อยากสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับอาบัติสังฆาทิเสท

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Ghidsana, 29 พฤศจิกายน 2012.

  1. Ghidsana

    Ghidsana สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3
    คือตอนนี้เครียดมากครับ ตอนที่บวชอยู่เคยดูรูปโป๊แล้วช่วยตัวเองแต่ทำใม่สุดคือใม่เสร็จหยุดลงกลางคันเสียก่อนแต่มีน้ำหล่อลื่นใสๆออกมา แต่ใม่ใช่น้ำอสุจิก็เลยหยุดทำ อยากทราบว่าผมใด้ทำผิดกฏข้อสังฆาทิเสทหรือใม่ครับรบกวนท่านผู้รู้ช่วยบอกด้วยครับ จะใด้แก้ใด้เพราะผมลองอ่านบัญญัติต่างๆแล้ว บอกว่าแกล้งอสุจิเคลื่อนเป็นอาบัติสังฆาทิเสท แต่เคคลื่อนในที่นี้คือหมายถึงใด้ช่วยตัวเองจนเสร็จหรือใม่ แล้วออกมาแต่น้ำหล่อลื่นนี่ผิดข้อสังฆาทิเสทหรือใม่ครับ
     
  2. Jt Odyssey

    Jt Odyssey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +12,591
    ต้องอาบัติ อสุจิเคลื่อนแล้วละ ในน้ำหล่อลื่นก็มีโอกาสที่น้ำอสุจิปะปนอยู่ด้วยนะ

    ถ้าตั้งใจช่วยตัวเอง พอน้ำจะออก ก็หยุดซะ แล้วบอกว่าไม่อาบัติสังฆาทิเสส คิดอย่างนี้เข้าข้างตัวเองไปหน่อยละ

    ผมอยากแนะนำให้คุณไปบวชใหม่ แล้วเข้าปริวาสเสีย กรรมที่ทำกับพระศาสนาเป็นเรื่องใหญ่ ทำกรรมดีก็เป็นคุณอนันต์ ทำกรรมชั่วก็โทษมหัีนต์

    เป็นพระให้เค้ากราบไหว้ ขออาหารเค้่ากิน ก็ต้องรักษาวินัยอย่างยิ่งยวด ให้สมกับที่ตัวเองได้รับความเคารพกราบไหว้และได้รับอาหารจากพุทธศาสนิกชน

    เท่าที่เคยได้ยินมา พวกที่ต้องสังฆาทิเสส แล้วสึกมาเลยนี่ ชีวิตมักจะไม่ราบรื่น ติดๆขัดๆ มีอุปสรรคตลอด

    แล้วถ้าไม่ไปเข้าปริวาสเสีย กรรมนี้มันก็จะเกาะกินใจคุณตลอดไป เหมือนกับที่คุณเป็นอยู่ตอนนี้ เวลา่ที่คุณจะตายคุณก็มีโอกาสนึกถึงกรรมนี้ เป็นกรรมนิมิต ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นผมทายภพภูมิหน้าของคุณได้เลย

    บวชใหม่แล้วเข้าปริวาสเถอะครับ ตราบใดที่มัจจุราชยังไม่มาพรากชิวิตคุณไป คุณยังมีโอกาสแก้ตัวเสมอ

    สังฆาทิเสส / 1 ตัว
    (โทษที่หมู่ภิกษุ จำต้องลงโทษ)

    ต้องตกมหาตาปนรก 1 ชั่วอายุ คือ ครึ่งกัปป์

    รู้มาแค่นี้ .........และมีเรื่องบอกให้ทราบที่แท้จริงแบบนี้

    บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาก็ต้องศึกษาเรื่องพระวินัยของพระให้เข้าใจก่อนเป็นอันดับแรก
    เพื่อจะได้ไม่ทำผิดพระวินัยให้เกิดบาปแก่ตนเอง เพราะบวชเข้ามาก็หวังบุญหวังกุศล

    แต่เมื่อบวชเข้ามาแล้วไม่ได้ศึกษาพระวินัยให้ดี ก็จะไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าท่านบัญญัติห้ามสิ่งใดไว้บ้าง
    เมื่อไม่รู้ก็ทำผิดทำถูก มั่วๆปะปนกันไปเรื่อยเปื่อยตามแต่กิเลสตัณหาจะชี้นำ
    ไม่มีหลักเกณฑ์ขอบเขตอะไรที่จะควบคุมความประพฤติ การบวชแบบนี้แทนที่จะได้บุญได้กุศล
    ก็กลับได้แต่บาปอกุศลไป เพราะความเป็นพระภิกษุถึงแม้จะไม่รู้ว่าสิ่งนี้ผิดพระวินัยเพราะไม่ได้ศึกษา
    แต่เมื่อทำสิงผิดนั้นลงไปด้วยความไม่รู้ นั่นก็คือผิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2012
  3. Ghidsana

    Ghidsana สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3
    ขอขอบคุณสำหรับข้อแนะนำครับใม่ทราบว่าพอจะมีวัดที่แนะนำหรือเปล่าครับแบบปฏิบัติหน่อยจิตจะใดใม่ฟุ้งซ่านช่วงเข้าปริวาสกรรมครับ
     
  4. Jt Odyssey

    Jt Odyssey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +12,591
    วัดใดผมก็ไม่ทราบครับ ท่านต้องเสาะแสวงหาเอาเองแล้วละ แต่จะให้แนวทางไว้ให้ท่านพิจารณาเอง

    การอยู่ปริวาสกรรม เป็นสังฆกรรมของสงฆ์ประเภทหนึ่ง และเป็นสังฆกรรมที่เกี่ยวข้องเฉพาะพระเท่านั้น
    ก็เป็นการอยู่ปริวาสเพื่อแก้ไขความผิดที่ได้ละเมิดและการละเมิดนี้เป็นการละเมิดที่หยาบคายอย่างที่สุด
    เท่าที่การละเมิดอาบัติแล้วจะไม่ทำให้ขาดจากความเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
    เหตุผลก็มีเท่านี้ ไม่มีอย่างอื่น

    และการอยู่ปริวาสกรรมเพื่อทำการแก้ไขอาบัติสังฆาทิเสสของพระนี้
    ก็มีข้อวัตรปฏิบัติที่ยุ่งยากอยู่มาก พระที่จะอยู่ปริวาสก็ต้องแน่ใจชัดว่าตัวเองได้ทำความผิดจริงๆ

    ถ้ายังมีสงสัยว่าผิดจริงหรือไม่ หรือระลึกถึงความผิดไม่ได้ แบบนี้ยังไม่สามารถที่จะอยู่ปริวาสได้

    ส่วนการจัดอยู่ปริวาสเป็นประเพณีประจำปี แล้วเชิญชวนทั้งพระและโยมให้เดินทางมาทำบุญกันมากๆ
    มีการติดป้ายประกาศเชิญชวนตามสถานที่ชุมนุมชนเพื่อให้คนเดินทางมามากๆนั้น
    อันนี้เป็นการกระทำที่เรียกว่า อาศัยชื่อปริวาสหากิน อาศัยชื่อปริวาสหาเงิน
    เป็นการจัดเพื่อความสนุกสนานซะมากกว่า การจัดปริวาสแบบนี้ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของพระวินัย

    พระบางองค์ที่มาอยู่ปริวาสที่เขาจัดกันแบบนี้ บางองค์ก็มั่วมาอยู่กับเขาก็มี
    พอเห็นว่ามีคนมาเยอะมีพระมาเยอะก็มากับเขา เผื่อจะได้สตางค์ติดไม้ติดมือกลับไปบ้าง

    พระบางองค์ก็มาอยู่ปริวาสแบบเผื่อๆไว้ก่อน เพราะในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นไม่ทราบว่าตัวเองได้พลั้งเผลอ
    ต้องอาบัติสังฆาทิเสสนี้บ้างหรือเปล่าเช่น สำเร็จความใคร่ด้วยตนเองโดยเจตนาหรือถูกเนื้้อต้องตัวโยม
    ผู้หญิงในขณะที่ตัวเองมีความต้องการทางเพศเป็นต้น และตนเองก็จำไม่ค่อยได้เพราะไม่ได้ระมัดระวัง
    อะไรคิดแต่ว่าเดี๋ยวก็มีงานอยู่ปริวาสกรรม เมื่อถึงเวลาก็ไปอยู่ๆกับเขา แต่การอยู่ปริวาสนั้นจะถูกหรือผิด
    ไม่สำคัญล่ะ ขอให้อยู่ๆไปก่อน พอให้ตัวเองสบายอกสบายใจว่าปีนี้ได้อยู่ปริวาสกรรมกับเขาแล้ว
    เปลื้องอาบัติแล้ว จากนั้นก็ไปดำรงชีวิตตามปกติมั่วๆของตนเองนั้นอีก
    พอถึงหน้างานปริวาสใหม่ก็มาอยู่ปริวาสกับเขาอีก

    พระบางองค์ก็เดินสายหาอยู่ปริวาสหลายที่
    มาอยู่ปริวาสวัดนี้แล้วก็ไปอยู่ปริวาสวัดโน้นอีกแล้วก็วัดโน้นอีก.....
    ตามตารางวันที่คณะพระผู้จัดปริวาสเขาจัดกันไว้ในหน้าเทศกาลงานประเพณีปริวาสกรรม (จอมปลอม)

    พระบางองค์ก็ ฯลฯ

    เพราะฉะนั้น ใครไปเจอโฆษณางานประเพณีปริวาสกรรมแบบนี้ก็หลีกหนีให้ห่างจะดีที่สุด
    เพราะจะไม่ต้องไปร่วมบาปร่วมเวรกับพวกมารศาสนาหัวโล้นทั้งหลาย

    จากพระไตรปิฎกเล่ม 34 หน้า 87

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย …บุคคลที่ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร ?

    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันลามก (มีการกระทำ) ไม่สะอาด
    มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิด ไม่เป็นสมณะ แต่ปฏิญญา (รับรองตัวเอง)
    ว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เป็นคนเน่าใน เปียกชื้น
    รกเรื้อ (ด้วยกิเลสโทษ) บุคคลเช่นนี้ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
    นั่นเพราะเหตุอะไร ?

    เพราะถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า
    เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม งูที่จมคูถ (ขี้) ย่อมไม่กัดก็จริงอยู่
    ถึงกระนั้น มันก็ทำผู้จับให้เปื้อน ฉันใดก็ดี
    ถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า
    เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม ฉันนั้นเหมือนกัน
    เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนั้น จึงควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้...

    *** อีกอย่างหนึ่งการห้ามคบหาสมาคมกับผู้ทุศีลนั้นก็เพราะเมื่อคบหาสมาคมกันแล้ว
    ย่อมจะเป็นการหักรานประโยชน์เกื้อกูลของตนเองทั้งในโลกนี้และในโลกหน้าด้วย


    เพิ่มเติมอีกนิดว่า การอยู่ปริวาสของพระภิกษุนี้ก็คือ วิธีการทำโทษหรือการลงโทษ
    ต่อภิกษุผู้ล่วงละเมิดพระวินัยให้มีความเข็ดหลาบไม่กล้ากระทำความผิดเช่นนี้อีกนั่นเอง


    ผมขออนุโมทนาด้วยครับ ที่ท่านคิดได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2012
  5. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    องค์แห่งอาบัติ.
    1.เจตนาจะให้เคลื่อน
    2.พยายาม
    3.อสุจิเคลื่อน
    พร้อมด้วยองค์ 3 ดังนี้ จึงเป็นสังฆาทิเสส

    อสุจิเคลื่อน--เคลื่อนจากหลอดเก็บอสุจิภายในร่างกายเรา แล้วไหลลงสู่ท่อปัสสาวะ แมลงวันน้อย ๆ ตัวหนึ่งพึงดื่มน้ำอสุจิมีประมาณเท่าใดได้ เมื่ออสุจิมีประมาณเท่านั้นมาตรว่าเคลื่อนจากหลอดเก็บอสุจิ ไหลลงสู่ท่อปัสสาวะ
    จะออกข้างนอกก็ตาม ไม่ออกก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส.
    ขอให้ทุกท่านจงเจริญในธรรม...
     
  6. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    วิธีการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสข้อนี้ ต้องบวชใหม่ครับ แล้วต้องศึกษาวินัยกรรมเกี่ยวกับการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสให้ดีด้วยน่ะครับ เพราะว่าวินัยกรรมค่อนข้างเยอะมีหลายข้อเลยทีเดียว คุณก็อยู่ตามที่ปกปิดมา คือนับวันทำวันที่ 1 แล้วคุณอยู่ต่ออีกกี่วันคุณถึงสึก เช่นอยู่มาอีก 7 วัน+วันทำเป็น 8 ก็อยู่ปริวาส 8 วัน ประพฤติมานัต อีก 6 ราตรี มันก็ยังมีรายละเอียดอีกเยอะน่ะครับ คร่าวๆแค่นี้ก่อน แต่บอกตรงๆการอยู่ปริวาสสมัยนี้ไม่ค่อยตรงกับข้อบัญญัติเท่าไร มันจึงทำให้หลายๆคนไม่พ้นจากอาบัติสังฆาทิเสสนี้ ขอฝากท่านทั้งหลายที่ยังไม่ได้บวชแล้วคิดว่าจะบวช จะบวชด้วยใจคือหวังพ้นทุกข์ หรือว่าบวชตามประเพณี ก็ควรที่จะศึกษาพระธรรมวินัยให้ถ่องแท้ก่อนน่ะครับ โดยเฉพาะ อาบัติปาราชิก กับ สังฆาทิเสส เพราะ 2 อย่างนี้ปลงอาบัติไม่ได้!!!
     
  7. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ทรงบัญญัติสิกขาบท
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
    เหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่
    ภิกษุทั้งหลาย
    อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์เพื่อความ
    สำราญแห่งสงฆ์
    เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยากเพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักเพื่อ
    ป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน
    เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต เพื่อความ
    เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
    เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว เพื่อความ
    ตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
    เพื่อถือตามพระวินัย ๑.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
    หน้าที่ ๔๔๔/๗๑๗


    (วินัยใช้กับพระเท่านั้น สึกแล้วก็จบ)ลองส่งคำถาม ถาม พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ดู ท่านเก่งวินัยมาก

    พุทธวจนสถาบัน : วัดนาป่าพง
     
  8. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    *** ตามนี้เลยครับ สึกแล้วก็จบกันครับ ไม่ต้องไปกังวล ไม่ต้องไปบวชใหม่
    เพราะพระวินัยนี้ ใช้กับภิกษุเท่านั้น แต่ถ้ายังเป็นภิกษุอยู่ ต้องอยู่กรรมครับ

    ***ถ้าได้ศึกษา พุทธวจน เราจะทราบในสิ่งที่ไม่ทราบ ดังนี้

    ***คำถามนี้เคยมีคนถามไปแล้วครับ....
     
  9. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    คุณ จขกท. อาจจะสงสัยว่ากรรมนี้ยังมีอยู่เหรอไม่ ขอตอบเลยน่ะครับว่ายังมีอยู่แน่นอน แต่รอยกรรมหรือวิบากกรรมตรงนี้มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มันแล้วแต่จิตสุดท้ายของคุณว่าคุณจะคิดดีหรือร้ายอย่างไร จะตกไปอยู่ในสถานที่แห่งใด ถ้าคุณคิดดี+กรรมทำดีตอนเป็นฆราวาสหนุนนำมากก็ไปสู่สุคติ และก็ไม่รู้ว่ากรรมตรงนี้จะได้รับผลเช่นไรบ้างหากจิตตอนท้ายคุณนึกถึงบาปกรรมที่ผิดข้อสังฆาทิเสสนี้+กรรมทำไม่ดีตอนเป็นฆราวาส ก็ไม่รู้ว่าจะตกไปอบายภูมิที่ใด รับกรรมนานแค่ไหน สำหรับในชาตินี้ก็ไม่รู้ว่าจะมีรอยกรรมเช่นไรเกิดขึ้นกับตัวคุณบ้าง รวมถึง มรรค ผล นิพพาน สำหรับชาตินี้ พระวินัยใช้กับพระ สึกมาก็จบ ถูกต้องครับไม่ผิด แต่ต้องแยกพระวินัย กับ บาปกรรม น่ะครับ มันคนล่ะส่วนกัน พระวินัยจบ แต่ บาปกรรมไม่จบ บาปกรรมไม่ได้แยกว่าคุณเป็นฆราวาสหรือสมณะเพศ น่ะ พระวินัยจบตอนสึกออกมา นั่นคือ ระยะเวลาการปกปิดอาบัติจะเป็นอันหยุดนับทันที เมื่อเป็นฆราวาสแล้วจะไม่มีการนับเพิ่มอีก เพราะคุณกลายเป็นฆราวาสถือศีล 5 บาปกรรมตัวนี้ไม่เพิ่มอีกมีแต่รอเวลาให้ผล แต่ถามว่าคุณได้ทำวินัยกรรมออกจากอาบัติตัวยัง? คำตอบคุณก็รู้อยู่แน่นอนว่ายัง ถามว่าจำเป็นไหมที่จะทำวินัยกรรมออกจากอาบัติตัวนี้ ถ้าคุณ จขกท.มั่นใจตัวเองว่าก่อนจิตสุดท้ายจะมาถึง คุณจะไม่คิดถึงมันอีก ก็ไม่ต้องออกจากอาบัติตัวนี้ นั่นหมายความว่า คุณก็ไม่ต้องมาบวชอีกเลยตลอดชีวิต แต่ถ้ามีโอกาสได้กลับมาบวชอีกรอบ คุณ จขกท. ต้องแจ้งอาบัตินี้แก่พระรูปใดรูปหนึ่งก่อนในวันที่ตัวเองบวชใหม่นั้น ถ้าแจ้งแบบนี้ก็ได้อยู่ปริวาสตามระยะเวลาที่ได้ปกปิดไว้ในคราวก่อนนั้น ดังที่ผมยกตัวอย่างไว้ 8 วัน แต่ถ้าบวชเข้ามาใหม่แล้วก็ยังไม่แจ้งแก่ใครๆในวันที่บวชใหม่นั้น ยังปกปิดไว้อยู่ ระยะเวลาที่จะต้องอยู่ปริวาสก็ต้องนับเพิ่มไปเรื่อยตามวันที่ปกปิดในตอนบวชใหม่นี้ + กับระยะเวลาที่ปกปิดไว้เดิมนั้น เช่นบวชมาได้ 10 วันปกปิดไว้ ก็เท่ากับต้องอยู่ปริวาสเป็น 18 วัน(ยกเว้น อาบัติปาราชิก จะบวชกี่รอบก็ไม่มีความหมาย ปิดประตู มรรค ผล นิพพานในชาตินี้แน่นอน) ถ้าชาตินี้ไม่บวชใหม่อีกเลยก็ไม่ต้องอยู่ปริวาส แม้ชาติต่อๆไปได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วได้บวชในพระพุทธศาสนา ก็ไม่ต้องอยู่ปริวาสใหม่เพราะการอยู่ปริวาสเพื่อแก้ไขอาบัติสังฆาทิเสสนี้ไม่มีผลผูกพันข้ามภพข้ามชาติ นี่เป็นบทความที่ผมนำมาประกอบจากเว็บอื่น ก็คือถ้าตายจากมนุษย์ในชาตินี้ก็จบเหมือนกัน ไม่ต้องแก้ไขอาบัติอีกแล้ว แต่รอยกรรม บาปกรรมจะจบไหม ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งน่ะครับ วิสัชนาเหมือนผมตีหัวคุณ แถมผมไม่ขอโทษสักคำเลย แล้วผมหนีไป ถามว่าคุณโกรธไหม ย่อมโกรธแน่นอน และก็ย่อมเจ็บปวดในแผลที่ผมตีคุณ เมื่อกาลเวลาล่วงไป 1 ปี แผลที่ผมตีคุณได้หายเป็นปกติ ตอนนี้คุณยังจะเจ็บแผลอยู่หรือไม่ คุณก็ย่อมไม่เจ็บแผลนั้นอีกแล้ว และก็ไม่มีอาการกำเริบเช่นนั้นอีก แต่สิ่งที่เหลือคือความผิดของผมที่ตีหัวคุณและก็ภาพความทรงจำขณะที่ผมง้างไม้ตีหัวคุณ ฉันใดฉันนั้น แม้การกระทำจะจบลงแต่ความผิดยังคงอยู่ การออกจากอาบัติสังฆาทิเสสหรือการปลงอาบัติสำหรับอาบัติเล็กน้อย ก็คือการขอโทษ ขออภัย และกล่าววาจาว่าจะสำรวมระวังในครั้งต่อไปดีๆนี่เอง
    **เน้นอีกทีน่ะครับว่า คุณ จขกท.จะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสตัวนี้หรือเปล่า ถ้าไม่ออกก็ไม่ต้องบวชอีก และก็ไม่ต้องไปคิดถึงมันอีกตลอดในชาตินี้เลย(หนีกรรมทางความคิด)จะทำได้หรือไม่ได้แล้วแต่บุญบารมีคุณ แต่ถ้าคิดจะออกจากอาบัติตัวนี้บวชใหม่ต้องแจ้งอาบัตินี้ต่อสงฆ์ทราบด้วยและศึกษาวินัยกรรมต่างๆให้ละเอียดเพราะค่อนข้างเยอะมากจึงจะออกจากอาบัติตัวนี้ได้สำเร็จ.
    พระวินัยใช้กับพระ สึกออกมาก็จบ ถูกต้องแล้วครับ
    แต่บาปกรรมนี่ ใช้ได้ทั้งกับพระ และ ฆราวาส ก็ถูกต้องเหมือนกันครับ
    ขอให้ทุกท่านจงเจริญในธรรม...
     
  10. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    กรรมสูตร
    [๒๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า ความดับแห่งกรรม และ
    ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
    ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน จักษุอันบัณฑิต พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัย
    ทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ... ใจอัน
    บัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า
    อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
    ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้เราเรียกว่า กรรมเก่า


    [๒๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน กรรมที่บุคคลทำด้วย กาย วาจา
    ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่ ฯ


    [๒๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ
    เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม นี้เราเรียกว่า ความดับแห่งกรรม ฯ


    [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
    อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑
    สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑สัมมาสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรา
    เรียกว่า ปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม ฯ


    [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่งกรรมและปฏิปทาอัน
    เป็นเครื่องให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลายด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล
    อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเรา
    ทำแล้วเพราะอาศัยความอนุเคราะห์ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลาย
    จงพยายาม อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเรา
    เพื่อเธอทั้งหลาย ฯ

    จบสูตรที่ ๑

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
    หน้าที่ ๑๓๖/๔๐๒ ข้อที่ ๒๒๗ - ๒๓๑


    ( มรรค ๘ พูดย่อ ๓ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อ ๒ สมถะ วิปัสนา ย่อ ๑ อานาปานสติ)

    ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้
    บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
    ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    หน้าที่ ๑๕๕/๔๑๓ ข้อที่ ๒๘๗
     
  11. wikonr

    wikonr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    699
    ค่าพลัง:
    +386

    แล้วถ้านอนฝันล่ะครับ
     
  12. llnuhyper

    llnuhyper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    73
    ค่าพลัง:
    +885
    ทุกๆครั้งที่เราทำสิ่งดีๆ อย่าคิดถึงค่าตอบแทนหรือผลพลอยได้ที่จะตามมา
    สนองคืน อย่ายึดติดในคำที่คนเค้าว่า"ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป"
    เพราะการที่คนๆหนึ่งทำชั่วแล้วยังได้ดีอยู่นั้น เป็นเพราะผลของกรรมชั่วยังไม่
    ส่งผลเท่านั้นเอง ในทางตรงกันข้าม คนที่ทำดีแล้วยังไม่ได้ดี ก็เพราะกรรมดี
    นั้นยังไม่ส่งผล เหมือนเราปลูกพืชเพื่อรอผลของมัน ต้องใช้เวลาดูแลให้ดีและ
    เอาใจใส่ตลอดเวลา หากดูแลไม่ดี พืชนั้นก็เหี่ยวไปตายไป ความดีก็เช่นกันก็
    ต้องการดูแลเอาใจใส่ทำให้เสมอต้นเสมอปลาย หลายๆครั้งที่เราทำดีแต่
    ไม่มีคนรู้ แท้จริงแล้วมีสิ่งที่คอยมองการกระทำของเราอยู่ตลอดเวลา

    หมั่นทำดีเข้าไว้ให้สม่ำเสมอโดยไม่คาดหวัง
    แล้วผลแห่งความดีงามจะตอบแทนเรามากเกินกว่าที่เราจะคาดคิด
    มีพระพุทธเจ้าในจิตให้มากๆครับ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    ฝันไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสครับ ถ้าฝันวินิจฉัยง่ายหน่อย เป็นเรื่องปกติของปุถุชน จิตอยู่นอกเหนือการควบคุม ถ้าพระบวชใหม่ไม่ฝันเปียกนี่สิครับไม่ปกติ.
    ขอให้ทุกท่านจงเจริญในธรรม...
     
  14. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878

    ไม่เป็นสังฆาทิเสส ครับ
    เป็นอาบัติ ถุลลัจจัย ครับ
    1.มีเจตนาให้เคลื่อน
    2.แต่อสุจิไม่เคลื่อน

    สามารถปลงอาบัติกับเพื่อนพระได้ครับ

    คำว่าเคลื่อน คือ น้ำอสุจิไหลออกมาครับ หรือ พุ่งออกมา (สีขาวขุ่นๆ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2012
  15. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    รบกวนท่าน ศึกษาคำว่าเคลื่อนจากฐานดีๆน่ะครับ ฐานอสุจิ คือตรงไหน?
    มีการถกเถียงกันพอสมควรว่า ตรงไหนกำหนดเป็นฐาน ศัพท์ในพระไตรปิฎกเรียกว่าอะไร ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่าอะไร รบกวนนิดนึงน่ะครับ
    ขอให้ทุกท่านจงเจริญในธรรม...
     
  16. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    สงสัยคุณจะไม่เคยช่วยตัวเองกระมังครับ เลยไม่รู้ว่าการเคลื่อนที่ของอสุจิเป็นยังไง ว่างๆก็เปิดคลิปXXXดูบ้างนะครับ จะได้เห็นของจริง

    ผมเองไม่ใช่พวกนักอ่านตำราแล้วเอาจินตนาการมาตอบนะครับ ผมตอบจากประสบการณ์จริงที่ได้เจอมาครับ อาจหยาบไปหน่อย ต้องขออภัยครับ
    นี่ถ้าไม่ใช่เว็บธรรมะ ผมจะเอาคลิปมาให้ศึกษาซะด้วยซ้ำ ว่า Cum shot น่ะทำไง
     
  17. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    ท่านครับ ที่กระผมบอกให้ท่านไปค้นดูด้วยตนเอง คือ ท่านจะได้รู้จริงๆน่ะครับว่าในพระไตรปิฎกเขากำหนดฐานไว้ คือ บริเวณใด แต่ความเข้าใจของท่าน คงคิดว่าบริเวณลำอวัยวะเพศคือฐาน เมื่อกำหนดความรู้ฐานผิด ย่อมจะแปรบทบัญญัติผิดไปด้วย เมื่อท่านศึกษาแล้วค่อยมาแย้งผมใหม่ก็ได้ครับว่าผมเข้าใจผิดหรือท่านเข้าใจผิด แต่ขอให้ท่านไปศึกษาดีๆก่อนน่ะครับ
    ขอให้ทุกท่านจงเจริญในธรรม...
     
  18. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    พระบัญญัติ
    ๕. ๑. ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เป็นสังฆาทิเสส
    ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยอาการฉะนี้.

    เรื่องพระเสยยสกะ จบ.
    เรื่องภิกษุหลายรูป
    [๓๐๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายฉันโภชนะอันประณีตแล้ว จำวัดปล่อยสติไม่มี
    สัมปชัญญะ เมื่อเธอจำวัดปล่อยสติไม่มีสัมปชัญญะ อสุจิเคลื่อนโดยฝัน เธอมีความรังเกียจว่า
    พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เป็นสังฆาทิเสส
    แต่อสุจิของพวกเราเคลื่อนโดยฝัน ทั้งเจตนาในความฝันนี้จะว่ามีก็ได้ ชรอยพวกเรา ต้องอาบัติ
    สังฆาทิเสสแล้วกระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เจตนานี้มีอยู่ แต่นั่นเป็นอัพโพหาริก
    ทรงบัญญัติพระอนุบัญญัติ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะ
    เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติ
    สิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ ...
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
    พระอนุบัญญัติ
    ๕. ๑. ก. ปล่อยสุกกะเป็นไปด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝันเป็นสังฆาทิเสส.
    เรื่องภิกษุหลายรูป จบ.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑
    พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
    หน้าที่ ๔๔๐/๗๕๔ ข้อที่ ๓๐๒

    สิกขาบทวิภังค์
    [๓๐๓] บทว่า เป็นไปด้วยความจงใจ ความว่า รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ตั้งใจละเมิด
    บทว่า สุกกะ อธิบายว่า สุกกะมี ๑๐ อย่าง คือ สุกกะสีเขียว ๑ สุกกะสีเหลือง ๑
    สุกกะสีแดง ๑ สุกกะสีขาว ๑ สุกกะสีเหมือนเปรียง ๑ สุกกะสีเหมือนน้ำท่า ๑ สุกกะสีเหมือน
    น้ำมัน ๑ สุกกะสีเหมือนนมสด ๑ สุกกะสีเหมือนนมส้ม ๑ สุกกะสีเหมือนเนยใส ๑
    การกระทำอสุจิให้เคลื่อนจากฐานตรัสเรียกว่า การปล่อย ชื่อว่าปล่อย
    บทว่า เว้นไว้แต่ฝัน คือ ยกเว้นความฝัน
    บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้นได้ ชักเข้าหาอาบัติ
    เดิมได้ ให้มานัตได้ เรียกเข้าหมู่ได้ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น
    จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือเป็นชื่อของหมวดอาบัติ
    นั้นแล แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
     

แชร์หน้านี้

Loading...