ที่มาของ พระพุทธเจ้าน้อย กับสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย phakhawat, 22 มีนาคม 2013.

  1. phakhawat

    phakhawat สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +24
    คตินิยมการสร้างพระพุทธรูปปางพระพุทธเจ้าน้อย
    ที่มา : ดร.อำนาจ บัวศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)


    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม คือไม่มี รูปเทพเจ้า หรือเทวรูปให้เคารพ บูชา ยืนยันได้จากการที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แก่พระอานนท์ พุทธอุปัฏฐาก ว่า หลังจากที่พระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว พระธรรมจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวแทนพระพุทธองค์ต่อไป แต่ปรากฏว่าหลังจากที่พระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้วจนถึงปัจจุบัน ได้มีพระพุทธรูปเกิดขึ้นมากมาย และชาวพุทธส่วนใหญ่ทั่วโลกก็นิยมกราบไหว้บูชาพระพุทธรูปกันจนเป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา อย่างไรก็ตามในระยะแรกๆนั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นในที่ใด แต่จะมีการสร้างวัตถุสถานในเชิงสัญลักษณ์แทนพระพุทธศาสนา อันได้แก่ เจดีย์ ๔ ประเภท คือ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ บริโภคเจดีย์ และอุเทสิกเจดีย์ ซึ่งมีปรากฏอยู่มากในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

    ประวัติความเป็นมาในการสร้างพระพุทธรูปนั้น พบว่า พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ได้ยกทัพจาก อาณาจักรเมสิโดเนีย มารุกรานอินเดีย จนได้ชัยชนะ เมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช ๒๑๗ และแต่งตั้งขุนพลกรีก ดูแลเมืองต่างๆ ทำให้ศิลปกรรมเกี่ยวกับรูปปั้นเทพเจ้าต่างๆของกรีก เริ่มเข้ามาแพร่หลายในอินเดียด้วย และอีก๑๐๐กว่าปีต่อมา ในสมัยพระเจ้ามิลินท์กษัตริย์เชื้อสายกรีกโยนก ได้เริ่มมีการสร้างพระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ขึ้น โดยสร้างเป็นองค์สมมุติของพระพุทธเจ้าเพื่อนำไปประดิษฐานไว้ตามเจดีย์สถานต่างๆ ณ แคว้นคันธารราษฎร์ เกิดเป็น “พระพุทธรูปแบบคันธาระ” ซึ่งมีลักษณะพระพักตร์คล้ายเทพเจ้าของกรีก การสร้างพระพุทธรูปในสมัยต่อๆมานั้น เกิดพัฒนาการขึ้นมาก ทั้งรูปแบบและลักษณะการสร้าง สมัยแรกๆนิยมสร้างตามพุทธลักษณะมหาบุรุษ๓๒ ประการ ตามฝีมือช่างสกุลต่างๆ และคตินิยมตามยุคตามสมัย เมื่อพระพุทธศาสนา เผยแผ่มาสู่ประเทศไทย คตินิยมการสร้างพระพุทธรูปก็ตามมาด้วยและพุทธลักษณะก็แตกต่างกันไปตามคติความเชื่อและสกุลช่าง เช่นกัน ดังปรากฏเป็น พระพุทธรูปแบบสุโขทัย เชียงแสน อู่ทอง เป็นต้น นอกจากนี้การสร้างพระพุทธรูปยังนิยมสร้างตามเหตุการณ์สำคัญๆในพุทธประวัติอีก จึงเกิดพระพุทธรูปปางต่างๆกันไป เช่น ปางสมาธิ ปางปฐมเทศนา ปางห้ามญาติ เป็นต้น เกิดเป็นงานศิลปะที่งดงามไปอีกประเภทหนึ่ง

    จากหนังสือพระพุทธรูปปางต่างๆที่มีอยู่ในประเทศไทยนั้น พบว่ามีอยู่ประมาณ ๑๐๐กว่าปาง แต่ไม่พบว่ามีปาง “พระพุทธเจ้าน้อย” เนื่องจาก”พระพุทธเจ้าน้อย” เป็นคตินิยมของฝ่ายมหายานที่นำมาเป็นอุปกรณ์ในการเผยแผ่พระพุทธประวัติ ให้ง่ายต่อการเรียนรู้และการจดจำ โดยเฉพาะเด็กๆ จะชอบมาก เนื่องจากฝ่ายมหายานมีเทคนิคอันชาญฉลาดในการสอนคติธรรม โดยอาศัยพุทธกิริยาของพระสิทธัตถะราชกุมาร ในขณะที่ทรงประสูติจากพระครรภ์ของพระราชมารดา แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปได้ ๗ ก้าว ทรงยกพระหัตถ์ขวาชี้ขึ้นบน และพระหัตถ์ซ้ายชี้ลงด้านล่าง พร้อมเปล่ง อสภิวาจา ว่า “เราคือผู้เลิศของโลก เราคือผู้เจริญที่สุดของโลก เราคือผู้ประเสริฐสุดของโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว” ลักษณาการเช่นนี้ทางมหายาน เปรียบว่า เป็นเสมือนการตั้งเป้าหมายในชีวิตเอาไว้ล่วงหน้า พระสงฆ์ฝ่ายมหายานจะสอนเด็กๆว่า คนเราเกิดมาต้องมีเป้าหมายของชีวิต ต้องตั้งปณิธานเอาไว้ แล้วพยายามบุกบั่น ไปให้ถึงจุดหมายให้ได้ เหมือนพระราชกุมารสิทธัตถะ (ที่ประสูติมาแล้วตั้งใจประกาศจุดมุ่งหมาย จากนั้นมานะบุกบั่น บำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า) ซึ่งฝ่ายมหายานถวายพระนามว่า “Baby Buddha” และคนไทยแปลเป็น “พระพุทธเจ้าน้อย” นั่นเอง


    ชาวพุทธฝ่ายมหายานทั่วโลกรู้จัก”พระพุทธเจ้าน้อย”กันดีมานานแล้ว เพราะจะมีพิธี “สรงน้ำพระพุทธเจ้าน้อย” เป็นกิจกรรมหลักที่สำคัญกิจกรรมหนึ่งในวันวิสาขบูชาของทุกปี คนไทยเริ่มสนใจรู้จักพระพุทธเจ้าน้อย กันในระยะประมาณ ๑๐ปี มานี้เอง เนื่องจากคณะสงฆ์ไทยเริ่มจัดกิจกรรมร่วมกับชาวพุทธนิกายต่างๆทั่วโลกมากขึ้นรวมทั้งได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำชาวพุทธจากทั่วโลกในวันวิสาขบูชาที่ประเทศไทยเกือบทุกปี ทำให้ชาวพุทธทั่วโลกได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมเชิงพุทธของแต่ละนิกายในประเทศต่างๆกัน ซึ่งกันละกันมากขึ้น และฝ่ายมหายานได้นำ “พระพุทธเจ้าน้อย” เข้ามาเผยแพร่ให้ชาวไทยได้รู้จัก โดยเฉพาะพิธีสรงน้ำพระพุทธเจ้าน้อย เคยจัดในเมืองไทยหลายทั้งที่พุทธมณฑล เมืองทองธานี และที่ท้องสนามหลวง


    มีผู้รู้หลายท่านตั้งข้อสังเกตว่า ตอนที่พระพุทธเจ้าประสูติ นั้น ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเลย ทำไมมาขนานนามว่าพระพุทธเจ้าน้อย ซึ่งอาจจะทำให้หลายคนเกิดความเข้าใจผิด โดยเฉพาะเด็กๆ อาจเกิดความสับสนได้ ผู้เขียนเห็นว่า ถ้าเราทราบความเป็นไปเป็นมาของ พระพุทธเจ้าน้อย แล้วช่วยกันอธิบายชี้แจง ให้ผู้สงสัยมีความเข้าใจ ก็จะช่วยให้ไม่เกิดความสับสนได้ มีตัวอย่างชี้นำในเรื่องนี้อยู่ ๒ -๓ ประเด็น กล่าวคือ หลายท่านคงเคยเห็นพระพุทธรูปปางหนึ่งที่มีลักษณะผอมหนังหุ้มกระดูก เห็นซี่โครงปูดโปนออกมา เราเรียกกันว่า “ปางบำเพ็ญทุกขกรกิริยา” ซึ่งเป็นพุทธประวัติตอนหนึ่งในขณะที่บำเพ็ญเพียร ยังไม่บรรลุธรรมตรัสรู้ แต่ เราก็ยังนิยมเรียกว่า พระพุทธเจ้าปางบำเพ็ญทุกขกรกิริยา และอีกประเด็นหนึ่ง ในวันวิสาขบูชา เราเรียกกันว่า เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ซึ่งตอนประสูติ นั้น ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า เราก็ยังเรียกเป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า การเรียกนามดังกล่าวตามนัยนี้ เป็นการยกย่อง เรียกนามในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ หมายเอาว่าเป็นที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง การเรียกนามว่า “พระพุทธเจ้าน้อย” ก็หมายเอาว่า เป็นการเรียกสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในลักษณะของการยกย่อง เรียกกันแบบรู้ๆกันอยู่ จึงไม่น่าจะผิดธรรมเนียมแต่อย่างไร แต่ก็ต้องขอขอบคุณผู้รู้หลายท่านที่แสดงความคิดเห็นท้วงติง ตั้งข้อสังเกตกันมาทั้งในทางเวบไชต์และทางโทรศัพท์ นับเป็นเรื่องที่น่าปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสิ่งชี้วัดให้เห็นว่าชาวพุทธไทยมีความรักและห่วงใยในพระพุทธศาสนา และช่วยกันคอยเฝ้าระวังการเบียดเบียน บ่อนทำลายที่จะมีต่อพระพุทธศาสนา


    สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากไปกว่ากรณีพระพุทธเจ้าน้อยนี้ ก็คือ ในสภาวะปัจจุบันนี้ ชาวพุทธส่วนใหญ่นิยมสร้างพระพุทธรูปเพื่อนำไปเป็นเครื่องรางของขลัง เป็นของวิเศษ ทำมาค้าขายกันเป็นสินค้า ผิดไปจากวัตถุประสงค์ที่แท้จริงตามจุดมุ่งหมายเดิมไปอย่างมาก ดังนั้น ชาวพุทธเราควรหันมาให้ความเคารพนับถือ กราบไหว้บูชาพระพุทธรูป และให้ความสำคัญ ที่เป็นเครื่องหมายให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรมคำสอน เพื่อเป็นพุทธานุสติ เตือนให้ละจากการทำชั่ว หมั่นประพฤติแต่ความดี และฝึกฝนจิตใจให้สะอาดผ่องใสอยู่เป็นนิจ ชาวพุทธก็จะได้รับประโยชน์จากพระพุทธรูปอย่างแท้จริง และเป็นไปในทางที่ถูกต้อง อย่าลืมสวดมนต์ปฏิบัติสมาธิก่อนนอนเป็นประจำทุกวันนะครับ.
    [/SIZE]
     
  2. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    สำนักพุทธเป็นเสียเอง!?!ศาสนาพุทธยังไม่จบ!!
    เเต่สำนักพุทธจบ(เห่)!!??
     
  3. ผงธุลี

    ผงธุลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    476
    ค่าพลัง:
    +2,494
    เรียนดร.อำนาจ บัวศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)

    ลาออกไปเถอะครับ ถ้าตอบออกมาได้แค่นี้

    เหตุผลทีคุณบอก ไม่สมกับคำนำหน้าที่คุณใช้อยู่

    ประเทศไทยเป็นพุทธฝ่ายเถรวาท ไม่ใช่มหายาน อย่าเอามาอ้างอิงเพื่อเป็นเหตุผลใน

    การใช้ชื่อ....พระพุทธเจ้าน้อย


    จากใจชาวพุทธ(เถรวาท)คนหนึ่ง



    ผงธุลี
     
  4. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    เราเชื่อพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า "แม้จะจับชายจีวรของเราอยู่.............
    แต่ยังมองไม่เห็นธรรม ชื่อว่ายังไม่เห็นเรา ตถาคต"

    ท่านเป็นพระพุทธเจ้า เมื่ออายุ 35 ปี องค์น้อยยังไม่บรรลุ คิดได้ไง ???
     
  5. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    เป็นเพียงชื่อสมมุติบัญญัติที่ตั้งเพื่อให้คนเข้าใจเท่านั้น ทำไมถึงเดือดร้อนกันจัง
    ควรเอาเวลาไปศึกษาธรรมจะดีกว่าอคติควรโยนทิ้งไปเถอะ พวกสื่อเลือกข้่าง
    ก็นำเสนอแต่มุมมองที่อคติ ตอนนี้ทะเลาะทางการเมืองยังไม่พอ ยังลามปาม
    เอาเรื่องชื่อรูปปั้นมาบ่อนเซาะทำลายศรัทธาของคนอื่นให้เกิดความแตกแยกอีก
    คนที่มีอคติทางการเมืองก็หลงกลกรับเอาไปขยายต่อให้คนอื่นเกิดอกุศลเข้าไปอีก
    มันจะกลายเป็นวิบากกรรมติดตัวไปน๊ะครับ อย่าไปยึดติดให้มากจนเกินควร ปลงๆบ้าง....
     
  6. ผู้มาใหม่

    ผู้มาใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +618
    แปลก ตกลงนิกายทุกวันนี้จะหลอมรวมเป้นนิกายเดียวกันแล้วเหรอ หรือจะเป้นแบบ พราหมณ์ + หินยาน + เถรวาท ถ้าคิดอย่างนั้นก็รวมกันเลยซิครับ จะได้ปางใหม่ออกมา ต้นแบบรูปแบบวิธิปฏิบัติมันต่างกัน จะรวมกันไม่ได้ เหมือน อรัญวาสี กับ คามวาสี ครับ เห็นหลงกันเยอะ สมมุติว่ามีเด็กคนหนึ่ง มีคนพยากรณ์ว่าจะเป้นพระอรหันต์ แต่ยังไม่บรรลุ แล้วคุณจะกราบไหว้เด็กนั่นหรือไม่ เซ็งมันจะเริ่มมั่วกันไปใหญ่แล้ว ส่วนวันวิสาขบูชานั้น คือการประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ซึ่ง สองข้อหลังพุทธองค์สำเร็จและประกาศให้โลกรู็แล้วว่าพระองค์ทำได้ หรือมีใครจะบอกว่า วันวิสาขบูชา เป้นวันประสูติพระพุทธเจ้าน้อย แค่วันปะสูติเฉยๆ ยังไม่มีเหตุการอื่นร่วมเข้ามาด้วย งั้นใครก้บูชาเฉพาะวันประสูติเถอะ ผมจะบูชาทั้งประสติ ตรัสรู้ และปรินิพพานในคราวเดียวกัน
     
  7. ผงธุลี

    ผงธุลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    476
    ค่าพลัง:
    +2,494


    ยังมาบอกว่ามีพวกอคติทางการเมืองอีกมาหลงกลอีก

    เฮ้อ เป็นพุทธยังแยกแยะไม่เป็น ว่าพุทธหินยาน หรือพุทธมหายาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2013
  8. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971

    ผมเห็นว่าประเด็นมันไร้สาระมากๆ ผมแนะนำให้ดื่มวีต้าแล้วไปนอน
    เถอะครับ ^^
     
  9. ผงธุลี

    ผงธุลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    476
    ค่าพลัง:
    +2,494

    :cool::cool::cool:ความคิดดี แต่ให้คุณไปกินบำรุงสมองก่อนเหอะ
     
  10. วิสัจชนา

    วิสัจชนา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +20
    ศาสนาพุทธ แตกแยกเป็นหลายนิกาย ตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ถ้าเรายังไม่สามารถรู้สาเหตุที่แท้จริงของการแตกแยกนั้น อย่าเพิ่งตัดสินใจเชื่อสิ่งใดดีกว่าไหมค่ะ??? อาจเป็นทางเลือกที่ฉลาด???
     

แชร์หน้านี้

Loading...