อฝ่ายบุญฝ่ายกุศลได้ทำหน้าที่เพราะสัตว์โลกรับธรรมฝ่ายบุญกุศลเข้าประพฤติ ปฏิบัติทางกาย วาจา และใจ ฝ่ายมารหรือฝ่ายบาปอกุศลก็ไม่ได้ทำหน้าที่ คือทำหน้าที่ไม่ได้ ถ้าจะพูดภาษาธรรมดา ก็ต้องว่าชิดซ้าย หรือไม่ก็ต้องเด้งออกไป

    แต่ถ้าเมื่อไหร่สัตว์โลกขาดสติสัมปชัญญะ เป็นคนประมาท มัวเมาในชีวิตไม่รู้บาปบุญ คุณโทษ เป็นคนโลภ เป็นคนโกรธ เป็นคนหลงตามอำนาจของกิเลสคือธรรมฝ่ายดำหรือฝ่ายมาร ประพฤติปฏิบัติไปตามอำนาจของกิเลสด้วยความคิดผิด รู้ผิด เห็นผิด ทำผิด จักรพรรดิภาคผู้เลี้ยงของเขาอยู่ในท่ามกลางของสัตว์โลก ก็ทำหน้าที่เก็บเหตุแห่งบาปอกุศลนั้นทับทวี ส่งกลับเข้าไปเป็นอาสวะหมักดองในจิตสันดานด้วย จนถึงอนุสัยกิเลสที่ตกตะกอนนอนเนื่องในจิตสันดาน และเข้าสุดละเอียดไปเข้าเครื่องปรุงธาตุธรรมชื่อว่า “อปุญญาภิสังขาร“ ปรุงเป็นผลจากกรรมชั่ว ที่กระทำไปแล้ว และจักรพรรดิเก็บเหตุส่งกลับไปหล่อเลี้ยงสัตว์โลกนั้นให้ได้รับผลเป็นวิบาก เป็นความทุกข์เดือดร้อนไปตามกรรม จักรพรรดิเขาทำเอง จักรพรรดิมีประจำของแต่ละสัตว์หรือ แต่ละคนๆ

    เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลาย ใครรักที่จะได้รับความสุขความสบายหมดทุกข์ ก็จงปฏิบัติตามธรรมของฝ่ายบุญฝ่ายกุศลว่า ให้ละชั่ว ให้ทำความดี ให้ชำระจิตใจ ให้ใสบริสุทธิ์ ให้เข้าใจ ให้ศึกษา ให้ปฏิบัติธรรมดี ฝ่ายบุญกุศล ดีทางกาย ดีทางวาจา ดีทางใจ ด้วยทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล จนกระทั่งสามารถกำจัดมารหรือบาปอกุศล มีกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นต้น ให้หมดสิ้นไปจากจิตสันดาน ให้ธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ เป็นที่สถิตอยู่ของจักรพรรดิฝ่ายบุญกุศล หรือเป็นอยู่ด้วยธรรมของฝ่ายบุญกุศลมีทาน ศีล ภาวนา, ละเอียดขึ้นไปเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา, ละเอียดขึ้นไปเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา, ละเอียดขึ้นไปเป็นปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา ถึงธรรมโคตรภูพระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา ธรรมกายพระอรหัต ถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า นี่ธาตุธรรมฝ่ายบุญกุศล อยู่ในธาตุในธรรม ในเห็น จำ คิด รู้ ของสัตว์โลกนั้น

    เพราะฉะนั้น ปฏิบัติธรรมตามแนววิชชาธรรมกายนั้นให้สามารถเข้าไปเห็น แล้วจึงรู้ ที่พูดทั้งหมดนี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสอนไว้ ครูบาอาจารย์ ท่านสอนและผู้ถึงธรรมกายเขาเห็นตามนี้ นี้เป็นสัจจธรรม สัจจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ รวมเบ็ดเสร็จเป็น “ทุกขสัจจะ“ “สมุทัยสัจจะ“ เหตุแห่งทุกข์ คือมารนั่นแหละ มีกิเลสมาร มารคือกิเลส ขันธมาร มารคือความเจ็บไข้ได้ป่วย มัจจุมาร มารคือความตาย เทพบุตรมาร คือเทพบุตรที่มี ธาตุธรรมภาคดำมาก เป็นมิจฉาทิฎฐิ

    อภิสังขารมารคือความปรุงแต่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายบาปอกุศลให้ได้รับผลเป็นความทุกข์เดือดร้อนยิ่งๆ ลงไปตามลำดับ ไม่ใช่ยิ่งๆ ขึ้น เช่นว่าไปเกิดเป็นเปรต สัตว์นรก อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานด้วยความโลภ โกรธ หลง เป็นมนุษย์ก็ยังโง่ แล้วยังต้องตายไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นสัตว์เดรัจฉานโง่หนักเข้าไปอีก ต่ำๆ ลงไปจนเป็นสัตว์เซลเดียว เหมือนแพลงตัน หรือตัวไรน้ำ มันพัฒนาเลวลงด้วยอำนาจของภาคมาร คือไปรับอธรรม ไปประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจา และใจ ตามอำนาจของกิเลสมีโลภ โกรธ หลง ตกต่ำลงไปเหมือนก้อนศิลาตกลงไปในบ่อที่ไม่มีก้น คือไม่มีทางกลับดีขึ้นมา หรือมีทางแต่กลับขึ้นมาได้ด้วยยาก ฝ่ายบาปอกุศลจำเพาะกิเลสมาร เมื่อทำมากๆ เข้า เป็น “อาสวะ“ หมักดองในจิตสันดาน ทำมากๆ เข้าเป็น “อนุสัยกิเลส“ เหล่านี้ เรียกว่า เจตสิกธรรม คอยเกิดขึ้นพร้อมกับอกุศลจิต ที่เมื่ออายตนะภายใน มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปกระทบกับอายตนะภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย เป็นต้น แล้วเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง สุขเวทนา เช่น ไอ้นี่น่ารักน่าใคร่ เป็นเหตุให้เกิดกิเลสตัณหา อุปาทานขึ้นมา ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันจึงเป็นทุกข์ หรือถ้าว่าแทนที่จะเป็นสุขเวทนา ก็เป็นทุกขเวทนา ไม่ชอบใจ เกลียดชัง เปิดโอกาสให้กิเลสประเภทโทสะ หรืออิจฉาริษยา หรือ มานะทิฏฐิครอบงำจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมัน นี้แหละกิเลสที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นภาคมารหรือฝ่ายบาปอกุศล

    เพราะฉะนั้น เมื่อเราทราบดังนี้แล้ว เข้าใจดังนี้แล้ว ทำอย่างเดียว เป็นฝ่ายบุญกุศล ง่ายนิดเดียว “ใจหยุด ใจนิ่ง“ ตัวเดียวในเบื้องต้น หยุดความชั่วส่วนหยาบ ได้แก่ หยุด เลิก ละ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ทำแต่ความดีมีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น

    ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ทำสำเร็จได้ด้วยกายมนุษย์หยาบ เมื่อทำแล้วสามารถ กำจัดกิเลสมารได้ 3 ประการ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ กายมนุษย์ละเอียด ก็ละเอียด เข้าไป

    พอถึงกายทิพย์คุณความดีในระดับทิพย์หรือเทวธรรม มีศีล สมาธิ ปัญญา และหิริ โอตตัปปะ คือความเกรงกลัวและละอายต่อบาปอกุศล นั่นเอง กำจัดกิเลสที่ละเอียดยิ่งไปกว่า คือ โลภะ โทสะ โมหะ นี่สำเร็จได้ด้วยกายทิพย์ และทิพย์ละเอียดอยู่ในธาตุธรรมนั้น

    ถ้าว่าจิตใจละเอียดเข้าไปอีก สะอาดบริสุทธิ์ถึงอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา และพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็สามารถกำจัดกิเลสมารที่ละเอียด คือ โลภะ ปฏิฆะ โมหะ ให้หมดไปได้ นี้เป็นธรรมที่สำเร็จได้ด้วยจิตใจที่เป็นบุญกุศลในระดับ “พรหมธรรม“

    แต่ว่า เมื่อถึงอรูปพรหม ต้องกำจัดกิเลสละเอียดยิ่งขึ้นไปอีกคือ ปฏิฆะ กามราคะ อวิชชา นั่นสำเร็จด้วยปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา เมื่อกำจัดได้แล้ว ปรากฏเป็นธรรมชาติ ที่บริสุทธิ์ล้วน ชื่อว่า “ธรรมกาย“ เริ่มตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูหยาบ โคตรภูละเอียด เมื่อพิจารณา สภาวธรรม สามารถกำจัดกิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก อย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพตปรามาส ด้วยปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา ในระดับโลกุตตรมรรค โลกุตตรปัญญา ก็ก้าวล่วงข้ามโคตรปุถุชนเป็นพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันบุคคลขึ้นไป

    โลกุตตรปัญญา คือเห็นแจ้งในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 คือ “สัจญาณ“ รู้ว่า อริยสัจ 4 แต่ละอย่างมีจริงอย่างไร ? “กิจจญาณ“ รู้ว่าควรจะทำอย่างไร ? และ “กตญาณ“ คือ เมื่อรู้แจ้งชัดแล้วว่า ทุกข์กำจัดได้แล้ว สมุทัยละได้แล้วนิโรธ ทำให้แจ้งได้แล้ว มรรคทำให้เจริญแล้ว กำจัดทั้งสัญโญชน์เบื้องต่ำ และสัญโญชน์เบื้องสูงได้หมดเป็นสมุจเฉทหาน ก็บรรลุมรรคผล นิพพานเป็นพระอรหันตขีณาสพ นั่นกำจัดกิเลสมารได้โดยตลอดด้วยอรหัตมรรค เป็น โลกุตตรมรรคในระดับอรหัตนั่นแหละ พัฒนาไปจากธรรมกายโคตรภูหยาบ-ละเอียด ธรรมกาย พระโสดาหยาบ-ละเอียด ธรรมกายพระสกิทาคามีหยาบ-ละเอียด ธรรมกายพระอนาคามีหยาบ-ละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตหยาบ-ละเอียด

    พอกำจัดกิเลสหยาบละเอียดได้ ธรรมกายพระอรหัตของท่านก็ใสสว่างโพลงอยู่ทุกขณะ ตื่นโพลงอยู่ทุกเมื่อนั่นแหละที่ชื่อว่า “พุทโธ“ ผู้เบิกบาน ผู้ตื่นแล้ว ที่พูดนี่มิได้หมายความว่าผู้พูด เป็นอรหันต์นะ หลวงพ่อฯ ท่านสอนไว้

    แนวทางปฏิบัติตามแบบวิชชาธรรมกาย ก็อยู่ในสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง และให้สามารถ รู้แจ้งเห็นแจ้งละเอียดลึกซึ้ง และกว้างขวางเป็นธรรมดา อันเป็นผลแต่การปฏิบัติที่เน้นหนักทั้ง สมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นเอง ให้เกิดอภิญญาและวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลราก ฝ่ายเกิดตามรอยพระบาทพระพุทธองค์นั้นเอง ธรรมของพระพุทธเจ้านั้นมีมากนับประมาณมิได้ ที่ทรงสอนและมีปรากฏในสติปัฏฐานสูตรนั้นเปรียบเหมือนกับใบประดู่ลาย พระพุทธองค์ได้ทรง เปรียบธรรมที่ทรงสอนให้ถึงความหลุดพ้นว่า เหมือนใบประดู่ลาย 1 กำจาก จำนวนใบไม้เต็มหมด ทั้งป่า เต็มป่านับจำนวนมิได้

    ผมค่อยๆ อธิบายพอเป็นเกร็ดเป็นความเข้าใจ เมื่อพูดถึงจักรพรรดิ มิใช่พระเจ้า จักรพรรดิ (Emperor) มีอำนาจมีกำลังพลถืออาวุธยุทธภัณฑ์อย่างในทางโลก “จักรพรรดิ“ นี้หมายถึงพระภาคผู้เลี้ยง เป็นใหญ่ฝ่ายสมบัติของพระ ซึ่งคอยให้ความสุข สมบูรณ์บริบูรณ์แก่ ผู้กระทำความดี ส่วนภาคมารก็ให้ความทุกข์เดือดร้อน มีประจำอยู่ในธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของสัตว์โลกทุกกาย สุดกายหยาบ กายละเอียด แล้วค่อยทำหน้าที่ตามธรรมของแต่ละฝ่ายที่ สัตว์โลก ประพฤติปฏิบัติตาม นั้นเอง

    เพราะฉะนั้น อย่าเผลอสติไปเป็นพรรคพวกฝ่ายมาร ตั้งใจปฏิบัติละชั่ว ทำดี ทำใจให้ใส เป็นฝ่ายพระ จะได้รับแต่สันติสุข และร่มเย็นฝ่ายเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 มกราคม 2016
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]




    " สละอารมณ์ "


    เมื่อสละอารมณ์ได้ ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่งบางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน

    รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทางเห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่

    พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)





    จากหนังสือ : วิสุทธิวาจา 3
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    [​IMG]
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    @@ พระคุณของครู--- (เล่าโดยคุณจีราภา เศวตนันท์)@@

    [​IMG]


    เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของข้าพเจ้า มิได้ต้องการให้เป็นการโอ้อวด แต่มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญยิ่ง 2 ประการ คือ

    ประการแรก เพื่อให้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติธรรมจริงๆ เพื่อให้ผู้อื่นที่ได้ปฏิบัติเข้าถึงและพบปัญหาแบบเดียวกันเข้าใจ สามารถแก้ไขตนเองได้ทัน เพราะบางทีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อไม่มีครูบาอาจารย์อยู่ด้วย ถ้าตนเองไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจ ก็อาจแก้ปัญหาไม่ถูกต้องตามแนวทาง ทำให้เกิดผลเสียหนักขึ้นได้ การทำวิชชาชั้นสูงที่ละเอียดมากๆ ต้องระวังอย่างยิ่ง ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย อาจทำให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง ที่ไม่อาจแก้คืนหรือแก้คืนได้ยาก เช่น อาจพลาดแล้วถูกภาคมาร (กิเลสมาร) ยึดสุดละเอียดไป ทำให้หลง ไม่เห็นกิเลสละเอียด ทำให้กาย วาจา ใจ เบี่ยงเบนไปจากธรรมฝ่ายสัมมาทิฏฐิไปทีละน้อย จนไม่รู้สึกตัว แล้วจะถูกทำลายธาตุธรรมไปในที่สุด

    ประการที่สอง เป็นการยืนยันว่าธรรมกายเป็นของจริง ขอให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงป๋า ทราบและมั่นใจได้เลยว่า วิชชาธรรมกายที่หลวงป๋าสอน ตามพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร) นั้น เป็นธรรมะของจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้ว ย่อมได้ผลจริง

    ขอพวกเราจงภูมิใจเถิดว่า เรานั้นไม่เสียชาติเกิดเลย ที่ได้มาเป็นลูกหลานของหลวงป๋า เพราะการสอนของท่าน เปิดใจกว้างเสมอ ไม่เคยปิดบังวิชชา เรียกว่าเปิดกันจนหมดตัวหมดใจเลยทีเดียว แต่เฉพาะศิษย์กับครูเท่านั้นนะ ท่านถึงจะให้เห็น เพราะท่านถือว่าจำเป็นในการสอน เพื่อที่ศิษย์จะได้เข้าใจถูกต้อง ครบถ้วน ตามจริง ไม่ถือว่าเป็นการอวดอุตตริมนุสสธรรม ถือว่าเป็นการสอน

    ทุกครั้ง ในการสอนธรรมะ ข้าพเจ้าเห็นกายของท่านใสเป็นแก้ว ฉัพพรรณรังสีปกคลุมไปทั่วบริเวณลานธรรม บางครั้งเห็นมีอาสนะเป็นพญานาค 7 เศียร นั่นหมายถึงท่านเป็นธาตุธรรมที่แท้จริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รัศมีที่เปล่งออกมาหมายถึงความเมตตาต่อสัตว์โลกทั้งหลาย ไม่เคยแบ่งว่าใครเป็นพระหรือมาร และข้าพเจ้าเห็นด้วยตัวเองว่า เมื่อถึงตอนแผ่เมตตาด้วยความบริสุทธิ์ใจของท่าน แม้แต่ไฟนรกยังดับ ทั่วทั้งจักรวาลมีแต่เสียงสาธุ นี่คือการสอนธรรมะในแต่ละครั้งของท่าน เพราะฉะนั้นที่วัดหลวงพ่อสดฯ ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสทำวิชชาทุกวันตลอดเวลา (เรียกว่า วิชชาเป็น) ที่นั่นจึงเป็นศูนย์รวมแห่งความศักดิ์สิทธิ์ เพราะทุกอณูของวัดหลวงพ่อสดฯ เป็นเหมือนเกล็ดเพชรระยิบระยับอยู่เต็มพื้นที่ แต่เมื่อดูด้วยตาธรรมกายแล้ว จะเห็นเป็นองค์พระมากกว่าเมล็ดทรายในท้องมหาสมุทรเสียอีก

    จากจุดเริ่มต้นในวิชชาชั้นสูง ที่หลวงป๋าเปิดใจให้กับศิษย์ซึ่งมีความรู้แค่หางอึ่ง ยังไม่ลึกซึ้งในวิชชาธรรมกายเท่าไรนัก จึงทำให้ข้าพเจ้าผู้ที่เป็นคนที่นับถือศาสนาอื่นมาก่อน เริ่มศรัทธาในศาสนาพุทธ และด้วยความเมตตาที่ท่านมีให้แก่ศิษย์ ท่านจะคอยประคับประคองในเรื่องวิชชา ไม่ให้เดินออกนอกลู่นอกทาง

    อยู่มาวันหนึ่งข้าพเจ้าเกิดสงสัยขึ้นมาว่า ทำไมทุกครั้งที่นั่งธรรมะเสร็จแล้ว แผ่เมตตา ไม่เคยเห็นพ่อแม่ ญาติพี่น้องของเราที่เสียชีวิตไปแล้วมาอนุโมทนาบุญเลย จึงกราบเรียนให้ท่านทราบ ท่านก็ให้ความกระจ่างมาว่า เขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไปอยู่สุดขอบจักรวาลโน่น วิธีช่วยน่ะมี แต่การช่วยคนนอกศาสนา ไม่เหมือนกับช่วยชาวพุทธที่อยู่ในนรกนะ เพราะต้องแลกด้วยบุญบารมี (หมายถึงบุญบารมีของท่านที่สร้างมา จะต้องถูกตัดทอนลดลงไป) ฉะนั้นให้เลือกมา 1 คน จะเอาใคร ข้าพเจ้าก็ขอเลือกแม่ ท่านเริ่มทำสมาธิ ให้ข้าพเจ้าทำสมาธิตามไปด้วย ในระหว่างที่เดินวิชชาอยู่นั้น จะเห็นท่านเดินนำหน้าไปคอยอยู่แล้ว เราก็เข้ากลางตามท่านไป ความรู้สึกเวลานั้นไม่เหมือนกับนั่งสมาธิแล้ว เหมือนกับว่าเข้าไปในมิติของแดนสนธยาเลย ยิ่งเดินก็ยิ่งมืด เห็นแต่หลวงป๋าองค์เดียว เพราะรัศมีกายท่านสว่างมาก แต่บริเวณนั้นมืดหมด ในที่สุดท่านก็บอกว่า ถึงแล้วนะ ให้เรียกชื่อแม่ 3 ครั้ง ท่านว่าแม่มาแล้ว ข้าพเจ้ามองไปที่เท้าของหลวงป๋า เห็นแม่นั่งยองๆ ผิวหนังขาดวิ่น ผมเป็นกระเซิง เห็นสภาพของแม่แล้วน้ำตาไหลด้วยความสงสาร เสียงหลวงป๋าดังขึ้นทันที เข้ากลางเอาไว้ เพราะจิตเริ่มส่าย ภาพของแม่เริ่มเลือนๆ ถ้าคุมสติไม่อยู่ คงต้องเริ่มต้นกันใหม่ เข้ากลางอยู่พักหนึ่ง เมื่อใจเริ่มเป็นปกติ ท่านก็ให้เรียกแม่อีก ครั้งแรกแม่ทำท่าตกใจเมื่อเห็นข้าพเจ้า เพราะเราเป็นองค์พระอยู่ หลวงป๋าให้เรียกแล้วให้บอกว่าเราเป็นลูกชื่ออะไร เมื่อแม่จำได้ก็ร้องไห้ ขออธิบายเรื่องความจำของแม่สักนิด คนที่ตายไปแล้ว ถ้าสมัยมีชีวิตอยู่ไม่เคยฝึกสมาธิ ตายไปก็จำอะไรไม่ได้ เหมือนกับที่เราเกิดมาจากไหน เป็นอะไรมาก่อน เราก็ไม่รู้ ต้องมาฝึกสมาธิถึงจะรู้อดีตได้ แต่ที่แม่จำได้ก็เพราะหลวงป๋าคุมอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดท่านก็ให้แม่รับไตรสรณาคมน์ โดยการให้ข้าพเจ้าเข้ากลาง แล้วถ่ายทอดเสียงของหลวงป๋าไปยังแม่ เมื่อแม่รับไตรสรณาคมน์แล้วก็กราบ 3 หน เป็นการยอมรับในบวรพระพุทธศาสนา แล้วหลวงป๋าก็ใช้ให้จักรแก้วเป็นพาหนะ ส่งแม่ไปยังสวรรค์ ก็ช่วยได้แค่ดาวดึงส์เท่านั้น เพราะบุญของแม่มีน้อย แถมยังทำบุญกับศาสนาของตัวเองโดยการฆ่าสัตว์ใหญ่ ตามความเชื่อของบรรพบุรุษว่า เมื่อตายไปจะได้ขี่วัวขี่แพะ ขึ้นสวรรค์ไม่ต้องเดินให้ลำบาก เพราะความเมตตาของหลวงป๋าในครั้งนั้น ทำให้ข้าพเจ้าซาบซึ้งในความกรุณาของท่านเป็นยิ่งนัก จะไม่มีวันลืมพระคุณของท่านได้เลยในชาตินี้ จึงขอมอบกายถวายชีวิตแด่บวรพระพุทธศาสนาตราบเท่าชีวิตจะหาไม่และทุกภพทุกชาติไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

    ... ท่านเคยบอกว่า จำไว้นะ เมื่อเป็นคนของหลวงพ่อแล้ว (หมายถึง หลวงพ่อสด) ท่านจะไม่ทิ้ง เพราะถ้าหลงไปตามสิ่งที่มารเขานำมาล่อ จะถูกภาคมารยึดสุดละเอียด หลังจากนั้นเขาจะให้ความสมบูรณ์ทุกอย่าง เป็นต้นว่า ทรัพย์สมบัติหรืออะไรต่อมิอะไรก็ได้ทั้งนั้น เพื่อทำให้เราหลง แต่พอหมดประโยชน์กับเขาแล้ว ทีนี้แหละ ความเดือดร้อนนานัปการจะทับทวีเป็น 10 เท่า 100 เท่าเลยทีเดียว ได้ยินเช่นนั้นแล้ว ความเชื่อมั่น ความศรัทธาต่อวิชชาธรรมกาย เปี่ยมล้นขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก ชี้ให้เห็นถึงความเอาใจใส่ของหลวงป๋าที่มีต่อศิษย์ ถ้าเราตั้งใจทำวิชชา ทีนี้ทุกครั้งที่นั่งต่อหน้าท่าน ก็ต้องระวังตัว ไม่กล้ากระดิกใจออกนอกลู่นอกทางเด็ดขาด ท่านจะพูดกับข้าพเจ้าเสมอว่า จงร่วมกันสร้างบารมี

    ท่านผู้ท่านที่รักทั้งหลาย ความลับของหลวงป๋าในธาตุธรรมขององค์ต้นของหลวงพ่อสด ยังมีอีกมากมาย ท่านที่เป็นลูกศิษย์ทั้งหลายจงรีบตักตวงวิชชาให้มากที่สุดเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ อย่าให้ต้องเสียใจภายหลังเมื่อไม่มีท่านแล้ว ความเป็นธาตุธรรมที่แท้จริงนั้น เปรียบเสมือนความศักดิ์สิทธิ์ ฉะนั้นใครก็ตามที่คิดไม่ดี ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อท่าน ขอบอกได้เลยว่า ท่านผู้นั้นเมื่อตายไป มีที่อยู่แน่นอนคือนรกภูมิ จะเป็นขุมไหนก็เลือกได้ตามสบายเลย เผลอๆ ยังไม่ทันจะตาย กรรมก็ตามทันเสียแล้ว พิสูจน์กันเอาเองก็แล้วกัน ผู้ทำวิชชาจะรู้ดีว่า อาจารย์ของเขาเป็นอย่างไร

    พูดถึงเรื่องรู้จิตรู้ใจ มีเรื่องขำๆ หลายเรื่อง จะเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบสัก 2 เรื่อง เรื่องแรกมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง ท่านเล่าถึงชีวิตฆราวาส สมัยหนุ่มๆ ท่านทำกับข้าวเก่ง ตำน้ำพริกก็เก่ง น้ำพริกใส่อะไรท่านตำอร่อยทั้งนั้น เราก็คิดในใจ เก่งจังเลย เราเป็นผู้หญิงแท้ๆ ตำเป็นแต่น้ำพริกกะปิ แต่เราก็ตำอร่อย เสียงท่านหัวเราะแล้วบอกว่า เออ น้ำพริกกะปิเอ็งอร่อย ข้าพเจ้าหยุดคิดทันที ทับทวีองค์พระอย่างเดียวเลย

    เรื่องที่สอง มีครั้งหนึ่งนั่งรถจากกรุงเทพฯ ไปวัดหลวงพ่อสดฯ กับท่าน พอรถเลี้ยวเข้าวัด พญานาคองค์ใหญ่ที่ดูแลวัดหลวงพ่อสดฯ อยู่ ก็ขึ้นมาล้อมโบสถ์ ข้าพเจ้าเห็นแล้วไม่กล้าพูด กลัวจะโดนดุ เพราะมีทั้งพระทั้งโยมเต็มรถ หลวงป๋าพูดขึ้นมาลอยๆ ว่า “ไอ้นิด พรรคพวกเขาขึ้นมาต้อนรับ” แล้วท่านก็ชี้มือไปทางโบสถ์ คนในรถเป็นงงที่อยู่ดีๆ หลวงป๋าพูดขึ้นมาลอยๆ ถามกันใหญ่ อะไรอยู่ไหน ท่านหัวเราะชอบใจ พญานาคที่ปรากฏนั้นเป็นกายละเอียด ผู้ที่ไม่มีตาในจึงไม่เห็น

    เรื่องต่างๆ ที่เล่ามา เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าประสบมากับตัวเองในปีแรกเท่านั้น ปัจจุบัน 10 ปีแล้วที่อยู่ในสำนักนี้มา ไม่รู้จะอธิบายเป็นคำพูดได้อย่างไร ถึงความเชื่อมั่นและศรัทธาในวิชชาธรรมกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร) นำมาสอน แล้วหลวงป๋านำมามาถ่ายทอดต่อ ที่เป็นของจริง พิสูจน์ได้ แม้องค์พระธรรมกายก็สัมผัสได้

    ครั้งหนึ่ง เมื่อข้าพเจ้าทำวิชชาชั้นสูง เข้าไปในธาตุธรรมสุดละเอียด ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อสด ได้ยินเสียงของท่านดังขึ้นมาว่า “ผู้ที่เป็นหลักสำคัญในการเผยแพร่วิชชาธรรมกายที่เป็นของจริงของแท้ในขณะนี้มีอยู่ 2 องค์ คือ ท่านเจ้าคุณพระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) ผู้เป็นอาจารย์ของหลวงป๋า และเสริมชัย” เมื่อนำมาพิจารณาดูแล้วก็เห็นว่าเป็นจริงอย่างนั้น ดูได้จากการเผยแพร่วิชชาธรรมกายที่ถึงพร้อมด้วยเนื้อหาวิชชา ทั้งทางเอกสาร หนังสือ และนิตยสาร ทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ จนวิชชาธรรมกายเป็นที่รู้จักกันทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื้อหาการสอนวิชชาธรรมกายชั้นต้น กลาง สูง ของทั้ง 2 องค์ มีความละเอียดลึกซึ้งยิ่งนัก ดังตัวอย่างที่เล่าให้ทราบข้างต้น

    ถ้าไม่ได้หลวงป๋า ผู้เขียนก็อาจหลงทาง ถูกภาคมารยึดสุดละเอียดไปแล้วก็ได้ ในปัจจุบันไม่ได้ยินว่ามีใครสอนเนื้อหาวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ลึกซึ้ง เปิดวิชชาเต็มที่เช่นนี้ ท่านผู้อ่านที่สงสัยสามารถพิสูจน์ได้จากคำสอนของท่านทั้งสอง แม้แต่ชาวต่างประเทศที่มาอบรมพระกัมมัฏฐานที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ก็สามารถปฏิบัติจนได้วิชชาธรรมกายชั้นสูง สามารถเห็นนิพพาน ภพ 3 โลกันต์ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นจริงอย่างไรได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องหลับตาเดาผิดๆ ถูกๆ ดังนั้น เมื่อเรามีบุญวาสนาได้พบพระที่แท้ สะอาดบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เป็นธาตุธรรมที่แท้ของต้นธาตุต้นธรรม คือ หลวงพ่อภาวนาและหลวงป๋าของเราแล้ว จงอย่าปล่อยให้โอกาสอันงามที่จะได้ศึกษาวิชชาชั้นสูงที่ลึกซึ้งนี้หลุดไป

    สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านที่รักทั้งหลาย มีศรัทธาพร้อมด้วยปัญญา แยกแยะผิดถูกได้ถูกต้อง จงพิสูจน์ด้วยตนเอง อย่าให้น้อยหน้าชาวต่างประเทศที่อุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลมา จนได้วิชชาธรรมกายชั้นสูงไป ธรรมะเป็นของสูง เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด จงรักษาไว้ตราบเท่าที่ชีวิตจะหาไม่ ทุกภพทุกชาติไป ตราบเท่าเข้าสู่นิพพาน ขอความสันติสุขจงบังเกิดแก่ชาวโลกทั้งหลาย จงรักกันเสมือนกับเป็นสายเลือดเดียวกัน อย่างเช่นหลวงป๋ารักเราทุกคน

    จีราภา เศวตนันท์
    วิทยากรสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกายหรือวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี




    ...................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 มกราคม 2016
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต

    [​IMG] 
     



    1 ตุลาคม 2496

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา
    จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ จตุธา ปรมตฺถโต
    นิพฺพานมิติ สพฺพถาติ.

     

    ปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ  ที่ดับสูญไปเสีย  ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย  เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป  ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด   พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป  รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย   เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี   ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด  ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา

     

    ณ บัดนี้  อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา  แก้ด้วยปรมัตถเทศนา  ซึ่งมีมาในพระปรมัตถปิฏก  ยกอุเทศในเบื้องต้นขึ้นแสดงก่อน  เพื่อจะได้เป็นอุทาหรณ์แนะนำแก่ท่านทั้งหลายสืบไปเป็นลำดับๆ  ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา  เริ่มต้นแห่งปรมัตถปิฎกนี้ว่า   

    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา ในพระอภิธรรมปิฏกนั้น กล่าวโดยความประสงค์แล้ว  ถ้าจะกล่าวโดยอรรถอันลึกซึ้ง โดยปรมัตถ์ ก็จัดเป็น 4 ประการ   (1) จิต (2) เจตสิก (3) รูป (4) นิพพาน,   4 ประการเท่านี้    พระพุทธศาสนามีปิฎก 3 คือ  วินัยปิฎก  สุตตันตปิฎก  ปรมัตถปิฎก  ที่ท่านทั้งหลายได้เคยสดับตรับฟังแล้วโดยมาก   ในพระวินัยบ้าง  พระสูตรบ้าง  ในพระปรมัตถ์ไม่ค่อยจะได้ฟังนัก  วันนี้จะแสดงในพระปรมัตถปิฎก  เพราะเวลานี้วัดปากน้ำกำลังเล่าเรียนพระปรมัตถปิฎกอยู่  ควรจะฟังพระปรมัตถปิฎกนี้ให้ชำนิชำนาญ  ให้เข้าเนื้อเข้าใจ  จะได้จำไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติ  เป็นธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงตรัส

    ในเริ่มแรกเริ่มเบื้องต้น ทรงตรัสในดาวดึงส์เทวโลก   ได้ทรงตรัสพระปรมัตถปิฎกนี้ สนองคุณพระพุทธมารดา และแก่หมู่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่พากันมาสดับตรับฟัง   ทรงตรัสอยู่ถ้วนไตรมาสสามเดือน     เมื่อเวลารุ่งเช้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธนิมิตให้ตรัสพระอภิธรรมปิฎก   พระบรมครูทรงไปแสวงหาอาหารบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป   ไปฉันในป่าหิมพานต์   พระสารีบุตรเถรเจ้าไปปฏิบัติสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ วัน    แล้วพระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกนั้นแก่พระสารีบุตร     พระสารีบุตรก็นำเอาพระอภิธรรมปิฎกนั้นมาแก่มนุษย์   มนุษย์ทั้งหลายจึงได้สดับฟัง 

    เมื่อพระองค์ทรงตรัสเทศนาจบพระปรมัตถปิฎกแล้ว  เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร    ในคราวนั้นพระองค์ทรงเปิดโลก ให้สัตว์นรก  เทวดา มนุษย์ เห็นกันและกัน พร้อมกัน   เห็นปรากฏเป็นมหัศจรรย์     ในครั้งนั้นพระพุทธาภินิหารเป็นมหัศจรรย์   สรรพสัตว์เหล่านั้นตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า   อยากเป็นพระพุทธเจ้า   จนกระทั่งมดดำแดง  อยากเป็นพระพุทธเจ้ากันทั้งนั้น   อันนี้เป็นความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า  เพราะเหตุนั้น   ที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้สดับในเนื้อความของปรมัตถปิฎก ณ เวลาวันนี้    นับว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่  ดังจะแสดงต่อไป

    ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า  ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา  จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถาติ  แปลว่า  เนื้อความในพระปรมัตถปิฎกนั้น   ถ้าจะกล่าวโดยเนื้ออันยิ่งใหญ่แล้ว   กล่าวโดยปรมัตถ์ จัดเป็น 4 คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน   4 ประการนี้เท่านั้นเรียกว่า พระปรมัตถปิฎก  เป็นเนื้อความของพระปรมัตถปิฎกทีเดียว   จำไว้ให้มั่น   จิตถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง 89 ดวง หรือ 121 ดวง  เจตสิก ถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง 52 ดวง นี่ส่วนเจตสิก    รูปถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง 28 รูป  มหาภูตรูป 4, อุปาทายรูป 24  รวมเป็น 28    นิพพานแยกออกไปเป็น 3 คือ  กิเลสนิพพาน ขันธนิพพาน ธาตุนิพพาน นิพพานแยกเป็น 3 ดังนี้

    วันนี้จะแสดงในเรื่อง จิต เป็นลำดับ   จิต 89 ดวง หรือจิต 121 ดวง  ท่านจัดไว้ดังนี้    อกุศลจิต 12 ดวง อเหตุกจิต 18 ดวง   กามาวจรจิต 24 ดวง   รูปาวจรจิต 15 ดวง   อรูปาวจรจิต 12 ดวง   และโลกุตตรจิต 8 ดวง นี่เป็นจิต 89 ดวง   จำไว้เสียให้มั่น  คือ อกุศลจิต 12 ดวง  อเหตุกจิต 18 ดวง    18 กับ 12 รวมกันเป็น 30  กามาวจร 24 รวมกันเข้าเป็น 54 ดวง    รูปาวจรจิต 15 รวมกันเข้าเป็น 69 ดวง   อรูปาวจรจิต 12 รวมกันเข้า เป็น 81 ดวง   โลกุตตรจิต 8 ดวง รวมเข้าเป็น 89 ดวง ดังนี้  นี่โดยย่อ    ถ้าโดยพิสดาร ต้องแยกโลกุตตรจิตออก ยกฌานขึ้นรับรองจิตทั้ง 8 ดวงนี้   คงเหลือจิต 81 ดวง    จิต 89 ดวง ยกเอาโลกุตตรจิต 8 ดวงออกเสีย ยกฌานทั้ง 5 ขึ้นเป็นที่ตั้ง   จิตเดินในฌานทั้ง 5 นั้น ฌานละ 8 ดวง คูณกับ 5 เป็น 40 ดวง   จิต 81 ดวงเป็นโลกิยจิต  ยกเอาโลกุตตรจิต 40 ดวง มาบวกกันเข้า 8 ก็รวมเป็นจิต 121   ก็จิต 81 ดวงนั่นเอง  แต่ว่ายกเอาโลกุตตรจิต 8 ดวง ออกเสีย    ถ้าว่าเอาโลกุตตรจิตมาเพียง 8 ดวง ก็เป็นจิต 89 ดวง   ถ้าหากว่าโลกุตตรจิต 8 ดวงนั้นแยกพิสดารออกไปตามฌานทั้ง 5 ก็เป็น 121 ดวง   นี่รู้จักแล้วว่าจิตมีเพียงเท่านี้ จะชี้แจงแสดงจิตเป็นลำดับไป   ให้จำไว้เป็นหลักฐานเป็นประธาน

    ต่อไปนี้จะแสดงคัมภีร์ปรมัตถ์ที่เป็นหลักเป็นประธานให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว   เพราะเป็นเนื้อธรรมจริงๆ  ที่เราได้ยินได้ฟังเข้าเนื้อเข้าใจแล้วนั้นยังไม่ถึงเนื้อธรรม    เมื่อถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน  เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงล่ะ   จงตั้งอกตั้งใจฟัง    ยาก ไม่ใช่เป็นของง่าย   เป็นของละเอียดด้วย  ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย   ไม่ใช่อยู่กับคนที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ   ต้องมีกิเลสบาง  ปัญญาละเอียดทีเดียว  จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจได้  ถ้าจะเทียบละก้อ  ต้องเข็มเล็กๆ   ด้ายเส้นเล็กๆ   เย็บตะเข็บผ้าจึงจะละเอียดได้   ถ้าเข็มโตไป ด้ายเส้นโต จะเย็บตะเข็บผ้าให้เล็กลงไปไม่ได้  ฉันใดก็ดี    ปรมัตถปิฎกนี้เป็นของละเอียด ต้องปัญญาละเอียดไปตามกัน  จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจ   เหตุนั้นจงตั้งใจฟังให้ดี

    ในอกุศลจิต 12 ดวงนี้นั้น แบ่งออกเป็น 3 จำพวก โลภมูล ความโลภ มี 8 ดวง โทสมูล ความโกรธมี 2 ดวง โมหมูล ความหลงมี 2 ดวง 8 กับ 4 รวมเป็น 12 ดวง นี้อกุศลจิต   อกุศลจิตนี้แหละที่สากลโลก ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ที่จะทำความชั่วร้ายไม่ดีไม่งามก็เพราะอกุศลจิต 12 ดวงนี้แหละ  ไม่ใช่ทำด้วยอย่างอื่นเลย ทำด้วยอกุศลจิต 12 ดวงนี้ทั้งนั้น ทำชั่วน่ะ เราต้องรู้ตัวเสีย ให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว คำว่าที่เรียกว่าจิตน่ะมันเป็นดวงๆ  ที่จะจัดนี้มีถึง 12 ดวง ดังนี้คือ

    จิตโลภ จัดเป็น 8 ดวง

    จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความ เห็นผิด และเกิดขึ้นตามลำพัง นี่ดวง 1
    จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือ ชักจูง นี้ดวง 1
    จิตที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดโดยลำพังนี้ดวง 1 นี้ดวงที่ 3
    จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้น หรือชักจูง นี้อีกดวง 1 รวมเป็น 4 ดวง
    จิตที่เกิดประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้น โดยลำพัง นี้ดวง 1 เป็นดวงที่ 5
    จิตที่ประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง 1 เป็นดวงที่ 6
    จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ลำพัง นี้ดวง 1 เป็น 7 ดวง
    จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง 1 เป็น 8 ดวง
    นี้ชั้นหนึ่ง 8 ดวงนี้เป็นส่วนโลภะ ความอยาก

    จิตโกรธ จัดเป็น 2 ดวง

    จิตโกรธเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง 1
    จิตโกรธเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง 1
    จิตหลง ก็มี 2 ดวง

    จิตหลงเกิดขึ้นโดยความสงสัย ดวง 1
    จิตหลงเกิดขึ้นโดยความฟุ้งซ่าน ดวง 1
    รวมเป็น 12 ดวงด้วยกัน นี้เป็นอกุศลจิต 12 ดวงเท่านี้  ฟังยากไหมล่ะ  ยากจริงๆ ไม่เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว  ฟังเหมือนบุรุษคนหนึ่งนั่งกินข้าวอยู่ทีละคำๆ   มันก็อิ่มเป็นลำดับขึ้นไป  บุรุษคนหนึ่งนั่งกินลมอยู่เป็นคำๆ เข้าไป  พอเลิกแล้วไม่อิ่มสักนิด   อ้ายกินข้าวกินลมมันลึกซึ้ง  อย่างนี้จริงไหม   นี้ฟังเรื่องปรมัตถ์เหมือนกินลม  ไม่มีเนื้อมีหนังเลย   ไม่อิ่มไม่ออกเลยทีเดียว  เห็นไหมล่ะ  แต่รสชาติอัศจรรย์นักนะ  อุตส่าห์ตั้งอกตั้งใจฟัง

    จิตดวงที่ 1 ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก   จิตดวงนี้เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิด   เกิดขึ้นตามลำพัง   จิตดวงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร  นี่ต้องอย่างนี้ล่ะ  จึงจะมีรส ค่อยมีรสหน่อย   เราจะต้องพินิจพิจารณา  หากว่าจิตของเราเองมันเกิดขึ้น  มีความยินดีมาก  ประกอบด้วยความเห็นผิด  เกิดขึ้นตามลำพัง   เออ อ้ายประกอบด้วยความเห็นผิดน่ะ  เห็นอย่างไร ลักษณะเห็นผิดน่ะเหมือนเรายินดีมากในสิ่งที่ผิด   เมื่อเราเห็นทรัพย์เข้าก้อนหนึ่ง  ไม่ใช่ของเรา  มันเป็นของเขา  ก็รู้เหมือนกันว่าเป็นของเขา  แต่มันอยากได้เหลือทน   ทรัพย์ก้อนนั้นมันใหญ่พอประมาณอยู่   ถ้าได้เข้าแล้วมันเลี้ยงชีพได้ตลอดสาย   นับเป็นล้านๆ หรือนับเป็นแสนๆ ทีเดียว   เมื่อไปเห็นทรัพย์เข้าเช่นนั้นแล้ว   เราไม่ได้คิดไว้เลยว่าจะเอาทรัพย์ก้อนนั้น   หรือจะขโมยหรือจะลักเขา ไม่ได้คิดเลย   พอไปเห็นทรัพย์ก้อนนั้นเข้า  ในที่ที่ควรจะได้   เจ้าของเผลอ  พอเห็นทรัพย์เข้าเท่านั้น  ใจมันปลาบปลื้มยินดีอย่างชนิดปล่อยชีวิตจิตใจทีเดียวอย่างนี้    ความยินดีมากมันเกิดขึ้นเองแล้ว  จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมากนั่นแหละ   นี่ทรัพย์ก้อนนี้เราหยิบเอาเสีย   ธนบัตรสักแสนหนึ่งไม่เท่าไร  ถ้าใบละหมื่นก็ 10 ใบ เท่านั้น ใบละพันๆ ก็ 100 ใบเท่านั้น เป็นแสนหนึ่งเสียแล้ว   เอ นี่จะเอาหรือไม่เอา  นี่ความเห็นผิดเกิดขึ้น   เอาได้ เราก็รวย   พอเห็นผิดเกิดขึ้นเช่นนั้น  ไม่ต้องมีใครชักชวนกระตุ้นละก้อ คว้าเอาทรัพย์ของเขาเข้าทีเดียว   คว้าทีเดียวซ่อนทีเดียว  นี่สำเร็จสมความปรารถนาของตัวแล้ว   เอาไปได้สำเร็จ  สมเจตนาด้วย  และไม่มีใครรู้เห็นด้วย  ทำสนิททีเดียว   นี่แหละจิตดวงนั้นแหละเกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก  และประกอบด้วยความเห็นผิดด้วย   มันเห็นว่าของเขา ไม่ใช่ของเรา   นี่มันไปลักของเขานี้จะไม่ผิดอย่างไรเล่า   มันก็ผิดนะซี่   เกิดขึ้นตามลำพังของตัว  ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูง   ไม่ว่าในป่าหรือในที่ลับใดๆ  หรือในที่มืดใดๆ ก็ตามเถอะ   เอาทรัพย์ของเขามาได้สมเจตนา   ไม่แต่เพียงแสนหนึ่งนะ  สตางค์หนึ่งก็ดี  สองสตางค์ก็ดี  ถ้าว่าเป็นของเขาละก้อ  แบบเดียวกัน อย่างนี้ทั้งหมด    ถ้าว่าจิตเกิดขึ้นโดยความยินดีเช่นนั้น   ถือเอาของเขามาเช่นนั้น  นี่แหละโลภมูลดวงหนึ่ง  นี้เป็นดวงต้นเกิดขึ้น  เป็นอกุศลทีเดียว   เราต้องไปนรกแน่  ต้องได้รับทุกข์แน่  เชื้อจิตดวงนี้  ต้องได้รับทุกข์แน่  รับบาปแน่ทีเดียว  นี่ที่จะทำบาปลงไปชัดๆ  มันปรากฏแก่ตนดังนี้  นี่ดวงหนึ่ง

    ดวงที่ 2 ต่อไป จิตประกอบด้วยความยินดีมาก และเห็นผิดอีกเหมือนกัน คือ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง   คราวนี้เห็นทองคำเข้าก้อนหนึ่ง  หรือไปเห็นสายสร้อยเข้าเส้นหนึ่ง ราคานับแสนทีเดียว  โดยเป็นของหลวงด้วย   ราคานับแสนๆ ไม่ใช่ของราษฎร์   แต่ว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดเขาเอามาซ่อนไว้  ไปเห็นเข้า  หรือตกหล่นอยู่ อย่างหนึ่ง อย่างใดก็ตามเถอะ   ไปเห็นเข้า   รู้ทีเดียวนี่ไม่ใช่ของธรรมดา ราคามากทีเดียว   เมื่อไปเห็นเข้า เช่นนั้นไม่กล้า  เพราะรู้ว่าเป็นของหลวง มันไม่กล้าลักของหลวง กลัวติดคุกติดตะรางขึ้นมาเสียแล้ว   ก็มากระซิบกับเพื่อนกัน เออ!  ข้าไปพบของสำคัญไว้ที่นั่นแน่ะทำอย่างไรนี่  อยู่ที่นั่นแน่ะ   ข้าไปพบเข้าแล้วจะทำอย่างไร  อ้ายเพื่อนก็ว่า ทำไมไม่เอาเสียล่ะ   เพื่อนกระตุ้นเข้าแล้วว่าทำไมไม่เอาเสียล่ะ  พอว่าเท่านั้นแหละก็แพล็บไปเอามาสมความปรารถนา   นี่ถูกกระตุ้น หรือชักจูงเข้าแล้ว ไปเอาของของเขามาแล้ว  โดนอกุศลเข้าอีกดวงหนึ่ง นี้เป็นอกุศลสำคัญ นี้แหละเป็นโลภมูล เกิดจากความโลภ   เป็นอกุศลร้ายกาจอย่างนี้หนา นี้ว่าถึงลักถึงขโมย   ไม่ใช่ ลักไม่ใช่ขโมยอย่างเดียว  ที่ชั่วละก้อ ทั้งนั้นแหละ แบบเดียวกัน   ชักตัวอย่างให้เข้าใจ ให้เข้าใจ ว่าดวงจิตดวงนี้มันเป็นอย่างนั้น ให้รู้จักหลักนี้

    ดวงที่ 3 จิตประกอบด้วยความยินดีมาก   ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด   เกิดขึ้นตามลำพัง  ยินดีมากเมื่อไปเห็นสิ่งของของคนอื่นที่มีค่าเข้า ที่มีค่ามาก  จะเป็นเงินทองหรือแก้วแหวนชนิดใดๆ หรือผ้านุ่งผ้าห่มชนิดใดๆ ก็ตามเถอะ   เป็นวัตถุชนิดหนึ่งชนิดใดใช้ได้ จนกระทั่งสตางค์เดียวก็ใช้ได้   ใช้ได้ทั้งนั้น  เมื่อไปเห็นเข้าแล้วก็รู้ว่าของนี่เจ้าของเขาพิทักษ์รักษาอยู่  เขาดูแลอยู่  เราไปพบทองเข้าหนักขนาดพันบาท นี่ก็มากอยู่หนักขนาดพันบาท   แต่ว่าทองนี้ ถ้าเราเอาไปได้   เราก็ใช้ได้นาน ลงทุนลงรอนได้  ถ้าเราเอาไปไม่ได้เราก็จนอยู่แค่นี้   ถ้าเราเอาไปได้ละก้อ  ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เชียว  ถ้าหากเขาจับเราได้ก็ต้องเข้าคุกตะรางไป  ถ้าเขาจับเราไม่ได้ล่ะ  เราก็ตั้งเนื้อตั้งตัวได้   แต่ว่าไม่มีความเห็นผิดอะไร   เห็นว่าถ้าเราเอาไปได้ก็เป็นประโยชน์แก่เรา  เราไม่เอาไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา   เข้าใจว่าจะหลบหลีกพ้น  แต่เราต้องได้รับผลชั่วเพราะเราขโมยเขา  จะทำอย่างไรได้ ก็มันจนนี่ มันก็ต้องขอไปทีสิ   คว้าทองนั้นเข้าก้อนหนึ่งโดยความยากจน  มาเป็นของตัวแล้ว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูงเลย  คิดตกลงในใจของตัวเอง  เอาของของเขาไปดังนี้ แล้วก็รู้ด้วยว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นอกุศลเป็นโทษ   เห็นก็ไม่ใช่เห็นผิด  เห็นถูกนี่แหละเห็นว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นโทษ   แต่ว่ามันจนเต็มที   มันก็ต้องขอไปที   ใจกล้าหน้าด้านเอาทีหนึ่ง   มันก็เป็นอกุศลจิตเหมือนกัน  อกุศลอีกนั่นแหละ  ลักเขาขโมยเขาไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด   เห็นถูก  นี้เป็นจิตอีกดวงหนึ่ง ดวงที่ 3

    ดวงที่ 4 ก็แบบเดียวกันอย่างนั้นอีก   จิตที่ประกอบด้วยความอยากมาก  ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด  แบบเดียวกันกับเห็นทองอย่างนั้นแหละ  เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ทีนี้เราเห็นเพชรสักเม็ดหนึ่งราคานับล้านแต่ไม่ใช่ของเราแบบเดียวกัน   เออ! เมื่อไปเห็นเพชรเข้าเช่นนั้นแล้ว จะตกลงใจอย่างไรล่ะ   ราคามันมากขนาดนี้เมื่อไรจะพบกันล่ะ   แต่ยังไม่กล้า  ที่จะเอาเพชรเม็ดนั้นด้วยกลัวเกรงอันตรายหรือกลัวติดคุกติดตะราง   นำเอาเรื่องไปบอกพวกเพื่อนๆ   พวกเพื่อนๆ บอกว่าทำไมจึงไม่เอา   เอ็งนี่มันโง่เกินโง่อย่างนี้นี่   พอเพื่อนว่าเข้าเท่านั้น ก็ไปลักเพชรเม็ดนั้นได้สมความปรารถนา   เอาไปเก็บไว้สมเจตนาของตน   นี้ต้องมีผู้กระตุ้น  หรือชักจูงเป็นจิตดวงที่ 4   

    สี่ดวงนี้เป็นโลภมูลทั้งนั้น   โลภมูลอีกสี่ดวงต่อมาเป็น 8 ดวง

    ดวงที่ 5 จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ   แต่ว่าประกอบด้วยความเห็นผิด  เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณ   ไม่มีความยินดีมากมายใหญ่โตนัก   ได้ก็เอา ไม่ได้ก็แล้วไป  พอสมควรแต่ว่ากิริยาแบบเดียวกัน   นี่เป็นจิตดวงที่ 5

    ดวงที่ 6  จิตที่เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณแบบเดียวกัน และประกอบด้วยความเห็นผิด ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง   จึงจะสำเร็จสมความปรารถนา  ก็แบบเดียวกันอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว  แต่ว่ามันไม่ยินดีมากนัก  ดวงก่อนยินดีมาก  ดวงหลังยินดีพอประมาณ   จิตที่เกิดขึ้นเพราะความอยากได้พอประมาณ   เช่น ไปเห็นทองหรือเพชรดังกล่าวแล้วแบบเดียวกัน ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงจึงจะสำเร็จความปรารถนา   นี้เป็นดวงที่ 6

    ดวงที่ 7  จิตที่อยากได้พอประมาณ  จิตที่เกิดขึ้นมีความอยากได้พอประมาณ   แต่ว่าไม่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ก็แบบเดียวกัน ดังอธิบายมาก่อน นี่เป็นดวงที่ 7

    ดวงที่ 8  จิตที่อยากได้พอประมาณ   จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความอยากได้พอประมาณ  ไม่มีความเห็นผิด แต่ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง   จึงจะสำเร็จสมความปรารถนาแบบเดียวกันนั่นแหละ  นี้เป็นดวงที่ 8

    จิต 4 ดวงก่อนกับ 4 ดวงหลัง ไม่ได้ต่างจากกัน สี่ดวงก่อน   จิตที่เกิดขึ้นด้วยความอยากมากยินดีมาก สี่ดวงหลังนี่ยินดีพอประมาณเท่านั้น    เมื่อรู้จักจิต 8 ดวงนี้แล้ว มันก็อยู่ในตัวของเรานี่เองเกิดขึ้นแก่เราเอง เราเคยพบมานี่   อ้ายพวกนี้ เคยพบเคยปะอยู่บ้าง   แต่ว่าเราไม่รู้จักมัน วันนี้เราจะรู้จักมันล่ะ พอมีรสบ้าง   แต่ว่ายังมีรสน้อยเต็มที กว้างกว่านี้ ยังจะมีรสมากว่านี้อีก   แต่ว่าให้รู้จักเสียชั้นหนึ่งก่อนโดยย่อ

    จิตที่เป็นอกุศล จิตโทสะ มี 2 ดวง

    จิตโทสะดวงที่ 1 เกิดขึ้นโดยลำพัง   อ้ายนี่อกุศลจิต  เกิดขึ้นโดยลำพังมันเป็นอย่างไร   อกุศลจิตเกิดขึ้นโดยลำพัง เช่น เราไปในสถานที่ใดๆ ก็ช่าง  อยู่ในบ้านก็ช่าง  ไม่มีใครชักจูง  ไม่มีอะไรทั้งหมด  ใจมันโกรธ  จิตดวงนี้เป็นจิตโกรธ   มันโกรธขึ้นไม่มีใครทำอะไรเลย อยู่ดีๆ มันก็พลุ่งพล่านโกรธขึ้นอย่างนั้น  ไม่มีใครว่าไม่มีใครทำอะไรทั้งหมด  โกรธขึ้นมาก็มีอาการต่างๆ  ใครจะพูดกระทบกระเทียบเข้านิดๆ หน่อยๆ  ไม่ได้ก็แปลบๆ ขึ้นมาทีเดียว   นั่นมันเรื่องอะไร   ไม่มีใครรู้เรื่องของตัวเลย  มันโกรธอยู่ในใจอย่างนั้นแหละ  นี่โกรธขึ้นโดยลำพัง  ไม่มีใครชักจูง   ไม่มีว่ากล่าวกระทบกระเทียบเลย   มันเกิดขึ้น  มันพลุ่งพล่านอยู่ภายในของตัวเอง   อ้ายนี้แหละเขาเรียกว่าโทสจริต   นี่แหละโทสจริตมันเกิดขึ้นอย่างนี้แหละ เกิดขึ้นโดยลำพัง

    จิตโทสะดวงที่ 2  มันเกิดขึ้นโดยมีคนชักจูงหรือกระตุ้นเตือน   มีคนชักจูงหรือกระตุ้นขึ้น   อ้ายนั่นมันยั่วให้โกรธน่ะซี   สามียั่วให้ภรรยาโกรธบ้าง   ภรรยายั่วให้สามีโกรธบ้าง  หรือชาวบ้านยั่วให้โกรธบ้าง  คนโน้นคนนี้ยั่วให้โกรธบ้าง  ไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำพัง  มีคนยั่วให้โกรธ   เอารูปที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง   เอาเสียงที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง  เอากลิ่นที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง  เอารสที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง   ยั่วเข้ามันก็โกรธน่ะซี่  นั่นแหละมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงให้โกรธขึ้น

    จิต 2 ดวงนี้ก็ร้ายเหมือนกัน   จิต 2 ดวงนี้เกิดขึ้นโดยลำพังดวง 1    เกิดขึ้นโดยมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงดวง 1 จิตเหล่านี้พออธิบายง่ายหรอก   จิตโกรธนี่น่ะ

    จิตหลงนี่น่ะลึกซึ้งนัก  จิตหลงมี 2 ดวง

    จิตหลงดวงที่ 1 เกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงใจ   อ้ายนี่สำคัญอยู่   จิตหลงเกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงในใจ  จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง   ในการครองเรือนของตนก็ดี  จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง  หรือไม่ได้ครองเรือนก็ดี  จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง  ลังเล  ไม่ตกลงในใจอย่างนั้นแหละร่ำไป  อย่างนี้เขาเรียกว่าจิตหลง จะทำอะไรก็ไม่แน่นอนลงไป   เข้าทำราชการก็ไม่แน่นอน   แต่จะทำหรือไม่ทำก็ไม่แน่นอน  ทำส่วนตัวก็ไม่แน่นอน   ทำนา ทำไร่ ไม่แน่นอนทั้งนั้น ไม่ตกลงในใจ   ถึงทำกิจการอันหนึ่งอันใดก็ไม่ตกลงในใจทั้งนั้น   เมื่อสั่งการงานไม่ตกลงในใจอย่างนี้   มันลังเลอยู่เช่นนี้  มันก็ทำอะไรไม่ได้   มันก็หลงงมงายอยู่เช่นนั้น   นี่เขาเรียกว่าจิตหลงมันเกิดขึ้น   ลังเลไม่ตกลงในใจ  สิ่งใดที่ลังเลไม่ตกลงในใจแล้ว   พูดออกไปก็ดี  ทำลงไปก็ดี  มีผิดกับถูกสองอย่างเท่านั้น   ถูกก็มี ผิดก็มี  เพราะมันลังเล ไม่ตกลงในใจเสียแล้ว   การที่จิตลังเลไม่ตกลงในใจน่ะ เช่น เรารักษาศีลอย่างนี้แหละไปเจอ ทรัพย์เข้าหรือสัตว์เข้าตัวใหญ่ๆ ที่ชอบอกชอบใจที่มีค่ามาก   เราฆ่าลงไปเป็นอาหารของเราได้นาน   เราลักเอาไป  ก็เป็นอาหารได้นาน แต่เราไม่ตกลงในใจ   เราจะรักษาศีลดี  หรือรักชีวิตดี   จะลักเขาดีหรือจะฆ่าเขาดี  หรือว่าจะไม่ลักไม่ฆ่าเขาดี   ถ้าไม่ลักไม่ฆ่าเขาเราก็อด เราก็จน   ถ้าลักเขาฆ่าเขาได้ เราเลิกอดเลิกจน   ลังเลไม่ตกลงในใจอย่างนี้ นี่เขาเรียกว่าจิตหลง   มันระคนจิตหลงเข้าคละอยู่ด้วย  ถ้าทำลงไปด้วยอำนาจจิตหลงอย่างนั้น  ถ้าทำผิดมันก็ผิดไป ถ้าทำถูกมันก็ถูกไป แต่ว่าในที่นี้ประสงค์เอาที่ผิดเพราะว่าเป็นอกุศลจิต   ไม่ใช่กุศลจิต  ประสงค์ที่ผิดฝ่ายเดียว เรียกว่าลังเลไม่ตกลงในใจ   นี้เป็นจิตหลงดวง 1

    จิตหลงดวงที่ 2  อาการทำโดยฟุ้งซ่านน่ะ  อ้ายนี่มันครึ่งบ้าครึ่งดี  ลูกเต้าใกล้เคียง  เหวี่ยงปึงลงไปให้ก็ตายเลย กำลังมันไม่สบายอกสบายใจ   ทำโดยฟุ้งซ่าน  ด้วยหลงเหมือนกัน   เหมือนคนทำโดยฟุ้งซ่านทำมันแรงเกินไป  ไม่ปรารถนาให้ตายหรอก  มันไปตายเข้าก็เลยติดคุก   นั่นเพราะทำด้วยจิตฟุ้งซ่าน  นี้เป็นจิตหลงดวง 1

    จิตหลง 2 ดวงนี้สำคัญมาก   ต้องคอยระแวดระวังสำคัญอยู่   ไม่ให้ไปทางถูก   ให้ไปทางผิดร่ำไป

    นี้จิต 12 ดวงนี่แหละมันควบคุมเราอยู่   ให้เราไปเกิดในอบายภูมิทั้ง 4   เราตกต่ำเลวทรามลงได้ด้วยประการใดๆ ก็เพราะจิต 12 ดวงนี่เอง   ต้องควบคุมไว้ให้ดี  ต้องเล่าเรียนเสียให้ชัดทีเดียว   ถ้าว่าเล่าเรียนเสียให้ชัดแล้ว รู้หน้ารู้ตารู้ขอบรู้เขตของมันแล้ว   มันจะข่มเหงเราไม่ได้  ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเสียแล้วมันก็จะข่มเหงเราตามชอบใจ  ในตัวของเรานี้ไม่ใช่ที่อื่น  นี่แหละมันเนื้อหนังปรมัตถ์ทีเดียว   ฝ่ายความชั่วล่ะ  เป็นเนื้อหนังของพระอภิธรรมปิฎกทีเดียว   จิต 12 ดวงนี่แหละ

    ที่แสดงวันนี้แสดงแต่เพียง 12 ดวง   เวลาไม่เพียงพอ   แล้วต่อไปจะแสดงเป็นลำดับไป   อเหตุกจิต กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรวิต   พอหมดเรื่องจิตแล้วละก็จะแสดงรูป 28   มหาภูตรูป 4   อุปาทายรูป 24 หมดรูปแล้วจะแสดงนิพพาน   ให้เข้าเนื้อเข้าใจแตกฉานใน 4 อย่างนี้ให้ได้  เพราะวัดปากน้ำเริ่มลงมือเล่าเรียนกันแล้วใน 4 อย่างนี้   ภิกษุสามเณรเล่าเรียนกันแล้ว  ที่แสดงนี้ก็เป็นอุปการะแก่ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาที่กำลังเล่าเรียนกันอยู่นี้  กำลังศึกษาอยู่   มีครูสอน พระทิพย์ปริญญาเป็นผู้สอนปรมัตถปิฎกนี้   ผู้สอนปรมัตถ์  ไม่ใช่เล่นๆ หนา   ต้องมีภูมิพอ  ต้องมีการศึกษาพอ  ถ้าไม่มีการศึกษาพอละก้อ   ลูกศิษย์สู้ครู ถามกันเจ๊งแน่ทีเดียว   ไม่ต้องสงสัยละ   เพราะเป็นของที่ลึกซึ้งมาก  ถามเจ๊งแน่  ถามติดแน่ทีเดียว   เพราะฉะนั้นอุบาสกอุบาสิกาควรตั้งอกตั้งใจศึกษาเถิด 

    ปรมัตถปิฎกเป็นเนื้อหนังพุทธศาสนาจริงๆ   ส่วนวินัยปิฎกเป็นข้อห้ามข้อปรามไม่ให้ทำชั่วด้วยกายด้วยวาจาเท่านั้น ส่วนสุตตันตปิฎก เป็นสายบรรทัด  เป็นตัวอย่างว่าคนนั้นทำอย่างนี้เป็นสุขอย่างนี้   คนนั้นทำดังนี้  พ้นจากทุกข์ พ้นจากไตรวัฏ  ไปสู่นิพพานอย่างนี้ นั่นเป็นหน้าที่ของสุตตันตปิฎก  ไม่ใช่เนื้อหนังของธรรม ส่วนปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ  ที่ดับสูญไปเสีย  ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย  เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป  ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป  รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย   เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี   ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด  ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย  พอสมควรแก่เวลา   เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้   สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า  อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา   สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้   เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ถาม---การกำหนดจุดกึ่งกลางของลูกแก้ว หรือลูกกลมสีขาว ถ้ากำหนดแล้ว เห็นเป็นจุดสีดำ หรือ จุดสีขาวมีขอบดำ จะเป็นการขัดต่อหลักของอาโลกกสิณ หรือไม่ ?

    --------------------------------------------------------------------


    ตอบ


    ถ้าใครนึกให้เห็นลูกแก้วหรือดวงแก้ว หรือดวงขาวแต่ยังไม่ใส แล้วเห็นจุดกึ่งกลางเป็นสีดำ หรือเห็นจุดสีขาวมีขอบสีดำ นี้ท่านเห็นเจตสิกธรรมคือธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ ของจริงแล้ว ให้เข้าใจไว้ แต่เป็นธรรมชาติของจริงฝ่ายธรรมดำหรือภาคดำ ที่เรียกว่าอกุสลาธัมมา ธาตุธรรมดำนั้น กรณีที่เห็นนี้ เป็นได้ 2 ประการคือ


    ประการที่ 1 คือ เป็น “อวิชชา” เป็นอวิชชานิวรณ์ที่ห่อหุ้ม “ดวงรู้” ของผู้ที่เห็นนั้น ไม่ให้ขยายโตขึ้น

    ที่เรียกว่า “ใจ” นั้นประกอบด้วยดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน ตรงกลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ

    ต้องใช้อุบายกำจัดเสีย คือถ้าเห็นจุดเป็นสีดำ ให้นึกอธิษฐานจิตละลายธาตุธรรมนั้นเสีย เสมือนหนึ่งว่าจุดเล็กใสนั้นถูกห่อหุ้มด้วยควันดำหรือว่าหมอกดำ หรืออะไรสีดำก็แล้วแต่ ที่เราต้องชำระล้างด้วยน้ำใส ล้างด้วยน้ำกรดใส สมมุติอย่างนั้น ให้ปรากฏเห็นใสบริสุทธิ์เหมือนเพชรลูกหรือแก้วเจียรนัยที่ใสบริสุทธิ์ แล้วจึงจรดใจนิ่งลงไปที่กลางของกลางจุดเล็กใสนั้น นิ่งเฉยๆ อธิษฐานให้จุดเล็กใสนั้นขยายออก จะมีจุดเล็กใสขึ้นมาอีก แล้วก็นิ่งไปกลางจุดเล็กใสนั้น ขยายออกแล้วจะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้น

    แต่ถ้ายังเห็นสีดำอยู่อีก ให้อธิษฐานละลายธาตุธรรมดำนั้น จนกว่าจะเห็นใสขึ้นมา บางทีบางท่านอาจจะเห็นเหมือนกับมีน้ำชำระล้างดวงนั้นให้ใสขึ้นๆ ก็มี หรืออาจจะนึกเห็นจุดเล็กใสที่เห็นอยู่ลึกลงไปกว่านั้น แล้วให้กำหนดใจไปหยุดที่จุดเล็กใสนั้นขยายศูนย์กลางที่ใสออก มลทินคือความดำนั้นก็จะหายไป

    เรื่องนี้สำคัญมาก คุณหมอและทุกท่าน จงจำไว้เชียว ที่เห็นเป็นสีดำนั้นน่ะคือธรรมชาติฝ่ายธาตุธรรมดำ เรียกว่า “อกุสลาธัมมา” อันได้แก่ อวิชชา กิเลส ตัณหา เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นเป็นสีดำๆ ไม่ดำสนิทนัก หุ้ม “ดวงเห็น” เป็นปฏิฆานุสัย และที่หุ้ม “ดวงคิด” หรือจิตนั้นเป็นกามราคานุสัย และส่วน “อวิชชานิวรณ์” อันเกิด แต่อวิชชานุสัย ที่หุ้ม “ดวงรู้” อยู่ ไม่ให้ขยายโตเต็มธาตุเต็มธรรมได้ ก็เพราะเจตสิกธรรมคือ ธรรมชาติฝ่ายธรรมดำนี้แหละที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ เป็นของจริงนะ ไม่ใช่ของปลอม เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ” ทีเดียว

    ประการที่ 2 ทีนี้ คุณหมอเป็นนายแพทย์ต้องรู้ต่อไปอีก นี้นอกวิชาหมอละ ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน ก็ให้พึงรู้เถอะว่านั่นเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบกำจัดเสียอีกเช่นกัน แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมต้องรีบแก้ไข กำจัดดวงดำนั้นโดยพลัน ถ้าว่ายังไม่ใสก็ต้องเพียรกำจัดให้ใสทีเดียว ถ้ายังไม่ใสก็ไม่หยุดละ ต้องทำให้ใสให้ได้ เพราะเป็นตัว “ทุกขสัจจะ” กล่าวคือ

    ที่เห็นเป็นสีดำๆ แต่ไม่ดำสนิทนัก หุ้มเห็น-จำ-คิด-รู้ อยู่ นั้นคือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ”
    แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน นั้นเป็น “ดวงเจ็บ” คือมีหรือกำลังจะมีโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบแก้ไขให้ผ่องใสเสีย
    ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมเหมือนสีนิลละก็ นั่นเป็น “ดวงตาย” ถ้าดวงตายมาจรดนานซักระยะหนึ่ง ให้ดวงธรรมของมนุษย์ขาดจากของกายทิพย์แล้ว คนนั้นจะตายทันที นี่คือ “ทุกขสัจจะ” ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามที่รู้เห็นกันในวิชชาธรรมกาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นแหละตัวทุกขสัจจะเลยทีเดียว



    เรื่องนี้สำคัญนัก ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านเจริญภาวนาแก้โรคภัยไข้เจ็บ ก็แก้ที่ธาตุละเอียดของธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม ของผู้ป่วยนั่นเอง

    วิธีแรก ท่านสอนให้ผู้ที่ปฏิบัติถึงธรรมกายและเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ ให้น้อมนำเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยมาเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง พิสดารกายผ่านศูนย์กลางธาตุธรรมของผู้นั้น เพื่อชำระธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ผ่องใสจากธาตุธรรมของภาคดำที่เขาสอดละเอียด “ดวงเจ็บ” และ/หรือ “ดวงตาย” อันเป็นวิบากคือผลของอกุศลกรรม ได้แก่ การทำปาณาติปาตแต่อดีตนั้นแหละเข้ามาในธาตุธรรมของคนไข้ให้เจ็บไข้ เมื่อชำระธาตุธรรมของคนไข้นั้นให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ โรคก็หาย ถ้าทำได้บริสุทธิ์บางส่วน เพราะเป็นกรรมหนัก ก็ผ่อนหนักเป็นเบา คือได้ผลเพียงแต่บรรเทาหรือชั่วคราว

    แต่ผู้ทำวิชชาแก้โรคผู้อื่นนี่ก็มีอัตราเสี่ยงอยู่ระดับหนึ่งเหมือนกัน คือถ้าว่าชำระธาตุธรรมของเขาแล้ว ตัวเองไม่ชำระธาตุธรรมของตนเองให้บริสุทธิ์สุดละเอียดแล้ว มีโอกาสติดโรคนั้นด้วย เพราะฉะนั้นอาตมาจะไม่แนะนำให้ใครไปแก้โรคถ้ายังไม่ได้วิชชาชั้นสูง

    มีอีกวิธีหนึ่ง ที่เขาทำวิชชาแก้โรค แทนที่จะเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยนั้นมาที่ศูนย์กลางตน กลับอธิษฐานตั้งเครื่องธาตุธรรมจากตนไปสู่คนป่วย แล้วให้เครื่องธาตุธรรมนั้นเดินวิชชาให้ใส ในธาตุธรรมของผู้นั้น ถ้าทำได้หมดจดก็เป็นอันโรคหาย ถ้าทำได้เท่าไหร่ก็ได้ผลเท่านั้น

    เรื่องธาตุละเอียดของสัตว์โลกนี้ จะเล่ารายละเอียดให้ฟังพอเข้าใจว่า ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือนั้นเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ 5 คือธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร กลางรูปขันธ์จะมีธาตุละเอียดของ “นามขันธ์ 4” คือธาตุละเอียดของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กลางของกลางของกันและกันเข้าไปข้างใน

    เฉพาะแต่ธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงกาย“ ที่เรานั่งเจริญภาวนา เมื่อใจหยุดนิ่งแล้วเห็นเป็นดวงใสนั่นแหละ ดวงกายดวงนั้นขยายส่วนหยาบมาจากรูปขันธ์ และภายในดวงกายนั้นยังมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม เป็นศูนย์เล็กๆ 4 ศูนย์ ลอยอยู่ในดวงธรรมนั้น ธาตุละเอียดของธาตุน้ำอยู่ส่วนหน้า ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุลม ตรงกลางอากาศธาตุ กลางอากาศธาตุมีวิญญาณธาตุ

    วิญญาณธาตุนั้นซ้อนอยู่กลางของกลางที่สุดของนามขันธ์ 4 ซึ่งขยายส่วนหยาบ ออกมาเป็น เห็น จำ คิด รู้ รวมเรียกว่า “ใจ”

    แต่เฉพาะที่ว่า ธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ น้ำ ดิน ไฟ ลม นั้น ทำหน้าที่ควบคุมของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิ และลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ แต่ละธาตุต่างทำหน้าที่คนละอย่าง ส่วนอากาศธาตุทำหน้าที่ควบคุมช่องว่างภายในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ ธาตุทั้งหมดนั่นแหละที่เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นธาตุหยาบ คือ กายเนื้อนี่แหละ ที่โบราณท่านว่าธาตุแตกน่ะ หมายเอาธาตุละเอียด ณ ภายใน แตกคือคุมกันไม่ติด แล้วธาตุข้างนอกจึงแตกคือตาย เพราะ “ทุกขสัจจะ” อยู่ข้างใน เมื่อดวงตายมาจรดตรงกลางหัวต่อ คือระหว่างดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ให้ขาดจากดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์เมื่อไหร่แล้วเป็นอันได้เรื่องเลย

    การแก้โรค โดยวิธีวิชชาธรรมกาย มีหลักการอยู่ว่า ธาตุที่ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของขันธ์ 5 นี้แหละ ถ้าเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ของผู้ใดที่ส่งใจออกไปข้างนอก ไปยึดไปเกาะอารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส ทางกายภายนอก เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เป็นช่องทางให้กิเลส มีโลภะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือตัณหาเข้าครอบงำจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว กิเลสนี้แหละจะเอิบ อาบ ซึมซาบปนเป็นและสะสมตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในธาตุละเอียดของกายโลกิยะทั้งหมด ทำให้ธาตุละเอียดฝ่ายรูปขันธ์อันมีธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศไม่สะอาดคือ เศร้าหมอง ฝ่ายนามขันธ์ จิตใจก็จะถูกสะสมด้วยกิเลส เป็นอาสวะ เป็นอนุสัย ตกตะกอน นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน เรื่องที่พูดนี่เพียงส่วนเดียว ส่วนละเอียดมีกว่านี้

    ส่วนมหาภูตรูป 4 และอากาศธาตุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของธรรม 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบาป อกุศล เรียกว่า อกุสลาธัมมา ฝ่ายบุญกุศล เรียกว่า กุสลาธัมมา หรือฝ่ายกลางๆ เรียกว่า อัพยากตาธัมมา เมื่อกี้ได้กล่าวฝ่ายบาปอกุศลว่าเป็นธาตุธรรมภาคดำหรือฝ่ายชั่ว เมื่อปล่อยให้กิเลสดลจิตดลใจให้ประพฤติปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว ธาตุละเอียดเหล่านั้นจะเศร้าหมอง ไม่สะอาด เพราะถูกเอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็นด้วยธาตุธรรมภาคดำ เมื่อธาตุละเอียดไม่สะอาด ความปรุงแต่งแห่งธาตุละเอียดให้เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อนี้ก็จะพลอยได้รับผล ชื่อว่า “วิบาก” ให้เป็นไปตามกรรมนั้นๆ 2 ประการคือ กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำเหตุหนุนให้ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ หนักยิ่งขึ้นไปอีก เช่นว่า คนที่มักฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จิตใจก็จะเหี้ยมโหด ทารุณ เพราะกิเลสก็จะสะสมตกตะกอนนอนเนื่องเป็นอาสวะและก็อนุสัย มีปฏิฆานุสัยเป็นต้น หนาแน่นยิ่งๆ ขึ้นไปอีก นี้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ทางฝ่ายธาตุที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นน้ำ เป็นของหยาบแข็ง เป็นอุณหภูมิ และเป็นลมปราณ ที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายและช่องว่างในร่างกายวิปริต แปรปรวน จึงมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และถ้าว่ากรรมนั้นหนักถึงเป็นอุปฆาตกรรม ก็อายุสั้น อาจจะด้วยอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติต่างๆ ตามเวรตามกรรม ของกรรมชั่วนั้น สัตว์หรือบุคคลที่ตนไปทำร้าย เบียดเบียนชีวิตของเขา ก็จะผูกเวรด้วยความเจ็บแค้น ให้เป็นเวรจากกรรมชั่วนั้นกลับมาสนองตอบตน

    เพราะฉะนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงสอนวิธีเจริญวิชชาธรรมกายแก้โรคด้วยการพิสดารกายตนเอง ชำระธาตุธรรมตนเองให้ใสเสียก่อน แล้วก็ซ้อนธาตุธรรมของคนไข้ให้ผ่องใสได้ แต่นี้เป็นวิธีการแก้โรคเพียงเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูงต่อไปยังมีอีก เพราะมีเหตุในเหตุไป ถึงต้นๆ เหตุ ที่จะต้องเก็บหรือชำระสะสางธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่านี้ ซึ่งอาตมาจะยังไม่กล่าว ณ ที่นี้

    นี่แหละคือความวิเศษสุดของวิชชาธรรมกาย ที่ให้เข้าไปรู้ไปเห็นทั้ง “ทุกขสัจจะ” และ “สมุทัยสัจจะ” ที่เห็นดำๆ นั้นแหละ จึงให้ชำระเสียโดยพลัน ด้วยว่าเมื่อใครก็ตาม แม้ถึงธรรมกายแล้ว อาจจะเห็นธาตุธรรมปรากฏเป็นสีดำ เป็นสีเศร้าหมองหรือขุ่นมัวก็ให้พึงนึกเข้าไป หยุดนิ่งกลางของกลางจุดเล็กใส ในธาตุธรรมที่ใสละเอียดที่สุด ณ ภายใน ขยายออกแล้วพิสดาร หรือถ้าเห็นเป็นดวงก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ ดวงในดวงให้ปรากฏ ใสสว่างขึ้นมา คือหมายความว่าหยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใส ถูกส่วนเข้าศูนย์กลางจะขยายออก ปรากฏดวงที่ใสใหม่ เราก็หยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใสใหม่ กลางของกลางๆๆ เรื่อยไป จนใสแจ่มสุดละเอียด แล้วกายในกาย ณ ภายใน เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดที่ผ่องใส ก็จะปรากฏขึ้นต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายที่ผ่องใสสว่างมีรัศมีปรากฏยิ่งๆ ขึ้นไป เราก็ทับทวี ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายในกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงทั้งกายและองค์ฌาน เป็นอันสบายใจได้ จิตใจก็จะผ่องใส เพราะทั้งมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดำ-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ และเห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 ก็จะผ่องใส ได้สบายทั้งใจ และก็สบายทั้งกาย

    นี้คือความวิเศษของวิชชาธรรมกาย ซึ่งมีวิธีปฏิบัติภาวนาที่เป็นตัวสติปัฏฐาน 4 แท้ๆ เพราะจุดมุ่งหมายของสติปัฏฐาน 4 คือ ให้มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม

    ที่ให้เห็นธรรมในธรรมนั้นน่ะ ที่เห็นธาตุธรรมภาคดำ (อกุสลาธัมมา) จงทำให้มันขาว ให้มันผ่องใสจนกระทั่งใสละเอียด มีรัศมีปรากฏถึงกายธรรมเป็นฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา) นี้เป็น ตัววัตถุประสงค์สำคัญของสติปัฏฐาน 4 ที่มุ่งให้ปฏิบัติภาวนาเพื่อให้ละหรือกำจัดธรรมดำ เพื่อยังธรรมขาวให้เจริญพิจารณาไปทั้งหมด กาย เวทนา จิต ธรรมนั้นแหละ เพื่อละกิเลสเหตุแห่งทุกข์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจของเราก็ให้รู้ว่ามีกิเลสเกิดขึ้น นั่นคือให้มีสติพิจารณาเห็นจิตในจิต และก็เห็นธรรมในธรรม คือธรรมฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) เห็นแล้วไม่ใช่ให้เห็นเฉยๆ ต้องให้ชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียด ให้บริสุทธิ์ผ่องใสทั้งกายและใจ นี้เป็นตัววัตถุประสงค์เพื่อละธรรมดำและเพื่อยังธรรมขาวให้เจริญ ธรรมปฏิบัตินี้จึงเป็นความดีวิเศษอย่างนี้ เพราะฉะนั้นที่คุณหมอเห็นเป็นประสบการณ์จากธรรมชาติที่เป็นจริง พึงชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ทุกเมื่อ มีคุณหมอหลายคนนะที่เป็นธรรมกายน่ะ ช่วยคนไข้ได้มากทีเดียว ที่รักษาตามวิชาแพทย์ก็ทำไป ที่ช่วยแก้ไขด้วยวิชชาธรรมกายก็ทำประกอบกันไป

    และต้องไม่ลืมว่า ต้องให้คนไข้นั้นแหละเจริญภาวนาตามแบบวิชชาธรรมกายนี้ช่วยตนเอง จะได้ผลมาก ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นผู้คนก็จะคอยแต่ขอให้ช่วยฝ่ายเดียว ไม่รู้จักปฏิบัติภาวนาช่วยตัวเอง และเห็นมามากต่อมากว่า ถึงวิชชาธรรมกายจะช่วยเขาได้โสดหนึ่ง แต่เมื่อเขาหายแล้ว ก็จะไม่เห็นคุณค่าของธรรม จะสังเกตได้ว่า ถ้าไม่ใช่ผู้เห็นคุณค่าของธรรมและสนใจปฏิบัติภาวนาธรรมอยู่แล้ว มากต่อมากจะไม่สนใจมาเข้ารับการศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมเพื่อช่วยตนเองเลย เรียกว่า ไม่เดือดร้อนก็ไม่เข้าหาพระ ไม่เห็นโลงก็ยังไม่หลั่งน้ำตา เพราะเอาแต่ประมาท หลงมัวเมาในกามสุข กล่าวคือในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย หลงในลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ และโลกิยสุข หาแก่นสารสาระ มิได้ เอาเป็นที่พึ่งที่แท้ถาวรก็ไม่ได้ หลงรับใช้มารจนลืมความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ และลืมความตายที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาตนอยู่ทุกขณะ โดยที่แม้กระทั่งจะตายก็ยังไม่รู้จัก ไม่ใฝ่หาที่พึ่งอันประเสริฐแท้ๆ แก่ตนเอง น่าสงสารแท้ๆ
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    นึกดวงแก้วเข้าศูนย์กลางไม่ได้ นึกศูนย์กลางกายไม่ออก แต่จะให้นั่งให้ใจสงบเฉยๆ พอได้ หรือกำหนดดวงไป พอกำหนดได้บ้าง ?

    -----------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    พยายามเหลือบตากลับนิดๆ
    เรื่องนี้ต้องค่อยๆ ทำไป ขอเรียนว่า อย่าลืมเหลือบตากลับนิดๆ เพราะใจยังไม่รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันจริงๆ

    ฉะนั้นก็ต้องค่อยๆ ฝึกต่อไป เพราะใจของเราซ่านออกนอกตัวมานาน ตั้งแต่เกิด ใจออกไปไปยึดไปเกาะอะไรมิต่ออะไรมากมาย ความจริงเป็นอย่างนี้ กว่าจะอบรมให้กลับมารวมหยุด ณ ที่เดิมคือที่ศูนย์กลางกายนี้ ไม่ค่อยจะมารวมหยุด ณ ภายในได้ง่าย บางคนก็ไปติดอยู่ที่หน้าผาก เห็นดวงส่องสว่างอยู่ที่หน้าผาก ไม่ยอมรวมลงมาหยุด ณ ภายในได้สักที บางท่านก็ยากเย็นเหลือเกิน ของดีมันยากอย่างนี้แหละ แต่ถ้าให้เห็นข้างนอกแล้วก็ง่ายๆ

    อย่าพยายามนึกเห็นนิมิตข้างนอก
    ถ้าให้นึกเห็นนิมิตข้างนอกละก็ไม่ยาก แต่ว่า “จงอย่าทำ” เพราะถ้านึกเห็นข้างนอก ใจจะไม่เข้ากลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็จะไม่ถูกกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ไม่ได้ดับหยาบไปหาละเอียด ไม่ได้เข้ากลางมัชฌิมาปฏิปทา ในธาตุธรรมของเรา ธรรมะที่ดีอยู่ที่ธาตุละเอียดของเรา ไม่ใช่อยู่ข้างนอก อยู่ข้างในที่ละเอียดๆ ฝ่ายกุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมา อยู่ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมสุดละเอียด ถ้าฝ่ายชั่วก็มาจากฝ่ายชั่วสุดละเอียด ฝ่ายดีก็มาจากฝ่ายดีสุดละเอียด มาจากต้นธาตุต้นธรรมโน้น ต้นธาตุต้นธรรมฝ่ายดี (กุสลาธัมมา) อยู่ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมที่สุด ฝ่ายชั่ว (อกุสลาธัมมา) ก็มีต้นธาตุต้นธรรมของเขา ไม่ใช่ไม่มี มีเหมือนกัน แต่อยู่ส่วนนอกหรือรอบนอกของกุสลาธัมมาออกมา

    เพราะเหตุนั้น หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ กำเนิดธาตุธรรมเดิม ของกายในกายไปจนสุดละเอียดนั้นแหละ ถูกมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ถึงพระนิพพานทีเดียว

    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกว่า หยุดในหยุด กลางของหยุด นั่นแหละถูกธรรมภาคขาว ฝ่ายบุญ ฝ่ายสัมมาทิฏฐิ ทะเลบุญอยู่นั้น แต่ว่าถ้าใจเดิน(ดำเนิน)นอกออกมาจากนั้น เป็นถิ่นทำเลของภาคมาร เพราะเหตุนี้ในธรรมเทศนาของท่านจะบอกว่า “ถ้าจะไม่เกิด ก็ให้เดินในเข้าไป ถ้าว่าอยากจะเกิด ก็เดินนอกออกไป” ความหมายก็คือว่า ถ้าอยากจะเกิดใหม่ ก็จงปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านออกไปข้างนอก ให้ไปยึดไปเกาะอะไรๆ วุ่นวายภายนอกเข้า อวิชชา ตัณหา อุปทาน นั้นแหละ เป็นปัจจัยให้เกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ คำพูดของหลวงพ่อ แต่ละคำเป็นคำโบราณ ถ้าฟังให้ดีแล้วจะเข้าใจลึกซึ้ง

    เวลาพิจารณาอริยสัจ 4 ก็จะรู้จะเห็น เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ให้เข้าใจไว้เท่านี้ก่อน เคล็ดลับที่พึงทราบในการเจริญภาวนามีมาก




    ..............................[​IMG]
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง เป็นอย่างไร ?

    --------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ถามมาว่าหยุดในหยุดเป็นอย่างไร และก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางน่ะ เป็นอย่างไร

    ผู้ถามนี้แสดงว่าไม่ได้ปฏิบัติตาม ฟังแล้วไม่ได้ปฏิบัติตามจะไม่เข้าใจซึ้ง โปรดทราบด้วยว่า เมื่อฟังแล้วต้องปฏิบัติตามด้วย

    เมื่อเริ่มแรก ที่ใจจะหยุดน่ะ ใจมันหยุดเองไม่ได้ ต้องอาศัยนึกเอาก่อน เพื่อให้ “ความเห็น(ด้วยใจ)” แล้วก็ “ความจำ” “ความคิด” “ความรู้” มารวมหยุดอยู่ในดวงแก้วที่เราใช้เป็นบริกรรมนิมิต ให้มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน

    ให้พึงเข้าใจว่า เห็นอยู่ที่ไหน ใจอยู่ที่นั่น เพราะฉะนั้นการที่ให้ใจนึกอยู่ที่ศูนย์กลางกาย เป็นดวงแก้วกลมใส ก็แปลว่าเป็นอุบายวิธีให้ใจมารวมอยู่ในดวงแก้วอันเป็นบริกรรมนิมิตนั้น

    แต่พอใจรวมเดี๋ยวเดียวมันจืดจางไปแล้ว ก็เลยมีงานให้ใจทำเพิ่มอีกโสดหนึ่ง คือบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆ” จี้เข้าไปที่กลางของกลางดวงแก้วกลมใสนั่นแหละ

    “กลางของกลาง” คืออย่างไร ? ศูนย์กลางดวง ศูนย์กลางกาย เป็นจุดเล็กใสประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร เรานึกให้เห็นไว้ นึกเห็นอยู่ตรงนั้น ใจมันก็จะหยุดอยู่ตรงนั้น เห็นกลางจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางนั้นเรียกว่า “กลางของกลาง” เมื่อหยุดนิ่งถูกส่วน ศูนย์กลางขยายออก ดวงใหม่เกิดขึ้น แล้วก็หยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงใหม่ หยุดในหยุด กลางของหยุด ไม่ถอนออกมา (จากสมาธิ) หยุดนิ่งไปเรื่อยๆ เรียกว่า “หยุดในหยุด กลางของหยุด”

    ตอนแรก ใจนึกเอา เข้าไปเห็นศูนย์กลาง แต่พอใจหยุดจริงๆ แล้ว มันเข้าไปสู่ศูนย์กลางของกลาง เหมือนมีแรงดึงดูด ปรากฏเป็นเอง

    เพราะฉะนั้น คำว่า “หยุด” นั้น เริ่มแรก มีอุบายวิธีให้นึกเห็นจุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางดวง ศูนย์กลางกาย เพื่อช่วยให้ใจมันหยุดจริงๆ ทีนี้ พอใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวจริงๆ เป็นธรรมชาติแล้ว ก็หยุดเองแหละ เข้ากลางของกลาง เห็นดวงใหม่ก็หยุดนิ่งไปกลางดวงใหม่ เห็นดวงใหม่ก็เข้ากลางของกลางดวงใหม่ เข้ากลางของกลางศูนย์กลางนะ มันจะเข้าไปเอง เข้าไปหยุดนิ่ง ไปจนถึงดวงที่ใสละเอียดที่สุด ศูนย์กลางขยายออก กายในกาย ก็ปรากฏ
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    บางครั้งเห็นดวงแกว่งลอยไปด้านซ้ายบ้างด้านขวาบ้าง หรือวิ่งเป็นวงบ้าง จะทำอย่างไร เพราะรู้สึกปวดหัว ?

    ---------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ขณะปฏิบัติภาวนาอยู่เช่นนั้น ให้เหลือบตากลับขึ้นนิดๆ พร้อมกับกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกาย นิ่งๆ เข้าไว้ ไม่ต้องใช้ใจบังคับดวงที่แกว่งนั้น ดวงจะเลื่อนไปไหนก็ช่าง อย่าตาม อย่าเสียดาย


    คงให้รวมใจหยุดนิ่งๆ คือนึกให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกายไว้ให้มั่น กลางของกลางเข้าไว้ จะใช้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” ณ จุดเล็กใสนั้นช่วยด้วยก็ได้

    ไม่ช้าใจจะหยุดนิ่ง และก็ปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มขึ้นมาเอง

    ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ขณะปฏิบัติภาวนา อย่าบังคับใจที่จะให้เห็นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกร็งและปวดศีรษะ ให้ผ่อนใจพอดีๆ แล้วจะค่อยๆ เห็นชัดเอง.
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    เมื่อเริ่มปฏิบัติธรรมเห็นดวงแก้วอยู่ข้างหน้า ไม่สามารถน้อมเข้ามาได้ ควรทำอย่างไร จึงจะน้อมเข้ามาในตัวได้ ?

    -----------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    วิธีปฏิบัติ ก็ให้เหลือบตากลับนิดๆ ในขณะที่หลับตาภาวนาอยู่ พร้อมๆ กับรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ มีที่หมายเป็นจุดเล็กใส พยายามจดจำอารมณ์ที่เห็นดวงแก้วใสนั่นไว้


    แล้วนึกให้เห็นดวงแก้วใสนั้นปรากฏขึ้นที่ศูนย์กลางกาย โดยกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางดวงแก้วใส ณ ศูนย์กลางกายนั้นไว้ให้มั่น เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน หยุดในหยุดกลางของหยุด นิ่งลงตรงนั้น ถ้าใจจะซัดส่ายหรือฟุ้งซ่านออกนอกตัว ก็ให้มีสติรู้เท่าทันในนิวรณ์กิเลสเช่นนั้น และกำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งลงตรงนั้น

    ไม่ช้า ใจจะรวมลงหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสสว่าง ปรากฏขึ้นมาเอง

    เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว ก็ปล่อยตาซึ่งเหลือบกลับให้เป็นไปตามธรรมชาติต่อไป เห็นแล้วก็อย่าตื่นเต้น ให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดกลางของกลางดวงใสสว่างนั้น หยุดนิ่งถูกส่วน ศูนย์กลางก็จะขยายออก และจะเห็นดวงใสสว่างละเอียดยิ่งกว่าเดิมปรากฏขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ คือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ใสละเอียดที่สุด

    เมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุด ศูนย์กลางจะขยายออกแล้วจะเห็นกายในกาย ณ ภายในของเราปรากฏขึ้นมาเอง ก็ให้ดับหยาบไปหาละเอียด คือละความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายหยาบเข้าไปเป็นกายละเอียด พร้อมกับรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกายละเอียดๆ ที่ปรากฏขึ้นมานั้น ให้ใสละเอียดหมดทั้งดวงธรรมและกาย เมื่อกายในกายปรากฏขึ้นใหม่ ก็ให้ปฏิบัติตามแบบเดิม คือดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายที่ละเอียดๆ นั้น รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงและกายเรื่อยไป โตใหญ่ใสละเอียดไปตามกายจนถึงธรรมกายที่สุดละเอียด
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า
    “วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...”
    “นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”
    ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 มกราคม 2016
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    ปาฐกถาธรรมเรื่อง สติสัมปชัญญะ โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖)

    ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
    วันอาทิตย์ ที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ เวลา ๐๘.๐๐ น.





    เจริญพร ญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทุกท่าน
    สำหรับวันนี้ จะได้บรรยายธรรมเรื่อง “สติสัมปชัญญะ” ซึ่งเป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่การดำเนินชีวิตของทุกคนไปสู่ความเจริญและสันติสุข และให้ถึงความสิ้นทุกข์อย่างถาวรได้


    คำว่า “สติ” หมายถึง ความระลึกได้ คือ จดจำถ้อยคำหรือเรื่องราวที่ผ่านมา แม้นานแล้วได้ สามารถระลึกหรือนึกขึ้นได้ นี้อย่าง ๑ และหมายถึง การควบคุมจิตใจให้จดจ่ออยู่กับกิจที่ทำ หรือเรื่องที่กำลังเพ่งพิจารณาอยู่ได้ ไม่พลั้งเผลอ นี้อีกอย่าง ๑


    สติเป็นเจตสิกธรรมที่ประกอบกับจิตให้ระลึกนึกถึงบาป-บุญ คุณ-โทษ ทางเจริญ-ทางเสื่อม แห่งชีวิตตามที่เป็นจริงได้ จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญและสันติสุข อนึ่ง ในการศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่ออบรมกาย วาจา ใจ ของตนให้บริสุทธิ์โดยทางศีล สมาธิ และปัญญา เป็นต้นนั้น “สติ” ยังเป็นเครื่องช่วยให้ระลึกนึกถึงเหตุในเหตุ ไปถึงต้นเหตุแห่งทุกข์ รวมทั้งเหตุในเหตุแห่งความเจริญและสันติสุข ด้วยปัญญาอันเห็นชอบได้ จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่การปฏิบัติธรรม เพื่อถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุขได้


    ส่วน คำว่า “สัมปชัญญะ” หมายความถึง ความรู้สึกตัวพร้อม หากเผลอสติก็ระลึกถึงขึ้นได้ใหม่ สัมปชัญญะ จึงเป็นคุณเครื่องส่งเสริมสติให้เจริญ ให้เต็ม ให้มั่นคง ไม่พลั้งเผลอ สัมปชัญญะจึงเป็นเจตสิกธรรมที่มาคู่กับสติ
    กล่าวโดยสรุป สติกับสัมปชัญญะนั้นเป็นธรรมคู่กัน คือ ความระลึกนึกรู้ หรือพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ก่อนคิด-พูด-ทำ ว่าความคิด หรือคำที่จะพูด หรือว่ากรรมที่กำลังจะทำนั้นดีหรือชั่ว เป็นบุญกุศลหรือเป็นบาปอกุศล เป็นทางเจริญหรือทางเสื่อม นี้ชื่อว่า “สติ” แต่เมื่อเผลอสติคิด พูดหรือทำไปก่อนแล้วโดยไม่ทันระลึกนึกรู้ได้ ว่าดีหรือชั่ว แล้วกลับมาระลึกนึกรู้ได้ หรือรู้สึกตัวได้ด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ว่า ความคิดที่กำลังเกิด วาจาที่กำลังพูด และ/หรือ กรรมที่กำลังกระทำอยู่นั้น ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมหรือว่าผิดพลาด เป็นกุศลคุณความดี หรือว่าเป็นความชั่ว เป็นทางเจริญ ควรดำเนิน หรือว่าเป็นทางเสื่อมไม่ควรดำเนิน แล้วเลือกดำเนินหรือประพฤติปฏิบัติไปแต่ในทางเจริญ งดเว้นความประพฤติปฏิบัติไปในทางเสื่อม นี้ชื่อว่า “สัมปชัญญะ” แม้สำนึกได้ภายหลังที่ได้ คิด-พูด-ทำ ไปแล้ว ก็ชื่อว่า “สัมปชัญญะ” เหมือนกัน


    สติกับสัมปชัญญะ ด้วยปัญญาอันเห็นชอบนี้ จึงเป็นธรรมที่มีอุปการะมากแก่การดำเนินชีวิตให้ดำเนินไปแต่ในทิศทางที่ถูกที่ควร คือ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม กล่าวคือ ที่เป็นบุญกุศลคุณความดีอันจะนำชีวิตไปสู่ความสำเร็จและความเจริญสันติสุข และสูงสุดให้ถึงมรรคผลนิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุขอย่างถาวรได้
    ส่วนผู้ประมาทขาดสติสัมปชัญญะ ไม่มีความสำนึกระลึกได้ก่อนคิด-พูด-ทำ ว่าดีหรือชั่ว เป็นทางเจริญหรือทางเสื่อม และขณะที่กำลังคิด-พูด-ทำอยู่ หรือแม้ได้คิด-พูด-ทำไปแล้ว ก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าประพฤติตนผิดพลาดหรือถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ยังไม่รู้สึกตัวว่าการดำเนินชีวิตของตนนั้นเป็นไปในทางเจริญหรือทางเสื่อมตามที่เป็นจริง การดำเนินชีวิตของผู้นั้นก็เหมือนรถไม่มีพวงมาลัย หรือเรือขาดหางเสือ ที่จะช่วยการควบคุมทิศทางการขับรถหรือขับเรือให้แล่นไปในทิศทางที่ถูกต้องตรงเป้าหมาย คือ ความสำเร็จและความเจริญสันติสุขที่ตนมุ่งหวังได้
    ดังตัวอย่าง เยาวชนหรือคนวัยหนุ่มสาวในวัยเรียนผู้ใด มีสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบว่า การที่บุคคลจะดำเนินชีวิตไปสู่ความสำเร็จในชีวิต และถึงความเจริญและสันติสุขได้ ก็จะต้องเป็นผู้มีความรู้มีความสามารถ มีคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีปัญญาอันเห็นชอบ กอปรด้วยศีลธรรม เมื่อมีสติระลึกได้อยู่อย่างนี้ เยาวชนหรือคนหนุ่มสาวในวัยเรียนนั้น ย่อมไม่ประมาทหลงมัวเมาในชีวิต รีบเร่งขวนขวาย พากเพียรศึกษาหาความรู้เต็มกำลังสติปัญญาความสามารถและฐานะของตนๆ ชนผู้นั้นเมื่อเจริญวัยขึ้น ย่อมเป็นผู้มีวิชาความรู้ มีความสามารถ และมีสติปัญญาอันเห็นชอบ รู้ทางเจริญทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริงได้ดี ด้วยความรู้ความสามารถและปัญญานั้น ย่อมช่วยให้สามารถสร้างฐานะทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคมให้สำเร็จและถึงความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขได้
    หากเผลอสติ ประพฤติผิดพลาดจากทำนองคลองธรรมไปบ้าง ก็มีสัมปชัญญะคือรู้สึกตัว รู้เท่าทันในความผิดพลาดนั้น รีบกลับตัวกลับใจมาประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในคุณความดี ก็ยังไม่สาย และสามารถจะดำเนินชีวิตตนไปสู่ความสำเร็จ ถึงความเจริญและสันติสุขได้อีก ในระยะเวลาไม่นานเกินรอ
    ชนผู้เช่นนี้ ชื่อว่า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ สติสัมปชัญญะ จึงชื่อว่า เป็นธรรมมีอุปการะมาก ด้วยประการฉะนี้
    ส่วนเยาวชนหรือคนวัยรุ่นหนุ่มสาว ที่กำลังอยู่ในวัยเรียนใด ประมาท ขาดสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ไม่ระลึกได้ว่า การที่บุคคลจะสามารถสร้างตัว สร้างฐานะ ให้สำเร็จถึงความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขได้ ก็จะต้องมีวิชาความรู้ความสามารถ และคุณธรรม จึงไม่ใส่ใจและไม่ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนหาวิชารู้ และไม่หมั่นฝึกฝนอบรมตนให้มีความสามารถ และกลับประมาทมัวเมาในชีวิต หลงฟุ้งเฟ้อไปตามเพื่อน หลงเที่ยวเตร่ เสเพล และหลงติดอยู่ในโลกิยสุข ตามแหล่งอบายมุขหรือแหล่งบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ ทั้งๆ ที่ตนเองยังหาเงินไม่เป็น และยังต้องแบมือขอเงินจากพ่อแม่อยู่ แต่กลับใช้เงินอย่างสุรุ่ยสุร่าย ติดอยู่ในค่านิยมฟุ้งเฟ้อ และหมกมุ่นอยู่แต่ในกิเลสกาม บางรายก็สมสู่อยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา ทั้งๆ ที่ยังเรียนไม่สำเร็จ และยังไม่มีงานทำเป็นหลักเป็นฐาน ครั้นเงินทองไม่พอจับจ่ายใช้สอย บางรายก็หันไปค้าสวาท หรือขายตัว นำชีวิตไปสู่ความเสื่อม เป็นโทษและเป็นความทุกข์เดือดร้อนต่อๆ ไป ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการศึกษาเล่าเรียนไม่สำเร็จตามเป้าหมาย เมื่อวิชาความรู้สูงๆ ไม่มี หรือมีน้อย ย่อมด้อยสติปัญญาความสามารถในอันที่จะประกอบกิจการงานในอาชีพที่ดีๆ ได้ การสร้างตัวสร้างฐานะของตนและครอบครัวของผู้เป็นเช่นนี้ ก็ย่อมลำบากต่อไปในกาลข้างหน้า นี่เพราะโทษของการขาดสติสัมปชัญญะ เครื่องยับยั้งชั่งใจ ด้วยปัญญาอันเห็นชอบ รู้ทางเจริญทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในชีวิต นำให้ชีวิตตกต่ำ และดำเนินชีวิตไปในทางเสื่อม ถึงเป็นความทุกข์เดือดร้อนได้ ในยุคปัจจุบันนี้ เยาวชนหรือคนหนุ่มสาวในวัยเรียน ที่ประมาทขาดสติสัมปชัญญะอย่างนี้มีมากขึ้นทุกที จนน่าเป็นห่วงว่าเยาวชนที่กำลังจะเป็นกำลังสำคัญของครอบครัว ของสังคม และของประเทศชาติ ว่าถ้าปล่อยให้มีพฤติกรรมเป็นกันอย่างนี้ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแล้ว สังคมไทยเราจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ ?
    โทษของการขาดสติสัมปชัญญะอีกประการหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาทางสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ที่ข้อมูลข่าวสารถูกส่งถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ที่น่าเป็นห่วง คือ ผู้แสดงออกซึ่งกิริยาอาการ วาจา หรือถ้อยคำ และเจตนาความคิดอ่าน ที่แสดงต่อสาธารณชน โดยที่ผู้แสดงออกบางรายขาดสติสัมปชัญญะ คือขาดความสำนึกรู้ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี และขาดการสำรวมระวัง แล้วแสดงออกซึ่งกิริยาอาการ วาจาหรือถ้อยคำ และเจตนาความคิดอ่านต่อสาธารณชนที่ไม่ดี คือที่ไม่เป็นจริงแท้ ไม่เหมาะสม ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล และแถมยังเป็นโทษเป็นภัยต่อสังคม และต่อชาติ ต่อพระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันหลักของประเทศชาติเราเอง เมื่อแสดงออกในลักษณะที่เป็นโทษแก่สังคมและสถาบันหลักของประเทศชาติเราไปแล้ว ผู้แสดงออกซึ่งกิริยาวาจาและเจตนาความคิดอ่านที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นโทษเช่นนั้นแหละ ย่อมถูกบัณฑิต คือผู้รู้ ติเตียน เป็นการทำลายเกียรติภูมิของตนเองนั้นแหละอีกด้วย ไปในตัวเสร็จ


    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานหลักธรรมนั้นไว้แก่สาธุชนพุทธบริษัท เป็นแนวทางปฏิบัติตามที่มีปรากฏในอภยราชกุมารสูตร มัชฌิมนิกายมัชฌิมปัณณาสก์ มีความว่า
    “ราชกุมาร ! ตถาคต (ก็ฉันนั้นเหมือนกัน) ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจาไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น
    ตถาคตย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
    อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย.”
    อนึ่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นไว้ให้พระภิกษุได้ปฏิบัติตน ประพฤติตน ด้วยความสำรวมระวังความประพฤติปฏิบัติทางกายทางวาจาคือคำพูด รวมตลอดไปถึงทางจิตใจ คือ เจตนาความคิดอ่าน ให้ละเอียด ประณีต ไม่หยาบคาย ให้เรียบร้อยดี ไม่มีโทษ ยังความสันติสุข คือ ความสุขด้วยความสงบอยู่ภายในสังฆมณฑล หากมีปัญหาอะไรก็ให้ปรับปรุงแก้ไข ดูแลกันเองตามพระธรรมวินัย และกฎหมายของบ้านเมือง เพื่อรักษาศรัทธาปสาทะของประชาชนไว้ด้วยวิธีการอันถูกต้อง เหมาะสม ดังมีปรากฏ ตามวินัยพุทธบัญญัติ ในมุสาวาท วรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๙ ว่า ภิกษุบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่นแก่อนุปสัมบัน (คือผู้ที่มิได้บวชเป็นภิกษุ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป และ/หรือแม้เล่าให้สามเณรฟัง) ต้องปาจิตตีย์ (เว้นไว้แต่ได้สมมติ) และในภูตคามวรรค ที่ ๒ สิกขาบทที่ ๓ ว่า
    “ภิกษุติเตียนภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทำการสงฆ์ ถ้าเธอทำโดยชอบ ติเตียนเปล่าๆ ต้องปาจิตตีย์”
    หมายความว่า พระภิกษุใด ตำหนิติเตียนพระภิกษุผู้ที่สงฆ์แต่งตั้ง หรือมอบอำนาจให้ทำการสงฆ์ เช่นให้พิจารณาชำระอธิกรณ์ เป็นต้น ที่ท่านได้กระทำ คือ ดำเนินการโดยชอบ กล่าวคือ โดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย กฎหมายและกฎมหาเถรสมาคมแล้วเป็นต้น พระภิกษุผู้ตำหนิติเตียนพระภิกษุอื่นที่สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทำการสงฆ์ที่ได้กระทำโดยชอบเปล่าๆ เช่นนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้เป็นต้น
    แม้คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็ยังต้องมีคุณสมบัติผู้ดีเป็นเครื่องคุ้มครองกิริยามารยาท คือ การแสดงออกซึ่งกิริยาวาจาและจิตใจ กล่าวคือ เจตนาความคิดอ่านที่ดี ซึ่งได้มีมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล ดังเช่น เมื่อท่านธนัญชัยเศรษฐี แห่งนครสาเกตุ ก่อนแต่จะส่ง “นางวิสาขา” ผู้เป็นธิดาของตนไปสู่เรือนเจ้าบ่าว หรือว่าที่สามี คือ “ปุณณวัฒนกุมาร” บุตรชายของท่านมิคารเศรษฐี ณ นครสาวัตถี ได้สอนและให้โอวาทแก่นางวิสาขา ๑๐ ข้อ มีปรากฏในขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เรื่อง “นางวิสาขา” ว่า
    “แม่ ธรรมดาหญิงผู้อยู่ในสกุลผัว รักษามารยาทนี้ และนี้จึงจะควร
    แม่ ธรรมดาหญิงที่อยู่ในสกุลพ่อผัวแม่ผัว ไม่ควรนำไฟใน ออกไปภายนอก ไม่ควรนำไฟนอก เข้าไปภายใน พึงให้แก่คนที่ให้เท่านั้น ไม่พึงให้แก่คนที่ไม่ให้ พึงให้แก่คนทั้งที่ให้ ทั้งที่ไม่ให้ พึงนั่งให้เป็นสุข พึงบริโภคให้เป็นสุข พึงนอนให้เป็นสุข พึงบำเรอไฟ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน.”
    คำสอนของท่านธนัญชัยเศรษฐีแก่นางวิสาขา ผู้ธิดานั้น มีความหมายว่า หญิงสะใภ้ไม่ควรนำเรื่องที่ไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวและของสามีไปกล่าวให้คนอื่นภายนอกฟังนั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระภิกษุนับตั้งแต่พระมหาเถระ พระเถรานุเถระ จนถึงพระนวกะผู้บวชใหม่ ผู้ได้รับการอบรมพระธรรมวินัยดีแล้ว จึงต้องอยู่ในความสงบ หากมีปัญหาในวงการสงฆ์ก็เสนอวิธิการปรับปรุงแก้ไขต่อพระภิกษุเจ้าคณะปกครองตามลำดับชั้น และ/หรือ ร่วมกันพิจารณาแก้ไขปัญหากันเองเป็นการภายใน พระพุทธศาสนาของเราจึงยืนยาวมั่นคงมาจนถึงตราบทุกวันนี้ ก็เพราะพระเถรานุเถระปฏิบัติตามพระธรรมวินัย สำรวมในศีลและอินทรีย์ ดำรงตนและหมู่คณะอยู่ในความสงบอย่างนี้ นี้คือพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐสูงสุด
    แม้ข้าราชการทุกหมู่เหล่าก็ต้องมีระเบียบวินัยทำนองนี้เหมือนกัน แบบเดียวกัน
    กล่าวคือ ข้าราชการทุกหมู่เหล่า ทั้งข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง ก็มีระเบียบวินัยเป็นกรอบขอบเขตในความประพฤติปฏิบัติตน ในทำนองหรือในลักษณะที่ว่า “ไม่ควรนำไฟในออกไปภายนอก” คือ ไม่ควรนำปัญหาหรือเรื่องราวที่ไม่ดีไม่งามภายในหน่วยงานของตน ออกไปพูดตำหนิ หรือ ไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อสาธารณชนบุคคลภายนอก เหมือนกัน วิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม ก็คือ ควรปรึกษาหารือป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นเป็นการภายใน และ/หรือ นำเสนอข้อปัญหาพร้อมทั้งวิธีการป้องกันแก้ไขปัญหานั้นๆ ไปยังผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ ตามลำดับชั้น ตามกฎ-ระเบียบที่องค์กรนั้นๆ ได้กำหนดไว้ดีแล้ว นั่นเอง
    กล่าวโดยสรุป ทุกสังคมน้อยใหญ่ นับตั้งแต่สังคมภายในครอบครัว องค์กรศาสนา องค์กรทางราชการทุกหมู่เหล่า และองค์กรธุรกิจเอกชนทั้งหลาย ทั้งไทยและต่างชาติต่างศาสนา ต่างมีระเบียบวินัยในทำนองนี้ เพื่อป้องกันความเสื่อมเสียส่วนรวม เหมือนกันทั้งนั้น เพราะเหตุนั้น สาธุชนผู้ฟังทุกท่าน ก่อนแสดงออกซึ่งกิริยามารยาท วาจาหรือถ้อยคำและเจตนาความคิดอ่านทั้งหลายต่อสาธารณชน แม้จะอ้างว่าหวังดีต่อสังคม ก็พึงมีสติสัมปชัญญะหยุดคิด หยุดไตร่ตรอง พิจารณาผลได้ผลเสียต่อสังคมโดยส่วนรวมก่อน ว่า กิริยามารยาท วาจาหรือถ้อยคำและเจตนาความคิดอ่านที่จะแสดงออกไป หรือขณะที่กำลังแสดงออกอยู่นั้น และแม้ที่ได้แสดงออกไปแล้วว่า เป็นอาการกิริยา วาจาหรือถ้อยคำที่จริง ที่แท้หรือว่าไม่จริง ไม่แท้ ที่ก่อให้เกิดคุณประโยชน์หรือว่าเป็นโทษแก่สังคม และ/หรือองค์กรนั้นๆ และการแสดงออกนั้นเป็นการแสดงออกด้วยเจตนาความคิดอ่านที่ดี ที่บริสุทธิ์ ที่ยุติธรรม ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและระเบียบวินัยของสังคม และขนบธรรมเนียมที่ดีของไทยพุทธเราหรือไม่ หากคิดได้ก่อนคิด-พูด-ทำ ก็ควรงดเว้นเสีย หากพลั้งเผลอผิดไป ในขณะคิด-พูด-ทำอยู่ ก็จงมีสติยับยั้งชั่งใจ กลับตัวกลับใจเสีย แม้ได้คิดผิด พูดผิด ทำผิดไปแล้ว ก็ยังไม่สายที่จะกลับตัว กลับใจมาประพฤติปฏิบัติให้ดี ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยส่วนรวม อีกได้ ขอให้มีหลักอยู่ว่า สังคมโดยส่วนรวมของประเทศชาติไทยเรา คือ สถาบันชาติ ของไทยเราจะเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขอยู่ได้อย่างมั่นคง ก็ต่อเมื่อสถาบันพระพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติไทยเรา ๑ กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงทศพิธราชธรรม ๑ เจริญและมั่นคง หาก ๒ สถาบันนี้ คือ สถาบันพระพุทธศาสนา กับ สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับความกระทบกระเทือนด้วยประการใด สถาบันชาติไทยของเราก็ย่อมจะอ่อนแอลง เพราะ เมื่อประชาชนขาดศีลธรรมประจำใจ สังคมย่อมเกิดความโกลาหล จลาจลวุ่นวาย หนักขึ้น อาจถึงรบราฆ่าฟัน แย่งชิงกันมากขึ้น ความเจริญและสันติสุขภายในประเทศชาติ ก็ย่อมหมดไปเพราะความโลภ โกรธ หลง ของคนในชาติ ทุกศาสนาในประเทศไทยเราเองนี้แหละ ถ้าสถาบันพระพุทธศาสนายังคงเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขอยู่ สังคมประเทศชาติแม้ทุกศาสนาในประเทศไทยก็จะยังมีความสันติสุขอยู่ได้ เพราะพระพุทธศาสนาไม่เคยเบียดเบียนใคร แต่ถ้าพระพุทธศาสนาในประเทศไทยล่มจม สังคมทุกหมู่เหล่าและทุกศาสนาในประเทศไทยก็เสียหายล่มจมไปด้วยกันหมดทั้งประเทศ อย่าสงสัยเลย
    เพราะเหตุนั้นญาติโยมสาธุชนผู้ฟังทั้งหลายเมื่อท่านได้ยินได้ฟังข่าวสารการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ก็จงตั้งสติสัมปชัญญะพิจารณาข่าว หรือการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับศาสนบุคคลและศาสนธรรม ให้ดี ว่าผู้พูดผู้แสดงออกทางกายคือกิริยามารยาท ทางวาจา คือ คำพูดหรือถ้อยคำต่างๆ และทางใจคือเจตนาความคิดอ่าน ที่เขาแสดงออกมานั้น ว่าน่าเชื่อถือ น่าเลื่อมใสศรัทธา ว่าถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ถูกต้องตามกฎหมายบ้านเมือง และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของไทยเราแค่ไหนเพียงไร ก่อนที่จะใช้ข้อมูลนั้นประกอบการพิจารณาตัดสินใจประพฤติปฏิบัติตนไปในแนวทางที่ให้เกิดความเจริญและสันติสุขในชีวิต จะได้ไม่เสียประโยชน์ ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะได้ไม่เสียความรู้สึกที่ดีต่อพระรัตนตรัย อันเป็นที่พึ่งประเสริฐสูงสุดของตนเอง เพราะหลงตามกระแสที่ผิดๆ ไปอย่างน่าเสียดาย
    เพราะขาดปัญญาอันเห็นชอบในทางเจริญทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริงบุคคลจึงขาดสติ คือ ความระลึกได้ก่อนคิด-พูด-ทำ ว่ากรรมที่จะกระทำหรือประพฤติปฏิบัตินั้น ดีหรือชั่ว ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมเป็นคุณประโยชน์หรือเป็นโทษขณะเมื่อคิด-พูด-กระทำกรรมนั้นอยู่ ก็ไม่มีสัมปชัญญะ คือ ไม่มีความสำนึกได้ว่าผิดหรือถูก ควรหรือไม่ควร และแม้ภายหลังที่ได้คิด-พูด-ทำความผิดพลาดหรือไม่ถูกไม่ควรไปแล้ว ก็ยังไร้ความสำนึกว่าตนเองประพฤติถูกต้องหรือผิดพลาด ไม่ถูกไม่ควร จึงหลงมัวเมาในชีวิต ดำเนินชีวิตตนไปด้วยความประมาทขาดสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบนำตนไปสู่ความเสื่อมเสีย เป็นโทษ เป็นความทุกข์เดือดร้อน ต่อๆ ไป ไม่มีที่สิ้นสุด
    เพราะเหตุนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญาจึงไม่ประมาท มีความพากเพียร เรียนรู้และประกอบคุณความดี ละเว้นความชั่ว ชำระจิตใจให้ผ่องใส เจริญสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ให้รอบรู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป กล่าวคือ ให้รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ ให้รู้ธรรมที่เป็นแก่นสารสาระประโยชน์ และที่ไม่เป็นแก่นสารสาระประโยชน์ กล่าวคือ ให้รู้แนวทางการดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข อันควรดำเนิน และให้รู้ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามความเป็นจริงอันควรงดเว้น บัณฑิตผู้มีปัญญารอบรู้เช่นนั้น ย่อมดำเนินชีวิตตนและชักนำคนอื่นให้ดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญและสันติสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต จนถึงความพ้นทุกข์แต่ถ่ายเดียว
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ (สํ.ส.๑๕/๘๑๒/๓๐๖) ว่า
    “สติมโต สทา ภทฺทํ สติมา สุขเมธติ
    สติมโต สุเว เสยฺโย....”
    ความเจริญย่อมมีแก่ผู้มีสติทุกเมื่อ คนมีสติย่อมได้ความสุข ความดีย่อมมีแก่คนมีสติ”
    คุณเครื่องช่วยให้สติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบเกิดและเจริญขึ้นก็คือ “ศรัทธา” ในบุคคลที่ควรศรัทธา คือ นับถือ เลื่อมใส ศรัทธาในบุคคลผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ดำเนินชีวิตไปด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบ และมีความศรัทธาในข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา คือ ข้อปฏิบัติที่ดี ที่ชอบ ได้แก่ ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น อันจะนำไปสู่ความเจริญและสันติสุข ไม่ไปในทางเสื่อม เป็นโทษ เป็นความทุกข์เดือดร้อน นั่นเอง ผู้มีศรัทธาเห็นคุณค่าในความประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ว่ามีคุณประโยชน์แก่การดำเนินชีวิต เช่นนั้น จึงจะมี “วิริยะ” คือ ความเพียรพยายามประพฤติปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่ดีที่ชอบ มีทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล เป็นต้นนั้น ด้วยธรรมปฏิบัตินี้ สติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบย่อมเกิดและเจริญขึ้นได้ กล่าวคือ
    ย่อมเห็นโทษของความประพฤติชั่วหรือทุจริตทางกายได้แก่การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักฉ้อ การประกอบมิจฉาอาชีวะ การประพฤติผิดในกาม หรือความไม่สำรวมในกาม และอบายมุขต่างๆ เช่น เป็นนักเลงสุรา/ยาเสพติด เป็นนักเลงผู้หญิงหรือหญิงเป็นนักเลงผู้ชาย ติดเที่ยวกลางคืน คบคนชั่วหรือคนนำไปแต่ในทางให้ฉิบหาย เป็นมิตร เกียจคร้านในกิจการงานที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบ เป็นต้น ย่อมเห็นโทษความประพฤติทุจริต ทางวาจา ได้แก่ วาจาหยาบคาย โป้ปดมดเท็จ ยุแยกให้แตกสามัคคี และวาจาเหลวไหลไร้สาระ ว่า เป็นข้อปฏิบัติหรือเป็นทางให้เกิดโทษ ความทุกข์เดือดร้อน ก็ย่อมละเว้นความประพฤติชั่ว คือกายทุจริตและวจีทุจริตเหล่านั้นเสีย และตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สมบูรณ์ อย่างน้อยเบญจศีล คือ ศีล ๕ อยู่เสมอ นี้ประการ ๑
    อีกประการ ๑ ย่อมเห็นคุณของความประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กอปรด้วยสาระประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น อย่างน้อยเห็นคุณของ “เบญจกัลยาณธรรม” คือ ธรรมอันดีงาม ๕ อย่าง ซึ่งเป็นตรงกันข้ามกับความประพฤติผิดศีล ได้แก่ ความเป็นผู้มีใจเมตตากรุณาต่อกัน ๑ สัมมาอาชีวะ คือ การประกอบอาชีพโดยชอบ และ/หรือ ทาน คือ การรู้จักเสียสละ แบ่งปัน การให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์สุขส่วนตน ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ๑ ความเป็นผู้รู้จักสำรวมในกาม และ/หรือเป็นผู้สันโดษในคู่ครองของตน ๑ สัจจะ คือ ความจริงใจต่อตนเองและต่อผู้อื่น ๑ ความเป็นผู้ไม่ประมาทและความเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ด้วยปัญญาอันเห็นชอบ ๑
    เมื่อได้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในคุณความดี มีเบญจศีล เบญจธรรมเป็นต้นดังนี้ กาย วาจา และใจย่อมเป็นบุญเป็นกุศล และสงบยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับผลแห่งคุณความดีและผลแห่งการละเว้นความประพฤติชั่ว ย่อมปรากฏเป็นประสบการณ์ชีวิต ทำให้รู้ผิด-ชอบชั่ว-ดียิ่งขึ้น ยังให้สติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ คือ ความรู้บาป-บุญ คุณ-โทษ รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง เกิดและเจริญขึ้นเป็นลำดับ เป็นอุปการะแก่การเห็นคุณค่าและเจริญภาวนาสมาธิ และปัญญาอันเห็นชอบ ให้แก่กล้ายิ่งๆ ขึ้นไป คุณธรรมดังกล่าว คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา จึงชื่อว่า “อินทรีย์ ๕” หมายความว่า คุณธรรมที่เป็นใหญ่ ครอบงำเสียซึ่งอกุศลธรรมที่ตรงกันข้ามกัน กล่าวคือ คุณธรรมเครื่องครอบงำ ความไร้ศรัทธาในบุคคลและข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ความประมาท ๑ ความฟุ้งซ่าน ๑ และความหลงงมงายไม่รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ ไม่รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง ๑
    อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา นี้ เมื่อปฏิบัติได้แก่กล้ายิ่งขึ้นไปอีก ก็จะเป็นพลังกล้าแข็งมั่นคง มิให้อกุศลธรรม ๕ อย่าง ได้แก่ ความไม่ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย เข้าครอบงำจิตใจได้ จึงชื่อว่า พละ ๕
    พละ ๕ นี้เอง ที่เป็นอุปการะ คือคุณเครื่องยังให้ โพชฌงค์ องค์คุณแห่งความตรัสรู้ ๗ ประการ ก็คือ สติ ๑ ธัมมวิจยะ คือ การวิจัยธรรม ได้แก่ การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม ๑ วิริยะ ๑ ปีติ ๑ ปัสสัทธิ คือ ความสงบกาย สงบใจ ๑ สมาธิ ๑ และ อุเบกขา คือ ความวางเฉย ๑ ให้เกิดและเจริญขึ้น และเป็นอุปการะให้อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางมรรคผลนิพพาน ให้เกิดและเจริญขึ้น ได้ถึงความเจริญสันติสุขและถึงความพ้นทุกข์อันถาวรต่อไป
    ส่วนบุคคลผู้ประมาท ขาดสติสัมปชัญญะ คือ ขาดความสำนึกผิด-ชอบชั่ว-ดี ไม่มีศรัทธาในบุคคลผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้แก่ พระพุทธเจ้าและพระสงฆเจ้า เป็นต้น และไม่มีศรัทธาในข้อปฏิบัติที่ควรศรัทธา คือพระสัทธรรมอันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว จึงไม่ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม กลายเป็นคนไม่มีศีลธรรมประจำใจ ได้แต่หลงมัวเมาในชีวิต ประพฤติผิดศีลผิดธรรมด้วยความโง่เขลาเบาปัญญาย่อมไม่สามารถดำเนินชีวิตไปสู่ความสำเร็จ และถึงความเจริญสันติสุขได้ ดุจดังผู้ขับรถที่ขาดพวงมาลัยหรือขับเรือที่ไม่มีหางเสือเครื่องควบคุมทิศทาง ย่อมไม่อาจนำรถหรือเรือไปสู่จุดหมายปลายทางได้ถูกต้อง และย่อมถึงความอับปางหรือเสียหายได้ ฉันใด ฉันนั้น
    เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้หวังความเจริญและสันติสุข จึงต้องไม่ประมาทหลงมัวเมาในชีวิต ต้องสนใจเอาใจใส่ในการศึกษาปฏิบัติธรรม ให้มีศีลมีธรรมประจำใจ และต้องมีสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาอันเห็นชอบ คือมีสำนึกรู้ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง จึงจะสามารถดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญสันติสุข และถึงความพ้นทุกข์ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ในกาลทุกเมื่อ
    ก่อนยุติการบรรยายธรรมนี้ อาตมภาพขอเจริญพรสาธุชนผู้สนใจที่จะได้เทปคัสเซทบันทึกปาฐกถาธรรมนี้ และ/หรือตอนก่อนๆ ก็ติดต่อขอรับได้ที่ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    อนึ่งผู้สนใจศึกษา/ปฏิบัติธรรมศีล-สมาธิ-ปัญญาก็เข้ารับการอบรมได้ที่ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี ได้ทุกวันอาทิตย์ โดยมีรถรับส่งฟรีจากปากทางเข้าวัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) กรุงเทพฯ ไปยังวัดหลวงพ่อสดฯ ที่อำเภอดำเนินสะดวก รถออกเวลา ๐๗.๓๐ น. และรับกลับกรุงเทพฯ เวลา ๑๕.๐๐ น. เป็นประจำ
    สำหรับวันนี้ อาตมภาพขอยุติการปาฐกถาธรรมไว้แต่เพียงนี้ก่อน โปรดติดตามรับฟังตอนต่อไปในวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนต่อไป ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผู้ฟังทุกท่าน เจริญพร.
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    แนวทางแห่งสัมมาปฏิบัติ 1


    .....แม้การเจริญวิชชาที่ 3 ชื่อว่า อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้อาสวะกิเลสที่หมักดองอยู่ในจิตสันดาน...ถ้าปฏิับัติถูกวิธี ผู้ปฏิบัติถูกวิธีท่านหนึ่งเป็นครูของหลวงป๋า คือ พระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) ผู้ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน4 ถึงธรรมกายของพระพุทธเจ้า
    เมื่อได้ถึงธรรมกายแล้ว ละเอียดบริสุทธิ์ จากทิพพจักษุ จากสมันตจักษุ เข้าถึงพุทธจักษุ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่ช่วยให้เจริญวิชชาที่ 1 ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้ โอโฮ้...นี่สัตว์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารจักรมีอย่างนี้ๆ ไปนรก ไปสวรรค์ ไปเป็นเปรต สัตว์นรก สัตว์อสุรกาย สัตว์เดรัจฉานมากต่อมาก หมูหมากาไก่รอบๆตัวเรา ไปจากมนุษย์ทั้งนั้น เปรตก็มี สัีตว์นรกก็มี นรกก็มีหลายขุม ขุมใหญ่ขุมเล็ก และไอ้ที่มันโหดที่สุด ก็โลกันตนรก อยู่นอกจักรวาล นู้นอยู่ตามระหว่างขอบจักรวาล ซึ่งมีอยู่ทั่วแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาลไม่มีประมาณ นั้นเป็นที่เกิดเป็นที่อยู่ของพวกมิจฉาทิฐิ ทำผิดโดยไม่รู้ตัวเองว่าผิด เพราะไม่รู้สภาวธรรมและอริยสัจธรรมตามความเป็นจริง มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
    เรื่องเหลือเชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงเห็นแจ้งอย่างไร ทรงเห็นแจ้งโลกหมดทั่วแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาลไม่มีประมาณ เรียกว่าตรัสรู้พระอริยสัจธรรมด้วยการเห็นว่า ความทุกข์ของสัตว์โลกว่ามีอย่างนี้จริง เห็นหมดเลย...
    ถ้าในวิชชาธรรมกายบอกได้เลยว่า เห็นได้ ในธาตุธรรม เห็น-จำ-คิด-รู้ ของทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ตามหลักปฏิจจสมุปบาทธรรมที่นักปริยัติก็รู้ปริยัติ แต่ถ้าปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน4 ถึงธรรมกายถึงพระนิพพานของพระพุทธเจ้า เห็นได้เลย และกลายเป็นตัววิชชาไปเลยด้วย
    เหมือนมีกล้องไมโครสโคป เทลเลสโคป คอยส่องดูเหตุปัจจัยแห่งความทุกข์ชัดเจน...





    **คำสอนของพระเทพญาณมงคล(เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖)วัดหลวงพ่อสดฯ จ.ราชบุรี




    [​IMG]
     
  18. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505
    .
    เขียน ๒๓.๐๓

    แหม..เพิ่งกัดท่านศรีมาหยกๆ มาอ่านเจอคำใบ้หวยเลยแฮะ ๕๕๕ ขอบคุณ
    ที่เบอร์ ๔๐ กระทู้ http://palungjit.org/threads/%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8F.559591/page-2#post9894136


    อยากให้ท่านศรีได้อ่านจังแฮะ โพสท์นี้ ที่เป็นการบังเอิญล่ะมั้ง นะ
    ใครจัดฉากวางเกมส์ให้เนี่ย ฝีมือขั้นพรหมเชียว ขอบอก ๕๕๕
    ขอบคุณท่านนักรบเงานะครับ ที่ให้ความร่วมมือ แบบงงงง


    กระต่ายป่า แห่งเกาะนาฬิเกร์ / ชาวหมู่บ้านในนิทาน

    .
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    “รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป”

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จันทสโร)กล่าวว่า “รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป” หมายถึงอะไร ?
    
    จากหนังสือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น มีข้อความตอนหนึ่งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกไว้ว่า “รีบออกจากกาม เดินตาม ขันธ์สามเรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้ อยากทราบว่าหมายถึงอะไร? มีอะไรบ้าง?






    ตอบ:

     
     
    ขันธ์ 3 ก็คือไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา จิตสิกขา และ ปัญญาสิกขา ก็คือ การศึกษาอบรมตนโดยทางศีล สมาธิ และปัญญา นี่เองเป็นขันธ์สาม ถ้ากระจายออกไปก็เป็นขันธ์สี่ ขันธ์ห้า คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งธรรมปฏิบัติจะเจริญไปในแนว นั้น แต่หลวงพ่อฯ ท่านพูดในส่วนที่เป็นหลักธรรมปฏิบัติเบื้องต้นเอาไว้ “ขันธ์สาม” ก็คือ สิกขาสาม หรือไตรสิกขา

    ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ทุกคนพึงเห็นโทษของกาม  แล้วพึงดำริออกจากกาม ด้วยการปฏิบัติศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา ให้ถึงอธิศีลสิกขา คือการศึกษาอบรมในศีลอันยิ่ง  อธิจิตตสิกขาคือการศึกษาอบรมจิตอันยิ่ง  อธิปัญญาสิกขาคือการศึกษาปัญญาอันยิ่ง

    ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ ก็มีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี่สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา   และ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ นี่สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา  หรืออีกนัย หนึ่งก็คือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยมีศีลเป็นบาท นั่นเอง

    กิจ 16 ที่หลวงพ่อฯ ท่านว่า “เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้  นี้ท่านหมายเอา เมื่อพระโยคาวจรปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว เจริญฌานสมาบัติให้ผ่องใสดีแล้ว  ก็พิจารณาอริยสัจ 4 ในธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด ให้เห็นตามที่เป็นจริงว่า เป็นทุกข์อย่างไร  มีเหตุแห่งทุกข์คือสมุทัยอย่างไร  แล้วก็จะพิจารณาเห็นถึงนิโรธ  คือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ มีได้ เป็นได้อย่างไร  และมรรค คือหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันถาวร เป็นอย่างไร

    แต่ว่าการพิจารณานี้ หมายถึงว่าเมื่อเราเข้าใจหลักพิจารณาสติปัฏฐาน 4 ทั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม  ของกายมนุษย์ แล้วในข้อสุดท้ายก็ “ธรรมในธรรม” นั่นแหละ  มีการพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์  ซึ่งอาศัย “ญาณ” หรือ ตา ของธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียด คือธรรมกายที่เราเข้าถึงสุดละเอียดแล้ว  แต่ยังไม่สามารถกำจัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้โดยเด็ดขาดอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ นั่นแหละ ที่ยังจัดเป็นโคตรภูบุคคล  มีโคตรภูญาณ หรือ โคตรภูจิต ของธรรมกายโคตรภูหยาบ ถึงโคตรภูละเอียดนั้นเอง เมื่อพระโยคาวจรอาศัยธรรมกายที่สุดละเอียดทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัย คือปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 โดยการพิสดารธรรมกายไปสุดละเอียด ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นที่ตั้งของธาตุธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” อันเป็นที่ตั้ง ที่เอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น ของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายนั้นเอง   ก็พิสดารธรรมกายผ่านธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด เป็นการปหานอกุศลจิตของ กายในภพ 3 และกำจัดหรือชำระกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ไป ในตัวเสร็จ  เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัตที่ละเอียดๆ จนสุดละเอียด ผ่องใส บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสแม้เพียงชั่วขณะที่เจริญภาวนาอยู่  เป็นวิกขัมภนวิมุตติ  นี้เป็น “นิโรธ” ในความหมายของการดับสมุทัย คือ ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 (ที่เกิดมีอยู่พร้อมกับเจตสิกธรรม ฝ่ายบาปอกุศล) จนเป็นแต่จิตใจ เห็น จำ คิด รู้ ผ่องใส บริสุทธิ์

    เมื่อใจของธรรมกายที่สุดละเอียด   ละอุปาทานในเบญจขันธ์ ของกายในภพ 3  และปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ปล่อยขาดหมดพร้อมกัน   ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์   ธรรมกายที่สุดละเอียดจะปรากฏในอายตนะนิพพาน  ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์  เรียกว่า ตกกระแสพระนิพพาน  ด้วยโคตรภูจิต หรือโคตรภูญาณก่อน และในขณะเดียวกัน  เมื่อมรรคจิต มรรคปัญญา รวมเรียกว่า “มรรคญาณ” เกิดและเจริญ  กำลังของสมถภาวนาและวิปัสสนาปัญญามีเพียงพอเสมอกัน  สมถภาวนาต้องเจริญถึงตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

    ส่วนวิปัสสนาภาวนานั้น  พระโยคาวจรได้ผ่าน ได้มีประสบการณ์ในการเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาภาวนา  พิจารณาสภาวธรรม จนถึงได้พิจารณาอริยสัจอยู่แล้วนั้น ขณะเมื่อทั้งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังแก่กล้าเสมอกันนั้นเอง   ธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียดจะตกศูนย์   ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการ  คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้  แล้วก็จะตกศูนย์ปรากฏเป็นธรรมกายพระโสดาปัตติผล ลอยเด่นขึ้นมาและตั้งอยู่ใสสว่างโพลง

    ด้วยญาณของพระธรรมกายที่บรรลุมรรคผลแล้วอย่างนี้  จึงพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว  กิเลสที่ยังเหลือ  พิจารณามรรค พิจารณาผล และพิจารณานิพพาน นั้นแหละเรียกว่า “พิจารณาปัจจเวกขณ์”   ในช่วงของการบรรลุมรรคผลในแต่ละระดับภูมิธรรมนั้นเอง  ที่กล่าวเป็นตัวอย่างแรกข้างต้นนี้  กล่าวกันโดยเฉพาะกิจ 4 ประการ คือ  การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย  เห็นเวทนาในเวทนา  เห็นจิตในจิต และธรรมในธรรม ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด  และในส่วนธรรมในธรรมนั้น  ก็คือพิจารณาอริยสัจ 4 ด้วยตาหรือญาณของธรรมกายโคตรภู  แล้วตกศูนย์ เมื่อมรรคจิตเกิดและเจริญขึ้น  ดังกรณีมรรคจิตของธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการดังกล่าวแล้ว  ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายโสดาปัตติผลก็จะปรากฏใสสว่างขึ้นเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ดังกล่าวนี้  ว่าด้วยช่วงเดียว คือพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด นี้เป็นกิจ 4

    ต่อไปก็เป็นพิจารณาสติปัฏฐาน 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งอริยสัจ 4 ในกายทิพย์ โดยตาหรือญาณของธรรมกายโสดาปัตติผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายทิพย์และทิพย์ละเอียด นี่ก็เป็นกิจอีก 4 แบบเดียวกัน   นี่กิจ 4 สอง-สี่ เป็น 8 แล้ว

    เมื่อญาณหรือตาของธรรมกายพระสกิทาคามิผลนั้น  พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด อีกต่อไปแบบเดียวกัน   ธรรมกายพระสกิทาคามิผลก็จะตกศูนย์   ธรรมกายพระอนาคามิมรรคจะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องต่ำอีก 2 คือ ปฏิฆะและกามราคะ  รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แล้ว ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอนาคามิผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่าง  เข้าผลสมาบัติไปแล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์แบบเดียวกัน  นี่เป็นเสร็จกิจอีก 4 เป็นกิจ 12 แล้ว

    เมื่อใจของธรรมกายพระอนาคามิผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายของอรูปพรหมหยาบ-อรูปพรหมละเอียด ต่อไปอีกแบบเดียวกัน  เห็นแจ้งในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ มีอาการ 12  แล้วก็จะตกศูนย์   ธรรมกายพระอรหัตตมรรคก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ได้หมดสิ้นโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน  รวมเป็นปหานหรือละสังโยชน์ 10 (เบื้องต่ำ 5 และเบื้องสูง 5) แล้ว ธรรมกายพระอรหัตตมรรคจะตกศูนย์   ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่างเข้าผลสมาบัติไป แล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์เพียง 4 คือพิจารณาเฉพาะกิเลสที่ละได้หมดไปแล้ว (ทั้งหมด) คือสังโยชน์ 10 (ทั้งเบื้องต่ำเบื้องสูง)  พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณาพระนิพพาน  เห็นแจ้งทั้งสภาวะนิพพาน ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว  ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน

    “ธรรมกาย” ที่ตรัสรู้อริยสัจทั้ง 4 แล้วบรรลุมรรคผลนิพพาน นั้นแหละ  เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน  เป็นธาตุล้วนธรรมล้วนที่ไม่ประกอบ ด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่ชื่อว่า “วิสังขาร”   วิสังขารมี 2 ระดับ

    ระดับที่หนึ่ง คือพระนิพพานธาตุที่ละสังโยชน์ 10 และปล่อยวางอุปาทานในเบญจขันธ์ได้โดยเด็ดขาด  แต่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ คือ ยังไม่ตาย ชื่อว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    อีกระดับหนึ่งคือพระนิพพานธาตุ ที่เบญจขันธ์แตกทำลาย คือตายแล้ว ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    นี่พระนิพพานมี 2 ระดับ อย่างนี้

    พระอรหันต์ที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ ชื่อว่า ท่านได้บรรลุ “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ซึ่งเป็นวิสังขาร คือมีสังขารไปปราศแล้ว  คือ เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ตัณหา ราคะ เป็นเครื่องปรุงแต่ง เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม  เป็นธรรมธาตุที่ว่างเปล่าจากสังขารทั้งในขณะ  ยังเป็นๆ อยู่ ชื่อว่า “อัคคสูญ” คือเป็นเลิศ เพราะเป็นธรรมที่ว่างเปล่า จากตัวตนโลกิยะ และสิ่งที่เนื่องด้วยตัวตนโลกิยะ

    นั้นกล่าวคือ ท่านวางอุปาทานในเบญจขันธ์ ด้วยตัณหาและ ทิฏฐิเสียได้แล้ว ไม่เห็นเบญจขันธ์ อันเป็นตัวตนโลกิยะว่ามีสาระในความมีตัวตนที่แท้จริง จึงเห็นตัวตนโลกิยะหรือสังขารธรรมทั้งปวง  เป็นสภาพที่ว่างเปล่านั้น ท่านวางอุปาทานได้อย่างนั้น  เหมือนมะขามล่อน   ในส่วนของธรรมกายซึ่งบรรลุอรหัตตผลเปรียบเหมือนเนื้อมะขาม  ส่วนเบญจขันธ์ที่ท่านยังครองอยู่เหมือนเปลือกมะขามที่ล่อนไม่ติดเนื้อ  คือหากมีอะไรกระทบกระเทือนกาย ท่านก็ไม่มีทุกข์ที่ใจ นี่แหละคือ อาการของพระอรหันต์ ที่ท่านบรรลุพระอรหัตตผลโดยที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่

    วิสังขารอีกระดับหนึ่ง  คือเมื่อเบญจขันธ์แตกทำลายคือตายแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นเบญจขันธ์ของมนุษย์ ของเทพยดา หรือของรูปพรหม เช่น รูปพรหมในชั้นสุทธาวาสที่กำลังบรรลุอรหัตตมรรค บรรลุอรหัตตผลแล้ว  เมื่อจะต้องสิ้นชีวิตในชั้นที่สถิตอยู่   เบญจขันธ์รูปพรหมของท่านก็แตกทำลายคือตายเหมือนกัน   ในกรณีเช่นนี้ชื่อว่า ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพาน ด้วย “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”  มีแต่พระนิพพานธาตุคือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วล้วนๆ   เบญจขันธ์ตายแล้วนั่นแหละ ที่ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” คือพระนิพพานธาตุที่ไม่มีเบญจขันธ์ครองอยู่

    ความสูญสิ้นหมดไปอย่างนี้  หมดทั้งกิเลส ตัณหา อุปาทาน และตัวสังขาร  ได้แก่เบญจขันธ์ก็ไม่มี เพราะแตกทำลายไปแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า “ปรมัตถสูญ”  คือเป็นความสูญอย่างมีประโยชน์สูงสุด  เพราะความไม่มีสังขาร คือไม่มีทั้งเบญจขันธ์ และกิเลสตัณหาเครื่องปรุงแต่งทั้งปวง

    คำว่า “พระนิพพานธาตุ” หรือ “นิพพาน” เฉยๆ จึงหมายถึง ทั้งสภาวะนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพาน คือธรรมกายที่บรรลุพระ อรหัตตผลแล้ว

    พระอริยเจ้าที่ท่านบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ท่านอาจจะบรรลุทีละระดับๆ เป็นชั้นๆ ไป ตั้งแต่ พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิผล และพระอรหัตตผล    หรือในกรณีที่บุญบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมีของท่านเต็มแล้วเพียงใด ท่านก็สามารถจะ บรรลุมรรคผลนิพพานถึงระดับนั้นๆ รวดเดียวได้เลย โดยไม่ต้องบรรลุทีละขั้นๆ ก็ได้   และผลจิตหรือญาณของธรรมกายที่บรรลุอริยผลนั้น เป็นผู้พิจารณาพระนิพพาน และย่อมเห็นแจ้งทั้งสภาวะพระนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพานคือธรรมกาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมกายที่ บรรลุพระอรหัตตผลแล้วว่า มีสภาพเที่ยง (นิจฺจํ)  เป็นบรมสุข (ปรมํ สุขํ)  และยั่งยืน (ธุวํ)  มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน (อตฺตา) แท้  เพราะไม่ต้องแปรปรวน (อวิปริณามธมฺมํ)  ไปตามเหตุปัจจัย มีสภาพ คงที่ (ตาทิ) มั่นคง (สสฺสตํ) ยั่งยืน (ธุวํ) จึงไม่ต้องเคลื่อน (อจฺจุตํ) และไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดด้วย ก็เลยไม่ต้องเกิดเป็นธรรมฐิติ ดำรงอยู่ อย่างนั้น ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย (อมตํ) จึงเป็นบรมสุข และยั่งยืน ตลอดไป นี่สภาวะพระนิพพานเป็นอย่างนี้

    ใครเป็นผู้ทรงสภาวะพระนิพพานอย่างนี้?  ไม่ใช่เบญจขันธ์แน่นอน   เพราะเบญจขันธ์เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา   ต้องเป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน ก็คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเองนี่แหละ ธาตุล้วน ธรรมล้วน เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน เป็นตัวพระนิพพาน เลย

    สถิตอยู่ที่ไหน?  ไม่สถิตอยู่ที่ไหนๆ ในจักรวาลนี้ ในภพ 3 นี้ ในโลกใดๆ ก็ไม่มี  ที่ชื่อว่า “โลก” คือภพทั้ง 3  นี้อยู่ในจักรวาลนี้เท่านั้น จึงชื่อว่าโลก พ้นโลกไปเป็นพระนิพพาน  พระนิพพานกับโลกอยู่คนละส่วน   พระนิพพานนั้นพ้นโลก จึงชื่อว่า “โลกุตตระ” เป็นธรรมที่พ้นโลก จึงชื่อว่าโลกุตตรธรรม นั่นแหละพระนิพพาน  พระอรหันต์ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้นไม่เรียกว่าโลก   ไม่เรียกว่าภพ  เพราะไม่มีภพ  ไม่มีชาติ  ไม่มีการเกิดด้วยเหตุปัจจัย   ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุเหล่านี้ ชื่อว่า “อายตนะนิพพาน”  ที่มีพระพุทธดำรัส ในปาฏลิคามิยวรรค อุทาน นิพพานสูตรว่า  “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ...” แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย  อายตนะนิพพานนั้นมีอยู่...” เป็นต้น   คำว่า “อายตนะ (นิพพาน)” นี้  หลวงพ่อวัดปากน้ำมิได้บัญญัติขึ้นเอง   อาตมาไม่ได้พูดขึ้นเอง แต่เป็นพระพุทธดำรัสอยู่ในนิพพานสูตร  ไปดูได้ตั้งแต่นิพพานสูตรที่ 1 ไปทีเดียว  มีพระพุทธดำรัสว่าด้วยอายตนะนิพพาน  ว่าด้วยธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า อสังขตธรรม มีอยู่ในนิพพานสูตรทั้งนั้น

    เพราะฉะนั้นคำที่ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร  เรียกว่า นิพพานก็ได้”  นี่ก็เพราะพระโยคาวจรได้เจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ 4 ของแต่ละกาย ได้แก่ของกายมนุษย์   กายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม นี้ก็จัดเป็นกิจแต่ละ 4 แต่ละ 4 ก็เป็นกิจ 16 เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพานตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้   กล่าวถึงเสร็จกิจ รวบยอดของพระอรหันต์ก็เป็นกิจ 16 นี่แหละที่หลวงพ่อท่านกล่าว ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้”

    เพราะฉะนั้น นี่เป็นความลึกซึ้งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ  พระ มงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านกล่าวสอนไว้   ข้อความที่ท่านกล่าว แต่ละคำล้วนมีความหมายลึกซึ้ง หลวงพ่อท่านสามารถแสดงพระธรรมเทศนาโดยการยกพระบาลีขึ้นมาแสดง  ท่านสามารถแสดงรายละเอียดทั้งพระพุทธพจน์และคำแปล และทั้งแสดงวิธีปฏิบัติธรรม  พร้อมทั้งผลของการปฏิบัติธรรมด้วย  ซึ่งเป็นผล (ปฏิเวธธรรม) ที่พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติพระสัทธรรมที่ถูกต้องและตรงประเด็นตามพระสัทธรรม ของพระพุทธเจ้า   การแสดงพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยยกทั้งพระบาลีหรือพระพุทธพจน์ขึ้นแสดง แจกแจงคำแปลแต่ละคำๆ หรือแต่ละประโยค ก็แล้วแต่เหตุการณ์ พร้อมกับยกเอาผลของการปฏิบัติมาแสดงอย่างชัดเจนด้วย อย่างนี้ เห็นมีไม่มาก

    แต่ก่อน อาตมาเคยลังเลสงสัยในคำเทศน์ของหลวงพ่อฯ อยู่คำหนึ่ง ในหนังสือหลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น ที่ท่านแสดง ไว้ว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ทางนี้ทางเดียว ไม่มีสองทาง เป็น เอกายนมรรค”   ตอนแรกอาตมานึกลังเลสงสัยว่า ถ้าว่าจะนำไปพิมพ์เผยแพร่  สมัยนั้นอาตมาเป็นกรรมการที่ปรึกษาสภาสังคมสงเคราะห์ ก็คิดว่าจะนำหนังสือนี้ไปพิมพ์เผยแพร่ ก็เป็นห่วงกลัวว่า จะถูกเขาโจมตีว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นี่ จะเป็นทางนี้ทางเดียวได้อย่างไร จึงได้ไปปรึกษาหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร  ท่านบอกว่า “อย่าไปแก้นะ  คำของหลวงพ่อ  แก้ของท่านแม้เพียงคำเดียว ประเดี๋ยวเข้าเซฟนะ”

    “เข้าเซฟ” หมายถึงอะไร  ประเดี๋ยวค่อยไปถามผู้ถึงธรรมกายแล้ว  หรือปฏิบัติให้ถึงธรรมกายเองก็จะทราบว่า  มีโทษรุนแรงยิ่งกว่าตกอเวจีมหานรกอีก เพราะนี้เป็นคำจริง “ทางเดียวไม่มีสองทาง”   ท่านว่า ทางนั้นทางเดียว   เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้น คนอื่นเขาจะรู้สึกขัดข้องโจมตีว่า ถ้าอย่างนั้นคนอื่น สำนักอื่น ที่ปฏิบัติแบบอื่นก็ปฏิบัติไม่ถึงนิพพานซิ?

    ความจริงท่านพูดหมายความว่า ใครจะถึงนิพพานก็ต้องไปทางนี้ทางเดียว  ต้องมาทางนี้ คือ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้  เป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือตรงศูนย์กลางกาย  นี่เป็นที่เปลี่ยนวาระจิตเป็นประจำ  เพราะเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียด ของขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12   เพราะฉะนั้น  เมื่อจะบรรลุมรรคผลนิพพาน   “ใจ” ของแต่ละกาย หรือรวมหมดทุกกายนั่นแหละถึงธรรมกาย ดวงเดิม จะตกศูนย์   “ใจ” ดวงใหม่จึงลอยเด่นขึ้นมาตรงนี้  ใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงธรรมกาย  ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูไปจนถึงธรรมกายมรรค ผลนิพพานแต่ละระดับ ส่วนหยาบจะต้องตกศูนย์ตรงนี้   ส่วนละเอียดที่บริสุทธิ์ผ่องใสก็จะปรากฏขึ้นมาตรงนี้   จิตเกิดดับเปลี่ยนวาระจิตตรงนี้ วิญญาณดับและเข้ามรรคผลนิพพานก็เข้าตรงนี้จริงๆ    เมื่อท่านปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็จะถึงบางอ้อว่า   เออ! จะเข้าถึงธรรมกายนั้นก็ต้องดับหยาบไปหาละเอียด  หยุดในหยุดกลางของหยุด กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม   ส่วนหยาบจะตกศูนย์   ส่วนละเอียดจะปรากฏขึ้นใหม่ทับทวีไปอย่างนี้สุดละเอียดจนถึงธรรมกาย จนถึงธรรมกายมรรค ธรรมกายผล และธรรมกายนิพพาน   ด้วยอาการอย่างนี้   ตรงศูนย์กลางกายของกายในกาย  กลางของกลางๆๆๆ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของแต่ละกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานนี้เอง จึงเป็นเอกายนมรรค  เพราะเป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นธรรมในธรรมในส่วนโลกิยะไปจนสุดละเอียดถึงโลกุตตรธรรม  สุดละเอียดเข้าไปก็คือธรรมกายที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน

    ธรรมกายอริยมรรคก็จะตกศูนย์  ธรรมกายอริยผลก็จะปรากฏขึ้น ใสสว่างตรงกลางของกลางๆๆๆ  ตรงนั้น  จากศูนย์กลางกายสุดหยาบ จนถึงศูนย์กลางกายสุดละเอียดนั้นเอง   ส่วนหยาบเป็นมรรค   ส่วนละเอียดเป็นผล  มรรคและผลเกิดอย่างนี้ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด  จึงถึงมรรคผลนิพพาน  ตรงจุดศูนย์กลางกายแต่ละกาย สุดกายหยาบ กายละเอียด  กลางของกลางๆๆๆ และดับหยาบไปหาละเอียดนี้เอง

    แต่คนอื่นไม่รู้ไม่เห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงวาระจิตหรือภูมิจิต  ทุกอย่างเป็นที่ธาตุธรรม  ไม่ใช่เป็นที่ภายนอก ไม่ใช่เป็นที่ใจของกายมนุษย์อย่างเดียว  แต่ความบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น  ต้องเปลี่ยนวาระจิต คือเลื่อนภูมิจิตจากกายโลกิยะ สุดหยาบคือมนุษย์  ไปจนสุดละเอียด ของกายอรูปพรหม    จนเมื่อวิญญาณของอรูปพรหมดับ  ความบรรลุมรรคผลนิพพานจึงไปปรากฏเป็นที่ใจของกายธรรม  เป็นธาตุธรรมที่ละเอียด ที่บริสุทธิ์ นั่นแหละ เป็นธาตุธรรมที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นที่ไหน?  เป็นอยู่ที่กลางของกลาง  ศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของกายมรรคผล นิพพานนั่นแหละ

    ผู้ที่บรรลุอริยมรรคอริยผลในขั้นต่างๆ จะเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม  ใจต้องเปลี่ยนวาระ เปลี่ยนภูมิจิตตรงนั้น  เป็นที่อื่นไม่มี เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากกายสุดหยาบถึงกายสุดละเอียด คือถึง พระนิพพาน ทั้งพระนิพพานธาตุ ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน  ก็กลางของกลางตรงนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอายตนะนิพพาน ว่า “หาที่ตั้งมิได้”

    เพราะเหตุนี้นี่แหละ  คนที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตรงประเด็น  ตามทางสายกลางอย่างนี้  ก็เลยไม่เห็นนรก ไม่เห็นสวรรค์  ไม่เห็นนิพพานตามที่เป็นจริง   แต่ถ้าปฏิบัติตามทางสายกลางอย่างนี้  ก็จะ สามารถเห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นพระนิพพานตามที่เป็นจริงได้   แม้เห็นหมดทั้งจักรวาลตามที่อยู่ในคัมภีร์  ก็เห็นตามที่เป็นจริงได้  ไม่ว่าสิ่งนั้น จะเป็นทิพย์ หรือสุดละเอียดไปจนถึงพรหมโลก หรือสุดละเอียดไปจนถึงอายตนะนิพพาน ก็เห็นได้ตามพระพุทธดำรัส

    เพราะฉะนั้น การปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้   ถ้าปฏิบัติไปในแนวนี้  ความสงสัยต่างๆ จะค่อยๆ หายไปด้วยการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้  จนถึงที่สุดของผู้ที่บรรลุมรรคผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้   เพราะแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องตามทางสายกลางโดยทางปฏิบัติในกลางของกลางธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ของพระโยคาวจรที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้นนั่นแหละ   ไปจนถึงผู้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้น   การเปลี่ยนวาระจิตหรือเลื่อนภูมิจิต ก็ตรงกลางของกลางๆๆ  ตรงศูนย์กลางกายสุดกายหยาบกายละเอียด  จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานและถึงอายตนะนิพพานก็ตรงนี้แหละ

    ศูนย์กลางกายสุดกายละเอียดจนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพาน  ตรงนี้จึงเป็น “เอกายนมรรค”  เป็นทางเดียวไม่มีสองทาง  ด้วยประการฉะนี้   ส่วนอาการภายนอกอย่างอื่นนั้น เป็นเรื่องของอาการภายนอก   แต่การจะบรรลุมรรคผลนิพพานจริงๆ นั้น  บรรลุที่ธาตุธรรมที่เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ที่ผ่องใสที่บริสุทธิ์ที่สุดละเอียด ไปจนถึงเป็นใจของกายธรรม เรียกว่า “ธรรมกาย”   นั่นความเป็นจริงทางปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติเป็นอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น  คำถามนี้อาตมาจึงขอขยายความให้เห็นชัดเจน ว่า คำพูดของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำแต่ละคำนั้นมีค่าสูงที่สุด  ถ้าใครรู้จักพิจารณาและปฏิบัติไปตามแนวทางนี้ก็จะเห็นได้ชัดเจน  หรืออย่างน้อย ก็จะพอได้ประสบการณ์ที่คุ้มค่าที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,132
    ค่าพลัง:
    +70,497
    แนวทางแห่งสัมมาปฏิบัติ 2


    ผู้ปฏิบัติแม้ประสบผลสำเร็จเพียงแค่เศษธุลีของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ก็เข้าใจเรื่องนี้ได้แล้ว... ผู้ปฏิบัตินี่รู้แจ้งโลกแล้วยัง...ยัง แจ้งนิดเดียวเหมือนมีเทียนเพียงริบหรี่ ได้เห็นเท่านี้ ก็โอ...มันอย่างนี้เทียวหรือ เศษธุลีของหลวงพ่อวัดปากน้ำ และที่ท่านรู้อย่างนั้นมันจะแค่ไหน รู้ไปถึงทั่วทั้งจักรวาล ทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ ตลอดรู้ไปถึงพระนิพพาน ท่านไปเห็นสภาวะที่บรรลุคุณธรรมที่บริสุทธิ์์ เป็นธรรมที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมของพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า "ธรรมกาย"
    เพราะฉะนั้น ในยุคนี้อาตมากล้าพูดว่า ผู้ที่ศึกษาสัมมาปฏิบัติได้เข้าถึงคุณธรรมของพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้านั้นมีมากอยู่... แต่ที่แน่ๆหลวงพ่อวัดปากน้ำ ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพานของพระพุทธเจ้าได้เข้าถึงคุณธรรมที่นำไปสู่ความเจริญและสันติสุขตลอดไป
    ถ้าอย่างนั้นจะมีผู้ถามว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำบรรลุคุณธรรม เป็นพระอรหันต์แล้วซิ อย่าเพิ่งไปคิดตรงนั้น เพราะท่านไม่ได้พูด เราเป็นลูกศิษย์ก็ได้แค่คาดคะเน แต่เท่าที่คาดคะเนจากที่ได้ยินได้ฟัง ได้พอมีประสบการณ์บ้าง ท่านยังเป็นผู้บำเพ็ญบารมีที่ได้พุทธพยากรณ์แล้ว เที่ยงตรงต่อพระนิพพานแล้ว วิชชาช่วยให้เห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวธรรมและอริยสัจธรรมตามความเป็นจริงของหลวงพ่อท่านเจริญขึ้นมาก พอที่จะแนะนำสั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ปฏิบัติเพื่อความเข้าถึงรู้เห็นและเป็นคุณธรรมนั้น และเจริญต่อไปให้ถึงมรรคผลนิพพานได้
    ท่านก็เข้าถึงสภาวธรรมอันนี้และกำลังบำเพ็ญต่อไป แม้การบำเพ็ญบารมีโดยฐานะความเป็นมหาโพธิสัตว์เจ้าผู้ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว ก็ยังมีหลายระดับ ก็เชื่อว่าหรือเข้าใจว่าคุณธรรมของหลวงพ่อท่านอยู่ในระดับสูง
    เพราะเราปฏิบัติได้เพียงเศษธุลีของท่าน ก็ยังเข้าใจธรรมะได้เพียงนี้ และเชื่อมั่นว่าไม่ผิดที่พูดไปนี่...


    **คำสอนของพระเทพญาณมงคล(เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖)วัดหลวงพ่อสดฯ จ.ราชบุรี





    [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...