ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ของ“หลวงพ่อพัฒน์ นารโท”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 30 มิถุนายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ของ“หลวงพ่อพัฒน์ นารโท”



    กำเนิด
    </SPAN>
    [​IMG]


    หลวงพ่อพัฒน์ นารโทท่านเกิดเมื่อวันพุธ เดือน 6 ปีจอ พ.ศ. 2405 ร.ศ. 81 ในปีที่ 12 แห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ณ ตลาดบ้านดอน อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗โยมบิดาของท่านชื่อ ฉุ้น โยมมารดา ชื่อ เนียม บิดาของท่านเป็นชาวบ้านดอน ส่วนโยมมารดาเป็นชาวเกาะพะงัน มีพี่น้องร่วมอุทร บิดา - มารดาเดียวกัน 7 คน หลวงพ่อเป็นคนที่ 5 ครั้งมีพระราชบัญญัติขนานนามสกุล (ขณะท่านอยู่ในเพศบรรพชิดแล้ว) ญาติพี่น้องของท่านใช้ชื่อสกุลว่า "พัฒนพงศ์"เมื่อเยาว์วัยได้ศึกษาอยู่กับพระอาจารย์ผ่อง แห่งวัดพระโยค ศึกษาเล่าเรียน ตามเนื้อหาวิชาซึ่งเป็นที่นิยมศึกษาสืบทอดกันอยู่ในยุคสมัยนั้น ตามควรแก่วัยและตามภูมิพื้นความรู้ของผู้เป็นอาจารย์ท่านผู้สอน


    อุปสมบท</SPAN>





    [​IMG]


    หลวงพ่อพัฒน์ นารโทกล่าวกันว่า เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม ท่านก็ได้ทำการสมรสกับนางละม่อม อยู่กินกันหลายปี แล้วมีเหตุบางประการทำให้ท่านต้องบรรพชาอุปสมบท ในระหว่างที่หลวงพ่อบวชอยู่นั้น นางละม่อม ภรรยาซึ่งตั้งครรภ์อยู่ได้คลอดบุตรออกมาเป็นผู้หญิง แต่ถึงแก่กรรมภายหลังคลอดได้ไม่นานนัก ทำให้ท่านตัดสินใจไม่ยอมลาสิกขา ครองเพศสมณะอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์เรื่อยมา สำหรับสาเหตุที่ท่านได้อุปสมบท ขณะภรรยากำลังตั้งครรภ์นั้น บ้างว่า เพราะความตระหนักรู้เลื่อมใสในหนทางอริยมรรค เกิดความเบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัย แต่บ้างก็ว่าเพราะเหตุทางประเพณีหรือความเชื่อ เช่น การบวชหน้าไฟ (ในงานศพบุพการี) หรือ การบนบวชเป็นต้น ครั้นเกิดเหตุบุตรที่เพิ่งคลอดเสียชีวิต ประกอบกับการได้หยั่งถึงสัมผัสรับรู้ในความสงบเย็น สว่าง และสะอาดของร่มกาสาวพัสตร์อันมีความเป็นสัปปายะเปี่ยมเหตุปัจจัยที่เอื้ออำนวยเกื้อกูลสนับสนุนโอกาสแห่งความก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปในทางธรรม จึงทำให้ท่านไม่คิดลาสิกขา คงอยู่ในเพศบรรพชิตต่อไป โดยไม่มีกำหนด หลังจากล่วงเลยเวลาที่ควรลาสิกขาไปนานเข้า นางละม่อมผู้ภรรยาก็ได้ปรารภกับหลวงพ่อ ขอให้ท่านสละเพศบรรพชิต ออกไปครองเรือนใช้ชีวิตครอบครัวดังเดิม แต่หลวงพ่อได้ปฏิเสธ พร้อมกับแจ้งให้ทราบถึงความตั้งใจอันแน่วแน่ที่จักอยู่ในสมณเพศต่อไปแบบไม่มีกำหนด หลางปีต่อมา นางละม่อม ก็ได้แต่งงานใหม่ โดยความอนุโมทนาอันดีของหลวงพ่อ เพราะเป็นการช่วยปลดเปลื้องห่วงผูกพันให้แก่ท่านอย่างสิ้นเชิง ในการอุปสมบทของหลวงพ่อพัฒน์นั้น ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 25 ปี ใน พ.ศ. 2430 ณ อุโบสถวัดพระโยค โดยมีพระครูสุวรรณรังษี (มี) เจ้าคณะอำเภอกาญจนดิฐ เจ้าอธิการวัดโพธิ์ ตำบลบ้านตลาดบน (ยึดถือตามรายงานมณฑลชุมพร ร.ศ. 119) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ (ภายหลังเป็นที่พระครูวิธรธรรมสาสน์) เป็นพระกรรมาวาจาจารย์ และ หลวงพ่อขำ วัดบางใบไม้ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "นารโท" บวชแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดพระโยค เป็นเวลาหลายพรรษา


    การสร้างวัด</SPAN>



    [​IMG]

    หลวงพ่อพัฒน์ นารโทเมื่อท่านมีอายุมากขึ้น หลวงพ่อพัฒน์ก็ได้บุกเบิกสร้างวัดขึ้นมาใหม่อีกแห่งหนึ่งกล่าวกันว่า ที่ดินที่หลวงพ่อพัฒน์ใช้เป็นสถานที่สร้างวัดนั้น แต่เดิมเป็นเขตป่าช้าของวัดพระโยค ด้วยพรรษากาลที่ไม่ถึงสิบพรรษาและด้วยปัจจัยที่ท่านมีอยู่เพียง 6 บาท เมื่อครั้งแรกเริ่มสร้างวัด แต่ด้วยบารมี ผลานิสงฆ์อันท่านได้เคยสร้างสมมา ประกอบกับความเป็นผู้มุ่งมั่น มีปณิธาน และเป็นที่นิยมนับถือของราษฏร ดังที่"รายงานพระสงฆ์จัดการศึกษามณฑลชุมพร ร.ศ. 118" กล่าวว่า "พระพัฒน์" เจ้าอธิการเปนผู้สามารถ แลเปนที่นิยมนับถือของราษฏรในเมืองนี้ " (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 16 แผ่นที่ 25 วันที่ 27 กันยายน ร.ศ. 118 หน้า 334) หลวงพ่อพัฒน์ ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นภิกษุหนุ่ม ก็สามารถสร้างวัดขึ้นใหม่ได้สำเร็จ เป็นที่รู้จักเรียกขานกันโดยทั่วไปว่า "วัดใหม่" (ชื่อวัดว่า "วัดใหม่" นี้คงใช้อยู่ตลอดสมัยของหลวงพ่อพัฒน์ ภายหลังจากท่านมรณภาพแล้ว ได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดเพื่อเป็นที่ระลึกถึงท่านผู้สร้างว่า "วัดพัฒนาราม") ปีที่หลวงพ่อพัฒน์ นารโท เริ่มสร้างวัดประมาณได้ว่า ไม่หลังจาก พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) อย่างแน่นอน หรือ พ.ศ. 2440 อีกด้วย เนื่องจาก ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) นั้น เป็นที่หลวงพ่อพัฒน์ได้เริ่มสร้างอุโบสถจนกระทั่งแล้วเสร็จโดยสมบูรณ์ครบถ้วยในปี ร.ศ. 123 (พ.ศ.2447) ดังมีรายระเอียดอยู่ในหนังสือสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ที่ 1463/8387 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน ร.ศ. 123 (รหัสไมโครฟิลม์ ม ร 5 ศ/30 หอจดหมายเหตุแห่งชาติ) แต่หลักฐานของทางวัดใหม่ (วัดพัฒนาราม) ระบุว่า "เมื่อปีจอ สำเร็จธิศก เดือน 6 ได้ยกอุโบสถจนสำเร็จ (ปีจอ สัมฤทธิศกตรงกับ พ.ศ. 2441) ทั้งยังกล่าวว่าหลวงพ่อพัฒน์ได้เริ่มสร้างวัดใหม่เมื่อเดือน 6 ปีวอก อัฐศก พ.ศ. 2439


    ตำแหน่งหน้าที่ด้านการปกครอง</SPAN>



    [​IMG]


    หลวงพ่อพัฒน์ นารโท ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ของหลวงพ่อพัฒน์ นารโท นอกจากยังความสงบเย็นเกื้อกูลความก้าวหน้าในทางธรรม สำหรับตัวท่านเองแล้ว ยังได้สร้างคุณประโยชน์หลายประการให้แก่ศาสนจักร อาณาจักรและประชาชนอีกด้วย โดยท่านได้เคยดำรงตำแหน่งและหน้าที่ต่าง ๆ ตลอดจนเกื้อกูลสนับสนุนการศึกษา ดังนี้ <LU>

    <DD>เจ้าคณะแขวง</LIT> </LU>
    เมื่อ ร.ศ. 117 (พ.ศ. 2441) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชดำริจะบำรุงการศึกษาในหัวเมืองให้เจริญตามการศึกษาในกรุง จึงได้ทรงตั้งพระราชาคณะให้เป็น ผู้อำนวยการศึกษา ว่าการมณฑลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อำนวยการศึกษาได้ออกไปตรวจและจัดการศึกษาและการศาสนาในมณฑลนั้น ๆ สำหรับมณฑลชุมพรซึ่งประกอบด้วย 4 เมือง (ตามตราพระราชสีห์ ณ วันที่ 12 ตุลาคม ร.ศ. 115 - พ.ศ. 2439) คือ เมืองชุมพร เมืองหลังสวน เมืองไชยา และเมืองกาญจนดิฐ พระศาสนดิลก เป็นผู้อำนวยการศึกษา ได้ออกไปตรวจการครั้งแรก ตั้งแต่ปลายปี ร.ศ. 117 ถึงต้นปี ร.ศ. 118 (พ.ศ. 2442) และครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ร.ศ. 118 - จนถึงเดือนกรกฎาคม ร.ศ. 119 (พ.ศ.2443) ในเมืองกาญจนดิฐ ซึ่งแบ่งเป็น 4 แขวง คือ แขวงอำเภอพุดดวง แขวงอำเภอบ้านดอน แขวงอำเภอกระแดะ และแขวงอำเภอเกาะสมุย ได้มีการตั้งเจ้าคณะแขวงประจำแขวงละรูป โดยหลวงพ่อพัฒน์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านดอน ดังความใน "รายงานมณฑลชุมพร ร.ศ. 119" ของพระศาสนดิลก บางตอนว่า "คณะเมืองกาญจนดิฐ ซึ่งในบันดนี้สมบทเข้าในเมืองไชยา... พระครูสุวรรณรังษีเป็นเจ้าคณะ...ได้ตั้งเจ้าคณะแขวงประจำแขวงละรูป คือ... เจ้าอธิการพัฒ วัดใหม่ เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านดอน <LU>

    <DD>พระอุปัชฌาย์ </LU>ประมาณ ร.ศ. 119 ในวาระเดียวกับการได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวง อำเภอบ้านดอนนั้น หลวงพ่อพัฒน์ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย ดังข้อความในรายงานมณฑลชุมพร ร.ศ. 119 ของพระศาสนดิลกบางตอนว่า "ในมณฑลชุมพรนี้ มีอุปัชฌาย์ถือตราเสมาธรรมจักร 8 รูป ยังไม่พอแก่ท้องที่เกล้ากระหม่อมได้เลือกเติมขึ้นอีก 10 รูป... ในเมืองกาญจนดิฐ มีแต่พระครูสุวรรณรังษีรูปเดียว เลือกขึ้นใหม่อีก 4 รูป คือ เจ้าอธิการพัฒ เจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านดอน 1"

    ด้านพระศาสนา</SPAN>

    <DD>


    [​IMG]

    <DD>

    <DD>

    <DD>

    <DD>หลวงพ่อพัฒน์ นารโท หลวงพ่อพัฒน์เป็นพระสังฆาธิการที่เอาธุระจัดการ เอาใจใส่ในความประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ลูกวัด ตลอดจนกิจวัตรทางศาสนาต่าง ๆ ดังที่รายงาน พระสงฆ์จัดการศึกษามณฑลชุมพร ร.ศ . 118 ของพระศาสนดิลก กล่าวว่า "ในวัดที่ได้ไปตรวจแล้ว ควรจะชมได้อยู่แต่ วัดใหม่ ที่พระพัฒเปนเจ้าอธิการแห่งเดียวเท่านั้น คือความประพฤติของพระภิกษุสามเณร และการเทศนาสั่งสอน หรือการทำวัดสวดมนต์จนตลอดถึงอุบาสกอุบาสิกาซึ่งมาฟังธรรมเทศนา และรักษาศีลอุโบสถนั้น" (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 16 หน้า 337) และรายงานมณฑลชุมพร ร.ศ. 119 ของ พระศาสนดิลกรายงานตอนหนึ่งว่า "ในเมืองกาญจนดิฐมีวัดไม่ได้ทำอุโบสถโดยมาก เว้นไว้แต่วัดในแขวงเกาะสมุย กับวัดใหม่ วัดเหล่านั้นได้ทำอุโบสถ ทุกวันกำหนด เพราะเจ้าคณะแขวงเอาเปนธุระอยู่... การทำวิสาขบูชา...เมื่อศกก่อน เกล้ากระหม่อนได้ทำวิศาขบูชา ที่วัดใหม่ เมืองกาญจนดิฐให้เหนเปนอย่าง" <LU>
    ส่งเสริมการศึกษา </LU>นอกจากกิจการศาสนาแล้ว หลวงพ่อพัฒน์ยังได้ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาด้วย โดยได้มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นแห่งแรกเมืองกาญจนดิฐ เมื่อประมาณ ร.ศ. 116 (พ.ศ.2440) ย่อมจัดได้ว่า วัดใหม่เป็นผู้นำการศึกษาระบบโรงเรียนมาใช้เป็นแห่งแรกในเมืองกาญจนดิฐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 16 เล่ม 334 กล่าวถึงเรื่องการจัดตั้งโรงเรียนในวัดใหม่ว่า "ในเมืองกาญจนดิฐนี้เห็นด้วยเกล้าว่า ฯ ว่าควรจะตั้งโรงเรียนได้ 2 ตำบลคือ <LU>
    ก. วัดใหม่ ควรจะตั้งโรงเรียนหลวงได้ด้วยเหตุ 5 ประการ คือ


    <DD>1. พระพัฒ เจ้าอธิการเปนผู้สามารถ และเปนที่นิยมนับถือของราษฎรในเมืองนี้


    <DD>2. พระเจียว น้องของเจ้าอธิการ ได้เคยเข้ามาศึกษาวิชาหนังสือไทยอยู่ในกรุงเทพฯ เธิได้คิดจัดตั้งการสอนได้ 2 ปีแล้ว


    <DD>3. เวลานี้มีนักเรียนซึ่งเล่าเรียนอยู่แล้ว 36 คน


    <DD>4. นักเรียนที่อ่านที่เขียนหนังสือได้ แลทำเลขอย่างฝรั่ง เพียงบวก บล คูณ หาร ก็มีอยู่บ้างแล้ว


    <DD>5. วัดนี้ตั้งอยู่ใกล้ชิดกับเมือง แลเวลานี้ นับว่าเป็นที่นิยมนับถือของราษฎรเมืองนี้" </LU>


    <DD>และรายงานมณฑณชุมพร ร.ศ. 119 ของ พระศาสนดิลก กล่าวว่า "ในเมืองกาญจนดิฐมีตำบลเดียวแต่ สุพรรณดิตพิทยา ตั้งที่วัดใหม่ แขวงบ้านดอน เจ้าอธิการพัฒน เจ้าคณะแขวงเปนผู้จัดการพระใบฎีกาเกลา กับนายเจียวเปนครู มีนักเรียน 23 คน จัดสถานที่ที่เจ้าอธิการพัฒทำไว้รับเกล้ากระหม่อมเปนที่เรียน เจ้าอธิการพัฒน์ ทำโต๊ะกับม้าสำหรับเรียน 2 สำรับเปนเครื่องตั้ง...เปนโรงเรียนเมือง"<DD><DD>
    ปราชญ์แห่งศิลปวิทยาการ</SPAN>

    <DD>


    [​IMG]

    <DD>

    <DD>

    <DD><LU>แพทย์แผนไทย </LU>นอกจากความเชียวชาญในเรื่องกสิณ โดยเฉพาะเตโชกสิณ และปฐวีกสิณแล้ว หลวงพ่อพัฒน์ยังเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณพิเศษในทางการแพทย์แผนไทย หรือแพทย์แผนโบราณอีกด้วย ในช่วงชีวิตของท่าน หลวงพ่อพัฒน์ได้ใช้วิชาความรู้ความสามารถทางการแพทย์แผนไทย สงเคราะห์ช่วยเหลือ รักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้ด้วยโรคต่าง ๆ เป็นอันมาก โดยไม่สนใจใยดีในอามิสสินจ้างใด ๆ หรือแม้แต่ความเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียของตัวท่านเอง ก็มิได้คำนึงถึงหวังแต่เพื่อได้ช่วยเหลือสงเคราะห์เพื่อนมนุษยืด้วยกันให้พ้นจากความทุกข์ภัยไข้เจ็บ เป็นที่ตั้งเท่านั้น ด้วยความเป็นพระภิกษุผู้ตระหนักรู้เท่าทันเหตุปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งทรงคุณทั้งทางการแพทย์แผนไทย และทรงพลังจิตมหิทธิคุร เปี่ยมสังฆานุภาพ นี่เองหลวงพ่อพัฒน์จึงเสมือนหนึ่งเสาหลักที่พักใจ รวมทั้งเป็นที่พึ่งพิงนานาประสงค์ของประชาชนในยุคนั้น หรือแม้กระทั่ง ผู้คนในยุคปัจจุบัน เพราะฉะนั้น การดำรงอยู่ในเพศบรรชิตของหลวงพ่อพัฒน์ นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือสืบทอดจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสถาพรอยู่ตอไป แล้วยังเป็นการช่วยเหลืออนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ประชาชนได้นานาประการอีกด้วย

    <DD>

    <DD>
    การธุดงค์</SPAN>


    [​IMG]<LU>


    <DD>

    <DD>หลวงพ่อพัฒน์ </LU>ได้ดำรงตำแหน่งและหน้าที่ อุปัชฌาย์ พระครู และเจ้าคณะแขวงอำเภอบ้านดอนอยู่ประมาณ 4-5 ปี แล้วด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดติดในอำนาจยศถาบรรดาศักดิ์ และแน่วแน่ในการปฏิบัติบำเพ็ญเพียร ประพฤติธรรม การมุ่งมั่นเอาความสงบเป็นเครื่องนำ หลวงพ่อพัฒน์จึงได้ลาออกจากตำแหน่งพระครู เจ้าคณะแขวงอำเภอเมือง (อำเภอบ้านดอน-เดิม) เมืองไชยา และตำแหน่งอุปัชฌาย์ เพื่อการออกไปธุดงค์ดังความใน "รายงานการตรวจการคณะการศาสนา การศึกษามณฑลชุมพร ประจำศก 122"ของพระเทพเมธี ตอนหนึ่งว่า "ในต้นศก 123 นี้... เจ้าคณะแขวง (พัฒน์) อำเภอเมือง เมืองไชยา ขอลาออกจากหน้าที่พระครู เจ้าคณะแขวง และตำแหน่งอุปัชฌาย์ โดยมีกิจที่ต้องแรมพรรษา


    <DD>ในบรรดาพระสังฆาธิการของอำเภอเมือง เมืองไชยา หรือบ้านดอนในยุคนั้น หลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของหลวงพ่อพัฒน์ นับเป็นพระภิกษุที่มีอาวุโสสูงเป็นลำดับต้น ๆ ท่านหนึ่งจึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ แทนหลวงพ่อพัฒน์ดังที่ รายงานการตรวจการคณะ ๆ ของพระเทพเมธี กล่าวว่า "ได้จัดตั้งให้ พระอธิการ (กล่อม)เปนพระครู เจ้าคณะแขวงและอุปัชฌาย์ ต่อไป" การลาออกจากตำแหน่งต่าง ๆ ของหลวงพ่อพัฒน์ในครั้งนั้นนอกจากเจตนาเพื่อการธุดงค์แล้ว ผู้เขียนเห็นว่า ท่านคงประสงค์จะสละตำแหน่ง เพื่อเป็นการเปิดทางให้หลวงพ่อกล่อม วัดโพธิ์ ผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียง "พระวินัยธร" ฐานานุกรมของตำแหน่งเจ้าคณะเมืองให้ได้ตำแหน่ง พระครู เจ้าคณะแขวงและพระอุปัชฌาย์แทนท่านด้วย <DD>นอกจากจะแสดงให้เห็นถึง ความเป็นผู้ละวางไม่ยินดี ไม่หลงไหล ไม่ยึดติดในอำนาจยศถาบรรดาศักดิ อันเป็นบุคคลประเภทที่หาได้ยากแล้ว การลาออกจากตำแหน่งต่าง ๆ ในครั้งนั้น ยังได้แสดงให้เห็นถึงคุรธรรมแห่งความเป็นผู้มีกตัญญูกตเวทีของหลวงพ่อพัฒน์ ที่ควรแก่การยกย่องเทิดทูน และประกาศเกียรติคุณเป็นอย่างยิ่ง อีกด้วย <DD>ประมาณหลังจากต้นปี พ.ศ. 2447 (ร.ศ. 123) หลวงพ่อพัฒน์ ผู้สละตำแหน่งและสมณศักดิ์ มุ่งวิรัติตน แสวงหาความวิเวก อาศัยความสงบเป็นเครื่องนำ ก็ได้ออกเดินธุดงค์รอนแรมไปยังสถานที่ต่าง ๆ อนึ่ง จากความในเอกสารต่าง ๆ ชวนให้สันนิษฐานว่า ก่อนการธุดงค์ในครั้งนี้ หลวงพ่อพัฒน์คงจะเคยธุดงค์มาก่อนแล้วครั้งหนึ่ง <LU>ผู้จุดประกายในการออกธุดงค์
    </LU>


    <DD>เอกสารโดยส่วนมาก มักกล่าวว่า เหตุที่หลวงพ่อพัฒน์ได้ออกธุดงค์(ในครั้งแรก) นั้น เพราะท่านเคยได้รบอุบายธรรมให้ดำเนินจิตในทางที่ถูกต้องจากหลวงพ่อสุข ซึ่งเป้นพระธุดงค์ได้มาจากวัดหัวลำภู (เขาพระบาท) อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้มาพักปักกลดอยู่ในป่าช้าวัดพระโยค เมื่อหลวงพ่อพัฒน์ได้พบเห็นหลวงพ่อสุข ขณะกำลังปฏิบัติธรรมอยู่ท่ามกลางป่าช้าก็เกิดความรู้สึกศรัทธาเป็นอันมาก และจากการได้สนทนากับหลวงพ่อสุขนี่เอง ทำให้ท่านเกิดความประสงค์ที่จะได้ออกธุดงค์ <DD>แต่ในเอกสารบางเล่ม กล่าวต่างออกไปว่า เมื่อแรกอุปสมบทหลวงพ่อพัฒน์ได้สนใจในทางปฏิบัติโดยเรียนพระกรรมฐานกับหลวงพ่อสุข ซึ่งเป็นพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงเกียรติคุณมากทางกรรมฐาน สามารถแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ นานา จนชาวบ้านจนชาวบ้านขนานนามให้ท่านอีกชื่อหนึ่งว่า "หลวงพ่อโสดา" และหลวงพ่อสุขเป็นพระที่มีพิ่นพำนักอยู่ละแวกบ้านดอนนั่นเอง <DD>เมื่อทุกวันนี้ ผู้คนร่วมสมัยหลวงพ่อพัฒน์ โดยเฉพาะในวัยหนุ่ม ล้วนล่วงลับไปหมดแล้ว ประเด็นปัญหานี้ ก็คงต้องค้างคาไว้ไม่อาจหาข้อสรุปได้ อย่างไรก็ดี ไม่ว่าหลวงพ่อสุขจะเป็นพระธุดงค์ที่ทำให้หลวงพ่อพัฒน์เกิดความคิดที่จะออกธุดงค์ หรือเป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐานให้หลวงพ่อพัฒนืในนวกะสมัยก็ตาม ยอมจัดได้ว่าหลวงพ่อสุข เป็นผู้จุดประกาย ให้ความคิดหรือความรู้ในเรื่องธุดงค์แก่หลวงพ่อพัฒน์โดยปริยาย นั่นเอง <LU>ระยะเวลาที่ออกธุดงค์</LU>


    <DD>เรื่องการธุดงค์ของหลวงพ่อพัฒน์ จากความในเอกสารต่าง ๆ ชวนให้สันนิษฐานว่า น่าจะมีการธุดงค์อย่างน้อยก็ 2 ครั้งสำคัญด้วยกัน กล่าวคือ <LU>ครั้งแรก
    </LU>


    <DD>หลังจากพ้นสภาวะของพระนวกะหรือพระบวชใหม่ (ผู้มีพรรษาไม่ถึง 5 พรรษา) แล้ว ท่านคงได้ออกธุดงค์ไปภาคกลาง เหนือ แวะมนัสการปูชนียสถานที่สำคัญต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ พระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระแก้วมรกต ฯลฯ เป็นต้น แล้วได้หยุดจำพรรษาที่วัดโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพฯ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ฯ เป็นเวลา 1 พรรษา ก่อนที่จะเดินทางกลับสุราษฏร์ธานี <LU>ครั้งที่สอง
    </LU>


    <DD>เมื่อลาออกจากตำแหน่งพระครู เจ้าคณะแขวง และพระอุปัชฌาย์ในต้นปี พ.ศ. 2447 (เมษายน เป็นเดือนต้นปี) ในครั้งนี้ท่านคงธุดงค์ลงในทางภาคใต้ของประเทศไทยแถบจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ภูเก็ต ฯลฯ สำหรับระยะเวลาในการธุดงค์ในครั้งที่สองนี้ ท่านคงใช้เวลาอย่างมากประมาณ 3 - 4 ปี เพราะใน พ.ศ.2451 มีหลักฐานทางเอกสารเรื่องการสร้างศาลา ตามความในหนังสือ ของจีนย่องห้วน มรรคนายกวัดใหม่ ดังได้เคยกล่าวพอสังเขปไว้ในตอนต้นแล้วซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้ทราบว่า ในปี พ.ศ. 2451 หลวงพ่อพัฒน์ได้กลับมาอยู่ที่วัดใหม่แล้ว ทั้งน่าเชื่อว่า หลังจากการธุดงค์ครั้งสำคัญทั้ง 2 ครั้ง ดังกล่าวแล้วท่านคงจะได้ออกธุดงค์เป็นครั้งคราวตามป่าเขาลำเนาไพรที่ไม่ไกลนับอีกเป็นแน่ โดยใช้เวลาในการธุดงค์ครั้งละ 2-3 เดือน หรืออาจน้อยกว่าหรือมากกว่านั้น ก็ย่อมแล้วภารกิจในการบริหารวัดของท่าน<DD><DD><DD>

    อริยฤทธิ์</SPAN>

    <DD>

    [​IMG]

    <DD>

    <DD>

    <DD>ในระหว่างการธุดงค์ละแวกภาคใต้ท่านได้พบสถานที่อันเป็นสัปปายะแห่งหนึ่งได้เข้าพักปักกลดเพื่อการบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ระยะหนึ่ง ห่างจากบริเวณที่ท่านพักปักกลดพอสมควร เป็นหมู่บ้านป่าเล็ก ๆ ซึ่งท่านได้อาศัยอาหารจากการใส่บาตรของชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นยังชีวิต หลวงพ่อเคยเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่าเช้าวันหนึ่ง ขณะออกบิณฑบาตไปตามหมู่บ้านได้มีสตรีรูปงามนางหนึ่งนำอาหารมายืนคอยใส่บาตรในครั้งแรก ที่ท่านทอดสายตามองไป ก็ได้เห็นว่า สตรีผู้นั้นมีความงดงามมาก ครั้งเมื่อสตรีผู้นั้นกำลังตักบาตร ขณะหลวงพ่อพิจารณาอหารที่สตรีผู้นั้นใส่บาตรก็ปรากฎว่า ท่านได้มองเห็นร่างกายของสตรีโฉมสคราญผู้นั้นเหมือนซากศพ ล้วนแต่ปฏิกูลทั้งสิ้น มีอาการเน่าแฟะ เด็มไปด้วยน้ำเหลือง


    <DD>หลังจากมองเห็นภาพอย่างนั้นอยู่ชั่วครู่หนึ่ง แล้วภาพอันน่าสลดชวนปลงสังเวชก็พลันหายไป จิตซึ่งกำลังนิ่งเฉยสงบก่อให้เกิดปัญญา ตระหนักในความเที่ยงของสังขาร พิจารณาเห็นว่า ในหมู่สัตว์ทั้งหลายเมื่อเกิดมาแล้วล้วนมีความตายเป็นที่สุด จะหาสิ่งใดในร่างกายของคนเรานี้เป็นแก่นสารย่อมมิได้เลย สัตว์ทุกรูปทุกนาม เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตายเป็นธรรมดา แต่ขณะยังมีชีวิตอยู่แทบทุกชีวิตมักถูกอวิชชาครอบงำ ปกคลุมจิตใจจนมืดมิด กระทั่งทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น เห็นไปว่าเป็นตัวกู ของกูไปหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ยามที่ได้สัมผัสิ่งใดเข้าก็จะเกิดความรู้สึกเจ็บ ร้อน อ่อน แข็งไปตามสภาพเพราะมีความรู้สึกยึดมั่นถือมั่น มีอุปาทานนั่นเอง ครั้นแล้ว ท้ายสุดก็ล้วนต้องทอดร่างอันน่าเกลียด เน่าเหม็นทิ้งไว้อย่างไร้ความหมายแทบทั้งสิ้น การมองเห็นโฉมงามสคราญ เต่งตึงด้วยเนื้อหนังอวบอั๋น ชวนให้เกิดกำหนัดกระสันรัญจวนใจ เป็นดั่งซากศพเช่นนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า ท่านคงได้บรรลุถึงความีอริยฤทธิ์แล้ว <DD>"บาลีอีกแห่งหนึ่งชี้แจ้งเรื่อง อิทธิวิธี (การแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ ) ว่ามี 2 ประเภท คือ <LU>1. ฤทธิ์ที่มิใช่อริยะ คือ ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ยังมีอุปธิ (มีกิเลสและทำให้เกิดทุกข์ได้) ได้แก่ฤทธิ์อย่างที่เข้าใจกันโดยทั่วไป... คือ การที่สมณะ ผู้ใดผู้หนึ่งบำเพ็ญเพียรจนได้เจโตสมาธิ แล้วแสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ เช่น แปลงตัวเป็นคนหลายคน ไปไหนก็แหวกทะลุฝากำแพง ไปเหริฟ้า ดำดิน เดินบนน้ำ เป็นต้น
    2.ฤทธิ์ที่เป็นอริยะ คือ ฤทธิ์ที่ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ไม่มีอุปธิ (ไม่มีกิเลสไม่ทำให้เกิดทุกข์) ได้แก่ การที่ภิกษุสามารถทำใจกำหนดหมายได้ตามต้องการบังคับความรู้สึกของตนได้ จะให้มองเห็นสิ่งที่น่าเกลียดเป็นไม่น่าเกลียดก็ได้ เช่น เห็นคนหน้าตาน่าเกลียดชัง ก็วางจิตเมตตาทำใจให้รักใคร่มีไมตรีได้ เห็นสิ่งไม่น่าเกลียดเป็น่าเกลียด ก็ได้ เช่น เห็นคนรูปร่างน่ารักยั่วยวนให้เกิดราคะ จะมองเป็นอสุภะไป ก็ได้ หรือจะวางใจเป็นกลาง เฉยเสีย ปล่อยวางทั้งสิ่งที่น่าเกลียดและไม่น่าเกลียดก็ได้ เช่น ในกรณีที่จะใช้ความคิดพิจารณาอย่างเที่ยงธรรม ให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เป็นต้น </LU>


    <DD>เรื่องฤทธิ์ 2 ประเภทนี้ ...อิทธิปาฏิหาริย์ จำพวกฤทธิ์ที่เข้าใจกันทั่วไป ซึ่งทำอะไรได้ผลาดแผลงพิสดารเป็นที่น่าอัศจรรย์นั้น ไม่ได้รับความยกย่องในพระพุทธศาสนาไม่ใช่หลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนา ฤทธิ์ที่สุงส่งดีงามตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ฤทธิ์ที่ไม่มีพิษภัยแก่ใคร ๆ ได้แก่การบังคับความรู้สึกของตนได้ หรือบังคับจิตใจให้อยู่ในอำนาจของตนได้ ซึ่งผุ้ได้ฤทธิ์อย่างตนอาจทำไม่ได้ บางครั้งจึงหันไปใช้ฤทธิ์นั้นเป้นเครื่องมือสนองกิเลสของตนตรงข้ามกับฤทธิ์อย่างที่สอง ที่เป็นเครื่องมือสร้างคุณธรรม กำจัดกิเลส มิให้จิตใจถูกล่อไปในอำนาจของราคะ โทสะ หรือโมหะ" (พุทธธรรม : พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) หน้า 461 - 462

    มรณานุสติ</SPAN>


    [​IMG]


    เล่าสืบต่อกันมาว่า ในช่วงที่หลวงพ่อพัฒน์กำลังสร้างวัดอยู่นั้น ท่านได้ป่วยด้วยโรคท้องร่วง และมีอาการหนักมากประกอบกับการแทพย์ในสมัยนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่มาก จึงยากแก่การบำบัดรักษาจะเยียวยาให้หายได้ ครั้นหลวงพ่อพัฒน์ ตระหนักถึงอาการที่ไม่มีทางจะแก้ไขของตัวท่าน ก็ได้สั่งให้ศิษย์ซึ่งเป็นพระภิกษุรูปหนึ่งดำเนินการกับสรีระอันไร้ลมหายใจของท่านในทำนองว่า หากท่านถึงมรณภาพแล้ว ขอให้พระภิกษุรูปนั้นจุดเทียนไว้ข้างกายศพ ติดต่อกันไปอย่าให้เทียนดับโดยตลอดเวลา 7 วัน 7 คืน หลังจากสั่งความแล้วไม่นาน ท่านก็สงบแน่นิ่ง ลิ้นลมหายใจ ใครต่อใครที่ได้มาเห็นอาการต่างก็ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันทั้งสิ้นว่าท่านมรณภาพแล้ว เมื่อหลวงพ่อสิ้นลมแล้ว พระภิกษุผู้รับคำสั่งก็ปฏิบัติตามคำหลวงพ่อทุกประการได้ทำการจุดเทียนขึ้นสว่างโพลงติดต่อกันอยู่เสมอมิได้ขาด ตลอดเวลา


    <DD>ร่างไร้ลมหายใจของหลวงพ่อ นอนแน่นิ่งอยู่เป็นเวลา 2 วัน 2 คืน ครั้นพอเช้าวันที่ 3 สิ่งที่เหลือวิสัยเกินกว่าสามัญปกติก็บังเกิดขึ้น นั่นคือร่างไร้ลมหายใจของหลวงพ่อได้กลับฟื้นคืนชีพมีลมปราณขึ้นมาอีก ด้วยเหตุที่ท่านมีอาการแบบที่ตายแล้วฟื้น ซึ่งเป็นกรณีหายาก จึงเป็นเรื่องชวนพศวงสงสัยของผู้คนที่ทราบเรื่องเป็นยิ่งนัก ก็ย่อมมีการสอบถามกันพอควร โดยเฉพาะเรื่องชีวิตภายหลังความตายอันเป็นปริศนาที่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยต่างปรารถนา จนเป็นความกระหายใคร่รู้มาเนิ่นนานนับแต่บรรพกาล <DD>หลวงพ่อได้เล่าให้ใครต่อใครฟังว่า ยามเมื่อจิตวิญญาณท่องเที่ยวไปในโลกอันเป็นปรัศนีของผู้ยังมีชีวิตอยู่ ณ โลกแห่งกามาวจรใบนี้ ท่านได้เดินทางไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง แล้วก็พบกับคฤหาสน์อันโอ่โถงใหญ่โตรโหฐานคล้ายประหนึ่งกับสถานพำนักของเจ้าขุนมูลนาย ผู้มั่งคั่งร่ำรวยด้วยอำนาจบารมี ขณะท่านเดินเข้าไปภายในคฤหาสน์หลังงามนั้น คนเฝ้าหรือผู้ดูแลคฤหาสน์ได้แสดงอาการต้อนรับท่านด้วยความนอบน้อมพินอบพิเทาเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งท่านสนเท่ห์แล้วเอ่ยถามทำนองว่า "นี่เป็นบ้านของใคร" <พอคนเฝ้าคฤหาสน์ตอบให้ทราบว่าเป็นบ้านของท่าน หลวงพ่อได้ปฏิเสธว่าท่านไม่มีบ้าน มีแต่วัด เพราะเป็นสมณะพร้อมกับคำบอกปฏิเสธ ไม่อาจยอมรับในสิ่งซึ่งมิใช่วิสัยแห่งภิกษุภาวะ ท่านก็ถอยหลังกลับออกมาจากคฤหาสน์หลังนั้นในทันที่แต่ด้วยความรีบร้อน เท้าได้สะดุดเข้ากับวัตถุบางอย่าง บ้างว่าเป็นธรณีประตู ทำให้ล้มลง แล้วก็สิ้นความรู้สึกไปชั่วขณะ ครั้นมารู้สึกตัวอีกครั้งก็ในตอนที่ฟื้นคืนชีวิตขึ้นมานั่นเอง<DD>
    การมรณภาพ</SPAN>

    <DD>


    [​IMG]

    <DD>

    <DD>เรื่องราวหลังความตายที่หลวงพ่อพัฒน์ได้เล่าสู่ให้สนใจใคร่รู้ได้ทราบนับเป็นมรณานุสติอย่างหนึ่ง ซึ่งช่วยเตือนสติให้ผู้คนได้ตระหนัก ได้ตรึกระลึกถึงความไม่เที่ยงของชีวิตและสังขาร อันจักช่วยให้คลายจางจากความยึดถือวาเราว่าของเรา หรือตามที่ท่านพุทธทาสได้ใช้ถ้อยคำให้นักแน่นกินใจว่า "ตัวกู ของกู" ลงบ้าง กับจะได้หันมาบำเพ็ยเพียรประพฤติธรรมทำจิตใจให้ผ่องใส และใคร่ครวญวิจัยวิจารร์ธรรมให้เกิดความเข้าใจและเท่าทันกับความเป็นจริงของชีวิตและโลก คงเพราะเนื่องจากการปฏิเสธคฤหาสน์หลังความตายนี่เองในสมัยของหลวงพ่อพัฒน์ ท่านจึงมิเคยสร้างกุฏิที่เป็นอาคารหรูหรารโหฐานปานวิมานสำหรับอยู่อาศัยเลย แม้แต่สักหลังหนึ่ง คงอยู่อาศัยแต่เฉพาะในอาคารที่พอเหมาะ พอควรแก่สมณวิสัยจนตลอดชีวิตของท่าน <LU>ก่อนมรณภาพ


    <DD>ละวาง </LU>กล่าวกันว่า ก่อนมรณภาพหลายปีหลวงพ่อพัฒน์ได้มอบภาระกิจหน้าที่ของทางวัดไว้กับหลวงพ่อเจียว สิริสุวณฺโณ พระภิกษุผู้เป็นน้องชายของท่านให้เป็นผู้ดูแลบริหารกิจการของวัดแทนท่าน ส่วนท่านก็มามุมสงบในเขตปริมณฑลของวัดใหม่ โดยใช้ศาลาที่พักศพในป่าช้าเป็นที่พำนัก แล้วทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ไปกับการมุ่งมั่นปฏิบัติธรรม บำเพ็ญเพียรภาวนา ทำกรรมฐานวิปัสสนาให้ประจักษ์แจ้งแทงตลอดในพระสัทธรรม <LU>


    <DD>รู้กำหนด </LU>ก่อนมรณภาพ หลวงพ่อพัฒน์ได้บอกให้ศิษยืผู้ใกล้ชิดทราบเป็นการล่วงหน้าว่าวันมรณภาพของท่านคือ วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 บรรดาศิษยานุศิษย์เมื่อได้ทราบต่างก็ดีใจคอไม่ค่อยดี เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา คำพูดของหลวงพ่อมักกลายเป็นความจริงทุกประการ บางคนจึงต้องเตรียมทำใจไว้ล่วงหน้า แบบบว่า อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด แม้มนุษย์สามารถเลือกกระทำ สามารถตัดสินใจได้สารพัดอย่าง แต่บางครั้ง มนุษย์ก็มิอาจฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติได้ รวมทั้งมิอาจขัดขืน กฎแห่งกรรม ในวงจรชีวิตอันสลับซับซ้อนเกินกว่าปัญญาปุถุชนจะวินิจฉัยได้ <LU>
    มรณภาพ </LU>


    <DD>ไม่ว่ายุคใดสมัยใด สรรพสิ่งในโลกกามาวจรใบนี้ ล้วนอยู่ภายใต้กฎแห่งไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยง คงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้และไม่ใช่ตัวตนที่ยั่งยืนตายตัว แต่สรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามเหตุปัจจัยเป็นนิรันดร์ไป หลวงพ่อพัฒน์ พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สมถยานิกแห่งลุ่มน้ำตาปี ผู้ตระหนักเข้าใจแจ่มแจ้งในไตรลักษณ์เป็นอันดีท่านย่อมมีความพร้อม มีจิตใจอันเบิกบานที่จักดำรงสติคอยรอวินาทีแห่งลมหายใจออกเฮือกสุดท้าย อยู่ด้วยความกล้าหาญ มิหวาดหวั่น โดยสงบเย็น และมิได้โหยหาอาลัยอาวรณ์ต่อสรรพสิ่งแม้แต่เค่เพียงเสื้ยวธุลีหนึ่ง ท่านคงตระหนักชัดเป็นมั่นคงแล้วว่าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลที่เกิดอยู่ หรือตายไป มีก็แต่ธรรมชาติอันเปลี่ยนแปรไปตามเรื่องของธรรมชาติเท่านั้น <DD>เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 อันท่านเคยบอกศิษย์ใกล้ชิดว่าเป็นวันมรณภาพของท่านจะมาถึง ในคืนก่อนวันนั้น ท่านได้บำเพ็ญสมาธิภาวนา ตั้งแต่หัวค่ำ ด้วยความสงบเย็นและสว่าง โดยมิได้มีความประหวั่นพรั่นพรึงต่อความตาย ซึ่งท่านตระหนักทราบว่ากำลังย่างก้าวเข้ามาหาอย่างช้า ๆ แต่หนักแน่นมั่นคง <DD>แม้ว่าในยามนั้น สังขารของท่านจักผจญอยู่กับความป่วยเจ็บตามธรรมดาของสังขาร ที่ต้องร่วงโรยผุพังไปตามกาบเวลาตามกฎแก่งธรรมชาติ แต่จิตใจของท่านยังแจ่มในเบิกบาน สงบเย็น และมิเคยละเว้นจากกิจวัตรประจำวัน ทีท่านได้เคยปฏิบัติติดต่อกันมาเป็นประจำ คือ การบำเพ็ญสมาธิภาวนาเลย <DD>กระทั่งเวลาประมาณ 04.00 เมื่อรุ่งอรุณเดินทางใกล้เข้ามาทุกขณะ หลวงพ่อพัฒน์ซึ่งนั่งสมาธิตั้งแต่หัวค่ำ ได้ให้บรรดาศิษย์ช่วยกันพยุงท่านลุกขึ้น ด้วยว่ายามนั้นเรี่ยวแรงของสังขารที่ชราภาพลดน้อยถอยลงตามลำดับ ครั้นท่านผลัดเปลี่ยนจีวรชุดใหม่เสร็จแล้ว ศิษยืก็ช่วยประคองท่านนั่งลงทำสมาธิต่อไป <DD>อนึ่ง ก่อนหลับตาลงภาวนา ท่านให้ศิษยืจุดเทียนไว้ที่เบื้องหน้าท่าน พร้อมทั้งห้ามมิให้ใครมาส่งเสียงอื้ออึงในที่นั้นและหลวงพ่อได้กล่าวข้อความทำนองว่า ท่านจะทำสมาธิวิปัสสนาครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายแล้ว กล่าวเสร็จท่านก็หลับตาภาวนากำหนดจิตเข้าสู่สมาธิธรรมเป็นลำดับ <DD>ครั้นประมาณเวลา 08.43 น. บรรดาศิษยืที่เฝ้าดูอาการของท่าน สังเกตเห็นศีรษะของหลวงพ่อโน้มเอียงลงมาเล็กน้อย ต่างจากปกติที่นั่งตัวตรง ไม่ไหวติงจึงได้เข้าไปพินิจดูใกล้ ๆ แล้วก็ประจักษ์ว่า หลวงพ่อพัฒนื นารโท ได้ละทิ้งเบญจขันธ์ไปอย่างสงบดุษฏีแล้ว <DD>เมื่อตรหนักว่าหลวงพ่อมรณภาพแล้ว แม้จะเคยทราบจากคำบอกเล่าของท่านมาเป็นการล่วงหน้าแล้ว ก็ยังอดที่จะโศกเศร้าอาลัยกันมิได้ ในขณะที่กำลังโศกาอาดูรนั้น มีพระภิกษุรอบคอบรูปหนึ่ง ได้ออกไปตามช่างภาพมาบันทึกภาพหลวงพ่อพัฒนืในท่านั่งสมาธิมรณภาพไว้เป็นอนุสรณ์<DD>

    ศพไม่เน่าเปื่อย</SPAN>

    <DD>

    [​IMG]

    <DD>

    <DD>หลังจากได้ทำการบรรจุศพหลวงพ่อแล้ว ครั้นล่วงเข้าปี พ.ศ. 2491 พระภิญโญเจ้าอาวาสวัดใหม่ในขณะนั้น ได้ฝันไปว่าหลวงพ่อพัฒน์มาบอกว่า ขณะนี้ตัวแมลงสาบมารบกวนท่านเหลือเกิน ขอให้ทำการโยกย้ายเปลี่ยนสถานที่ใหม่แรก ๆ เจ้าอาวาสไม่ค่อยใส่ใจนักแม้จะฝันในทำนองเดียวกันอีกเป็นครั้งที่สองก็ตาม กระทั่งได้ฝันในทำนองเดียวกันอีกเป็นครั้งที่สาม ประมาณวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2491 จึงได้ทำการเปิดที่บรรจุศพออกดูก็พบเห็นแมลงสาบไต่ตอมสรีระของท่านเต็มไปหมดเหมือนกับที่ได้ฝันเห็นไว้ไม่มีผิด


    <DD>นอกจากนั้น ยังทำให้ได้ทราบกันโดยทั่วไปอีกว่า แม้หลวงพ่อได้มรณภาพไปแล้วหลายปี ในสภาพการณ์แห่งยุคสมัยที่ยังไม่มีการใช้น้ำยาฉีดศพ เพื่อป้องกันการเน่าเหม็นในระยะแรกของการเสียชีวิต แต่สภาพสรีระของหลวงพ่อกลับไม่ได้เน่าเปื่อยตามธรรมดาแต่ประการใด คงยังอยู่ในสภาพคล้ายเดิม โดยมีลักษณะแห้งแกร่งคล้ายหิน <DD>ครั้นได้ประจักษ์ดังนี้ จึงได้มีการบันทึกภาพไว้เป็นอนุสรณ์แห่งความพิเศษอีกครั้งหนึ่ง สรีระซึ่งไร้ลมปราณ สิ้นชีวิตไปแล้วเป็นเวลาหลายปี ก็ยังไม่เน่าเปื่อย ผุพังตามธรรมชาติวิสัยของหลวงพ่อพัฒน์นี้ นับเป็นประจักษ์พยานชิ้นแรก ๆ สำหรับความพิเศษแผกธรรมชาติ ที่ผู้คนส่วนหนึ่งเชื่อถือว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์อภินิหาร <DD>กล่าวกันว่า ก่อนกาลหลวงพ่อพัฒน์มรณภาพ (พ.ศ. 2485) ขึ้นไปเท่าที่ได้ทราบกันโดยกว้างขวางนั้น ยังไม่เคยปรากฎว่า มีพระเกจิอาจารย์ท่านใดที่มรณภาพแล้ว ศพไม่เน่าเปื่อยยุ่ยเป็นผุยผงแต่แห้งแกร่งเสมือนกิน ทำนองเดียวกันที่ได้ประจักษ์จากศพของหลวงพ่อพัฒน์ มาก่อนเลย จึงยึดถือกันว่า หลวงพ่อพัฒน์นับเป็นอารยสงฆ์ ผุ้มรณภาพแล้ว เหลือสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยทิ้งไว้เป็นเสมือนพยานวัตถุชั้นปฐม แห่งสภาวะที่ประหนึ่งความมหัสจรรย์สำหรับการประจักษ์และรับรู้ของผู้คนในทศวรรษสุดท้ายของพุทธศตวรรษที่ยี่สิบห้า <DD>ภายหลังจากนั้น ก็ได้มีการจัดการบรรจุสรีระอันไม่เน่าเปื่อยแห้งแข็งประดุจหินของหลวงพ่อพัฒนืไว้ในศาลา 6 - 6 - 6 ที่หลวงพ่อสร้างไว้หน้าอุโบสถ อย่างเป็นการถาวรตราบกระทั่งทุกวันนี้ ซึ่งในแทนทุกวันมักจะมีผู้คนเดินทางมากราบไหว้สักการะและแก้บนอยู่เสมอ ๆ<DD><DD>
    -----------------------------------

    ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :มจร. ห้องเรียนสุราษฎร์ธานี วัดพัฒนาราม
    http://www.mcusurat.org/patnaratog.49.html

    </DD>
     
  2. ร.รพินทร์

    ร.รพินทร์ ด้วยความเคารพ ... ร รพินทร์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +141
    " นิรันตรายา อิชมันตุ สีฆัง สีฆัง มะโน รัตฐา เอเตนะ สัจจะวัชเชนนะ นารทัสสะ นะมามิหัง "
    สุปฏิปัโณ สงฆ์ องหนึ่งของภาคใต้ ครับ
    กราบนมัสการพ่อท่าน มา ณ.ที่นี้
     
  3. ผู้เลื่อมใสศรัทธา

    ผู้เลื่อมใสศรัทธา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    911
    ค่าพลัง:
    +2,082
    อนุโมทนา สาธุครับ เพิ่งมาเจอกระทู้ ผมเป็นคนสุราษฏร์ บ้านอยู่ที่ตลาดล่าง หน้าวัดหลวงพ่อครับ

    ก็ขออนุญาตขุดกระทู้นะครับ เพิ่งมาเจอกระทู้นี้เอง

    ก็บอกกล่าวความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวงพ่อนะครับ

    ก็ขอบอกเล่าจากความคิดผมนะครับ ท่านเป็นหนึ่งในพระอริยแห่งจังหวัดสุราษฏร์ธานี พระอริยแห่งชาวบ้านดอน ครอบครัวผมนับถือท่านมากครับ ท่านเมตตาทุกคนครับ ของผมบางทีมีเรื่องทุกข์ แม่เพียงเล็กน้อยไม่สำคัญ เมื่อไปไหว้ท่าน ท่านก็ช่วยให้สมปราถนาครับ ของแม่ผมเล่าให้ฟังนะครับ เมื่อหลายปีที่แล้ว แม่มีเรื่องทุกข์ใจมาก เรือที่บ้านถูกจับ เรื่องไม่เดินสักที เพราตำรวจไม่ยอมเดินเรื่องส่งศาล เอาแต่คอยไถตังแม่ แม่บอกว่า แค่10กว่าวันหมดไปหลายแสนแล้ว มีอยู่วันหนึ่ง แม่ทุกข์ใจมาก เลยไปไหว้องค์หลววงพ่อ ก็ได้บอกกล่าวหลวงพ่อไป พออกจากมณฑป ไม่กี่ก้าวเอง ก็มีคนโทรเข้ามาเลย บอกว่าเพิ่งรู้เรื่องที่แม่โดนจับ แม่ก็เลยเล่าให้ฟังเรื่องราวทั้งหมด คนนั้นเค้าก็ช่วยทันทีครับ บอกว่าจะบอกเพื่อนช่วยให้ สุดท้ายแปปเดียวก็เสร็จครับ เสร็จหมดทุกอย่างเลยครับ

    บารมีองค์หลวงพ่อช่วยคุ้มครองทุกคนครับ

    สาธุ สาธุ สาธุ

    อยากจะดันกระทู้ให้มีคนอ่านเยอะๆครับ บารมีองค์หลวงพ่อยิ่งใหญ่มากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...