หลวงพ่อพระราชพรหมยานสอนการพิจารณาอาหาเรปฏิกูลสัญญา

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 24 ตุลาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <TABLE width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>อาหาเรปฏิกูลสัญญา <HR SIZE=1></TD></TR><TR><TD vAlign=top>อาหาเรปฏิกูลสัญญา แปลว่า พิจารณาอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด อาหารถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตก็จริง แต่ทว่าอาหารนี้เป็นภัยแก่นักนิยมบำเพ็ญความเพียรเพื่อเผาผลาญกิเลสให้เร่าร้อนไม่น้อยเหมือนกัน ถ้าจะพูดกันให้ตรงแล้ว อาหารนั้นไม่เป็นภัยเลย แต่ความรู้สึกของคนเอง สร้างความเป็นภัยให้เกิดแก่ตัว
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=140>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ทราบกันอยู่เป็นปกติแล้วว่า สัตว์ทุกประเภทต้องการอาหาร แต่ความต้องการอาหาร ของร่างกายนี้ ร่างต้องการเพียงยังอัตภาพให้เป็นอยู่ชั่วคราว ร่างกายมิได้มีความต้องการสีสันของอาหาร มิได้ต้องการรสเลิศของอาหาร ร่างกายไม่เคยบัญชาว่า ต้องการอาหารที่มีราคาแพง ไม่เคยบอกว่า อาหารที่ทำด้วยสัตว์ตายเองมีรสไม่อร่อย และอะไรอีกนับไม่ไหว ที่มวลหมู่นักกินทั้งหลายต้องการ ล้วนแล้วแต่เสกสรร เพื่อความเร่าร้อนด้วยการกินทั้งสิ้น มีไม่น้อยรายที่ต้องยากจนเพราะเรื่องกินที่เกินพอเหมาะพอดี หลายรายที่ต้องตายเพราะการกินที่เกินพอเหมาะพอดี </TD></TR></TBODY></TABLE>เรื่องอาหารความจริงแล้ว ไม่มีอะไรน่าหนักใจเลย ที่หนักหนาในการแสวงหาอาหารมาบำรุงบำเรอ เพื่อความเหมาะสม ด้วยสีของอาหาร รสของอาหาร ประเภทของอาหาร และสถานที่ทำอาหาร จนต้องล้มละลาย ตายจากกัน และยากจนเข็ญใจ เพราะอาหาร ความสลายตัว และความเร่าร้อนทั้งหลายนี้ เกิดจากอำนาจของกิเลส และตัณหาที่สิงใจอยู่นั่นเอง กิเลสคอยบัญชาการให้เกิดความต้องการ ล่อลวงให้ล้มละลายจากความดี สร้างความทุกข์ให้เกิดด้วยการยั่วเย้ายุแหย่ ให้เกิดความพอใจในอาหารที่เกินควร

    อาหารนั้นจะเป็นอาหารประเภทใดก็ตาม อาหารราคาถูกหรือราคาแพง ก็เป็นอาหารที่กินแล้หิวใหม่ทั้งสิ้น อาหารจานล่ะหนึ่งบาท หรืออาหารจานละหนึ่งร้อย หรือหลายแสนบาท กินแล้วก็กลับหิวใหม่เหมือนกัน ไม่มีอะไรวิเศษกว่ากัน ความที่ไม่รู้จักความพอดีในด้านอาหาร เป็นการถ่วงความดีทั้งในการทรงความเป็นอยู่ในด้านฐานะ และทั้งความเป็นผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เรื่องการกินของชาวโลกที่เสกสรรกิน เพราะกิเลสตัณหาสนับสนุน และเจ้าตัวเองก็ยังมัวเมาอยู่ จะขอยกไว้ไม่นำมากล่าว
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>พิจารณาอาหาร </TD></TR></TBODY></TABLE>นักปฏิบัติต้องเว้นจากอาหารที่เป็นโทษทางร่างกายทุกชนิด อาหารทุกประเภทที่บริโภคแล้วเป็นโทษเป็นพิษแก่ร่างกาย พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้จำ และเว้นอย่างเด็ดขาด เพราะการเจริญสมาธิหรือวิปัสสนา ถ้าสุขภาพไม่ปกติ โดยเฉพาะถ้ามีอาการไม่ปกติทางท้องแล้ว การเจริญสมาธิหรือพิจารณาวิปัสสนาญาณจะไร้ผล เพราะอาการวิปริตทางอุทรเป็นสมุฏฐาน

    ฉะนั้น อาหารประเภทใดที่เคยบริโภคแล้วทำให้ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ท่านให้เว้นเด็ดขาด ไม่ควรเกรงใจผู้ให้ การเกรงใจจนตนเองเป็นโทษ เป็นการเกรงใจที่ไม่พอเหมาะพอดี อาหารที่ยั่วราคะ คือ เมื่อกินเข้าไปแล้วเป็นเหตุให้เกิดอารมณ์ในกามารมณ์ควรเว้นเด็ดขาด อาหารที่เป็นภัยแก่ชีวิตของผู้อื่น โดยการทำด้วยการเจาะจงให้ เมื่อรู้แล้วไม่ควรบริโภค ไม่ควรเกรงใจผู้ให้ เพราะจะเป็นไปเพื่อสนับสนุนให้เขาทำบาปมากขึ้น

    ก่อนบริโภคอาหารทุกครั้ง ควรพิจารณาอาหารก่อนว่า

    จะบริโภคเพื่อความเป็นอยู่

    ท่านสอนว่า ควรคิดว่าเราจะบริโภคอาหารเพื่อความเป็นอยู่ของร่างกายเพราะร่างกายต้องการอาหาร เรายังต้องอาศัยร่างกายประกอบความดี เราจะกินเพื่อให้ร่างกายมีกำลังเท่านั้น เราไม่กินเพื่อความผ่องใสของผิวพรรณ เพื่อเป็นการยั่วเย้ากิเลสให้เกิด เพราะความผ่องใสนั้น เราจะไม่สรรหาอาหารที่ไม่จำเป็น เพราะรสในอาหาร เพราะสีสันในอาหาร หรือเพราะความโอ้อวดในการบริโภคอาหาร คือกินอวดชาวบ้านว่า ฉันมีอาหารที่หาได้ยากมากิน ดังนี้เป็นต้น

    พิจารณาให้เห็นว่าปฏิกูล
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=182>[​IMG]</TD><TD vAlign=top>ก่อนบริโภค ท่านให้พิจารณาว่า อาหารนี้จะทำด้วยฝีมือของใครก็ตามที่นิยมว่ารสเลิส หรือเป็นอาหารมีราคาสูง อาหารนี้มีความสำคัญเสมอกันอย่างหนึ่ง คือมีพื้นเพ เป็นของสกปรก มาในกาลก่อน เพราะอาหารที่เป็นพืช ย่อมสกปรกมาตั้งแต่ก่อกำเนิดของพืช โสโครกเพราะอาหารของพืชที่เจือด้วยของโสโครก เช่นปุ๋ยจากกองอุจจาระ ของสัตว์และมนุษย์ และปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำด้วยมูลขยะ ที่เต็มไปด้วยของสกปรก และสกปรกด้วยการทอดทิ้งไว้ในที่สาธารณะ มีที่วางไม่เลือกที่ของผู้ขาย พืชมีความโสโครกดังนี้ </TD></TR></TBODY></TABLE>อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ สัตว์ประเภทนั้นต้องมีเลือด คาว น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นสิ่งที่มนุษย์เกลียดชังว่าเป็นของสกปรกโสโครก เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วไม่ว่าจะเป็นเนื้อที่นิยมกันว่าประเสริฐเพียงใด ในที่สุดผู้บริโภคที่เลือกแต่อาหารชั้นเลิศต่างก็ต้องบริโภคใหม่ เพราะไม่อิ่มตลอดกาล และก็ถ่ายเทกากอาหาร ออกมาเป็นสิ่งโสโครก แล้วกากเหล่านั้นก็ไปเป็นอาหารของสัตว์และพืช รวมความแล้วอาหารที่เรากินทั้งมวลเป็นอาหารสกปรก ไม่ใช่ของเลิศประเสริฐตามที่คิด

    ท่านสอนให้พิจารณาว่า โสโครก ตามความเป็นจริง จากการเกิดของพืชและสัตว์ ต่อมาให้พิจารณาให้เห็นว่า โสโครกในเมื่อเข้าไปรวมกันในปาก โดยท่านให้ข้อคิดว่า อาหารที่จัดสรรว่าเลิศ ราคาแพง คนปรุงจะมาจากโลกไหนก็ตาม เมื่อเอาอาหารมารวมกัน แล้วทำเป็นคำเพื่อบริโภค พอเอาอาหารที่สรรแล้วใส่ปาก แล้วก็คายออกมา เราไม่กล้าที่จะเอาอาหารนั้นใส่เข้าไปในปากใหม่ เพราะรังเกียจว่าเป็นของโสโครก

    อีกนัยหนึ่งท่านให้พิจารณาว่า อาหารที่บริโภคนี้ห้ามความตายไม่ได้ คนที่มีอาหารเลิศ เช่นพระราชา พระเจ้าจักรพรรดิ ที่ครองโลก หรือมหาเศรษฐีท่านใดก็ตาม ท่านทั้งหมดนี้ล้วนแต่มีอาหารเลิศ ที่มวลมนุษย์ที่มีฐานะปานกลาง ไม่สามารถจะหาบริโภคได้ ท่านเหล่านั้นมีอาหารดีเพียงใด ท่านก็ตายนับไม่ถ้วน แ้ล้วชื่อว่าอาหารที่เลิศ ห้ามความตายไม่ได้

    อาหารเลิศ ห้ามความเสื่อมไม่ได้ อาหารชั้นเลิศที่ท่านดังกล่าวมาแล้วบริโภค ห้ามมิให้ท่านแก่คือ เป็นคนหนุ่มสาวตลอดกาล หรือห้ามมิให้เจ็บไข้ได้ป่วยไม่ได้ ท่านเหล่านั้น ท่านมีอาหารเลิศ แต่ท่านก็ต้องเป็นคนแก่ เป็นคนมีโรค มีทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมความว่า อาหารนั้นห้ามอนิจจังความไม่เที่ยง ไม่ได้ จะกินอย่างไร ก็ต้องเป็นผู้ไม่เที่ยงตลอดเวลา

    อาหาร ห้ามความทุกข์ไม่ได้ กินดีอย่างไร ก็ยังมีทุกข์เป็นธรรมดา ต้องป่วย ต้องแก่ หูหนัก ตามืด ร่างกายอ่อนแอ เหมือนกับคนที่บริโภคอาหารตามปกติ คือ อาหารที่ไม่ผิดศีลธรรม และเป็นอาหารที่มีราคาไม่แพง

    อาหาร ห้ามอนัตตาไม่ได้ ความทุกข์เป็นอนัตตาของผู้แสวงหาความสุข เมื่อคนทุกคนต้องการแต่ความสุข เมื่อความต้องการทุกข์ไม่มี ไม่ว่าใคร ทำทุกอย่างเพื่อความไม่มีทุกข์ แต่ทุกคนก็ต้องทุกข์ ทั้งๆ ที่ตนไม่ปรารถนา ฉะนั้น ทุกข์จึงเป็นอนัตตา ของผู้แสวงสุข เพราะบังคับไม่ให้ทุกข์เกิดไม่ได้ ในที่สุดก็ต้องสลายกัน จนสิ้นซาก แม้แต่กระดูก ก็ไม่เหลือไว้เป็นพยาน เขาเหล่านั้นมีอาหารเป็นที่พึ่งทั้งนั้น แต่อาหารก็ห้ามอนัตตาไม่ได้ รวมความว่า อาหารไม่ใช่เครื่องจรรโลงชีวิตให้อยู่ตลอดกาล อาหารเป็นเพียงเครื่องค้ำจุนชั่วคราว ท่านจึงสอนไม่ให้เลือกอาหาร เพราะติดในรส สี และฝีมือ สถานที่อันเป็นการมัวเมา ในอาหารที่เกินควร เพราะเป็นการส่งเสริมกิเลสเกินพอดี

    อาหารพระอริยะ

    พระอริยะตัวอย่าง ขอยกเอาพระพุทธเจ้าซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้ประกาศพระศาสนา มาพูดให้ทราบ สมัยหนึ่งในหลายสิบสมัย พระองค์ทรงเดินทางร่วมกับพระอานนท์ไปบิณฑบาต ทรงพบ นางบุญทาสี ในระหว่างทาง นางบุญเป็นคนจน เป็นทาสของเศรษฐี นางเห็นพระพุทธเจ้านางก็ดีใจ คิืดว่า วันก่อนๆ เราเห็นพระอยากจะทำบุญ แต่เราก็ไม่มีของ บางวันเรามีของ เราก็ไม่พบพระ วันนี้โชคดี เรามีแป้งจี่ผสมรำ ห่อพกมาเพื่อบริโภค เราพบพระพอดี เป็นอันว่าเรามีของและพบพระพร้อมกัน เราจะทำบุญให้สมใจนึก นางจึงเอาแป้งจี่เข้าไปถวายพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับแป้งจี่จากนาง แล้วนั่งฉันข้างทางนั่นเอง เป็นเหตุให้นางเลื่อมใส พอพระองค์อนุโมทนา นางก็ได้สำเร็จพระโสดาบัน

    พระรัฐบาลฉันอาหารทิ้งแล้ว

    พระรัฐบาล เป็นพุทธสาวก เป็นพระอรหันต์ ท่านไปเยี่ยมบ้าน ไม่มีใครจำท่านได้ ไม่มีใครเขาใส่บาตร ท่านยืนอยู่ใกล้บ้าน บังเอิญหญิงสาวใช้ เอาอาหารเหลือบริโภค ออกมาเทนอกบ้าน ท่านเห็นเข้า ท่านจึงพูดว่า ดูก่อนน้องหญิง ถ้าของนั้นเป็นของที่ทิ้งแล้ว ขอน้องหญิงจงเทลงในบาตรของเรา เมื่อนางเทของลงในบาตร ท่านก็นั่งฉันตรงนั้น

    เรื่องอาหารนี้ ดูแล้วจะเห็นว่า พระอริยะแม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านไม่พิถีพิถันอะไรนัก นอกจากอาหารที่เป็นโ์ทษ เช่น อาหารที่เขาบอกว่าจะแกงปลา แกงไก่ แกงสัตว์อะไรก็ตามที่เจ้าภาพบอกชื่อก่อนถวาย อาหารประเภทนี้ท่านไม่รับ เพราะเป็นโทษ ทางก่อให้เกิดกิเลสและตัณหา และอาหารที่เกินพอดี เช่นเนื้อมนุษย์ เนื้อเสือ เป็นต้น ท่านเว้นเด็ดขาด เพราะมีรสดีเกินไป ทำให้ก่อกิเลส และตัณหา นอกนั้นไม่เป็นโทษต่อร่างกาย ไม่ผิดธรรมวินัย ท่านฉันเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป ไม่ฉันเพื่อยั่วกิเลส และตัณหา ไม่ฉันเพื่อรส และเพื่อสีสันวรรณะ ของอาหาร ไม่ติดร้าน หรือผู้ปรุง

    รวมความแล้ว ท่านสอนให้บริโภคอาหารเพื่ออยู่ ไม่ให้เมาในรส ในสี และให้พิจารณา ให้เห็นว่าเป็นของโสโครก ไม่ใช่ของวิเศษที่สร้างผู้บริโภคเป็นผู้วิเศษ ถ้ากินดี โดยการพิจารณาก็มีผลเป็นฌาน และได้มรรคผลเพราะอาหาร ถ้ากินด้วยความมัวเมาในรส ในสี ในคนปรุง ก็มีทุกข์เพราะอาหาร

    ขอนักปฏิบัติจงสังวรณ์ ในเรื่องบริโภคให้มาก ถ้าท่านปลงอาหารตก ไม่เมาในรสอาหาร ท่านมีหวังเห็นฝั่งพระนิพพานในอนาคต อันไม่ไกลนัก เพราะผู้ที่ไม่เมาในรสอาหาร ก็เป็นผู้ไม่เมาในชีวิต ผู้ไม่เมาชีวิตก็เป็นคนเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คนเห็นพระไตรลักษณ์ ก็เป็นผู้เห็นอริยสัจ คนเห็นอริยสัจ ก็เป็นผู้ถึงความเป็นพระอริยะ ท่านที่เป็นพระอริยะ ก็เป็นผู้เข้าถึงพระนิพพาน ขอท่านที่เจริญกรรมฐาน ข้อว่าอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ จงตั้งใจปฏิบัติ ด้วยดี โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน คือยอมตายดีกว่าที่จะมีจิตใจติดในรสอาหาร เท่านี้ความหวังของท่าน ก็ได้รับผลตามที่ตั้งใจทุกประการ
    ขอยุติอาหาเรปฏิกูลสัญญาไว้เพียงเท่านี้
    <TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR><TR vAlign=top><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    จากหนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ที่มา http://www.geocities.com/4465/samadhi/kama406.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...