จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    จิตคนเราก็ยังไม่เที่ยง
    นับประสาอะไรกับขันธ์ ๕

    ขันธ์๕ ก็คือ รูป๑ นาม๔ ตามดูกันต่อไป
    เพราะท้ายที่สุด อย่าลืมนะ ตายเมื่อไหร่ ก็เหลือแต่จิตดวงเดียวเท่านั้น
    ครั้งแรกเรามาคนเดียว แต่เวลาจะไปก็ไปคนเดียวอีก
    แต่จะมีแต่กรรมเท่านั้นที่จะติดตามดวงจิตหรือวิญญาณของเราไป
    บุญ-บาป หรือ กุศล-อกุศล เท่านั้น ที่จะติดตามดวงจิตของตนไปด้วย
    ที่กล่าวมานี้ ผู้เจริญทราบเป็นอย่างดีแล้ว ไม่ต้องพูดเตือนกันบ่อยแล้ว

    ที่บอกว่าจิตไม่เที่ยงนั้นก็คือ ตัวเจตสิก หรือ อารมร์ที่เกิดขึ้นจากจิตตนเอง นั่นเอง
    แต่ผู้ฝึกจิตมาดี ย่อมมองเห็นเจตสิกก็แค่ เกิดและดับ เท่านั้นเอง เมื่อจิตรู้ความจริงด้วยปัญยาอย่างนี้แล้ว
    จิตเขาก็ย่อมปล่อยวางได้สนิทใจ เราก็เบากาย เบาใจได้ เมื่อนั้น
    ส่วนปัญญาต้องใช้กับสิ่งที่มากระทบจิต อยู่ทุกขณะจิตนเหมือนกัน

    จริงๆแล้ว ผู้ปฎิบัติ โดยเฉพาะจิตบุญ แทบไม่ต้องไปทำอะไรมากหรือให้ยุ่งยากนัก
    แค่เจริญสติให้เป็นสติสัมปชัญญะ หรือ มหาสติ ก็คือ สติเกิดขึ้นเกือบจะอัตโนมัติ
    ผมมิได้กล่าวเว่อร์ เพราะผมเจริญวันหนึ่งไม่รู้สักกี่ครั้ง ทำแค่ทำได้ ทำความรู้สึกตัวให้มากๆ
    เดี๋ยวถ้าเราเผลอตอนไหน เวลาไหน จิตที่นิ่ง จิตที่เกิดปัญญาญาณนั้น มันจะดึงสติเอง
    เปรียบเสมือนตอนที่เราขับขี่รถยนต์เป็นใหม่ แต่ถ้าเราขับรถไปทำงานทุกวันๆ เดี๋ยวก็เก่งไปโดยปริยาย
    เห็นไหมครับ ขอให้เราขยันเท่านั้น แค่สติเรื่องเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับผู้ที่จะเอาดีทางนี้
    โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการไปพระนิพพาน จะต้องขยันไปหลายร้อยพันหมื่นหรือล้านเท่าตัว
    ขอให้ดูตัวอย่างพระอริยเจ้า ที่ท่านรักและเคารพ เลื่อมใสและศรัทธากันสิครับ
    พระอริยเจ้าทุกองค์ว่าท่านประพฤติ ปฎิบัติให้กับพวกเราดูเป็นตัวย่างไปแล้ว อย่างไรบ้าง
    ขอให้ดูเฉพาะผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัตชอบ หรือทำสำเร็จหรือบรรลุธรรม
    โดยพระอรหันตมรรค อรหันตผล

    ชัดเจนนะครับ!
     
  2. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ผู้ปฎิบัติธรรมต้องมีวินัยตนเอง
    อย่าไปดูจริยาของผู้ปฎิบัติธรรมท่านอื่นๆ
    ยิ่งถ้าผู้ปฎิบัติมัวไปหลงดูจริยา โดยเฉพาะไปดูความเลวของผู้อื่นด้วยแล้ว
    เดี๋ยวความเลวอันนั้นจะหวนกลับมาหาตนเอง
    ผู้ปฎิบัติธรรม จักต้องฉลาดจับ ฉลาดปล่อยวาง
    เช่น สติเกาะจิต เมื่อเกาะติดแล้ว จิตก็ไปติดสุขจากฌานอีก
    รู้ว่าติดอะไร ก็ต้องปล่อยด้วยสติปัญญา
    แต่ถ้าไม่มีสติปัญญามากพอ ก็ไปไม่รอด เราก็จะติดไปอีกนานแสนนานอยู่แบบนั้น
    จนกว่าเราจะมีสติปัญญามาก ถึงจะออกจากตรงนั้นได้
     
  3. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=xdNQ_njjmIA]อยากพับแผ่นฟ้า ไม้เมือง - YouTube[/ame]

    วันหยุดนี้ DJ.Poo นำเสนอเพลงให้จิตวิ่งตามกันเล่นๆ
    ขอให้สุขกาย สบายใจกันทั่วหน้านะครับ

     
  4. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=zWNYfFGbLGY]อีกครึ่งของฝัน ไม้เมือง - YouTube[/ame]
    เห็นเป็นวันหยุด ก็เลยจัดเพลงให้ฟังซะเลย
    ฟังด้วย พิจารณาธรรมตามไปด้วยนะ อย่าไหลๆ
     
  5. Pugsley

    Pugsley เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +4,825
    [​IMG]
     
  6. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,087
    ค่าพลัง:
    +10,246
    น้ำตาของมนุษย์มากกว่าน้ำในมหาสมุทร

    พระศาสดาเสด็จถึงที่อยู่ของสามเณรนั้นแล้ว เสด็จขึ้นสู่ยอดภูเขา. ก็มหาสมุทรย่อมปรากฏแก่ผู้ที่ยืนอยู่บนยอดภูเขานั้น. พระศาสดาตรัสถามสามเณรว่า "ติสสะ เธอยืนอยู่บนยอดเขา แลดูข้างโน้นและข้างนี้ เห็นอะไร?"
    สามเณร. เห็นมหาสมุทร พระเจ้าข้า.
    พระศาสดา. เห็นมหาสมุทรแล้วคิดอย่างไร?
    สามเณร. ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราร้องไห้ในคราวที่ถึงทุกข์ น้ำตาพึงมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่’ พระเจ้าข้า.
    พระศาสดา ตรัสว่า "ดีละ ดีละ ติสสะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เพราะน้ำตาอันไหลออก ในเวลาที่สัตว์ผู้หนึ่งๆ ถึงซึ่งทุกข์ พึงเป็นของมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ โดยแท้."
    ก็แล ครั้นตรัสคำนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

    น้ำในมหาสมุทรทั้งสีนิดหน่อย, น้ำคือน้ำตาของนระ
    ผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศกอยู่ มีประมาณไม่น้อย
    มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่นั้น, สหาย เพราะเหตุไร
    ท่านจึงยังประมาทอยู่?

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=15&p=15
     
  7. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    ::: สมบัติคู่มัจจุราช :::

    “... ใหนึกถึงความตายบ่อยๆ มันจะได้ไม่ประมาท ไม่หลงระเริงไปติดอยู่ในวัตถุสิ่งของ วัตถุเหล่านี้เป็นของโลก เป็นสมบัติคู่กับกาม เป็นสมบัติคู่กับกิเลส เป็นสมบัติคู่กับพยายม เป็นสมบัติคู่กับมัจจุราชคือผู้ฆ่า เหมือนเขาเอาของมาให้เรา เราชมเชยเสร็จแล้วเขาก็กระชากเอาไปจากมือของเรา เราก็เสียใจร้องไห้ ลองนึกดูถ้าเราไม่มีเราจะเสียใจสิ่งเหล่านี้มั้ย พอมีขึ้นมามันจะเป็นทุกข์เป็นเดือดเป็นร้อนเพราะเรามีขึ้นมา การมีสิ่งนั้นคือมีทุกข์นั้นเอง ให้จำเอาไว้ว่ามีสิ่งใดมีทุกข์กับสิ่งนั้น ถ้าไม่มีสิ่งใดไม่มีทุกข์เลย เพราะความมีนั่นเองจึงเป็นทุกข์ สิ้นความมีแล้วจึงว่าทุกข์นั้นไม่มี ให้มันรู้จักความพอดี คือพอประมาณของตนๆ เราอยู่ก็แค่เพื่อตาย กินก็เพื่อตาย เดินก็เพื่อตาย นั่งก็เพื่อตาย นอนก็เพื่อตาย สะสมอะไรก็เพื่อตาย สะสมอะไรมาเท่าไหร่ๆ มันก็ใช้ไปไม่หมด ตายไปเสียก่อน ... ฉะนั้นอย่าไปยึดอย่าไปติดมากนักสมบัติพัสถาน เพราะยิ่งติดมันยิ่งทุกข์ เอาให้มันพอดีๆ อย่าให้เกินความงาม ให้มันพอดี...”

    ตอนหนึ่งของพระธรรมเทศนา เรื่อง โลกธรรม๘ รู้ทันด้วยการมีสติสัมปชัญญะ
    โดย หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน
     
  8. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ลูกถีบหลวงพ่อชา : อย่าฝากหัวใจไว้กับคนอื่น

    อาตมาอาจจะเป็นพระองค์เดียวในวงลูกศิษย์หลวงพ่อชา “ที่โดนท่านถีบ” แต่ว่าซาบซึ้งที่ท่านถีบอาตมา และเพราะความซาบซึ้งนั้นจะมาเล่าให้ญาติโยมฟัง

    คือตอนนั้นอาตมาบวชใหม่ๆ พรรษาแรกอยู่ที่วัดหนองป่าพง ปีนั้นพระเณร ๗๐ กว่ารูป พระเยอะ ญาติโยมเข้าวัดกันมาก วันนั้นได้ไปบิณฑบาต ตอนกลับจากบิณฑบาตมีพระองค์หนึ่งมาคุยด้วย และพระองค์นั้นก็เพิ่งบวชใหม่เหมือนกัน ทั้งสององค์ต่างยังมีนิสัยแบบฆารวาส และพระองค์นั้นก็ได้ไปตำหนิติเตียนพระที่อยู่ในวัดที่ไม่ถูกใจ

    อาตมาฟังแล้วคิดในใจว่า บวชเป็นพระทำไมมาจับผิดกัน ทำไมท่านตำหนิพระองค์นั้นองค์นี้ ก็เลยเดินหนีไม่อยากคุยด้วย แต่ไม่ได้เดินหนีอย่างเดียว เดินหนีตำหนิท่านในใจ ยังคิดเรื่องท่าน

    พอดีเดินเข้ามาในวัด เดินก้มหน้าคิดถึงเรื่องพระองค์นี้องค์นั้นอยู่ ได้ยินเสียงหลวงพ่อชาพูดขึ้นมาว่า “กูดมอนิ่ง”

    ก็มองขึ้นไป เห็นหลวงพ่อชาก็อยู่ใกล้ๆ ท่านยิ้มใส่เรา พูดภาษาอังกฤษ “กูดมอนิ่ง” แปลว่า สวัสดีตอนเช้า

    เราก็ดีใจ ไม่เคยได้ยินหลวงพ่อพูดเป็นภาษาอังกฤษ ก็เลยยกมือไหว้ท่านและตอบท่านว่า “กูดมอนิ่ง หลวงพ่อ”

    หลวงพ่อชาท่านพูดภาษาอังกฤษได้ ๒ คำ “กูดมอนิ่ง” สวัสดีตอนเช้า กับ “ดู ยู ว้อน อะคัพ ออฟ ที” แปลว่า คุณต้องการน้ำชาไหม เพราะหลวงพ่อท่านเคยไปประเทศอังกฤษ ชาวอังกฤษเขากินน้ำชากันทั้งวันทั้งคืน และเขาจะถามตลอดเวลา “ดู ยู ว้อน อะคัพ ออฟ ที”

    หลวงพ่อเลยท่องไว้จำไว้ เพราะท่านว่ามันจำง่ายดี เพราะว่าเหมือนพระสวดให้พร ยถาวริวะหา อุปปะกัปปาติ แต่ท่านไม่ได้ถามอาตมา “ดู ยู ว้อน อะคัพ ออฟ ที”

    เรายกมือไหว้ท่านรู้สึกดีใจ อารมณ์เปลี่ยน ฉันเสร็จก็กลับกุฏิ เดินจงกรมนั่งสมาธิถึงหกโมงเย็น ก็คิดว่าเดี๋ยวจะไปกุฏิหลวงพ่อชา

    ถ้าใครเคยไปวัดหนองป่าพง จะเห็นกุฏิเก่าของท่านข้างๆ โบสถ์ ซึ่งหลวงพ่อมักจะนั่งบนเก้าอี้หวาย อาตมาเข้าไปก็กราบท่าน ขอนวดเท้าเพราะเราเคยฝึกนวดเท้า บางครั้งท่านจะให้เราไปนวด

    วันนั้นพระเณรเยอะ ประมาณทุ่มหนึ่งเขาตีระฆัง ท่านก็ไล่พระเณรขึ้นโบสถ์หมด พระเณรประมาณ ๗๐ รูป

    ท่านบอกว่า ท่านญาณอยู่นี่ ก็นั่งสองต่อสองกับท่าน ก็จับเท้าท่านไว้ ท่านก็ไม่ได้พูดท่านนั่งหลับตาภาวนา เราก็นวดเท้าท่าน อากาศเย็นสบายช่วงฤดูหนาว

    พระ ๗๐ รูปเริ่มสวดมนต์ทำวัตรเย็น เราฟังพระสวดมนต์ ๗๐ รูป เหมือนเทวดา เหมือนเทพกำลังจะโปรดเรา เราก็นั่งคิด เรากำลังนั่งกับพระอรหันต์ กำลังสร้างบุญกุศล ถวายการนวดแก่พระอรหันต์อยู่ เทวดากำลังสวดอนุโมทนาด้วย จิตใจขึ้นสวรรค์เลย พอดีจิตใจขึ้นสวรรค์

    หลวงพ่อใช้เท้าถีบหน้าอกอาตมาจนหงายหลัง หัวกระแทกพื้น เราก็ช็อกอยู่ งงเลย...!!!

    หลวงพ่อชี้หน้า นั่นตอนเช้าพระองค์หนึ่งพูดไม่ถูกใจเรา เราก็เสียใจ อีกองค์หนึ่งพูดแค่ “กูดมอนิ่ง” ดีใจทั้งวัน อย่าไปดีใจ เสียใจกับคำพูดคนอื่น อย่าไปฝากหัวใจไว้กับคนอื่น ต้องฝากหัวใจไว้กับพระธรรม

    ทีนี้ท่านก็เทศน์กัณฑ์ใหญ่ เราก็ยกมือไหว้ท่าน น้ำตาไหล เพราะอะไร ซาบซึ้งในเมตตากรุณาของท่าน ท่านก็คงเห็นเราตอนเช้า ว่าพระองค์นี้ตกนรก จิตเป็นทุกข์ เพราะคำพูดคนอื่น

    ท่านก็เลยพูดแค่ “กูดมอนิ่ง” ให้ดึงเราขึ้นจากนรก และตอนเย็นท่านก็ปล่อยให้เรานวดเท้าท่านให้ขึ้นสวรรค์ ขึ้นสวรรค์แล้ว ต้องถีบลงมาถึงแผ่นดิน เพราะเทวดาสอนธรรมไม่ได้ ต้องมนุษย์ เพื่อให้จดจำไว้

    “อย่าฝากหัวใจไว้กับคำพูดของผู้อื่น เพราะเราจะผิดหวัง ต้องฝากหัวใจไว้กับพระธรรม ก็เลยได้จดจำคำพูดหลวงพ่อ...”

    พระอาจารย์ญาณธัมโม
    วัดป่ารัตนวัน อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา
     
  9. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    จริงๆแล้ว ตัวสติไม่ใช่ตัวปัญญา
    แต่ตัวสติเป็นเพียงตัวรู้เฉยๆเท่านั้น
    แต่ไม่สามารถแยกแยะความดี ความชั่ว ได้เด็ดขาดหรือว่าเด่นชัดเท่าตัวปัญญา
    แต่ตัวปัญญาเกิดจากสติเกิดบ่อยหรือมาก จนทำให้จิตนิ่งหรือเป็นสมาธิ นั่นเอง

    สรุปแล้ว
    ตัวปัญญาก็ต้องอาศัยตัวสติ หรือทำความรู้สึกตัวให้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ
    และจิตก็จะนิ่งตามสติ
    เมื่อจิตเรานิ่งหรือเป็นสมาธิ จิตเราก็เกิดปัญญา
    หรือเมื่อสติเกิดขึ้นบ่อยๆ กลายเป็นสัมปชัญญะ ก็คือ ปัญญา
    และตัวปัญญานี้เอง ที่นักภาวนานำไปใช้งานหรือพิจารณาธรรมต่างๆ ตามความเป็นจริง นั่นเอง

    เพราะฉะนั้น
    สมถกรรมฐานจึงเป็นบาทฐานของวิปัสสนากรรมฐาน
    หรือการพิจารณาธรรมใดๆก็ตาม จะต้องอาศัยจิตนิ่งหรือทรงสมาธิหรือฌาน นี่เอง

    "คิดเท่าไรๆ ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั้นแหละจึงรู้"
    คำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
     
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ผู้ปฎิบัติธรรม ต้องเน้นที่การรักษาศีลก่อน
    ไม่ใช่ มือถือสาก(หรือiPhone) ปากถือศีล

    แต่ถ้ามั่นใจในศีลตนแล้ว ค่อยทำภาวนากันต่อไป
    ส่วนเรื่องการภาวนา จะต้องศึกษาให้ท่องแท้ ให้เข้าใจและต้องปฎิบัติถูกต้องด้วย
    ถ้าเกิดนิมิตในขณะภาวนา เราจะวางกำลังใจหรือใช้สติปัญญา อย่างไร
     
  11. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    อยู่กับกายใจ หมายถึงอะไร?
    ผู้ปฎิบัติต้องมีวินัย ก็คือ อยู่กับกายใจของตนเองเท่านั้น

    ครูบาอาจารย์ชอบแนะกับผู้ปฎิบัติธรรมทุกท่านว่า..
    (พยายาม)ให้อยู่กับกายใจของตนเอง
    ทำยังไง หมายความว่าอย่างไร

    สำหรับผู้ที่ใฝ่ดีในทางธรรม ต้องมีวินัย ต้องมีสัจจะบารมี หรือเป็นคนจริง
    คือต้องเป็นคนเอาจริง เอาจัง ในภาคปฎิบัติของตน

    ปัญหาของผู้ปฎิบัติธรรมส่วนใหญ่ มักจะประมาท หรือเลินเล่อ โดยเฉพาะชอบทิ้งสติ
    เพราะผู้ที่จะเอาดีในทางธรรม จะต้องขยันเจริญสติภาวนาให้เป็นนิจ ก็คือ
    พยายามทำความรู้สึกตัวเราให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    ขอให้ผู้ปฎิบัติลองถามตนเองว่า..เราเจริญสติตนเอง มากน้อยเพียงใด

    ถ้าผู้ปฎิบัติไม่คอยหมั่นเจริญสติภาวนา ตามมรรรคมีองค์ ๘ (๗.สัมมาสติ)
    สติเราก็ไม่พัฒนาไปเป็นสติสัมปชัญญะ จิตเราก็ขาดสมาธิไปโดยปริยาย
    เพราะฉะนั้น เท่ากับเราขาดการปฎิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ (๘.สัมมาสมาธิ) ตามไปด้วย

    ถ้าผู้ปฎิบัติท่านใด เจริญมรรคไม่ครบ เท่ากับไม่ได้ตัวปัญญา นั่นเอง

    กลับมาพูดเรื่อง อยู่กับกายใจตนเอง
    ก็หมายความว่า แต่ถ้าหากเรามีสติสัมปชัญญะ(ความรู้สึกตัว+ทั่วพร้อม)
    จิตเราก็มีสมาธิ เท่ากับมีปัญญาตามไปด้วย คิดอะไรก็ออก ทำอะไรก็ง่ายไปหมด
    เพราะเราเจริญมรรคมีองค์ ๘ ครบถ้วนทุกประการฯ

    เพราะฉะนั้นผู้ใดเจริญมรรคครบทุกข้อแล้ว เราก็อยู่เย็นเป็นสุขใจเมื่อนั้น
    ตามพระพุทธองค์ตรัสไว้กับภิกษุสงฆ์และผู้เจริญทุกท่าน ถูกต้องแล้ว ชอบแล้ว ทุกประการ

    เมื่อผู้ปฎิบัติเจริญมรรคครบทุกข้อ จึงเท่ากับเรามีทั้งศีลหรือสติ สมาธิและปัญญาครบตามไปด้วย
    เพราะฉะนั้น
    เราก็จะรู้หรือเห็นความเคลื่อนไหวทุกอริยาบถ(กาย) และทุกความคิด(ใจ)เรา
    เมื่อผู้ใดสามารถมองเห็นตามที่กล่าวไป เท่ากับเรารู้เท่าทันการเกิด-ดับกิเลสต่างๆ(สิ่งกระทบ)
    และความคิดหรืออารมณ์ของจิต(เจตสิก)ของตน ได้เมื่อนั้น
    จิตที่นิ่งหรือจิตที่เป็นสมาธิเท่านั้น จึงจะมีปัญญา
    และตัวปัญญานี้เท่านั้น จึงจะทำให้เราคิดออก หาทางออกให้กับเราได้เป็นอย่างดี

    ตราบใด ผู้ปฎิบัติยังไม่เจริญสติให้เป็นสติสัมปชัญญะ หรือมหาสติแล้ว
    ก็ยากจะตามกิเลสตน กิเลสผู้อื่น หรือความรู้สึกนึกคิดของตนเอง
    เพราะกิเลสและตัวเจตสิกนั้น มันเกิดอย่างรวดเร็วมาก
    แค่สติของคนธรรมดาทั่วๆไปนั้น ยังไง๊ๆ ก็ตามไม่ทันแน่
    พระพุทธองค์ท่านได้กระทำเป็นตัวอย่างให้พวกเราดูกันไปหมดแล้ว
    เราแทบไม่ต้องทำอะไรมาก หรือไปลองผิดลองถูกอะไรเล๊ย
    แค่เราเดินตาม ปฎิบัติพระพุทธองค์เท่านั้นเอง

    จึงขอโอกาสหยุดแสดงธรรม มาเพียงเท่านี้ฯ
    ขอได้โปรดพิจารณาธรรม ด้วยสติปัญญาของตนเองกันด้วยเทอญ
     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    แท้ที่จริง การปฎิบัติธรรม
    ก็คือ การบริหาร การจัดระเบียบกายใจ

    อาจจะกล่าวอีกนัยยะนึง ก็คือ การฝึกจิต
    แก่นของธรรม ก็คือ จิต
    เพราะฉะนั้น แก่นธรรม มิได้อยู่ที่ไหนเลย ก็อยู่ที่จิตของผู้ปฎิบัติธรรมท่านๆนั้น
    ปัญญาก็เหมือนกัน ก็อยู่ที่เรามีสติมากกันไหม๊ มีสมาธิ?
    แต่ถ้าตอบว่ามีสติมาก จิตเราก็มีสมาธิและก็ต้องมีปัญญาตามมาด้วย

    ตอนนี้ผู้ปฎิบัติทราบกันหมดแล้ว คำว่า สติ สมาธิและปัญญามาจากที่ใด
    และขอให้ผู้ปฎิบัติเจริญมรรคมีองค์ ๘ ให้ครบกันทุกข้อ อย่าได้ขาดสักข้อเดียว
    เพราะพระพุทธองค์ทรงกล่าวว่าอย่างไร

    ขออนุญาตยกพระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน

    ..."เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมีองค์ ๘ นี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามไม่ได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สูญสิ้นไป ความเพียรพยายาม เธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนั้น พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร"

    ..."ดูก่อนสุภัททะ ! อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นทางประเสริฐสามารถให้บุคคลผู้เดินไปตามทางนี้ถึงซึ่งความสุขสงบเย็นเต็มที่ เป็นทางเดินไปสู่อมตะ ดูก่อนสุภัททะ ถ้าภิกษุหรือใครๆ ก็ตามพึงอยู่โดยชอบ ปฏิบัติดำเนินตามมรรคาอันประเสริฐประกอบด้วยองค์ ๘ นี้อยู่ โลกนี้จะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์"


    ที่มา
    ::
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 มีนาคม 2013
  13. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ""ขอท่านผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย จงอย่าปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟาง(หมายถึงไหม้วูบเดียวแล้วก็ดับ กล่าวคือ ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็หยุด อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ต้องทำ ปฏิบัติธรรม ให้สม่ำเสมอให้ได้ทั้งในยามขยันและขี้เกียจ)" หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ. ลูกขอกราบหลวงปู่ดู่ด้วยเศียรเกล้าค่ะสาธุๆๆๆ
     
  14. newwave1959

    newwave1959 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +2,681
    [​IMG]








    ☼☼☼
    อย่าทำจิตให้วุ่นวาย ให้ลงอุเบกขาเข้าไว้เสมอ ​

    มีอะไรเกิดขึ้นก็เห็นเป็นธรรมดาทั้งหมด อย่าให้มีอาการจิตตก
    เพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ มากระทบอารมณ์ให้เห็นเป็นธรรมดา แล้วก็แก้ไขไป
    รู้อารมณ์เเล้วเพียรแก้ไข จัดว่าเป็นการปฏิบัติถูก
    อย่าคิดวางโดยไม่แก้ไข ถ้าไม่ใช้ปัญญาพิจารณา
    ไม่นานปัญหาเกิดขึ้นใหม่อีก จิตจักตกอยู่อย่างนี้อีก
    ต้องใช้ปัญญาพิจารณาแก้ไข ก็จักพ้นจากสภาวะจิตไปได้☼☼☼

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๑๔ หน้า ๖
    รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

    ☼พระราชพรหมยานมหาเถระ☼
    หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี



    ****************************************


    ขอเจริญในธรรม ด้วยจิตคารวะ

    นิวเวป จบ.๑๔
     
  15. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    มองสรรพสิ่งอย่างที่มันเป็น ไม่ใช่อย่างที่ ' เรา ' อยากให้เป็น เท่านี้ ' ใจเรา ' ก็เยือกเย็นได้แล้ว. ขอ ท่านทั้งหลายเจริญทางธรรมยิ่งๆๆขึ้นไปด้วยเทอญ.
     
  16. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    ภัยร้ายทางธรรมชาติ คงห้ามได้ยาก หรืออย่างมากแค่เตือนให้พร้อมต่อการหลบหลีกเท่านั้นตามข่าวสารบ้านเมือง แต่ที่น่ากลัวมากกว่าภัยธรรมชาตินั้นคือ"ไฟแห่งความเกลียดชัง" ที่รังแต่จะลุกลามโชติช่วงระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ช่างเป็น"มหันตภัยที่น่ากลัวและรุนแรงยิ่งขึ้น" ทว่าความโกรธหรือชิงชัง คงพอหยุดยั้งหรือ"ขจัด"ให้ลดหมดสิ้นได้ ด้วยการข่มใจ และตั้ง " สติไว้ให้มั่น " คอยกันไม่ให้ อัตตา ทิฏฐิมานะ ซึ่งเป็นตัวการใหญ่ คอยดักให้หลงในความลวง จนมีผู้คนตกหล่มความบาดหมางมานับไม่ถ้วน ถ้าใจไม่ถูกนำพาอย่างหลงผิด " เมตตาจิต "ย่อมจะกลับมาทำหน้าที่หยิบยื่น" ความปราถนาดีต่อกัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน มีเมตตาไมตรีที่ดีต่อกัน "อย่างปกติต่อไปและตลอดไป . ขอทุกท่าน สุขกาย สบายใจ เจริญทางธรรมตลอดไปด้วยค่ะ
     
  17. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,087
    ค่าพลัง:
    +10,246
    8. กุมภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา
    นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
    โยเชถ มารํ ปญฺญาวุเธน
    ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา ฯ41ฯ


    เมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกดับง่ายเหมือนหม้อน้ำ
    พึงป้องกันจิตให้มั่นเหมือนป้องกันเมืองหลวง
    แล้วพึงรบกับพญามารด้วยอาวุธคือปัญญา
    เมื่อรบชนะแล้วพึงรักษาชัยชนะนั้นไว้
    ระวังอย่าตกอยุ่ในอำนาจมารอีก

    Realizing that body is fragile as a pot,
    Establishing one's mind as firm as a fortified city,
    Let one attack let one guard one's conqust
    And afford no rest to Mara.

    http://www.dhammathai.org/dhammapada/dp03.php
     
  18. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เรา..เป็นบุคคลประเภทใด?
    ตามในพุทธวจนะ

    คนตกน้ำ ๗ จำพวก(ระดับต่างๆ แห่งบุคคลผู้ถอนตัวขึ้นจากทุกข์)
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลเปรียบด้วยบุคคลตกน้ำเจ็ดจำพวก
    เหล่านี้ มีอยู่หาได้อยู่ ในโลก.
    เจ็ดจำพวกเหล่าไหนเล่า ?
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ :

    (๑) บุคคลบางคน จมน้ำคราวเดียวแล้วก็จมเลย;
    (๒) บุคคลบางคน ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย;
    (๓) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ลอยตัวอยู่;
    (๔) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว เหลียวดูรอบ ๆ อยู่;
    (๕) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง;
    (๖) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้ามาถึงที่ ตื้นแล้ว;
    (๗) บุคคลบางคน ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้วเป็นพราหมณ์ยืนอยู่.


    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! (๑) บุคคล จมน้ำคราวเดียวแล้วก็
    จมเลย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ประกอบด้วย
    อกุศลธรรมฝ่ายเดียว โดยส่วนเดียว.
    อย่างนี้แล เรียกว่า จมคราวเดียว แล้วจมเลย.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! (๒) บุคคล ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึง
    จมเลย เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี - มีโอตตัปปะดี -
    มีวิริยะดี - มีปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย. แต่ว่าสัทธา
    เป็นต้นของเขา ไม่ตั้งอยู่นาน ไม่เจริญ เสื่อมสิ้นไป.
    อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! (๓) บุคคล ผุดขึ้นแล้วลอยตัวอยู่
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี - มีโอตตัปปะดี -
    มีวิริยะดี - มีปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย และ สัทธา
    เป็นต้นของเขาไม่เสื่อม ไม่เจริญ แต่ทรงตัวอยู่.
    อย่างนี้แลเรียกว่า ผุดขึ้นแล้วลอยตัวอยู่.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! (๔) บุคคล ผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบ ๆ อยู่
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี - มีโอตตัปปะดี -
    มีวิริยะดี - มีปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้น
    เพราะสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม
    เป็น โสดาบัน มีความไม่
    ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการ
    ตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า.

    อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบ ๆ อยู่.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! (๕) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง
    เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี - มีโอตตัปปะดี -
    มีวิริยะดี - มีปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้น
    เพราะสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความเบาบาง
    แห่งราคะ โทสะ โมหะ
    เป็นสกิทาคามี มาสู่โลกนี้อีก
    เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

    อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว ว่ายเข้าหาฝั่ง.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! (๖) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว เดินเข้ามา
    ถึงที่ตื้นแล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหีริดี - มีโอตตัปปะดี -
    มีวิริยะดี - มีปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้น
    เพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้า
    เป็น โอปปาติกะ
    (อนาคามี)
    มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจาก
    โลกนั้นเป็นธรรมดา.

    อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วเดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! (๗) บุคคล ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้าม
    ขึ้นบกแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนอยู่ เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ
    มีสัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี - มีโอตตัปปะดี -
    มีวิริยะดี - มีปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย. บุคคลนั้น ได้
    กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

    (พระอรหันต์) เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วย
    ปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วอยู่.
    อย่างนี้แล
    เรียกว่า ผุดขึ้นแล้ว ถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้ว เป็นพราหมณ์ยืนอยู่.

    ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เหล่านี้แล บุคคลเปรียบด้วยบุคคล
    ตกน้ำเจ็ดจำพวก ซึ่งมีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก.

    สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐/๑๕.


    อุทกูปมสูตร
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 มีนาคม 2013
  19. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,087
    ค่าพลัง:
    +10,246
    กุมฺภูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา
    นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา๑-
    โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
    ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสิโน๒- สิยา.

    [บัณฑิต] รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ, กั้นจิต
    อันเปรียบด้วยนคร, พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา
    พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่.

    ____________________________
    ๑- ฐเปตฺวา.
    ๒- อรรถกถา ว่า อนิเวสโน.

    แก้อรรถ
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นครูปมํ ความว่า รู้จักกายนี้ คือที่นับว่าประชุมแห่งอาการมีผมเป็นอาทิ ซึ่งชื่อว่าเปรียบด้วยหม้อ คือเช่นกับภาชนะดิน เพราะอรรถว่าไม่มีกำลังและทรามกำลัง เพราะอรรถว่าเป็นไปชั่วกาล ด้วยความเป็นกายไม่ยั่งยืน.
    บาทพระคาถาว่า นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา เป็นต้น ความว่า
    ธรรมดานครมีคูลึก แวดล้อมด้วยกำแพง ประกอบด้วยประตูและป้อม ย่อมชื่อว่ามั่นคงภายนอก, ถึงพร้อมด้วยถนน ๔ แพร่ง มีร้านตลาดในระหว่าง ชื่อว่าจัดแจงดีภายใน, พวกโจรภายนอกมาสู่นครนั้น ด้วยคิดว่า "เราจักปล้น ก็ไม่อาจเข้าไปได้ ย่อมเป็นดังว่ากระทบภูเขา กระท้อนกลับไป ฉันใด,
    กุลบุตรผู้บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน กั้นวิปัสสนาจิตของตน ทำให้มั่นคง คือให้เป็นเช่นกับนคร ห้ามกิเลสที่มรรคนั้นๆ พึงฆ่าด้วยอาวุธ คือปัญญาอันสำเร็จแล้วด้วยวิปัสสนา และสำเร็จแล้วด้วยอริยมรรค ชื่อว่าพึงรบ คือพึงประหารกิเลสมารนั้น ดุจนักรบยืนอยู่ในนคร รบหมู่โจรด้วยอาวุธมีประการต่างๆ มีอาวุธมีคมข้างเดียวเป็นต้น ฉะนั้น"
    สองบทว่า ชิตญฺจ รกฺเข ความว่า กุลบุตร เมื่อต้องเสพอาวาสเป็นที่สบาย ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย และการฟังธรรมเป็นเหตุสบายเป็นต้น เข้าสมาบัติในระหว่างๆ ออกจากสมาบัตินั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตหมดจด ชื่อว่าพึงรักษาธรรมที่ชนะแล้ว คือวิปัสสนาอย่างอ่อนที่ตนให้เกิดขึ้นแล้ว.
    สองบทว่า อนิเวสโน สิยา ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่มีอาลัย.
    อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า นักรบทำซุ้มเป็นที่พักพลในภูมิประเทศเป็นที่ประชิดแห่งสงคราม๑- รบอยู่กับพวกอมิตร เป็นผู้หิวหรือกระหายแล้ว เมื่อเกราะหย่อน หรือเมื่ออาวุธพลัดตก ก็เข้าไปยังซุ้มเป็นที่พักพล พักผ่อน กิน ดื่ม ผูกสอด (เกราะ) จับอาวุธแล้ว ออกรบอีก ย่ำยีเสนาของฝ่ายอื่น ชนะปรปักษ์ที่ยังมิได้ชนะ รักษาชัยชนะที่ชนะแล้ว. ก็ถ้าว่านักรบนั้น เมื่อพักผ่อนอย่างนั้นในซุ้มเป็นที่พักพล ยินดีซุ้มเป็นที่พักพลนั้น พึงพักอยู่ ก็พึงทำรัชสมบัติให้เป็นไปในเงื้อมมือของปรปักษ์ฉันใด,
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน หมั่นเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัตินั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตอันหมดจด ย่อมสามารถรักษาวิปัสสนาอย่างอ่อน ที่ได้เฉพาะแล้ว ย่อมชนะกิเลสมาร ด้วยความได้เฉพาะซึ่งมรรคอันยิ่ง, ก็ถ้าว่า ภิกษุนั้นย่อมพอใจสมาบัติอย่างเดียว ไม่หมั่นพิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยจิตอันหมดจด ย่อมไม่สามารถทำการแทงตลอดมรรคและผลได้, เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรักษาธรรมที่ควรรักษา พึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่ คือพึงทำสมาบัติให้เป็นที่เข้าพักแล้วไม่ติดอยู่ ได้แก่ไม่พึงทำอาลัยในสมาบัตินั้น.
    พระศาสดาตรัสว่า "เธอทั้งหลายจงทำอย่างนั้น" พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้.
    ____________________________
    ๑- สงฺคามสีเส ในสีสประเทศแห่งสงคราม คือในสมรภูมิหรือสนามรบ

    ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๕๐๐ รูปนั่งในที่นั่งเทียว บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย สรรเสริญชมเชยทั้งถวายบังคมพระสรีระอันมีวรรณะเพียงดังทองของพระตถาคต มาแล้ว ดังนี้แล.

    เรื่องภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา จบ.

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=13&p=6
     
  20. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ภัยพิบัตินอกกายใจ
    ยังไม่น่ากลัวเท่ากับภัยพิบัติภายในกายใจตนเอง

    เพราะเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ คือนานๆจะเกิดสักครั้งนึง
    แต่ภัยพิบัติภายในกายใจของตนนี่สิ!
    เกิดอยู่ได้ ทุกนาที ทุกชั่วโมง ทุกวัน ทั้งเดือนและทั้งปี เผลอๆชาติที่เราเกิด
    หรือทุกลมหายใจ ทุกความรู้สึกนึกคิด ทุกอิริยาบถ เป็นต้น

    มีทั้งจิตตก ตกใจ จิตหลอน จิตกังวล จิตฟุ้งซ่าน จิตปรุงแต่งไปตามความรู้สึกนึกคิดของตน
    และอื่นๆ
    เป็นเพราะจิตเราไม่นิ่ง เราจึงไม่มีสมาธิและปัญญา
    เมื่อเราไม่สมาธิและปัญญา แต่มีแค่สติเล็กๆน้อย มันจะไหวหรือ???
    ภูมิต้านทาน เราจะไหวหรือ?
    เกรงว่ากิเลสตัณหาของตน จะเอาไปรับประทานเสียหมดน่ะสิ!

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีสติเกิดน้อย จึงทุกข์มากกว่า ผู้ที่มีสติเกิดมาก
    เป็นเรื่องธรรมดา
    ตอนนี้ผู้ฉลาด ย่อมเป็นผู้เจริญ
    ผู้เจริญทั้งหลาย เขาเจริญอะไรกันหล่ะ ก็เจริญสติภาวนากันไง๊
    สติมาปัญญาเกิด พวกเราท่องจำกันมาตั้งแต่เกิดหรือจำความได้
    แต่สติเพิ่งมาแค่แป๊บเดียว ไม่ทันไรเลย เผลอสติ ซะงั้น!
    คนส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนี้แลฯ

    ภัยพิบัติภายในจิตใจของคนเรา จึงร้ายแรงกว่าภัยไหนๆ
    ทั้งสึนามิ แผ่นดินไหว มหาพายุจักรวาล หรือจะสู้กิเลสตัณหาของผู้คน
    ภัยภายนอกจิตใจคนเรานั้น นานๆจะเกิด เป็นที่เกิดจากภัยธรรมชาติ
    คือมันจะปรับความสมดุลย์ทางธรรมชาติไปในทิศทางที่ดี
    แต่ภัยภายในจิตใจของคนเรานั้น เกิดบ่อย เกิดซ้ำซากๆ แต่เราชอบเป็นหมูไม่กลัวน้ำร้อน อู๊ดดดๆ
    ทุกข์ทีไรไปเยี่ยมวัดทีนึง ไปปล่อยนก ปล่อยปลา(แต่ไม่ยักกะปล่อยกิเลสตัณหาของตน)
    ใส่บาตร(ใส่แต่อาหาร แต่ไม่ใส่ใจ)
    บวชเขกขัมมะ นุ่งขาวห่มขาวหรือนุ่งเหลืองห่มเหลือง(เปลี่ยนแต่ชุดภายนอก แต่ไม่รู้จักเปลี่ยนภายใน คือจิต)
    (หรือชำระจิตใจของตน) เป็นต้น

    พร่ำไปพร่ำมายาวจนได้ งั้นก็อวยพรให้พวกเราจงมีความสุข ความเจริญฯ
    ปราศจากทุกข์และโรคภัยฯ กิเลสตัณหาฯ..อิอิ กันถ้วนหน้าด้วยเทอญ

     

แชร์หน้านี้

Loading...