อาการแบบนี้คืออะไรครับ รบกวนสอบอารมณ์ให้ด้วยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย brian_bell, 7 สิงหาคม 2012.

  1. brian_bell

    brian_bell Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +48
    กระผมเองฝึกสมาธิแบบอาณาปานสติมาประมาณเกือบปี จึงได้ลองฝึกกสิณไฟตามจริตที่ตัวเองชอบ ก็ฝึกจนได้อุคหนิมิตลำดับแรก จากนั้นก้ไม่แน่ใจว่าเป็นปฏิภาคนิมิตหรือไม่ แต่ก้ไม่ได้ยึดเอารูปกสิณมาเพ่งจนเกินไป แค่กำหนดรู้เท่านั้น ดวงไฟเหล่านั้นก็หายไปเปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่างไปต่างๆนา ผมเองก้ไม่ได้ใส่ใจแค่ตามรู้ตามดูไป จนมาถึงอารมณ์แน่วแน่ขั้นไหนเราก็ไม่เคยสอบอารมณ์ จึงเกิดอาการเบื่อหน่ายในกายที่แสนทรมานนี้ พยายามพิจารณาสังขารพร้อมกับคำบริกรรม อนุโลม ปฏิโลมไปเรื่อยๆ และบริกรรมอิทธิบาทสี่ เพื่อขอกำลัง ก็ต้องเรียนตามตรงว่าไม่ได้มีครูอาจารย์ แต่อาศัยเอาหลักต่างๆมาผสมรวมกัน ก้เกิดอาการมือไม้มันหนักแน่น ชา และแข็งยังกับเหล็ก ขยับเขยื้อนก้ไม่ได้ รู้เพียงแค่ตอนนั้นจิตดิ่งมาก ในหัวอื้ออึงไปหมดเหมือนหลุดไปในอีกที่ที่นึงที่ว่างเปล่าเหลือเกิน หลุดหมุนติ้วๆๆไปเลย มาหยุดตรงที่ที่นั้นซึ่งเราเองก้ไม่ทราบได้ เราบริกรรมอยู่กับลมหายใจแท้ๆแต่เรากลับหาลมหายใจเราไม่เจอ มากำหนดกับคำบริกรรมก็ได้เพียงบางๆ ได้ยินเสียงภายนอกแต่เบามาก จนเหมือนเราอยู่ที่ที่ไกลมากจากเสียงนั้น และก็ไม่ได้ไปใส่ใจกับเสียงด้วยรู้แค่ว่าเสียง แม้แต่กายที่เจ็บชามันก็หายไปหมด ใจนึงคิดว่านี่คือสมาธิขั้นสูงขึ้นกระมัง มันมีความรู้สึกแบบนี้เหรอ ทำไมนึกว่ามันจะเข้ามาง่ายๆ แต่มันก็ฝืนกายไม่น้อย หรือว่าเราหลุดมาอยู่ที่อื่นที่ไม่ใช่องค์สมาธิ แต่ตอนนั้นไม่อยากสงสัยอะไรมาก คิดแค่ว่านี่คือการเรียนรู้ แล้วหลังจากนั้นก้ไม่มีอะไรเกิดขึ้นอีก เราอยู่ในอารมณ์นั้นสักพักเพื่อนให้คุ้นเคย เผื่อเกิดขึ้นอีกครั้งจะได้ไม่ตกใจ แล้วก้ขอบารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอให้เราลงไปที่ที่เดิมที่นั่งเมื่อกี้ ก็ค่อยๆลงลงๆ ลมหายใจเริ่มมา เริ่มรู้สึกว่ามีกายแล้วเพราะปวดขาเริ่มมาแล้ว จากนั้นก้กำหนดออกจากสมาธิ ผมนั่งตั้งสติอยู่นานว่าเมื้อกี้คืออะไร ไม่มีในตำราเลยนี่นา อาการแบบนี้ แล้วก็เลยลองอีกครั้งแต่ก็ไม่ได้ไปถึงนั้นแค่เกือบๆ คงจะพยายามอยากเกินไป จึงไม่เป็นเช่นเคย อาการแบบนี้เขาเรียกว่าเราเป็นอะไร จิหลุด จิตหลอน ร่างกายผิดปรกติ หรือในทางธรรมเรียกว่าอะไรมีใครชี้แนะได้ไหมครับ
     
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เข้าฌานครับ แต่มีสติรับรู้ครบ จึงรู้สภาพนั้นได้
    สภาพนั้นคือสภาพที่จิตไม่ได้สนใจแบกภาระของขันธ์แล้ว มันเบาสบาย อยู่กับปัจจุบัน รับรู้เฉพาะสิ่งที่มีตรงหน้า คือ อารมณ์ของความว่างไปเรื่อยๆ
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ขณิกสมาธิ ครับ


    แค่ กาย กับ จิต แยกออกจากกัน

    หาลมหายใจไม่เจอ เพราะ อยู่ที่ จิต แล้วครับ มันตัด กาย ออกไป

    แต่ จิต ตั้งมั่นอยู่ได้ไม่นาน ก็ หลุดออกมา กลับมาที่ กาย ตามปรกติ ครับ



    ไม่ได้จิตหลุด จิตหลอน หรือ ร่างกายผิดปรกติ อะไร


    แนะนำว่า ปฏิบัติ ไปเรื่อยๆ ครับ


    อะไร ที่มัน เกิดไปแล้ว เป็น อดีต ไปแล้วครับ ปล่อยมันไป อย่าไปยึดติด

    เราอยู่กับ ปัจจุบัน ทำปัจจุบัน ครับ อย่ามัวแต่ไปนึกถึง อดีตที่เคยทำได้ ที่ได้เคย มันผ่านไปแล้ว เป็น อดีตไปแล้วครับ

    ถ้า ฟุ้งซ่าน คิดถึงแต่เรื่องใน อดีต ที่เคยได้มา ผ่านมา

    มันก็เลย ปฏิบัติ ให้ดี ต่อไปไม่ขึ้นครับ


    มีสติ อยู่กับ ปัจจุบัน อย่าฟุ้งซ่าน นึกเรื่องในอดีต ที่เคยได้ครับ
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เป็นทางผ่านของการฝึกสมาธิครับ

    ขอให้มั่นคงแน่วแน่ในกรรมฐานที่เราตั้ง

    จะรู้ลมก็รู้ให้มั่นคง

    จะตั้งกสิณ ก็เลือกมาอย่างใดอย่างนึง
    นิมิตกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต เราจะเห็นเหมือนลืมตาเห็นเหมือนมองที่เปลือกตา สามารถ ย่อ ขยาย บังคับได้ ถึงจะเรียกว่าเป็นปฏิภาคนิมิต

    ส่วนจะหันมาพิจารณากายนั้น ก็ให้เริ่มได้ที่ พอรู้ลมเข้าออกจนจิตสงบ
    ก็ยกเอา กายในอาการ 32 มาอย่างใดอย่างหนึ่ง มาตั้งนิมิต
    น้อมนึก กลับไปกลับมาในการเริ่มขึ้นจนเสื่อมลง

    สำหรับอาการเบื่อหน่าย มันเป็นความขี้เกียจเฉยๆ
    ต้องฝึกเอาชนะความเบื่อหน่ายแบบนี้ ด้วยการมั่นคงในกรรมฐานต่อไป

    อาการมือไม้แข็งเหมือนๆ ล๊อกติดกัน ก็ไม่ได้มีอะไรมาก ให้สนใจที่กรรมฐานที่เราตั้งเป็นพอ โชคดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 สิงหาคม 2012
  5. Miss Brown

    Miss Brown เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,779
    ค่าพลัง:
    +19,376
    อาการที่คุณอธิบายมาเราคิดว่าคืออาการของฌานสี่ในอาณาปานุสสติกรรมฐานค่ะ

    ส่วนอาการตัวแข็งนั้นเป็นอาการของฌามสาม
    เมื่อจิตดิ่งลึกลง ๆๆๆ ตัวจะแข็งเหมือนถูกมัดติดเอาไว้
    พอได้ที่ จิตก็ตกลงสู่ฌานสี่ค่ะ อาการของฌานสี่คือไม่มีลมหายใจ
    ความรู้สึกตอนที่เข้าฌานสี่ได้ก็คือ รู้สึกว่าตนเองไม่มีลมหายใจ
    รู้สึกว่าตนอยู่ในที่โล่งกว้าง ไม่ปรากฎอาการรับรู้ทางกาย
    แต่ละคนก็อาจจะปรากฎอาการแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดปลีกย่อย


    หรือจะลองอ่านคำสอนเรื่องฌานของหลวงพ่อฤาษีฯ ดูนะคะ
    แล้วลองสอบทานกับอารมณ์ที่ท่านว่า คุณจะเข้าใจขึ้น
    ขอโมทนาบุญปฏิบัติธรรมด้วยค่ะ


    เราขออนุญาตแนะนำเล็กน้อยนะคะ
    ตอนนี้หากคุณได้อาณาฯ ถึงฌานสี่แล้ว ไม่ควรเปลี่ยนกองกรรมฐานบ่อย ๆ
    ควรฝึกอาณาฯ ให้คล่องค่ะ ฝึกเข้าฝึกออกจนถึงขั้นนึกเมื่อไหร่ก็เข้าได้ทันที
    เมื่อถึงตอนนั้นก็จะเปลี่ยนมาฝึกกสิณก็ไม่สายนะคะ
     
  6. tuato

    tuato เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +482
    เรียนท่านผู้รู้ มีอยู่วันหนึ่งนึกอยากลองนั่งสมาธิดู หลังจากอาบน้ำ กราบพระแล้วก็ลองนั่งกำหนดลมหายใจ เกิดความรู้สึกคล้ายๆกัน รู้สึกหายใจอึดอัด ต่อไปก็รู้สึกเหมือนปวดเมื่อยขยับตัวไม่ได้จนกระทั่งรู้สึกว่าลมหายใจของคนเองเบามากคล้ายกับไม่ได้หายใจ หลังจากนั่งต่อไปสักครู่ เกิดความรู้สึกเหมือนเราไม่มีตัวตนอยู่ เลยสะดุ้งตกใจ จากนั้นยังไม่กล้าปฎิบัติต่อเพราะไม่เข้าใจว่าทำไม และควรจะปฎิบัติอย่างไรต่อ และการนั่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกของตัวเอง อยากลองนั่งต่อแต่ยังไม่กล้าค่ะ
     
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ดีแล้วครับ ทำต่อไปเรื่อยๆ ครับ ถูกทางแล้วครับ
    พอคล่องตรงนี้แล้ว ศึกษาเรื่องวิปัสสนาต่อด้วยก็ดีครับ
     
  8. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,566
    ค่าพลัง:
    +9,966
    ของคุณ ผู้พยามรู้

    แค่กำหนดรู้เท่านั้น ดวงไฟเหล่านั้นก็หายไปเปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่างไปต่างๆนา

    +++ จิตในขณะนั้น ตก ภวังค์จรณะ

    เกิดอาการมือไม้มันหนักแน่น ชา และแข็งยังกับเหล็ก ขยับเขยื้อนก้ไม่ได้

    +++ เปรียบประดุจ พระปูน อยู่บนฐานปูน ต่างก็เป็นปูนเนื้อเดียวกัน หากคำเปรียบเทียบของผม ตรงกับอาการของคุณในขณะนั้น แสดงว่าคุณเข้าสู่รอยต่อหลักระหว่าง สมถะ กับ วิปัสนา ในขณะนั้น

    เราบริกรรมอยู่กับลมหายใจแท้ๆแต่เรากลับหาลมหายใจเราไม่เจอ

    +++ ตกเข้าสู่สมถะ ในระดับอัปปนาสมาธิ (ฌาณ)

    มากำหนดกับคำบริกรรมก็ได้เพียงบางๆ ได้ยินเสียงภายนอกแต่เบามาก จนเหมือนเราอยู่ที่ที่ไกลมากจากเสียงนั้น และก็ไม่ได้ไปใส่ใจกับเสียงด้วยรู้แค่ว่าเสียง แม้แต่กายที่เจ็บชามันก็หายไปหมด

    +++ อยู่ในรอยต่อระหว่าง วิตก-วิจารณ์ และ ปิติ

    ใจนึงคิดว่านี่คือสมาธิขั้นสูงขึ้นกระมัง มันมีความรู้สึกแบบนี้เหรอ

    +++ ใช่ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคย และมันก็เป็นแบบนี้แหละ ถูกแล้วในด้าน สมถะสมาธิ

    ทำไมนึกว่ามันจะเข้ามาง่ายๆ แต่มันก็ฝืนกายไม่น้อย

    +++ ไม่มีอะไรง่ายสำหรับผู้ที่เข้ามาโดยบังอิญ และ ไม่มีอะไรยากสำหรับผู้ที่เข้ามาโดยรู้วิธีการกำหนดจิต

    ผมนั่งตั้งสติอยู่นานว่าเมื้อกี้คืออะไร ไม่มีในตำราเลยนี่นา

    +++ มีครับ แต่วิธีการใช้ภาษาแตกต่างกัน เพราะผู้ที่เข้าสู่ตรงนี้แล้ว เวลาออกมาสู่ปกติ มักใช้ภาษาในรูปแบบของตน เพราะเป็นอาการที่ภาษายากจะเข้าถึง แต่เนื้อหาเป็นอันเดียวกันนั่นเอง

    อาการแบบนี้ แล้วก็เลยลองอีกครั้งแต่ก็ไม่ได้ไปถึงนั้นแค่เกือบๆ

    +++ ให้ไปตั้งหลักที่รอยต่อหลักใหม่ครับ หรือใช้การกำหนดให้รู้สึกทั้งตัวก็ได้ แล้วทิ้งไว้อย่างนั้น
    +++ หากสติแข็งแกร่ง ก็จะเข้าสู่วิปัสสนา หากชอบในอารมณ์ ก็จะตกสู่สมถะ แล้วแต่จะเลือกนะครับ

    อาการแบบนี้เขาเรียกว่าเราเป็นอะไร

    +++ เรียกว่า อยู่ในอัปปนาสมาธิ ครับ

    ในทางธรรมเรียกว่าอะไร

    +++ เรียกว่า สมถะกรรมฐาน ครับ

    มีใครชี้แนะได้ไหมครับ

    +++ คุณใช้วิธี ตรวจสอบและประเมินผลทางจิต ของตัวคุณเอง ดีที่สุดครับ

    ของคุณ tuato

    นั่งกำหนดลมหายใจ เกิดความรู้สึกคล้ายๆกัน รู้สึกหายใจอึดอัด ต่อไปก็รู้สึกเหมือนปวดเมื่อยขยับตัวไม่ได้

    +++ คำศัพท์ของตุณที่ว่า รู้สึกเหมือนปวดเมื่อยขยับตัวไม่ได้ ในขณะนั้น หากไม่มีทุกข์เป็นองค์ประกอบเจือปนอยู่ด้วย ก็ถือได้ว่า คุณเข้าสู่รอยต่อหลักระหว่าง สมถะ กับ วิปัสนา เหมือนกับคุณ ผู้พยามรู้ แต่การใช้ภาษาแตกต่างกันไป

    จนกระทั่งรู้สึกว่าลมหายใจของคนเองเบามากคล้ายกับไม่ได้หายใจ

    +++ ถูกแล้วครับ ลมหายใจมันจะละเอียดลงไปเรื่อย ๆ หากตามสังเกตุกองลมต่อไป มันจะกลายเป็น ซึมเข้า ๆ ออก ๆ ตามรูขุมขน หากสามารถตามได้ละเอียดมากกว่านั้น มันจะทิ้งรูขุมขน แล้ว ซึมเข้า-ออก ทางผิวหนังแทน (กบจำศีล) หากสามารถตามต่อได้อีก มันจะละเอียดจนหยุดซึม แล้วเปลี่ยนมาเป็น หมุนควงอยู่ภายใน ซึ่งจะช้าลงเรื่อย ๆ จนหยุด ณ ขณะที่หยุด ตัวคุณจะลอยออกมาจากตัวคุณเอง ในลักษณะเดียวกันกับการ ถอดดาบออกจากฝัก ฉันใดฉันนั้น ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ยังเป็นด้าน สมถะกรรมฐานอยู่นะครับ

    หลังจากนั่งต่อไปสักครู่ เกิดความรู้สึกเหมือนเราไม่มีตัวตนอยู่

    +++ เริ่มวางจาก ความเป็นร่าง เข้าสู่ ความเป็นจิต ครับ

    เลยสะดุ้งตกใจ จากนั้นยังไม่กล้าปฎิบัติต่อเพราะไม่เข้าใจว่าทำไม และควรจะปฎิบัติอย่างไรต่อ และการนั่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกของตัวเอง อยากลองนั่งต่อแต่ยังไม่กล้าค่ะ

    +++ จิตยังไม่เคยกับประสพการณ์แบบนี้ หากคุ้นเคยแล้วก็สามารถพัฒนาต่อไปได้เองครับ
    +++ ปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆ ครับ ถูกทางแล้วครับ
     
  9. tuato

    tuato เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +482
    ขอบพระคุณค่ะ จะปฎิบัติต่อค่ะ
     
  10. juna

    juna Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +32
    ขอแนะว่า ควรศึกษาเรื่อง วิชากัมมัฏฐาน การเจริญอิทธิบาทสี่ อินทรีย์+พละห้า ชวนะ หรือ ศึกษาเรื่องโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เพราะว่าจะมีความสำคัญต่อการฝึกด้วยตนเองมาก แต่อย่างว่าแหละ ฝึกด้วยตนเอง ก็จะกลายเป็น ศีลพตุปาทาน สีลัพตปรามาส เข้าใกล้มิจฉาทิฏฐิได้ง่าย โพธิปักฯจึงเป็นเรื่องดีที่ควรศึกษาและปฏิบัติ ขอให้เจริญๆนะ สาธุ
     
  11. tuato

    tuato เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +482
    คุณสั้นๆง่ายๆขอบคุณค่ะ
     
  12. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    เป็นทางผ่านของการฝึกสมาธิครับ

    ขอให้มั่นคงแน่วแน่ในกรรมฐานที่เราตั้ง

    จะรู้ลมก็รู้ให้มั่นคง

    จะตั้งกสิณ ก็เลือกมาอย่างใดอย่างนึง
    นิมิตกสิณที่เป็นปฏิภาคนิมิต เราจะเห็นเหมือนลืมตาเห็นเหมือนมองที่เปลือกตา สามารถ ย่อ ขยาย บังคับได้ ถึงจะเรียกว่าเป็นปฏิภาคนิมิต

    ส่วนจะหันมาพิจารณากายนั้น ก็ให้เริ่มได้ที่ พอรู้ลมเข้าออกจนจิตสงบ
    ก็ยกเอา กายในอาการ 32 มาอย่างใดอย่างหนึ่ง มาตั้งนิมิต
    น้อมนึก กลับไปกลับมาในการเริ่มขึ้นจนเสื่อมลง

    สำหรับอาการเบื่อหน่าย มันเป็นความขี้เกียจเฉยๆ
    ต้องฝึกเอาชนะความเบื่อหน่ายแบบนี้ ด้วยการมั่นคงในกรรมฐานต่อไป

    อาการมือไม้แข็งเหมือนๆ ล๊อกติดกัน ก็ไม่ได้มีอะไรมาก ให้สนใจที่กรรมฐานที่เราตั้งเป็นพอ โชคดีครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...