ขอคำแนะนำ -- จะลด ละ เลิก ขี้อิจฉาได้อย่างไร ??

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย pum_anatta, 20 กุมภาพันธ์ 2014.

  1. pum_anatta

    pum_anatta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +805
    สารภาพเลย ความจริงเป็นคนขี้อิจฉามาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วค่ะ แต่ว่าเพิ่งมารู้สึกตัวช่วงหลังๆนี้เอง

    ช่วงนี้ขี้อิจฉามากๆๆๆๆ จนตัวเองเป็นทุกข์ เมื่อก่อนจะใช้วิธีเจริญเมตตาข่มมันไว้ สวดมนต์ ไหว้พระ ทำบุญบ่อยๆ

    แต่ตอนนี้เอาไม่อยู่แล้วค่ะ ไม่รู้ว่าทำไมเพิ่งมาสำเหนียกได้ว่าตัวเองขี้อิจฉาหนักมาก ในที่นี้ไม่ใช่อิจฉาคนที่ดีกว่าตัวเองนะคะ (กับคนที่ดีกว่าจะค่อนข้างเฉยๆ) แต่อิจฉาแม้คนที่ด้อยกว่า กลัวว่าเค้าจะมาดีกว่าตัวเอง กลัวว่าเค้าจะตีตัวเสมอตัวเอง (ร้ายกาจมากเลย) ทำให้ใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุขเลย

    ทีนี้อยากให้มันหายไปค่ะ รู้สึกเกลียดใจตัวเอง รังเกียจตัวเอง โกรธตัวเอง ไม่อยากเป็นแบบนี้ อยากมีจิตใจที่สงบและมีเมตตามากกว่านี้ บางทีก็ร้องไห้เลยค่ะ อยากให้ความอิจฉามันหายไป เกลียดมันมาก

    ในทางจิตวิทยาที่เคยอ่านผ่านๆมา คิดว่าการอิจฉานี่จริงๆแล้วเป็นเพราะรู้สึกว่าตัวเองขาด รู้สีกว่าตัวเองไม่ดีพอ บลาๆๆ

    ณ จุดนี้อยากก้าวข้ามสิ่งเหล่านี้ไปให้ได้ อยากเป็นคนที่มีเมตตาจริงๆ ลดอีโก้ตัวเองลงได้จริง อยากเป็นคนดีกว่านี้

    เมื่อก่อนอิจฉาน้อยกว่านี้ เห็นใครได้ดีก็ยินดีด้วยได้เสมอ มีเพื่อนเยอะเลย ตอนนี้พอขี้อิจฉามากๆ คบใครไม่สนิทใจเลย ไม่กล้าใกล้ชิดใครเลย กลัวตัวเอง เกลียดตัวเอง

    กว่าปีมานี้ไม่ได้ปฏิบัติธรรมเลย ได้แต่สวดมนต์ไหว้พระ และทำบุญเท่านั้น เลยอยากได้คำแนะนำแนวทางปฏิบัติ ทั้งในทางปฏิบัติธรรม และทางจิตวิทยา เพื่อจะได้ลด ละ เลิก ขี้อิจฉาไปได้บ้าง

    ขอขอบคุณล่วงหน้า และขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ
     
  2. thumachatshawan

    thumachatshawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +144
    ปกติ

    ส่วนมากคนขี้อิจฉามักเป็นคนฉลาด
     
  3. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ทางลัดที่สุด คือการฝึกมีสติอยู่กับกาย อย่าปล่อยให้จิตมันคิดเตลิดไป
    เมื่อรู้ว่าจิตมันคิดฟุ้งซ่าน ให้กลับมาอยู่กับความรู้สึกทั่วร่างกาย รู้หลวมๆ รู้เฉยๆ ทั่วทั้งตัว หรือถ้าหากยังทำไม่ได้ ก็ให้รู้ลมหายใจ
    วิธีนี้ ช่วยลดทุกข์จากความคิดได้ทุกแบบ
     
  4. ศุภกร_ไชยนา

    ศุภกร_ไชยนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    627
    ค่าพลัง:
    +1,122
    เจริญ พรหมวิหาร 4 ให้มากครับ ทำให้ถึงตัวมุทิตา ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีกว่า

    ฝึกปล่อยวาง หยุดตัดสิน หยุดพิพากษา ทำใจกลางๆ คิดซะว่า มันเป็นธรรมดาของโลก

    ฝึกพิจารณาขันธ์ 5 ละวางให้หมด โดยเฉพาะสังขาร ตัวความคิดที่ปรุงแต่ง

    อย่าไปคิดมาก มันจะหลอกเราให้หมุนวน เป็นเชือกมัดเราให้แน่นยิ่งขึ้น

    อิจฉา---> เกลียดตัวเอง เครียด คิดมาก---> ใจหนึ่งก็รู้สึกยังอิจฉา ใจหนึ่งก็คิดว่าตัวเองชั่ว

    เป็นแบบนี้เรื่อยๆ

    ความเป็นจริงมันไม่มีอะไร เราคิดไปเอง และเอาความคิด สังขาร มาทำร้ายตัวเอง

    ถ้าเครียดกับมันมากก็ปล่อยมันอิจฉาไปแล้วมองดูไปเรื่อยๆ เดียวก็หายไปเอง เป็นธรรมดาของคนอย่างเราๆที่ยังละกิเลศไม่ได้ มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา มีเกิดเดียวก็ดับ

    สู้ๆครับ


    " ความจริงมันไม่มีอะไร "
     
  5. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    ท่านจขกท เป็นผู้มีปัญญาดี จึงสามารถทราบและยอมรับความเป็นคนมีจิตริษยาใครๆได้ ทั้งคิดที่จะกำจัดอาการที่ไม่ดีนี้ออกไปเสีย นี่เป็นวิสัยของบัณฑิตโดยแท้..แต่ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ กระวนกระวายใคร่จะหายจากการริษยานั้น เป็นเรื่องที่ท่านต้องทราบด้วยว่า แม้นี้ก็เป็นสภาพจิตที่เป็นไปกับความฟุ้งซ่าน เป็นโทสะที่หากสั่งสมไว้มากบ่อยๆเนืองๆย่อมมีโทษแก่ตน เช่นทำให้เครียด หน้าตาแก่เร็วระบบของกายต่างๆย่อมเสียหายไปเพราะโทสะที่แผดเผาอยู่เนือง..ๆ...

    ความริษยาเกิดจากการขาดมุทิตา (ที่มีลักษณะคือความชื่นชมยินดีในความมี ความได้ ความดีของคนอื่น)..เราเจริญมุทิตาไม่ได้ เพราะเราทุกคนมีอนุสัยกิเลสคือความริษยานอนเนืองอยู่ในกระแสจิต ..แต่เราก็สามารถฝึกฝนตนเองไปเรื่อยๆจึงจะบรรเทาความริษยาลงได้..
    ด้วยการมี โยนิโสมนสิการ คือทำความเข้าใจด้วยเหตุผลว่าความริษยาไม่ก่อให้เกิดคุณใดๆ ผู้มีความริษยานั้นจะได้รับผลคือขาดบริวาร แต่ผู้ที่เจริญมุทิตาโดยกำจัดความริษยาได้ย่อมจะได้รับอานิสงส์คือมีบริวาร ห้อมล้อม มีมิตรสหายห้อมล้อม ความริษยานั้นก่อให้เกิดโทษในปัจจุบันและภพต่อไป ไม่ว่าเกิดกับผู้ใดก็ทำให้ผู้นั้นตกต่ำไปตลอด..

    เมื่อใดที่เราทราบว่าสิ่งใดจะนำทุกข์โทษมาสู่ตนด้วยปัญญาแล้ว ปัญญานั่นเองจะชักนำตนให้หลีกเลี่ยงการกระทำที่จะนำทุกข์มาให้..ดังนั้น ขอให้ท่านจขกท ยุติความเดือดร้อนใจลงก่อน จิตใจที่ไม่กระสับกระส่ายย่อมควรแก่การเกิดสติ .. เมื่อประสบอารมณ์ที่กระตุ้นริษยาให้เกิด ก็สามารถรู้สึกตัว รู้ทันความคิดนั้นได้.....แล้วตักเตือนตนเองให้มากให้บ่อยว่า เราจะทำตนให้เดือดร้อนไปถึงใหน หากยังปล่อยใจให้ไหลตามกระแสริษยาแล้ว ไม่มีใครเดือดร้อนเลยนอกจากตนเอง...

    จากนั้น ตั้งปนิธานว่า ในแต่ละวันจะเจริญมุทิตาให้ได้อย่างน้อย๒-๓ครั้ง เช่นเมื่อเห็นใครๆใส่เสื้อผ้าหรือหน้าตาสวยงามก็นึกชื่นชมเขาว่าดีนะ ที่เขามีเสื้อผ้าสวยดีใส่หรือหน้าตาดี นี่คงทำบุญมาดี...หรือเห็นใครขับรถผ่าน ก็มุทิตาว่า ดีจริง ยินดีด้วยที่เขาได้รับความสะดวก มีรถขับเองไม่ต้องเดินหรือเบียดเสียดในรถเมล์...ฯลฯ..ที่จริงมองไปรอบตัวจะเห็นสิ่งดีน่าชื่นชมได้ตลอดเวลา แต่เพราะเราไม่เคยฝึก จิตจึงไม่คุ้นเคย เพราะมัวชำนาญในการริษยาอยู่นั่นเอง..

    เอาละ ท่านจขกท เช็ดน้ำตาให้แห้งเสีย ไม่เสียใจอะไรๆอีก ใช้เวลาฝึกเจริญมุทิตาให้บ่อย ไม่นาน ความสุขความบริบูรณ์ด้วยมิตรไมตรีจะเกิดได้ เป็นกำัลังใจให้นะครับ...

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2014
  6. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,293
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ความทุกข์ของคุนไม่ได้เกิดจากความรู้สึกอิจฉาที่คุนมีต่อคนอื่น แต่ดูเหมือนความทุกข์ของคุนเกิดจากการไม่พอใจในตนเองรึป่าว? ..ทำไมฉันไม่เมตตากรุณา โอบอ้อมอารี ..ฉันไม่พอใจความรู้สึกอิจฉาในตัวฉันเลย เป็นต้น

    เผอิญว่าความรู้สึกมันอยู่กับเราไม่นาน เพียงแต่มันอาจเวียนมาบ่อยๆ จนกระทั่งเราไปจับมันมารึป่าว? ความจริงอิจฉาเค้า เราก้อไม่ได้ไปเบียดเบียนคิดร้ายใครหนิ จริงไหม? การเจริญพรหมวิหาร4ไม่น่าจะทำเพื่อกดข่มอารมณ์ด้านลบ แต่เป็นการปลูกฝังอารมณ์ด้านบวกขึ้นมาแทนรึป่าว?..ทุกอย่างต้องใช้เวลาสั่งสม

    ทุกอย่างคือไตรลักษณ์ จะเอาอะไรกับความรู้สึก อิจฉา ..
     
  7. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    ใช้พรหมวิหารสี่ เมตตา มุฑิตาจิตค่ะ สร้างความปราถนาดีให้เขามีความสุข เพราะเราทุกคนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ยินดีในสิ่งที่เขาได้ เขาคงต้องสร้างเหตุผลไว้ จึงได้รับผลนั้น เมื่อเราไม่ได้ทำไว้ จะให้เป็นเหมือนเขาก็คงไม่ได้ อยากได้เราต้องลงมือทำเอง ดูเขาเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เรานะคะ

    และ พยายามเข้าใจกฎแห่งกรรม ในส่วนของการริษยา นอกจากเราจะร้อนใจทุกข์ตรมไม่มีความสุขแล้ว ผลแห่งวิบากก็ทำให้เรามีตระกูลต่ำ ไม่สามารถเป็นผู้นำใครได้ ขาดมิตรที่จริงใจ ไม่มีความดีงามด้านจิตใจ ส่งผลถึงรูปร่างกาย เมื่อเกิดใหม่ ใจจะพร่องเติมไม่เต็ม
     
  8. markdee

    markdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    745
    ค่าพลัง:
    +1,911
    คิดไม่ดีเกิดขึ้นได้กับทุกคน คิดไม่ดีแล้วไม่กระทำไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน ทำความรู้จักมันค่ะรู้จักจนถึงที่สุดของความอิจฉาริษยา เมื่อคุณรู้จักมันดีแล้ว เมื่อนั้นคุณจะเข้าใจความอิจฉาริษยา แล้วความอิจฉาริษยาจะไม่มาทำร้ายเราได้อีกเลยค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2014
  9. พงษ์สนั่น

    พงษ์สนั่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +336
    ไม่ขี้้โลภ แล้วจะหายอิจฉา
     
  10. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    ทุกข์ ภายใน คือ ทุกข์ของตัวเอง

    ทุกข์ ภายนอก คือ ทุกข์ของผู้อื่น

    พิจารณาอันนี้ให้ถึงจุด จะละกิเลสได้ทุกตัว

    ไม่ต้องห่วงเรื่องคุณธรรมอื่นๆ เลย พรหมวิหารธรรมจะปรากฏแก่จิตเองอย่างง่าย ๆ กว่าเจริญพรหมวิหาร ๔ โดยตรงเพียวๆ
     
  11. xeforce

    xeforce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +413
    ดูอีกแง่นึงครับ ตั้งกระทู้อย่างนี้ก็เป็นการลดอัตตาลงครับ กล้าบอกให้คนอื่นได้รู้ในแง่เสียของตน
    ซึ่งความจริง "ความอิจฉา" ก็มีอยู่ในทุกคน ขึ้นอยู่กับว่าจะรู้ตามความเป็นจริงกันหรือไม่
    ถ้ามันมีอยู่ ก็รู้ว่า มันมีอยู่ แล้วหาทางให้มันหมดไป อย่างนี้ก็จะมีโอกาสที่มันจะหมดไป
    แต่ถ้ามันมีอยู่ แต่ไม่รู้ว่า มันมีอยู่ อย่างนี้ ก็ไม่อาจจะทำให้มันหมดไปได้ ขอยกตัวอย่างนะครับ
    จะได้เข้าใจง่ายขึ้น หากมีโจร 2 คน เลี้ยงชีพด้วยการปล้นทรัพย์จากคนอื่น โดยที่โจรทั้ง 2
    คิดมาตลอดว่าการทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น มันเป็นเรื่องปกติธรรมดา... โจรคนที่หนึ่ง ไม่เคย
    ย้อนมาระลึกถึงสิ่งที่ตนทำเลย ไม่เคยคิดว่าการกระทำของตนจะสร้างความเดือดร้อนผู้อื่น
    หรือไม่... แต่โจรคนที่สองเกิดมี สติ ฉุกคิดขึ้นได้ว่า สิ่งที่ตัวเองทำเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นสิ่งผิด
    และสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น.... คิดว่าโจร 2 คนนี้คนไหนจะกลับเป็นคนดีได้ 1 หรือ 2

    เช่นเดียวกับนักปฏิบัติ ที่มีสติรู้ว่า ราคะ โทสะ หรือโมหะ เกิดขึ้นมาที่จิต แล้วรู้ตามความเป็นจริง
    เค้าก็จะหาทางให้มันหมดไป โอกาสที่กิเลสเหล่านั้นจะหมดก็เป็นไปได้... แต่ถ้านักปฏิบัติคนนั้น
    ไม่รู้ว่า จิตเรามี ราคะ โทสะ หรือโมหะ คิดว่าจิตตัวเอง มีแต่จิตดี มีแต่ความสงบ เค้าก็จะไม่หาทาง
    ที่จะทำให้มันหมดไปได้...


    วิธีละ เลิก
    อย่าไปทุกข์กับมันเลยครับ จะกลายเป็นทุกข์ซ้อนทุกข์... ให้รู้ไว้ว่า จิตจะดี ก็เป็นของชั่วคราว มีแล้วหายไป
    จิตเลวก็เหมือนกัน เป็นของชั่วคราว มีแล้วก็หายไปเช่นเดียวกัน... ที่เราทำได้คือ "การสร้างเหตุ" เหตุให้หมด
    กิเลส.... ไม่ต้องอยากให้มันหายไป หรือกดข่มมัน แค่รู้ว่า "ความอิจฉา" มันเกิด แล้วก็ละมันซะ ไปอยู่ที่
    ฐานกายก็ได้ หรือ ลมหายใจ... จิตจะเป็นอุเบกขา กายใจก็สงบระงับ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ เจริญมรรค8
    ทำอย่างนี้ก็เป็นการเพียรเผากิเลสแล้ว ไม่ใช่แค่กิเลสหยาบๆ อย่าง ราคะ โทสะ หรือโมหะ แต่อานาปานสติ
    หรือกายคตาสติ จะเข้าไปชำระถึงอนุสัยของกิเลส เราเพียรทำไปอย่างนี้ เราอาจจะไม่รู้ว่าวันนี้ กิเลสหายไป
    มากน้อยแค่ไหน แต่ถ้ามีสัมมาวายามะ เพียรทำไป แล้ววันนึงลองมาสำรวจดูจะเป็นเองครับว่า กิเลสหยาบ
    หรืออนุสัยมันเบาบาง หรือหายไปแล้ว ขอยกอีกตัวอย่าง จะได้เห็นได้ง่ายนะครับ
    ถ้าเราซื้อรถยนต์มาคันหนึ่ง แล้วลองหัดขับ ขับไปปาดหน้าคันอื่นบ้าง จี่ตูดรถหน้าบ้าง ขับๆไปในใจก็ได้แต่
    ขอโทษรถคันอื่น ... ขับๆไปวันนึงเราขับ เก่งขึ้น คล่องขึ้น คนที่โดยสารไปกับเรา ก็ออกปากชมว่า "เราขับเก่ง"
    จิตของเรามันจะสร้างตัวตนขึ้นมาว่า เราขับเก่ง ใครก็ขับดีไม่เท่าเรา... ขับๆไป มีรถมาปาดหน้า จิตก็เริ่มขุ่น
    มีรถมาเบียด จิตก็ขุ่น เกิดไม่พอใจ เกิดโทสะ สะสมเป็นอนุสัยอยู่ข้างในเรื่อยๆ ... วันนึงขับรถไป มีเหตุการณ์
    แบบเดิมเกิดขึ้น มีรถมาปาดหน้า จิตมันเกิดเป็นโทสะขึ้นเลย อัตโนมัติ เพราะสิ่งที่เราไปสะสมไว้เองตั้งแต่แรก
    ลองย้อนไปดูวันแรกของการขับรถว่าถ้า มีใครมาปาดหน้าเรา จะมีโทสะเกิดขึ้นหรือไม่ ... จิตเรามันเกิดสะสม
    สิ่งเหล่านี้ไว้ ...
    ซึ่งทำการกระทำ ความคิด คำพูด ล้วนให้เกิดกรรมทั้งสิ้น แม้แต่ความคิดที่เป็นอกุศลเพียงเล็กน้อย
    ถ้าเราไม่รีบละ มันจะสะสมในจิต เมื่อปัจจัยมันพร้อม จะส่งผลไปเป็นการกระทำที่ทำร้ายผู้อื่น หรือ ว่ากล่าวผู้อื่น
    เหมือนฟองแก๊สที่ผุดขึ้น ในบ่อน้ำเสีย เราโยนขยะลงไป สร้างเหตุให้มันสะสมมัน วันนึงที่มีใครจุดไฟขึ้นแถวนั้น
    มันก็เกิดระเบิดขึ้น เช่นเดียวกับ อนุสัยกิเลส อาสวะ เราเก็บสะสมไปทุกการกระทำ ทุกความคิด ทั้งที่เราจะรู้ตัว
    หรือไม่ก็ตาม... เราจึงต้องละชั่ว และทำดี ในความหมายของพระพุทธองค์ ไม่ใช่แค่การการกระทำ แต่เป็นระดับ
    ตั้งแต่ความคิดเลย เมื่อเกิดจิตอกุศลเมื่อใด ให้รีบละ มาอยู่ที่ลมหายใจก็ได้ อย่างนี้เป็นเป็นการเจริญอานาปานสติ
    และเจริญมรรค8 อนุสัยกิเลสที่จะเกิดใหม่ก็ไม่เกิด ไม่สะสม ของเก่าก็จะเบาบางลงด้วย อานาปานสติ หรือกายคตาสติ
    ที่พระพุทธองค์ตรัสสอน บอกทางไว้ จะเห็นว่าอัศจรรย์แค่ไหน ที่ทำเพียงแค่นี้ แต่กลับเข้าไปชำระถึงสิ่งที่เราสะสม
    มานานทั้งอาสวะ และกิเลสชั้นละเอียดถึงแม้เราไม่สามารถเห็นได้ แต่ก็ถูกชำระให้สิ้น หรือหมดลงได้


    ..............................
     
  12. โซ

    โซ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    352
    ค่าพลัง:
    +872
    ธรรมซึ่งเราได้เคยปฏิบัติมาแล้วอย่างมุ่งมั่น ตั้งใจเพื่อหวังในสิ่งที่เจริญขึ้น ย่อมหวังผลของอานิสงส์ในผลบุญนั้นเป็นธรรมดาของปถุชนผู้มีความอยากมี อยากเป็น อยากได้อยู่เป็นปกติ คืออยากปฏิบัติให้สิ่งที่ดีได้เข้ามาในชีวิต มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น แม้ธรรมที่ปฏิบัตินี้ก็เป็นไปเพื่อความอยาก ยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ในธรรมที่มีอยู่ ซึ่งหลักการสอนคือละตัวตนที่ยึดมั่นถือมั่นปล่อยวางซึ่งทำให้เป็นทุกข์ สอนการดับทุกข์ซึ่งมีเหตุมาจากความไม่รู้ คือรู้ไม่ทันในสิ่งที่เกิด ผู้ที่ไม่ปฏิบัติในธรรมย่อมตามไม่ทันความคิดที่เป็นอกุศล อกุศลเกิดก็ปล่อยไปตามแรงอกุศลนั้น หรือเติมความรุนแรงเพิ่มยิ่งขึ้นไปได้อีก ผู้ที่ปฏิบัติมาดีแล้วย่อมเห็นผลอกุศลที่เกิดนั้นตามแรงปรารถนาของตน แม้ตามไม่เท่าทัน หรือรู้ไม่เท่าทัน เมื่อแรงอกุศลนำหน้าความมีสติ สติเดินตามจิตที่เป็นอกุศลนั้นเมื่อตัวเองรู้ตามอย่างนี้ แล้วนำมาใคร่ครวญถึงเหตุผลนั้นอย่างนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้เห็นภัย เห็นโทษ ว่าเป็นผู้หลง หลงในความเสื่อม หลงในอบาย ผู้ปฏิบัติไม่มีจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติ คือเป็นคนที่ไร้จุดหมาย ไร้สิ่งที่หวัง ไม่มั่นคงในผลของธรรม ไม่เห็นโทษ เห็นประโยชน์ ในสิ่งที่กระทำ เรามีหรือมาได้ในชาตินี้ เป็นอย่างนี้ เป็นแบบนี้ ได้อย่างนี้ อยู่อย่างนี้ สุขอย่างนี้ ทุกข์อย่างนี้ สวยแบบนี้ หล่ออย่างนี้ ขี้เหล่อย่างนี้ ก็ด้วยกรรมที่กระทำมาแล้วในอดีต ดั่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกล่าวแล้วว่า เรามีกรรมเป็นของตัวเอง เป็นแดนเกิด เป็นที่พึ่ง เป็นเผ่าพันธุ์ ที่เป็นกุศลและอกุศล โดยความไปสู่ภพของสุคติ ทุคติ การที่เราหมั่นฝึกปฏิบัติธรรมนั้นเป็นการฝึกโดยอาศัยกำลังของสติระลึกรู้มัน ในสิ่งที่เกิดขึ้นหมั่นระลึกความคิดที่ไม่ดีที่เกิดเป็นอกุศลนั้น ว่าเป็นของไม่ดี มีความเสื่อมจากความเจริญเป็นสิ่งที่เศร้าหมอง ตั้งเป้าหมายมีจุดมุ่งหวังในธรรม แล้วมองอานิสงส์ที่เป็นผลของการกระทำเป็นสิ่งตอบแทน แม้กระนั้นมองว่าสิ่งนี้บุคคลอื่นที่ไม่ได้ปฏิบัติอย่างเราแบบนี้หาได้ยาก เป็นผู้มีความเสื่อมในธรรม เขามี เขาได้ เขาสมหวัง เขาดีใจ เขาเอิบอิ่ม เขาภูมิใจ เขายินดี เขาร่าเริง เขาแจ่มใส เขามีความสุข อย่างนี้เขาก็ได้มาโดยบุญกุศลที่เขาได้ทำมาแล้วในอดีต อาจเป็นบุญที่มาส่งผลในปัจจุบัน เขาได้รับผลอย่างนี้ ก็ยังชื่อว่าเป็นผู้หลงในกิเลส ปล่อยจิตให้เป็นไปในลาภยศสรรเสริญ ซึ่งต่างจากเราซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ เห็นโทษประโยชน์ บุญ อานิสงส์ อย่างนี้ เรารู้ไม่เท่าทันในกรรมที่เรากระทำมาแล้วในอดีต สิ่งที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็ด้วยอานิสงส์ที่เกิดส่งผลแล้วในปกติชีวิตประจำวัน ความอิจฉานั้นมองพื้นฐานในทางโลกเกิดจากเราหวังสิ่งนั้นสูงเกินไป เข้าข้างตัวเองมากไป ประเมิณค่าตัวเองสูงเกินไป จิตใจแคบไม่เปิดกว้าง ไม่มีการพัฒนาตัวเองและสิ่งรอบข้าง ขาดไอเดีย ไม่สร้างสรร ไม่มีสิ่งจูงใจ ไ่ม่มีจุดเด่น ไม่มีการนำเสนอสิ่งที่ดีที่เป็นสิ่งแปลกใหม่ ไม่มีจุดยืน นิสัยไม่ดี ไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน แม้มองในทางโลกสิ่งเหล่านี้เราแข่งขันกันเพราะมาจากกิเลส ทำไปตามความอยากมีอยากเป็นอยากได้เป็นธรรมดา อยากมาก หวังมาก ความเป็นกิเลสอกุศลก็มากตาม ขอเรามองสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่ทำให้เราเกิดมาได้อย่างนี้แล้วนับอสงไขยไม่ถ้วน แม้ความดีที่เราได้พยายามกระทำในการลดความมีเป็นเจ้าของอยากได้ อยากมี อยากเป็น อย่างนี้ แม้มันจะตามไม่ทันในอกุศลที่เกิดไปแล้วนั้น เราก็นำมาพิจารณาหาเหตุ แล้วดับมันทันตามอกุศลที่เกิดขึ้น เราก็ขึ้นชื่อว่า ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว ได้ปฏิบัติแล้ว สั่งสมแล้ว ดีแล้วกว่าบุคคลอื่นที่ยังหลงใหลมัวเมาในลาภยศที่ได้เกิดขึ้นมาอย่างไม่มีสติใตร่ตรอง เมื่อเรามองให้เป็นพื้นฐานแบบนี้ได้เป็นปกติแล้วก็ยกจิตขึ้น ตามพี่ๆกระทู้ด้านบนเลยครับ เจริญสติ ใช้พรหมวิหารสี่ เมตตา มุฑิตา อะไรก็ว่าไปครับ แต่ที่ผมฝึกใช้อยู่คือ เมื่อมีสิ่งที่มากระทำหรือกระทบใจที่เป็นปัญหาที่ทำไห้เกิดทุกข์เกิดความเศร้าหมอง ผมจะหลับตาแล้วเพ่งจิตไปข้างหน้า หรือเอาแบบสบายๆก็ก้มหน้าลงไปที่โต๊ะ แล้วเพ่งจิตและใช้สติจดจ่อลงไปคิดเสียว่าเราเอาปัญหาที่เกิดที่ทำให้เราทุกข์หรือไม่สบายใจไปรวมไว้ที่ระหว่างหน้าผากกับโคนจมูกแล้วเพ่งจิตตั้งสติจดจ่อหยุดอยู่ที่นั้นสักพักตามกำลังของเราเลยครับ มันเหมือนเป็นการสะกดอ่่ะครับ เป็นการไม่ส่งจิตออกไปข้างนอกจดจ่ออยู่แบบนั้นเพ่งไปไม่ปรุงแต่ง วาง ละ คลาย ความคิด สงสัยใดๆ สักพักมันจะผ่อนคลายหายไปเลยครับ ทีนี้เราจึงมาหาเหตุผลว่ามันเกิดมาได้อย่างไรที่ทำให้เราหลงไปได้ถึงเพียงนี้ ก็ได้คำตอบครับ คือเราปล่อยใจไปคิดปรุงแต่งให้มันฟุ้งซ่านเอง คืดเราขาดสติยั้งคิดนั่นแหละครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2014
  13. ladyinblack

    ladyinblack เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +155
    โดนมากกกก...ค่ะ ขอบอก...และอยากบอกอีกว่าคุณเจ้าของกระทู้ไม่ได้เป็นคนขี้อิจฉาคนเดียว ณ จุดจุดนี้ เชื่อว่า ผญ. หลายคนบนโลกใบนี้เป็นคล้าย ๆ กันหมดค่ะ

    ladyinblack เองก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่จะเป็นแบบว่าถ้าสมมติเค้าเคยด้อยกว่าแล้วมาดีกว่าทีหลัง เราจะเริ่มรู้สึกไม่ดีและ เหมือนชีวิตเราถอยหลัง ไม่ก็หยุดอยู่กะที่ แต่เค้ามีพัฒนาการทำนองนี้(ในทุก ๆ ด้าน) แต่ถ้าเค้าดีกว่าอยู่แล้วก็อนุโมทนาด้วยค่ะ พยายามจะไม่เปรียบเทียบกะคนที่เค้าเลอเลิศกว่าอยู่แล้ว (เพราะทำให้เรารู้สึกด้อยลงไปอีก)

    ก็ไม่รู้ว่าตัวมีปมอะไรหนักหนาเหมือนกัน เวลาเห็นคนอื่นเค้าได้ดีกว่า สวยกว่า เรียนเก่งกว่า รวยกว่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า หรือมีโอกาสในชีวิตมากกว่า บางที คือ มันก็เป็นบางอารมณ์อ่าค่ะ แต่บางทีเราก็เฉย ๆ

    และเวลาที่รู้สึกแบบนั้นคืออิจฉาจะพยายามยิ้มแล้วบอกตัวเองว่า อื้ม ดีแล้ว เค้าคงทำบุญมาเยอะเนอะ พยายามเจียมตัว ฮ่า ๆ ไม่ก็ไปหาอะไรอย่างอื่นทำ พยายามไม่สนใจ เพราะไม่ใช่เรื่องของเรา เค้าได้ดีมันก็เรื่องของเค้า เรื่องของเราเอาให้รอดแล้วค่อยสนใจคนอื่น ประมาณนี้อ่าค่ะ

    เชื่อว่าสักวันนึงพอเราอายุมากขึ้น มีปัญญามากขึ้น หรือเป็นผู้ใหญ่มากกว่านี้ อารมณ์เหล่านี้นี้มันคงจะหายไปเองเหมือนที่เราตอนเด็ก ๆ ตอนยังไม่ประสีประสา เราก็ไม่สนใจอะไรทำนองนี้เท่าไร

    อนุโมทนาค่ะ
     
  14. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ถูกแล้วถุกแล้วอานนท์ ตามที่สารีบุตรเมื่อตอบปัญหาในลักษณะ นั้นเช่นนั้น ชื่อว่าได้ตอบโดยชอบ อานนท์ ความทุกข์นั้น เรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเกิดขึ้น (ปฎิจสมุปัณธรรม) ความทุกข์นั้นอาศัยปัจจัยอะไรเล่า? ความทุกข์นั้น อาศัยปัจจัย คือ ผัสสะ ผู้กล่าวอย่างนี้แล ชื่อว่ากล่าวตรงตามที่เรากล่าว ไม่เป้นการกล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง แต่เป็นการกล่าวโดยถูกต้อง และสหธรรมมิกบางคนที่กล่าวตาม ไม่พลอยกลายเป็นผู้ควรถูกติไปด้วย อานนท์ ในบรรดาสมณพราห์มณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมทั้งสี่พวกนั้น สมรพราห์มณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ว่า เป็นสิ่งที่ตนเองทำด้วยตนเอง แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาศัยผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดมีได้ สมรพราห์มณ์ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ผู้อื่นทำให้ แม้ความทุกข์ที่เขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาสัยผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดมีได้ สมณพราห์มณืที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใดย่อมบัญญัติความทุกข์ว่าเป็นสิ่งที่ตนเองทำด้วยตนเองด้วยผู้อื่นทำให้ด้วย แม้ความทุกข์ที่เขาบัญญัตินั้น ก็ยังต้องอาสัยผัสสะ เป็นปัจจัยจึงเกิดมีได้ ถึงแม้สมณพราห์มณ์ ที่กล่าวสอนเรื่องกรรมพวกใด ย่อมบัญญัติความทุกข์ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ใครทำเองหรือใครทำให้เกิดขึ้น ก็ตาม แม้ความทุกข์ที่พวกเขาบัญญัตินั้น ก็ ยังต้องอาสัยผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีได้อยู่นั้นเอง---นิทาน.สํ.16/40/75...........:cool:
     
  15. sirigul

    sirigul เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +2,515
    ยังขอบคุณเป็น ยังอนุโมทนาเป็น ยังไม่สุดโต่งนี่ ยังพอแก้ไขได้ ก็แค่คิด ไม่ว่าใคร เค้าหรือเรา จะดี จะรวย จะจน จะสวย จะเก่งจะโง่ ตายหมดไม่มีเหลือ ข้อนี้คือเหมือนกัน บางคนคิดแย้ง ถึงจะตายเหมือนกัน แต่คนรวยเวลาตาย ตายสบายกว่า มีหมอดูแลอย่างดี มีห้องอยู่อย่างแพง อีตอนใกล้ตาย หมอดูแลอย่างดี มีห้องอย่างแพงก็ไม่มีความหมายแล้ว ขอให้คิดไว้เสมอ เราไม่ได้ดีไปกว่าใคร แล้วก็ไม่ต้องไปอิจฉาใคร แล้วก็ภาวนาขอให้ทุกคนมีความสุขเถิด จะเป็นลูกหลานก็ดี ไม่ใช่ลูกหลานก็ดี ญาติพี่น้องก็ดี ไม่ใช่ญาติพี่น้องก็ดี ศรัตรูก็ดี ไม่ใช่ศรัตรูก็ดี เจ้ากรรมนายเวรก็ดี ไม่ใช่เจ้ากรรมนายเวรก็ดี ขอให้พ้นทุกข์ มีความสุขกันโดยถ้วนๆหน้าเถิด คิดแบบนี้เสมอ จิตจะละเอียดขึ้น ความหยาบของจิตจะค่อยๆหายไป เมื่อนั้นเราก็เป็นคนดีได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2014
  16. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ก่อนอื่นคุณต้องทำความเข้าใจและรู้ก่อนว่า ความอิจฉา เกิดจากการได้รับการสัมผัสทางอายตนะ แล้วจึงเกิดอารมณ์ ความรู้สึก การระลึกนึกถึง และคิด ไปในทางที่พุทธศาสนาเรียกว่า "อกุศลธรรม" เมื่อคิดไปในทาง "อกุศลธรรม"แล้วจึงเกิด อารมณ์ ความรู้สึก หรือสภาพสภาวะจิตใจรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า" อิจฉา" ความอิจฉานั้น มีอารมณ์ ความรู้สึก และการคิด ที่มากมายหลายหลากรูปแบบ อธิบายให้เป็นตัวอักษรได้ยากพอสมควร เอาเป็นว่า คุณคงรู้นะว่า ความอิจฉา นั้น มีอารมณ์ ความรู้สึก และการคิด อย่างไรบ้าง
    ในมื่อ "ความอิจฉา" คือ อารมณ์ ความรู้สึก การคิด จากการได้รับการสัมผัสทางอายตนะ คุณก็ต้องแก้ด้วย ความคิด และการระลึกนึกถึง ของตัวคุณเอง เพราะถ้าคุณไม่แก้ด้วย ความคิด การระลึกนึกถึง ของตัวคุณเอง คุณก็คงไม่สามารถขจัดปัดเป่าเอา ความอิจฉา ที่เกิดขึ้นในตัวคุณให้ลดลงหรือหมดไปได้

    ข้อแนะนำ แบบ ง่ายๆ และยังมีอีกหลายรูปแบบนะขอรับ

    เพียงแค่ ถ้าคุณได้รับการสัมผัสในสิ่งใดเรื่องใดก็ตาม คุณก็คิด เพียงแค่ "เรื่องธรรมดา" คิดไปหรือระลึกนึกถึง(ในเรื่องที่คุณได้รับการสัมผัส)ก็ไม่ได้อะไร อย่างมากก็ได้แค่ความคิดที่กำลังคิดอยู่เท่านั้น(ความอิจฉา)นั่นแหละ ท่องจดจำไว้ให้เสมอ ท่องจงขึ้นใจ ระลึกนึกถึง ว่า "เป็นเรื่องธรรมดา" เรื่องธรรมดา เท่านี้ ความอิจฉาที่จะเกิดขึ้นในตัวคุณก็จะไม่เกิดขึ้นอีกเลย เนื่องเพราะระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์มหัศจรรย์ยิ่งนัก หากจะอธิบายในทางพุทธศาสนา คุณก็จะไม่เข้าใจอย่างแน่นอน จึงขยายความออกมาให้ได้ลองพิจารณาดูเถิดขอรับ
     
  17. Penty

    Penty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2014
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +1,580
    ก่อนอื่นขอชื่นชม เจ้าของกระทู้ ที่มีความกล้าหาญชาญชัย ประกาศตัวเป็นแกนนำม็อบคนขี้อิจฉา ขอสารภาพเลยค่ะ ว่าเราก็เป็น คนอื่นๆก็เป็นแต่ๆละคนจะจัดการ กับความรู้สึกขี้อิจฉานั้นแตกต่างกันอย่างไร

    ขอยกตัวอย่างของซี เป็นคนขี้อิจฉา ชอบเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นอยู่ตล๊อดๆ อ้ะแบบ วัยรุ่นเลย จะขอนำท่านเข้าสู่ เรื่องราวในเฟซบุ๊ค เพื่อนโพสรูปแฟน ไปเที่ยวมีความสุข สวีท ก็มาเปรียบเทียบและ ทำไมเราไม่เห็นมีเวลาได้ไปบ้างเลย อย่างนั้นอย่างนี้

    เรียนจบแล้วมีงานทำ เพื่อนที่ตอนเรียน เรียนก็แย่กว่าเรา ตอนเรียนเรายังสอน ยังติวให้เพื่อนคนนั้น แต่พอจบกลับมีงานที่เงินเดือนมากกว่าเราซะงั้น มันน่าจี๊ดหัวใจ

    นี่แค่ยกตัวอย่าง 2 กรณี ถามว่าถ้าไม่จัดการอะไรเลย คนที่ไม่มีความสุข จะคือใคร เพื่อนมันจะรู้มั้ย ว่าเราตาร้อน อยากจะพ่นไฟใส่ บอกเลยว่าเค้าไม่รู้ แต่คนที่รู้และร้อนใจอยู่ ก็คือ ตัวเราเอง แล้ววิธีแก้ทำยังไง อันนี้แชร์ของตัวเอง เพราะคอมเม้นอื่นๆ มีเพื่อนๆพี่ๆท่านอื่น แนะนำบ้างแล้ว

    ฝึกตัวเอง รู้จักใช้มุทิตาจิต พลอยยินดีที่ผู้อื่นได้ดี เพื่อนเราทั้งคน เพื่อนมีความสุข สวีทหวานแหวว เราก็มีความสุขด้วย ลดความโลภ ในที่นี้หมายถึงความไม่รู้จักพอ ชอบเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ทำไมชั้นไม่สวีทหวานแหวว ไม่ได้ไปนั่นนี่โน่นบ้าง เพื่อให้ตัวเองรู้สึกด้อยค่า หรือเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ

    แต่ใช้พลังเปรียบเทียบนี้ ในด้านดีคือ มองมันเป็นแรงผลักดัน หรือขับเคลื่อน ให้เราอยากจะพัฒนาตัวเอง ทำไมเพื่อนมีงานดีๆทำที่ค่าตอบแทนสูงกว่า ทั้งที่ เราคิดว่าเค้าเก่งน้อยกว่า ก็ให้มองว่า อาจเป็นบุญเก่าของเค้า โชควาสนาของเค้าด้วยมั้ย จังหวะของเค้า ดังนั้นในเมื่อเราคิดว่าเรามีดีที่สมองอยู่บ้างแล้ว ก็ควรพัฒนาความรู้ความสามารถให้ดียิ่งๆขึ้นไป แค่เนี้ยความก้าวหน้าจะไปไหนเสีย

    อ้อที่สำคัญ หมั่นสวดมนตร์ นั่งสมาธิ ทำให้เราไม่ฟุ้งซ่านวอกแวก ใจเย็นขึ้น สงบขึ้น และก็เอาเวลานี้แหล่ะเพิ่มขึ้น ไปลดเวลาเล่นเฟสบุ๊คให้น้อย นานๆไปดูชาวบ้านที

    ของซีก็ประมาณนี้ค่ะ เล่าสู่กันฟัง คริๆ
     
  18. pum_anatta

    pum_anatta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +805
    ขอบคุณทุกท่านสำหรับทุกคำแนะนำเลยนะคะ อ่านแล้วพิจารณาตามทุกความคิดเห็นเลยค่ะ

    เริ่มเข้าใจตัวเอง(จากมุมมองของผู้อื่น) มากขึ้น ตัวเองนั้นเป็นคนที่ทำอะไรก็มีความ "อยาก" นำหน้าตลอด อยากดี อยากดีมากขึ้น อยากดีกว่าคนอื่น คำว่า "ขี้โลภ" สำหรับตัวเองนี่คงเป็นความจริงค่ะ มั่นใจเลยว่าจริง

    ขอบคุณสำหรับแนวทางการปฏิบัติที่ทุกท่านแนะนำมา จะนำไปปรับใช้กับตัวเอง เชื่อมั่นว่าธรรมของพระพุทธเจ้านั้นเป็นธรรมโอสถขนานแท้ ก็จริงที่ช่วงหลังนี่ตัวเองห่างไปมาก แทบจะไม่ได้สัมผัสเลยค่ะ สวดมนต์ก็แบบขอไปที บางทีใจไม่อยากสวดปากก็จะท่องๆไป บางทีปากสวดใจลอยไปหลายกิโลแล้ว ลืมหมดเลยว่าสวดถึงไหน ต้องสวดใหม่หมดก็มี

    ฟังธรรมก็เปิดไว้ฟังผ่านๆ ตาดูเว็บสั่งของออนไลน์ อะไรอย่างงี้ก็มี

    ไม่ได้อยากจะมาประจานความชั่วร้ายของตัวเองนะคะ ถ้าไม่เหลือทนกับตัวเองจริงๆ อยากเป็นคนปกติที่มีจิตใจที่เป็นปกติสุข สงบได้บ้าง นอนหลับได้ปกติเหมือนคนอื่นเค้า

    เมื่อก่อนตั้งความปรารถนาสูงสุดไว้ว่าขอถึงนิพพาน ตอนนี้แค่อยู่ในทางยังลำบากเลย แต่จะขอลองตั้งใจปฏิบัติดูอีกซักครั้ง แค่ไหนแค่นั้น

    บุญกุศลใดที่ทุกท่านได้รับจากการช่วยให้ผู้หญิงคนนึงดีขึ้นและมีความสุขมากขึ้น เราขออนุโมทนาค่ะ

    และบุญใดที่เราจะกระทำต่อจากนี้ เราขอให้ทุกท่านมีส่วนในบุญนั้นด้วยค่ะ
     
  19. Penty

    Penty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2014
    โพสต์:
    475
    ค่าพลัง:
    +1,580
    ซีก็สั่งของออนไลน์ในเฟสนะ แต่เรื่องชาวบ้านจะไม่ค่อยสนใจนัก เอาตัวเองให้ดีก่อน เด่วต่อมอิจฉากำเริบอีก คริๆ
     
  20. pum_anatta

    pum_anatta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    369
    ค่าพลัง:
    +805
    สั่งของออนไลน์นี่ เราเป็นหนักค่ะ ไม่มีตังค์จะซื้อขนมกินเลยค่ะ กำลังจะเลิกอยู่ >_<
     

แชร์หน้านี้

Loading...