จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. aomnitta

    aomnitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2012
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +100
    สาธุ สาธุ ค่ะ
     
  2. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    กราบ กราบ กราบ ลูกขอน้อมกราบท่านพ่อด้วยเศียรเกล้า พร้อมทั้งขอน้อมนำมาปฏิบัติเจ้าค่ะ สาธุ
     
  3. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ธรรมะจาก หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านได้ให้ไว้เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2522.ท่านว่า รูป อนิจจัง เวทนา สัญญา สังขารา วิญญาณ ทุกข์ขัง อนัตตา อยู่ที่ใหนนี่ ท่านทำไมท่านรู้ สิ่งเหล่านี้ท่านว่า เต็มไปด้วยไตรลักษณ์คืออะไร เราจะถือเอาอะไรมาเป็นสาระ ถืออะไรเป็นเรา เป็นของเรา ทำไมจึงยึดถือทั้งๆ ที่เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้นั่ง กระดูกแขวนคออยู่ตลอดเวลา กวนมากที่สุด ก็คือขันธ์นี้เอง ภารา หเว ปัญจักขันธ์ธา กวนได้ทุกแง่ทุกมุมทุกเวล่ำเวลา ก็คือขันธ์ ทำไมจึงไม่เห็นความกวนของมันไปยึดถือมันทำไมสิ่งเหล่านี้.การดำเนินตนเพื่อถึงวิสุทธิจิต ก็อาศัยไตรลักษณ์ทั้งสามนี้เป็นทางเดิน อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา พิจราณานี้ให้รอบตัว เมื่อรอบตัวเต็มภูมิแล้วจิตก็จะผ่าน จิตผ่านไปแล้วจะไปเป็น อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ที่ใหนอีก จิตจะเป็นไตรลักษณ์นั้นหรือ ถ้าจิตเป็นไตรลักษณ์แล้ววิเศษอะไร นิพพานก็เป็นไตรลักษณ์ วิเศษวิโสอะไร ให้มันเห็นประจักษ์ซินักปฏิบัติ เห็นประจักษ์แล้วหายสงสัย มีกี่ร้อยกี่พันหายสงสัยหมด. ธรรมะของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน นี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้รู้อย่างสว่างจ้าถ้าผู้อ่านๆแล้วทบทวนให้เข้าใจจนถึงแก่นรากนะค่ะขอฝากธรรมะของท่านไว้ให้กับทุกๆท่าน ขอกราบขอบพระคุณหลวงตามหาบัว ด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ.สาธุ สาธุ สาธุ.
     
  4. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น

    ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น

    ปัญหา มีบางคนกล่าวว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ “ธรรมทั้งปวงที่ไม่ควรยึดมั่น” ดังนี้ พระพุทธองค์ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างไร ?

    พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนจอมเทพ กล่าวโดย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้ว ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จอันยิ่งยวด ถึงที่สุดอันยิ่งยวด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ”

    จูฬตัณหาสังขยสูตร มู. ม. (๔๓๙)
    ตบ. ๑๒ : ๔๗๐-๔๗๑ ตท.๑๒ : ๓๘๒-๓๘๓
    ตอ. MLS. I : ๓๑๐-๓๑๑


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  5. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    ความสุข.. แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร?

    ความสุขระดับต่างๆ

    ปัญหา ทางพระพุทธศาสนาจัดแบ่งความสุขออกเป็นระดับต่างๆ อย่างไรบ้าง ?

    พุทธดำรัส ตอบ “..... ดูก่อนอานนท์ กามคุณ ๕ นี้เป็นไฉน คือรูปอันจะพึงรู้ด้วยจักษุ..... เสียงอันจะพึงรู้ด้วยโสต.... กลิ่นอันจะถึงรู้ด้วยฆานะ... รสอันจะพึงรู้ด้วยชิวหา... โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้ด้วยกาย อันสัตว์ปรารถนาใคร่พอใจเป็นที่รัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อนอานนท์นี้แลกามคุณ ๕ สุขโสมนัสอันใด ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ นี้ สุขและโสมนัสนี้ เรากล่าวว่ากามสุข
    “ดูก่อนอานนท์ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่
    “ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า สุขนี้เป็นไฉน.... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.....
    “ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.... สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่า สุขนี้เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใจภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่นี้แลอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้....
    “ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้นเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญกว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นั้นแล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.....
    “ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้นเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.....

    “ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้นเป็นไฉน.... ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าอากาสไม่มีที่สิ้นสุด เพราะล่วงจตุตฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.....
    “ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้นเป็นไฉน.... ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยมนสิการว่าวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.....
    “ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้นเป็นไฉน.... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งไม่มีเพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.....
    “ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้นเป็นไฉน.... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญาตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้ โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.....
    “ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้นเป็นไฉน.... ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาตนะได้ โดยประการทั้งปวงอยู่นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.....

    พหุเวทนิยสูตร ม. ม. (๑๐๐-๑๐๒)
    ตบ. ๑๓ : ๙๖-๙๙ ตท.๑๓ : ๘๗-๘๙
    ตอ. MLS. II : ๖๖-๖๙


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  6. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    เจ้ามุ่งเดินไปข้างหน้า อย่าลืมหันหลังกลับมามองเวไนย

    สาธุ สาธุ สาธุ
    ขอน้อมกราบ พระสรรวโลกสุขทรรศมหาวีรยตถาคต ด้วยเศียรเกล้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2012
  7. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    ...........................................................................
    โมทนากับคำสั่งสอนของครูวิทย์ค่ะ..

    ลูกขอน้อมรับคำสั่งสอน..ไม่เคยลืมว่า..ลูกเข้ามาปฏิบัติจิตเกาะพระ..เพื่อแสวงหาทางออกของทุกข์ ..รัก โลภ โกธร หลง ปรารถนาเพื่อมุ่งตรงไปสู่พระนิพพาน..เพื่ออยู่ตลอดชั่วกาลนาน กับ สมเด็จพ่อ...
    ลูกไม่เห็นมีสิ่งใดที่ลูกจะยึดถือไว้กับตัวได้..แม้แต่สิ่งเดียว ...ผงธุลีเดียว.. ร่างกาย นับวันมีแต่จะเน่าเปื่อยผุพัง .. ใยยังจะห่วงหาอาวรณ์มันอยู่ร่ำไป..ขันธ์ 5 ที่มีแต่สร้างภาระให้กับเราหลงทุกข์ หลงสุข ไปวัน ๆ

    ศรัทธา จะนำพาทุกสิ่ง


    ลูกขอตั้งจิต..จะรับใช้พระศาสนา..รับใช้กิจของสมเด็จพ่อ..ตลอดชั่วชีวิตของลูก...สาธุ ๆ ๆ
     
  8. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม


    ๑. เรื่องทุกเรื่องในโลกล้วนแล้วแต่เป็นกฎของกรรมทั้งสิ้น จงอย่าวิตกให้เกินกว่าเหตุ สิ่งที่ตถาคตบอกให้พวกเจ้ารู้ รู้แล้วพึงวางเฉยกับเรื่องราวทั้งหมด อย่าตีตนไปก่อนไข้ อะไรมันจักเกิด มันก็ต้องเกิด เพราะเป็นกฎของกรรมอันฝืนไม่ได้ อันเลี่ยงไม่ได้ ไม่ควรที่จักกังวล ให้หมั่นดูแลรักษาจิตของตนเองเอาไว้ดีกว่า

    ๒. เรื่องของการพ้นทุกข์อยู่ที่จิต ไม่ใช่เรื่องของร่างกาย เพราะหากร่างกายนี้ไม่มีจิตอยู่แล้ว ก็ไม่มีความรู้สึกแต่อย่างไร ให้พิจารณา จุดนี้ให้ดีๆ แล้วจึงจักวางอารมณ์ลงได้ด้วยเห็นกฎของความเป็นจริง และจงอย่าฝืนใจใคร ให้วางกรรมใครกรรมมันให้จงหนัก เมตตาได้เฉพาะคนที่ควรจักเมตตาเท่านั้น และควรมีกำหนดขอบเขตของความเมตตาด้วย มิใช่เมตตาจนเป็นที่เบียดเบียนตนเอง ถ้าทำอันใดไปแล้วคิดว่าเป็นเมตตา แต่สร้างความหนักใจและทุกข์ใจให้กับตนเอง จุดนั้นไม่ใช่เมตตา จับทางปฏิบัติให้ถูกแล้วจักถึงมรรคถึงผลได้ง่าย

    ๓. ไม่ว่าอะไรจักเกิดขึ้นก็ไม่พ้นกฎของธรรมดาไปได้ แต่ที่ไม่เห็นก็เพราะโมหะมันบดบังจิตอยู่ จุดนี้สำคัญมาก จักต้องใช้ปัญญาจึงจักเห็นได้ชัด และเมื่อลงกฎธรรมดาได้แล้ว จิตก็จักเป็นสุขและสงบ เนื่องจากไม่ฝืนในกฎของธรรมดานั้นๆ

    ๔. จงอย่าไปเดือดร้อนกับกรรมของบุคคลอื่น ให้ทำใจอยู่ในขอบเขตกรรมของตนเองก็พอ อะไรมันผ่านมากระทบ แล้วก็ให้มันผ่านไปเลย แยกแยะให้ออกว่า สิ่งเหล่านี้มิใช่เรื่องที่เป็นสาระอันพึงจักยึดถือ มิใช่เป็นปัจจัยนำจิตให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน พยายามทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด โดยรักษากำลังใจในการทำหน้าที่ของตนให้เต็มเท่านั้น ผลจักเป็นอย่างไรได้แค่ไหนก็พอใจแค่นั้น แม้จักถูกตำหนิในบางครั้ง ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะทุกคนมีโอกาสผิดพลาดได้ มีแต่พระตถาคตเท่านั้นที่จักไม่พลาดเลย ดังนั้น เมื่อมีการผิดพลาดขึ้นครั้งใด แม้จักทำด้วยกำลังใจเต็มที่แล้ว ก็ให้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เหตุอันใดแก้ไขได้ก็แก้ไข แก้ไม่ได้ก็ไม่ต้องแก้ ยึดเอาธรรมดาเป็นที่ตั้ง แล้วจิตจักได้เป็นสุข สงบเยือกเย็นขึ้น

    ๕. อะไรมันจักเกิด มันก็ต้องเกิด ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกฎของธรรมดา เรื่องภัยธรรมชาติภัยจากสงคราม แม้แต่เรื่องใดๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย กับวัด ก็ล้วนเป็นกฎของธรรมดา อย่าไปวิตกกังวล วางจิตให้ยอมรับธรรมดาก็จักไม่เป็นทุกข์ การฝืนโลกฝืนธรรม ฝืนสังขารร่างกาย ล้วนเป็นโทษมากกว่าเป็นคุณ ทุกอย่างต้องเดินสายกลางทั้งทางโลกและทางธรรม ทำใจให้ยอมรับกฎของธรรมดา (กฎของกรรม) ตั้งใจชดใช้กรรมไปเรื่อยๆ ตายเมื่อไหร่ก็มุ่งสู่พระนิพพานเมื่อนั้น การหมดภาระของขันธ์ ๕ ย่อมเป็นสุขอย่างยิ่ง ขอให้พวกเจ้ามุ่งหวังเข้าไว้ อย่าทำอารมณ์ใจให้พร่องไปกับอุปสรรคที่เข้ามาทดสอบจิตใจของแต่ละคน ให้เอาทุกสิ่งทุกอย่างเป็นกรรมฐาน แล้วจักเกิดประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม

    ๖. วางอารมณ์ให้เป็น ปล่อยเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนใจทั้งหมด อย่าไปยึดเอามาเป็นทุกข์ ทุกสิ่งล้วนเป็นของธรรมดา พิจารณาด้วยปัญญาเข้าสู่มรรคผล อย่าให้เป็นโทษ ธรรมภายนอกอย่าไปแก้ แม้ร่างกายตนเองก็แก้ไม่ได้ ให้ปล่อยวางไปตามกฎของธรรมดา ให้แก้ธรรมภายในที่จิตของตนเท่านั้น ทุกสิ่งในโลกไม่เที่ยง ยึดถืออะไรเป็นที่พึ่งไม่ได้ เช่น ปล่อยวาง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, วางกาย - เวทนา - จิต - ธรรม ซึ่งไม่เที่ยงเกิดดับ ๆ อยู่เป็นธรรมดา, วางอุปาทานขันธ์ ๕ วางอารมณ์โลภ โกรธ หลง จุดนี้ไม่มีใครช่วยใครได้ มีแต่คำแนะนำเท่านั้นที่ให้กันได้ การตัดกิเลสจักต้องใช้กำลังใจเต็มตัดด้วยตนเอง และตั้งใจทำจริงๆ จึงจักทำได้

    ๗. การกระทำทุกอย่างให้พิจารณาว่า ทำเพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อพระนิพพานหรือเปล่า อย่าทำด้วยอารมณ์อยากทำอย่างเดียว จุดนั้นเป็นความเร่าร้อนของจิต เป็นกิเลส เป็นตัณหา ผิดหลักของการปฏิบัติธรรมเพื่อพระนิพพาน อย่าลืมจักละกิเลส จักต้องรู้จักหน้าตาของกิเลสด้วย เช่น จักละรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ก็ให้รู้จักมันด้วย หรือจักละรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ต้องให้รู้จักด้วย รู้แค่สัญญาละไม่ได้ ต้องรู้ด้วยปัญญา จึงจักละได้

    ๘. การพิจารณา มรณา และอุปสมานุสสติไว้เสมอ ยังจิตให้เข้าถึงพระนิพพานได้ง่าย และหากจับกองที่ถูกกับจริตนิสัย และกรรมของตนเองมาพิจารณาแล้ว จักได้มรรคผลคืบหน้าได้ง่าย อย่าทำแบบจับจด หรืออะไรๆ ก็จำได้หมด แต่ทำอะไรไม่ได้สักอย่างเดียวจักไม่ได้ผล ให้กำหนดบทใดบทหนึ่งขึ้นมาที่จิตมันชอบ แล้วทำอย่างจริงๆ จังๆ จุดนั้นก็จักได้ผล และหากมีปัญญาบารมีดี ก็จักได้กองอื่นๆ หมดเช่นกัน อย่าท้อแท้ ร่างกายมันจักเป็นอย่างไร ก็เรื่องของร่างกายมัน อารมณ์นี้แหละคืออารมณ์ช่างมัน หรืออุเบกขาของร่างกายในบารมี ๑๐ ที่แท้จริง

    ๙. ให้เข้มแข็งและอดทน กับอุปสรรคที่เข้ามากระทบทั้งปวง และฝึกจิตของตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตน อย่าท้อถอย เนื่องด้วยในโลกนี้ไม่มีใครอยู่เป็นที่พึ่งของใครได้ไปตลอดชีวิต ดังนั้นการฝึกจิตของตนเอง เพื่อไม่ให้ฝืนกฎของความเป็นจริง จักต้องพิจารณาให้จิตยอมรับกฎของความเป็นจริงอยู่เสมอ จิตจักได้เข้มแข็งไม่อ่อนแอ มีความสงบสุขเนื่องด้วยไม่ฝืนความเป็นจริงนั้น ที่กล่าวมาเหล่านี้เป็นการปฏิบัติยาก แต่จักต้องทำให้ได้ ถ้าหากมุ่งหวังจักไปพระนิพพานในชาติปัจจุบัน

    ๑๐. หามัชฌิมาของร่างกายให้พบ กายเป็นสุข จิตผู้อาศัยอยู่ก็เป็นสุข การปฏิบัติธรรมจักต้องอาศัยทางสายกลาง จุดนี้จักต้องสำรวจกายและจิตของตนเอง โดยหาความจริงของกายและจิตให้ชัดเจน แล้วตรงจุดนั้นนั่นแหละจักควรค่าแก่การปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง อย่าเบียดเบียนกายและใจของตนเอง ก็จักพบความสุขของมรรคผลปฏิบัติอย่างแท้จริง

    ๑๑. ให้พยายามปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามากระทบจิตใจ คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา อย่าฝืนใจใครเพราะยากที่จักแก้ไขบุคคลอื่นได้ และเป็นกฎของธรรมดา เนื่องด้วยต่างคนต่างที่ความคิดเป็นของตัว แล้วก็มักจักยึดความคิดเห็นของตัวเองว่าถูกต้องอยู่เสมอ ซึ่งจุดนี้เป็นเหตุของความกระทบกระทั่งจิตใจ แล้วก็เป็นการยึดมั่นถือมั่นในอัตตา คือสังขารปรุงแต่งว่าเป็นเราเป็นของเรา ซึ่งเป็นกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม อันจิตของเราสร้างขึ้น พิจารณาให้รอบคอบแล้ว จักเห็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ อันเกิดจากสังขารที่ปรุงแต่งนี้ ให้ถอยออกมาพิจารณาให้ละเอียดอีกขั้นหนึ่ง แล้วจักเห็นอัตตาที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสังขารปรุงแต่งอย่างชัดเจน จักเห็นโทษของการยึดสังขาร (อารมณ์ปรุงแต่ง) อย่างมากมาย แล้วเมื่อจิตยอมรับ ก็จักรู้จักปล่อยวางอย่างแท้จริง

    ๑๒. การเจ็บป่วยเป็นของธรรมชาติไม่มีใครฝืนมันได้ ธรรมะของตถาคตเจ้ามีแต่ธรรมดาทั้งหมด จิตจักพ้นทุกข์ได้ก็ต้องพิจารณาถึงตัวธรรมดาให้มาก เนื่องด้วยที่ทุกข์อยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะจิตไปฝืนธรรมดา ไม่อยากให้เป็นไปตามธรรมดา (ตัณหา ๓ ครองโลก หรือเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ใจ) กฎของกรรมที่เกิดกับชีวิตของแต่ละคนทุกวันนี้ก็เช่นกัน เป็นธรรมหรือกรรมที่มาแต่เหตุทั้งสิ้น ซึ่งเป็นอริยสัจไม่ควรไปฝืน พยายามสอนจิตให้ไปรับธรรมหรือกรรม จิตก็จักไม่ทุกข์ไปกับกฎของกรรมเหล่านั้น (อย่าฝืนโลก อย่าฝืนธรรมหรือกรรม) การเกิด แก่ เจ็บป่วย ความปรารถนาไม่สมหวัง การพลัดพรากจากของรักของชอบใจล้วนเป็นทุกข์ แม้แต่ในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะจิตไปยึดว่าเป็นเราเป็นของเรา ในปัญจขันธ์นี้ (ขันธ์ ๕) ไม่มีในเรา ไม่ใช่ของเรา เป็นอริยสัจ ผู้เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า จักยอมรับนับถือสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นของจริง จิตผู้ไม่ฝืนความจริง จึงไม่ทุกข์ไป กับปัญจขันธ์ที่แปรปรวนไปตามสภาพนั้น ๆ เนื่องด้วยท่านเห็นเป็นของธรรมดาเสียแล้ว จิตเป็นสุขมีพระนิพพานเป็นที่ตั้งมั่นอยู่ในจิต ตายเมื่อไหร่ก็พ้นทุกข์เมื่อนั้น ให้สังเกตจุดนี้เอาไว้ให้ดีๆ แล้วเพียรปฏิบัติตาม เพื่อจักได้พ้นทุกข์ ของปัญจขันธ์ เข้าถึงพระนิพพานได้ในชาติปัจจุบัน

    ๑๓. ร่างกายของใครก็ไม่สำคัญเท่ากับร่างกายของตนเอง ให้พิจารณาร่างกายของตนเองเป็นหลักใหญ่ จักได้รู้ความจริงของร่างกาย แล้วจักเห็นชัดว่า ความโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นก็เนื่องจากการมีร่างกายนี้ ค่อยๆ คิดพิจารณาให้เห็นอย่างชัดเจน แล้วจักผ่อนคลายการติดในร่างกายลงได้

    ๑๔. จงอดทนต่ออุปสรรคทั้งหลายที่เข้ามาในชีวิต ย่อมมีแพ้บ้าง ชนะบ้างเป็นธรรมดา จงอย่ากังวลใจ ผิดพลาดไปบ้างก็เป็นของธรรมดา จำไว้ความสุขของใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ร่างกายจักเป็นอย่างไร ก็เป็นเรื่องธรรมดาของร่างกายมัน ห้ามไม่ให้แก่ ไม่ให้ป่วยไม่ได้ แล้วที่สุดร่างกายนี้ก็ต้องตายเป็นธรรมดา การรักษาใจต้องพยายามรักษาอารมณ์ให้ผ่องใสอยู่เสมอ

    ๑๕. อย่ากังวลใจกับเหตุการณ์ใดๆ ทั้งปวง ให้รักษาอารมณ์อย่าให้ดิ้นรนเร่าร้อน จงพอใจ หรือมีความพอดีกับสถานการณ์ทุกๆ อย่าง ไม่ว่าเหตุการณ์เหล่านี้จักมีผลบวกหรือผลลบก็ตาม จงอย่าได้เดือดร้อนใจไปตาม ให้ค้นหาเหตุให้พบ (ให้ใช้อริยสัจ) จิตจักต้องรู้เท่าทันกฎของกรรมทุกเมื่อ แล้วจิตก็จักไม่ดิ้นรนเร่าร้อนไปกับสถานการณ์ทุกรูปแบบ การติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ กับข่าวต่างประเทศ ก็จักเห็นความไม่เที่ยง แปรปรวน รุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นระยะๆ ของสภาวะของดิน - น้ำ - ลม - ไฟ และอารมณ์อันไม่เที่ยงของผู้นำประเทศต่างๆ มากมาย อันเป็นชนวนในการนำไปสู่สงครามใหญ่ได้ทั้งสิ้น จึงควรหมั่นดูแลรักษาสุขภาพของร่างกายให้ดีด้วย เพราะกายนี้ก็ประกอบด้วยดิน - น้ำ - ลม - ไฟ ซึ่งไม่เที่ยง แปรปรวนอยู่เสมอเหมือนกับโลก จงอย่าประมาทในชีวิต ซึ่งสั้นลงทุกขณะจิต ให้หมั่นซ้อมตายและพร้อมตายไว้เสมอ กายพังเมื่อไหร่ จิตก็พร้อมไปพระนิพพานเมื่อนั้น

    ๑๖. อย่าท้อแท้ในผลของการปฏิบัติ ถึงแม้บางครั้งอารมณ์จักเฉื่อยชาไปบ้าง ก็ถือว่าเป็นของธรรมดา เพราะมีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ท่านหมดอารมณ์ขี้เกียจ ซึ่งเป็นอารมณ์หลงละเอียด พระระดับต่ำกว่านั้นยังมีอารมณ์ขี้เกียจ จักมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการรักษากำลังใจ หรือดูบารมี ๑๐ ด้วยความขยันหมั่นตรวจสอบ ข้อไหนบกพร่องก็เพียรทำข้อนั้นให้เต็ม และหากท้อถอยเมื่อไหร่ ก็พึงยกเอา มรณานุสสติขึ้นมาเตือนจิต พิจารณาให้เห็นชีวิตของร่างกายนั้นก้าวไปสู่ความตายทุกๆ ขณะจิต ความประมาทในการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์จักน้อยลงไปได้ ทุกคนที่เห็นทุกข์แล้วย่อมปรารถนาเพื่อจักพ้นทุกข์ แต่สำหรับความตายไม่ต้องปรารถนา ชีวิตก็ล่วงเข้าไปสู่ความตายทุกรูปทุกนาม สำคัญว่าจิตจักพ้นทุกข์ได้ก่อนร่างกายตายหรือไม่ ให้ดูความโลภ - โกรธ - หลง ที่เกาะจิตอยู่นั้นมันลดน้อยลงหรือยัง กิเลสในใจตน จงอย่าไปถามคนอื่น ตนย่อมต้องโจทย์จิตของตนเองอยู่เสมอหากยังมีอยู่ครบ แล้วขยันหมั่นเพียรเอากรรมฐานมาแก้อารมณ์จิตหรือเปล่า ถ้ายังเพียรทำอยู่ ก็ได้ชื่อว่า ไม่อยู่รอความตายโดยเปล่าประโยชน์ แต่ถ้าหากไม่ได้ทำก็ประมาทอย่างยิ่ง ให้คิดไว้เสมอว่าขณะนี้ใกล้ตายแล้ว ถ้าหากตายในขณะนี้ ใครที่ไหนเล่าจักช่วยเราได้ จงจดจำคำสอนของตถาคตเจ้าทรงตรัสไว้ว่า ตถาคตเป็นเพียงผู้บอก การปฏิบัติอยู่ที่ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนโดยแท้จริง ให้พิจารณาจุดนี้เข้าไว้ เพียรหรือไม่เพียรก็อยู่ที่พวกเจ้าพึงจักปฏิบัติกันเอาเอง ตามแนวทางแก้กิเลสที่พระตถาคตเจ้าสอนไว้ ให้เลือกมากมายตั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ชอบใจบทไหน ให้จับบทนั้นจนถึงที่สุด แล้วจักเป็นมรรคผลได้เร็ว

    ๑๗. จิตมีอารมณ์ ก็จักต้องหาสาเหตุให้พบ ปล่อยวางที่ต้นเหตุแล้วจักพ้นทุกข์จากจุดนั้นไปได้ การตรวจสอบจิตจักต้องมีอยู่เสมอ แล้วจงอย่าสนใจกับจริยาของบุคคลอื่น ไม่ว่าบุคคลนั้นจักเป็นที่พอใจ หรือไม่พอใจก็ดี ให้ปล่อยวางบุคคลอื่นออกไปจากจิตเสียก่อน ทางนี้เป็นทางของบุคคลผู้เดียว ใครที่ไหนอื่นใดไม่สำคัญเท่ากับจิตตนเอง รักษาความดีให้ขังอยู่ในจิตให้ได้ ปล่อยวางความชั่วอย่าให้ขังอยู่ในจิตนาน อย่าขาดทุนให้มากนัก เจริญพระกรรมฐานทั้งที ให้รู้จักเก็งกำไรเอาไว้ด้วย

    ๑๘. ร่างกายจักเป็นอย่างไร ก็ห้ามมันไม่ได้ การให้ปัจจัย ๔ แก่ร่างกาย เป็นเพียงการระงับเวทนาชั่วคราวเท่านั้น ปัจจัยใดๆ ก็ไม่สามารถห้ามความแก่ - ความป่วย - ความตายได้ พิจารณาให้จิตยอมรับความจริงของร่างกาย และทราบชัดว่าเราคือจิต จึงจำเป็นต้องรักษาจิตให้ดี ให้จิตอดทนต่อสิ่งที่มากระทบ เพราะกฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ กรรมใดที่เราไม่เคยทำไว้ วิบากกรรมนั้นย่อมไม่เกิดกับเราอย่างแน่นอน อย่าเอาความเลวไปแก้เลวของผู้อื่น ให้คิดว่าไม่ช้าต่างคนต่างก็ตายแล้ว หันกลับมารักษาอารมณ์จิตของตนเองดีกว่า โดยฝึกจิตให้ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเคารพในกฎของกรรม ทำทุกอย่างเพื่อพระนิพพาน จำไว้อย่าไปแก้ไขผู้อื่น ให้แก้ที่ใจของตนเอง ให้พิจารณาถึงกฎของกรรมให้มาก ๆ แล้วสรุปลงว่า ถ้าเราไม่มีร่างกายเสียอย่างเดียว เหตุการณ์กระทบกระเทือนใจเหล่านี้ก็ไม่มี มีแดนเดียวที่พ้นทุกข์ได้อย่างถาวร คือพระนิพพาน ให้ตั้งกำลังใจไว้อย่างนี้เสมอ แล้วจักไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง

    ๑๙. พิจารณากรรมฐานให้ระมัดระวังมารหลอก มารแปลว่าผู้ฆ่าความดี จิตจักถูกดลให้คิดผิด - เห็นผิด ขาดความยับยั้งชั่งใจ ยังอุปาทานให้เกิดไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งผิด จึงต้องสังเกตอารมณ์ของจิตให้ดีๆ รู้ขั้นตอนของการทำงานของจิต รู้ขั้นตอนของกิเลสที่เกิดขึ้นในอารมณ์ แล้วจักมีหนทางแก้ไขในเหตุที่เกิดนั้นๆ เห็นจิต - มองจิต - พิจารณาจิต ย่อมรู้ในเหตุที่ทำให้จิตมีความเปลี่ยนแปลงไปทุกครั้ง

    ๒๐. ในคนๆ หนึ่งย่อมมีการกระทำได้ทั้งดีและเลว กรรมคือการกระทำทั้งกาย - วาจา - ใจจัดเป็นกรรมทั้งสิ้น คนเลวหมดตลอดชีวิตไม่มี คนดีหมดตลอดชีวิตก็ไม่มี คนๆ หนึ่งจึงทำกรรม ๒ ประเภทนี้ขึ้นมา บัญชีบุญและบัญชีบาปจึงแยกออกจากกัน ไม่ปนกัน มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นที่ท่านหมดเลว ท่านเคารพในกฎของกรรม ใครดีท่านรู้แต่ไม่สนใจ หรือข้องแวะในกรรมของเขา ใครเลวท่านก็รู้ แต่ไม่สนใจ กรรมใครกรรมมัน พระอรหันต์ท่านวางหมด ยกเว้นแต่ผู้ที่มีกรรมผูกพันอยู่กับท่าน ท่านก็ต้องสอน - อบรม - ชี้แนะทางให้ตามหน้าที่ แต่จักทำได้หรือไม่ได้ ก็เป็นเรื่องของเขา ท่านไม่ทุกข์ไม่เดือดร้อนไปในกรรมใดๆ ทั้งปวง เห็นเป็นธรรมดาของโลก มีแต่พระนิพพานเท่านั้นที่คนเลวไม่มีอยู่เลย ที่ตรัสมานี้เพื่อให้สังเกตอารมณ์ของใจคน มักจะโจทย์เลวมากว่าโจทย์ดี ใครทำอะไรไม่ดี ใจมัน ปากมันทั้งจำทั้งพูด ไม่รู้จักลืม มันเป็นความเลวของจิตที่ จำเอาแต่อกุศลกรรม สำหรับเรื่องความดี คำสอนของพระพุทธเจ้า สอนเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักจำ ไม่รู้จักทำ ให้มันเกิดมรรคเกิดผลเสียบ้าง ใจมันมักลืมดี แต่จำเลว ต่อไปให้รู้จักแก้ใจเสียบ้าง จำดีแล้วลืมเลวเข้าไว้บ้าง จึงจะพอเริ่มดีกับเขาได้บ้าง สรุปว่า พระอรหันต์ท่านมี พุทธานุสสติและอุปสมานุสสติเป็น เอกัตคตารมณ์ พอๆ กับการไม่ลืมขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่มีในเรา และมีอริยสัจ ๔ พร้อมอยู่ในจิต เห็นทุกข์ - สมุทัย - นิโรธ - มรรคพร้อมอยู่ตลอดเวลาเหล่านี้เป็นองค์ของพระอรหันต์


    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
     
  9. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]


    "ทุกข์" เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์
    คนทั้งหลาย พากันเกลียดกลัวทุกข์
    อยากหนีทุกข์ ไม่อยากให้มีทุกข์เลย

    ความจริง ทุกข์นี่แหละ จะทำให้เราฉลาดขึ้นล่ะ
    ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์

    สุขนั่นสิ มันจะปิดหูปิดตาเรา
    มันจะทำให้ไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน
    ความสุขสบายทั้งหลายจะทำให้เรา ประมาท

    กิเลสสองตัวนี้ ทุกข์เห็นได้ง่าย
    ดังนั้น เราจึงต้องเอาทุกข์นี่แหละ มาพิจารณา
    แล้วพยายามทำความดับทุกข์ให้ได้
    แต่ก่อนจะปฏิบัติภาวนา ก็ต้องรู้จักเสียก่อน
    ว่า ทุกข์คืออะไร?


    (พระธรรมคำสอน…หลวงพ่อชา สุภัทโท)
     
  10. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]


    “ศาสนาพุทธ สอนอะไร?”

    ครั้งหนึ่ง..เคยมีชาวตะวันตก ที่หวังแจ้งเกิดในหลักธรรม
    ได้ยิงคำถามตรงประเด็นแบบไม่ถนอมน้ำใจคนที่ต้องตอบ ว่า..“ศาสนาพุทธ สอนอะไร?”

    แทนการตอบคำถาม..หลวงพ่อท่านได้ชี้นิ้ว ไปที่ก้อนหินเขื่องบนกระดาน “ยกก้อนหินนั้น ขึ้นมาสิโยม”

    ฝรั่งนายนั้น ทำตามที่หลวงพ่อบอก
    “หนักไหม” ท่านถาม
    “หนักครับ” ฝรั่งเจ้าของปุจฉา ที่ตนเองคิดว่าลึกล้ำ ร้องตอบ

    หลวงพ่อ จึงไขปริศนาธรรมนั้น ว่า..
    “อะไรมันหนัก ก็วางลงเถิด สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน มีเพียงเท่านี้”


    หลวงปู่ชา สุภัทโท
     
  11. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    หากยามใดท้อถอย เหนื่อยหน่ายต่อการปฏิบัติ
    ก็ให้ระลึกถึงภัยข้างหน้าที่จะมีมา
    ต้องตระหนักว่าขณะนี้เรายังอยู่ในมรสุม
    อยู่ท่ามกลางคลื่น ภัยนั้นมีอยู่รอบด้าน
    เอาไว้ให้ถึงฝั่งเสียก่อน อย่ามัวเที่ยวเก็บ เที่ยวชมดอกไม้
    มืดค่ำแล้ว เดี๋ยวจะหาทางออกไม่พบ

    - หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
     
  12. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ขอขอบพระคุณ คุณ nokmam.ที่เอาธรรมะของหลวงปู่ชา มาให้ได้ ปัญญาเพิ่มขึ้น ขอน้อมรับ ด้วยเศียรเกล้า. ปัจุบันนี้ มีชาวต่างชาติ เคารพ และศัรทธาในศาสนาพุทธอยู่เย้อะมาก ในการที่จะต้องไปศึกษาของเขานั้นมันไม่ได้ง่ายเลยเพราะมันคุยกันคนละภาษา หลวงปู่ชา ท่านพูดแต่ภาษาอีสาน แต่พระฝรั่งรูปนั้นท่านมีมานะอดทนมาก จนหลวงปู่ชายอมรับ การฝึกฝนของท่านต้องสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง เช่นการอยู่ การกิน การพูดคุย ท่านสู้กับสภาพแวดล้อมมากมาย หลวงปู่ท่านสอนและพูดคุยกับเขา ภาษาอีสาน ฝรั่งพูดภาษาของเขา แต่ทำไมล่ะ ฝรังคนนี้ถึงผ่านจุดนี้มาได้ เพราะเขามีความศัรทธา ในพระพุทธศาสนา และเลื่อมใสในศาสนาพูทธมาก และตอนนี้ท่านก็ได้นำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเผยแพร่ให้ชาวต่างชาติ ได้เรียนรู้ ซึ่งพวกเราควรที่จะนำตัวอย่างที่ดีอันนี้มาประพฤติปฎิบััติ อย่าปล่อยให้โอกาสนี้ไป พวกเราโชคดีมากที่เกิดมาในศาสนาพุทธ และเป็นคนไทย เป็นภาษาของเราเอง ขอให้เริ่มศึกษาหาความรู้และค้นหาความสุขที่แท้จริงในบั้นปายชีวิต ที่ไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้อะไรจะเกิดขึ้น อย่าว่าแต่พรุ่งนี้เลย แม้แต่นาทีต่อไปก็อย่าประมาทเลยค่ะ ขออนุโมทนากับชาวต่างชาติทุกๆท่าน และขออนุโมทนากับผู้อ่านทุกๆท่าน ด้วยค่ะสาธุ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2012
  13. Patcharawan

    Patcharawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +3,980
    "... หลายปีที่แล้วมา
    หลวงพ่อชาไปเยี่ยมวัดที่ชิตเฮิร์สท์ที่อังกฤษ
    มีอุบาสกคนหนึ่งที่เคยศึกษาธรรมะฝ่ายมหายาน
    มาถามหลวงพ่อชาเรื่องการปฏิบัติว่า ..."

    "... คนที่ปฏิบัติ
    เพื่อเป็นอรหันต์กับคนที่ปฏิบัติ
    เพื่อเป็นโพธิสัตว์ อันไหนจะดีกว่ากัน ...
    " อันไหนสูงกว่ากัน "

    หลวงพ่อชาตอบว่า

    "... อย่าเป็นอะไรเลย
    พระอรหันต์ก็อย่าเป็น
    พระโพธิสัตว์ก็อย่าเป็นเลย
    แม้พระพุทธเจ้าก็อย่าเป็นเลย
    เป็นอะไรแล้วก็ต้องเป็นทุกข์ทันที ..."

    "... นั่นคืออย่าเป็นคนดี
    อย่าไปถึงระดับนั้น เพราะถ้าเป็นคนดีแล้ว
    ต้องรำคาญคนไม่ดี ทุกวันนี้คนที่ไม่ดีมากกว่า
    คนดีเยอะ ไปที่ไหนก็กลุ้มใจ มีแต่ความไม่พอใจ ..."

    "... เหมือนกับคนที่สูบบุหรี่เลิก
    แล้วดูคนที่สูบ นี่เรียกว่าติดดี ท่านไม่ให้ติด
    แม้จะเป็นความดี ท่านก็ไม่ให้เราติด เพราะว่า
    ความติดเป็นทุกข์ สร้างความทุกข์ใจ ..."

    "... ทำความดีเพื่อความดี ...
    ทำความดีเพราะรักดี ...
    แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเป็นคนดี ...
    เพราะถ้าเราเป็นคนดีแล้วจะเป็นทุกข์ ..."
     
  14. จารุณี22

    จารุณี22 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +1,403
    พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์​

    387 การระวังตนของผู้มุ่งนิพพาน

    ปัญหา ภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน ควรจะระมัดระวังตนอย่างไร?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นท่อนไม้ใหญ่โน้น อันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคาหรือไม่ ถ้าท่อนไม้นั้นจะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น จักไม่จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกวังน้ำวนพัดวนเอาไว้ จักไม่เน่าในภายใน ท่อนไม้นั้นจักลอยไหล เลื่อนไปสู่มหาสมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่ากระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่มหาสมุทรฉันใด....

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำพัดวนเอาไว้ จักไม่เน่าในภายในไซร้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมโอนเอียงไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิย่อมโน้มน้อมโอนเอียงไปสู่นิพพานฉันนั้นเหมือนกัน

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝั่งนี้หมายถึงอายตนะภายใน ๖ ฝั่งโน้นหมายถึง อายตนะนอก ๖ คำว่าจมลงในท่ามกลาง หมายถึง ความกำหนัดยินดี ค่ำว่า เกยบก หมายถึง อัสมิมานะ

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่าถูกมนุษย์จับไว้ คือ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลินโศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์.... มั่วสุมในกิจการงานอันบังเกิดแล้วของเขา นี้เรียกว่ามนุษย์จับไว้

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่าถูกอมนุษย์จับไว้คืออย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล พรต ตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง นี้เรียกว่าถูกอมนุษย์จับไว้

    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เกลียวน้ำวน หมายถึง กามคุณ ๕ ความเป็นผู้เน่าในภายในคืออย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานลึกลับไม่เป็นสมณะก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจกองขยะ นี้เรียกว่าเป็นผู้เน่าในภายใน....”


    ทารุขันธสูตร ที่ ๑ สฬา. สํ. (๓๒๒-๓๒๓)
    ตบ. ๑๘ : ๒๒๓-๒๒๕ ตท. ๑๘ : ๒๑๒-๒๑๔
    ตอ. K.S. ๔ : ๑๑๓-๑๑๕
     
  15. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณมาลินี UK

    ขอให้มีแต่ความสุขกายสุขใจนะค่ะ

    นก ญ ;aa49;aa57

     
  16. จารุณี22

    จารุณี22 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +1,403
    สมเด็จองค์ปฐมทรงตรัสสอนไว้

    จิตหนีทุกข์ได้ แต่กายหนีไม่ได้ จิตหนีทุกข์ได้ด้วยพระธรรม
    จิตเกาะบุญ ก็ไปสวรรค์ได้ชั่วคราว
    จิตเกาะความสงบ ก็ไปพรหมได้ชั่วคราว
    แต่หากจิตฉลาดมีปัญญา ก็เกาะพระนิพพาน
    ทำอะไรทุกอย่างเพื่อพระนิพพานจุดเดียว
    คนโง่คิดจะเอากายไปสวรรค์-ไปพรหม-ไปนิพพาน
    ซึ่งไม่มีใครสามารถจะเอาไปได้
    เพราะกายนี้เป็นสมบัติของโลก
     
  17. Patcharawan

    Patcharawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +3,980
    มีคนถามหลวงพ่อชา สุภัทโท ว่า

    "หลวงพ่อพูดฝรั่งไม่ได้สักคำ สอนลูกศิษย์ลูกหาต่างชาติ ต่างภาษาอย่างไร จึงมีพระฝรั่งมาขอบวชมากมาย จนต้องตั้งเป็นวัดป่านาๆชาติ"

    หลวง
    พ่อชา สุภัทโท ตอบว่า

    น้ำร้อนก็มี, น้ำฮ้อนก็มี, ฮอตวอเตอร์ก็มี,
    มันเป็นชื่อแค่ภายนอกเท่านั้น..
    ถ้าเอามือจุ่มลงไป ก็ไม่ต้องใช้ภาษาหรอก
    คนชาติไหนๆก็รู้ทั้งนั้น ถ้าลงมือปฎิบัติให้ดู
     
  18. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    พระพุทธเจ้าทรงห่วงใย ด้วยพระกรุณาปรารถนาให้มนุษย์ทุกคนทุกชนชาติมีความสุขพ้นจากความทุกข์ แม้เวลาจะปรินิพพาน พระองค์ยังยํ้าเป็นคําสุดท้ายว่า "หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว วะยะธัมมา สังขาร อัปปะทาเทนะ สัมปาเทถะ" * ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเอาเถิดบัดนี้ เราจะขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประทาทให้ถึงพร้อมเถิด* เวลาได้ล่วงเลยไป ๒,๕๕๕ ปี บัดนี้ วันนี้ นาที่นี้ เราชาวพุทธ และมนุษย์ทุกชนชาติยังจะประมาทกันอยู่หรือเปล่า? ปัญหาร้อยแปดพันประการที่เกิดมาจากกิเลสตัวเดียว เรามีสติรับมือกับกิเลสและแก้ปัญหาได้หรือเปล่า? ถ้าคนเรายังประหัดประหารฆ่าฟันกันเองหรือเปล่า? เราละเลยต่อคําสอนนี้หรือเปล่า? "โลโกปัดถัมภิกา เมตตา เมตตาธรรมเป็นเครืองคํ้าจุนโลก" วิกฤตของโลก เช่น นํ้าท่วมโลก โลกร้อน
    เหล่านี้ซึ้งเป็นภัยธรรมชาติ บัดนี้เรามีสติ และร่วมกันมือกันแก้ปัญหาด้วยความสามัคคีหรือเปล่า? ถึงเวลาหรือยังที่เราจะมีสติ ปัญญา ตระหนักในความไม่ประมาท เชื่อในคําตักเตือนของพระพุทธเจ้า เพื่อรับมือและแก้ไขปัญหามาจากภัยกิเลสและภัยธรรมชาติ ที่มนุษย์สร้างขื้น ฉะนั้นจึงขอให้ทุกๆคนจงอย่าประมาท เร่งทําดีกันเถิด ขอให้มีมิตรแท้ "คือกรรมดี"ที่ตนสร้างด้วยการมี ศิล สมาธิ และปัญญา ทุกๆคนด้วยเทอญ. ที่มาของข้อความข้างต้น มณฑน์จิตต์เกษม FM95.25 คลื่นไทธรรม http://www.fm95.25radio.org]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2012
  19. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ไปธุดงค์ ตามรอยพระโพธิญาณ. ของหลวงปู่ชา ป่ากับพุทธศาสนา มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระบรมศาสดา ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ท่ามกลางพฤกษาพนาไพร แม้พระองค์ทรงมีอิสระเหนืออำนาจกิเลสตันหาแล้ว ก็ยังทรงดำรงพระชนชีพอย่างสงบเงียบและเรียบง่ายในป่า จนกระทั่งเข้าสู่พระนิพพาน. พงไพรกว้างใหญ่มากด้วยแมกไม้นานาพรรณ บุปผาชาติบานสะพรั่ง สายธารผ่านหลั่งไหล มวลวิหคร้องบรรเลงเพลงไพร จับใจสมณะผู้มายล ป่าเป็นสถานที่อันเหมาะยิ่งสำหรับบำเพ็ญภาวนาเพื่อแสวงหาอิสรธรรม ดังในวิสุทธิมรรคกล่าวคำว่า. พยัคฆ์ร้ายซุ่มซ่อนอยู่ในป่า คอยดักจับหมู่เนื้อเป็นอาหารฉันใด พุทธบุตรผู้บำเพ็ญภาวนา มีปัญญารู้แจ้ง ย่อมไปสู่ป่าแสวงหาอรหัตตผลฉันนั้น.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2012
  20. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ทุกปัญหามีทางออก ขอให้ท่านมีสติ เมื่อเกิดปัญหา ให้ทํา 3 ขั้นตอนง่ายๆ คือ.
    ขั้นที่ 1. กําหนดสติ หรือ ตั้งสติ คือรู้ตัวว่าจิตใจของเรามีทุกข์ (หงุดหงิด วิตก ตกใจ กลัว กระวนกระวาย รําคาญ ร้อนรุ่ม ประหม่า ฟุ้งซ่าน ฯลฯ ) รู้ตัวเองว่าตนอยู่ในสิ่งแวดล้อมสถานการณ์ ปัญหาใด และมีสติ คือ นึกขื้นได้ว่าเราต้องตั้งตัวด้วย 2 ส คือ สงบ และสว่าง.
    ขั้นที่ 2.ก่อสมาธิ (สงบ) รีบหยุดความคิด(ทุกข์) อย่าเพิ่งผลีผลามลนลาน อย่าแก้ปัญหาด้วยอารมณ์ จงหยุดกิเลส ทําใจให้สงบด้วยการดูลมหายใจเข้าและ ออก ของตนเอง จากนั้นตั้งจิตเป็นสมาธิ คือ ร่วมเป็นหนึ่งเดี่ยวไม่ห่วงสิ่งใด ค่อยตัดทิ้งในสิ่งที่คิดทั้งหลาย มี สติ ให้นึกถึงแต่คําสั้นๆ อย่าง เช่น พุท -โธๆๆ นาน 3-30 นาที (ตามแต่โอกาส และความชํานาญ)
    ขั้นที่3.เกิดปัญญา(สว่าง) เป็นผลจากขั้นที่2 คือเกิดความสว่าง ว่าง โล่งอก โล่งใจ ทําให้สมองปลอดโปร่ง คิดอะไรก็คิดได้ง่ายไม่ติดขัด ผลจากความสว่าง ร่วมกับฐานข้อความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ชีวิตที่สะสมมา+กับบุญบารมีในชาติก่อน จึงทําให้เกิดปัญญา แก้ปัญหาได้ คือพบทางออกจากทุกข์ หรือปัญหาได้ด้วยหลักธรรมคําสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
    บางทีเราแก้ปัญหาได้ง่ายๆ โดยใช้อุเบกขา และ อุปาทาน แต่ที่ยากคือ ตนเอง ให้อุเบกขา คือ การปล่อยวาง และ อุปทาน คือ ความไม่ยึดมั่น แต่จงพยายามเถิดจะเกิดผลดีทั้งชาตินี้และชาติหน้าเทอญ.
    คัดมาจาก. มณฑน์จิตต์เกษม FM95.25 คลื่นไทธรรม.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...