หลวงพ่อสอนพระกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆว่าด้วยเรื่องการเริ่มเจริญสมาธิ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 20 สิงหาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 border=0><TBODY><TR><TD width=700>
    [​IMG]
    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ
    ตอน เริ่มเจริญสมาธิ
    </TD><TD width=40 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD width=700> ต่อไปนี้ก็เป็นการอธิบายวิธีปฏิบัติแบบลัดและง่ายๆ แต่ถ้าทำได้ก็มีหวังหนีบาปได้แน่นอนไม่ต้องลงอบายภูมิต่อไปอีก และไปนิพพานสะดวก ไม่มีอะไรน่าหนักใจ ท่านทั้งหลายจะได้ทราบดังนี้
    เริ่มเจริญสมาธิ
    อันดับแรก ขอให้ท่าที่จะเจริญสมาธิแต่งกายให้เรียบร้อยตามที่จะพึงมี ใช้เครื่องแต่งกายธรรมดาที่มีอยู่แล้ว แต่จัดให้เรียบร้อยเท่านั้นเอง
    เครื่องบูชา
    เครื่องบูชาพระ ใช้ดอกไม้ ธูป เทียน ตามที่จะพึงหาได้ ถ้าบังเอิญอย่างใดอย่างหนึ่งหาไม่ได้ ก็ไม่ต้องวิตกกังวล ให้บูชาตามที่ของมีอยู่
    แต่ถ้าในสถานที่บางแห่ง หรือท่านที่อยู่เอง จะหาอะไรก็ไม่ได้แม้แต่ธูปก็บังเอิญไม่มี ก็ไม่เป็นไร ใช้มือกับใจบูชาด้วยความเคารพจริงก็ใช้ได้

    บูชาพระ
    เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว ทำใจเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ดังนี้ (การกล่าวนี้ ถ้าออกเสียงเบาๆ พอได้ยินจะดีมาก แต่ถ้าไม่มีแรง ก็ใช้นึกในใจก็ใช้ได้ มีผลเสมอกัน)
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    กล่าวอย่างนี้สามหน แล้วแปลเป็นไทยดังนี้ (ควรแปลเพื่อความมั่นใจและรู้เรื่องที่เรากล่าว)
    ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมนมัสการสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์พระองค์นั้น ตลอดชีวิต
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระธรรม คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ขอถึงพระอริยสงฆ์ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต


    ต่อนี้ไปเป็นถ้อยคำที่กำหนดไว้ว่าจะรักษาให้มั่นคง ไม่ยอมให้ขาดตกบกพร่อง ไม่ต้องว่าภาษาบาลีเพราะจะทำให้ฟุ้งเฟ้อ เอาเพียงคิดในใจกำหนดไว้ว่า เราจะรักษาตลอดวันนี้และคืนนี้ไม่ให้บกพร่องและทุกๆ วันจนกว่าจะตาย

    ๑. เราจะไม่ฆ่าและทรมานคนและสัตว์ให้ตาย หรือให้ได้รับความเดือดร้อนตลอดชีวิต
    ๒. เราจะไม่ลักขโมย คดโกง หลอกลวง เป็นต้น ในทรัพย์สินของคนอื่นเอามาเป็นของเรา ตลอดชีวิต
    ๓. เราจะไม่ทำชู้ ลูก เมีย สามี ภรรยา และคนในปกครองของผู้อื่น โดยที่ผู้ปกครองและเจ้าของไม่อนุญาต ตลอดชีวิต
    ๔. เราจะไม่พูดปด คือวาจาไม่ตรงความจริง ไม่พูดวาจาหยาบให้เป็นที่สะเทือนใจของผู้รับฟัง ไม่ยุหรือนินทาคนอื่นให้เป็นเครื่องบาดหมางหรือแตกร้าวกัน ไม่พูดวาจาเหลวไหล ไร้ประโยชน์ ตลอดชีวิต
    ๕. เราจะไม่ดื่มสุราและเมรัย ตลอดชีวิต
    ๖. เราจะไม่คิดอยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น เอามาเป็นของตนโดยที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยความเต็มใจ ตลอดชีวิต
    ๗. เราจะไม่จองเวรจองกรรม จองล้างจองผลาญ คิดพยาบาทเพื่อพิฆาตแก้แค้นในบุคคลที่ทำให้ไม่พอใจ แต่ถ้าไม่หนักเกินไปเราจะอภัยให้ผู้นั้น ตลอดชีวิต
    ๘. เราจะไม่ฝ่าฝืนพระธรรมวินัย มีศีล เป็นต้น ตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ จะปฏิบัติตามคำสั่งสอนนั้นด้วยความเคารพ ตลอดชีวิต

    ทั้งหมดนี้ จะกล่าวโดยออกเสียงเบาๆ พอได้ยิน หรือจะคิดในใจก็ได้ทั้งสองอย่าง เมื่อนมัสการและปฏิญาณตนตามนี้แล้ว ท่านจะสวดมนต์ต่อตามที่จะพึงสวดได้ หรือจะไม่สวดมนต์ต่อ จะสมาทานพระกรรมฐานเลยก็ได้ ตามใจท่าน มีผลเสมอกัน ถ้าจะสมาทาน ให้สมาทานดังนี้
    ให้ท่านตั้งใจกล่าว นะโมฯ ๓ จบ แล้วกล่าวดังนี้
    อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจัจชามิ
    แปลว่า
    ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ขอมอบกายถวายชีวิตแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เมื่อสมาทานแล้ว กราบ ๓ ครั้งด้วยความเคารพ ต่อไปก็เริ่มทำสมาธิ การนั่ง ท่านจะนั่งขัดสมาธิ หรือพับเพียบก็ได้ ถ้าเป็นที่บ้านของท่านไม่มีคนอื่นอยู่ด้วย จะนั่งเก้าอี้ห้อยขาลง หรือนั่งท่าไหนก็ได้ตามแต่ร่างกายจะสบาย จะยืน จะเดิน นอนก็ได้ไม่ห้าม ทำเท่าที่ร่างกายสบาย อย่าฝืนให้ร่างกายต้องถูกทรมาน จิตจะไม่เป็นสมาธิ
    บทภาวนา
    คำภาวนานี้ ในที่นี้ขอแนะนำให้ภาวนาคำว่า "พุทโธ" เพราะสั้นและง่าย มีอานิสงส์มาก หายใจเข้านึกตามว่า พุท หายใจออกนึกตามว่า โธ ใจนึกถึงพระพุทธรูปที่วัดไหน หรือพระที่บ้านก็ได้ หรือว่าชอบใจพระสงฆ์องค์ใด นึกถึงพระสงฆ์นั้นก็ได้ ตามแต่ใจจะต้องการและจำภาพง่าย ถ้า พระพุทธรูปอยู่ใกล้ ให้ลืมตาดูพระพุทธรูป พอจำได้ดีแล้ว หลับตานึกถึงพระพุทธรูป ถ้าภาพนั้นเลือนไปจากใจ ให้ลืมตามมาดูใหม่ แล้วหลับตานึกถึงภาพพระ ทำอย่างนี้สลับกันไป ในไม่ช้าจิตจะทรงสมาธิได้ดี ไม่ต้องมองภาพพระ จิตสามารถนึกถึงภาพพระได้ตลอดเวลาที่ต้องการ อย่างนี้ท่านเรียกว่า จิตเป็นฌาน อารมณ์เข้าถึงขั้นที่ต้องการ
    ความต้องการของการเจริญพระกรรมฐาน
    การเจริญพระกรรมฐาน ไม่ใช่ว่าจะต้องการทำใจให้สบาย เฉพาะเวลานั่งสมาธิเท่านั้น การนั่งสมาธิได้ดีขนาดไหนก็ตาม แต่เมื่อเลิกนั่งแล้ว ใจไม่ทรงการปฏิบัติในกฎ ๘ ประการ ตามที่กล่าวมาแล้วได้ คือยังเผลอลืมละเมิดเป็นบางวาระ ถือว่ายังเอาดีจริงๆ ไม่ได้ เพราะยังเป็นทางเดินลงนรก แต่ละข้อถ้าละเมิด มีโอกาสลงนรกได้ จึงจำเป็นต้องเอาสมาธิใช้ในที่นั้นด้วย คำว่าสมาธิ แปลว่าตั้งใจมั่น เวลานั่งฝึก เป็นการฝึกอารมณ์ให้ทรงตัวเพื่อเอามาใช้ตามนี้ เมื่อเลิกนั่งแล้วมีใจเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริสงฆ์เป็นปกติ เหมือนท่านสุปปพุทธกุฎฐิ หรือ เหมือนเปสการีธิดา ใช้ได้ และใจต้องระวังไม่ให้สิกขาบท ๘ ประการ ขาดตกบกพร่อง ทรงอยู่ด้วยดีตลอดเวลา เรียกว่ามีสมาธิครบถ้วน ถ้าปฏิบัติได้ครบถ้วนตามนี้ และทรงได้ไม่ขาดตลอดกาล บาปที่ทำแล้วทั้งหมด ไม่ให้ผลต่อไป เลิกไปอบายภูมิ จนกว่าจะเข้านิพพาน
    ความต้องการของใจ
    ความต้องการของใจ คือความปรารถนาให้มีใจต้องการที่ไปจุดเดียว คือนิพพาน เมื่อใจต้องการนิพพานจริงจัง จิตจะเริ่มสงบไม่ทุรนทุรายมาก จิตจะค่อยๆ บรรเทาความรักในระหว่างเพศ ความโลภ ความโกรธ ความหลง จะค่อยๆ สลายตัวไปจนถึงไม่เหลืออะไรไว้เลย จะมีแต่อารมณ์สบายใจ เป็นสุข วางเฉย ต่ออารมณ์ที่ทำให้ขัดใจ และเฉยไม่สนใจต่อสิ่งที่ทำให้ชอบใจ มีอารมณ์ปกติที่เรียกว่า "สังขารุเปกขาญาณ" เมื่อมาถึงตอนนี้ มีหวังไปนิพพานแน่นอน
    ก่อนทำอะไรทั้งหมด ให้นึกถึงความตายไว้ก่อน
    การนึกถึงความตายไว้เป็นปกติ เป็นเปสการี ผลที่จะได้รับก็คือ กิเลสทั้งหลายสลายตัวเร็ว ความต้องการผลในการเจริญกรรมฐานจะมีรวดเร็วมาก ฉะนั้น ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าลืมคิดว่าเราจะตายไว้ และตั้งใจทำความดีตามพระสูตร ท่านจะมีผลตามนั้นแน่นอน

    (จบเท่านี้)
    <CENTER><HR width="50%" color=#800000>
    [​IMG]
    </CENTER></TD></TR><TR><TD width=40>ที่มา http://www.banfun.com/buddha/polish02.html</TD><TD width=700>
    คัดจากหนังสือ "วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ" หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...