ลักษณะของคนพาลและบัณฑิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย f-35, 29 ตุลาคม 2011.

  1. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [​IMG]
    ดูกรภิกษุทั้งหลายภัยที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่ อันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่ อุปสรรคที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้นย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาลหาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีภัยเฉพาะหน้า บัณฑิตหาภัยเฉพาะหน้ามิได้ คนพาลมีอันตราย บัณฑิตหาอันตรายมิได้ คนพาลมีอุปสรรคบัณฑิตหาอุปสรรคมิได้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด ปัญญางดงามในความประพฤติเนืองๆ
    ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล
    บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม๓ ประการเป็นไฉนคือ
    กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
    พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้นบุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    หน้าที่ ๙๕/๒๙๐หัวข้อที่ ๔๔๐-๔๔๑
    กายทุจริต
    ดูกรจุนทะ ก็ความไม่สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า
    *ดูกรจุนทะบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติฆ่าสัตว์ หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตีไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต ๑
    *เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ คือ ถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑
    *เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือ เป็นผู้ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษาสตรีมีสามี ผู้มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้ที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูกรจุนทะความไม่สะอาดทางกายมี ๓ อย่าง อย่างนี้แล
    วจีทุจริต
    ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างไรเล่า
    *ดูกรจุนทะบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีปรกติพูดเท็จ คือ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น ดังนี้ บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นกล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็นกล่าวว่าไม่เห็น ดังนี้ เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้างเพราะเหตุแห่งผู้อื่น หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อย ด้วยประการดังนี้ ๑
    *เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกันให้แตกกันหรือส่งเสริมชนทั้งหลายผู้แตกกันแล้ว ชอบความแยกกัน ยินดีความแยกกันเพลิดเพลินในความแยกกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้แยกกัน ๑
    *เป็นผู้พูดคำหยาบ คือกล่าววาจาที่หยาบคายกล้าแข็ง ทำให้ผู้อื่นข้องใจ เดือดร้อนแก่ผู้อื่น ใกล้ต่อ ความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑
    *เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือ กล่าวไม่ถูกกาลกล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย กล่าววาจาไม่มีหลักฐานไม่มีที่อ้าง ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่ควร ๑ ดูกรจุนทะความไม่สะอาดทางวาจามี ๔ อย่าง อย่างนี้แล ฯ
    มโนทุจริต
    ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางใจมี ๓ อย่าง อย่างไรเล่า
    ดูกรจุนทะบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น คือ อยากได้วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอ วัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นพึงเป็นของเราดังนี้ ๑
    เป็นผู้มีจิตมุ่งร้าย คือ มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกทำลายจงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑
    เป็นผู้มีความเห็นผิด คือ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ย่อมไม่มีในโลก ดังนี้ ๑ ดูกรจุนทะ ความไม่สะอาดทางใจมี ๓ อย่างอย่างนี้แล ฯ
    ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๓ – ๒๘๙/๑๖๕.
    .....................................................
    ศึกษา พุทธวจน(คำของพระพุทธเจ้า)ได้ที่นี่

    พุทธวจนสถาบัน : วัดนาป่าพง
    ศูนย์บริการมัลติมีเดีย วัดนาป่าพง -
    กลุ่มพุทธโอษฐ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 7.jpg
      7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27 KB
      เปิดดู:
      834
  2. โพธิวิถี

    โพธิวิถี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    150
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +580
    อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
    ขอให้เจริญในธรรม จนถึงที่สุดโดยง่ายเถิด
     
  3. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [​IMG]
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! ปากทางแห่งความเสื่อม ๔ ประการของโภคะที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ มีอยู่ คือ
    ความเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา นักเลงการพนัน และมีมิตรสหายเพื่อนฝูงเลวทราม.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนทางน้ำเข้า ๔ ทางทางน้ำออก ๔ ทาง ของบึงใหญ่มีอยู่, บุรุษปิดทางน้ำเข้าเหล่านั้นเสีย และเปิดทางน้ำออกเหล่านั้นด้วย ทั้งฝนก็ไม่ตกลงมาตามที่ควร.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น ความเหือดแห้งเท่านั้นที่หวังได้สำหรับบึงใหญ่นั้น ความเต็มเปี่ยมไม่มีทางที่จะหวังได้ นี้ฉันใด;
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! ผลที่จะเกิดขึ้นก็ฉันนั้นสำหรับโภคะ ที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ ที่มีปากทางแห่งความเสื่อม๔ ประการ คือ
    ความเป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุราเป็นนักเลงการพนัน และมีมิตรสหายเพื่อนฝูงเลวทราม.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! ปากทางแห่งความเจริญ ๔ ประการของโภคะที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ มีอยู่ คือ ความไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนันและมีมิตรสหาย เพื่อนฝูงที่ดีงาม.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! เปรียบเหมือนทางน้ำเข้า ๔ ทางทางน้ำออก ๔ ทาง ของบึงใหญ่, บุรุษเปิดทางนํ้าเข้า
    เหล่านั้นด้วย และปิดทางน้ำออกเหล่านั้นเสีย ทั้งฝนก็ตกลงมาตามที่ควรด้วย.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! เมื่อเป็นอย่างนั้น ความเต็มเปี่ยมเท่านั้นที่หวังได้สำหรับบึงใหญ่นั้น ความเหือดแห้ง
    เป็นอันไม่ต้องหวัง นี้ฉันใด;
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! ผลที่จะเกิดขึ้นก็ฉันนั้น สำหรับโภคะที่เกิดขึ้นพร้อมแล้วอย่างนี้ ที่มีปากทางแห่งความเจริญ๔ ประการ คือ ความไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา
    ไม่เป็นนักเลงการพนัน และมีมิตรสหาย เพื่อนฝูงที่ดีงาม.
    พ๎ยัคฆปัชชะ ! ธรรมทั้ง ๔ ประการ เหล่านี้แลเป็นธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขของกุลบุตร ในทิฏฐธรรม (ในปัจจุบัน).
    อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๓๙๓/๑๔๔.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 265.jpg
      265.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.7 KB
      เปิดดู:
      701
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2011
  4. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...