เรื่องเด่น ปฏิทินพลังจิตธรรมสัญจร 55 ตอน ร่วมบุญสร้างลานปฏิบัติธรรมกับ คบ. วิจิตร มนฺญโญ P. 44

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย ญ.ผู้หญิง, 14 ธันวาคม 2011.

  1. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    รายนามผู้ร่วมบุญ-ร่วมเดินทาง


    [​IMG][​IMG] ธรรมเฉพาะกิจ (๒) ภูทอก-ภูเขาควาย-ร่วมงานบำเพ็ญกุศลครบรอบวันมรณภาพหลวงปู่จวน กุลเชฎโฐ ปีที่ ๓๒ จ. บึงกาฬ-สปป. ลาว วันพุธที่ ๒๕-วันอาทิตย์ที่ ๒๙ เม.ย.
    [​IMG] ผู้ร่วมบุญ
    ๑. กองทุนบึงลับแล จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๒. หลาน ๆ สกุล "ศราภัยวานิช" จำนวน ๕๐ บาท
    ๓. คุณคะรุทา จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๔. คุณทวิชา และครอบครัว จำนวน ๕๐๐ บาท
    ๕. คุณรัชนี จำนวน ๒,๐๐๐ บาท
    ๖. คุณวรานิษฐ์ จำนวน ๒๐๐ บาท
    ๗. คุณจบสักที จำนวน ๕๐๐ บาท

    รวมเงินร่วมบุญ ณ วันที่ ๒๔ เม.ย. จำนวน ๔,๒๕๐ บาท


    [​IMG] ผู้ร่วมเดินทาง ตรวจสอบผังที่นั่ง [​IMG]
    ๑. คุณ ญ.ผู้หญิง จ่ายแล้ว ๕,๙๐๐ บาท ลว. ๒๗/๓/๕๕
    ๒. คุณ vena* จ่ายแล้ว ๕,๙๐๐ บาท ลว. ๒๓/๓/๕๕
    ๓. คุณ Nemolove จ่ายแล้ว ลว. ๑๘/๓/๕๕ และ ๙/๔/๕๕
    ๔. คุณ s3515941 (๑) จ่ายแล้ว ลว. ๒๕/๓/๕๕ และ ๙/๔/๕๕
    ๕. คุณ s3515941 (๒) จ่ายแล้ว ลว. ๒๕/๓/๕๕ และ ๙/๔/๕๕
    ๖. คุณอัสนี (๑) จ่ายแล้ว ลว. ๒๕/๓/๕๕ และ ๙/๔/๕๕
    ๗. คุณอัสนี* (๒) จ่ายแล้ว ลว. ๒๕/๓/๕๕ และ ๙/๔/๕๕
    ๘. คุณ toy384* (๑) จ่ายแล้ว ลว. ๒๗/๓/๕๕ และ ๙/๔/๕๕
    ๙. คุณ toy384* (๒) จ่ายแล้ว ลว. ๒๗/๓/๕๕ และ ๙/๔/๕๕
    ๑๐. คุณ toy384* (๓) จ่ายแล้ว ลว. ๒๗/๓/๕๕ และ ๙/๔/๕๕
    ----------------------------------
    ๑๑. คุณ mancity04 (๑) จ่ายแล้ว ลว. ๗ และ ๙/๔/๕๕
    ๑๒. คุณ mancity04* (๒)
    จ่ายแล้ว ลว. ๗ และ ๙/๔/๕๕
    ๑๓. คุณ mancity04* (๓) จ่ายแล้ว ลว. ๗ และ ๙/๔/๕๕
    ๑๔. คุณตุ๊กตา (๑) จ่ายแล้ว ๕,๙๐๐ บาท ลว. ๑๑/๔/๕๕
    ๑๕. คุณตุ๊กตา (๒)
    จ่ายแล้ว ๕,๙๐๐ บาท ลว. ๑๑/๔/๕๕
    ๑๖.
    คุณตุ๊กตา* (๓) จ่ายแล้ว ๕,๙๐๐ บาท ลว. ๑๑/๔/๕๕
    ๑๗. คุณตุ๊กตา (๔) จ่ายแล้ว ๕,๙๐๐ บาท ลว. ๑๑/๔/๕๕
    ๑๘. คุณตุ๊กตา (๕)
    จ่ายแล้ว ๕,๙๐๐ บาท ลว. ๑๑/๔/๕๕
    ๑๙. คุณตุ๊กตา (๖) จ่ายแล้ว ๕,๙๐๐ บาท ลว. ๑๑/๔/๕๕
    ๒๐. คุณตุ๊กตา (๗) จ่ายแล้ว ๕,๙๐๐ บาท ลว. ๑๑/๔/๕๕

    รวมผู้แจ้งความประสงค์ร่วมเดินทาง จำนวน ๒๐ คน
    (เต็ม)


    หมายเหตุ

    ๑. รับจำนวนจำกัด ๑๐ ที่นั่ง : คัน
    ๒. เฉพาะสมาชิกที่ประสงค์จะร่วมเดินทางในคันที่ ๒ สามารถลงชื่อและโอนชำระเงินได้ทันทีตั้งแต่ัวันนี้-วันที่ ๑๐ เม.ย.๕๕ และสิทธิ์การร่วมเดินทางจะมีผลสมบูรณ์ ต่อเมือผู้จัดได้รับทราบการชำระเงินมัดจำจำนวน ๒,๐๐๐ บาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
    ๓. ในกรณีที่มีสมาชิกแจ้งความประสงค์ร่วมเดินทางไม่ครบ ๑๐ คน ผู้จัดขออนุญาตเก็บค่าใช้จ่ายเฉพาะคันที่ไม่เต็ม ดังนี้
    - เดินทาง ๑๐ คน ค่าใช้จ่ายคนละ ๕,๙๐๐ บาท
    - เดินทาง ๘-๙ คน ค่าใช้จ่ายคนละ ๖,๕๐๐ บาท*

    * เก็บเพิ่มส่วนต่างหน้างาน ณ วันเดินทาง

    . หนังสือเดินทาง (Passport) จะต้องมีอายุใช้งานคงเหลือไม่ต่ำกว่า ๖ เดือน และสมาชิกทุกคนจะต้องจัดส่งข้อมูลส่วนตัว ประกอบด้วย
    - คำนำหน้านามชื่อ-นามสกุล
    - วันเดือนปีเกิด
    - ชื่อ-สกุล-เลขที่ Passport

    มาที่ PM หรือ E-Mail : papa3107@gmail.com ของผู้จัดภายในวันที่ ๓๑ มี.ค. ๕๕ หรืออย่างช้าที่สุดภายในวันที่ ๑๐ เม.ย. เพื่อใช้ในการทำประกัน และแจ้งการเดินทางเข้า สปป. ลาว



    ;aa59​
    สมาิชิกทุกท่านสามารถอ่านประวัติสถานที่ ๆ จะไปในกิจกรรมบุญนี้ได้ที่ คลิกบันทึกการเดินทางและประมวลภาพภูทอก ๑ คลิก
    บันทึกการเดินทางและประมวลภาพภูทอก ๒ คลิก
    <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1">
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2012
  2. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    มารู้จักประวัติสถานที่ ๆ ที่จะไปในกิจกรรมบุญนี้กันเถิด...

    ๑. วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๒๓ การสูญเสียครั้งใหญ่ของพระคณาจารย์ พระป่ากัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต


    [​IMG]
    พระคณาจารย์ ๕ รูปที่มรณภาพพร้อมกันด้วยเหตุเครื่องบินตก


    การสูญเสียครั้งใหญ่ของพระคณาจารย์ พระป่ากัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ไปพร้อมกันทีเดียวถึง ๕ รูปด้วยกัน

    เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ เดือนเมษายน พระคณาจารย์พระป่ากัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้รับอาราธนาจากทางสำนักพระราชวัง กรุงเทพมหานคร ทั้งหมดจำนวน ๕ รูปด้วยกันคือ หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, หลวงพ่อวัน อุตฺตโม, พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร และพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม พระคณาจารย์พระป่ากัมมัฏฐานทั้ง ๕ รูปจึงได้ไปรวมกันที่จังหวัดอุดรธานีเพื่อขึ้นเครื่องบิน เพราะลูกศิษย์ลูกหาต้องการถวายความสะดวกและเพื่อความรวดเร็วในการเดินทาง โดยได้ขึ้นเครื่องบินที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓

    ครั้นเมื่อเครื่องบินมาถึงท้องนาทุ่งรังสิต เขตหมู่ที่ ๔ ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เหลือระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตรเศษ เครื่องบินได้ตั้งลำและลดเพดานบินเพื่อเตรียมลงสู่สนาม แต่เนื่องจากเครื่องบินได้ประสบพายุหมุนและประกอบกับฝนตกหนัก จึงเสียหลักตกลงที่ท้องนาทุ่งรังสิต
    พระคณาจารย์ทั้ง ๕ รูปจึงถึงแก่มรณภาพพร้อมด้วยผู้โดยสารอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ นาฬิกา


    [​IMG]
    หลวงพ่อวัน-พระอาจารย์จวน-พระอาจารย์สุพัฒน์


    [​IMG]


    [​IMG]
    ซากเครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุ


    ผู้โดยสารที่รอดชีวิตเป็นผู้ที่นั่งทางส่วนหางของเครื่องบิน เพราะส่วนหางของเครื่องบินยังอยู่ในสภาพดี เมื่อพระคณาจารย์ทั้ง ๕ รูปได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว มีการนำศพไปตกแต่งบาดแผลที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช แล้วนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพฯ โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ทั้ง ๗ วัน วันแรกพระราชทานหีบทองทึบ วันต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ รับสั่งให้เปลี่ยนใหม่เพราะทรงเห็นว่าไม่สวยงาม จึงได้เปลี่ยนเป็นหีบลายทอง


    [​IMG]
    สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)


    หลังจาก ๗ วันแล้ว ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ทรงเป็นเจ้าภาพ และในวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ คณะรัฐบาลซึ่งมีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะศิษยานุศิษย์ของพระคณาจารย์ที่มรณภาพดังกล่าวซึ่งอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพ นับว่าเป็นเกียรติประวัติแก่พระคณาจารย์ทั้ง ๕ รูปที่จากไปอย่างยิ่งยวด ยังความปลื้มปิติยินดีแก่ญาติพี่น้อง เพื่อนสหธรรมิก คณะศิษยานุศิษย์ และผู้ที่เคารพนับถือของพระคณาจารย์ทั้ง ๕ รูปอย่างหาที่สุดมิได้


    [​IMG]
    ศพพระคณาจารย์ที่ตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ


    [​IMG]
    สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธฯ
    ทรงเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ


    [​IMG]
    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
    เสด็จร่วมบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ


    [​IMG]
    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ
    เสด็จร่วมบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ


    [​IMG]
    รถพยาบาลหลายคันจากโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เชิญศพพระคณาจารย์ต่าง ๆ
    เดินทางจากวัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน ไปถึงวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี
    บรรดาพระภิกษุ สามเณร และประชาชนไปคอยเคารพศพอยู่อย่างคับคั่ง


    เมื่อครบกำหนดการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร แล้วก็ได้อัญเชิญศพพระคณาจารย์ทั้ง ๕ รูปกลับไปสู่ยังวัดเดิมของแต่ละท่าน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หัวหน้าแผนกพระราชพิธีเป็นผู้ดูแลโดยตลอด สำหรับรถยนต์ที่เชิญศพพระคณาจารย์ต่างๆ คุณหมอปัญญา ส่งสัมพันธ์ แห่งโรงพยาบาลแพทย์ปัญญา เป็นผู้จัดหา และได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลต่างๆ เป็นอย่างดียิ่ง

    วันพุธที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๒๓ เวลา ๐๔.๐๐ นาฬิกา รถเชิญศพได้เคลื่อนออกจากวัดพระศรีมหาธาตุ วรมหาวิหาร เขตบางเขน โดยมีรถตำรวจทางหลวงนำ ถัดมาเป็นรถหลวง รถพระอาจารย์สมชาย ฐิติวิริโย และรถเชิญศพพระคณาจารย์ทั้ง ๕ รูป ตามลำดับ เมื่อเวลาประมาณ ๐๗.๐๐ นาฬิกาเศษ ขบวนเชิญศพได้มาถึงจังหวัดนครราชสีมา มีคณะพระภิกษุสามเณรโดยการนำของ
    พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระชินวงศาจารย์ และพระครูคุณสารสัมปัน (หลวงปู่โชติ คุณสมฺปนฺโน) พร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา ได้นำข้าวห่อมาต้อนรับคณะเชิญศพและมาเคารพศพกันเป็นจำนวนมาก

    หลังจากพระฉันอาหารและเจ้าหน้าที่รับประทานอาหารเสร็จแล้ว ขบวนเชิญศพได้ออกเดินทางต่อไปถึงวัดโพธิสมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อเวลา ๑๒.๓๐ นาฬิกา ทางวัดโพธิสมภรณ์และชาวอุดรธานีได้จัดต้อนรับเป็นอย่างดี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีได้นำประชาชนหลายจังหวัดมารอเคารพศพ ซึ่งแล้วเสร็จเวลาประมาณ ๑๔.๐๐ นาฬิกาเศษ รถเชิญศพจึงได้แยกย้ายกันไปยังวัดต่างๆ อันเป็นวัดเดิมของแต่ละพระคณาจารย์ นับว่าการเชิญศพถึงวัดได้รับความสะดวกสบายปลอดภัยทุกประการ


    พระคณาจารย์พระป่ากัมมัฏฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่ได้มรณภาพลงพร้อมกันทีเดียวถึง ๕ รูปด้วยกัน มีรายนามดังต่อไปนี้


    [​IMG]

    ๑. หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม
    วัดสิริสาลวัน บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู



    [​IMG]

    ๒. หลวงพ่อวัน อุตฺตโม
    วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) ต.ปทุมวาปี อ.ส่องดาว จ.สกลนคร



    [​IMG]

    ๓. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

    วัดเจติยาคิรีวิหาร (วัดภูทอก) ต.นาสะแบง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ



    [​IMG]

    ๔. พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

    วัดป่าแก้วชุมพล ต.บ้านชุม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร



    [​IMG]

    ๕. พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม

    วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี ต.บ้านต้าย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร


    ท่ามกลางความเศร้าสลดอาลัยของคณะสงฆ์ เพื่อนสหธรรมิก คณะศิษยานุศิษย์ และสาธุชนทั่วไปเป็นยิ่งนัก ที่ต้องสูญเสียพระคณาจารย์พระป่ากรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ไปพร้อมกันทีเดียวถึง ๕ รูปด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นการสูญเสียของวงการสงฆ์ครั้งใหญ่มากอีกครั้งหนึ่งของเมืองไทย



    คัดลอกบางตอนมาจาก...
    หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
    พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม)
    เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๔


    [​IMG]
    หลวงพ่อวัน อุตฺตโม-พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ-พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร


    ขอบคุณที่มา : เว็บลานธรรมจักร

     
  3. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]
    ๒. ประวัติและปฏิปทา พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

    วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก)
    ต.นาแสง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ


    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ มีชาติกำเนิดในสกุล “นรมาส” เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ณ บ้านเหล่ามันแกว บ้านเลขที่ ๒๘ หมู่ที่ ๑๒ ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ ในปัจจุบัน) บิดาท่านชื่อ ลา มารดาชื่อ แหวะ สกุลเดิม วงศ์จันทร์ บรรพบุรุษของท่านอพยพมาจากเวียงจันทน์ เป็นอุปฮาดของเมืองเวียงจันทน์ เมื่อมีภัยสงครามเกิดขึ้นเวียงจันทน์แตก อุปฮาดผู้เป็นต้นตระกูลก็พาครอบครัวอพยพมา ครั้งแรกตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลหนองบัวลำภู ต่อมาย้ายถิ่นฐานบ้านช่อง กระทั่งท้ายที่สุดมาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี (จังหวัดอำนาจเจริญ ในปัจจุบัน)

    บิดามีอาชีพทำนาและมีความรู้ทางด้านสมุนไพรมาก เพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียงได้อาศัยเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย คือเป็นหมอประจำหมู่บ้าน เป็นที่รักใคร่นับถือ และได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งบิดาของท่านก็ดำรงตำแหน่งนี้มาตลอดจนถึงแก่กรรม ขณะนั้นท่านอายุได้ ๑๖ ปี


    ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คนด้วยกัน มีชื่อตามลำดับดังนี้

    ๑. นายเหีย นรมาส

    ๒. นายแดง นรมาส
    ๓. นายโลน นรมาส
    ๔. นางน้อยแสง หมายสิน
    ๕. นายอ่อนจันทร์ นรมาส
    ๖. พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

    ๗. นายนวล นรมาส

    ตามชนบทในสมัยนั้นโรงเรียนมีน้อยมาก ตั้งอยู่ห่างไกลกัน ในตำบลหนึ่ง ๆ มิได้มีโรงเรียนครบทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านใดไม่มีโรงเรียนเด็กก็ต้องมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนในหมู่บ้านใกล้ เคียง ซึ่งต้องเดินนับเป็นสิบ ๆ กิโลเมตร ผู้ปกครองจะยอมให้บุตรหลานไปเรียนหนังสือ จึงต้องให้โตพอประมาณ คือ อายุ ๙-๑๐ ปี ท่านอาจารย์ก็เช่นเดียวกันเริ่มเข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุครบ ๙ ขวบเต็ม ต้องเดินไปโรงเรียนที่อีกหมู่บ้าน คือที่บ้านดงมะยาง จนขึ้นชั้นประถมปีที่ ๓ โรงเรียนจึงย้ายมาอยู่ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ติดกับบ้านเหล่ามันแกว อันเป็นบ้านเกิด


    ท่านได้เรียนรู้ที่โรงเรียน นี้จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของตำบลชนบทละแวกนั้น ระหว่างเรียนเป็นผู้เรียนดี ฉลาดและขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่ง สอบไล่ได้ที่ ๑ โดยตลอด ตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ ๑ จนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับคำชมเชยยกย่องจากครูบาอาจารย์ ทั้งในด้านการเรียนและในด้านความประพฤติจนครูเชื่อถือรักใคร่ให้ช่วยสอน เพื่อนนักเรียนแทนครูตลอด เป็นประจำทุกชั้นเรียน


    หลังจากจบการศึกษาแล้ว อายุย่างเข้า ๑๘ ปี ท่านได้เข้าทำราชการกรมทางหลวงแผ่นดิน อยู่เป็นเวลา ๔ ปี จึงได้ลาออกเพื่อเตรียมอุปสมบท


    กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้มีนิสัยฝักใฝ่ในทางธรรมะมาแต่เด็ก นอกจากการวิ่งเล่นซุกซนสนุกสนานตามวิสัยเด็กน้อยแล้ว สำหรับนิสัยทางสร้างบาปสร้างกรรมไม่มีเลย ท่านเล่าเสมอว่าท่านไม่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ส่วนการหยิบฉวยลักขโมยนั้น แม้แต่เข็มสักเล่มเดียวก็ไม่เคยหยิบฉวยของใครเลย


    เมื่อท่านอายุได้ ๑๔-๑๕ ปี ได้พบพระธุดงค์ มาปักกลดอยู่ใกล้บ้านก็บังเกิดความเลื่อมใสตั้งปณิธานว่าต่อไปจะบวชอย่าง ท่านบ้าง พระธุดงค์ได้มอบหนังสือ
    “ไตรสรณาคมน์” ของ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม แห่งวัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา มาให้ หนังสือนี้นอกจากสอนให้พุทธศาสนิกชน รู้จักการเข้าถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแท้จริงแล้ว ได้สอนวิธีปฏิบัติภาวนาด้วย ท่านบังเกิดความคิดเลื่อมใสศรัทธา จึงจะลองปฏิบัติตามหนังสือนั้น เริ่มสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรต่อ แล้วนั่งสมาธิหัดบริกรรม “พุทโธ...พุทโธ...พุทโธ” จนกระทั่งปรากฏว่าจิตรวม จิตกับกายแยกกัน ไม่เหมือนกัน จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฏเลย

    ท่านเล่าว่า เวลานั้นก็ไม่รู้จักอะไรลึกซึ้ง ด้วยหัดเอง ทำเอง ทำตามลำพังคนเดียวไม่มีผู้รู้มาสอนให้ก้าวหน้าขึ้น ได้แต่รู้สึกว่านั่งสมาธิแล้วก็สบายดี กายเบา จิตขาวนิ่มนวลผ่องใส เหมือนนั่งนอนอยู่อากาศอันนิ่มนวล ทำให้จิตใจดูดดื่มมาก นึกอยากจะภาวนาเสมอ ๆ ถ้าวันไหนใจไม่สบาย ก็ต้องเข้าที่นั่งภาวนา สงบใจเสมอ


    ภายหลังระหว่างทำงานได้รับหนังสือ
    “จตุราลักษณ์” ของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล มาอ่านเพิ่มเติมสติปัญญาอีก เมื่อท่านอ่านไปถึงมรณานุสติ จิตก็สลดสังเวชว่า เราก็ต้องมีตายอยู่นั่นเองและในหนังสือนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ฯ ก็ได้ย้ำถึงเรื่องกรรมว่า คนเราต่างมีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เมื่อยังมีชีวิตอยู่ กรรมนั้นจักเป็นทายาทให้เราได้รับผลกรรมนั้นต่อๆ ไป คือหมายความว่า กรรมต่างจำแนกสัตว์ให้เป็นไปต่าง ๆ นานา ให้เลว ให้ดี ให้ชั่ว ให้ประเสริฐ เมื่ออ่านกันถึงตอนนี้ ท่านก็บังเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่ง นึกว่าคนเราที่เกิดมาถ้าไม่ประกอบคุณงามความดี ก็ไม่มีประโยชน์แก่ชีวิตของตน และไม่มีโอกาสที่จะได้รับความสุขต่อไปในชาติหน้าอีก ศรัทธาในพระศาสนาก็เพิ่มพูนขึ้น เมื่ออายุเพียง ๒๐ ปีถึงกับสละเงินที่เก็บหอมรอมริบระหว่างทำงานอยู่กรมทางหลวงทั้งหมดเป็นเจ้า ภาพสร้างมหากฐินคนเดียว สร้างพระประธาน สร้างส้วม ในวัดจนหมดเงิน

    เมื่อท่านอาจารย์อายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายมหานิกาย ที่วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี พระอุปัชฌาย์ชื่อ บุ พระกรรมวาจาจารย์ชื่อ พระมหาแจ้ง ได้ฉายาว่า “จวน กลฺยาณธมฺโม” ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรม และสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานั้น


    ระหว่างที่บวชเป็นพระบ้านอยู่นั้น ท่านปรารถนาจะออกธุดงค์เจริญรอยตามพระธุดงคกัมมัฏฐานที่เคยกราบคารวะเมื่อยังเด็ก จึงคิดจะญัตติเป็นธรรมยุตเพื่อออกธุดงค์ เมื่อไปขอลาอุปัชฌาย์ ท่านไม่ให้ญัตติ ให้สึกเสียก่อน ท่านจึงตัดสินใจลาสิกขาบทออกมาเป็นฆราวาสก่อนชั่วคราว
    (อ่านต่อเพิ่มเติม)
     
  4. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]
    ๓. วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก)

    ตั้งอยู่ที่บ้านคำแคนพัฒนา หมู่ที่ ๖ ตำบลนาแสง อำเภอ<wbr>ศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ ๔๓๒๑๐


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]
    ประตูสู่ทางขึ้นภูทอก

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ชั้นที่ ๑-๒ เป็นบันไดสู่ชั้นที่ ๓ ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหิน ลานหิน สุดทางชั้นที่ ๓ มีทางแยกสองทางทางซ้ายมือ เป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ ๕ ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมาก ผ่านหลืบหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ ๔

    ชั้นที่ ๔ เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า “ ดงชมพู ” ทิศตะวันออกจดกับภูลังกาเขตอำเภอเซกา ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบ บนชั้นที่ ๔ นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ ๔๐๐ เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะ ๆ


    [​IMG]
    บนภูทอกจะมุมปฎิบัติธรรมสร้า้งหลบอยู่ตามซอกหินครับ

    ภายในมีพระพุทธรูป และรูปพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เช่น หลวงปู่มั่น หลวงปู่ขาว หลวงตาบัว หลวงปู่แหวน หลวงปู่คำพอง ติดอยู่ผนังถ้ำ

    [​IMG]

    มองจากด้านบนลงไป จะเห็นเจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่บรรจุอัฐบริขาร ในสมัยบำเพ็ญสมณธรรม และเก็บอัฐิธาตุท่านและรูปปั้นขนาดเท่าองค์จริงของท่าน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    ที่เห็นเป็นก้อนหินใหญ่ๆด้านบน คือ ศาลาปฏิบัติธรรมของพระอาจารย์จวน

    ชั้นที่ ๕ มีศาลาและกุฏิที่อาศัยของพระ ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ ๖ มีที่พักเป็นลานกว้างหลายแห่ง มีหน้าผาชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร ผาหัวช้าง ผาเทพสถิต เป็นต้น ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พระวิหารอันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มักหยุดการเดินทางเพียงแค่นี้ เพราะจากชั้นที่ ๖ สู่ชั้นที่ ๗ เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว ๔๐๐ เมตร เกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย มีความยาว ๔๐๐ เมตร สุดทางที่ชั้น ๗ เป็นป่าไม้ร่มครึ้ม

    [​IMG]
    ทางเข้าศาลาปฎิบัติธรรม


    ขอบคุณที่มา : วัดเจติยาคีรีวิหาร

     
  5. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]
    ๔. หลวงพ่อพระใส
    วัดโพธิ์ชัย

    อ.เมือง จ.หนองคาย



    หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดหนองคาย ที่ประชาชนชาวอิสานให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสมาช้านาน เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๘๑ เซนติเมตร สูงจากฐานล่างถึงยอดเกศ ๒.๒๔ เมตร สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. ๒๐๙๓-๒๑๑๕)

    ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระธิดาสามพี่น้องของกษัตริย์ล้านช้าง (บางท่านเชื่อว่า เป็นธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น ๓ องค์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา แล้วขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามว่า พระสุก พระเสริม และพระใส มีขนาดลดกันตามลำดับ พระสุกนั้นเป็นพระประจำพี่ผู้ใหญ่ พระเสริมประจำคนกลาง ส่วนพระใสประจำคนสุดท้อง
    ตาม ประวัติการสร้างเล่าว่า มีพิธีการทางบ้านและทางวัดช่วยกันใหญ่โต มีคนสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะ นำเป็นเวลา ๗ วันแล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ ๘ เวลาเพลเหลือหลวงตากับสามเณรน้อยรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ได้ปรากฏชีปะขาวตนหนึ่ง มาขอช่วยทำ หลวงตากับเณรน้อยจึงไปฉันเพล ญาติโยมที่มาส่งเพลจะลงไปช่วยแต่มองไปเห็นชีปะขาวจำนวนมากช่วยกันสูบเตาอยู่ แต่เมื่อถามพระ พระมองลงไปก็เห็นเป็นชีปะขาวตนเดียว พอฉันเพลเสร็จคนทั้งหมดจึงลงมาดู ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เหตุเพราะได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง ๓ เบ้าแล้ว และไม่เห็นชีปะขาวแล้ว

    หลังสร้างเสร็จพระสุก พระเสริม และพระใส ได้ประดิษฐานไว้ ณ เมืองหลวงอาณาจักรล้านช้างมาช้านาน คราใดที่เกิดสงครามบ้านเมืองไม่สงบสุข ชาวเมืองก็จะนำพระพุทธรูปทั้งสามไปซ่อนไว้ที่ภูเขาควาย หากเหตุการสงบแล้วจึงนำกลับมาไว้ดังเดิม ส่วนหลักฐานที่ว่าประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเวียงจันทร์ตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีปรากฏแน่ชัด ทราบเพียงว่าในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เมืองเวียงจันทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ทำลายเมืองเวียงจันทร์เสียสิ้น จึงให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมืองเวียงจันทร์สงบแล้ว จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใสมาที่จังหวัดหนองคาย

    มีคำบอกเล่าว่า คราที่อัญเชิญมานั้น ไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์โดยตรงแต่อัญเชิญมาจากภูเขาควาย ซึ่งชาวเมืองนำไปซ่อนไว้ การอัญเชิญนั้นได้ประดิษฐานหลวงพ่อทั้งสามไว้บนแพไม้ไผ่ล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอียงชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพไม่สามารถ ที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า “เวินแท่น” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    ครั้นล่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขง ตรงปากงึม เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่าง ๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ “เวินสุก” ตั้งแต่ นั้นมา ด้วยเหตุข้างต้น การอัญเชิญครั้งนี้จึงเหลือแต่พระเสริม และพระใสมาถึงหนองคาย สำหรับพระเสริมนั้นได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสได้ อัญเชิญไปไว้ยังหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ณ ปัจจุบัน

    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพฯ ขุนวรธานีจะอัญเชิญพระใสไปพร้อมกับพระเสริมด้วย แต่เกิดปาฏิหารย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตาม จนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเมื่ออธิษฐานดัง กล่าวพอเข้าหามเพียงไม่กี่คนก็อัญเชิญพระใสมาได้

    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ว่า เป็นพระพุทธรูปล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น ๒ ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักร ล้านช้าง และต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพงขาว

    ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย
    _____________
     
  6. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]

    ๕. วังเวียง
    กุ้ยหลินแห่งเมืองลาว
    ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.)


    วังเวียง เป็นเมืองท่องเที่ยวในแขวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ห่างจาก เวียงจันทน์ประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบระหว่างภูเขาหินปูน ป่าไม้สมบูรณ์ ได้ฉายาว่า เมืองกุ้ยหลินแห่งเมืองลาว และถือว่าเป็นเมืองตากอากาศแห่งเมืองลาวเลยก็ว่าได้ แหล่งท่องเที่ยวที่วังเวียงหากเป็นในบริเวณเขตตัวเมืองจะมีวัดเก่าแก่อายุราว ๆ ๔๐๐-๕๐๐ ปี อยู่หลายแห่ง ได้แก่วัดสีเสียงทองหรือ วัดธาตุ วัดคัง วัดหัวพัน วัดสีสุมาน และวัดพงเพ็ญ แต่สถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมคือ การชมถ้ำ การล่องลำน้ำ และเยือนหมู่บ้านคนท้องถิ่น ถ้ำในวังเวียงมีมากมาย ที่ได้รับการพัฒนาบ้างแล้ว มีไฟนำทางในถ้ำ ไกด์ท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็น เด็กหนุ่มพื้นบ้านจะประจำอยู่ตามหน้าถ้ำคอยเก็บค่าผ่านทางพร้อมค่านำชมคนละ ประมาณ ๓,๐๐๐ กีบ นักท่องเที่ยวควรนำไฟฉายไปเองด้วย


    [​IMG]


    วังเวียงเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งที่รวบรวมชาวม้งเอาไว้มากมายส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาข้าวเหนียว อยุ่บริเวณบ้านผาเทา เส้นทางไปสู่เมืองลับแล ...ในอดีตวังเวียงเป็นเพียงแผ่นดินร้างว่างเปล่ามีเพียงบ้านของชาวนาอาศัยอยู่ ไม่กี่หลังคาเรือน แต่เมื่อวังเวียงโด่งดังในด้านการท่องเที่ยว สภาพของเมืองจึงถูกเปลี่ยนไปเป็นเช่นนี้ วังเวียงมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มริ่มแม่น้ำ โอบล้อมด้วยภูเขาหินปูนสูงใหญ่ อยู่ประมาณ ๒๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนเทีอกเขาที่โอบล้อมรอบ ๆ วัดความสูงได้ประมาณ ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป มีแม่น้ำซองไหลผ่าน ซึ่งนับเป็นสายน้ำที่มีความสำคัญกับชาววังเวียงเป็นอย่างมากทั้งทางด้านการเกษตรและการท่องเที่ยว แม่น้ำซองนี้จะไหลต่อไปยังแม่น้ำคกท่าลาดและไปไหลออกสู่แม่น้ำงึมซึ่งเป็นเขื่อนที่กักเก็บน้ำของประเทศลาว แม่น้ำซอง แม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชาววังเวียงมาช้านานไหลออกแม่น้ำหลีกไปถึงแม่น้ำงึมและแม่น้ำโขงประกอบกับภูมิประเทศที่มีภูเขาสูงชันและเมฆหมอกล้อมรอบวังเวียงจึงถูกนักท่องเที่ยวเปรียให้เป็นกุ้ยหลินแห่งประเทศลาวเสมอมา

    ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง
    ภายในตัววังเวียงมีรถสองแถวเดินทางไป-กลับเวียงจันทน์-วังเวียง มีรถสองแถวออกจากตลาดคัวแลงถึงตลาดวังเวียง เริ่มบริการตั้งแต่เช้าถึงประมาณ ๖ โมงเย็น รถโดยสารออกจากสถานีรถโดยสารตลาดเช้าเวียงจันทน์ วันละ ๕ เที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๓ ชั่วโมง เที่ยวกลับ วังเวียง-เวียงจันทน์ ตามตารางเดียวกัน จากวังเวียงมีรถโดยสารไปที่หลวงพระบาง โดยที่สามารถหาซื้อตั๋วโดยสารได้ตามบริษัททัวร์ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองซึ่ง ถือว่าจะสะดวกที่สุด เพราะว่าหลังจากที่ซื้อตั๋วแล้วให้ไปรอรถตามเวลานัด ทางบริษัททัวร์จะมีรถพาไปส่งที่ท่ารถอีกที ซึ่งรถที่บริการพาไปที่หลวงพระบางจะมีทั้งแบบรถตู้และรถบัส ซึ่งที่เมืองลาวเรียกว่ารถ VIP การเดินทางจากวังเวียงไปหลวงพระบางใช้เวลาประมาณ ๕-๖ ชั่วโมง ซึ่งจะมีจอดพักกลางทางตามร้านอาหารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้โดยสารได้เข้าห้องน้ำหรือพักทานอาหารก่อนเดินทางไปต่อ เส้นทางการเดินทางระหว่างวังเวียงไปหลวงพระบางจะค่อนข้างคดเคี้ยว ดังนั้นหากใครที่รู้ว่าเมารถก็ให้เตรียมยาดม หรือของเปรี้ยวติดตัวไว้ทานด้วยจะดีที่สุด ถ้าจะให้แนะนำว่าควรนั่งรถอะไรจากวังเวียงไปที่หลวงพระบาง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมนั่งเป็นรถตู้ แต่ผมขอแนะนำเป็นรถบัสจะดีกว่า เพราะว่านั่งได้สบายกว่า ไม่คับแคบเหมือนรถตู้ การเดินทางที่แสนยาวไกลควรเลือกใช้บริการรถที่นั่งแล้วสะดวกสบายที่สุด

    สถานที่ท่องเที่ยว​
    นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมแวะมาพักที่เมืองวังเวียงเป็นจำนวนมากเพราะเป็นทางผ่านขึ้นไปยังลาวตอนเหนือ โดยที่เมืองวังเวียงมีห้องพัก และร้านอาหารจำนวนมากให้เลือก เมืองวังเวียงยังเป็นเมืองท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยสถานที่ ท่องเที่ยวอันได้แก่ ถ้ำจัง ผาตั้ง ชมวิถีชีวิตชาวลาว

    ขอบคุณที่มา : วังเวียง กุ้ยหลินแห่งเมืองลาว
     
  7. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]
    ๖. เขื่อนน้ำงึม
    ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.)


    ขื่อนน้ำงึม
    ตั้งอยู่ห่างจากนครเวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ ๙๐ กิโลเมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ มีลักษณะเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ กักเก็บน้ำในลำน้ำงึมเอาไว้ เขื่อนน้ำงึมแห่งนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณที่มากพอสำหรับใช้ในนครเวียงจันทน์ และยังมีเหลือพอส่งออกมาขายทางฝั่งไทย การสร้างเขื่อนน้ำงึมต้องเสียพื้นที่ป่าไปประมาณ ๒๕๐ ตารางกิโลเมตร ภายในเขื่อนน้ำงึมมีเกาะเล็กเกาะน้อยกระจัดกระจายอยู่หลายร้อยเกาะ เหมือนอ่างเก็บน้ำทั่ว ๆ ไป และที่ท่าเรือบ้านนาคะนูนจะมีเรือของชาวบ้านให้เช่าออกไปเที่ยวตามเกาะแก่งต่าง ๆ ในอ่างเก็บน้ำพุร้อน ชื่นชมธรรมชาติอันงดงามภายในอ่างเก็บน้ำ

    บริเวณท่าเรือมีร้านจำหน่ายอาหารที่นำปลาสด ๆ ที่จับได้ในอ่างเก็บน้ำมาปรุงเป็นอาหาร ทั้งปลาเผา ลาบปลา และต้มปลา ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในราคาที่ย่อมเยา


    ขอบคุณที่มา : ข้อมูลท่องเที่ยวลาว
     
  8. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]

    ๗. ภูเขาควาย
    ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.)


    ภูเขาควาย เป็นที่ราบสูงปกคลุมด้วยป่าสนท่ามกลางวงล้อมของยอดเขาที่สูงกว่า ๒,๐๐๐ เมตร ที่นี้เป็นหนึ่งในเขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (NBCA) มีพื้นที่มากกว่า ๒,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร และอุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ทั้งช้าง หมีดำ เสือ และเสือดาวลายเมฆ ในปี ๑๙๙๓ รัฐบาลได้กำหนดเขต NBCA ขึ้นทั้งหมด ๑๗ แห่ง มีพื้นที่ ๒๔,๖๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๐ เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งประเทศ ภูเขาควายมีภูมิประเทศร่มรื่น อากาศเย็นสบายในฤดูร้อน แต่ในฤดูอื่นจะค่อนข้างหนาวและมีหมอกหนา

    <table border="0" align="center"><tbody><tr><td>[​IMG]
    </td><td>[​IMG]
    </td><td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>
    ประวัติความเป็นมาของภูเขาควาย

    ภูเขาควายที่คนไทยรู้จักส่วนใหญ่จะรู้จักจากคำบอกเล่าจากพระธุดงธ์ที่จะเดินทางเข้าไปภูเขาควายเพื่อทดสอบกำลังใจและเพื่อการฝึกจิต ให้มีกำลังเข้มแข็งแก่กล้ามากยิ่งขึ้น พระธุดงธ์ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีก็คือหลวงปู่มั่น ซึ่งในสมัยท่านแล้วการเดินทางไปสถานที่แห่งนีลำบากเป็นอย่างยิ่ง และก็เป็นสถานเร้นลับที่น้อยคนนักจะเข้าไปถึงได้ ไม่ว่าภัยจากคน จากภูตผี วิญญาณ อสุรกาย ต่าง ๆ สถานที่นี้มีครบ มีให้ลองทุกอย่าง หลวงปู่มั่นท่านมาพักที่แห่งนีโดยพักที่ถ้ำพระ และโปรดวิญญาณต่าง ๆ ให้เป็นสัมมาฑิฐิ นอกจากหลวงปู่มั่นแล้วผมก็ได้มีโอกาสสนทนาก็พระธุดงธ์อีกหลายท่านที่มาที่ นี้ ซึ่งบางท่านจะมาประจำโดยมีทหารพาเข้าไป โดยท่านองค์นี้จะไปโปรดพวกบังบด หรือที่เราเรียกว่าเมืองลับแล พวกบังบดจะนิมนต์ให้ท่านมาประจำ พระอาจารย์ท่านนี้ (ผมจำชื่อท่านไม่ได้) เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำพระโพธิสัตว์ จ.สระบุรี ปัจจุบันท่านมรณะภาพไปแล้ว และก็มีฆารวาสบางท่านมาตัดเหล็กไหล บางท่านก็มาลองวิชาและมาเสียซีวิตไปก็หลาย เรื่องราวย่อ ๆ ก็ภูเขาควายก้มีเท่านี้ ซึ่งถือว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อได้มีโอกาสผมจึงพลาดไม่ได้ที่จะแวะมาเที่ยวดู

    <table border="0" align="center"><tbody><tr><td>[​IMG]
    </td><td>[​IMG]
    </td><td>[​IMG]
    </td></tr></tbody></table>
    ภูเขาควายปัจจุบัน

    ภูเขาควายตั้งอยู่ที่บ้านนายาง เมืองธุรคม แขวงเมืองเวียงจัน มีพื้นที่ ๒,๐๐๐ ไร่ มียอดเขาหลายลูกและสามารถเข้าได้หลายทาง แต่ทางที่เข้ามาได้สะดวกคือเข้ามา ทางบ้านนานกคุ้ม ซึ่งมีรถสองแถวจากท่ารถสายใต้ ในเมืองเวียงจันทร์มาถึงได้เลย
    จากคำบอกเล่าของแม่ชีที่ภูเขาควายบอกว่าพื้นทีแห่งนี้ได้ถูกขายให้ประเทศ ญี่ปุ่นแล้ว โดยทางการอนุญาตให้สร้างวัดได้ แต่ห้ามขุดใช้ทรัพยากรใต้ดินซึ่งจากการสำรวจ พบว่ามีแร่ธาตุที่สำคัญอยู่มาก

    บนยอดเขาภูเขาควายปัจจุบันได้ถูกสร้างเป็นวัดชื่อ วัดป่าพระบาทภูเขาควาย โดยหลวงปู่คำตัน วรราช (พระประเทศลาว) ซึ่งท่านเป็นคนเมืองธุระคม บ้านอยู่ใกล้ ๆ ภูเขาควาย ท่านบวชเป็นสามเณร ตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี และก็อยู่ในภูเขาศํกดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่เด็ก โดยท่านอยู่กับหลวงปู่เพชร ปัจจุบันท่านจะอยู่ประจำที่วัดดงป่าลาน ในเมืองเวียงจันทร์ และจะขึ้นมาวัดป่าพระบาทภูเขาควายเป็นช่วง ๆ โดยส่วนใหญ่จะนำเงินและวัสดุก่อสร้างมาให้กับช่างทีทำการสร้างสิ่งก่อสร้างในวัด แต่ถ้าหลวงปู่ไม่อยู่ บนเขาก็มีพระลาว ๔ รูป สามเณร ๑ รูป แม่ชี ๕ รูป และยังมีโยมที่คอยช่วยงานวัดอีกหลายคนไป ๆ มา ๆ ที่สำคัญคือท้าวฮอน (ไกด์นำเที่ยววัด) ถ้าไปก็ถามหาได้จะคอยแนะนำและหาที่พักให้ นอกจากยังมีพระไทยเดินทางมาพักเป็นช่วงไม่ขาด


    ขอบคุณที่มา : http://buffalomountain.blogspot.com

     
  9. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932

    [​IMG]

    ๘. ประตูชัย

    ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.)


    ปะตูไซ (Patuxai)
    หรือ ประตูชัย เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิต ในสงครามก่อนหน้าการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเวียงจันทน์บนถนนล้านช้างไปสิ้นสุดที่บริเวณประตูชัย สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้า การปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ ใช้ปูนที่อเมริกาซื้อเพื่อนำมาสร้างสนามบินใหม่ในนครเวียงจันทน์ในระหว่างสงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันได้สร้างเพราะอเมริกาแพ้สงครามในอินโดจีนเสียก่อน จึงนำปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน ลักษณะสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลของประตูชัยในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เจ้าอาณานิคมในสมัยนั้น แต่ลักษณะสถาปัตยกรรมก็ยังมีเอกลักษณ์ของลาวปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปศิลปะลาว ภาพเรื่องราวมหากาพย์รามายณะ แบบปูนปั้นใต้ซุ้มประตูโค้งของประตูชัย บันไดวนให้ขึ้นไปชมทิวทัศน์ของนครเวียงจันทน์ บนยอดของประตูชัยอีกด้วย

    ตลอดบันไดวนของประตูชัยจะแบ่งออกเป็นชั้น ๆ ซึ่งแต่ละชั้นจะมีร้านจำหน่ายของที่ระลึก เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ขึ้นชมวิวทิวทัศน์ทุกวัน และในตอนเย็นจะมีประชาชนชาวลาว มาออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมร่วมกันที่นี่ด้วย

    ค่าเข้าชม ผ่านประตูคนละ ๒,๐๐๐ กีบ (อัตราแลกเปลี่ยนก็ประมาณ ๒๔๐-๒๗๐ กีบ ต่อ ๑ บาท)
    เวลาเปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐-๑๗.๐๐ น.

    ขอบคุณที่มา : http://www.oceansmile.com/Lao/Phatadlaung.htm

     
  10. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]

    ๙. พระธาตุหลวง

    ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.)


    พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งแห่งนครหลวงเวียงจันทน์ และเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวทั่วประเทศ ตามตำนานกล่าวว่า พระธาตุหลวงมีประวัติการก่อสร้างนับพันปีเช่นเดียวกันพระ ธาตุพนมในประเทศไทย และปรากฏความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่างแยกไม่ออก สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างของประเทศลาว ดังปรากฏว่าตราแผ่นดินของลาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีรูปพระธาตุหลวงเป็นภาพประธานในดวงตรา

    ตามตำนานอุรังคนิทานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุหลวงสร้างขึ้นคราวเดียวกับการสร้างเมืองนครเวียงจันทน์ หลังจากก่อสร้างพระธาตุพนมแล้ว ผู้สร้างคือ บุรีจันอ้วยล้วย หรือ พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ เจ้าเหนือหัวผู้ครองนครเวียงจันทน์พระองค์แรก พร้อมกับพระอรหันต์ ๕ องค์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนหัวเหน่า ๒๗ พระองค์ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย โดยก่อเป็นอุโมงค์หินคร่อมไว้ อุโมงค์นั้นกว้างด้านละ ๕ วา ผนังหนา ๒ วา และสูงได้ ๔ วา ๓ ศอก เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าจันทบุรีจึงได้มีพระราชดำรัสให้เสนาอำมาตย์สร้างวิหารขึ้นในเมืองจันทบุรีหรือนครเวียงจันทน์ ๕ หลัง เพื่อให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของพระอรหันต์ทั้ง ๕ องค์นั้นด้วย

    ตามตำนานดังกล่าวระบุศักราชการสร้างว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. ๒๓๘
    ในระยะต่อมาแม้ว่าชื่อของเวียงจันทน์จะไม่ได้ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ใดเลย แต่อย่างไรก็ดี นครเวียงจันทน์ก็ยังคงเป็นเมืองสำคัญอยู่ตลอดมาดังปรากฎการอ้างถึงชื่อเมืองเวียงจันทน์ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และในพงศาวดารลาวฉบับต่าง ๆ ก็ระบุด้วยว่านับตั้งแต่พระเจ้าฟ้างุ้มเสวยราชสมบัติที่เมืองหลวงพระบางแล้ว ก็ได้มีการส่งเชื้อพระวงศ์และขุนนางสำคัญมาปกครองเมืองนี้โดยตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๑๐๙ หลังจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช วีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านช้าง ได้ทรงย้ายราชธานีเมืองเชียงทองหลวงพระบาง ลงมายังนครเวียงจันทน์ได้ ๖ ปีแล้ว พระองค์จึงได้มีพระบรมราชโองการให้สร้างองค์พระธาตุหลวงขึ้นมาใหม่ ในเขตพระราชอุทยานทางด้านทิศตะวันออกของกรุงเวียงจันทน์ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เก่าที่มีมาแต่โบราณกาล เมื่อสร้างพระธาตุหลวงเสร็จแล้ว จึงทรงขนานนามพระธาตุนี้ว่า “พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี” หรือ “พระธาตุใหญ่” (แต่คนส่วนมากมักเรียกว่า “พระธาตุหลวง”) และมีพระราชโองการให้อุทิศข้าพระธาตุจำนวน ๓๕ ครอบครัว อยู่เฝ้ารักษาพระธาตุนี้ พร้อมทั้งที่ดินสำหรับให้ครอบครัวของข้าพระธาตุทำกิน

    ขอบคุณที่มา : ข้อมูลพระธาตุหลวง
     
  11. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]

    ๑๐. หอพระแก้ว
    ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.)


    หอพระแก้ว

    ตั้งอยู่บนถนนเชษฐาธิราช ติดกับทำเนียบประธานประเทศ แต่เดิมเป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว พระเชษฐาธิราชมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๑๐๘ เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากล้านนา เมื่อต้องเสด็จกลับมาครองราชบัลลังก์ล้านช้างหลังจากที่พระราชบิดา คือพระเจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ลงในการทำศึกสงครามกับประเทศสยาม เมื่อปีพ.ศ. ๒๓๒๒ นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตก กองทัพสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของนครเวียงจันทน์ไป พร้อมทั้งกวาดต้อนราชวงศ์ชาวลาวกลับไปยังกรุงเทพฯ มากมาย สำหรับหอพระแก้วที่นักท่องเที่ยวเห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นของที่ถูกบูรณะขึ้น ใหม่เกือบทั้งหมด ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๓ ภายใต้การควบคุมดูแลการก่อสร้างของเจ้าสุวรรณภูมา ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และต่อมายังได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับเอกราชอีกด้วย แม้หอพระแก้ปัจจุบันจะไม่ใช่วัดอีกต่อไป แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังนครเวียงจันทน์ก้ยังเดิน ทางมาสักการะบูชากันเป็นจำนวนมาก สำหรับส่วนในของพิพิธภัณฑ์นั้น จัดแสดงพระแท่นบัลลังก์ปิดทองจารึกพระไตรปิฏก ภาษาขอมและกลองสำริดประจำราชวงศ์ลาว สำหรับประตูใหญ่ทั้งสองเป็นของเก่าที่หลงเหลือมาแต่เดิม บานประตูจำหลักเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บริเวณโดยรอบของหอพระแก้วเงียบสงบ ร่มเย็นมีไหขนาดกลางจากทุ่งไหหิน ในเชียงขวางวางตั้งอยู่ ๑ ใบ อาณาบริเวณรอบ ๆ วัดสีสะเกดและหอพระแก้วเคยถูกใช้เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานปกครองของฝรั่งเศส สมัยอาณานิคมมาก่อน

    ค่าเข้าชม คนละ ๕,๐๐๐ กีบ
    เปิดเวลาเข้าชม ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๒.๐๐ น., ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.

    หมายเหตุ ภายในหอพระแก้ว ห้ามการถ่ายรูปทุกชนิด


    หอคำ

    อาคารรูปทรงสวย จำลองแบบมาจากพระราชวังแวร์ซาย แห่งกรุงปารีส แต่เดิมเป็นพระราชวังที่ประทับของสมเด็จเจ้ามหาชีวิตของลาว หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการใช้เป็นทำเนียบของประธานประเทศ ปัจจุบันใช้เป็นที่พักรับรองอาคันตุกะของประเทศ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยเสด็จประทับเนื่องในวโรกาสเสด็จ พระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประเทศลาว หลังจากเสร็จสิ้นพระราชพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว หอคำแห่งนี้ หากมองมาจากยอดของอนุสาวรีย์แห่งชัยชนะในยามเช้าแล้ว จะได้ภาพที่สวยงามน่าชมเป็นอย่างยิ่ง

    ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย
     
  12. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]

    ๑๑. วัดสีสะเกด

    ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.)


    วัดสีสะเกด (Wat Sisaket) หรือวัดสะตะสะหัสสาราม (วัดแสน) เป็นวัดที่สร้างขึ้นแห่งแรกในนครเวียงจันทน์ สตสหัสส แปลว่า ๑๐๐,๐๐๐ อาราม แปลว่า วัด, วัดสตสหัสสาราม จึงแปลว่า วัดแสน ในอดีตเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช (ลาว) ศักดิ์ของวัดนี้เทียบเท่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ท่าเตียน ของไทย เหตุที่ชื่อวัดแสนก็เพราะว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชและพุทธศาสนิกชนชาวลาวในอดีต ทรงสร้างพระพุทธรูปทั้งองค์เล็กและองค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ทั่ววัด ๑๐๐,๐๐๐ องค์ ดังนั้นจึงมีชื่อเล่นว่าวัดแสน แต่ปัจจุบันมีเหลืออยู่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ กว่าองค์เท่านั้น ไกด์บางคนบอกว่ามี ๖,๐๐๐ กว่าองค์ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม วัดนี้ก็มียังมีพระพุทธรูปมากที่สุดในนครหลวงเวียงจันทน์

    ใน พ.ศ. ๒๓๒๑ เจ้าพระยาจักรี (ร.๑) ได้รับพระบัญชาจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้ยกทัพไปทวงถามเครื่องบรรณาการจากลาว ลาวไม่ให้จึงสู้รบกัน ลาวรบแพ้เพราะไม่เจนศึกเท่าทหารสยาม ในฐานะที่เจ้าพระยาจักรีเป็นนักรบผู้ทรงธรรมและเคยบวชเรียนหลายพรรษา เมื่อชนะศึกแล้วจึงนำพาทหารสยามบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ก่อนเดินทางกลับประเทศใน พ.ศ. ๒๓๒๒ เพื่อเป็นพุทธบูชาอุทิศส่วนกุศลให้ทหารทั้ง ๒ ประเทศที่เสียชีวิต เนื่องจากรบกันโดยไม่มีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน สถาปัตยกรรมวัดนี้เกือบทั้งหมดจึงเป็นสถาปัตยกรรมไทย

    เมื่อเจ้าอนุวงศ์ขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ลาวเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ ก่อนหน้านั้นพระองค์เคยเสด็จมาช่วยไทยรบกับพม่า ๒ ครั้ง ก็ได้โปรดให้บูรณะและสร้างวัดนี้ต่อด้วยสถาปัตยกรรมไทย วัดนี้จึงเป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของทหารและชาวพุทธสองประเทศมาแต่โบราณ เพราะเป็นวัดที่ทหารของทั้งสองประเทศช่วยกันบูรณะ

    พ.ศ. ๒๓๖๙ เกิดกรณีพิพาทสยาม–ลาว (ไทยเรียกเหตุการณ์นี้ว่ากบถเจ้าอนุวงศ์) ศึกครั้งนั้นไทยแทนแค้นลาวมาก จึงทำลายเมืองเวียงจันทน์โดยการเผาเกือบหมด ยกเว้นวัดนี้กับหอพระแก้ว เพราะเป็นวัดที่ตนพักทัพ ตามธรรมเนียมแต่โบราณ พวกทหารพุทธเมื่อตั้งทัพที่ไหนจะไม่ทำลายที่นั่น

    พ.ศ. ๒๓๗๐ ก่อนกองทัพสยามเดินทางกลับประเทศ ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมและฌาปนกิจศพทหารที่เสียชีวิตที่วัดแห่งนี้

    จากเหตุการณ์เผาเวียงจันทน์นี่แหละ ชาวลาวรุ่นใหม่ที่เรียนมาถึงประวัติศาสตร์ตอนนี้จึงแค้นไทยไม่หาย เมื่อไทยพูดว่า “บ้านพี่ – เมืองน้อง” ลาวรุ่นใหม่จึงไม่ยอมรับไทยเป็นญาติ เขามักจะถามกลับว่า
    “ใครเป็นพี่ – ใครเป็นน้อง”
    ไทยบางคน เกลียดพม่าไม่หายในเหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่สอง อย่างไร
    ลาวบางคน ก็แค้นไทยไม่เลิกในเหตุการณ์เผาเวียงจันทน์ อย่างนั้น

    ปัจจุบันวัดแห่งนี้มีส่วนที่เป็นพื้นดินสำหรับภิกษุจำพรรษานิดหน่อย ที่ดินส่วนใหญ่ถูกตัดแบ่งไปเป็นส่วนราชการหมด แม้แต่ส่วนที่เป็นพระอุโบสถวัดสีสะเกด กระทรวงวัฒนธรรมก็มาดูแล หอพระแก้วที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของวัด ทางการก็มาดูแลแทนวัดเช่นกัน มีถนนไชยเชษฐาตัดผ่าน ทำให้หอพระแก้วและวัดต้องอยู่แยกกันโดยปริยาย

    วิญญาณทหารสยามที่สถิตอยู่ในวัดนี้จึงอาภัพเพราะไม่มีใครไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ชาวลาวก็ไม่ทำบุญกรวดน้ำให้ เพราะยังไม่หายแค้น ทำบุญจากประเทศไทยไปให้ก็ไม่ค่อยจะถึง เพราะอยู่ไกลและวิบากกรรมก็ยังไม่สิ้น (ซวยสองต่อ) หากอยากทำบุญให้ ต้องไปทำที่เวียงจันทน์เท่านั้น


    ขอบคุณที่มา : ประวัติวัดสีสะเกด
     
  13. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]

    ๑๒. วัดศรีเืมือง

    ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.)


    วัดศรีเมือง ตั้งอยู่บนถนนเชษฐาธิราช ทางทิศตะวันออกของสถานทูตฝรั่งเศส เป็นวัดแห่งหนึ่งในนครเวียงจันทน์ ที่มีประชาชนลาวเดินทางไปสักการบูชาเป็น จำนวนมากในแต่ละวัน ภายในวัดศรีเมืองเป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองประจำนครเวียงจันทน์ วัดศรีเมืองสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๐๖ โดยเหล่าเสนาอำมาตย์ของงพระเจ้าไชยเชษฐาธราชได้ลงความเห็นให้สร้างวัดศรีเมือง ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาถูกกองทัพสยามทำลายลงในปี พ.ศ. ๒๓๗๑1 และสร้างวัดศรีเมืองขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘

    ภายในวัดศรีเมืองมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่มากมาย โดยเฉพาะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ พระพุทธรูปองค์นี้ได้ชำรุดไปบางส่วน ซึ่งชาวลาวเชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก ด้านหน้าบริเวณตรงข้ามประตูทางเข้าวัดศรีเมืองมีร้านจำหน่ายดอกไม้ ธูป เทียน และร้านจำหน่ายผลไม้ให้บริการ ทางด้านตะวันออกของวัดศรีเมืองมีสวนสาธารณะเล็ก ๆ มีพระบรมรูปของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ตั้งอยู่บนแท่นสูงกลางสวนสาธารณะ พระหัตถ์ทรงถือสมุดใบลานที่จารึกประมวลกฏหมายฉบับแรกของลาวไว้ พระบรมรูปเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์นี้เป็นของขวัญที่ทางสหภาพโซเวียตมอบให้มาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลังจากนั้นแผ่นป้ายโลหะจารึกพระนามถูกฝ่ายคอมมิวนิสต์รื้อทิ้งออกไป ภายหลังฝ่ายคอมมิวนิสต์ประสบชัยชนะในปี พ.ศ. ๒๕๑๘

    ขอบคุณที่มา : วัดศรีเมือง
     
  14. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]

    ๑๓. ถนนคนเดิน

    ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.)


    ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำโขง นครเวียงจันทร์ มีความยาวประมาณ กิโลเมตร บริเวณถนนคนเดินมีของขายจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นของที่ระลึก เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ และอาหาร นักท่องเที่ยวจะมีเยอะตั้งแต่ ช่วง ๑๗.๐๐-๒๒.๐๐ น.



     
  15. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]

    ๑๔. วัดองค์ตื้อมหาวิหาร
    ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.)


    วัดองค์ตื้อมหาวิหาร
    เป็นหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ วัดที่เก่าแก่ที่สุดในนครหลวงเวียงจันทน์ และมีความหมายความสำคัญทางโบราณสถาน และประวัติศาสตร์ เป็นวัดที่ทั้งประชาชนลาวและต่างชาวต่างประเทศให้ความเคารพนับถือความสำคัญเป็นพิเศษ ดั่งจะได้เห็นจากคำพูดที่ว่า "ผู้ใดเข้ามาในเวียงจันทน์ ไม่ได้ไปไหว้หลวงพ่อองค์ตื้อ ถือว่าไม่ได้มาถึงเวียงจันทน์" นอกจากนี้วัดองค์ตื้อยังเป็นที่ประกอบพิธีที่สำคัญต่าง ๆ ทางราชการในสมัยก่อน เช่น พิธีถือน้ำ (ดื่มน้ำสัตยาบรรณ) อีกทั้งงานประเพณีบุญพระธาตุหลวงเสร็จสิ้นลง ยังต้องมาประกอบพิธีทำบุญอยู่วัดองค์ตื้อ-วัดอินแปงอีก จึงจะถือว่างานประเพณีบุญพระธาตเสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์

    วัดองค์ตื้อ ตั้งอยู่บนถนนพระไชยเชษฐา อยู่ห่างจากหอพระแก้วมาทางทิศเหนือประมาณ
    กิโลเมตร ในสมัยก่อนวัดองค์ตื้อมีอาณาเขตติดกับวัดอินแปง วัดมีไชย และวัดหายโศก แต่ในปัจจุบันนี้ การพัฒนาของบ้านเมืองมีการขยายตัว มีการตัดถนนหนทางเพื่อความสวยงาม และการเป็นระเบียบเรียบร้อย ดังนั้นจึงทำให้วัดทั้ง คือ วัดองค์ตื้อ วัดอินแปง วัดมีไชย วัดหายโศก ต้องแยกออกจากกันดังที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้

    ขอบคุณที่มา : วัดองค์ตื้อมหาวิหาร
     
  16. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    [​IMG]


    ๑๕. สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
    เชื่อมความสัมพันธ์สองประเทศ

    สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
    ตั้งอยู่ซอย ๑-๒ บ้านจอมมณี ตำบลมีชัย เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงไปยังท่านาแล้ง แขวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว เป็นสะพานแห่งแรกที่สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของ ๓ ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ลาว และประเทศไทย นับว่าเป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นอกจากนี้แล้วยังเป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขงที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ช่วงตัวสะพานมีความยาว ๑.๒๐ กม. กว้าง ๑๕ เมตรมีช่องสำหรับเดินรถ ๒ ช่องทาง ซึ่งตรงช่วงกลางสะพานออกแบบไว้สำหรับสร้างทางรถไฟ

    การนำรถออกจากด่านไทย ต้องทำเอกสารนำรถออก เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนด สอบถามรายละเอียด โทร. (๐๔๒) ๔๑๒๔๘๒
     
  17. poth

    poth เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +266
    ธรรมสัญจร (๑๐)

    โอนค่าเดินทางแล้วครับวันที่ ๑๖/๐๓/๒๕๕๕ เวลา ๑๒:๐๑ น. จำนวน ๑,๕๐๐.๕๙ บาท
     
  18. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    การทำหนังสือเดินทาง (Passport)

    เอกสารผ่านแดนเข้าประเทศลาวมี ๓ ประเภท คือ

    ๑. หนังสือเดินทาง (Passport) ใช้สำหรับประชาชนไทย ลาว และประชาชนประเทศที่สาม ระยะเวลาพำนักไม่เกิน ๑ เดือน สามารถเดินทางไปได้ทั่วประเทศ และพำนักอยู่นอกพื้นที่ชายแดนที่กำหนดไว้ในความตกลงได้
    ๒. หนังสือผ่านแดน (Border Pass) ใช้เฉพาะประชาชนไทยและลาว ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ชายแดนที่ระบุไว้ในความตกลงเท่านั้น มีอายุ ๑ ปี ระยะเวลาพำนักไม่เกิน ๓ วัน ๒ คืน โดยจะต้องอยู่ในพื้นที่ชายแดนที่กำหนดไว้ในความตกลงเท่านั้น และต้องเดินทางกลับออก ณ ช่องทางที่ผ่านเข้ามา
    ๓. หนังสือผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass) ใช้สำหรับประชาชนไทยและลาว ที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกพื้นที่ชายแดนที่ระบุไว้ในความตกลงใช้ได้ครั้งเดียว ระยะเวลาพำนักไม่เกิน ๓ วัน ๒ คืน ใช้หลักปฏิบัติเหมือน (๒)



    [​IMG]
    สำหรับบุคคลบรรลุนิติภาวะ
    ๑. เอกสารประกอบการทำหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลบรรลุนิติภาวะ
    ๒. ค่าธรรมเนียม



    การปฎิบัติในการมายื่นคำร้อง

    โปรดนำเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้ครบถ้วน ทั้งนี้หากเอกสารที่นำมาแสดงไม่ครบถ้วน ท่านจะต้องนำเอกสารดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมในวันรับเล่ม ซึ่งจะทำให้การรับเล่มล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลเอกสารที่นำมาแสดงเพิ่มเติมลงในระบบ ให้ครบถ้วน


    ขั้นตอนทำหนังสือเดินทางใหม่
    ๑. รับบัตรคิว
    ๒. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข ๑๓ หลัก (หากไม่มีเลข ๑๓ หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ
    - หากเปลี่ยนชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
    - ทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดงเพื่อตรวจสอบข้อมูล
    - ข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า)
    - แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์

    ๓. ชำระค่าธรรมเนียม ๑,๐๐๐ บาท และค่าส่งไปรษณีย์ ๔๐ บาท (หากประสงค์ให้จัดส่งเล่มทางไปรษณีย์)
    ๔. รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม



    ท่านจะได้รับหนังสือเดินทาง ดังนี้

    - หากยื่นที่กรมการกงสุล ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ ๒ วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน ๕ วันทำการ

    - หากยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) ผู้ร้องจะได้รับเล่มภายใน ๒ วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน ๕ วันทำการ

    - กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ผู้ร้อง (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน ๕ วันทำการ
    -
    โดยที่กระทรวงฯ ได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลองเพื่อผู้ร้องสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ ๑ เครื่อง ที่กรมการกงสุล ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ
    -
    ในกรณีจำเป็น สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS)


    สถานที่ทำในกรุงเทพมหานคร

    ๑. กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
    - แผนที่ตั้ง
    - ที่อยู่ ๑๒๓ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐
    - โทรศัพท์ ๐-๒๙๘๑-๗๑๗๑-๙๙ โทรสาร ๐-๒๙๘๑-๗๒๕๖


    ๒. สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา
    -
    แผนที่ตั้ง
    - ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้บางนา อาคาร "บางนาฮอลล์"(ด้านข้างศูนย์การค้า) ชั้น B๑
    - โทรศัพท์ ๐-๒๓๘๓-๘๔๐๒-๔ โทรสาร ๐-๒๓๘๓-๘๓๙๘


    ๓ สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
    - แผนที่ตั้ง
    - ที่อยู่ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ (ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. ๑๐๗๐๐
    - โทรศัพท์ ๐-๒๔๔๖-๘๑๑๑-๒ โทรสาร ๐-๒๔๔๖-๘๑๒๔



    วัน-เวลาทำการ

    วันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐-๑๕.๓๐ น.


    ขอบคุณที่มา : กรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ
     
  19. นาคา

    นาคา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,377
    ค่าพลัง:
    +12,917
    <TABLE class=tborder style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px" cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR title="Post 5859631" vAlign=top><TD class=alt2 align=middle width=125>ญ.ผู้หญิง</TD><TD class=alt1>เอกสารผ่านแดนเข้าประเทศลาวมี ๓ ประเภท คือ

    ๑. หนังสือเดินทาง (Passport)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    น้องหญิง ถ้า นำรถ แสวงบุญเอง ต้อง ดำเนินการอย่างไร บ้าง ...

    จองวันลา ใว้ ๙ - ๒๗ เมษา (อาจจะ ต่อ - ๓๐ เมษา )
    ถ้ามี วาระ นำรถยนต์ ขึ้น ตามหลัง กัน จ้า...
    มี ๑. หนังสือเดินทาง (Passport)

    อีก ๑ ทริป ที่ คนึง จิตถามถึง
    อีก ๑ ตรึงหลวงพระบางเมืองราช ข้าฯ
    อีก ๑ บึงลับแล เมือง นครา
    อีก ๑ หนา นาคา นาคี โสภิคีนาคียะ ขัตติยะ นาคี
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. ญ.ผู้หญิง

    ญ.ผู้หญิง ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,419
    ค่าพลัง:
    +26,932
    ถ้าจะนำรถส่วนตัวเข้าไปเองจะยุ่งยากมาก และการขับขี่ทางฝั่งลาวเขาจะขับตรงกันข้ามกับฝั่งไทย หญิงไม่แนะนำให้พี่ขับรถเข้าไปเอง แต่แนะนำให้ใช้บริการของรถเก๋งหรือรถตู้เอกชนที่มีอยู่มากมายทางฝั่งไทย (หนองคาย) ที่เขาจะมีใบอนุญาตเดินทางเข้าตลอดปีและชำนาญเส้นทาง หรือเมื่อพี่ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวไปแล้ว จะไปใช้บริการของรถเก๋ง-รถตู้ลาวที่อยู่ทางปลายสะพานฝั่งโน้นก็จะดีกว่าค่ะ

    ทริปหลวงพระบาง หญิงมีกำหนดการจะเข้าไปประมาณปลายปีหลังจากฤดูกาลกฐิน ถ้าไม่ติดงานบุญอื่นเข้ามา ส่วนทริปบึงลับแล ปีนี้ไม่ได้เข้าไปเนื่องจากมีงานของครูบาอาจารย์ที่ต้องเดินทางไปทำอีกเยอะ และเพื่อเตรียมตัวที่จะไปแม่สานในหน้าแล้งปีหน้า และทริปที่ตั้งใจจะเดินทางไปทำก่อนเข้าพรรษาในปีนี้คื อ ถวายเทียนพรรษากับวัดป่าทางภาคอีสาน รวมถึงไปเยี่ยมเยียนถ้ำเพียงดิน-คำชะโนด แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับวาระ "ธรรมะจัดสรร" ค่ะพี่ :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...