หลวงพ่อพระราชพรหมยานอธิบายเกี่ยวกับวิธีใช้ญาณต่างๆ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 1 พฤศจิกายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    วิธีใช้ญาณต่างๆ
    [​IMG]
    เมื่อเจริญฌานในกสิณจนถึงอุปจารฌานแล้ว ก็เริ่มสร้างทิพยจักษุญาณได้ เพราะทิพยจักษุญาณนั้น เริ่มมีผลตั้งแต่จิตเข้าสู่อุปจารฌาน มีผลในการรู้บ้างพอสมควร เช่นรู้สวรรค์ นรก และเหตุการณ์ต่างๆ ได้บ้าง ไม่ถึงกับรู้ตายรู้เกิด คือตายแล้วไปเกิดที่ใด ผู้ที่มาเกิดนั้นมาจากไหน รู้เหตุการณ์เพียงผิวเผินกว่านั้น เช่นรู้โรคว่าเป็นโรคอะไร หายได้ด้วยวิธีใด คนนี้จะมีเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ประการใด รู้เหตุในอดีตและอนาคตได้บ้างพอสมควร รู้สวรรค์ นรก ได้บ้าง แต่ไม่แจ่มใสนัก

    พูดจากับเทวดาและพรหมได้บ้างคำสองคำ ภาพเทวดาและพรหมก็หายไป ภาพที่เห็นก็ไม่เห็นนาน ประเดี๋ยวก็หายไป จะเอาเรื่องราวที่เป็นการเป็นงานที่ต้องใช้เวลานานๆ ก็ต้องกำหนดจิตกันบ่อยครั้ง ทั้งนี้เพราะสมาธิเพียงอุปจารสมาธิ ยังเป็นสมาธิที่ทรงกำลังให้สงบอยู่ได้ไม่นาน ถ้าจะเปรียบ ก็คงเหมือนเด็กเพิ่งสอนเดิน ยืนไม่ได้นาน ยืนเดินได้ชั่วขณะก็ล้มต้องลุกๆ เดินๆ อยู่อย่างนั้น กว่าจะเดินถึงที่หมายก็ต้องล้มลุกบ่อยๆ

    ทิพยจักษุญาณระดับอุปจารฌานก็เหมือนอย่างนั้น การเห็นก็ไม่ชัดเจนแจ่มใส ยังเห็นไม่เต็มตัว เห็นบนไม่เห็นล่าง เห็นหน้าไม่เห็นขา อย่างนี้เป็นต้น ต่อเมื่อได้สมาธิที่ค่อยๆ ฝึกฝนไปนั้นเข้าถึงฌาน ๔ และเข้าฌานออกฌานชำนิชำนาญดีแล้ว ความตั้งมั่นมีมาก ดำรงอยู่ได้นานตามความต้องการ ทิพยจักษุญาณก็มีสภาพเข้าเกณฑ์สมบูรณ์ใช้งานได้สะดวก เห็นภาพเต็ม พูดกันได้ตลอดเรื่อง รู้ละเอียดจนถึงผลของการตายการเกิด รู้เหตุรู้ผลครบถ้วน

    ตอนชำนาญในฌาน ๔ นี้ ท่านเรียกว่า จุตูปปาตญาณ ความจริงก็ทิพยจักษุญาณนั่นเอง แต่เป็นทิพยจักษุญาณที่มีฌานเต็มขั้น ทิพยจักษุญาณ ขั้นฌานโลกีย์นี้แม้จะเป็นญาณที่มีฌานเต็มขั้นก็ตาม การรู้การเห็นจะให้ชัดเจนแจ่มใสคล้ายกลางวันนั้นไม่ได้ อย่างดีก็มองเห็นได้มัวๆ คล้ายเห็นภาพเวลาพระอาทิตย์ลับแล้ว เป็นเวลาใกล้ค่ำ เห็นภาพดำๆ พอรู้ได้ว่าอะไรเป็นอะไร จะเห็นชัดเจนตามสมควรได้ต่อเมื่อเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ ท่านเปรียบการเห็นด้วยอำนาจทิพยจักษุญาณนั้นไว้ดังนี้

    ๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นได้คล้ายดูภาพในเวลากลางวัน ที่มีอากาศแจ่มใส
    ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า เห็นได้คล้ายกลางคืน ที่มีพระจันทร์เต็มดวง ไม่มีเมฆหมอกปิดบัง
    ๓. พระอัครสาวกซ้ายขวา เห็นได้คล้ายคนจุดคบเพลิง
    ๔. พระสาวกปกติ เห็นได้คล้ายตนจุดประทีป คือตะเกียงดวงใหญ่ที่มีแสงน้อยกว่าคบเพลิง
    ๕. พระอริยะเบื้องต่ำกว่าพระอรหันต์ มีการเห็นได้คล้ายแสงสว่างจากแสงเทียน
    ๖. ท่านที่ได้ฌานโลกีย์ เห็นได้คล้ายแสงสลัวในเวลาพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า

    ระดับการเห็นไม่สม่ำเสมอกันอย่างนี้ เพราะอาศัยความหมดจดและกำลังบารมีไม่เสมอกัน นำมากล่าวไว้เพื่อทราบ เมื่อท่านได้และถึงแล้วจะได้ไม่สงสัย มีนักปฏิบัติส่วนใหญ่ที่ทำได้แล้ว และเกิดเห็นไม่ชัดได้มาถามบ่อยๆ จึงเขียนไว้เพื่อรู้ การใช้ญาณ ได้กล่าวแล้วว่า ญาณต่างๆ มีความสว่างตามกำลังของฌานหรือสมาธิ ฉะนั้น เมื่อจะใช้ญาณให้เป็นประโยชน์ ก่อนอื่นถ้าได้ทิพยจักษุญาณเบื้องต้นก็ต้องเพ่งรูปกสิณตามกำลังของสมาธิก่อน เพราะเห็นภาพกสิณชัดเจนเท่าใด ภาพที่ต้องการจะเห็นก็เห็นได้เท่าภาพกสิณที่เห็น เมื่อเพ่งภาพกสิณจนเป็นที่พอใจแล้วจึงอธิษฐานให้ภาพกสิณหายไป ขอภาพที่ต้องการจงปรากฏแทน ภาพที่ต้องการก็จะปรากฏแทนเห็นได้เท่าภาพกสิณ
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>ได้ฌาน ๔

    การใช้ญาณเมื่อชำนาญในฌาน ๔ แล้ว ท่านให้เข้าฌาน ๔ ให้เต็มขนาดของฌานก่อน จนจิตสงัดเป็นอุเบกขาดีแล้ว ค่อยๆ คลายจิตออกมาสู่อุปจารสมาธิ แล้วกำหนดจิตอธิษฐานว่า ขอภาพที่ต้องการจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจากฌาน ๔ กำหนดรู้ภาพที่ต้องการจะปรากฏแก่จิตคล้ายดูภาพยนต์ พร้อมทั้งรู้เรื่องไปตลอดจะใช้ญาณอะไรก็ตาม ทำเหมือนกันหมดทุกญาณ จงพยายามฝึกฝนให้คล่องแคล่วว่องไว ต้องการเมื่อไรรู้ได้ทันที

    การรู้จะคล่องหรือฝืดขึ้นอยู่กับฌาน ถ้าเข้าฌานออกฌานคล่องการกำหนดก็รู้ก็คล่อง ทั้งนี้ต้องหมั่นฝึกหมั่นเล่นทุกวันวันละหลายๆ ครั้ง เล่นทั้งวันทั้งคืนยิ่งดี ความเพลิดเพลินจะเกิดมีขึ้นแก่อารมณ์ ความรู้ความฉลาดจะปรากฏ ปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ในส่วนแห่งวิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่ายในการเกิดจะปรากฏแก่จิตอย่างถอนไม่ออก ความตั้งมั่นในอันที่จะไปสู่พระนิพพานจะเกิดแก่จิตอย่างชนิดไม่ต้องระวังว่าจิตจะคลายจากพระนิพพาน ผลของญาณแต่ละญาณที่จัดว่าเป็นคุณส่งเสริมให้เกิดปัญญาญาณนั้นจะนำมากล่าวไว้โดยย่อพอเป็นแนวคิด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>๑. จุตูปปาตญาณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>ญาณนี้ เมื่อเล่นบ่อยๆ ดูว่าสัตว์ที่เกิดมานี้มาจากไหน สัตว์ที่ตายไปแล้วไปเกิดที่ไหน รู้แล้วอาศัย ยถากัมมุตาญาณ สนับสนุนให้รู้ผลของกรรม ญาณนั้นใช้ในคราวเดียวกันได้คราวละหลายๆ ญาณ เพราะก็เป็นผลของทิพยจักษุญาณเหมือนกัน เมื่อรู้ว่าบางรายมาจากเทวดาบ้าง มาจากพรหมบ้าง มาจากอบายภูมิ มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉานบ้าง สัตว์ที่ไปเกิดก็ทราบว่า ไปเกิดในแดนมนุษย์บ้าง สวรรค์บ้าง พรหมบ้าง และเกิดในอบายภูมิบ้าง คนรวยเกิดเป็นคนจน คนจนเกิดเป็นมหาเศรษฐี สัตว์เกิดเป็นมนุษย์เพราะผลของกรรมดีและกรรมชั่วที่สั่งสมไว้

    เมื่อรู้เห็นความวนเวียนในความตายความเกิดที่เอาอะไรคงที่ไม่ได้อย่างนี้ มองเห็นโทษของสัตว์ที่เกิดในอบายภูมิ เห็นความสุขในสวรรค์และพรหม และเห็นความไม่แน่นอนในการเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ที่ต้องจุติคือตายจากสภาพเดิมที่แสนสุข มาเกิดในมนุษย์หรืออบายภูมิ อันเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความทุกข์เพราะความไม่แน่นอนผลักดัน เป็นผลของอนัตตาที่เป็นกฎประจำโลกไม่มีใครจะทัดทานห้ามปรามได้

    มองดูการวนเวียนในการตายและเกิดไม่มีอะไรสิ้นสุด ในที่สุดก็มองเห็นทุกข์ เป็นการเห็นอริยสัจ มีความเบื่อหน่ายในการเกิด เป็นนิพพิทาญาณในวิปัสสนาญาณ เป็นปัญญาที่เกิดจากญาณในสมถะคือจุตูปปาตญาณ ญาณนี้ได้สร้างปัญญาในวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้นเพราะผลของสมถะ คือ จุตูปปาตญาณ เพราะเหตุที่่สาวหาต้นสายปลายเหตุจากการเกิดและการตาย ในที่สุดก็เกิดการเบื่อหน่ายดังว่ามาแล้ว ถ้าปฏิบัติถึงแล้วจงแสวงหาความรู้จากความเกิดและความตายของตนเอง และสัตว์โลกทั้งมวล ทุกวันทุกเวลา จะเป็นครูสอนตนเองได้ดีที่สุด ผลดีจะมีเพียงใด ท่านจะทราบเองเมื่อปฏิบัติถึงแล้ว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>๒. เจโตปริยญาณ <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD>เจโตปริยญาณ แปลว่ารู้ใจคน คือรู้อารมณ์จิตใจคนและสัตว์ ว่าขณะนี้เขามีอารมณ์จิตเป็นอย่างไร มีความสุขหรือทุกข์ หรือมีอารมณ์ผ่องใส เพราะไม่มีอะไรมารบกวนจิตใจให้ขุ่นมัวที่เรียกว่าอุเบกขารมณ์ คืออารมณ์เฉยๆ ไม่มีสุขและทุกข์เจือปน รู้จิตของผู้นั้น แม้แต่จิตของเราเองว่า มีกิเลสอะไรเป็นกิเลสนำ คือมีอะไรกล้าในขณะนี้ จิตของผู้นั้นเป็นจิตประกอบด้วยกุศลหรืออกุศล เป็นจิตของท่านผู้ทรงฌาน หรือเป็นจิตประกอบด้วยนิวรณ์รบกวน เป็นพระอริยะชั้นใด

    การจะรู้จิตของท่านผู้ใดว่ามีอารมณ์จิตของผู้ทรงฌานหรือเป็นพระอริยะอันดับใดนั้น เราเองต้องเป็นผู้ทรงฌานระดับเดียวกันหรือสูงกว่า การจะรู้ว่าท่านผู้นั้นเป็นพระอริยเจ้าหรือไม่และระดับใด เราก็ต้องเป็นพระอริยะด้วยและมีระดับเท่าหรือสูงกว่า ท่านที่มีฌานต่ำกว่าจะรู้ระดับฌานของท่านผู้ได้ฌานสูงกว่าไม่ได้ ท่านที่ไม่ได้ทรงความเป็นอริยะจะรู้คุณสมบัติทางจิตของพระอริยะไม่ได้ ท่านที่เป็นพระอริยะต่ำกว่าจะรู้ความเป็นพระอริยะสูงกว่าไม่ได้

    กฎนี้เป็นกฎตายตัวควรจดจำไว้อย่าพยากรณ์บุคคลผู้ทรงคุณสูงกว่า ถ้าไม่ได้อะไรเลยก็จงอย่ากล้าพยากรณ์ผู้อื่น เพราะพยากรณ์พลาดจากความเป็นจริง มีโทษหนักในทางปฏิบัติ เพราะเราจะกลายเป็นโมฆโยคีไป คือประกอบความเพียรด้วยการไร้ผล ในฐานะที่อาจเอื้อมยกตนเหมือนพระอริยะ เป็นกรรมหนักมาก ควรละเว้นเด็ดขาด

    สีของจิต

    สีของจิตนี้ ในที่บางแห่งท่านเรียกว่า "น้ำเลี้ยงของจิต" ปรากฏเป็นสีออกมาโดยอาศัยอารมณ์ของจิตเป็นตัวเหตุ สีนั้นบอกถึงจิตเป็นสุข เป็นทุกข์ อารมณ์ขัดข้องขุ่นมัวหรือผ่องใส ท่านโบราณาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้

    ๑. จิตที่มีความยินดีด้วยการหวังผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมี สีแดง ปรากฏ
    ๒. จิตที่มีอารมณ์โกรธ หรือมีความอาฆาตจองล้างจองผลาญ กระแสจิตมี สีดำ
    ๓. จิตที่มีความผูกพันด้วยความลุ่มหลง เสียดายห่วงใยในทรัพย์สิน และสิ่งที่มีชีวิต กระแสจิตมี สีคล้ายน้ำล้างเนื้อ
    ๔. จิตที่มีกังวล ตัดสินใจอะไรไม่ได้เด็ดขาด มีความวิตกกังวลอยู่เสมอ กระแสจิตมี สีเหมือนน้ำต้มถั่วหรือน้ำซาวข้าว
    ๕. จิตที่มีอารมณ์น้อมไปในความเชื่อง่าย ใครแนะนำอะไรก็เชื่อ โดยไม่ใคร่จะตริตรอง ทบทวนหาเหตุผลว่าควรหรือไม่เพียงใด คนประเภทนี้เป็นประเภทที่ถูกต้มถูกตุ๋นเสมอๆ จิตของคนประเภทนี้กระแสมี สีเหมือนดอกกรรณิการ์ คือสีขาว
    ๖. คนที่มีความเฉลียวฉลาด รู้เท่าทันเหตุการณ์เสมอ เข้าใจอะไรก็ง่าย เล่าเรียนก็เก่ง จดจำได้ดี ปฏิภาณ ไหวพริบก็ว่องไว คนประเภทนี้ กระแสจิตมีสีผ่องใสคล้ายแก้วประกายพรึกหรือในบางแห่งท่านว่า คล้ายน้ำที่ปรากฏกลิ้งอยู่ในใบบัว คือมี สีใสคล้ายเพชร

    สีของจิตโดยย่อ

    เพื่อประโยชน์ในการสังเกตง่ายๆ แบ่งสีของจิตออกเป็นสามอย่าง คือ

    ๑. จิตมีความดีใจ เพราะผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กระแสจิตมี สีแดง
    ๒. จิตมีทุกข์เพราะความปรารถนาไม่สมหวัง กระแสจิตมี สีดำ
    ๓. จิตบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกังวล คือสุขไม่กวน ทุกข์ไม่เบียดเบียน จิตมี สีผ่องใส
    กายในกาย

    เมื่อรู้ลักษณะของจิตแล้ว ก็ควรรู้ลักษณะของกายในไว้เสียด้วยในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสถึงกายในกายไว้ สำหรับนักปฏิบัติขั้นต้นก็ถือเอาอวัยวะภายใน เป็นกายในกาย ส่วนท่านที่ได้จุตูปปาตญาณแล้ว ก็ถือเอากายที่ซ้อนกายอยู่นี้เป็นกายในกาย กายในกายนี้มีไดอย่างไร ขอตอบว่าเป็นกายประเภท อทิสมานกาย คือดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยญาณจึงเห็น ตามปกติกายในกายหรือกายซ้อนกายนี้ก็ปรากฏตัวให้เจ้าของกายรู้อยู่เสมอในเวลาหลับ ในขณะหลับนั้น ฝันว่าไปไหนทำอะไรที่อื่นจากสถานที่เรานอนอยู่ ตอนนั้นเราว่าเราไป และทำอะไรต่ออะไรอยู่ความจริงเรานอนและเมื่อไปก็ไปจริงจำเรื่องราวที่ไปทำได้ บางคราวฝันว่าหนีอะไรมา พอตื่นขึ้นก็เหนื่อยเกือบตาย กายนั้นแหละ ที่เป็นกายซ้อนกาย หรือกายในกาย ตามที่ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐาน ตามที่นักเจโตปริยญาณต้องการรู้
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=103>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>กายในกายนี้แบ่งออกเป็น ๕ ขั้น คือ

    ๑. กายอบายภูมิ มีรูปร่างลักษณะ คล้ายกับคนขอทานที่มีแต่กายเศร้าหมองอิดโรยหน้าตาซูบซีดไม่ผ่องใส พวกนี้ตายแล้วไปอบายภูมิ
    ๒. กายมนุษย์ มีรูปร่างลักษณะค่อนข้างผ่องใส เป็นมนุษย์เต็มอัตรา กายมนุษย์นี้ต่างกันบ้าง ที่มีส่วนสัดผิวพรรณ ขาวดำ สวยสดงดงามไม่เสมอกัน แต่ลักษณะก็บอกความเป็นมนุษย์ชัดเจน พวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นมนุษย์อีก
    ๓. กายทิพย์ คือกายเทวดาชั้นกามาวจร มีลักษณะผ่องใส ละเอียดอ่อน ถ้าเป็นเทพชั้นอากาศเทวดา หรือรุกขเทวดาขึ้นไป ก็จะเห็นสวมมงกุฎแพรวพราว เครื่องประดับสวยสดงดงามมาก ท่านพวกนี้ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาชั้นกามาวจรสวรรค์
    ๔. กายพรหม มีลักษณะคล้ายเทวดา แต่ผิวกายละเอียดกว่า ใสคล้ายแก้ว มีเครื่องประดับสีทองล้วน แลดูเหลืองแพรวพราวไปหมด ตลอดจนมงกุฎที่สวมใส่ ท่านพวกนี้ตายไปแล้วไปเกิดเป็นพรหม
    ๕. กายแก้ว หรือกายธรรมที่เรียกว่าธรรมกายก็เรียก กายของท่านประเภทนี้เป็นกายของพระอรหันต์ จะเห็นเป็นประกายพรึกทั้งองค์ ใสสะอาดยิ่งกว่ากายพรหมและเป็นประกายทั้งองค์ ท่านพวกนี้ตายแล้วไปนิพพาน การที่จะรู้กายพระอรหันต์ได้ต้องเป็นพระอรหันต์เองด้วย มิฉะนั้นจะดูท่านไม่รู้เลย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ตามที่กล่าวมา ตั้งแต่ข้อหนึ่งถึงข้อสี่นั้น กล่าวว่า ท่านพวกนั้นตายแล้วไปเกิดที่นั้นๆ หมายถึงว่าท่านพวกนั้นไม่สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่มีกำลังแรงกว่าที่เห็น พวกไปสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่วที่แรงกว่า ก็ย่อมไปเสวยผลตามกรรมที่ให้ผลแรงกว่า

    เจโตปริยญาณมีผลตามที่กล่าวมาแล้ว การรู้อารมณ์จิตนั้นมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะก็คือการรู้อารมณ์จิตของตนเองนั่นแหละสำคัญมาก จะได้คอยสกัดกั้นอารมณ์ชั่วร้ายที่เป็นกิเลสและอุปกิเลสไม่ให้มาพัวพันกับจิต ด้วยการคอยตรวจสอบกระแสจิตดูว่าขณะนี้จิตเราจะมีสีอะไร ควรรังเกียจสีทุกประเภท อย่าให้สีทุกอย่างแม้แต่นิดหนึ่งปรากฏแก่จิต เพราะสีทุกอย่างที่ปรากฏนั้น เป็นอาการของกิเลสทั้งสิ้น สีที่ต้องการและสนใจเป็นพิเศษก็คือ สีใสคล้ายแก้ว ควรแสวงหาให้มีประจำจิตเป็นอันดับแรก ต้องเป็นแก้วทั้งแท่ง อย่าให้มีแกนที่เป็นสีปนแม้แต่นิดหนึ่ง สีที่เป็นแก้วนี้ เป็นอาการของจิตที่ทรงฌาน ๔

    ท่านผู้ทรงฌาน ๑ หรือที่เรียกว่าปฐมฌาน จะมีกระแสจิตเหมือนเนื้อที่ถูกแก้วบางๆ เคลือบไว้ภายนอก
    ท่านที่ทรงฌาน ๒ หรือที่เรียกว่าทุติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนาลงไปครึ่งหนึ่ง
    ท่านที่ทรงฌาน ๓ หรือที่เรียกว่าตติยฌาน มีภาพเหมือนแก้วเคลือบหนามาก เห็นแกนในสั้นไม่เต็มดวงและเป็นแกนนิดหน่อย
    ท่านที่ทรงฌาน ๔ หรือที่เรียกว่าจตุตถฌาน กระแสจิตจะดูเป็นแก้วทั้งดวง เป็นเสมือนก้อนแก้วลอยอยู่ในอก
    ที่มา
    http://84000.org/program/gp/data/imagefiles/R1-10.jpg

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. wonderisland

    wonderisland เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    541
    ค่าพลัง:
    +8,009
    สาธุ สาธุ สาธุ ขอโมทนาอย่างยิ่งครับผม ธรรมทานนี้ประเสริฐนัก
     
  3. คนมีกิเลส

    คนมีกิเลส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,973
    ค่าพลัง:
    +19,431
    จิตผ่องใสไม่เศร้าหมอง สุขคติย่อมเป็นที่ไป

    ขออนุโมทนาบุญกับท่านผู้ตั้งกระทู้ และทุกๆท่านที่ร่วมอนุโมทนาด้วยครับ<O:p</O:p
    สาาาาา ธุ<O:p</O:p
    สาาาาา ธุ<O:p</O:p
    สาาาาา ธุ<O:p</O:p
    ให้ดังไปถึงพระนิพพาน<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...