จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]


    "อย่าสนใจสิ่งใดมากยิ่งกว่าธรรมภายในใจ ให้ดูจิตใจตัวเอง
    อย่าไปเที่ยวดูเรื่องคนอื่นคนใด เป็นความเสียหายไม่ดีเลย
    อย่าไปเห็นแต่โทษคนนั้นโทษคนนี้ มันมีโทษด้วยกันทุกคน
    กิเลสเป็นตัวสร้างโทษสร้างกรรม มีด้วยกันทุกคน"

    โอวาทธรรม
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    Cr..Fb ปัจจัตตังเวทิตัปโพ
     
  2. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    "การปฏิบัติกับอารมณ์ที่มากระทบ"

    ถาม : ต้องทำอย่างนั้นอยู่เสมอหรือเปล่าคะ ?
    ตอบ : ความจริงต้องเป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดเวลา แต่อันนั้นหมายถึงว่าเราแพ้มันไปแล้วนะ การที่เรากระทบกับสิ่งที่ไม่ดีไม่ชอบใจแล้วเราทุกข์กับมัน กระทบกับสิ่งที่ดีเป็นที่ชอบใจแล้วไปสุขไปฟูอยู่กับมันแพ้มันไปแล้วทั้งคู่ แต่ยังดีที่คิดทัน เขาเรียกว่ายังพอมีสติรู้เท่าทันอยู่ ยังเหยียบเบรกได้บ้าง คราวนี้จะทำอย่างไร คือใจของเราต้องพยายามทำให้มั่นคง ไม่ยินดียินร้ายอะไรง่าย ๆ พวกเราทำงานทางโลกนี่สังเกตได้ง่ายที่สุดเวลาที่เรากระทบกระทั่งกันในวงงาน ถ้าใจฟูหรือฟุบใช้ไม่ได้ สำคัญอยู่ว่าจะทำอย่างไรให้ทรงตัว

    ถาม : ทำได้ถึงขนาดพอรับรู้กระทบปุ๊บ รู้สึกอย่างนั้นเลยหรือคะ ?
    ตอบ : พูดง่าย ๆ ว่าตัดมันตั้งแต่แรก พอตัดตั้งแต่แรก สิ่งที่เข้ามากระทบเราส่วนใหญ่คือเข้ามาทางอายตนะ คือสิ่งที่เป็นสื่อรับ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็รับเข้ามาในใจให้เกิดอารมณ์ขึ้นมา อารมณ์ที่เกิดขึ้นก็จะมีสุข มีทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ คราวนี้ทำอย่างไรจะทำให้ปัญญาของเราแหลมคม สติของเราเท่าทันแล้วหยุดมันเอาไว้ได้ ปัญญาแหลมคมคือเห็นโทษไม่ว่าจะสุขจะทุกข์ก็ตาม
    ถ้าเรารับเข้ามาในใจอารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้คือไม่เที่ยง เรารับอารมณ์ความสุขเข้ามาจริง ๆ คืออารมณ์ที่ทุกข์น้อย ขณะเดียวกันรับอารมณ์ที่เป็นความทุกข์เข้ามา ก็สร้างความลำบากให้กับตัวเราเอง ทำอย่างไรที่เราจะรู้เท่าทันแล้วหยุดให้ทันตั้งแต่ตอนแรก คือพอตาเห็นแล้วใจต้องไม่ปรุงแต่ง หูได้ยินต้องไม่ปรุงแต่ง จมูกได้กลิ่นใจต้องไม่ปรุงแต่ง ลิ้นได้รสใจต้องไม่ปรุงแต่ง กายสัมผัสใจต้องไม่ปรุงแต่งกับมัน ถ้าปรุงแต่งก็จะเลือกว่าชอบหรือไม่ชอบ ชอบนี่เป็นอิฎฐารมณ์ คืออารมณ์ที่น่าพอใจ เกี่ยวเนื่องด้วยราคะ ไม่ชอบเป็นอนิฎฐารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่ชอบใจไม่พอใจเกี่ยวกับโทสะ กินเราทั้งขึ้นทั้งล่อง ถ้าสติเท่าทัน ปัญญาแหลมคมพอก็จะหยุดได้ทันที เหมือนอย่างกับที่ว่า
    เออ...ถนนขาดหรือว่าจะลงเหวแล้ว เราเบรกรถได้ทันก่อนที่จะถลำ
    ลงไป แต่ถ้าถลำลงไปแล้วรู้ตัวพลาดไปแล้ว รถพังยับเยินแล้ว ก็ตะเกียกตะกายขึ้นมาเถอะ แล้วคอยระวังอย่าให้พลาดโค้งต่อไป

    ถาม : เพราะเราอยู่ในช่วงฝึกปฏิบัติหรือคะ บางครั้งแบบอารมณ์ตรงนั้นผ่านไปแล้ว เหมือนกับคิดได้ว่าไม่ถูกต้อง ดึงกลับมาแต่ว่าช้าไปแล้วค่ะ ?
    ตอบ : อันนั้นถือว่ายังไม่ขาดทุนทีเดียวจ้ะ อย่างน้อย ๆ เราไม่ได้ตามเตลิดเปิดเปิงไปหลายกิโลกว่าจะรู้ตัว

    ถาม : พอเราปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่ง สมมติว่าเราไปพบกกับเหตุการณ์ต่าง ๆ มาเราจะเฉยไปเลย ?
    ตอบ : แต่ขณะเดียวกัน ถ้าอยู่กับโลก
    เปลือกนอก เราก็จะยินดีตามมัน แต่ว่าไม่ต้องไปคล้อยตามเขา วันก่อนไปกราบหลวงพ่อสมเด็จที่วัดสระเกศ คราวนี่อาจารย์เอเขาพาเพื่อน ๆ ที่ปฏิบัติอยู่ทางฟากโน้นมากัน ๔ คน ๕ คน ท่านนำทีละคน ๆ ปรากฏว่าดันเป็นพวกเก่า ๆ ที่คุ้นเคยกัน เพราะเขาทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ เราก็ถามเขา “อยู่ตึกไหน อยู่ศูนย์ไหน ?” เขายังแปลกใจ บอก “อาตมาเป็นทหารบกไม่เคยใช้บริการโรงพยาบาลพระมงกุฎ” เลย เข้าโรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลทหารเรือ โรงพยาบาลภูมิพลฯ” คุยไปคุยมาเขาชี้ว่าคนนี้เพิ่งถูกรางวัลที่ ๔ มา ๑๐ ใบ
    เราก็ “เออ...ยินดีด้วยนะ แล้วไปไกล ๆ ไม่ต้องมาใกล้ ๆ หรอก” เขาถามว่า “ทำไม ?”
    “กลัวมันให้ตังค์” เพราะของเราถ้าได้สตางค์แล้วต้องทำงาน มันเหนื่อย
    แต่เปลือกนอกของเราก็ยินดีกับเขาด้วย แต่พูดเป็นเรื่องสนุกว่าไปไกล ๆ เลย ไม่ต้องมาใกล้หรอก
    เปลือกนอกเป็นไปตามโลกเขา แต่จิตใจของเราเหมือนสภาพของน้ำบนใบบอน คือเกลือกกลั้วอยู่กับโลกได้ แต่ไม่ข้องติดอยู่กับโลก
    สังเกตน้ำที่กลิ้งบนใบบัวบอน มันไปของมันเรื่อย ๆ ว่าไปแล้วมันมีเครื่องป้องกันแล้ว

    ทำอย่างไรจะทำให้เราเป็นผู้มีเครื่องป้องกันบ้าง ก็จะต้อง มีศีล มีสติ มีปัญญา
    ๐ ศีลเป็นเกราะที่จะป้องกันไม่ให้กายวาจาใจของเราล่วงล่ำก้ำเกินมากเกินไป อย่างน้อย ๆ ควบคุมกายกับวาจาได้
    ๐ สติคุวบคุมได้ทั้งกายทั้งวาจาโดยเฉพาะควบคุมใจ
    ๐ ปัญญา ในเมื่อรู้แล้วว่าอันไหนเป็นโทษอันไหนไม่มีโทษก็จะเลือกทำอันที่ไม่มีโทษ
    แล้วก็จะละอันที่มีโทษซะ ต่อไปก็เหลือแต่ดีโดยส่วนเดียว พอดีถึงที่สุดก็พ้นไป


    พระครูวิลาศกาญจนธรรม

    (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)

    วัดท่าขนุน ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี


    Cr.. Fb บ้านแสงแก้ว สู่พระนิพพาน/ Fb Nooboonsawan
     
  3. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]

    12 สิงหา มหาราชินี
    แม่หลวงของปวงชนชาวไทย


    ชนชาวไทยทั่วหล้า ยินดี
    องค์พระราชินี เพริศแพร้ว
    ทรงปราดเปรื่องเรืองศรี เคียงคู่ ราชัน
    เป็นมิ่งขวัญไทยแล้ว เลิศล้ำนำชัย

    ไทยพสกแซ่ซร้อง สรรเสริญ
    พระแม่ทรงดำเนิน ทั่วแคว้น
    ทรงเจิดแจ่มจำเริญ โดดเด่น งามพักตร์
    เป็นดั่งทองสุกแม้น เหนื่อยล้าทรงงาน

    ขานนามองค์แม่ผู้ ปราณี
    เราต่างแสนเปรมปรีด์ เทิดไท้
    ธ ทรงแผ่บารมี ไกลทั่ว แดนสยาม
    ลูกต่างก้มกราบไหว้ แม่ฟ้าหลวงไทย

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญตลอดไป...
    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

    สมาคมจิตเกาะพระ
    ((จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ))
     
  4. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444


    @ ส ง บ สุ ข ภ า ย ใ น

    อ ย่ า ไ ป ต า ม ห า ค ว า ม ส ง บ จ า ก ที่ อื่ น กั น อ ยู่ เ ล ย
    เพราะความสุข ความสงบ ความสงัด ก็อยู่ภายในจิตของตนเอง
    ว่าแต่ว่า จะตามหากันเจอไหมเท่านั้นเอง

    คนส่วนใหญ่หาไม่เจอ ก็เพราะว่า หลงตามสุข-สงบ-สงัด จากที่อื่น
    ที่มิใช่ จิตตนเอง

    ถ้าคนหาเจอแล้ว ก็จะไม่ไปหาที่อื่นๆแล้ว
    เพราะความสุข ความสงบ ควาสงัด ภายนอกจิต จะไม่มีประโยชน์แล้ว

    ความสุขของคนทางโลก ก็คือ เป็นผู้ได้รับ
    แต่ความสุขของคนทางธรรม ก็คือ การให้ ให้อย่างเดียว ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ

    ความสุขของนักภาวนา นอกจาก สุขอันเกิดจากสมาธิ เกิดจากฌานแล้ว
    แต่ยังมีความสุขสงบสงัดสูงสุด ก็คือ ก า ร ป ล่ อ ย ว า ง

    วัตถุประสงค์สูงสุดของพระพุทธศาสนา ก็คือ การหลุดพ้น คือ
    ๑.พ้นจากกองทุกข์ตนเอง
    ๒.พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดตนเอง

    เพราะฉะนั้น นักภาวนาทั้งหลาย ปฎิบัติธรรมก็เพื่อ ล ะ...ป ล่ อ ย ว า ง
    ไม่มีผู้ใดมาบอกกับท่านว่าให้ปล่อยวาง แต่ท่านต่างหากที่จะต้องปล่อยวางเอง
    ส่วนผู้ที่จะปล่อยวางก็คือ จิต
    แต่จิตปุถุชนหรือคนธรรมดานั้น ปล่อยวางไม่ได้ เพราะมีสติปัญญาไม่เพียงพอ
    สติคนธรรมดาไม่มีหรอ ตอบว่า..มี แต่ไม่เพียงพอที่จะตามดูจิต ตามรู้จิตตนเอง
    ปัญญาคนธรรมดาไม่มีหรอ ตอบว่า..มี แต่ไม่เพียงพอที่จะละปล่อยวาง
    เพราะปัญญาที่จะช่วยให้จิตคนเราปล่อยวางได้นั้นก็คือ ภาวนามยปัญญา
    (ปัญญาที่มาจากการภาวนา เท่านั้น)

    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ..สาธุ

    ภู ท ย า น ฌ า น
    13/08/14

    Cr..Fb/Group จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2014
  5. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ของฝากจาก FB/Group จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ...

    Phu Bodin คนกำลังเดินมรรคก็เปรียบเสมือนนักท่องเที่ยว เที่ยวดูนู้นดูนี่ แวะนู้นแวะนี่
    ไปตามประสาของคนที่ยังมีคำว่า อวิชชา...
    คนที่เขาได้ผล คือผลจากมรรค คือได้จากการปฎิบัติ ก็เปรียบเสมือนคนที่เที่ยวเตร่มาก่อน
    แต่ตอนนี้ท่านพักครึ่งทาง ใกล้พักถาวรแล้ว เลิกดูนู้นี่ เลิกสนใจนู้นนี่ เลิกแวะนู้นนี่
    ผู้คนเหล่านี้ จึงเหนื่อยไม่เท่ากับผู้กำลังทางใหม่ๆ หรือระหว่างเดินทางแห่งมรรคา
    เพราะเมื่อก่อน ธรรมชาติแห่งจิต ทุกๆดวงนั้น อยากรู้ อยากเห็น
    ขอให้นึกซะว่า นี่คือธรรมดาแห่งจิตหรือวิญญาณของสัตว์โลกนี้ทั้งสิ้น เหมือนกันหมด
    เริ่มตั้งแต่หยาบๆก็คือ รักตัวกลัวตายกันหมด หากผู้ใดฝึกจิตมาดีก็ไม่มีปัญหากับคำเหล่านี้แล้ว
    มุ่งหน้าเดินต่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทางแห่งมรรคานั่นก็คือ พระนิพพาน
    ค่อยๆทำ ค่อยๆทิ้งหรือปล่อยวาง
    ขอให้พยายามเจริญสองตัวนี้เท่านั้น
    ๑.สติ
    ๒.ปัญญา
    หากสองตัวนี้ไม่ไปถึงไหน ใครพูดธรรมอะไรก็งั้นๆแร๊ะ คือรู้มั่ง ไม่รู้มั่ง คอยจะคิดเข้าข้างตนเองตลอดเวลา
    ระวังคนที่ติดทั้งหลายแหล่ะ เช่น ติดบุญ ติดสมาธิ ติดฌาน
    ติดปัญญา คือชอบจะสอนแต่ผู้อื่นหรือใครเขา สำคัญตนบรรลุธรรม
    หากจะไปพระนิพพาน ..อะไรที่จิตเราชอบนี่ให้วางอันดับแรกสุดเลย เช่น บุญ หรือ ธรรม
    มีโอกาสให้ทำไป ก็ทำไป แต่มิให้จิตหรืออารมณ์จิตตนไปยึดเท่านั้นพอ มิได้ปฎิเสธ มิให้เอาหรือรับ โปรดอย่าแปลความหมายหรือเจตนาผมผิดๆ เพราะไม่เคยพูดคุยกัน ตัวต่อตัว

    ก็เลยพลาดพลั้ง คือเข้าใจผมผิดไป ไม่เป็นไร ตรงนั้นผมไม่ได้ยึดหรือเน้น ...
    จะมุ่งเน้นก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ ให้พวกเรามีกำลังใจมากขึ้น หรือบุญบารมีมากขึ้น
    อย่าหยุด ลมหายใจหมดค่อยหยุด เพราะไม่หยุดก็ต้องบังคับกันอยู่แล้ว เอาดีในชาตินี้ให้ได้ พยายามเอาปัญญากรองใน สติกรองนอกให้ดี ถามตนเองบ่อยๆดูสิว่า..
    มีธรรมอันใดเป็นของตนบ้าง อะไรที่มันใช่ตนเองบ้าง เห็นไหม หากทำจิตนิ่ง+นานๆแล้ว
    จึงรู้ชัด รู้แจ้งเอง
    คนที่ฝึกจิตมาดี คือต้องฝึกให้ชิน หากจิตนิ่งเป็นปรกติของตนแล้ว
    คำว่า หลงไปตกอยู่ในโลกแห่งความคิด หรือปรุงแต่งแทบจะไม่มีเลย..

    สาธุ (หมดเวลา)...เดี๋ยววันหน้า จะมาพูดพื้นฐานของการปฎิบัติ..เรื่องสติ
    ธรรมในจิตมันผุดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อคืน(นอนหลับ)..ดีมากเลย
    อยากให้ทุกคนรับทราบ ไม่ทราบว่าจะลืมไหม หากลืมก็รอป้ายหน้าใหม่เน๊อะ ไม่เป็นไร
    เพราะสัญญาดิบปิ๊ง...อยู่เฉพาะธรรมปัจจุบันจนเคยชิน..

    พี่ภู

    13/08/14
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2014
  6. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Vgw7m0z2BFc]เพลงบรรเลงธรรมะชุด ดอกไม้ให้คุณ - YouTube[/ame]

    จิตรู้ตื่น.. รู้เบิกบาน..
     
  7. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444


    ~ห ย า บ ~*|*~ ล ะ เ อี ย ด~

    กว่าเราจะมารู้จัก คำว่า ละอียด เราต้องพบเจอ คำว่า หยาบมาก่อน
    เช่น กว่าจะเป็นผงหรือฝุ่น ก็มาจากก้อนหิน ก้อนดินมาก่อน

    ผู้ปฎิบัติธรรมก็เช่นกัน กว่าจะพบเจอ คำว่า ปัญญา ปัญญาญาณ
    ปัญญาในที่นี้ หมายถึง ภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่ได้จากภาวนา)
    เราต้องเจริญสติให้มากๆ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    เจริญสติภาวนา หมายถึง การสร้างสติ หรือทำความรู้สึกตัวบ่อยๆ เนื่องๆ

    ความละเอียด ความลึกซึ้งของจิตแต่ละคน จึงไม่เท่ากัน ต่างกันไป
    แต่ก็ไม่เป็นไร เรื่องจิต ฝึกฝนกันได้ ซึ่งจะมีขบวนการของมันอยู่
    การปฎิบัติธรรม นอกจากจะรักษาศีลของใครของมันแล้ว
    การลงมือปฎิบัติในส่วนภาคสนามนี้ก็คือ การเริ่มต้นที่กองกรรมฐาน
    กองใดกองหนึ่งก็ได้ เลือกเอาตามจริตตน
    นี่ก็คือ การเริ่มต้น การนำจิตตนมาฝึกฝน ฝึกจิตตนเองให้มันนิ่งเป็น
    ยิ่งจิตนิ่งนานเท่าใด ก็ยิ่งดีใหญ่ เพราะอานิสงส์ของคำว่าบุญภายในมันอยู่ที่ตรงนี้
    ก็คือ การทรงสมถะ ทรงสมาธิหรือทรงฌาน แต่พึ่งระมัดระวังสำหรับผู้ปฎิบัติใหม่
    เพราะจิตมักจะติดสุขกับคำว่า สมถะ สมาธิหรือฌานมาก แต่ไม่เป็นไร
    สำหรับคนที่ติดไปแล้ว แต่ให้เข้าใจกันไว้ก่อนว่า แดนนี้เป็นโลกียะ
    ยังไม่พ้นทุกข์จริง ยังไม่พ้นคำว่าเที่ยง เพราะที่ท่านกำลังสุขในสมาธิหรือฌานนั้น
    ไม่วันใดก็วันหนึ่ง อาจเปลี่ยนเป็นทุกข์ก็ได้ เพราะจิตเรายังอยู่ในเขต..สมถะเท่านั้น
    มิใช่เขตวิปัสสนาหรือวิปัสสนาญาณ ยังรู้ไม่จริงดั่งพระตถาคต ดั่งพระอรหันต์

    การฝึกฝนจิตต้องเริ่มต้นด้วยกรรมฐาน หรือเจริญสติภาวนากันก่อน
    ผู้ปฎิบัติธรรม ต้องเอากรรมฐานประเภทแรกสุดให้ได้ก่อน นั่นหมายถึง สมถกรรมฐาน
    คือ ฝึกจิตตนสงบ+สุขให้ได้ก่อน หรือจิตเลิกพยศก่อน ถ้าใครเอาจิตตรงนี้ไม่อยู่
    อย่างอื่นหรือขั้นตอนอื่นๆ เช่น วิปัสสนาฯ ก็คงไม่ต้องพูดถึง..จบข่าวฯ

    เพราะคำว่า สมถะเป็นบาทฐานของคำว่า วิปัสสนา หรือ วิปัสสนาญาณ
    โดยเฉพาะ คำว่า วิปัสสนาญาณ ก็คือ จิตจะวิปัสสนาญาณเองภายใน
    หรือเรียกว่า ธรรมผุดขึ้นมาเองในจิต เช่น เรารู้เอง
    แต่ความรู้นี้ มิได้เกิดจากความนึกคิดหรือปรุงแต่ง
    โหมดวิปัสสนาญาณนี้ จิตเขาจะนำปัญญาไปพิจารณาธรรมเอง
    คือรู้เอง เห็นเอง เมื่อเห็นธรรมในจิตตนเอง มองเห็นธรรมชัดเจนแจ่มแจ้งดีแล้ว
    ต่อไป ก็จะเป็นขบวนการปล่อยวางของจิต ในขณะที่จิตปล่อยวาง
    เรา(สติ)ตามไม่ทัน อย่าพยายามตามเลย เพราะจิตเดินทางเร็วมาก
    มากกว่าการเดินทางของแสงพระอาทิตย์หลายล้านเท่าตัว
    เพราะฉะนั้น ดูตรงนี้ ดูของจริง ว่า..จิตตนปล่อยวางได้จริงๆหรือ
    แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าจิตตนเองปล่อยวางธรรมอะไรได้บ้างแล้ว
    ดูง่ายๆก็ดูสิ่งกระทบจิตของตน อย่าคาดคะเน อย่าคิดปล่อยวางล่วงหน้า
    แต่ให้ดูหลังสิ่งกระทบจิตตนไปแล้ว ให้ดูผลของจิต อย่าไปดูว่ามันทำงานกันยังไง
    หรือจิตมันปล่อยวางยังไง ให้ดูที่ผลของจิตที่ถูกกระทบไปแล้ว
    จิตเราเสียหายไปมากน้อยแค่ไหน หรือว่า เฉยๆ
    คำว่า เฉยๆ หมายถึง ไม่มีผลต่อจิต อันหลังนี้จะเกิดยาก คำว่า เฉยๆ ก็คือ อุเบกขา
    เฉยๆหรืออุเบกขาของปุถุชนกับพรอรหันต์ย่อมต่างกัน เป็นธรรมดา
    นี่แค่ยกตัวอย่างจิตให้พวกเราเห็นกันจ๊ะๆ โปรดอย่ามาดูจิตผู้พูด แต่ควรดูที่จิตตนเอง
    จิตผู้อยู่เฉยเหมือนดั่งก้อนหิน ภูเขา หรือเหมือนคนที่ตายไปแล้ว
    ใครจะเอาไปฆ่า เผาหรือแกงก็เชิญ อะไรประมาณนั้น หรือ
    แผ่นดินจะไหวกี่ริกเตอร์ก็ตาม คำว่า สั่นไหว อ่อนไหว เอนเอียง ย่อมไม่มีผล

    ~*จิ ต ธ ร ร ม*~ ..ย่อมแยกแยะได้เด็ดขาด เช่น ธรรมอันใดคือ..กิเลส
    เพราะกิเลสต่างๆเหล่านั้น ก็คือ ขี้
    (ขออนุญาตพูดคำๆนี้ เพราะมันเห็นภาพชัดดี มิได้มีเจตนาพูดไม่ดีกับผู้ใด)
    กิเลสต่างๆ มิใช่ ขนมเค็ก คือขี้..ทานไม่ได้นะ
    เพราะฉะนั้น ผู้ปฎิบัติอย่าเอา อย่าเก็บเข้ามาใส่ใจอีก
    คนไม่เคยฝึกจิต เปรียบดั่งเด็กน้อย เด็กคือผ้าขาว จะเอาสีใดมาแต้มย่อมเป็นสีนั้น
    เหมือนเด็กน้อย ยังแยกแยะไม่ได้ว่า อะไรทานได้ อะไรทานไม่ได้ เป็นต้น
    จะเห็นว่าเด็กน้อยๆ อาจจะเก็บอะไรกินไปทั่ว นั่นเอง
    จิตคนเราก็เช่นกัน ถ้ามีสติน้อยย่อมตามกิเลสตนไม่ทัน โดยเฉพาะคิดปรุงแต่ง
    ขนาดผู้ปฎิบัติธรรมยังหลุดแล้วหลุดอีก แต่ไม่เป็นไร
    ไม่มีใครเกิดมาเป็นอรหันต์หมดหรอก ค่อยๆฝึกไป เดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง

    ใครยังไม่รู้จักกิเลสตนเองบ้าง เช่น รั ก โ ล ภ โ ก ร ธ ห ล ง
    มีเหมือนกันหมดทุกคนเลย ว่าแต่ว่า จิตใครยึดติดหรือปล่อยวางมากน้อยเพียงใด
    ต้นตอกิเลสตัวยง ก็คือ ความรักของมนุษย์โลก
    เพราะจะนำไปเกี่ยวข้องกับเรื่องกรรมต่างๆมากมาย
    ส่วนกิเลสที่พบเจอบ่อยมากที่สุด ก็คือ ความโกรธ
    คนไม่ฝึกจิตมาดี ย่อมตามกิเลสต่างๆของตนหรือของผู้อื่นไม่ทันแน่ๆ รับรองๆ

    แต่จิตของคนเรานั้น จะเข้าไปยึดหรือปล่อยวาง จึงไม่เท่ากัน
    ผู้ที่มิได้ฝึกจิตมาเลย ส่วนใหญ่จะเป็นจิตยึดติดซะมากกว่า
    ส่วนจิตที่ฝึกมาดีแล้ว ย่อมปล่อยวางได้มากกว่า การยึดติดสิ่งต่างๆ
    แต่อาจจะปล่อยวางไม่หมดจดดั่งพระอรหันต์ ก็ไม่เป็นไร ดีกว่าไม่ปล่อยวางเลย

    เมื่อมีสิ่งกระทบจิต นักภาวนาทั้งหลาย โปรดหันกลับไปดูจิตของตนเป็นหลัก
    มิใช่ กลับไปดูว่าใครด่าว่าหรือนินทาเรา หรือมรึงด่ากรู ทำไม อะไรประมาณนั้น
    ถ้าหลงไปดูคนอื่น หลงไปโทษคนอื่น แสดงว่า เราลืมดูจิตตนเอง (เราพลาดเอง)
    ถ้าเราเป็นผู้ที่มีสติปัญญากัน จริงๆ ย่อมไม่ตามสิ่งกระทบเหล่านั้น หรือ
    ไม่เป็นไปตามอารมณ์ต่างๆของตนที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ เป็นต้น

    นี่แหล่ะ! ที่นี่ จึงพยายามเน้นเจริญคำว่า สติ คำว่า ปัญญา มากๆ
    ไม่จำเป็นต้องมาพูด คำว่า ปล่อยวางๆๆ ....ปล่อยวางให้ได้หมดจดกันนะ
    พูดไปก็ทำตามไม่ได้ ปล่อยวางกันไม่ได้ ตราบใดผู้นั้น ไม่นำจิตมาเดินมรรค
    เลิกคิดกันซะ ที่บรรลุธรรมแบบคนมักง่าย

    เหมือนดั่งธรรมะของหลวงปู่มั่นฯ
    ~*~ความเพียรมีเท่าฝ่ามือ กิเลสตนมีเท่าแผ่นดิน แผ่นฟ้า ~*~
    แล้วจะมาปรารถนา คำว่า พระนิพพาน
    แต่มันก็เป็นจริงตามที่หลวงปู่ว่ามาจริงๆ
    ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~ ~
    ภูทยานฌาน
     
  8. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ปฏิบัติธรรมก็เพื่อ ละ ปล่อย วาง

    เมื่อพวกเราอ่านแล้ว ฟังแล้วหรือรู้แล้ว จะอยู่กันเฉยๆกันหรอ
    พวกเราไม่นำพาหรือจับกลุ่มกัน เพื่อพัฒนาจิตให้สูงยิ่งๆขึ้นไปอีกหรือ
    เพราะฉะนั้น จิตบุญหรือผู้เจริญทั้งหลาย อย่าหยุดภาวนา อย่าหยุดเจริญสติ
    อย่าหยุดการสร้างกำลังใจตน ธรรมตรงนี้สำคัญมาก
    เพราะสิ่งที่มีบทบาทใน คำว่า ล ะ ป ล่ อ ย ว า ง กิเลสต่างๆของตน
    เพราะฉะนั้น จิตที่มีกำลังใจสูงยิ่งเท่านั้น ที่พอจะฝ่าฟันอุปสรรค์นานัปการได้
    ส่วนผู้ที่มีกำลังมีน้อย เห็นแต่จะเป็นเหยื่อของหนอน คือกิเลสตนเอง มิใช่ กิเลสผู้อื่น

    ^^ การปฎิบัติธรรมก็เหมือนธรรมชาติทุกอย่างเลย ^^
    เพราะฉะนั้น ถ้าหากผู้ปฎิบัติท่านใดไปฝืน ขัดขืนหรือเอา สติ นำ น้องจิต
    อันนั้น มิใช่ปฎิบัติธรรมที่ถูกต้องนัก

    ถ้าหากผู้ใด ไปฝืน ไปข่มหรือบังคับจิตตนเอง นอกจากจะไม่เจริญในธรรมแล้ว
    เห็นมีแต่จะทุกข์ใจมากขึ้นเท่านั้นเอง
    เพราะการปฎิบัติธรรม ก็คือ การฝึกเราให้มีสติ หรือ ฝึกจิตให้มีปัญญา
    เพราะจิตจะไม่มีทางรู้และเข้าได้เลย ถ้าขาดปัญญา
    ปัญญาในที่นี้ หมายถึง ภาวนามยปัญญา (ปัญญาที่ได้จากภาวนา)
    แต่คำว่า ปล่อยวางนั้น จิตผู้นั้นจักต้องมีสติปัญญามากเป็นพิเศษ
    เช่น ปัญญาญาณ เป็นต้น
    ถ้าอยากปล่อยวางได้หมดจดจริงๆ ก็ต้องฝึกจิตตนจนกว่าปราศจากกิเลสทั้งปวง
    เหมือนดั่งพระอริยเจ้า พระอรหันตเจ้าเหล่านั้น เป็นต้น

    ยิ่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ด้วยแล้ว มีความหมายมากมายอยู่ในนั้น
    มากกว่าคำว่า ละเอียด+ลึกซึ้ง จึงมิใช่ ตามที่ทุกคนรู้และเข้าใจกัน
    อย่าลืมนะว่า..พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ธรรมขั้นสูงสุดในฌาน๔
    โดยเฉพาะธรรมนำมาสู่ความหลุดพ้น ก็คือ หลุดพ้นสังสารวัฏ
    หรือไม่ต้องการกลับมาเวียนว่ายตายเกิดกันอีก ก็คือผู้ที่ปรารถนาพระนิพพาน

    สำหรับ ผู้ที่รู้และเข้าพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ จริงๆนั้น ก็คือ
    พระอริยเจ้าเป็นอย่างต่ำ หรือ พระอรหันตเจ้าทั้งหลาย
    จึงพอจะถือว่ารู้+เข้าใจพระธรรมคำสอนฯอย่างถ่องแท้ จริงๆ
    แค่ปุถุชนหรือคนธรรม ถ้าอ่านฟังพระธรรมคำสอนฯ รู้และเข้าใจระดับหนึ่ง
    แต่ไม่ลึกซึ้ง ไม่กินใจ คือไปไม่ถึงจิตใจ
    โดยเฉพาะ ไม่สามารถปล่อยวางทันทีทันใด หลังจากการอ่านฟังฯ
    เป็นเพราะอะไร เคยถามใจตนเองกันบ้างไหม
    การเรียนรู้ธรรมที่แท้จริง ควรตัดโหมดนี้ออกจาการปฎิบัติเสียสิ้น
    ถ้าผู้ปฎิบัติไม่ตัดออกไป เพราะฉะนั้น โหมดนี้ก็จะมายึดอำนาจทั้งหมด
    โหมดในที่นี้จะหมายถึง ความรู้ทางโลก หรือความรู้ที่ได้มาจากสมองตน ยิ่งคนมีความรู้ทางโลกมากกว่าคนอื่นเขา ยิ่งต้องใช้ความเพียรเป็นเท่าตัวกว่าคนโง่
    คนโง่บริสุทธิ์นี่คือคนที่สอนสั่งง่าย บอกอะไร แนะนำอะไรไปก็จะทำตามทันที
    ผิดกับผู้ที่มีความรู้ทางโลกมาก หรือคนที่คิดว่าตนเองมีสติปัญญามาก
    แต่สติปัญญาตามที่ตนเข้าใจนั้น คือสติปัญญาที่มาจากการภาวนา รึปล่าว
    ถ้าตอบว่า ปล่าว แสดงว่า ความรู้ทางโลกเหล่านั้น
    ความหมาย คำว่า สติปัญญาทางโลก ในทางพระพุทธศาสนาแปลว่า สัญญา คือความจำ คนทางโลกถูกสอนกันมาแบบนั้น พวกเธอทั้งหลาย มิใช่ คนผิด
    ปรกติดีทุกประการ แต่สติปัญญาแบบนั้น มันช่วยให้เรารู้และเข้าใจ เท่านั้น
    แต่สติปัญญาที่ว่ามานั้น นำทุกข์ที่เกิดภายในจิตใจของตนออกไม่ได้
    คนที่มีสติปัญญาทางโลก หรือคนที่บอกกับตนและผู้อื่นว่า ข้านี่แร๊ะคือคนฉลาด
    ทำไม ไม่เอ๊ะใจ เฉลียวใจตนเองบ้าง ความรู้ตั้งมากมายก่ายกองเช่นนี้
    ทำไม ตนจึงมีความโกรธอยู่หล่ะ ทำไม ตนจึงมีความทุกข์อยู่หล่ะ
    นี่แสดงว่า ตนฉลาดไม่จริง

    เพราะผู้ที่ฉลาดจริงๆ อันได้แก่ พระพุทธเจ้า พระอรหันตเจ้า ทั้งหลาย
    หรือผู้คนที่พากันปฎิบัติธรรม คือผู้ที่ปฎิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

    พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ หรือธรรมะพระอรหันตเจ้าทั้งหลายนั้น
    เป็นของละเอียดอย่างยิ่ง แต่ความรู้เข้าใจในธรรม จึงขึ้นอยู่ที่จิตผู้อ่านหรือผู้รับ
    ว่าหยาบหรือละเอียดแค่ไหน อันนี้กล่าวธรรมกลางๆ มิได้ไปหมายถึงจิตผู้ใด ผู้หนึ่ง

    โมทนาสาธุ ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรม..สาธุ

    ภู ท ย า น ฌ า น

    ปล. ผู้ปรารถนาให้ผู้คนพ้นทุกข์
     
  9. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]



    @ ทุ ก ข์ . c o m

    หนึ่งในอริยสัจ๔ ควร(เรียน)รู้(อย่างยิ่ง)
    ที่เรื่องไร้สาระ(ทางโลก) ทำไม ยังร่ำเรียนกันหัวทิ่มหัวตำ
    เอาจริงเอาจัง เอาเป็นเอาตาย ยึดกันได้ยึดกันดี
    ผู้มีสติปัญญาในทางธรรม พากันเรียนรู้อริยสัจจ์ พากันเดินมรรค
    ก็คือพากันเจริญสติ สมาธิ ปัญญา
    ท่านทั้งหลายเหล่านี้ จึงพากันออกจากทุกข์ของตนเองได้

    ส่วนผู้ที่มีสติปัญญาทางโลก จึงพากันเรียนรู้ เฉพาะสิ่งที่อยู่นอกจิตตน
    หรือ เรียนรู้ที่มิใช่จิตตน นั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงพากันทุกข์
    เพราะอะไร ก็เพราะว่า จิตตนไม่มีสติปัญญา อาจมี แต่ไม่เพียงพอที่จะไปดับทุกข์ตน

    พระตถาคตตรัสสอนเรื่อง ทุกข์ ว่าอย่างไร
    ทุกข์ มีอยู่ด้วยกันทุกคน เพราะตัวทุกข์ก็คือ ขันธ์๕ หรือ ร่างกายของเรานี่เอง
    ผู้ที่ไม่ยอมมาเรียนรู้ทางธรรม
    การเรียนรู้เรื่องธรรม ก็คือ การนำจิตมาเดินอริยมรรค (ศีล สมาธิ ปัญญา)
    ในระหว่างเดินก็ต้องเดินให้สุดซอย ถ้าไม่อย่างนั้น คำว่า ทุกข์ ก็ยังมีอยู่
    เพราะจิตไม่ยอมปล่อยวางหมดจด ส่วนผู้ที่วางทุกข์ได้หมดจดนั้นก็คือ พระอรหันต์
    แต่ถ้าผู้ปฎิบัติยังมิใช่พระอรหันต์ หรือ ยังไม่ถึงคำว่า วิมุตติ อาจมีทุกข์เหลือน้อยเต็มที
    ส่วนผู้ใดจะทุกข์มากน้อยแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่ที่สติปัญญาของคนๆนั้น ว่ามีระดับไหน

    คำว่า ทุกข์ ทุกคนหนีไม่พ้น เพราะฉะนั้น อย่าพากกันหนี แต่ให้พากันเรียนรู้
    ผู้ที่จะเรียนรู้นั่นก็คือ จิตตนเอง มิใช่ สมอง
    ถ้าพวกเราจะเอาดีในทางธรรม ควรตัดเรื่องสัญญาคือความจำ ทิ้งไปซะ
    นั่นหมายถึง อย่าเอาสมองมาเรียน มาจดจำแทนจิต

    โดยเฉพาะ ในระหว่างเดินมรรค อย่าเอาสติไปนำ
    แต่ควรมีสติแค่ตามดู ตามรู้จิตอยู่ห่างๆ เนื่องๆ โดยเฉพาะคำว่า ด้วยใจเป็นกลาง
    สรุปแล้ว ห้ามเอาสติไปยุ่งเกี่ยวใด แค่ระวัง มิให้จิตไหลไปตามอกุศล
    หากผู้มีสติสัมปชัญญะ(สติเข้ม)ขึ้นไป คำว่า อกุศลจิต ย่อมไม่เกิดแน่
    เพราะสติระดับสัมปชัญญานั้น มีความคมชัดพอที่จะช่วยจิตแยกแยะในสิ่งที่ไม่ดี
    ปรกติ ตัวจิตเอง เป็นจิตประภัสสร(จิตไร้เดียงสา มิได้หมายถึง จิตบรรลุธรรม)
    ปรกติ ตัวจิตเอง ถ้าไม่มีสติ ไม่ว่าสิ่งที่จิตไปรู้มานั้น ทั้งดีและไม่ดี
    เมื่อจิตรู้หรือเห็นสิ่งใด ก็จะไปยึดหรือเกาะในสิ่งนั้นๆ เสมอ
    เพราะธรรมชาติแห่งจิตมนุษย์นั้น เป็นจิตที่ อ ย า ก รู้ อ ย า ก เ ห็ น
    เพราะฉะนั้น จิตที่มิได้ฝึกฝนมาเป็นอย่างดีนั้น จิตส่วนใหญ่จึงเหมือนเด็กไร้เดียงสา

    สรุป จงมองทุกข์เป็นธรรมดา หมายถึง ยอมรับมันเสีย
    อริยบุคคลทั้งหลาย ที่พากันดับทุกข์ได้แล้ว จึงอยู่กับตัวทุกข์หรือกองทุกข์
    คือร่างกาย โดยมิต้องเป็นทุกข์หรือรู้สึกทุกข์ทางใจ เห็นมีแต่ทุกทางกายเท่านั้น
    อริยบุคคลเหล่านั้น จึงเปรียบเสมือน น้ำ ก ลิ้ ง บ น ใ บ บ อ น

    เพราะฉะนั้น การยอมรับทุกข์เป็นธรรมดา จึงไม่เกิดกับจิตปุถุชนหรือคนธรรมดา
    หมายถึง ผู้ที่ไม่เคยฝึกจิตมาเลย จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้จิตยอมรับอย่างง่ายดาย

    สรุป ถ้าหากผู้ใด อยากพ้นทุกข์หรือออกจากทุกข์ตน
    มีอยู่หนทางเดียว ก็คือ ล ง มื อ ป ฎิ บั ติ ธ ร ร ม
    เพราะการปล่อยวางเป็นหน้าที่หลักของจิตตน มิใช่ใครอื่น ปล่อยวางแทนกันก็ไม่ได้
    เพราะฉะนั้น จิตจะปล่อยวาง(ระดับหนึ่ง) ด้วย..สติปัญญา(ระดับหนึ่ง)

    ขอให้ทุกท่านสุขกาย สบายใจ โดยเฉพาะพ้นทุกข์ เจริญในธรรม..สาธุ

    ภู ท ย า น ฌ า น
    (ผู้ปรารถนาอยากเห็นผู้คน พ้ น ทุ ก ข์ และพ้นภัย วั ฏ ฏ ส ง ส า ร)

    22.08.14
     
  10. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444

    [​IMG]

    จิตที่เข้าถึงพระรัตนตรัย...

    การเข้าถึงพระรัตนตรัย ในความหมายของพระท่าน มีหลายระดับนะ
    ตามความละเอียดของจิต นั้นเอง บางท่าน เพิ่งเริ่ม มีจิตโน้มเอียง
    เข้ามาทางธรรม เริ่มตักบาตร สวดมนต์ ไหว้พระ เข้าวัดทำบุญ
    ขยับขึ้นมาอีกเริ่ม ทำสมาธิ เจริญสติก็ล้วนเรียก ว่า มีพระรัตนตรัยเป็นพี่พึ่ง ทั้งสิ้น
    ความมุ่งหมายสำคัญที่สุด ที่พระท่านประสงค์ คือให้เราปฎิบัติ
    จนกระทั่ง เรากลาย เป็น สิ่งนี้เสียเอง จึงเรียกว่า มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอย่างสูงสุด
    เข้าไปเป็นสิ่งนั้นเสียเอง มันจึงจะเข้าใจ จริง ๆ แล้วมันก็จะเข้าใจผู้อื่น ไปเสียหมด
    สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ไม่มีคำว่าผิดถูก มีแต่รู้ กับไม่รู้ แค่นั้น รู้แค่ไหนก็พูดแค่นั้น
    แล้วก็ไม่มีวันเข้าใจ ผู้ที่รู้มากกว่าด้วย เพราะยังไม่กลายเป็นสิ้งนั้น
    ถึงได้เน้น หนัก หนา เรื่อง ธรรมในจิต เพราะอะไร ก็เพราะว่า ...
    ผู้ที่มีธรรมในจิต ปรากฎชัดนั้น แสดงว่าท่าน ได้ปฎิบัติจริง คือขัดเกลา จิต
    จน ความโง่ หรือ อวิชชา มันเกลี้ยงหรือเกื่อบจะหมดไปแล้วนั้นเอง

    ธรรมแท้ ๆ ที่ปราศจาก ความปรุงแต่ง จึงจะปรากฎขึ้นที่จิต
    คือจิตพุทธะ จิตที่เป็นธรรมชาติเดิมแท้ ๆ จะปรากฎตัว
    จิต จะแจ่มแจ้งมาก เข้าใจแล้วเข้าใจเลย วางแล้ว วางเลย
    ต่างจาก การอ่าน การฟัง ตรงที่อ่านแล้วฟังแล้ว เดี่ยวก็ลืม
    จึงไม่ได้เกิดประโยชน์สูงสุดที่เราปรารถนา คือ การปล่อยวาง

    ธรรมมะบทนี้มาจากบทสนทนาธรรมระหว่าง
    ผม Therd กับ ครูพี่เป้ Nooboonsawan ครับ



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 สิงหาคม 2014
  11. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444


    "ขาดความต่อเนื่อง" คือปัญหาของผู้ปฏิบัติ((นักภาวนา))

    บทสนทนาธรรม ที่เป็น ประโยชน์

    Amnart Phuin ผมเพิ่งเข้ามาใหม่ในที่นี้ ยังไม่ค่อยรู้จักใคร เท่าที่อ่านมาหลายท่านมีสติปัญญาแก่รอบแล้ว ส่วนตัวผมเองก็ฝึกเจริญสติมาได้สักสองปีแล้ว สภาวะเผลอ รู้ เพ่ง หรือเห็น เจอมาหมด แต่ก็ยังขาดความต่อเนื่องบางครั้งก็หลงไปอยู่ในอดีต บางครั้งก็อยู่ในเรื่องอนคต ถ้ามันหลุดออกจากอดีตและอนาคตมาอยู่ปัจจุบันได้ความทุกข์จะเบาบางลงมาก ผมได้ (เห็น) แล้วว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน บังคับไม่ได้ และจากการรุู้การเห็นนี้ ทำให้ผมก็หยุดปฏิบัติไม่ได้ตลอดชีวิตแล้วครับ ขอเป็นกำลังใจให้นักปฏิบัติทุกท่าน และอนุโมทนาในบุญกุศลทั้งหมดกับทุกท่านครับ สาธุ สาธุ

    Phu Bodin ยินดีต้อนรับแห่งกองทัพธรรม โมทนาสาธุกับคุณอำนาจด้วย Amnart Phuin นั่นงัยหล่ะ พบเจอนักภาวนาส่วนใหญ่มักขาดคำว่า..ต่อเนื่อง ตรงนี้แร๊ะ ที่พระในจิตธรรมในใจบอกผมมา ช่วยมาจี้จุดอ่อนนักภาวนาด้วยกัน จริงๆแล้ว นักภาวนา จิตต้องอยู่กับธรรมปัจจุบัน ที่อยู่ไม่ได้ก็เลยไปอยู่อดีตหรืออนาคตแทน เพราะสติและจิตต่างก็ไม่เที่ยง แต่จำเป็นเอาสองตัวไม่เที่ยง จับมาอยู่รวมกันให้ได้ นั่นหมายถึงสูตร ๑+๑ คือ สติ+จิต เท่ากับ การสำรวมจิตบ่อยๆนั่นเอง คนที่มีสติเกิดอัตโนมัติแล้ว ให้เลื่อนไปทำสูงขึ้นก็คือ สมาธิจิต เช่น ทรงเอกัคคตารมณ์ คือทำจิตให้เป็นหนึ่งเดียว เขตนี้หากสติยังอ่อนแออยู่ก็ทรงสมาธิกันไม่ได้ อาจได้แต่ไม่นานนัก เด่วก็คลายตัวหรืออกจากสมาธิอีก เป็นต้น

    Phu Bodin โมทนาสาธุกับคุณ Amnart Phuin ด้วย ที่รู้จักคำว่า สักกายทิฎฐิ เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น คุณเข้าใจดีแล้ว หยุดการปฎิบัติไม่ได้นั้น คุณเข้าใจถูกต้องแลเวครับ แสดงว่า จิตเขาเป็นผู้พูดเอง(กายยนี้ มิใช่เรา มิใช่ของๆเรา) มิใช่ สมอง จดจำมาพูดพร่ำเป็นนกแก้ว นกขุนทอง..สาธุๆๆ มาพูดคุยหรือสนทนาธรรมกันใหม่นะ

    Phu Bodin สติ จะอยู่ระหว่างกลาง คือ กาย กับ จิต ถ้าแยกกาย แยกจิตตนชัดเจนดีแล้ว มันจะง่ายขึ้น คำว่า ต่อเนื่อง ก็จะง่ายขึ้น แยกเบื้องต้นนี้ให้ได้ก่อนนะ ท่องไว้ว่า..ภาระหรือหน้าที่ทางโลกนั้นก็คือ กายหยาบ แต่หน้าที่หลักคือธรรม เป็นของจิต..ถ้าคนรู้เข้าใจคำๆนี้เป็นอย่างดีก็คือ สังโยชน์ข้อที่ ๑ ถ้าจิตเข้าเขตพระโสดาบันไปแล้ว ไม่มีทางเป็นเสือหวนแน่นอน เพราะจิตรู้แล้วรู้เลย จดจำหรือบันทึกทันที ไม่มีคำว่า ลืม เหมือนสองมนุษย์ ส่วนคนที่จิตใจเสื่อมนั้นหมายถึง คนที่ไม่มีสติ จิตก็เลยไหลลงต่ำเป็นธรรมดา อย่าลืมนะ จิตที่ยังมิได้ฝึกฝนนั้น เป็นจิตประภัสสร จิตประภัสสร มิได้แปลว่า บรรลุธรรมแต่อย่างใด แต่จะแปลว่า จิตไร้เดียงสานั่นเอง จิตมีคุณสมบัติอย่างเดียวก็คือ รู้ แต่รู้ของจิตประภัสสรก็คือ อ่อนหัด หลอกง่าย หลงง่าย เพราะรู้อย่างเดียว แต่ไม่สามารถแยกแยะคำว่า ผิดถูกเองได้ คนที่แยกหรือทำหน้าที่นี้ให้กับจิตก็คือ สติ ..สติมาจากไหน ทุกคนเกิดมาก็ล้วนมีสติด้วยกันทั้งสิ้น มิได้บ้านิ ยกเว้น คนบ้าจริงๆคนไร้สติ ในทางกฎหมาย จึงจัดว่าบ้าจริง มิใช่คนดีบ้า อันนี้บ้าดีคือเป็นพระอรหันต์เลยเป็นต้น ..นี่ไงก็เลยเข้าใจพระตถาคต ทำไมมีกรรมฐานทั้ง๔๐กองให้พวกเราปฎิบัติกันก็เพื่อ ให้มีโอกาสสร้างสติตนมากๆนี่เอง

    การปฎิบัติธรรม นอกจากเรื่องศีลแล้ว ในเชิงปฎิบัติคือลงภาคสนามจริงๆ สติสำคัญที่สุด
    เพราะผู้ปฎิบัติอยู่คนเดียว หากไม่มีครูอยู่ใกล้ หรืออยู่ใกล้ แต่เราขณะเข้าฌาน๔เป็นต้น ไม่มีใครช่วยเธอแล้ว นอกจากตนเองนั่นหมายถึง สติตนเอง คำว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน โดยเฉพาะสำหรับผู้ปฎิบัติก็คือ สติ นั่นเอง ถ้าพวกเราพัฒนาคำว่า สติให้เป็นสติเข้มข้น หมายถึง สติสัมปชัญญะ และทำตัวนี้ให้ต่อเนื่อง อย่าให้ขาดสายเป็นดี หากขาดก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา อย่าคิดมาก เมื่อรู้ว่าจิตใจตนเบาแล้ว สบายแล้ว ค่อยทำใหม่ คนส่วนใหญ่มักลืมเมื่อพบความสุข ความสบาย แต่หารู้ไม่ ทุกข์กำลังจะเคลื่อนมาแทนที่ ...
    เปรียบเสมือนกวางน้อยมัวแต่ก้มกินหญ้าเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องเพลินไปหน่อย หารู้ไม่ เสือกำลังจ้องดูและตระครุบเป็นอาหาร ในห่วงโซ่อาหารตามแห่งกฎธรรม ต่อไป กรรมจะคอยหมุนเวียนกันทำหน้าของมันเอง เสร็จสรรพ ..
    หากพวกเราไม่พบเจอพระธรรมคำสอนของพระองค์ ป่านนี้ ไม่รู้จะเกิดเป็นอะไรกันบ้าง หากรู้อดีต รู้ภพชาตตนเองที่เคยเกิดมาแล้วนี้ ก็น่าสนุกดี แต่ไม่อยากรู้แล้ว เพราะไปพระนิพพานดีที่สุด..สาธุ

    เวลาจิตคนเรามันหลงนี่ก็น่าเห็นใจนะ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าจิตเราไม่หลง ก็ตามดูจิต ตามรู้จิตตนเองไปเรื่อยๆสิ ว่า มันร้อนรน มันร้อนรุ่มอยู่ภายในจิตใจของตนไหม๊ หรือว่ามันรู้สึกเย็นๆ เบาสบายหล่ะ อันหลังนี้เป็นบุญ มาถูกทางแร๊ะ ถ้าใครทำกรรมฐาน หรือทำบุญไม่ได้บุญ คือไม่สบายใจ แสดงว่า ทำบุญปนกิเลส ไปตามหาต้นเหตุกันเอง เด้อ คนเป็นพระอรหันต์ ถามว่าท่านมีกิเลสไหม ทุกข์ไหม ท่านจะพากันตอบว่า มี แต่กรูไม่เอา นั่นหมายถึงอะไร กรูในที่นี้ก็คือ จิต

    จิตที่ไร้กิเลสจริงๆจะไม่มัวหมอง เศร้าหมอง ห่วง หวง หึงหรือคิดถึงใครๆ รักก็ไม่ใช่รักแบบคนทางโลก รักเหนือรักก็คือ เมตตา รักแบบเมตตาก็คือมีแต่ให้ โดยมิหวังสิ่งๆตอบแทนจากใครๆ...

    Cr. Fb/Group จิตพร้อมฯ รับภัยพิบัติ
    24/08/14
     
  12. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444




    ~*~ป ร ะ วั ติ พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า~*~

    ก่อนฟังคลิปวีดีโอนี้ อยากแนะนำพวกเรา ว่า...
    โปรดทำจิตเป็นสมาธิหรือทำจิตนิ่งสงบมากๆก่อน
    แล้วค่อยน้อมจิตในขณะที่เป็นสมาธิหรือนิ่งสงบอยู่นั้น ค่อยๆฟัง
    แต่หากฟังในขณะที่จิตไม่เป็นสมาธิ หรือ จิตยังหยาบอยู่ หรือไม่นิ่งสงบ
    ก็ไม่ได้อะไรกลับไปเลย...
    นั่นก็หมายความว่า ไม่สามารถรับอารมณ์พระรัตนตรัยได้
    โดยเฉพาะ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีจิตอ่อนน้อมหรืออ่อนนุ่มเท่านั้น
    ที่พอจะรับรู้หรือสัมผัสอารมณ์ตรงนี้ได้
    ถ้าหากผู้ใด สามารถรับรู้หรือเอาจิตสัมผัสอารมณ์ที่กล่าวมา
    จิตใจก็จะซอฟหรืออ่อนนุ่มมากทีเดียว
    ประโยชน์ของ การรับอารมณ์พระรัตนตรัย นี้ ทำให้จิตคนๆนั้น มีกำลังใจมาก
    หากมีกำลังใจมาก ประโยชน์สูงสุดก็คือ เรื่อง..ก า ร ป ล่ อ ย ว า ง
    เช่น กิเลสตัวไหนที่เคยปล่อยวางยาก ยอมรับยาก
    ต่อไปฯ จิตจะค่อยๆปล่อยวางง่ายดายเอง
    เป็นเพราะด้วยอานิสงส์ คุณของพระรัตนตรัย นั่นเอง

    อารมณ์ตรงนี้พูดไป บอกไปเท่าไหร่ ก็ไม่เก็ต ไม่เข้าใจ
    อาจเข้าใจ แต่ไม่ลึกซึ้งกินใจ คือไม่เข้าถึงกระดูกดำ เข้าไม่ถึงข้างในคือ จิ ต
    ถ้าผู้ใดเข้าถึง คำว่า พระรัตนตรัย จริงๆแล้ว โดยไม่ต้องคอยกำหนด
    หรือระลึกนึกถึงแต่อย่างใด
    เพราะว่า..พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
    ก็อยู่ข้างในหรืออยู่ประจำในจิตคนๆนั้น..ตลอดเวลา
    ผู้ใดพอจะรับได้ จะรู้สึกว่า จิตตนหายไป ลมหายใจแผ่วเบา
    นั่นก็หมายถึง สมาธิจิตเกิดกับผู้นั้นแล้ว
    (จิตหายไป..อย่าเที่ยวตามหากันนะ เพราะดีแล้วที่หายไป เพราะมีสิ่งนี้เข้ามาแทนที่)

    คราวนี้แหล่ะ เราก็จะลืมเรื่องราวที่เคยทุกข์มามากมาย คำว่า นิวรณ์ ไม่รบกวนจิต
    คำว่า อกุศลจิต ก็ไม่เกิด เพราะจิตตั้งอยู่เฉพาะพระคุณของคำว่า พ ร ะ รั ต น ต รั ย

    โมทนาสาธุ

    ภู ท ย า น ฌ า น
    (ผู้ปรารถนาอยากเห็นทุกคนเข้าถึงพระคุณของคำว่า ^พระรัตนตรัย^)
     
  13. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ปกิณกะธรรม จากผู้ปฏิบัติธรรม...

    Phu Bodin ช่วงนี้ จะเน้นนำเสนอ พ ร ะ รั ต น ต รั ย มากๆหน่อย เพราะจิตชาวพุทธเริ่มตีใจออกห่างจากพระพุทธศาสนาเข้าไปทุกทีแล้ว หากพวกเรา(นักปฎิบัติธรรม)ยังนิ่งเฉยกันอยู่ ที่ที่คนดีก็ยิ่งมีที่ยืนน้อยลงไปทุกที จะไปหวังที่วัดหรือพระอย่างเดียวก็ไม่ได้แล้ว เพราะต้องช่วยตนเอง

    ต้องนี่เลยคือ กระโดดเกาะ พ ร ะ รั ต น ต รั ย เสมือนขบวนสุดท้ายแล้ว ที่พึ่งได้จริงๆ
    นอกนั้น มองไม่ค่อยเห็นแล้ว ก่อนตนจะเป็นที่พึ่งคนอื่นๆได้นั้น ตนต้องเป็นที่พึ่งแห่งตนเสียก่อน หมายถึง คนที่มีกำลังใจเยอะๆ และก่อนตนจะเป็นที่พึ่งแห่งตนได้นั้น จำเป็นต้องพึ่งพระคุณของ พ ร ะ รั ต น ต รั ย กันก่อน แม้นร่างกายของตนเองก็ยังพึ่งพิงไม่ค่อยจะได้ เพราะอีกไม่นานนักมันก็จะทิ้งเรา(จิต)ไปในที่สุด เพราะฉะนั้น เรา(จิต)จะต้องรีบตื่นออกมาจากอวิชชา ออกจากกิเลสแห่งตนเสียก่อน คือฝึกตายก่อนตายจริง คือฝึกทิ้งกายหยาบก่อนที่มันจะทิ้งเราไปจริงๆ อย่าลืมๆ มรณานุสสติกันให้ดี อย่าทำอะไรจนเพลินกันนัก เพราะที่ท่านกำลังทำ กำลังเป็น กำลังอยู่กับสิ่งๆนั้น ลองถามใจตนดูบ่อยๆว่า มีอะไรไปกับเรา(จิต)บ้าง หลังโลกแห่งความตาย...

    Phu Bodin ตามลำพังแค่สติปัญญาตน หรือกำลังใจแค่มนุษย์ธรรมดาหรือ จะไปสู้กำลังกิเลสได้ ไม่มีทางหรอก ถามคำเดียวว่า กำลังใจตนมีครึ่งพระอรหันต์ท่านไหม๊ ถ้าตอบว่า ยัง

    ก็แสดงอีกไกลเลย แล้วพวกเรากำลังทำอะไรกันอยู่ หรือนั่งท่องจำคำว่า พระนิพพาน
    นิพพานมิใช่อยู่ที่กายหรือปากพร่ำ แต่อยู่ที่จิต คือจิตนิพพาน..
    ทำนิพพานบนดินกันให้ได้ก่อน เห่อ ส่วนคนที่ได้มโนยิทธิ แต่ไม่นำไปดับกิเลสตน

    ก็เป็นได้แค่นักท่องเที่ยว พระนิพพาน เท่านั้น
    นักปฎิบัติทุกท่านย่อมรู้แก่ใจตนเองว่า สิ่งใดละได้ สิ่งใดยังละไม่ได้ คอยตรวจจิตตนตลอดเวลา โดยมิต้องไปถามใคร เหมือนเราชิมอาหาร อร่อยหรือไม่อร่อย เราต้องตอบได้ ไม่ใช่ไปถามคนอื่น ถามทำไม เพราะในเมื่อจิตตนเดินมรรคเอง ไหนบอกว่ามีทั้งสติปัญญาเป็นของตน แล้วทำไมไม่รู้ ไปถามคนอื่นทำไม จริงไหม จิตใจต้องเด็ดเดี่ยว เด็ดขาดมากกว่านี้ สติปัญญาก็เช่นกัน ต้องคมมากพอ ไม่งั้นตัดกิเลสไม่ขาดกันสักที จิตคนเราก็เหมือนมีด ขนาดเท่ากัน แต่ความคมต่างกัน เพราะสติปัญญา หรืออินทรีย์แก่กล้าต่างกัน ถ้าจิตน่อมแน้ม แล้วกิเลสมันน่อมแน้มตามไหม อย่าทำเล่นๆ กิเลสเนี๊ย เอาจริงๆ สติเข้ม สมาธิและปัญญาจึงเข้ม จิตจึงจะเข้มตามไปด้วย

    Phu Bodin หากนักปฎิบัติยังทำจิตไม่ละเอียด ก็เข้าไม่ถึงคำว่า พ ร ะ รั ต น ต รั ย สักที หากเข้าไม่ถึง เข้าถึงกระแสจิต กระแสธรรม ธรรมดา แต่ยังไม่เข้าถึงกระแสคุณแห่งพระรัตนตรัย ก็ยากที่จะพบเจอพระตถาคตเจ้า เพราะจิตหรือวิญญาณของพระตถาคตเจ้า ก็คือ พระธรรม หากผู้ใดถึงพระธรรมจริงๆ ย่อมเข้าถึงจิตวิญญาณของพระตถาคตเจ้าด้วยเช่นกัน ตรงนี้กำลังใจมีมากนัก มีมากกว่าที่เราคิดนึกเอากันเอง หากผู้ใดเข้าถึงคุณแห่งพระรัตนตรัยจริงๆ เหมือนท่านมาอยู่ประจำจิตใจของเราเลย ยิ่งกว่าคนที่คิดถึงแฟนหรือคนรัก ซะอีก ลองถามใจตนสิว่า เป็นอย่างที่กล่าวมานี้แล้วไหม หากเข้าถึงจริง อยากจะหยุดทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำอยู่ในโลกนี้ เพราะมันไร้สาระ จริงๆ เมื่อจิตหรืออารมณ์จิต มันแนบแน่นธรรมตรงนี้..สาธุ
    ขอน้อมจิตลงก้มกราบแทบพระบาทพระตถาคตเจ้า ด้วยเศียรเกล้า..สาธุ
    อารมณ์ตรงนี้ ปรมัตถธรรม จริงๆ คือมันไม่เกรงกลัวสิ่งใดๆอีกต่อไปแล้ว
    มอบกายถวายชีวิตกับพระพุทธองค์ไปเลย ไม่ต้องไปเสียดายแล้ว

    หากคิดว่าเป็นชาติสุดท้ายแล้ว..

    สุดท้ายนี้ ขอให้ผู้เจริญทั้งหลาย โดยเฉพาะนักปฎิบัติธรรม พึงมีพระรัตนตรัยเป็นสรณะด้วยเถิดสาธุ...
    ^เหนื่อยไหม^ คนดี กับการวิ่งตามกิเลสแห่งตน โดยเฉพาะวิ่งตามสังขารขันธ์แห่งตน(คิดปรุงแต่ง)

    Nooboonsawan Siriharksopon โมทนาสาธุอย่างยิ่งค่ะ

    ขออนุญาต แชร์ การปฏิบัติ .. อารมณ์จิตที่เข้าถึง คุณแห่งพระรัตนตรัย นี้ สำคัญมากจริง ๆ เพราะจะเป็นกำลังสำคัญที่จะหนุนนำให้ดวงจิต ของผู้ปฏิบัติ มีกำลังใจสูง มีความเพียรสูง ไม่ย่อหย่อนในการปฏิบัติ ไม่อ่อนแอ เมื่อถูกเคราะห์กรรมกระหน่ำ แต่กลับจะเต็มไปด้วย พลังแห่งสติปัญญาในทางธรรม ในการก้าวข้ามปัญหาอุปสรรค ทั้งหลาย กล่าวได้ว่า ศีล สมาธิ และปัญญา มีอยู่อย่างครบถ้วนบริบูรณ์สำหรับผู้ที่เข้าถึง

    คุณแห่งพระรัตนตรัย

    อารมณ์จิต ของผู้ที่เข้าถึง รัตนะทั้ง 3 ประการนี้ จะมีความรักบูชาคุณพระพุทธองค์อย่างสูงสุด

    ลึกซึ้งเป็นเนื้อเดี่ยวกับจิตตน เพราะจิตเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถึงน้ำพระทัย อันเด็ดเดี่ยวของพระพุทธองค์
    จิตเราก็เด็ดเดี่ยวตาม
    จิตเข้าใจในความเสียสละ เลื้อดเนื้อ ชีวิต และบุคคลอันเป็นที่รัก ของพระพุทธองค์ จิตเราก็สละออกตาม จิตเราเข้าใจว่า พระองค์ทรงใช้ กำลังใจ อย่างไร ต่อสู้กับกิเลส เพื่อแสวงหา ที่สุดแห่งธรรม หยุดการเวียนว่ายตายเกิด
    จิตเราก็จะทรงกำลังใจยิ่งใหญ่นั้นตาม

    อารมณ์จิตของเรา ที่ *รู้ซึ้ง *เข้าถึง* สัมผัส *ได้ ถึงจิต อันบริสุทธิ์ ยิ่งใหญ่ ของพระพุทธองค์
    ผู้ซึ่งป็น มหาบุรุษเอก ของโลก ...ถามคำเดียวว่า จะมีอะไร ยาก ต่อการปล่อยวาง กิเลสของเรา อีกหรือ?
    ถ้ากำลังใจในการเพียรละกิเลส ของเราจะยิ่งใหญ่ตามพระองค์ ...

    ***จิตนะจิต เป็นผู้เข้าถึงอารมณ์นี้ ไม่ใช่สมอง อย่างที่ผ่านๆ มา...***

    ขอทุกท่านจงเป็นผู้สำเร็จประโยชน์สูงสุดของการมีพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่ง ด้วยเทอญ ..สาธุ

    Cr...Fb/Group จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ
    27/08/14
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2014
  14. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]


    วันคืนล่วงไป...พวกเราทำอะไรกันอยู่?

    ปล่อยชีวิตผ่านไปกับเวลา กับเข็มนาฬิกาที่ไม่หยุดหมุนเพราะยังมีแบตเตอรี่
    เหมือนกับ ลมหายใจ ที่ยังคงมีอยู่ เพราะร่างกาย ยังไม่หยุดทำงาน
    แต่ใครล่ะจะบอกได้ว่า เมื่อไหร่ที่ ลมหายใจนี้จะหยุด ร่างกายนี้จะพัง
    หากนาทีนั้นมาถึง ลมหายใจหยุด ...ทุกอย่าง จบสิ้น หมดโอกาส หมดเวลา
    สิ่งที่หวังว่าจะทำในอนาคต สิ่งที่หวังว่าจะ ปฏิบัติธรรมให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์
    ก็คงหมดสิทธิ์คิด หมดสิทธิ์ทำ สิทธิต่างๆในความเป็นมนุษยโลก หมดแล้ว จบสิ้นแล้ว
    แต่ ดวงจิต ที่ยังไม่หมดกิเลส ต่างหาก จะต้องเคลื่อนไป...
    ไปสู่ภพภูมิ อื่น ที่หากจิตนั้น ยังไม่ได้กำหนดที่ไป เพราะมัวแต่เพลิดเพลิน
    กับความสุขบนโลก โดยไม่คิดว่า เวลาเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขการใช้ชีวิตบนโลก
    คงเป็นเรื่องน่าเศร้า เสียดายเวลา เสียดายโอกาส ที่เกิดมาชาติหนึ่ง
    มาพบพระพุทธศาสนา มาพบพระธรรมคำสอนที่ยังคงความสมบูรณ์แบบ ถ่ายทอด
    โดย พระอริยสงฆ์สาวก อย่างพระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
    ที่พวกเรา สามารถนำคำสอนของท่านมาปฏิบัติ ให้เกิดผล มีเป้าหมายชัดเจนในชีวิต
    ว่าเกิดมาชาตินี้ เราจะทำอะไร มีเป้าหมายเพื่อการไม่กลับมาเกิด ติดตามหลวงพ่อ
    ไปยังดินแดน บรมสุข นั่นคือ พระนิพพาน เราทำกันหรือยัง? ...

    เราปล่อยเวลาผ่านเลยไปโดยไร้ค่า หรือเปล่า? ...
    วันนี้เราโชคดี ...แม้ว่า หลวงพ่อไม่อยู่แล้ว แต่ท่านคอยเป็นห่วงเป็นใย ลูกหลาน
    ว่าทำอย่างไรพวกเราจะปฏิบัติธรรมเดินตามตามกัน มาให้ถึงซื่งความเป็น อรหัตผล
    อย่ามัวเพลินเพลิน กับชีวิตบนโลกกันอยู่เลย
    เพราะชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ...มีแต่ความตายเท่านั้น ที่เป็นของเที่ยง

    น้อมรับคำสอนคำตักเตือนธรรมปฏิบัติ ของหลวงพ่อ ด้วยเศียรเกล้า เจ้าค่ะ ...
    กราบ กราบ กราบ

    ณัฐชยาวดี
    28.08.14
    Cr...FB/Group จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2014
  15. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    Phu Bodin โมทนาสาธุกับธรรมในจิตด้วย สาธุๆๆ
    มื่อเราอยู่กับธรรมปัจจุบัน หรือทุกขณะจิตแล้ว เคยบอกพวกเราไปหลายครั้งหลายคราแล้ว
    (จำกันได้ป่าวไม่รุ๊) ว่าขยันทรงอารมณ์แน่นเป็นปรกติ เช่น ถ้าเป็นไปได้ให้สำรวมจิต
    ดั่งพระอริยเจ้าทั้งหลายกันให้ได้ตลอดเวลา หรือทรงเอกัคคตารมณ์
    (สติกับจิตรวมกันจนมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวกัน) หรือทรงอารมณ์เบื้องสูงนั่นก็คือ
    อารมณ์พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ(คุณแห่งพระรัตนตรัย)
    ถ้าหากนักภาวนาท่านใด สงสัยสอบถามครูจิตเกาะพระ(ที่นี่)ได้ทุกเมื่อ
    แต่คนที่สามารถทรงอารมณ์ตรงนี้ สติต้องคล่องแล้วนะ เมื่อสติคล่องแล้ว สมาธิจิตจะเกิดง่าย
    กับคนๆนั้น เมื่อสมาธิจิตเกิดขึ้นง่าย ก็ทรงอารมณ์ตามที่กล่าวมาแล้ว ง่ายตามไปด้วย
    อารมณ์ตรงนี้ ไม่มีอารมณ์คำว่า มนุษย์มาเกี่ยวข้อง คำว่า นิวรณ์๕ หรือกิเลสจะเจือปนน้อย
    ที่สุดหรือถึงไม่ค่อยมีเลย ผู้ที่ทำได้แล้ว ลองสังเกตลมหายใจจะเบาลงเกินครึ่ง
    เอามือคลำการเต้นของหัวใจก็จะรู้สึกถึงความเบา ความเย็นจะเข้ามาปรากฎแทน
    ถ้าพวกเราขยันทรงกันแบบนี้ เคยมีสักครั้งไหม ที่ใจเรารู้สึกเป็นทุกข์ ไม่มีหรอก
    แต่ทว่าเราจะไปสนใจจริยาผู้อื่น มีบ้างไหม ไม่มีหรอก ใช่ไหม ตรงนี้ถามและตอบตนเอง
    กันได้ไหมว่า จิตตนเป็นกุศลหรืออกุศล เมื่อทรงอารมณ์นี้บ่อยๆแล้ว ไม่มีใครไปสนใจ
    สิ่งอกุศลจิตแน่ จิตห่างไกลจากกิเลสไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น คำว่า ปล่อยวาง
    จึงแทบไม่ได้สนใจเลย แต่จะมีรู้ภายหลังเองว่า รู้สึกเบาๆ เมื่อจิตค่อยๆละกิเลสตนไปทีละนิดๆ
    การปล่อยเป็นเรื่องของจิต อย่าถามว่า มันละยังไง อย่าเอาสติไปถามให้เสียเวลา
    เพราะการเดินทางหรือการทำงานของจิตคนเรานั้น ไวมาก สติในส่วนของกายหยาบ
    จะมารู้ภายหลังเอง ว่า..กิเลสตัวใดที่ปล่อยวางได้แล้ว และกิเลสตัวใดที่ตนยังวางไม่ได้
    เมื่อปฎิบัติกันมาถึงป่านนี้แล้ว ทำไม..จึงตอบตนเองไม่ได้เชียวหรือ..สาธุ

    Phu Bodin พี่ภูขอโมทนาสาธุกับครูแนทเป็นอย่างยิ่ง อีกครั้ง

    ที่ทำให้ผมต้องกลับมาพูดหรือมาช่วยกันต่อยอดธรรมตรงนี้ใหม่ เพราะมีประโยชน์กับ
    นักภาวนามาก จริงๆ เพราะจิตของคนๆนั้น ต้องเดินหน้า ต่อไป เพราะฉะนั้น
    จงอย่าหยุดเพียงเท่านี้ จงอย่าหยุดแค่สมถะ(สมาธิหรือฌาน) คือรีบๆ ไปต่อ คำว่า วิปัสสนา
    อันเป็นโลกุตตระธรรม คือหลุดพ้น จริงๆ..สาธุ...

    ขอให้ทุกๆดวงจิต ทุกๆดวงธรรม เจริญในธรรม โดยเฉพาะ พระนิพพาน พวกท่านทั้งหลาย
    จงได้ดั่งใจปรารถนาทุกประการด้วยเทอญ..สาธุ
    และเป็นไปตามดั่งพระพุทธองค์ทรงปรารถนาให้พวกเรา ถึงซึ่งคำว่า พระนิพพาน
    ด้วยเช่นกัน..สาธุ

    Cr.. Fb/Group จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ
    28.08.14
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2014
  16. boonnippan

    boonnippan ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +1,099
    ลูกขอน้อมกราบพระองค์ท่านด้วยความเคารพรัก กราบ กราบ กราบ
    เมื่อเริ่มดู ดูเหมือนเข้าภาวะปิติในสมาธิทันที สาธุกับธรรมะจากครูค่ะ

    ขอกราบครูบาอาจารย์ทุกท่านด้วยค่ะ อาทิตย์ก่อน ขณะนั่งสมาธิ เหมือนมีเสียงบอกว่า "จุติ จุตัง พระอรหัง จุติ" ลูกสาวหาศัพท์ให้ บอกว่า จุติแปลว่า "ตาย" คืนต่อๆมา ขณะจะออกจากสมาธิก็เหมือนมีภาษาเงียบบอกว่า "คนเราทั่วไปก็มีความตายเป็นเรื่องธรรมดา" รู้สึกปิติกับความตายที่รับรู้จากสมาธิค่ะ โดยไม่แน่ใจว่าแหล่งเสียงคือที่ใด รู้สึกเหมือนกำลังเรียนกับครูแนทเลยค่ะ
    คิดถึงครูทุกท่านและญาติมิตรทุกท่านค่ะ
     
  17. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    โมทนาสาธุค่ะ คุณ Boonnippan ขอเชิญ หลังไมค์ นะคะ ...สภาวจิต สภาวธรรม กำลังเคลื่อนขึ้น จ้ะ ...สาธุ
     
  18. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    สังโยชน์ 10 .ประการ

    1.สักกายทิษฐิ ... การคิดว่าร่างกายเป็นเราเป็นของเรา

    ตอบ.. ร่างกายนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่มีในเรา มันเป็นเพียงธาตุ4มาประชุมกัน

    2.วิจิกิจฉา ... ความลังเลสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย

    ตอบ..ไม่ลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัยอันเป็นที่พึ่งอันประเสริฐที่สุดใน3โลก คุณของพระรัตนตรัยจะนำพาเราไปสู่ สวรรค์สมบัติ พรหมสมบัติ นิพพานสมบัติ ตามกำลังใจของผู้ปฏิบัติ

    3.สีลพตปรามาส ... การไม่รักษาศีลจริงจัง

    ตอบ..ตั้งใจรักษาศีลจริงจัง ไม่ลูบคำศีล หรือรักษาศีลแบบหัวเต่า รักษาศีลยิ่งชีวิต ใครมายั่วให้เราผิดศีล เราไม่ทำ

    4. กามฉันทะ .. ความพอใจ ในเรื่อง รูป สวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย และสัมผัสระหว่างเพศ

    ตอบ..หากยังยินดีพอใจยึดติดกับสิ่งเหล่านี้ก็จะต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่จบไม่สิ้น ควรละเสียเป็นทุกข์เพราะสิ่งเหล่านี้กั้นความดี คือนิวรณ์ดีๆนี่เอง

    5. ปฏิฆะ ... ความโกรธ ความไม่พอใจ

    ตอบ..จะโกรธ เกลียด อาฆาต พยาบาท ไปทำไมกัน เหมือนกับการจุดไฟเผาตัวเราเอง และผู้อื่น เพราะสุดท้ายแล้วก็ต้องตายเหมือนกันหมดทุกคน ควรละเสีย เพื่อจะได้ไม่ต้องอาฆาต พยาบาทจองล้างจองผลาญกัน กลายเป็นเวรเป็นกรรมต่อกัน อโหสิให้กันและกัน

    6. รูปฌาณ .. ความพอใจในความสุขจากฌาน ติดสุขในฌาน

    7. อรูปฌาณ... ความพอใจในความสุขจาก อรูปฌาน

    ตอบ..ใช้กำลังของรูปฌาน อรูปฌาน ประหัตประหารกิเลสให้สิ้นไป ไม่ยึดติดในสุขจากฌาน เพราะไม่ใช่หนทางหลุดพ้น

    8. มานะทิษฐิ ... ความถึอตัวถือตน

    ตอบ..จะไปถือว่าเราดีกว่าเขา เสมอเขา เก่งกว่าเขา ฉลาดกว่าเขา เราแน่กว่าเขา ไปทำไม ในเมื่อมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย รออยู่เบื้องหน้าเหมือนกันหมดทุกคน

    9. อุทธัจจะ ... ความฟุ้งซ่าน

    ตอบ..ระงับความฟุ้งซ่านในจิต ตั้งจิตมุ่งสู่พระนิพานอย่างเดียว

    10. อวิชชา ..ความโง่

    ตอบ..สวรรค์ พรหม สุขเพียงชั่วคราว หมดบุญวาสนาบารมีก็ต้องเกิดอีก ตัดความยินดีพอใจทุกสิ่งทุกอย่างในโลกใบนี้ ความพอใจในการเกิดเป็นเทวดา พรหม มนุษย์ ว่ามันไม่เที่ยง โลกมนุษย์ สวรรค์ พรหม ยังอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์
     
  19. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    เทียบกับบารมี 10 ประการ

    1.ทานบารมี (การให้โดยไม่หวังผล) มีจิตปรารถนาจะสละด้วยการให้ทานอยู่เสมอ

    ผ่าน ก่อนฝึกช่วงที่ทำบุญภายนอกใหม่ๆหวังอานิสงส์ รวย หล่อ ตายไปมีวิมานใหญ่ๆสว่างไสว รัศมีกายสว่างไสว เป็นเทวดา หรือ พรหม ที่มีเดชอำนาจมาก เดี๋ยวนี้ทำบุญไม่หวังอานิสงส์แล้วครับ เห็นตู้บริจาคไม่ได้วิ่งเข้าใส่เลย ถ้าเข้าไปในตู้ได้คงเข้าไปแล้วทำตามกำลังศรัทธาไม่เดือดร้อนตัวเองและผู้อื่น ทำเพื่อตัดความโลภและตอบแทนพระศาสนา

    2.ศีลบารมี(รักษาศีล 5 เป็นปกติ) มีความรักในศีลห้า มีความตั้งใจทรงศีลห้าให้บริสุทธิ์ครบถ้วนอยู่เสมอ

    ผ่าน ช่วงก่อนฝึกรักษาศีลแบบไม่ค่อยตั้งใจมัก ลูบคลำศีล ศีลขาดบ้าง หมองบ้าง โดยเฉพาะ สุราขาดบ่อย แต่เดี๋ยวนี้รักษาศีลแบบจริงจัง ยอมตายดีกว่าศีลขาด

    3.เนกขัมมะบารมี(การถือบวช) บวชด้วยใจ คือสำรวมกาย วาจา ใจ อยู่เสมอ

    ผ่าน ช่วงก่อนฝึกไม่ได้สำรวมอะไรเลยครับ วาจานึกจะพูดอะไรก็พูดตามอารมณ์ไม่ได้คิดว่าจะกระเทือนใจผู้ฟังหรืเปล่า ใจก็ปล่อยเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศล กริยาทางกายก็มุทะลุ ไม่ค่อยเคารพผู้ใหญ่ แต่เดี๋ยวนี้วาจาจะพูดอะไรก็จะคิดก่อนว่ากระทบกระเทือนผู้ฟังหรือเปล่า พูดหยอกล้อกับผู้อื่นก็มีบ้าง เพื่อสร้างบรรยากาศในการทำงานหยอกแบบไม่กระทบกระเทือนจิตใจ ใจก็ไม่ทำตามอารมณ์ทรงสมาธิ ทำจิตให้ผ่องใส ทางกายก็มารยาทดีขึ้น เคารพครูบาอาจาย์ผู้สอน รู้เด็กรู้ผู้ใหญ่ รู้อาวุโส

    4.ปัญญาบารมี(ความรู้) ทรงปัญญาพิจารณาอยู่เสมอ ยอมรับว่าโลกนี้ไม่เที่ยง ไม่มีการทรงตัว ยอมรับทุกอย่างตามความเป็นจริง

    ผ่าน เมื่อก่อนไม่ยอมรับในกฎของธรรมดานี้ทำไมคนเราต้องตายด้วย ต้องพลัดพรากจากคนรัก อยู่ตลอดกาลตลอดสมัยไม่ได้หรือ สุขตลอดกาลไม่ได้หรือ เดี๋ยวนี้ยอมรับความพลัดพรากเป็นทุกข์ เป็นธรรมดา ความสุขไม่จีรังยั่งยืนเดวสุขเดวทุกข์ เป็นธรรมดา ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนและเที่ยงแท้ในกฏไตรลักษณ์ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปเป็นธรรมดา

    5.วิริยะบารมี(ความเพียร) มีความพากเพียร ไม่ย่อท้อ ต่อสู้อุปสรรคด้วยประการทั้งปวง

    ผ่าน เมื่อก่อนเรื่องงานและเรื่องปฏิบัติท้อบ่อยมาก เบื่อหน่ายมาก เจอบททดสอบทั้งเรื่องงานและเรื่องจิตใจ ท้อบ้างไม่ท้อบ้าง อยากเลิกปฏิบัติบ้าง ทั้งช่วงต้นและช่วงกลางของการเดินมรรคแต่ ณ ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าอะไรที่เข้ามาทดสอบ อุปสรรคจะยากแค่ไหนหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น เอาชีวิตเข้าแลก ถึงยังไม่เป็นจิตบุญ หรือเป็นจิตบุญแล้วก็ตามอุปสรรคที่หนักกว่านี้รออยู่เบื้องหน้า ก็ไม่หวั่น ไม่ย่อท้อแล้วครับ

    6.ขันติบารมี(ความอดทนอดกลั้น) มีความอดทนอดกลั้น ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ต่าง ๆ

    ผ่าน เมื่อก่อนความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น รัก โลภ โกรธ หลง น้อยมาก หวั่นไหวไปตามอารมณ์ ปล่อยให้กิเลสเข้าครอบงำ แต่หลังจากฝึกจิตมาอย่างดี รับมือกับอารมณ์ได้ทุกอย่าง จิตปล่อยวาง ไม่เป็นทาสของอารมณ์แล้วครับ

    7.สัจจะบารมี(ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ) มีความจริงใจ ตั้งใจไว้อย่างไรจะทรงไว้อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง

    ผ่าน เมื่อก่อนตั้งใจบ้างเอาจริงบ้าง ขี้เกียจบ้าง ผลุบโผล่ๆเหมือนหัวเต่า เดี๋ยวนี้ตั้งใจทำอะไรก็ต้องทำให้สำเร็จ การปฏิบัติก็เช่นเดียวกัน ตั้งใจ จริงจังเอาจริงในการปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน

    8.อธิษฐานบารมี(ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง) ตั้งกำลังใจไว้ว่า เราปฏิบัติความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพาน

    ผ่าน เมื่อก่อนอธิษฐานขอให้หล่อ รวย ไม่ลำบาก ปัจจุบัน อธิษฐานความดีทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว

    9.เมตตาบารมี(ความรักด้วยความปรานี) คิดว่าเรารักคนและสัตว์ทั้งหมด ไม่ถือว่าใครเป็นศัตรูกับเรา

    ผ่าน เมื่อก่อนมีเมตตาสงสารอยู่แล้วแต่ยังมีแบ่งแยกคนนี้เห็นแก่ตัว คนไม่ดี เกลียดมัน เดี๋ยวนี้ไม่แบ่งแล้ว เมตตาสงสารเพื่อนร่วมโลกเพื่อนร่วม เกิด แก่เจ็บตาย ไม่อยากเป็นศัตรูกับใคร เป็นมิตรกับทุกคน

    10.อุเบกขาบารมี(ความวางเฉย) วางเฉยต่ออารมณ์ทุกอย่าง

    ผ่าน เมื่อก่อน วิ่งตามอารมณ์ทุกอย่าง เดี๋ยวนี้ วางเฉยอารมณ์ต่างๆที่มากระทบสิ่งดีและไม่ดี วางเฉยกับอารมณ์ โลกธรรม8มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ช่วยเหลือคนช่วยได้ก็ช่วยตามกำลัง ช่วยไม่ได้ก็วางเฉยเพราะถือว่าเป็นกรรมของเขา

    เทียบกับ รัก โลภ โกรธ หลง

    1.รัก.ความรัก ณ ตอนนี้ ถ้าเกิดว่าแม่ตายก่อนรับได้ในกฎของธรรมดา แต่สังขาร วิญญาณขันธ์อาจจะปรุงแต่งให้มีน้ำตาไหลออกมาบ้าง แต่ถ้าเราตายก่อนรับได้ครับก็มันถึงเวลาแล้วนี่นาจะไปห่วงทำไมเราเป็นผู้ไม่มีอะไรเลย เป็นการแสดงธรรมให้แม่เห็น แต่แม่จะเห็นหรือไม่นั้นแล้วแต่ท่านปุถุชนธรรมดาย่อมมีความเศร้าโศกเสียใจเป็นธรรมดา

    2.โลภ ณ ปัจจุบันความโลภอยากได้ของคนอื่นไม่มีแล้ว ความอยากได้โน่นนี่นั่น ต้องดูก่อนว่าจำเป็นไหม อยู่ในพื้นฐานความจำเป็น

    3.โกรธ ณ ปัจจุบัน ความโกรธไม่มีแล้วครับ มีแต่ความเมตตา สงสาร ไม่อาฆาต พยาบาท ไม่ผูกโกรธ ทุกคนอยู่ภายใต้ เกิด แก่ เจ็บ ตาย และกฎแห่งกรรม

    4.หลง (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส)

    ณ ปัจจุบันไม่เอาแล้วนิวรณ์5เครื่องกั้นความดี ตัวที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิดไม่จบไม่สิ้น ทรงสมาธิจิตทรงฌานให้เป็นปกติ
     
  20. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    28/8/14.

    วันนึ้ฌานดีดสูง จิตอ่อนโยนด้วย ช่วงก่อนมีอย่างใดอย่างหนึ่ง

    สลับกัน แต่ตอนนี้มี2อย่างเลย อารมณ์แน่นๆตึ้บๆ อ่อนโยนด้วย
    ...
    มือไม้อ่อน สติเป็นAutoแล้ว ถึงจะเผลอก็ฟุ้งในเรื่องดี

    ถ้าเรื่องชั่วสติรู้เร็วมาก รีบวางทันที สติปุ๊บ ปั๊บ เห็น

    รู้ วาง เห็นเกิด ดับ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ บ่อย

    และถี่มากขึ้น. พัฒนาขึ้นมาก แต่ว่า ต้องเตือนตนเสมอ

    ว่ายังเลวอยู่มากตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ ตราบใด

    จิตยังไม่เข้านิพพาน ยังเลวแสนเลว

    ทั้งนี้เพื่อกันการหลงคิดว่าตัวเองดี วิเศษ วิโส

    เข้าใจแล้วว่าทำไมหลวงพ่อในเสียงคำสอนที่บันทึกถึงได้ด่าไปสอนไป

    ในคำด่านั้นแฝงไปด้วยความเมตตามากประมาณมิได้


    ต้องขอโทษครูด้วยครับเข้ากะดึก4วันนอนไม่ค่อยเต็มอิ่ม เบลอๆครับ เมื่อวานก็เขียนอยู่แต่ยังไม่เสร็จ เลยพักก่อน

    ตอนแรกก็ไม่รู้จะเขียนอะไรดี เขียนได้แต่เรื่องสั้นๆและแล้วก็มีเรื่องให้เขียนจนได้^^


    เมื่อสักครู่ที่โดนครูเกษทวงการบ้านต้องขอบคุณครูมากที่ให้ธรรมผม สติผมวิ่งไปดูจิตก่อนเลย จิตเฉยๆแล้วก็วิ่งมาดูความคิดปรุงแต่ง วิญญาณขันธ์
    ความคิดแบบฮึดฮัดก็มี ก็ดูมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แต่ว่าจิตนี่ต้องดูบ่อยๆเพื่อป้องกันจิตหลอกจิต ถ้าเป็นเมื่อก่อนมีงอน มีตัวกูของกู มานะเต็มกบาล
    วีนแตก


    ช่วงนี้รู้สึกจิตหายไป มีแต่ความอ่อนโยน ช่วงนี้เสริมใยเหล็กเพื่อให้อินทรีย์แก่กล้ามากกว่านี้ นั่นคือการฝึกรับอารมณ์พระ มั่นใจทำได้แน่แค่มีความศรัทธาความเชื่อมั่นและความเพียรแบบว่าเสริมเกาะแบบIRON MAN เลย

    เมื่อวานตั้งใจจะถามสภาวะพี่เป้ว่าจิตว่าจิตหายไป อยากรู้สภาวะจิตพี่เป้ตอบว่า สภาวะจิตตรงนี้ละเอียดมาก จิตใสปิ๊ง พี่เป้บอกขนลุก ผมเลยถามว่าเพราะเหตุใด

    พี่เป้ตอบว่าท่านพ่อมาตอบเอง มีรับสั่งผ่านพี่เป้มา พระบรมสารีริกธาตุให้เทิดด้วย แล้วพี่เป้ก็บอกว่าเพิ่งได้รับเพิ่งเสด็จมาจังหวะผมเข้าไปถามพี่เป้พอดีผมเลยรู้สึกดีใจเป็นที่สุด หาที่สุดมิได้ ในพระเมตตา ของท่านพ่อ เป็นบุญของลูกแท้ๆ

    ในระหว่างฝึกจิตเกาะพระ เคยอธิษฐานทูลขอว่า หากลูกฝึกวิชาจิตเกาะพระสำเร็จ ลูกทูลขอพระบรมเสด็จมาที่องค์พระหางหมาก พระคำข้าวของหลวงพ่อฤาษี เพื่อเป็นขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติ เพื่อไว้เป็นพุทธานุสสติ แต่นี่ท่านพ่อมีพระเมตตาประทานฝากผ่านพี่เป้มาให้ ลูกดีใจ และปลาบปลื้มในพระเมตตาของท่านพ่อยิ่งนัก

    ขอรายงานแค่นี้ก่อนนะครับ ยังดีใจอยู่เลย



    เก็บตกจากการรายงานการบ้าน

    Jaideejung Hoo
    ที่ครูไม่ตอบการบ้านเราทันทีทันใดนั้น เราสอนเธอกลายๆ ทดสอบอารมณ์เธอกลายๆ เพราะด้วยนิสัยเธอมันเป็นแบบนั้น

    หนึ่ง คนธรรมดา เดินดินกินข้าวปุ้น
    ครับ อันนั้นผมเข้าใจครับ

    Jaideejung Hoo
    4:06am
    ไม่จำเป็นต้องเขียนสละสลวย แค่ที่เธอเขียนบันทึกไว้ยังไง เธอก็ก๊อปส่งมาให้ครูอ่านแค่นี้ก็โอเคแล้ว

    หนึ่ง คนธรรมดา เดินดินกินข้าวปุ้น
    4:06am
    ครับบบบบบบนแยกอีกฉบับ
    สักครู่
    เผอิญว่าวันนี้หมดดึกแล้ว
    กะว่าจะเขียนทีเดียวให้เสร็จ

    Jaideejung Hoo
    4:07am
    เพราะนั้นคือ อารมณ์สภาวะปัจจุบันที่เธอทำได้ มันออกมาจากจิตเธอจริงๆ พอมานั่งเขียนทีหลัง มันก็จางแล้ว

    หนึ่ง คนธรรมดา เดินดินกินข้าวปุ้น
    4:07am
    ครูเลยมาให้ธรรมผมจนได้
    ครับๆๆๆ

    Jaideejung Hoo
    4:08am
    อือ ถ้าเป็นเมื่อก่อน เธอวีนแตกไปแล้ว

    หนึ่ง คนธรรมดา เดินดินกินข้าวปุ้น
    4:08am
    ใช่ครับ
    ครูทราบ

    หนึ่ง คนธรรมดา เดินดินกินข้าวปุ้น
    จัดครับบบบบบบสักครู่
    บททดสอบสุดท้ายผ่านไปด้วยดีนั่นคือโดนทวงการบ้านออกสื่อ

    หนึ่ง คนธรรมดา เดินดินกินข้าวปุ้น
    4:30am
    การ์ตูน ยิ้ม ^___^

    Jaideejung Hoo
    4:31am
    55555555555555
    นี้ เจ้านี้ มันต้องโดนอย่างนี้

    Jaideejung Hoo
    อีกอย่างเธอบอกว่าอยากบวชเพราะยังไม่เคยบวช แล้วถ้าเกิดตายก่อนได้บวชล่ะ เธอจะเสียใจเสียดายมั้ย?
    ตอบมา อันนี้ยังไม่ได้ตอบมา

    หนึ่ง คนธรรมดา เดินดินกินข้าวปุ้น
    5:27am
    โหยลืมเขียนเลยรีบจัด
    ครับๆๆๆแปบ

    หนึ่ง คนธรรมดา เดินดินกินข้าวปุ้น
    หากตายก่อนได้บวชกายก็ไม่เสียดายครับที่ปฏิบัติอยู่ก็เปรีบยเสมือนการบวชอยู่แล้วนั่นคือการบวชจิต
     

แชร์หน้านี้

Loading...