พระเจ้าทองทิพย์ ธงชัยมหาราช สัญลักษณ์ความสำเร็จและชัยชนะที่อัศจรรย์

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย กานโถม, 7 กรกฎาคม 2013.

  1. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    63a42cfcdf9a742833e47e81.jpg พระเจ้าทองทิพย์
    พระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย องค์ใหญ่หน้าตักกว้าง ๑๐ ฟุต สูง ๑๔ ฟุต ๔ นิ้ว ใช้ทองคำในการสร้างหนักกว่า ๑๒ ตื้อ ซึ่งใช้ทองเยอะที่สุดในแผ่นดินล้านนา เป็นพระประธานในวิหารวัดสวนตาล สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช แห่งนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นใหญ่ในแคว้นล้านนาไทยในสมัยนั้น

    ในการสร้างพระพุทธรูปทองทิพย์องค์นี้ในพงศาวดารเมืองน่าน กล่าวไว้ว่า... เมื่อจุลศักราช ๘๑๒ ตรงกับพุทธศักราช ๑๙๙๓ พระเจ้าติโลกราช เจ้านครเชียงใหม่ มีกำลังเข้ม แข็งได้กรีฑาทัพไปตีหัว เมืองต่างๆ ในแคว้นล้านนาไทย คือ เมืองลอ เมืองเทิง เมืองปง เมืองควร ไปทางตีนดอยลาวได้หัวเมือง เหล่านั้นไว้ในอำนาจ หมดแล้ว เลยยกเข้าไปตีเมืองน่าน พระองค์ได้ ตั้งทัพอยู่ที่สวนตาลหลวงตั้งทัพล้อมอยู่ได้ ๗ วัน โดยเร่งไพร่พลยิงปืนใหญ่ เข้าไปในเมือง พอตกกลางคืนก็ยกพลเข้าตี หวังจะเอาเมืองให้ได้ ฝ่ายพญาอินต๊ะแก่นท้าว ซึ่งเป็นเจ้านครน่านในเวลานั้นเห็นกองทัพ เชียงใหม่มีไพร่พลมากมายนัก ประกอบกับได้ยินกิตติศัพท์เล่าลือถึงความเก่งกล้าสามารถของพระเจ้าติโลกราชที่สามารถปราบหัวเมืองใกล้เคียงได้เกือบหมด เห็นชัดแจ้งว่าไม่อาจจะรักษาเมืองไว้ได้จึงได้อพยพครอบครัวหนี พระเจ้าติโลกราชจึงยกทัพไพร่พลเข้าเมืองได้อย่างง่ายดายไม่ต้องสู้รบให้เสียเลือดเสียเนื้อเลย เมื่อพระเจ้าติโลกราชยึดเมืองได้แล้ว จึงได้ปรึกษาเหล่านายทัพนายกองและเสนาอำมาตย์ทั้งหลายว่า การที่กองทัพของพระองค์เข้ายึดเมืองไว้ได้ในครั้งนี้ มิได้สู้รบให้เสียเลือดเสียเนื้อกำลังไพร่พลเลย เหมือนกับว่ามีเทพเจ้าเข้ามาช่วยเหลือจึงเห็นควรให้สร้างอะไรไว้อย่างหนึ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์สักขีพยานในชัยชนะของพระองค์ ครั้งนั้นขุนนางเสนอว่าควรจะสร้างถาวรวัตถุเพื่อประชาชนรุ่นหลังจะรำลึกถึง เช่น สร้างพระพุทธรูปหล่อด้วยทอง เป็นต้น

    ในที่สุดพระเจ้าติโลกราชก็ตัดสินพระทัยที่จะสร้างพระพุทธรูปหล่อด้วยทอง พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ.๑๙๘๗ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ ปางมารวิชัย ประดิษฐานในวิหารสวนตาล หน้าตักกว้าง ๑๐ ฟุต สูง ๑๔ ฟุต ๔ นิ้ว (๔.๑๑ เมตร) ใช้ทองคำหนักกว่า ๑๒ ตื้อ ซึ่งใช้ทองเยอะที่สุดในแผ่นดินล้านนา ในการสร้างพระพุทธรูปหล่อด้วยทองนี้ พระองค์ได้โปรดให้ช่างทั้งหลาย อาทิ พม่า เงี้ยว และชาวเมืองเชียงแสน กระทำพิธีหล่อหลอมทองและพิธีหล่อองค์พระพุทธรูปด้วย ช่างได้กระทำการหล่อทองเทเข้าเบ้าพิมพ์หลายครั้งหลายหนก็ไม่สำเร็จเพราะเบ้าพิมพ์แตกเสียทุกครั้ง ในที่สุดก็มีชายชราแปลกหน้านุ่งขาวห่มขาวมาช่วยทำจึงสำเร็จเรียบร้อยสมปรารถนา

    เมื่อสร้างพระพุทธรูปเสร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราชก็ทรงจัดให้มีการสวดปริตถมงคลและจัดให้มีงานมหกรรมเฉลิมฉลองทำบุญเป็นการใหญ่มโหฬารยิ่ง ส่วนชายชรานั้นก็หายสาบสูญไปไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย ประชาชนชาวเมืองต่างโจษขานกันว่าเป็น เทพยดาแปลงกายลงมาช่วย จึงได้ขนานพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธรูปทองทิพย์ หรือ พระเจ้าทองทิพย์ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

    พระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล ถือเป็นองค์ปฐม เป็นต้นแบบของพระพุทธรูปที่เรียกขานกันในนาม พระเจ้าทองทิพย์ต่อๆมาในสมัยหลัง โดยนัยยะนั้นคือ เป็นธงชัยมหาราช อันตัวแทนของชัยชนะของมหาราชเหนือกษัตริย์น้อยใหญ่ ของพระเจ้าติโลกราช แห่งนครพิงค์เชียงใหม่ เป็นชัยชนะที่อัศจรรย์ กล่าวคือ ทรงไม่ต้องสิ้นเปลืองรี้พลเพื่อรบเอาชนะเมืองน่าน แต่ทรงชนะด้วยพระเกียรติในเดชานุภาพที่เมืองโดยรอบ เมื่อรู้ว่าพระองค์นำทัพมาเองก็ครั่นคร้ามพากันหลบหนีทิ้งเมืองไปเอง เมืองน่านนั้นถือเป็นเมืองใหญ่อันเก่าแก่ มีรากฐานมายาวนานมาหลายร้อยปี เป็นเครือญาติกับเมืองสุโขทัย และเป็นแหล่งผลิตเกลือ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงมากในยุคโบราณ เนื่องจากยังไม่มีวิทยาการทำนาเกลือสมุทร

    สอง เป็นความอัศจรรย์ของบุญญาภินิหารของพระเจ้าติโลกราช ที่ทรงเสี่ยงสัจจาธิษฐาน ขอให้มีโลหะทองจากทุกทิศานุทิศมารวมกันเพื่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ โดยที่พระองค์ไม่ได้ป่าวประกาศเรี่ยรายแต่อย่างใด กลับมีผู้ศรัทธาร่วมกันสละทองและโลหะมงคลต่างๆเพื่อหล่อด้วยศรัทธากันเอง จึงเป็นที่มาของคำว่า "ทองทิพย์"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2024
  2. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    ID_6863_13.jpg
    พระเจ้าทองทิพย์ พระคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอแม่ใจ ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีสุพรรณ ตำบลแม่ใจ จังหวัดพะเยา มีรูปลักษณะงดงามมาก เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นที่ 3 เป็นทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์มีพระพักตร์ เป็นเนื้อทองสุกเปล่งปลั่งตลอดเวลา พระศอละเอียด พระเกศเป็นเปลวสวยงาม หน้าตักกว้าง 29 นิ้ว สูง 24 นิ้ว จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ชาวอำเภอแม่ใจเล่าว่า แต่เดิมนั้นบริเวณบ้านแม่ใจโดยทั่วไปเต็มไปด้วยป่าไม้ กอไผ่ขึ้นหนาทึบและ ได้เกิดไฟไหม้ขึ้น ไฟได้ลุกไหม้บริเวณรอบ ๆ ดงไผ่ จึงได้พบพระเจ้าทองทิพย์ อยู่ในดงไผ ่นั้น ต่อมาจึงได้สร้างอาคารชั่วคราวครอบไว้ และด้วยจิตศรัทธาของชาวแม่ใจ จึงได้ร่วมกันสร้างวิหารถาวรครอบไว้บริเวณดงกอไผ่เดิม โดยไม่โยกย้ายเลย จนถึงปัจจุบันนี้

    จากคำบอกเล่าถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าทองทิพย์ และที่มาของชื่อพระเจ้าทองทิพย์นั้น เพราะว่าเมื่อฝนฟ้าไม่ตก บ้านเมืองแห้งแล้งหรือชาวบ้านเกิดการเจ็บป่วย ประสบเคราะห์กรรมใด ๆ ก็จะอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์ลงจากอาสนะ ทำพิธีสักการะบูชา แห่สรงน้ำ ฝนก็จะตกลงมาทันที หรือผู้ประสบเคราะห์กรรมก็จะมีโชคลาภ มีความสุขสบาย ยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้พระเจ้าทองทิพย์จึงเป็นที่เชื่อถือ เคารพสักการะของชาวพุทธทั้งใกล้และ ไกลตลอดมา

    ในปีหนึ่ง จะมีวันสำคัญยิ่งของพระเจ้าทองทิพย์คือวันที่ 17 เมษายน ของทุก ๆ ปีจะเป็นวันสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ ประชาชนจะพากันมาทำพิธีวันสำคัญนี้มากมาย และจะนำเอาน้ำที่สรงพระเจ้าทองทิพย์แล้วใส่ภาชนะกลับไปบ้านเพื่อจะพรมให้แก่ ่ลูกหลานให้อยู่ดีมีสุข กล่าวกันว่าปีใดไม่ได้มาสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ ปีนั้นก็จะไม่ค่อย มีความสุขสบาย และไม่มีโชคลาภ ว่ากันอย่างนั้น.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2024
  3. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    –    - Google Chrome.jpg 3.jpg

    พระเจ้าทองทิพย์ วัดบ้านต๋อแก้ว ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
    พระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ที่วัดบ้านต๋อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ชนิดสำริด ชาวบ้านต๋อและชาวบ้านใกล้เคียงรู้จักและเคารพนับถือ เพราะพระเจ้าทองทิพย์มีอภินิหารและศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือกันในหมู่ชาวบ้านใกล้เคียงจนเป็นที่รู้จักทั่วไป อีกทั้งพระทองทิพย์นั้นเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน มีขนาดหน้าตักกว้าง ๘๑ ซม. มีขนาดความสูง ๑๓๓ ซม. มีความสง่างามและทั้งองค์พระมีความสมบูรณ์ทั้งสิ้น
    ประวัติความเป็นมาของพระเจ้าทองทิพย์นั้น เริ่มประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถ์ของชาวบ้านต๋อตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดยืนยันได้ แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ของชาวบ้านต๋อเล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ท่านเกิดมาก็เห็นและได้ให้ข้อมูลและท่านได้เล่าให้ฟังว่า พระเจ้าทองทิพย์มาประดิษฐานอยู่ที่อุโบสถ์วัดบ้านต๋อนั้น ท่านเล่าว่าพระเจ้าทองทิพย์นั้นนำมาพร้อมกับชาวบ้าน ชาวเมืองที่หลบหนีทหารพม่าเข้ามาและได้นำเอาพระเจ้าทองทิพย์มาด้วย เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นพระพทุธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพบูชาและนับถือเข้ามาด้วย และได้นำมาไว้ที่ป่ารกทึบ ติดกับแม่น้ำจางฝั่งติดด้านถนนใหญ่ ซึ่งบริเวณนี้มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่น (ปัจจุบันยังคงมีร่องรอยคือต้นไม้ใหญ่ให้เห็นอยู่) ซึ่งชาวบ้านคิดว่าที่บริเวณนี้ปลอดภัยจาการติดตามของทหาร ซึ่งก็เป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ปรากฏว่าทหารพม่าไม่มาราวีอีกเลย จึงได้รวมตัวปรึกษาหารือกันว่าจะอาศัยที่บริเวณนี้อยู่และสร้างบ้านเมืองตั้งรกรากถิ่นฐานอยู่บริเวณทั้งสองของฝั่งแม่น้ำจาง และไดอันเชิญพระพุทธรูปทองทิพย์มาประดิษฐานด้วย เพื่อกราบไหว้เป็นการถาวรสืบตาม ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างโบสถ์ขึ้นมาสำหรับเป็นที่ประดิษฐานของพระเจ้าทองทิพย์ และต่อมาได้ยกบริเวณแห่งนี้ให้เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดบ้านต๋อในเวลาต่อมา
    ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เจ้าอาวาสวัดบ้านต๋อ เพื่อความปลอดภัยในการโจรกรรมของพวกมิจฉาชีพทั้งหลาย เพราะโบสถ์แห่งนี้ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่เลย เกรงจะเป็นอันตรายแก่องค์พระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีอภินิหารเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านต๋อและชาวบ้านใกล้เคียง ซึ่งมีชื่อเสียงให้คนทั่วไปได้รู้จัก และต่อมาวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ทางกรมศิลปากรได้ทำการจดทะเบียนพระเจ้าทองทิพย์ให้เป็นโบราณวัตถุ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่
    ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ เล่มที่ ๑๑๐ ตอน ๑๙๔)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2024
  4. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    4.jpg
    พระเจ้าทองทิพย์ วัดสันทราย อ.ห้างฉัตร จ.ลําปาง

    ประวัติความเป็นมา (ตำนาน)
    องค์พระเจ้าทองทิพย์ ท่านประดิษฐานอยู่กลางป่าซึ่งมีเถาวัลย์ป่าไม้ปกคลุม
    เมื่อสมัยก่อนปี พ.ศ. ๒๔๓๙ (ประมาณ ๑๑๕ ปี) ครูบาใจ๋ อุตตมา ได้เดินเข้าป่ามาพบองค์พระเจ้าทองทิพย์ และเจดีย์เก่าแก่ และองค์พระใหญ่ ทั้ง ๓ อยู่ใกล้ๆ กัน ครูบาใจ๋ ได้เชิญชวนชาวบ้านสันทรายไป ถางป่า หญ้าที่รกรุงรัง ทำความสะอาดและได้ก่อกำแพงล้อมรอบ (ต่อมาเป็นวัดดอยน้อย) ซึ่งครูบาใจ๋เป็นเจ้าอาวาสประจำอยู่วัดนี้
    ครูบาใจ๋ อุตตมา อายุขัย ๘๘ ปี พรรษา ๖๖ ท่านมรณภาพในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ หลังจากครูบาใจ๋ มรณภาพ ไม่มีพระองค์ไหนอยู่ประจำวัดดอยน้อยได้เลย จึงเป็นวัดร้างในเวลาต่อมา หลังจากนั้นชาวบ้านจึงสร้างวัดสันทรายขึ้นมาใหม่อีกแห่ง สร้างขึ้นใจกลางหมู่บ้าน และอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์จากวัดดอยน้อยมาประดิษฐานอยู่ที่วัดสันทราย แต่องค์พระใหญ่ และเจดีย์พระธาตุ อยู่วัดดอยน้อยเหมือนเดิม และเมื่อประมาณ ๔ ปีที่ผ่านมาชาวบ้านได้เชิญชวนชาวบ้านทั้งในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้านมาทำบุญเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “เข้าก๋ำ” หมายถึง อยู่จำศีลกินนอนที่วัด และสวดมนต์ภาวนา 1 เดือน หลังจากนั้นก็มีพระทีจะมาประจำอยู่ โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
    ตำนานที่เล่าสืบมา
    สมัยเจ้าเมืองลำปาง ท่านมาพบเจอองค์พระเจ้าทองทิพย์ เกิดศรัทธา และอยากขอไปประดิษฐานอยู่ในคุ้มวังท่าน จึงขอชาวบ้านแต่ชาวบ้านต้องให้โดยจำยอม แท้จริงคือไม่กล้าปฏิเสธเจ้าเมือง เจ้าเมืองลำปางจึงให้อำมาตย์เสนาประมาณ ๒๐คน ทำแคร่ไม้ เพื่อยกหามองค์พระเจ้าทองทิพย์แต่ยกไม่ขึ้น จึงเพิ่มคนเป็น ๓๐ กว่าคน จึงยกขึ้น และระหว่างทางจากบ้านสันทราย ไปวังเจ้าเมืองซึ่ง (เป็นในเมือง) ปัจจุบัน ประมาณ ๑๒ กิโล ปรากฏระหว่างทางที่ยกองค์ท่านไป แคร่ไม้ได้หัก เป็นระยะๆ ตลอดทาง จึงทำไม้ใหม่เปลี่ยนไปตลอดทางอย่างทุลักทุเล ซึ่งพอองค์พระเจ้าทองทิพย์ประดิษฐานอยู่ในวังเจ้าเมืองลำปางได้ ๔ วัน เจ้าเมืองป่วยหนัก มีเม็ดผื่นขึ้นเต็มตัวรักษาไม่หาย จึงเกรงกลัว เลยส่งข่าวให้ชาวบ้านสันทรายมารับองค์พระเจ้าทองทิพย์กลับคืนวัดเดิม ซึ่งมีผู้ชายไปยกหามแค่ ๖ คน ระหว่างทางไม้ไม่หักเลย ยกหามจากในวังเจ้าเมืองถึงวัดสันทราบอย่างอัศจรรย์ใจกันทั้งหมู่บ้าน จึงเกิดความศรัทธาและเคารพพระเจ้าทองทิพย์เป็นอย่างมาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2024
  5. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    006_01.jpg
    พระเจ้าทองทิพย์ วัดพระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในอุโบสถวัดพระเจ้าทองทิพย์ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย วัดพระเจ้าทองทิพย์เดิมเป็นวัดร้าง อยู่ในเขตบ้านป่าหวาย ซึ่งในอดีตเป็นป่าหวายทั้งหมู่บ้าน (ปัจจุบันก็ยังพอมี) เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๐๙๔ พระเจ้าเชียงใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าเกษเกล้า ได้ยกพระราชธิดาพระนามว่า พระนางยอดคำ ให้แก่พระเจ้าโพธิสาร กษัตริย์ลาวแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต ซึ่งมาทูลขอไปเป็นพระมเหสี พระเจ้าโพธิสารและพระนางยอดคำได้ครองราชสมบัติร่วมกันเป็นเวลานานหลายปี ก็ยังไม่มีโอรส และพระธิดาเลย ไม่มีผู้ที่จะสืบสันติวงศ์ต่อไป พระเจ้าโพธิสาร ดำริขึ้นว่า พระพุทธรูปทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่มาแต่โบราณ ประดิษฐานประจำนครนี้มาช้านาน และกิตติศัพท์ว่าใครไปขอท่าน มักจะประสบความสำเร็จ ในวันหนึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา พระเจ้าโพธิสารและพระนางยอดคำ พร้อมด้วยข้าราชบริพาร จึงเสด็จไปยังวิหารพระพุทธรูปทองทิพย์ เมื่อบูชาเนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา แล้วก็ตั้งจิตอธิษฐานของพระราชโอรส ต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธรูปทองทิพย์ ต่อจากนั้นไม่นานพระนางยอดคำก็ทรงตั้งครรภ์ เมื่อครบกำหนดก็มีประสูติกาลเป็นพระโอรสสมดังที่พระเจ้าโพธิสารได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้
    พระบรมวงศานุวงศ์ และพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่จึงประชุมตั้งชื่อพระกุมาร และได้ถวายพระนามว่า ไชยเชษฐากุมาร ตราบจนกระทั่งพระไชยเชษฐากุมารเติบโตมีอายุ ๑๕ ปี พระอัยกาหรือพระเจ้าตา ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองเชียงใหม่ ได้สวรรคตโดยไม่มีทายาทสืบราชสมบัติต่อไป บรรดาท้าวพระยาอำมาตย์ราชวงศ์ในนครเชียงใหม่ จึงพร้อมในกันมาทูลเชิญ พระไชยเชษฐาไปครองราชสมบัติเมืองเชียงใหม่ได้ทูลขอต่อพระเจ้าโพธิสาร พระเจ้าโพธิสารก็ทรงอนุญาตให้ไปครองเชียงใหม่ และได้ทรงแนะนำต่อพระไชยเชษฐาว่าการเสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่ในครั้งนี้ ให้อาราธนาพระพุทธรูปทองทิพย์ พระพุทธรูปที่เสมือนให้กำเนิดท่านมา เพราะพระเจ้าโพธิสารได้ไปตั้งจิตอธิษฐานขอบุตรจากพระพุทธรูปองค์นี้ พระไชยเชษฐาก็เชื่อตามคำแนะนำของพระบิดา อัญเชิญพระพุทธรูปทองทิพย์ไปนครเชียงใหม่ด้วย พระไชยเชษฐาทรงเรือพระที่นั่งมาตามลำน้ำโขงแล้วเข้ามายังแม่น้ำกก ต่อจากนั้นก็แยกเข้ามายังแม่น้ำลาว จนเรือพระที่นั่งมาถึงตรงจุดที่ตั้งวัดพระเจ้าทองทิพย์ในปัจจุบัน เรือพระที่นั่งก็มาติดอยู่ทั้ง ๆ ที่ไม่มีอะไรมากีดขวางอยู่เลย ลูกเรือจะถ่อเรือ จะเข็นเรืออย่างไรเรือก็ไม่ยอมเคลื่อนที่ต่อไป ซึ่งสันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นเพราะเทพยดาที่รักษาองค์พระพุทธรูป เห็นว่าที่เชียงใหม่นั้นมีพระพุทธรูปสำคัญ และปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่เป็นอันมากแล้ว จึงใคร่ให้พระพุทธรูปทองทิพย์ประดิษฐานอยู่ ณ ที่แห่งนี้ เทพยดาจึงดลบันดาลให้เรือพระที่นั่งติดให้เห็นเป็นที่อัศจรรย์
    พระไชยเชษฐาเห็นความพยายามของลูกเรือแล้วว่าเรือไม่ไปแน่ น่าจะมีสาเหตุมาจากพระพุทธรูป จึงโปรดให้นิมนต์พระพุทธรูปทองทิพย์ขึ้นฝั่ง ณ จุดที่ตั้งวัดพระเจ้าทองทิพย์ในปัจจุบัน แล้วสร้างเป็นมณฑปไว้เป็นที่ประดิษฐาน และตั้งใจว่าเมื่อมีโอกาสเสด็จไปหลวงพระบาง ก็ยังมีโอกาสแวะมานมัสการได้ เพราะอยู่ในเส้นทางที่จะต้องผ่านเมื่อเดินทางจากเชียงใหม่ไปหลวงพระบาง คือมาทางบกก่อนแล้วจึงต่อทางเรือในภายหลัง ต่อมาพระเจ้าโพธิสาร กษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตตนาคนหุตสวรรคต ทางล้านช้างก็เกิดการจลาจลวุ่นวายเพราะไม่มีผู้สืบราชสมบัติ เสนาบดีกรุงศรีสัตตนาคนหุต จึงกลับมาทูลเชิญพระไชยเชษฐาธิราช กลับไปครองราชสมบัติล้านช้างที่หลวงพระบาง และทางเชียงใหม่เองก็ไม่เรียบร้อยเพราะพระชนมายุของพระไชยเชษฐาก็น้อย และเป็นหลานตาของกษัตริย์องค์ก่อน การจลาจลแข็งข้อของขุนนางมีมาก พระไชยเชษฐาครองเมืองด้วยความลำบากอยู่แล้ว ดังนั้นจึงรับคำเชิญ และก่อนเสด็จไปก็คงไม่แน่ใจว่า จะสามารถครองสองแผ่นดินไว้ในพระราชอำนาจได้ การเสด็จกลับไปล้านช้างในครั้งนี้ จึงอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของเชียงใหม่ไปด้วยหลายองค์ เช่น "พระแก้วมรกต" พระพุทธสิหิงค์ พระแก้วขาวหรือพระเสตังคมณี ฯลฯ โดยเฉพาะพระพุทธมณีรัตนปฏิมากร แก้วมรกตนั้นไปอยู่ลาวเสียสองร้อยกว่าปี จนพนักงานเฝ้าหอพระในนครเวียงจันทน์ที่ไม่รู้เรื่องประวัติศาสตร์ดี ไม่รู้ว่าพระแก้วมรกตคือพระพุทธรูปที่นำไปจากเมืองไทย ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ พระไชยเชษฐานำไปหลวงพระบาง และต่อมาพระไชยเชษฐา ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็งองค์หนึ่งเมื่อปราบจลาจลวุ่นวายในล้านช้างได้แล้ว ขึ้นครองราชสมบัติที่เมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของลาวหรือศรีสัตตนาคนหุต หรือล้านช้าง เป็นแว่นแคว้นของลาวภาคกลางทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ก็ได้มาสร้างนครเวียงจันทน์ที่อยู่ห่างออกมาอีกร่วม ๖๐๐ กิโลเมตร อยู่ห่างจากริมโขงฝั่งไทย ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ทางด้านจังหวัดหนองคาย ซึ่งปัจจุบันมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ทอดข้ามลำน้ำโขงให้ไปมาหาสู่กันได้โดยสะดวก (แต่จริง ๆ แล้วบางทีก็ไม่สะดวกเพราะลาวปิดเอาดื้อ ๆ )
    พระพุทธรูปสำคัญที่พระไชยเชษฐานำกลับไป (แต่ไม่กล้าอัญเชิญพระเจ้าทองทิพย์กลับไป คงไว้ ณ ที่เดิม) แล้วเอาไปไว้ที่หลวงพระบาง และต่อมาก็เอาไปประดิษฐานไว้ที่เวียงจันทน์ เป็นเวลาร่วม ๒๐๐ ปี คือตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๑๑๕ จนถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตากสินมหาราช ได้ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) เป็นแม่ทัพไปตีลาว เมื่อตีลาวได้ทั้งประเทศแล้ว ตอนยกทัพกลับมาได้นำพระพุทธรูปสำคัญที่ลาวเอาไปจากไทยกลับมาทั้งหมด และได้นำพระบาง พระพุทธรูปสำคัญยิ่งของลาวกลับมาด้วย เป็นผลให้พระแก้วมรกตมาประดิษฐานอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม วันในวังของแผ่นดินพระเจ้าตากสินมหาราช ตราบจนกระทั่งได้สร้างวัดพระแก้ว วัดในวังของกรุงรัตนโกสินทร์แล้วเสร็จจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน ณ วัดพระแก้วตราบเท่าทุกวันนี้ ส่วนพระบางนั้น ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้มอบพระบางคืนให้แก่กษัตริย์ลาวไปและนำไปประดิษฐานไว้ที่นครหลวงพระบาง ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติของลาว นครหลวงพระบาง ซึ่งเดิมคือวังของเจ้ามหาชีวิต กษัตริย์ลาวซึ่งเป็นลาวภาคกลาง (มีลาวเหนือทางเวียงจันทน์ ลาวใต้ที่จำปาสัก)
    พระพุทธรูปทองทิพย์จึงคงประดิษฐานอยู่ในป่าเป็นเวลา ประมาณ ๔๐๐ ปีเศษ ตราบจน พ.ศ.๒๓๖๘ ครูบายาโณ พร้อมด้วยอุบาสก ๓ คน ได้ร่วมกันสร้างวิหารพระพุทธรูปทองทิพย์ และได้แนะนำให้ประชาชนได้ทราบถึงความเป็นมา และความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปทองทิพย์ ประชาชนได้ทราบก็พากันมาสักการบูชาจนเกิดประเพณีงานประจำปีขึ้น
    พ.ศ.๒๓๙๗ ท่านครูบายะ ครูบาถา ครูบาพรหม เจ้าหลวงผู้ครองเชียงราย และพระยาไชยวงศ์ ผู้รักษาเมืองหนองขวาง (อำเภอแม่สรวย) ได้ร่วมกันบูรณะวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปทองทิพย์
    ต่อมา พ.ศ.๒๔๒๐ เจ้าดารารัศมี และเจ้าแก้วนวรัตน์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้มาทำการสักการบูชาพระพุทธรูปทองทิพย์ และมาพักแรมอยู่ในป่าแห่งนี้หลายคืน เห็นว่าวิหารนั้นชำรุดมากจึงแนะนำให้ครูบาชัยวุฒิวชิรปัญญา วัดบ้านโป่ง รื้อวิหารเดิมสร้างเสียใหม่ ได้ถวายเงินช่วย ๒๐๐ รูปี จึงได้มีการบูรณะใหม่
    ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑ เกิดไฟป่าไหม้ลุกลามเข้ามาจนชิดวิหารพระพุทธรูปทองทิพย์ พระพุทธรูปในวิหารหลายองค์ ถูกความร้อนจากภายนอกถึงขั้นหลอมละลาย แต่พระพุทธรูปทองทิพย์ไม่เป็นไร ต่อมาจนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๖ พระครูสุนทรสีลสารเจ้าคณะอำเภอแม่สรวย จึงได้บูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ.๒๕๐๖ พระประพันธ์จากจังหวัดนครราชสีมาได้มาพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก
    พุทธลักษณะของพระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๘๐ เซนติเมตร ฐานกว้าง ๘๕ เซนติเมตร ส่วนสูงทั้งฐาน ๑๒๐ เซนติเมตร และประดิษฐานไว้บนที่สูงเหนือพระประธานในอุโบสถ สูงเด่นเป็นสง่าน่าเคารพบูชายิ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2024
  6. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    thongthip1.jpg

    51000-8-1.jpg
    พระเจ้าทองทิพย์ วัดขี้เหล็ก หมู่ ๓ ตำบลบ้าน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

    ตามตำนานเล่าขานกันมาของผู้เฒ่าผู้แก่ ประวัติของ พระเจ้าทองทิพย์ วัดขี้เหล็กนั้นมีประวัติเกี่ยวข้องกับวัดพระธาตุหริภุญชัย มาตั้งแต่สมัยในอดีต ก่อนนั้นอาชีพของคนในหมู่บ้านเป็นช่างตีเหล็ก ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดลำพูน ต่อมาวัดพระธาตุหริภุญชัยได้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์หริภุญชัยขึ้น เมื่อสร้างเสร็จเจ้าผู้ครองนครลำพูน ได้มาขอรั้วที่วัดขี้เหล็กเพื่อนำไปสร้างเป็นรั้วล้อมรอบบริเวณเจดีย์พระธาตุ ทางวัดได้อนุญาตให้นำไปได้และวิธีการขนรั้วไปวัดพระธาตุหริภุญชัยนั้นใช้วิธีการขนทางแม่น้ำกวง นำใส่แพแล้วลอยไปตามน้ำ ขึ้นฝั่งที่บริเวณหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย

    ในการสร้างเจดีย์พระธาตุหริภุญชัย ทางัดได้นำทองที่เหลือมาหล่อเป็นพระพุทธรูป และได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระเจ้าทองทิพย์ แล้วนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดขี้เหล็กเป็นการแลกเปลี่ยนที่ให้รั้วเหล็กไปกั้นพระธาตุฯ ซึ่งพระเจ้าทองทิพย์เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านให้ความเคารพสักการะ โดยจัดเป็นประเพณีสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ ขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 9 เหนือ และได้สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้



    ปัจจุบันพระเจ้าทองทิพย์ ประดิษฐาน ณ วิหารหลวงวัดขี้เหล็ก หมู่ที่ 3 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2024
  7. กิ่งสน

    กิ่งสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,068
    ค่าพลัง:
    +2,327
    ขอบคุณ
     
  8. homesmile

    homesmile เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2014
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +178
    พระพุทธรูปทองทิพย์ ปัจจุบันประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในอุโบสถ วัดพระเจ้าทองทิพย์ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
    [​IMG]
     
  9. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    จำทรายมูล.jpg
    พระเจ้าทองทิพย์ วัดจำทรายมูล
    พระพุทธรูปองค์นี้ถูกซ่อนอยู่ในฐานเจดีย์แห่งหนึ่งกลางทุ่งนา ที่พังทลายลงตามกาลเวลา ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดจำทรายมูล อ.ห้างฉัตร ลำปาง ถูกพบเมื่อก่อนปีพ.ศ 2500
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2024
  10. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    gqf6a.jpg
    พระเจ้าทองทิพย์ วัดศรีสุพรรณ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
    เหตุที่เรียกว่า พระเจ้าทองทิพย์ เนื่องจากได้นำ พระพุทธรูปมาจาก วัดพระเจ้าทองทิพย์ ต.ศรีถ้อย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ไปสักกาบูชา จึงเรียกชื่อตามพระเจ้าทองทิพย์ วัดพระเจ้าทองทิพย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2024
  11. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    ทองทิพย์ วัดทรายมูล.jpg
    พระเจ้าทองทิพย์องค์อินทร์ วัดทรายมูล ต.บ้านแลง จ.ลำปาง

    เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย แบบเชียงแสนสิงห์สาม หน้าตักกว้าง ๗๓ เซนติเมตร สูง ๙๗ เซนติเมตร ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ วัดบ้านทรายมูล ตำบลเสด็จ อ.เมือง จ.ลำปาง

    จากตำนานท้องถิ่นได้ความว่า พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปสกุลช่างเชียงแสน รับอิทธิพลศิลปะมาจากสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่เมืองลำปาง ในช่วงหลังปี พ.ศ.๒๓๐๐ หลังจากการกวาดต้อนผู้คนจากเมืองเชียงแสน เข้ามาอยู่ที่เมืองลำปาง

    ซึ่งจะมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ห้าองค์ โดยถือเอาพระเจ้าทองทิพย์ วัดทรายมูลเป็นองค์ประธาน

    ตามตำนานยังกล่าวถึงการหล่อพระเจ้าทองทิพย์ตอนแรก หล่อได้ไม่เต็มองค์ พระอินทร์ต้องลงมาช่วยหล่อจึงสำเร็จ ดังปรากฏรอยต่อระหว่างฝีมือมนุษย์กับฝีมือเทวดา ระดับพระอินทร์ที่องค์พระ
     
  12. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    127522536_3438560806263465_1436503729336660995_o.jpg พระเจ้าทองทิพย์ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่
    เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระสิงห์ “พระเจ้าติโลกราช” กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 9 (พ.ศ. 1984-2030) สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกการทำสังคายนาพระไตรปิฎกดกครั้งที่ 8 ของโลก โดยชาวล้านนาเชื่อว่า “พระเจ้าทองทิพย์” คือพระพุทธรูปที่สร้างด้วยสำริดเนื้อพิเศษที่ได้มาจาก “สรวงสวรรค์” ด้วยพระเจ้าติโลกราชทรงสร้าง ด้วยเนื้อวัสดุที่มีส่วนผสมของทองคำแท้ในสัดส่วนที่มากมาย (ปกติพระพุทธรูปองค์อื่นๆ มักใช้ทองสำริด ที่มาจากทองเหลืองผสมทองเแดง) จนเมื่อหล่อเสร็จผิววรกายขององค์พระปฏิมาจะมี “สองสี” คือส่วนที่เป็นวัสดุทองคำ จักเปล่งประกายมากกว่าจุดอื่นๆ ถือว่าบรรลุพระราชประสงค์ของการสร้าง เสมือนว่าได้อัญเชิญให้พระอินทร์ช่วยนำเนื้อทองสำริดพิเศษจากสรวงสวรรค์มาร่วมหล่อพระพุทธรูปยังมนุษยโลกด้วยกัน
    จึงร่ำลือกันสืบมาว่า ผู้ใดได้มากราบขอพรจะเป็นมหามงคลสูงสุด ร่ำรวยเงินทอง เจริญทั้งทางโลกและทางธรรมตามรอยท้าวพญามหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สร้างพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นี้
     
  13. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    IMG_4670.jpg
    2.jpg
    พระเจ้าทองทิพย์ วัดบ้านลู
    พระพุทธรูปพระเจ้าทองทิพย์ เนื้อทองสำริดโบราณ ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ประทับบนฐานหกเหลี่ยม ศิลปะเชียงแสน-สุโขทัย สกุลช่างนครลำปาง ที่พระชงค์ทั้งสองข้างและข้อพระบาท ปรากฎรูเจาะทะลุทั้งสามรู เชื่อว่าเดิมเคยประดิษฐานบนพระแท่นถาวรและได้ใช้หมุดตรึงไว้ เพื่อป้องกันการเคลื่อนย้าย

    สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคเดียวกับพระเจ้าล้านทอง วัดพระธาตุลำปางหลวง พระเจ้าทันใจ วัดพระเจ้าทันใจ จ.ลำปาง คือสร้างในสมัยเจ้าหมื่นหาญแต่ท้อง เป็นเจ้าเมืองลำปาง ถือเป็นพระเจ้าทองทิพย์จำลองขององค์พระเจ้าทองทิพย์ วัดสวนตาล จ.น่าน องค์หนึ่งที่สร้างขึ้นร่วมสมัยกับองค์จริง

    จากการเล่าขานของผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้อัญเชิญมาจากวัดพระธาตุเสด็จ เพื่อเป็นพระประธานของวัดบ้านลู ตั้งแต่ก่อนปี 2500 ภายหลังเมื่อได้สร้างพระวิหารก่ออิฐถือปูน และสร้างพระประธานปูนปั้นองค์ปัจจุบัน องค์พระเจ้าทองทิพย์จึงได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่กุฏิหลังตะวันตก จะอัญเชิญออกมาในช่วงสงกรานต์สรงน้ำเป็นประจำทุกปี

    จนเมื่อทางวัดมีการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตแล้ว องค์พระก็ยังอยู่ที่กุฏิเดิม เมื่อประมาณ10กว่าปีที่ผ่านมา ทางวัดได้ทำการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาพระวิหาร ในการนี้ท่านพระครูโสภิตพัฒนานุยุต เจ้าอาวาส วัดพระธาตุเสด็จ เจ้าคณะตำบลบ้านแลง ได้เป็นประธานอัญเชิญ พระเจ้าทองทิพย์ขึ้นประดิษฐานยังแท่นแก้ว หน้าพระประธานในพระวิหารมาจนถึงทุกวันนี้

    สาเหตุการก่อตั้งวัดบ้านลูขึ้น และเหตุใดจึงอัญเชิญพระพุทธรูปมีชื่อมาประดิษฐานไว้ในชุมชนไร้ชื่อเสียง ก็มาจากการขยายตัวของประชากรชุมชนโดยรอบวัดพระธาตุเสด็จ ซึ่ง ผู้คนในท้องที่นี้มีบรรพบุรุษเป็นกัลปนารักษาพระธาตุ (พระธาตุเสด็จ) มาแต่โบราณ ได้ปลูกสร้างบ้านเรือนกระจายตัวไปทุกทิศโดยมีจุดศูนย์กลางคือ วัดพระธาตุเสด็จมากขึ้นตามกาลเวลา ทำให้การสัญจรไปมาหาสู่ รวมถึงการจัดพิธีกรรมทางศาสนาและการทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ จำเป็นต้องมีวัดสาขามาช่วยแบ่งเบาภาระ จนภายหลังได้จัดมีการตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นเองต่างหาก โดยเฉพาะพื้นที่บ้านลูสันนิษฐานว่าเป็นชุมชนแรกที่แบ่งครัวเรือนไปจัดตั้ง เพราะจะมีงานประเพณีประจำปีที่วัดขึ้นในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (เหนือ) ต่อเนื่องจากการจัดงานประเพณี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (เหนือ)ของวัดพระธาตุเสด็จ ขณะเดียวกันบริเวณพื้นที่บ้านลู ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดพระธาตุเสด็จ ยังเป็นที่ตั้งของโฮงอาฮักษ์หลวง ซึ่งเป็นหอเทพยดาอารักษ์ประจำท้องที่ เป็นหอศาลใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์รวมที่สถิตของวิญญาณบรรพชนในตำบลนั้นทั้งหมด ก่อนจะมีการอัญเชิญแยกไปจัดตั้งหมู่บ้านอื่นๆต่อมาภายหลัง ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อว่า "โฮงอาฮักษ์หลวง" บริเวณที่ตั้งนี้เดิมเคยเป็นเรือนพำนักของเจ้านายในสมัยโบราณ (เจ้าหมื่นหาญแต่ท้อง ผู้สร้างวัดพระธาตุเสด็จ) นั่นเอง สำหรับคำว่าบ้านลู สันนิษฐานว่ากร่อนมาจากคำว่า "หลุก" หลุก เป็นภาษาล้านนา หมายถึง กังหันวิดน้ำ เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน สร้างด้วยไม้ไผ่ ลักษณะเป็นวงกลมขนาดใหญ่ มีแกนตรงกลางสร้างด้วยไม้แข็งทำเป็นรูปกงล้อ มีแผงไม้ไผ่อยู่รอบกงล้อเพื่อรับกระแสน้ำโดยรอบกงล้อจะมีกระบอกไม้ไผ่ผูกติดอยู่สำหรับใส่น้ำ เมื่อแผงไม้ไผ่ถูกกระแสน้ำพัด กงล้อที่มีแผงไม้ไผ่และมีกระบอกใส่น้ำจะตักน้ำเข้าในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อหมุนขึ้นไปด้านบนสุด น้ำที่อยู่ในกระบอกด้านบนสุดจะเทลงมาในลำราง หลุกใช้ในการเกษตรกรรม เช่น การหมุนเพื่อสาวถังตักน้ำขึ้นจากบ่อ หมุนเพื่อวิดน้ำเข้านา มักใช้งานตามริมแม่น้ำใหญ่มีตลิ่งสูง เนื่องจากบริเวณพื้นที่ตั้งของบ้านลู เป็นพื้นที่ราบสูงฝั่งตะวันออกแม่น้ำวัง บริเวณนี้เป็นที่สูงจากแม่น้ำ แต่ที่นี่พบว่ามีเส้นทางการเปลี่ยนทิศของแม่น้ำได้ไหลขึ้นทางตะวันออกแล้ววกกลับมาทางทิศตะวันตกอีกครั้ง ทำให้บริเวณที่น้ำเปลี่ยนทิศกลายเป็นบึงล้อมรอบเกาะดินตะกอน พื้นที่นี้คนในท้องถิ่นเรียกว่า "หลง" (น้ำหลง) จึงเป็นไปได้ว่าในอดีตนั้นผู้คนได้ใช้หลุกในการวิดน้ำขึ้นใช้สำหรับการทำการเกษตรในพื้นที่ที่เป็นไร่นาในพื้นที่นั้น โดยชักน้ำด้วย "หลุก" ขึ้นบริเวณ "หัวหลง"(จุดโค้งของแม่น้ำวังที่ไหลเปลี่ยนทิศ) น้ำจากจุดนี้จะไหลลงสู่พื้นที่ "นาโฮ้ง" (ทุ่งนาที่ลุ่มต่ำ) และไหลลงสู่ "ฮ่องก๋าง" ด้วยเหตุนี้แม้บ้านลูจะเป็นพื้นที่สูง แต่โบราณมา เมื่อเกิดฝนตกคราวใด พื้นที่สัญจรของบ้านลู กลับชื้นแฉะเป็นหล่มล้อเกวียนและรอยเท้าวัวควายอยู่ตลอดมา จนมีคำกล่าวว่า ด้านเหนือบ้านลูขึ้นไปเรียกกันว่า บ้านร้อง (ร่อง) มีสร้อยต่อท้ายว่า บ้านร้องกองหล่ม หมายถึง บ้านร้องทางหล่ม "ร้อง" ก็มาจากคำว่า ร่องเหมือง เป็นทางน้ำลำเหมืองไส้ไก่ ที่คนท้องที่เรียกกันว่า "เหมืองแก้ว"หรือ "ฮ่องก๋าง" (ร่องกลาง) เป็นร่องน้ำที่ไหลผ่านกลางหมู่บ้าน ผ่านทุ่งนา ผ่านไปจนถึงป่าช้าบ้านเสด็จ แล้วน้ำในลำเหมืองนี้จะไหลลงไปรวมกับแม่น้ำวัง ตรงบริเวณทิศใต้ของป่าช้า พื้นที่โล่งเตียนเป็นตะกอนทรายจากแม่น้ำวังไหลอ้อมและมีน้ำจาก ฮ่องก๋าง ไหลลงบรรจบเกิดเป็นพื้นที่ป่าช้า สมัยก่อนเรียกกันว่า "ปงก๋าขี้แร้ง" บริเวณนี้อดีตมีฝูงแร้งกาชุกชุม สันนิษฐานว่าเคยใช้เป็นที่ทิ้งซากศพตามความเชื่อโบราณก่อนการเผาของคนสมัยโบราณ สำหรับระบบการทดน้ำจากหลุกเข้าเหมืองแก้ว เพื่อใช้ในการเกษตรในพื้นที่สูงกว่าแม่น้ำวัง ในยุคนั้นเมื่อ500 กว่าปีก่อน ถือเป็นความสำเร็จในการเพิ่มพื้นที่ทำนา และความสำเร็จในการทำนาปรังในช่วงหน้าแล้ง ทำให้เพิ่มผลผลิตในการปลูกข้าวเพื่อเป็นเสบียงในกองทัพ (ก่อนการมีเขื่อนกิ่วลมในอีก 500 ปีให้หลัง) และในชุมชนพื้นที่นี้ด้วยเป็นชุมชนกัลปนารักษาพระธาตุ ถือเป็นข้าพระธาตุที่ถูกยกเว้นการเกณฑ์ไพร่พลเพื่อทำสงคราม ฉะนั้นทางบ้านเมืองจึงมิได้เกณฑ์ไพร่บ้านพลเมืองในท้องที่นี้เข้าในสงคราม แต่จะให้ทำนาเป็นเสบียงส่งกองทัพแทน แต่หากมีใครต้องการร่วมกองทัพก็สามารถไปเข้าร่วมได้ ดังจะมีเรื่องเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ว่าไว้ ในอดีตบริเวณ หัวหลง มีกู่บรรจุอัฐิของแม่ทัพนายกอง ที่ได้มาชักชวนชาวบ้านในพื้นที่นี้เข้าร่วมสงครามไปตีเมืองใต้ หลังเสร็จภาระกิจประกาศเชิญชวน แม่ทัพท่านนี้ได้ลงเล่นน้ำบริเวณหัวหลง แต่ได้เกิดจมน้ำเสียชีวิต ณ บริเวณนั้น ไพร่พลจึงทำการส่งสกรานแล้วสร้างกู่(สถูป)ก่ออิฐถือปูนบรรจุอัฐิไว้บริเวณดังกล่าว ปัจจุบันเหลือเพียงแผ่นอิฐแตกหักขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วบริเวณชายป่าริมน้ำหลง เรียกกันว่า "เหล่ากู่" มาจนทุกวันนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2024
  14. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    429673409_3381940218618464_373498527998953803_n.jpg

    พระเจ้าทองทิพย์ วัดคว้าง (วัดพระเจ้าทองทิพย์) เวียงเชียงแสน

    พระเจ้าทองทิพย์
    เป็นพระพุทธรูปสำริด ที่ได้มาจากวัดทองทิพย์ ซึ่งเป็นวัดร้าง พุทธลักษณะมีพระพักตร์งดงาม หน้าตักกว้าง 1 ศอก 15 นิ้ว สูง 2 ศอก 10 นิ้ว
    .
    วัดคว้าง ตั้งอยู่บริเวณภายในเวียงเชียงแสนทางทิศตะวันออก หลังตลาดเชียงแสน ใกล้กับน้ำแม่ของ ซึ่งเป็นแนวด้านที่น้ำได้กัดเซาะตัวเมืองเชียงแสนเข้ามาบางส่วน ตามพื้นเมืองเชียงแสนกล่าวว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2022 โดยหมื่นกวง ให้เจ้าพันฅำบอกบุญถวายพระเจ้าติโลกราชกับพระราชเทวีตนย่า (นางติโลกจุฑาเทวี?) ทั้ง 2 พระองค์ให้เจ้าบ่าวล่ามหมื่นกับพันหานใหม่เกิดมากัลปนาข้าวัดและนาถวายวัดคว้าง พร้อมให้เถ้าสรีเมืองปักจารึกไว้ สันนิษฐานว่าเนื้อความตอนนี้น่าจะคัดลอกมาจากจารึกวัดคว้างหลักจริง ซึ่งปัจจุบันไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว
    "...สักกราช 841 ตัว ปีรวายสี เดือน 5 แรม 2 ฅ่ำ ไทยเปิกสะง้า เม็งวัน 6 ฤกษ์ 11 ตัว ชื่อบุพพผลคุณ เช่นนี้พระญาอติโลกราชกินเมืองพิงเชียงใหม่แล หมื่นกวงเชียงแสนที่นี้สร้างวัดคว้าง วิหารกว้าง 6 วาสอก ยาว 13 วา สูง 7 วาอก เจติยะกว้าง 4 วา สูง 13 วาอก จุธาตุดูกหน้าผาก แลธาตุย่อย 160 องค์ แลธาตุอรหันต์ 360 องค์ บอรมวลแล้ว จิ่งหื้อเจ้าพันฅำเอานาบุญเมือถวายกระสัตรเจ้าอติโลกราช กับสมเด็จพระราชเทวีตนย่าเจ้ายังเมืองพิงเชียงใหม่แล
    พระญาอติโลกราชเจ้ากับพระราชเทวีตนย่า จิ่งหื้อเจ้าบ่าวล่ามหมื่นนึ่ง พันหานใหม่เกิดนึ่ง เอาบุญรวายสรีเมือเถิงพระญาเจ้าตนกินเมืองเงินเมืองเชียงแสน แลพระญาฅำล้านนาเชียงแสน จิ่งจักหื้อเถ้าสรีเมืองต้องจาเริกใส่แป้นหินไว้ยังวัดคว้าง แล้วทานที่ไว้ทัง 4 ด้านแลร้อยวา หื้อเปนอาณาเขตแก่พระธาตุเจ้า ไว้นากับ 8 หมื่น 8 พันเบี้ย ทานฅนไว้ 5 ครัว นายหล้าทังเมียลูกหลานนึ่ง กองฅำทังเมียลูกหลานครัวนึ่ง หมื่นยี่ขุนทังเมียลูกหลานครัวนึ่ง วันนั้นแล..."
    .
    พ.ศ. 2347 เมืองเชียงแสนถูกกองทัพเจ้าเจ็ดตนและกองทัพเมืองน่านตีแตก มีการกวาดต้อนเชลยชาวเชียงแสนออกจากเมือง ส่งผลให้วัดคว้างกลายเป็นวัดร้าง คร่าวเชียงแสนแตกกล่าวถึงวัดคว้างตอนหนึ่งว่า
    "...จักพรากห้อง เวียงคำหากเพี้ยง ท่านเถือแถกเสี้ยงกายา
    พิวาทนิ้ว ต่างเหนือสิสา ขอขราบลา พระธาตุเจ้า
    โอยเชียงมั่น บุญยืนตราบเท้า รามโบสถ์ต้นมะปี
    ไขบาลี ต้นลานต้นแก้ว ป่างิ้วล่องลงมา
    เจติยะ ชินะสังกา ขาวป้านมา กู่คำธาตุเจ้า
    เชตวัน ปราสาทรอดเท้า พระทองน้อยเสาดิน
    ทังวัดคว้าง เท้าเทิงพระหิน หยาดยายริม ตราบน้ำเป็นถ้อย
    หลังเรียงหลัง หากงามส้อยล้อย เป็นที่ไว้แต่ใด..."
    .
    มื่อมีการฟื้นฟูเมืองเชียงแสนใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2423 โดยพระยาราชเดชดำรง (เจ้าน้อยอินทวิไชย) เจ้าหลวงเชียงแสนยุคฟื้นฟูตนที่ 1 วัดคว้างได้รับการบูรณะฟื้นฟูโดยชาวเงี้ยวไทใหญ่ เรียกว่าวัดพระเจ้าทองทิพย์ ตามที่มีพระเจ้าทองทิพย์ประดิษฐานอยู่ในวัด และเป็นวัดของชาวเงี้ยวไทใหญ่ในเวียงเชียงแสน
    ช่วงเกิดเหตุการณ์กบฏเงี้ยวในมณฑลพายัพ พ.ศ. 2447 ตุ๊สล่าหลวงเมืองอ๊อด พระสงฆ์พม่าที่เป็นธุหลวงวัดพระเจ้าทองทิพย์ พร้อมตุ๊มังซา สล่าป๊อก จองแข่ ได้นำชาวเงี้ยวไทใหญ่จากเชียงแสนประมาณ 177 คน รวมพลที่วัดพระเจ้าทองทิพย์ ยกออกมาพักกองอยู่วัดกาสา แล้วเข้าโจมตีแขวงเชียงแสนหลวง (แม่จัน) ในวันที่ 12-13 มีนาคม พระยาราชเดชดำรง (เจ้าน้อยไชยวงษ์/เจ้าน้อยเป็ง) เจ้าหลวงเชียงแสนตนที่ 2 และนายแขวงเชียงแสนหลวงคนแรก นำพลทหาร ตำรวจ และชาวบ้านแขวงเชียงแสนหลวงต่อสู้ ยิงปืนถูกตุ๊สล่าหลวงเมืองอ๊อดและสล่าป๊อกตาย สามารถตัดศีรษะทั้ง 2 มาได้ ชาวเงี้ยวไทใหญ่แตกพ่ายหนีไป ทำให้วัดพระเจ้าทองทิพย์หรือวัดคว้างกลับมาร้างอีกครั้งจนปัจจุบัน ส่วนพระเจ้าทองทิพย์ได้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดพระเจ้าล้านทอง


    วัดพระเจ้าล้านทอง สร้างขึ้นในสมัยเจ้าทองงัวหรือทองวัว ราชบุตรของพระเจ้าติโลกราช เมื่อ พ.ศ. 2032 (จุลศักราช 351) ตามที่ปรากฏในตำนานโยนกว่า

    เมื่อปี พ.ศ. 2030 (จ.ศ.849 ปีมะแม นพศก) เจ้าสุวรรณคำล้านนา เจ้าผู้ครองเมืองเชียงแสน ถึงแก่พิราลัยพระเจ้าเชียงใหม่ (พระยอดเชียงราย พระราชนัดดาของพระเจ้าติโลกราช ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้าติโลกราชแทนพ่อท้าวบุญเรือง ราชโอรสของพระเจ้าติโลกราช เจ้าทองวัวเป็นราชบุตรที่เกิดจากพระสนมจึงมิได้สืบสันติวงศ์ เห็นว่าเมืองเชียงแสนเป็นหัวเมืองสำคัญฝ่ายเหนือ จึงได้สถาปนาให้เจ้าทองวัว ซึ่งมีตำแหน่งเป็นเจ้าหมื่นวัว ไปครองเมืองเชียงแสน เจ้าหมื่นวัวได้ทรงน้ำมุรธาภิเศกที่เมืองเชียงแสน เมื่อวันพุธขึ้น 7 ค่ำ เดือนยี่เหนือ (เดือน 1 ) ปี พ.ศ. 2032 (จ.ศ. 851) เฉลิมพระอภิชัยว่า “พระยาศิริราชเงินกอง” เมื่อได้ครองเมืองเชียงแสนแล้ว ท่านได้สร้างพระอารามขึ้นแห่งหนึ่งท่ามกลางเมืองเชียงแสน สร้างวิหารกว้าง 5 วา ยาว 9 วา เจดีย์กว้าง 3 วา สูง 7 วา หล่อพระพุทธปฏิมากร องค์หนึ่ง ด้วยทองปัญจะโลหะ หน้าตึกกว้าง 4 ศอก 2 กำมือ หนักล้านทอง (10 หาบ หรือ พันชั่ง) เมื่อหล่อเสร็จแล้ว จึงทรงเรียกว่า “พระเจ้าล้านทอง” และวัดแห่งนี้เลยเรียกว่า “วัดพระเจ้าล้านทอง” ดังปรากฏอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
     
  15. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    12369.jpg ตองติ๊บ.jpg วัดแม่ทะหลวง.jpg
    พระเจ้าทองทิพย์ วัดแม่ทะหลวง ต.แม่ทะ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2024
  16. กานโถม

    กานโถม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +115
    Wx7mO7VJh6URtK7JBw8raxb8jwYajKXXCohwHU8S.pdf - Google Chrome.jpg

    พระเจ้าทองทิพย์ วัดพระแก้วดอนเต้า จ.ลำปาง
    หน้าตักกว้าง 3 ศอก สูง 3 ศอก 1 คืบ ศิลปะเชียงแสน หล่อด้วยทองสำริด ปางมารวิชัย
    พระพุทธรูปพระเจ้าทองทิพย์องค์นี้ เป็นพระเสี่ยงทาย เมื่อครั้งหนานติ๊บช้าง ได้เสี่ยงทายอธิษฐานก่อนทำการกอบกู้อิสระภาพล้านนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...