เวไนยสัตว์ และ อเวไนยสัตว์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ตั้งฉาก, 11 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    บัวสี่เหล่า
    บุคคลสี่จำพวก (ตามอุคฆฏิตัญญุสูตร)
    อุคฆฏิตัญญุสูตรและมโนรถปูรได้อธิบายบุคคล 4 จำพวก ไว้ดังนี้


    เวไนยสัตว์

    1. อุคคฏิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิเมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว
      เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที

    2. วิปจิตัญญู พวกที่มีสติปัญญาดี เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้
      รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม
      จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า
      เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป

    3. เนยยะ พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ
      เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ
      มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ
      มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธา
      ปสาทะ
      ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง

      อเวไนยสัตว์ ผู้ไม่อาจแนะนำสั่งสอนได้
    4. ปทปรมะ พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน


    <HR>บัวสี่เหล่า (ตามนัยสุมังคลวิลาสินี)
    อุคฆฏิตัญญู
    บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง

    วิปจิตัญญู
    บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร

    เนยย
    บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับ
    ด้วยความพากเพียรท่องจำ
    ด้วยการไต่ถาม
    ด้วยทำไว้ในใจโดยแยบคาย (น้อมจิตน้อมใจเข้าหา)
    ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร


    ปทปรมะ
    บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก!!!

    <HR>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2015
  2. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    สาธุ ใครอยากเป็นบัวเหล่าใดก็พิจารณาเลือกเอา ได้แต่ภาวนาว่ามนุษย์อย่าได้เป็นบัวโคลนตมเลย แค่ได้เกิดเป็นมนุษย์ก็ถือว่ามีบุญมากแล้วเมื่อมีโอกาสและยังมีร่างกายครบถ้วนแล้วยังมีบุญได้ฟังพระสัทธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่มีมิฉาทิธิเป็นบัวโคลนตมคิดดูว่าน่าเสียดายแค่ไหน ขอภาวนาสิ่งศักธิ์ทั้งหลายจงดลบันดาลจิตที่หลงผิดให้กลับตัวกลับใจมาปฏิบัติธรรมอย่าได้หลงตายเสียชาติเกิดเลย สาธุ
    ปล ขอโทษครับมีอีกข้อหนึ่งที่น่าเป็นหวงมากคือคนที่ไม่รู้ตัวแล้วอุปทานว่าตนเป็นยังงั้นยังงี้ด้วยมิจฉาทิธิถ้าเป็นประเภทนี้คงหมดทางเยียวยาได้เพราะหลงมัวเมาอุปทานในสิ่งที่ตนมีตนเป็นว่านั้นวิเศษเหนือมนุษย์ธรรมดาทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้เที่ยวอวดอ้างตนเพื่อหวังคำสรรเสริญและอามิสสินจ้างไม่ค้นคว้าใช้สติและปัญญาค้นหาพระอริยสัจ4ตามทางที่พระพุทธองค์สั่งสอนพาเอาเหล่าอื่นหลงตามกันไปโดยไม่รู้ตัวนี่แหละที่อันตรายที่สุด น่ากลัวที่สุด ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีปัญญาในการพิจารณาก่อนจะเชื่อหากสิ่งนั้นพระพุทธองค์มิได้ตรัสไว้หรือตรัสห้ามไว้แล้วก็จงถอยออกมาแล้วดำเนินไปตามทางที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ด้วยเถอญ สาธุ
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มหาตัณหาสังขยสูตร

    ว่าด้วยสาติภิกษุมีทิฏฐิลามก(ในเรื่องวิญญาณ)


    [๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

    สมัยนั้น ภิกษุชื่อสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร(บุตรชาวประมง) มีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น.

    ภิกษุมากด้วยกันได้ฟังว่า ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น

    จึงเข้าไปหาสาติภิกษุแล้ว ถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

    (กล่าวคือ สาติภิกษุมีความคิดความเข้าใจผิดด้วยอวิชชาไปว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าวิญญาณ เป็นไปในลักษณะของเจตภูตที่สามารถท่องเที่ยวล่องลอย หรือในสภาพอัตตาหรืออาตมัน หรือในสภาพของปฏิสนธิวิญญาณนั่นเอง แล้วยึดมั่นถือมั่นในความเชื่อความเข้าใจอย่างนี้ของตัวของตนด้วยกิเลสอย่างเหนียวแน่นไม่ปล่อยวางหรืออุปาทานนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้ไม่ฟังเหตุผลจากภิกษุอื่นที่พยายามช่วยเหลือแก้ไขทิฏฐิอันเห็นผิดนี้ หรือเมื่อฟังก็ฟังอย่างดื้อดึงคือไม่ยอมพิจารณาอย่างเป็นกลางมีเหตุมีผล เห็นเป็นไปตามความเชื่อของตัวตนแต่ฝ่ายเดียว ดังที่เธอได้ตอบยืนยัน)

    เธอตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า

    วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่นดังนี้ จริง.

    ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นจึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า

    ดูกรท่านสาติ ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค

    การกล่าวตู่ พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย

    ดูกรท่านสาติ (ความจริงแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า)วิญญาณอาศัย ปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น

    พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี.

    (หรือกล่าวชัดๆก็คือ วิญญาณเป็นสังขาร จึงเกิดมาแต่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ดังจักได้สดับในลำดับต่อๆไปในพระสูตรนี้)

    ภิกษุสาติ ผู้เกวัฏฏบุตร อันภิกษุเหล่านั้น ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่อย่างนี้ ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง

    กล่าวอยู่(แต่อย่างเห็นผิด)ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า

    วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้.



    ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ

    [๔๔๑]เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นได้
    จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า
    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น

    ครั้งนั้น พวกข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุแล้วถามว่า

    ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ เกิดขึ้นว่า

    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
    วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

    เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวกข้าพระองค์ว่า

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า

    วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง

    ในลำดับนั้น พวกข้าพระองค์ ปรารถนาจะปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น

    จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนว่า ดูกรท่าน สาติ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค

    การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย

    ดูกรท่านสาติวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก

    ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัยมิได้มี(หมายถึงไม่มีเหตุปัจจัยก็เกิดไม่ได้อย่างเด็ดขาด)

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุอันพวกข้าพระองค์ซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่ แม้อย่างนี้

    ก็ยังยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นรุนแรง กล่าวอยู่(แต่)ว่า

    ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึง ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า

    วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริง

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกข้าพระองค์ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิอันลามก นั้น

    จึงมากราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค.

    [๔๔๒]ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาแล้วตรัสว่า

    ดูกรภิกษุ เธอจงมา เธอจงเรียกสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร ตามคำของเราว่า

    ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หา ท่านภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว

    จึงเข้าไปหาสาติภิกษุ แล้วบอกว่า ดูกรท่านสาติ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน.

    สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า

    เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า

    วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

    สาติภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า

    วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.

    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร?

    สาติภิกษุทูลว่า สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดี ทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.(อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ)

    (เป็นความเข้าใจในลักษณะของเจตภูตที่สามารถท่องเที่ยวล่องลอยไปแสวงหาที่เกิด หรืออัตตา(อาตมัน) หรือปฏิสนธิวิญญาณ อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ)

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรโมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ ที่เราแสดงแก่ใครเล่า(หมายถึงท่านไม่เคยแสดงธรรมเยี่ยงนี้เลย)

    ดูกรโมฆบุรุษ (ที่เราตถาคตกล่าวแสดงไว้มีดังนี้ คือ)วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น

    เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

    ดูกรโมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย

    จะประสพบาปมิใช่บุญ มากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

    ดูกรโมฆบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษ ไม่เป็นประโยชน์ (แต่เป็นไป)เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.



    ตรัสสอบถามเรื่องสาติภิกษุผู้มีความเห็นผิดนั้น

    [๔๔๓]ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกเธอจะ สำคัญความนั้นเป็นไฉน

    สาติภิกษุผู้เกวัฏฏบุตรนี้ จะเป็นผู้ทำความเจริญในพระธรรมวินัยนี้บ้าง หรือไม่?

    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้จะมีได้อย่างไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

    เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลอย่างนี้แล้ว สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร นั่งนิ่ง กระดาก คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ.

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตร มีความเป็นดังนั้นแล้ว จึงตรัสกะเธอว่า

    ดูกรโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนนั้น เราจักสอบถามภิกษุ ทั้งหลายในที่นี้

    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว

    เหมือนสาติภิกษุ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญ มากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว ดังนี้หรือ?

    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า เพราะวิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น

    พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแก่พวกข้าพระองค์ โดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดีละ พวกเธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงอย่างนี้ ถูกแล้ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น

    เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

    ก็แต่สาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรนี้ กล่าวตู่เราด้วย ขุดตนเสียด้วย

    จะประสพบาปมิใช่บุญ มากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

    ความเห็นนั้นของโมฆบุรุษนั้น จักเป็นไปเพื่อโทษ ไม่เป็นประโยชน์ (แต่เป็นไป)เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ข้อสอบเข้า บัวสี่เหล่า :

    อ่านพระสูตรข้างต้น แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้

    1. วิญญาณ คือ

    [ ] ก. ชีวิตสัตว์ที่ล่องลอยหาที่เกิด ไม่มีวันจบสิ้น แม้นละกิเลส อาสวะ ละขันธ์5 ได้ก็ตาม
    [ ] ข. ธาตุที่อาศัยเหตุปัจจัย ทำให้เกิดขึ้น มีขึ้น หาก ขาดปัจจัย หรือ ทำอาสวะให้สิ้น วิญญาณจะตั้งขึ้น อุบัติขึ้นลอยๆ ไม่ได้อีก
    [ ] ค. ก ก็ได้ เอาไว้รอสวดข้ามปี ของคนไม่ปรารภความเพียรเข้านิพพาน แต่ ปรารภความเพียรอย่างเต่า ปู ปลา
    [ ] ง. ออกไปดูก่อน
     
  5. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ปทปรมะ
    บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้น แม้เรียนมาก ทรงไว้มาก สอนเขามาก!!!


    vyoouhlesiy[mjko

    คิคิ
     
  6. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ไม่รู้ตัว ไม่ฟังคำท่านทานไว้
    มีสุภาษิต ภาษาอังกฤษ ว่าไว้

    เปรียบเหมือนคน ปิดตา ปิดหู ตัวเอง
    คนพวกนี้ มีความกลัว อยู่เบื้องลึก เลยสร้างเกราะ มาปกป้อง (ไม่ใช่ตัวเอง แต่ซ่อนและปกป้องความกลัวของตัวเอง เอาไว้)
    พวกนี้จะมีคติอยู่ว่า "กูไม่ต้องฟังใคร" แต่ "พวกมึงสิต้องฟังกู" แล้วมันจะพล่ามทั้งวันทั้งคืน อยู่แบบนั้นแหละ เรียกว่า เมาตัวหนังสือ
    ยังมีคนโง่ยิ่งกว่าพวกนี้อีก ที่ไปฟังมัน
    เคยได้ยินผู้ใหญ่เปรยว่า คนโง่คุยกับคนโง่ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นเนี่ย!!! ฉิบหาย หนะซี้

    เมื่อใด ที่มี โยนิโสมนสิการ แม้เพียง เท่าเม็ดฝน เมื่อนั้นก็จะถึงวาระของเขา

    (ตัวอย่างในนี้ คงเห็นอยู่เยอะ อะนะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2015
  7. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    คำตอบน่าจะคือ ข้อ ข. เพราะตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ วิญญาณ คือ ธาตุรู้(ไปไล่ดูในสายปฏิจสมุปบาท) เกิด-ดับ ตลอดเวลา ดวงหนึ่งเกิด ขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ตลอดวันตลอดคืน และ พระองค์ ยังบัญญัติว่า จิต, มโน , วิญญาณ นั้นเป็นสิ่งเดียวกัน แต่สิ่งที่ ท่องเที่ยว ไปในสังสารวัฏ คือ สัตตานังไม่ใช่วิญญาณ
     
  8. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    ๒. สัตตสูตร
    ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์
    [๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
    ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
    หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ

    เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
    ในรูปแล
    เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่า สัตว์.


    เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
    ในเวทนา ...
    ในสัญญา ...
    ในสังขาร ...
    ในวิญญาณ
    เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้องในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.


    ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่น
    ทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก
    ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก
    ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น
    ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น.

    ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความ
    กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน
    กระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือ
    เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้
    ด้วยมือและเท้า ฉันใด

    ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้
    เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนา
    ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ
    สัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด
    จงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง
    จงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้น
    นั่นเทียวแล.

    ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.

    จบ สูตรที่ ๒.
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๔๔๓๓ - ๔๔๕๙. หน้าที่ ๑๙๒ - ๑๙๓.



    <HR>

    ใครคือผู้ข้อง?
    อะไรคือผู้ข้อง?



    อิอิ เละ และสับสบ ช่ายยย ม้า
    เพราะ ลำดับ สมมุติผิดกาล!!! เอาปลายไปอยู่ต้น เอาต้นไปอยู่ปลาย เอาทั้งต้นทั้งปลายไปอยู่ที่เดียวกัน มันจะหาคำตอบเจอได้ไง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กุมภาพันธ์ 2015
  9. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    อุปปาทานว่านี้คือเรา หรืออุปปาทานว่านีคือคนอื่นๆ รูปนามอื่นๆ
    อุปปาทานว่ารูปนามอื่นๆยัดเยียดขันธ์ห้าให้เรา
     
  10. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    วิญญาณขันธ์หรือตัวรู้จะผิดเสมอมันจะไม่เคยถูกเลย
    วิญญารขันธืจะต้องอาศัยสังขารขันธ์สองจังหวะเสมอ
    ประกอบด้วยคิดเกินเลย กะคิดไม่ถึงวิ่งแข่งกัน
    วิญญาณขันธ์คือตัวที่เลือกผิดเสมอ
    ถ้าจะตั้งเวลาให้ตรงกัน ตัวรู้หรือวิญญาณขันธ์จะไปเกิน กะไปไม่ถึงเสมอ
    นี่คือธรรมชาติของตัวรู้

    ตัวรู้ทุกตัวในจักรวาล มีสภาพอย่างนี้ทั้งสิ้น
     
  11. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ประกอบด้วย
    สัตว์(คิดเกินเลย)->สัตว์(คิดไม่ถึง)
    สองสัตว์ อุปปาทานว่านี่คือเราคือเขา
    ฝูกโยงกันไว้ด้วยราคะ และฉันทะ
    ตัวหนึ่งแกล้งมีกำลังมากแกล้งถ่วงไม่ยอมเคลื่อนที่
    อีกตัวหนึ่งอ่อนกำลังเหลือทน ทุรนทุรายลากให้เคลื่อนที่
    เกิดตัวรู้
     
  12. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เมื่อเราเทียบเวลาดู
    จิตกะเจตสิก จะต้องเกิดพร้อมกัน<-เทียบเวลา
    มีแนวโน้มว่า จิตกะเจตสิกต้องมีการประกอบตัวกันถึงอุปปาทาน
    เพราะสองคิด มันเกิดพร้อมกัน

    เป็ฯการสุมขึ้นมาของสองคิดที่เหมือนกันพร้อมกัน
    คืออุปปาทาน เพราะพร้อมกัน
    มันเทียบเวลาได้
    สองคิด พร้อมกัน
    คืออุปปาทาน
     
  13. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    เพราะตำราดันเขียนไว้ว่าจิตกะเจตสิก เหมือนกันเด๊ะๆ
    แถมเกิดพร้อมดับพร้อม
    ไม่มีคิดใดในจักรวาลใดเกิดขึ้นพร้อมกันได้
    ในขณะหนึ่งๆ คิดเกิดขึ้นได้แค่อันเดียวสิ่งเดียวเท่านั้น

    การเกิดก็พร้อม แถมเหมือนกัน แถมดับพร้อม
    คือสามภพ สามภะวะ
    คิดเกินเลย คิดถึง คิดไม่ถึง
    ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
    นารายณ์ขว้างจักรตรึงสามภะวะ
    เกิดชาติและภพแล้ว
    เพราะต้องเกิด
     

แชร์หน้านี้

Loading...