พุทธภูมิ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ธรรมะ องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช ชื่อภาพ : กายทิพย์ กายธรรม บันทึกภาพโดยคุณโกศล ณ. บ้านโยมบิดา อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย 23 เม.ย. 2555 เวลา 16:56 น. บันทึกภาพโดย IT Man ณ. เส้นทางบิณฑบาตร ต.กุดหว้า อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ภาพต้นฉบับ : กายทิพย์ กายธรรม - กด shutter เพียง 1 ครั้ง ::. ความเป็นมาของกระทู้/เวปบอร์ด .:: - มงคลนาม : พุทธภูมิ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ธรรมะ โดย องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช - ก่อตั้งเมื่อ : วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ.2555 เวลา 13:55 น. ขึ้น 3 ค่ำเดือน 6 - ร้อยเรียงและเทอดทูนเหนือเศียรเกล้าโดย : นักรบธรรมแห่งภูดานไห และญาติธรรมที่ฝักใฝ่ศึกษาธรรมะของจริง - ที่มาของข้อมูลบางส่วน มาจากกระทู้เดิม : หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตร(ฝัน) ::. วัตถุประสงค์ .:: - เพื่อเผยแพร่ความรู้ เรื่องราว ธรรมะ สิ่งอัศจรรย์ จรรโลงพระพุทธศาสนา - เผยแพร่ธรรมะ ปฏิปทาขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์แห่งภูดานไห ด้วยองค์ท่านเป็นพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง - เพื่อให้ผู้ที่ได้มารับรู้รับทราบ หากเกิดศรัทธาได้น้อมนำไปประพฤติปฏิบัติก็จักเกิดประโยชน์เป็นบุญเป็นกุศล - เพื่อการสละ ละ วาง และยกระดับจิตให้สูงขึ้น - เพื่อนอบน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา สืบอายุพระศาสนาให้ยืนยาวตราบนานเท่านาน ::. กฏ กติกา มารยาท เนื้อหาที่โพสท์ .:: - เพื่อความงอกงามในธรรม จรรโลงพระพุทธศาสนา - ไม่เป็นไปเพื่อให้คนลุ่มหลงมัวเมา - ไม่นำเรื่องภายนอกที่กระเทือนถึงบุคคลอื่นมาเขียนในบอร์ด - มีน้ำใจต่อกัน เกื้อหนุนกัน ไม่ขัดแย้งหรือหักล้างกันเอง - อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล - ถูกใจ ไม่ถูกธรรม อย่าทำ - ใช้ขนาดตัวอักษรใหญ่สุดไม่เกิน 4 หน่วยตัวอักษร ::. เว็บบล็อกที่เกี่ยวข้อง .:: 1. พ.สุรเตโช 2. พุทธสถานภูดานไห 3. พระพุทธปฐวีธาตุ 4. เรียงร้อยถ้อยธรรม 5. พระเครื่องเรื่องใหญ่ 6. บุญวิถีแห่งข้าพเจ้า 7. หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิต 8. ทำบุญร่วมสร้างพุทธสถานภูดานไหFACEBOOK: http://www.facebook.com/BuddhaDanhai ขอท่านจงมีแต่ความสุขความเจริญ มีกำลังแห่งสติปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในพระสัทธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตราบจนก้าวถึงทางแห่งความพ้นทุกข์ จงทุกๆท่านเทอญฯ IT Man/23.04.55
บันทึกภาพโดย ดร.นนต์ นครราชสีมา วาระธรรมะสัญจรครั้งที่ 1 สถานที่: บ้านพัก (home stay ใหม่) คุณศรีไพร-คุณธวัช เจ้าของสวนอาหารศรีไพร เมืองแม่ฮ่องสอน เมื่อวันอังคารที่ 15 พ.ย. 2554 ประมาณ 21:10 น. โดย: IT Man บันทึกภาพโดยคุณแม่ชม ระหว่างการเดินทางแสวงบุญขึ้นภูดานไห เมื่อ: วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2554 เวลา: 12:10:00 น. โดยมีผม (IT Man) และคุณเก๋ (manopk) ยืนอยู่ด้านล่าง ภาพต้นฉบับ ภาพจากกล้องของผม...เวลาเดียวกัน ที่มา
ผ้ายันต์พระโพธิสัตว์ฉบับสมบูรณ์ ผ้ายันต์พระโพธิสัตว์ฉบับสมบูรณ์ นะมัตถุ พุทธานัง ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย นะมัตถุ โพธิยา ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระโพธิญาณ องค์ประกอบคร่าวๆที่อ่านได้จากผ้ายันต์มีดังนี้ 1. องค์พระพุทธเจ้าล้อมรอบด้วยยันต์อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรจ มรรค 2. เบื้องซ้ายขวามียันต์สัญลักษญ์สามเหลี่ยมแทนความหมายคือพระรัตนตรัย 3. ครอบด้วยพรหมวิหารธรรม 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา 4. ทุกขั้นตอนต้องขับเคลื่อนไปด้วยพละทั้ง 5 กล่าวคือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา 5. เครื่องหมายยันต์อุณาโลม แทนองค์พุทธะ 6. ยันต์รอยพระพุทธบาท มีรูปพระซ้าย-ขวา เปรียบเหมือนพระอริยสงฆ์ 7. นะมัตถุ พุทธานัง :ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย (ตั้งแต่สมเด็จองค์ปฐมจวบจนพระองค์ปัจจุบัน) นะมัตถุ โพธิยา :ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระโพธิญาณ เป็นพระคาถาบทหนึ่งในโมรปริตร (คาถาพระโพธิสัตว์นกยูงทอง(พระองค์ปัจจุบัน)) ที่ทรงสวดก่อนออกหากินในตอนเช้าและก่อนเข้านอน เพื่อป้องกันภัยและอื่นๆครอบจักรวาล พ่อแม่ครูอาจารย์สายหลวงปู่มั่นได้อัญเชิญมาผูกเป็นพระคาถาในวัตถุมงคลต่างๆ ฯลฯ ผ้ายันต์พระโพธิสัตว์ : ที่พ่อแม่ครูอาจารย์เตรียมมอบให้ญาติโยมที่มาร่วมงานและร่วมสร้างพระพุทธรูป,ระบบน้ำในภูดานไห (31 ธ.ค.'54-2 ม.ค.'55) ที่สุดของที่สุด ก็คือผ้ายันต์ที่สมบูรณ์แบบพิมพ์นี้แหละครับ ไม่มีสิ่งใดๆจักสูงไปกว่าพระพุทธเจ้าอีกแล้ว
หนังสือฉบับแรกจากองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ หนังสือฉบับแรกจากองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ บันทึกภาพโดยองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ เมื่อ 19 ก.ย. 2555
อนุโมทนาครับ บอร์ดนี้คงจะเป็นที่รวมรวมธรรมะ กิจกรรม การสร้างบำเพ็ญบุญ และความเคลื่อนไหวต่างๆ อันเกี่ยวกับ องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ (พ.สุรเตโช) และพุทธสถานภูดานไห ให้ผู้สนใจได้รับรู้ รับทราบและเก็บเกี่ยวสิ่งดีๆนำไปปรับใช้ ก็คงจะก่อเกิดประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
การทำงานอะไรก็ย่อมมีอุปสรรค ....สู้ต่อไปนะเพื่อนขอเป็นกำลังใจให้ต่อไปก็กำหนดกฎกติกา และมารยาทในการแสดงความคิดเห็นไว้ด้วยก็ดี มีการให้ใบเหลืองเตือน หากไม่ฟังต้องมีบทลงโทษ .... 55555..... บอร์ดนี้ต่อไปคงเป็นแหล่งสำหรับศึกษาหาความรู้ของผู้ใคร่รู้ใฝ่ในธรรม นำเสนอข่าวคราวของนักรบธรรม และธรรมะของพ่อแม่ครูอาจารย์ เพื่อประดับไว้ในพระพุทธศาสนาสืบไป.... ขอเป็นกำลังใจให้เจ้าของบอร์ด จงมีพละ 5 ในการสืบพระศาสนาต่อไป.......ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปเด้อสู......
รายงานตัวเข้าบ้านใหม่ สวัสดีครับ นรธ.และญาติธรรมทุกท่าน ผมขอรายงานตัว ครับผม ขอเป็นกําลังใจ ให้บ้านมั่นคง ร่มเย็น ให้ประโยชน์ เป็นบ้านแห่งสาระ สามัคคี ลูกบ้านสมัครสมานรักใคร่กลมเกลียว ประพฤติธรรมเพื่อความจบไปสิ้นไปแห่งอาสวะเถิด มาร่วมกันสร้างบ้านให้อบอุ่นครับ สาธุ สาธุ สาธุ
รายงานตัวเช่นเดียวกันครับ ช่วงนี้ไม่ได้แสดงตัวที่กระทู้ไหนเลย ภาระกิจไม่มาก แต่ก็ติดตามข่าวคราวประจำครับ
เกศาธาตุองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช บันทึกภาพไว้หลายปีก่อนหน้าที่ IT Man จักมาพบองค์ท่าน (ณ ภูดานไห) เกศาธาตุองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ บันทึกภาพโดย IT Man เมื่อวาระวันเข้าพรรษา 15 ก.ค. 54 เกสาธาตุแปรสภาพเป็นแก้วใส (12 ส.ค. 54) เกศาธาตุพ่อแม่ครูอาจารย์ที่แปรสภาพจากสีดำเป็นแก้วใส จากแก้วใสกลายเป็นองค์พระธาตุหลากสี(อีกภาชนะ) กราบ กราบ กราบ ท่านกล่าวว่า...ผู้ที่หมดสิ้นซึ่งกิเลสแล้วเท่านั้น...จึงจะเป็นพระธาตุ
คำสอนขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช ภาพจากถ้ำแห่งหนึ่ง (น่าจะภูผาผึ้ง:IT Man) จาก "ปฏิปทา" สู่ "พระโสดาบัน" ...บุคคลที่จะเดินตามรอยครูบาอาจารย์ได้ ต้องสามารถที่จะเอาปฏิปทาของท่านไปดำเนิน สามารถที่จะบอกต่อๆกันไป ว่าครูบาอาจารย์ท่านนี้ๆ มีปฏิปทาอย่างนี้ ธรรมของท่านแสดงไว้อย่างนี้ เมื่อเข้าใจก็สามารถที่จะช่วยครูบาอาจารย์ได้อีกส่วนหนึ่ง ถ้าเรายังไม่เข้าใจหรือเข้าใจแต่ตนเอง แต่ไม่เข้าใจถึงตัวท่าน ยังไม่เข้าใจปฏิปทาของท่าน ยังเดินตามรอยของท่านยังไม่ได้ อันนี้ความคลาดเคลื่อนยังมีมาก ศิษย์กับอาจารย์ ต้องเห็นกันด้วยจิต ลงกันด้วยกายและก็ด้วยวาจา ต้องเป็นไปด้วยความนอบน้อม ต้องไว้ใจกันได้ ตายใจกันได้ ต้องแทนกันได้ เวลาท่านลับไป บุคคลเอาปฏิปทาของท่านไปดำเนิน ธรรมะของท่าน ปฏิปทาของท่าน มันจะไม่ตายไปด้วย หากเราไม่ตั้งใจอยากได้แต่ธรรมอย่างเดียวไม่ได้ดอก "เพราะว่าปฏิปทาทั้งหลายนั่นแหละคือธรรมอันสุดยอด" ไม่อย่างงั้นพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าคงไม่มี ถ้าท่านจะสอนเพียงแค่ธรรมอันบรรลุอย่างเดียว ท่านไม่วางวินัยไว้ ไม่วางศีลไว้ ไม่วางกฏระเบียบไว้ ให้ลูกหลานชาวพุทธได้เดินตาม ใครก็อยากจะพ้นทุกข์ ไม่อย่างงั้นคนประเภทไหนก็พ้นทุกข์ได้หมด จะกินเหล้าเมายา จะมอมเมาสิ่งไหนก็ชั่ง เพียงแค่นั่งหลับตาแล้วคิดอยากจะพ้นทุกข์แล้วก็พ้นทุกข์ได้เลยนั้น มันไม่ได้ คนที่จะพ้นทุกข์ได้ไม่ใช่บุคคลที่เหลวไหล แต่เป็นบุคคลใส่ใจที่จะทำตามคำของพระพุทธเจ้า เมื่อไปอยู่สำนักไหนก็ทำตามกฏระเบียบปฏิปทาของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัด บุคคลอย่างงั้น ท่านจึงจะเบาใจได้ ไม่ใช่เบาใจเฉพาะเพียงแค่เขาพูดง่ายนะ ต่อไปข้างหน้า เขาจะเอาธรรมะเอาปฏิปทาของท่านไปบอกสอน เพราะว่าท่านทุ่มเททั้งจิตทั้งใจของท่าน ท่านทุ่มเทที่จะประพฤติปฏิบัติ รักษากฏระเบียบตัวนั้นมา และทุ่มเทในการประพฤติปฏิบัติเพื่อที่จะได้ธรรมมาครอง คนที่จะได้ธรรมไม่ใช่คนที่เหลวไหล ไม่ใช่คนธรรมดา แต่เป็นคนที่มีกฏ มีระเบียบ มีความเพียร มีปัญญา ลูกศิษย์ลูกหาที่มาประพฤติปฏิบัติ ก็ต้องใส่ใจในปฏิปทาของครูบาอาจารย์ เพราะว่าท่านได้ทำด้วยความเพียรของท่าน ท่านได้รักษาเหมือนจิตใจของท่าน ถ้าเรามาเหยียบมาย่ำมาทำลาย ก็เหมือนทำลายจิตใจของท่าน คนที่จะเป็นลูกศิษย์กันได้ ต้องเป็นได้ด้วยใจ คือทำตามปฏิปทาที่ออกมาจากใจของท่าน ท่านทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ท่านสุขก็สุขด้วย ท่านพาทำอย่างไรเราก็ทำ สิ่งไหนที่ท่านไม่ทำเราก็ไม่ทำเหมือนกัน สิ่งไหนท่านเคยบอกเคยสอนเคยอบรมไว้เราก็จำไว้และก็นำไปประพฤติปฏิบัติ แม้กระทั่งเวลาเดินไปกับท่าน ลูกศิษย์ลูกหาถ้าจะเอาจริงๆต้องห่างประมาณสองศอก เกิดเวลาที่หยุดจะได้ไม่ชนท่าน ให้เดินอยู่ทางซ้ายมือ นี่แสดงออกถึงความเคารพ ส่วนใหญ่คนจะไม่ค่อยรู้จัก เรื่องแบบนี้มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เวลาเห็นรอยเท้าของท่าน ลูกศิษย์ลูกหาจะไม่กล้าที่จะเหยียบซ้ำรอยเดิมด้วยความเคารพ สิ่งเหล่านี้มันออกมาจากคุณธรรมของบุคคลนั้นๆ แสดงถึงคุณธรรมของบุคคลนั้นๆที่มีต่อครูบาอาจารย์ หรือว่าต่อไปข้างหน้าเขาจะเบ่งบานในธรรม เขาต้องเป็นที่มีความฉลาดมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ถึงจะเดินตามรอยของครูบาอาจารย์ได้ สิ่งเหล่านี้เป็นจิตสำนึกที่ลูกศิษย์ลูกหาที่มีต่อครูบาอาจารย์ ผู้ที่จะทำตามปฏิปทาของท่านต้องทำด้วยใจ ถือด้วยใจ ปฏิบัติด้วยใจ มันจึงมีน้อยบุคคลเหล่านี้หน่ะ บุคคลที่ตั้งใจ ท่านจึงบอกได้ บุคคลไหนเดินตามปฏิปทาของท่าน เคารพนับถือท่าน ไม่ว่าทางกาย ไม่ว่าทางวาจา ไม่ว่าทางใจ แสดงออกอยู่ทุกเวลา ไม่มีกาล ไม่มีเวลา แม้ต่อหน้า หรือว่าลับหลัง มีความเคารพบูชาอยู่อย่างงั้นตลอดเวลา เหมือนที่พวกเราเคารพพระพุทธเจ้ามีความนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา ไม่มีกาล ไม่มีเวลา ไม่มีสมัย ไม่มีกลางวัน ไม่มีกลางคืน เคารพอยู่อย่างนั้น ผู้ถึงซึ่งพระพุทธเจ้า ผู้สามารถที่จะน้อมเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นสรณะ ไตรสรณะคมนี่ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆนะ ผู้เข้าถึงซึ่งพระไตรสรณะคมหมายถึงพระโสดาบัน ผู้ที่ขอรับเอาพระไตรสรณคมไปปฏิบัติ กับผู้ที่เข้าถึงพระไตรสรณคมไม่เหมือนกัน ผู้ที่เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริงคือพระโสดาบัน ไม่ได้เข้าง่ายๆ ถ้าหากว่าเราเคารพนับถือขอถึงกับเข้าถึงไม่เหมือนกัน คือแต่ก่อนเรายังไม่เคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อได้ฟังธรรมะเกิดความเลื่อมใสขึ้นมาก็เลยขอเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งเป็นสรณะ แต่เมื่อขอถึงแล้ว มาประพฤติปฏิบัติสามารถที่จะกำจัดสังโยชน์ กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจของตนเองออกไปได้ จึงเป็นผู้เข้าถึงซึ่งคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หมดความลังเลสงสัย กำจัดวิจิกิจฉาลังเลสงสัยในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในเรื่องบาป เรื่องบุญ เรื่องคุณเรื่องโทษ เมื่อไม่มีความลังเลสงสัยแล้ว ไม่มีความสงสัยในศีลในธรรม ศีลก็บริสุทธิ์ขึ้นมา เพราะเห็นคุณของศีล เห็นโทษของการละเมิดศีล ศีลจึงเป็นความปกติขึ้นมาในจิต คือไม่มีการฆ่าสัตว์ ไม่มีการลักทรัพย์ ไม่มีการประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ไม่ดื่มสุราเมรัยหรือไม่มั่วอบายมุขทั้งหลาย เป็นความปกติอยู่ในจิตของตัวเองอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องไปสมาทานขอเอา เป็นความบริสุทธิ์ของจิต เป็นความบริสุทธิ์ของศีล ไม่มีขาด ไม่มีทะลุ ไม่มีด่างพล้อย เพราะว่าเป็นศีลบริสุทธิ์แล้วขึ้นมาในตัวจิตของพระโสดาบัน เพราะหมดความลังเลสงสัยในเรื่องศีล ในเรื่องของคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ มีการพิจารณากายของตัวเองว่าเป็นของไม่เที่ยงอยู่เสมอ เป็นของปฏิกูลสกปรกอยู่เสมอ ถึงจะยังหลงอยู่แต่ก็ไม่ลืมความตาย สักวันก็ต้องตาย พิจาณาอยู่สม่ำเสมอถึงความไม่เที่ยงของกาย มีความเห็นว่ากายของตนเองเป็นของสกปรก ถึงจะละไม่ได้ก็ชั่ง เพราะว่าภูมิของพระโสดาบันได้เท่านั้น เดินตามปฏิปทาของพระพุทธเจ้าที่ท่านได้เคยบอกเคยสอน ลูกศิษย์ลูกหาเวลามาประพฤติปฏิบัติ เป็นศิษย์มีครูก็ต้องเดินตามรอยของครูบาอาจารย์ เพราะแต่ละที่แต่ละสำนักท่านจะรับรองไม่กี่คนหรอก เพราะบุคคลเช่นนั้นสามารถที่จะเอาปฏิปทาของท่านไปดำเนินได้ เอาปฏิปทาของท่านไปเผยแพร่ให้คนทั้งหลายได้รู้จัก ได้เดินตาม เพราะฉะนั้นถ้าจะเป็นศิษย์มีครูต้องมีปฏิปทาของครูบาอาจารย์ ต้องนำปฏิปทาของครูบาอาจารย์ไปดำเนิน เหมือนเป็นระเบียบบังคับ บังคับทั้งกาย บังคับทั้งวาจา บังคับทั้งใจของเราให้เดินตามรอย เพราะว่าใจของเรา ถ้ายังฝึกไม่ได้ มันยังเชื่อไม่ได้อยู่ เพราะจิตของเรามันยังเจือด้วยกิเลส เชื่อยังไม่ค่อยได้ ต้องอาศัยปฏิปทา ต้องอาศัยกฏระเบียบบังคับมันไว้ บางครั้งมันก็ขี้เกียจ บางครั้งมันก็ขยัน บางครั้งมันก็ผ่องใส บางครั้งมันก็วุ่นวายเศร้าหมอง ถ้ามันเศร้าหมองมันก็ไม่อยากทำคุณงามความดีอะไร แม้แต่ไหว้พระสวดมนต์ กราบพระมันก็ยังไม่อยากกราบ แต่ถ้าเรามีปฏิปทานี่ ขี้เกียจก็ทำ ขยันก็ทำ วุ่นวายก็ทำ ผ่องใสก็ทำ กฏระเบียบทั้งหลายปฏิปทาทั้งหลายมันจะบังคับไว้ ถือปฏิปทาก็ถือด้วยจิตด้วยใจ ถือธรรมของพระพุทธเจ้าก็ถือด้วยจิตด้วยใจ ไม่ได้ถือใจของตัวเองเลย จนฝึกใจมาเป็นธรรม ธรรมกับใจเป็นอันเดียวกัน มันถึงเชื่อกันได้ มันถึงจะเป็นได้ มันถึงจะพาใจของเราพ้นทุกข์ได้ เพราะธรรมนั่นหล่ะ ไม่ใช่อันอื่นเลย ไม่ใช่เรื่องของกิเลสทั้งหลายที่จะพาใจเราพ้นทุกข์ ถ้าไม่มีปฏิปทาไม่มีกฏระเบียบ ใจมันก็ไม่มีที่พึ่ง พอใจไม่มีที่พึ่ง มันก็ไปพึ่งกิเลส จึงเป็นเหตุแห่งทุกข์ เพราะว่าคนทั้งหลายจะมั่นคงในธรรม จะเจริญไปข้างหน้าได้ต้องมีปฏิปทาเป็นเครื่องดำเนินถึงจะไปได้ เพราะว่าใจของเรามันวอกแวกหวั่นไหว มันยังห่วงตนเอง หลงตนเอง จนลืมธรรม บางครั้งจนลืมครูบาอาจารย์ที่บอกที่สอน เพราะความห่วงตัวเอง ถ้าจะประพฤติปฏิบัติท่านจึงบอกว่า เสี่ยงตาย คือทิ้งตัวเองไปเลย เอาธรรมมาใส่แทน ให้คำว่าตัวเองที่ยังมีกิเลสอยู่ เอาออกไปเลย ให้มันตายไปเลย เอาใจที่มันเป็นธรรมขึ้นมาใหม่ เอาจิตดวงใหม่ขึ้นมา จิตที่มันเป็นธรรม จิตที่มันเป็นศีล จิตที่มันมีครูบาอาจารย์ จิตที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งที่อาศัยเอามาใส่แทน จิตที่เหลวไหลห่วงตัว เอาทิ้งออกไป กลัว เจ็บ กลัวตาย กลัวลำบาก กลัวกิเลส เอามันออกไป ด้วยการมาฝึกฝน เรื่องของธรรมสำคัญมาก เรื่องของปฏิปทาสำคัญมาก เพราะว่าถอดออกมาจากจิตจากใจของท่าน เอามาสอนพวกเรา เพราะว่าท่านดำเนินมาอย่างงี้ ท่านจึงมีธรรมะขึ้นมาครองในใจของท่าน ไม่ใช่จะเป็นคนยังไงก็ได้ จะเป็นพระยังไงก็ได้ จะทำอย่างไงก็ได้ อย่างนั้นธรรมไม่เกิดหรอก ธรรมจะเกิดต่อผู้นอบน้อมต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีปฏิปทาเป็นเครื่องดำเนิน รักษากาย วาจา จิตของตนเองอยู่อย่างนั้น เป็นผู้มีสติบริบูรณ์ ไม่ว่ากาย ไม่ว่าวาจา ไม่ว่าใจ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อยู่ด้วยสติเป็นผู้รักษา เป็นผู้ดูแล ใจของเราถึงจะไปได้ บางครั้งเราประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ ยังตื่นตัวอยู่ อะไรก็อยากทำไปหมด เวลานานไปแล้ว กิเลส หยาบ กลาง ละเอียด มันแฝงตัวขึ้นมา มันแทรกตัวขึ้นมา มันเลยทำให้เราเห็นว่าเป็นของยาก เป็นของลำบาก แต่ก่อนเราประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ มันเป็นของง่ายๆ ทำอะไรก็ดูง่ายๆ แต่ว่าคนเราจะถึงจุดมุ่งหมายต้องอาศัยสิ่งที่มากระทบ ต้องอาศัยวันเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ว่าใจของเราจะหวั่นไหวไปตามกิเลสมั๊ย ใจของเราจะหนักแน่นในธรรมมั๊ย ถ้าเราไม่มีปฏิปทาแน่นอน ใจของเราย่อมหวั่นไหว ที่สุดแล้วต้องทิ้งธรรมไปเลย ถ้าเรามีปฏิปทาเป็นเครื่องดำเนิน ถึงกิเลสมันจะรบกวนจิตใจมากขนาดไหน จิตใจจะเศร้าหมองขนาดไหน แต่ว่าเรามีปฏิปทา เรามีพ่อแม่ครูบาอาจารย์ มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่ง มีหลักของใจอยู่อย่างนั้น มันไม่หวั่นไหว ที่สุดแล้วทุกๆสิ่งทุกๆอย่าง เวลาใจของเราได้ฝึกได้ฝนได้อบรมมากๆ มันแข็งมันแกร่งขึ้นมา จิตใจแกร่งด้วยศีล จิตใจแกร่งด้วยสติ แกร่งด้วยธรรม แกร่งด้วยขันติ แกร่งด้วยวิริยะ แกร่งด้วยความศรัทธา แกร่งด้วยสมาธิ แกร่งด้วยปัญญา มันแข็งมันแกร่งเหมือนดั่งเพชร เป็นบุคคลใจเพชร ไม่ยอมให้กิเลสเลย บุคคลแบบนั้นถึงจะมีธรรมมาครอง ถึงจะได้ธรรมมาครอง ไม่ใช่การปฏิบัติธรรมเพียงแค่การได้นั่งสมาธิก็จะบรรลุธรรมไปเลย เพราะว่าคนเราไม่ได้อยู่กับการนั่งสมาธิตลอดเวลา อริยาบทนี้มันก็เป็นบางเวลาเท่านั้น เวลาอื่นๆเราก็ต้องไปทำอย่างอื่่น นี่ละกฏระเบียบทั้งหลาย ปฏิปทาทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย จึงเป็นเครื่องคลุม เวลาเรานั่งสมาธิ อะไรมันก็ไม่มากวน แต่บางครั้งกิเลสมันก็เข้ามากวนจิตอยู่ แต่ว่ากายของเราไม่ไปทำสิ่งอื่น วาจาของเราไม่ไปทำสิ่งอื่น ในขณะนี้มันก็ดูพอใช้ได้ แต่เวลาออกจากการนั่งสมาธิ ออกจากการทำความเพียร ถ้าหากเราไม่มีปฏิปทา รับรองหวั่นไหวแน่นอน ปฏิปทาทั้งหลายจึงเป็นเครื่องคลุมจิตใจของเราไม่ให้หวั่นไหวไปตามกิเลสทั้งหลาย... ถอดมาจากเทปบันทึกเสียงโดย IT Man เนื้อหาอาจไม่ครบถ้วนและสมบูรณ์
คติธรรมโดยพระป่าบ้านนอก บันทึกภาพเมื่อวาระวันคล้ายวันเกิด 3 ก.พ. องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ (ณ ภูดานไห เมื่อหลายปีก่อน) ฟ้าดินห่างไกลกันก็ยังมองเห็น มหาสมุทรกว้างไกลก็พอไปถึง แต่จิตอริยะชน กับปุถุชนห่างไกลกันไม่มีที่หมาย เพราะปุถุชนกับอริยะชนอยู่คนละฝั่งกัน ฝั่งหนึ่งเป็นโลกีย์ ฝั่่งหนึ่งเป็นโลกุตตระ ปุถุชนเป็นโลก (โลกีย์) อริยะชนเป็นโลกุตตระ (เหนือโลก) จึงไม่สามารถมมองเห็นกันได้ จนกว่าปุถุชนจะประพฤติปฏิบัติจนจิตเป็นอริยะชน เมื่อนั้นจึงจะมองเห็นกันได้ ปุถุชนย่อมไม่สามารถเข้าใจการกระทำ คำพูด ถ้อยธรรมทุกคำ ตามความเป็นจริงในใจของอริยะชนอย่างถ่องแท้ได้ แต่อริยะชนทั้้งหลายย่อมแทงทะลุในการกระทำ คำพูด ความคิดทุกอย่างของปุถุชนได้อย่างไม่ต้องสงสัย จงตั้งใจพากเพียรประพฤติปฎิบัติตามอริยะชน นักปราชญ์เจ้าผู้รู้ทั้งหลาย ด้วยความอุตสาหะ และซื่อตรง ต่อธรรม ไม่เอาทิฎฐิของตนเป็นใหญ่จนขวางทางธรรมของเจ้าของ เพราะมันจะเนิ่นช้า เสียเวลาในการประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยการสุ่มเดาของตน จงเข้าหาศึกษา ประพฤติปฎิบัติกับนักปราญ์เจ้าผู้รู้ทั้งหลาย เพื่อความรู้แจ้งแทงทะลุในอริยะสัจจะธรรม สมความปรารถนา ปล: นักปราญ์เจ้าผู้รู้ที่แท้จริง คือพระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์
คติธรรมโดยพระป่าบ้านนอก บันทึกภาพเมื่อวาระวันคล้ายวันเกิดองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ (ณ ภูดานไห เมื่อหลายปีก่อน) พุทธบุตร นักรบธรรม (ภูดานไห) สู้อุตสาหะ พากเพียร ขยันหมั่นประพฤติ น้อมนำเอาธรรมนำไปปฏิบัติ ศรัทธามั่น น่าอนุโมทนาสาธุนัก สู้ไปเถิดอีกสักวันคงได้สมดั่งจินต์ บารมีใด ๆ ที่ท่านสร้าง จงเป็นทางมรรคาพาสมหวัง จงมีใจมากล้นด้วยพลัง ส่งถึงฝั่งเมืองแก้วพระนิพพาน ขออนุโมทนาในสิ่งทั้งหลายที่พวกท่านได้กระทำ เป็นกำลังให้พระศาสนา มีจิตใจที่เปี่ยมล้นด้วยพลังศรัทธา ร่วมสร้างวัด (สถานที่ปฏิบัติธรรม) ให้ผู้คนทั้งหลายได้มาทำบุญ โลกทั้งหลายเขาพากันสร้างสถานเริงรมย์ ยั่วยวนกิเลสคนให้เร่าร้อน ลุ่มหลง พวกท่านทั้งหลายพากันสร้างสถานธรรม ให้ผู้คนทั้งหลายได้มาอาศัยประพฤติปฏิบัติธรรม หลบร้อนด้วยไฟแห่งกิเลส ตัณหา น่าอนุโมทนานัก ขออนุโมทนา ก่อนออกบิณฑบาตรโปรดเวไนยสัตว์ (ภาพเมื่อหลายปีก่อน)
รอยธรรม รอยธรรม รอยเท้า รอยทาง รอยธรรม จงจำรอยบาท พระตถาฯ กลัวคน หลงทาง มรรคา พระศาสดา จึงทรง ประทับรอย ทับบาท แทนธรรม ให้โลก อย่าโยค หลบลี้ หนีถอย จงพา กันเดิน ตามรอย พุทธะคอย ชี้ทาง สว่างใจ ถ้าใคร ไม่เดิน ตามบาท ไม่อาจ พบทาง สว่างไสว อย่ามัว เพลิดเพลิน เกินไป กลัวใจ หลงกล กิเลสมาร รอยเท้า รอยทาง รอยธรรม พุทธะย่ำ ฝากไว้ ให้ลูกหลาน พุทธะบุตร จงทำ เพื่อนิพพาน ให้อาจหาญ เดินตามบาท พระศาสดา ประพันธ์โดย พระป่าบ้านนอก
สารบัญกิจธรรมปี พ.ศ.2554 1. องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สรุเตโช ธันวาคม (2) 42: ผ้ายันต์พระโพธิสัตว์ ฉบับสมบูรณ์ 41: ตู้บรรจุพระบรมธาตุ พฤศจิกายน (19) 40: ธรรมะสัญจร 27 พ.ย. 54 ถ้ำฝุ่น 39: เกสาธาตุหลวงปู่ฝั้น อาจาโร 38: เกสาธาตุองค์หลวงปู่จาม มหาปุญโญ 37: เกสาธาตุองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ 36: ธรรมะสัญจร หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญโญ 35: ธรรมะสัญจร 23 พ.ย. 54 สุรินทร์ 34: ธรรมะสัญจร 17 พ.ย. 54 พระธาตุดอยสุเทพ 33: ธรรมะสัญจร 17 พ.ย. 54 พระพุทธบาทสี่รอย 32: ธรรมะสัญจร 17 พ.ย. 54 มุ่งสู่เชียงใหม่ 31: ธรรมะสัญจร 16 พ.ย. 54 ณ.แม่ฮ่องสอน 30: ธรรมะสัญจร 15 พ.ย. 54 มุ่งสู่แม่ฮ่องสอน 29: ธรรมะสัญจร 15 พ.ย. 54 ถ้ำแก้วโกมล 28: ธรรมะสัญจร 14 พ.ย. 54 มุ่งสู่แม่ลาน้อย 27: ธรรมะสัญจร 14 พ.ย. 54 ณ.แม่สอด 26: ธรรมะสัญจร 13 พ.ย. 54 ณ.แม่สอด 25: ธรรมะสัญจร 12 พ.ย. 54 ณ.แม่สอด 24: โปรด นรธ.สมบัติอรุณ ณ.แม่สอด 23: ธรรมะสัญจรสู่นรธ.ครั้งที่ 2 สู่ภาคเหนือ 22: รหัส พ. พาน ในพระพุทธปฐวีธาตุ ตุลาคม (5) 21: ธรรมะเก็บตก 20: โปรด นรธ.ดร.นนต์ 19: โปรด นรธ.สันติ 18: โปรด นรธ.สมาชิกธรรม 17: เจริญธรรมสัญจรสู่ นรธ. ครั้งที่ 1 กันยายน (17) 16: แสงแห่งท่าน พ.สุรเตโช 15: จากพ่อสู่ลูก... 14: เกสาธาตุเสด็จ 13: กุฏิ...พ.สุรเตโช...ปีติสุข 12: ทางเดินจงกรม 12: เกสาธาตุ 11: ณ ภูผาผึ้ง 10: พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช 09: ถวายผ้าไตรพระอุปัชฌาย์ 08: ธุดงควัตร 13 07: ช่องทางการทำบุญร่วมสร้างพุทธสถานภูดานไห 06: ยิ่งรู้...ยิ่งเงียบ 05: หิ้งพระบรมสารีริกธาตุ 04: สโลแกนนักรบธรรม 03: คำว่าพ่อแม่ครูอาจารย์ 02: พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช 01: พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช 2. พุทธสถานภูดานไหธันวาคม (14) 57: ภูดานไห 31 ธ.ค. 54 [*]56: ผ้ายันต์พระโพธิสัตว์ [*]55: ภูดานไห 30 ธ.ค. 54 [*]54: ภูดานไห 29 ธ.ค. 54 [*]53: แสงแห่งธรรมที่สัมผัสได้จากพ่อแม่ครูอาจารย์ [*]52: ภูดานไห 28 ธ.ค. 54 [*]51: องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ทาสีกุฏิ [*]50: พญานาคมาทักทาย 27 ธ.ค. 54 [*]49: แสงแห่งสุริยเทพ 27 ธ.ค. 54 [*]48: ร้อยเอ็ด-ภูดานไห 26 ธ.ค.54 [*]47: รถเครนยกที่วางถังน้ำขึ้นภูดานไห 25 ธ.ค.54 [*]46: ลมหนาวแห่งภูดานไห 24 ธ.ค. 54 [*]45: โครงการขุดบ่อน้ำบาดาล [*]44: วาระ 5 ธันวา 54 พฤศจิกายน (1) 43: เทียบเชิญร่วมสร้างวัดเกศแก้วเกศาธรรม ตุลาคม (1) 42: วันพระเจ้าเปิดโลก กันยายน (42) 41: แสวงบุญภูดานไห3.15 พระพุทธบาท..สุดท้าย 40: แสวงบุญภูดานไห3.14 พุทธบูชา 39: แสวงบุญภูดานไห3.13 นมัสการพระพุทธบาทน้ำทิพย์ ว... 38: แสวงบุญภูดานไห3.12 ฟังธรรม 37: แสวงบุญภูดานไห3.12 น้อมสักการะพระพุทธรูป 36: แสวงบุญภูดานไห3.11 เดินตามเสียงธรรม 35: แสวงบุญภูดานไห3.10 สรงน้ำเท้า 34: แสวงบุญภูดานไห3.9 ถวายภัตตาหารเช้า 33: แสวงบุญภูดานไห3.8 ตักบาตรร่วมกระติ๊บข้าว 32: แสวงบุญภูดานไห3.7 วันที่สอง 31: แสวงบุญภูดานไห3.6 จบกิจกรรมวันคืนแรก 30: แสวงบุญภูดานไห3.5 พิธีถวายเพื่อทำบุญ 29: แสวงบุญภูดานไห3.4 พิธีมอบปฐวีธาตุ 28: แสวงบุญภูดานไห3.3 พระพุทธปฐวีธาตุ 27: แสวงบุญภูดานไห3.2 บรรยากาศแรก ระเบียบภูดานไห 26: แสวงบุญภูดานไห3.1...วาระสร้างบารมีธรรม 25: ภาพพิเศษ ณ ภูผาผึ้ง วาระวันแม่ 24: แสวงบุญภูดานไห2.5...สรุปวันแม่ 23: แสวงบุญภูดานไห2.4...ภูผาผึ้ง 22: แสวงบุญภูดานไห2.3...ภูผาผึ้ง 21: แสวงบุญภูดานไห2.2...บอกกล่าวความใน 20: แสวงบุญภูดานไห2.1...วาระวันแม่ 54 19: องค์พระอุปถาก...การปรับธาตุขันธ์ 18: มนุษย์มีความฝันเนื่องจากเหตุ 4 ประการ 17: องค์อธิษฐานบารมี 16: ยอดทำบุญรับพระ ดร.นนต์ 15: คำอธิษฐานเพื่องานบุญ 14: องค์ธรรมกถึก 13: เรื่องการเสียสละอันยิ่งใหญ่ 12: แสวงบุญภูดานไห1.6 11: แสวงบุญภูดานไห1.5 10: แสวงบุญภูดานไห1.4 09: แสวงบุญภูดานไห1.3 08: แสวงบุญภูดานไห1.2 07: ช่องทางการทำบุญร่วมสร้างพุทธสถานภูดานไห 06: แสวงบุญภูดานไห1.1...วาระวันเข้าพรรษา54 05: ประมูล1แสน...องค์สร้างบารมีธรรม 04: รวมบุญนักรบธรรม 03: ขนหินซ่อมทางขึ้นภู 02: ประมูล1แสน....องค์ดำธรรมบารมี 01: หนังสือบอกบุญวาระที่ 1 การสร้างกุฏิ 3. พระพุทธปฐวีธาตุ ตุลาคม (4) 27: รวมองค์เอตะทัคคะบารมี 26: พระพุทธปฐวีธาตุ ดร.ณัฐชัย 25: พระพุทธปฐวีธาตุ พี่มูริญโญ่ 24: พระพุทธปฐวีธาตุของ คุณสันติ กันยายน (23) 23: พระพุทธปฐวีธาตุของ คุณภูเบศรว์ 22: พระพุทธปฐวีธาตุของ คุณแม่ชม 21: พระพุทธปฐวีธาตุของ ครูร่วมชาติ 20: พระพุทธปฐวีธาตุของ ท่านพิเชฐ 19: พระพุทธปฐวีธาตุของ คุณเก๋ มานพ 18: พระพุทธปฐวีธาตุของ IT Man 17: พระพุทธปฐวีธาตุของ ท่านศรุต 16: พระพุทธปฐวีธาตุของ ท่านปรัชญา 15: พระพุทธปฐวีธาตุของ ดร.นนต์ 14: ชุดพระพุทธปฐวีธาตุ รุ่นแก้วจักรพรรดิ์มณีนาคา 13: จากพ่อสู่ลูก... 12: พระพุทธปฐวีชุดลองมือ 11: มอบปฐวีธาตุให้เจ้าสัวทำบุญ 10: ที่มาของนามพระพุทธปฐวีธาตุ 09: พ พาน 08: พลานุภาพพระพุทธปฐวีธาตุ 07: ช่องทางการทำบุญ 06: สมเด็จหลวงพ่อทวด 05: พระพุทธปฐวีธาตุชุดพิเศษ 04: เปิดตัว...องค์พระเมตตาเกสาธรรม 03: แก้วจักรพรรดิมณีนาคา 02: ภาพพระพุทธปฐวีธาตุ ชุดรวม 01: หนังสือฉบับแรกจากพ่อแม่ครูอาจารย์ 4. เรียงร้อยถ้อยธรรม ตุลาคม (15) 25: อวิชชา 24: พระนิพพาน 23: พระอรหันต์ 22: พระอนาคามี 21: กรรมบถ 10 20: กฎของธรรมดา 19: ทรงความดี 18: พ่อสอนลูก 17: พิจารณาตน 16: วิปัสสนาญาณ 15: สังโยชน์ 10 14: อริยสัจ 13: ดร.นนต์:คุณปลื้ม 12: ธรรมทานจากญาติธรรม 11: อริยบุคคล 8 ประเภท กันยายน (10) 10: phoobes:ดร.นนต์ 09: คุณสมบัติผู้นำ 11 ประการ 08: พระคาถาชินบัญชร 07: ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ 06: ไม่สุขล้น ไม่จ่อมจมในทุกข์ 05: ข้อคิดนักปฏิบัติ 04: การเตรียมตัวนั่งสมาธิ 03: หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ 02: ภูมิจิต 13 นำไปสู่ภพภูมิต่างๆ 01: ธรรมะเก็บตก หมายเหตุ: เนื้อหาบางส่วน ท่านผู้อ่านต้องไตร่ตรองให้รอบครอบก่อน ตามหลักกาลามสูตร ต่อ : สารบัญกิจธรรมปี 2555 (ไตรมาสแรก)
ธุดงควัตร 13 ธุดงควัตร 13 ประกอบด้วย 1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร 3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร 4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร 5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร 6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร 7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร 8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร 9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร 10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร 11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร 12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร 13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร การถือธุดงคบำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไป ตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและ ตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในป่าที่ดารดาษ ไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ พระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจะผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้า จึงมั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียร พระป่า สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้มอบกายถวายชีวิต ในพระพุทธศาสนา ดำเนิน เดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ ธุดงคจาริกไป ตามวนาป่าเขา เพื่อผลานิสงส์ ในการเพิ่มพูน บารมีธรรมแห่งพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมรรคผล นิพพาน เพื่อสงเคราะห์โลก แลสรรพสัตว์ เป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนา เป็นขุนพลกล้า แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ที่มีคุณูปการ อเนกอนันต์ ตราบนิรันดร์สมัย สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชลบุรี (22 ต.ค. 54) วาระธรรมะสัญจรครั้งที่ 1
คำว่า พ่อแม่ครูอาจารย์ บันทึกภาพ ณ. ถ้ำบนภูหมากตูม (หลังภูดานไห) คำว่า พ่อแม่ครูอาจารย์ เป็นคำที่มีความหมายไม่ใช่ว่าเราจะเรียกเล่นๆ โก้ๆ แต่เรียกมาจากจิตใจ... พ่อแม่ คือทิศเบื้องหน้า เป็นพระพรหมของลูกๆ ใครที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่จะมีแต่ความเจริญก้าวหน้า...ครูอาจารย์ จัดเป็นทิศเบื้องขวา เป็นพ่อแม่คนที่สองของเรา ใครที่มีความกตัญญูกตเวที่ต่อครูอาจารย์จะทำกิจการหรือประกอบกิจการใดๆ ก็จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง... และ พระสงฆ์ จัดเป็นทิศเบื้องบน ใครที่กราบไหว้บูชาพระสงฆ์ ประพฤติปฏิบัติหลักธรรมคำสอนของท่านอยู่ในศีลธรรมจะมีแต่มงคล เป็นที่เคารพของทั้งมนุษย์ และเทวดา... การที่เราเรียกพระสงฆ์ที่พวกเราเคารพนับถือเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ ก็แสดงถึงความเคารพนับถือที่พวกเรามีต่อท่านยกให้ท่านเป็นทั้ง พ่อแม่ และครูอาจารย์ ในคนเดียวกัน จึงจัดเป็นเป็นมงคลสูงสุดยอมให้ท่านว่ากล่าวตักเตือนเหมือนพ่อแม่ ให้ท่านสังสอนอบรมเหมือนครู และท่านได้ปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดีที่เรียกว่า สุปฏิบันโน จึงไม่มีคำเรียกใดที่พวกเราจะสรรหามาเรียกแทน จึงขอเรียกท่านว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" ยอมรับการสั่งสอนจากท่าน ยอมแม้กระทั่งกินน้ำล้างเท้าของท่าน...ซึ่งเป็นแสดงออกถึงความตกลงปลงใจให้ท่านว่ากล่าวพวกเราได้ทุกๆเรื่อง และพร้อมรับเอาคำแนะนำสั่งสอนของท่านมาประพฤติปฏิบัติตามกำลังสติปัญญาของตนด้วยความเคารพ แม้จะอยู่ห่างไกลท่านแต่ใจพวกเราไม่เคยห่างจากท่าน จะส่งกระแสจิตไปกราบแทบเท้าท่านทุกคราว ซึ่งท่านก็รับรู้ตลอด...ดังนั้นคนที่ไม่รู้ไม่เห็นอย่างพวกเราก็อาจจะกล่าวว่าไปต่างๆนานา คงเอาไว้เป็นเรื่องของพวกท่าน หากพวกท่านมาอยู่ในฐานะอย่างพวกเราแล้วจะรู้ความหมาย...ของคำว่า ปัจจัตตัง...และคำว่า "พ่อแม่ครูอาจารย์" บันทึกภาพด้านหน้ากุฏิ