สงสัยครับ นิพพานคืออะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย thitiwatyu, 25 สิงหาคม 2011.

  1. thitiwatyu

    thitiwatyu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2010
    โพสต์:
    377
    ค่าพลัง:
    +341
    สงสัยครับ นิพพานคืออะไร ถ้านิพพานคือการที่จิตเราแตกดับไม่มาเกิดอีก ไม่มีตัวตนอีกในสากลโลก แล้วทำไมหลวงพ่อฤษีเคยเจอสมเด็จองค์ปฐม หรือนิพพานเป็นเพียงแค่อีกมิติที่เป็นที่อยู่ของจิตที่ไม่ต้องมาเกิดอีก รบกวนขอความกระจ่าง
     
  2. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
  3. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ความเป็นอิสระ ใครๆก็ชอบ อิสระจากทุกสิ่ง จากทุกอย่าง ไม่ต้องมาวุ่นวาย ในที่ๆมีแต่ความเป็นทุกข์

    นิพพาน คือ อะไร ความหมายอยู่ที่จิตใจ ยิ่งใช้ความนึกคิดก็ยิ่งออกไปไกล แค่มองดูตนเองก็จะเห็น

    ว่านี่แหละสิ่งที่นำเรามาเกิด ร่างกายที่มีขึ้นมาก็เรานี่แหละที่ทำให้มี ให้เกิด

    หากยังปรุงแต่งอยู่ก็จะพบแต่ความไม่สิ้นสุด สิ่งที่จะทิ้งไว้ให้พิจารณา "อิสระ"

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  4. หมูดิน1

    หมูดิน1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2011
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +863
    สงสัยครับ นิพพานคืออะไร??

    ความสงสัยแก้ด้วยการปฏิบัติ ค้นคว้าไห้รู้จริง
    นิพพานคือแดนที่หาความทุกข์ แม้เพียงธุลีไม่เจอ
     
  5. rosicky7

    rosicky7 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +40
    นิพพาน คือ นิพพาน

    ไม่ใช่ โลกมนุษย์ คือ World
    ไม่ใช่ โลกมนุษย์ คือ Earth
    ไม่ใช่ โลกมนุษย์ คือ แดนมนุษย์
     
  6. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
  7. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    นิพพาน อยู่สูงขึ้นไปกว่าพรหมโลก
    มีขนาดเท่ากับ นรก โลก สวรรค์ พรหม รวมกัน
    ลักษณะเป็นแก้ว คือบริสุทธิ์ไปหมดทุกๆอย่าง
    เป็นที่อยู่ของเหล่าผู้บริสุทธิ์ ไม่ติดกายเกิดในโลก
    ไม่ติดสุขเกิดในสวรค์ ไม่ติดในความเป็นกลางเกิดบนพรหม
    เมื่อไม่ติด จิตก็ไม่หนัก ไม่หนักแล้ว จิตก็บริสุทธิ์ไปอาศัยอยู่
    เป็นจุดที่ไปแล้วไปเลย จิตก็บริสุทธิ์มาก ลงมาเกิดมีกายมนุษไม่ได้
    ลงมาเกิดมีกายสัตว์ไม่ได้
    ลงมาเกิดมีกายเทพไม่ได้ ลงมาเกิดมีกายพรหมไม่ได้
     
  8. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    951
    ค่าพลัง:
    +3,165
    นิพพาน คือ ความสิ้นสงสัย

    หมดสังสัย ดับสงสัย ด้วยเข้าใจ ในทุกสิ่ง
     
  9. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เวลา คุณรักใครชอบใครมาก ด้วยจิตเคารพรักยิ่ง และปราศจากกิเลสทั้งปวง

    หาก คุณได้รับ อาหารชั้นเลิศมาสัมผัส รู้รส คุณจะนึกถึง พวกเขาไหม

    หากนึกถึง การไปเห็นพวกเขา จะแค่ นึกชื่อเป็นตัวหนังสือ หรือว่า เห็น
    เต็มหน้า หรือว่ายิ่งกว่าเห็นเต็มหน้า เป็นเห็นเต็มตัว หรือ ยิ่งกว่าเห็นเต็มตัว
    ก็เห็นมาเป็นคณะ

    ถามว่า การที่คุณได้อาหารรสเลิสมาชิม แล้ว มีจิตแล่นไป ระลึกถึง
    บุคคลที่เคารพรักยิ่งเหล่านั้น คนเหล่านั้น มาจริงๆ หรือ แค่คุณสร้าง
    "มโน"ระลึกเห็นสำเร็จ

    * * * *

    แล้วถ้า อาหารรสเลิศนั้น ชื่อว่า นิพพาน และ นิพพาน นั้นเป็นเหตุ
    ให้ระลึกถึงผู้ที่เคารพรักยิ่งเหล่านั้น

    คนๆนั้นที่ได้ อาหารรสเลิศยิ่งคือนิพพานอยู่ในมือแล้ว จะพึงยก อาหาร
    ในมือตนเป็นพยาน

    หรือว่า ต้องอาศัยการเห็นคนที่ปรากฏมาเป็นพยาน กันเล่า

    การเห็นบุคคลที่มาปรากฏ ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรเลย การสำเร็จนิพพานที่ตน
    ต่างหาก ที่จะเป็น พยาน ให้คนที่เข้าถึงได้ เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในตัว

    การมาปรากฏของคนที่เคารพยิ่ง จะเป็นแค่ ส่วนเสริมเท่านั้น ไม่ใช่ส่วนหลัก

    และไม่ใช่ เรื่องที่ คุณเจ้าของกระทู้ จะต้องไปตั้งจุดนั้นเพื่อตัดสินใคร ชิมิ ชิมิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2011
  10. patchara2

    patchara2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    244
    ค่าพลัง:
    +258
    นิพพาน เป็นแดนที่แสนสุข

    นิพพาน ดับทุกข์ พบสุขทุกสถาน

    นิพพาน คืออมตะธรรม อันล้ำลึก

    นิพพาน คือการที่เราได้พบ ความสุขอันล้ำเลิศ

    อยากไปกันไหม? หรือยังเห็นว่าโลกใบนี้ ช่างโสภา

    ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว การพบนิพานเป็นเรื่องยาก

    ต้องรู้ไห้จริง ในอริยสัจสี่ วันนั้นแหละ

    นิพพาน จะปรากฏแก่ใจท่าน
     
  11. nmz123

    nmz123 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +29
    - ลักษณะนิพพาน -

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ประการนี้ ๓ ประการ
    เป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปร
    ปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

    - นิพพานไม่สามารถถึงด้วยการไป -

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถ
    บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแลโรหิตัสสเทวบุตร เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว มี
    รัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่จุติ ย่อมไม่อุบัติในโอกาสใดหนอแล พระองค์อาจหรือหนอเพื่อจะทรงทราบ เพื่อจะทรงเห็นหรือเพื่อจะทรงถึงซึ่งที่สุดแห่งโลกด้วยการเสด็จไปในโอกาสนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอาวุโส สัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตายย่อมไม่จุติย่อมไม่อุบัติ ในโอกาสใดแล เราย่อมไม่กล่าวโอกาสนั้นว่าเป็นที่สุดแห่งโลกที่ควรรู้ควรเห็น ควรถึงด้วยการไป ฯ
    โร. อัศจรรย์ พระเจ้าข้า สิ่งไม่เคยมีได้มีขึ้น พระเจ้าข้า เท่าที่พระผู้มีพระภาคตรัส
    พระดำรัสนี้ว่า ดูกรอาวุโส สัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตายย่อมไม่จุติ ย่อมไม่อุบัติ
    ในโอกาสใดแล เราย่อมไม่กล่าวโอกาสนั้น ว่าเป็นที่สุดแห่งโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึง ด้วยการไป เป็นอันตรัสดีแล้วข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เป็นฤาษีชื่อโรหิตัสสะเป็นบุตรนายบ้าน มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ ความเร็วของข้าพระองค์นั้นเปรียบได้กับนายขมังธนู ผู้มีธนูอันมั่นเหมาะ ศึกษาดีแล้ว เชี่ยวชาญ เคยแสดงให้ปรากฏแล้ว พึงยิงลูกศรอันเบาให้ผ่านเงาตาลด้านขวางไปได้โดยไม่สู้ยาก ฉะนั้นการยกย่างเท้าแต่ละก้าวของข้าพระองค์ เปรียบด้วยสมุทรด้านตะวันตกไกลจากสมุทรด้านตะวันออก ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนาเห็นปานนี้ว่า เราจักถึงที่สุดแห่งโลกด้วยการไป เกิดขึ้นแล้วแก่ข้าพระองค์นั้น ผู้ประกอบด้วยกำลังเร็วเห็นปานนั้น และด้วยการยกย่างเท้าเห็นปานนั้น ข้าพระองค์นั้นแล เว้นจากการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เว้นจากการหลับและการบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย เป็นผู้มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปีในคราวที่มนุษย์มีอายุร้อยปี ไปตลอดร้อยปี ไม่ทันถึงที่สุดแห่งโลก ได้ทำกาละเสียในระหว่างทีเดียว น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า สิ่งไม่เคยมีได้มีขึ้นพระเจ้าข้า เท่าที่พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูกรอาวุโสสัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่จุติ
    ย่อมไม่อุบัติ ในโอกาสใด เราไม่กล่าวโอกาสนั้น ว่าเป็นที่สุดแห่งโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น ควร
    ถึงด้วยการไป เป็นอันตรัสดีแล้ว
    พ. ดูกรอาวุโส สัตว์ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่จุติ ย่อมไม่อุบัติ
    ในโอกาสใด เราไม่กล่าวโอกาสนั้น ว่าเป็นที่สุดแห่งโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึง ด้วยการไป
    และเราย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะไปไม่ถึงที่สุดแห่งโลก แต่เราย่อมบัญญัติโลก
    เหตุเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก และปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่ง
    โลก ในอัตภาพอันมีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญาและมีใจนี้เท่านั้น ฯ
    ในกาลไหนๆ ที่สุดแห่งโลก อันใครๆ ไม่พึงถึงด้วย
    การไป และการเปลื้องตนให้พ้นจากทุกข์ ย่อมไม่มีเพราะ
    ไม่ถึงที่สุดแห่งโลก เพราะฉะนั้นแล ท่านผู้รู้แจ้งโลก
    มีเมธาดี ถึงที่สุดแห่งโลก มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็น
    ผู้มีบาป อันสงบ รู้ที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่หวังโลกนี้
    และ โลกหน้า ฯ

    - ทางให้ถึงนิพพาน -

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา
    ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?
    ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑
    ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
    เพื่อนิพพาน.
     
  12. บริสุทธ์

    บริสุทธ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +4
    Sawaddee...Kra ....Nippan is kaou..vag..pao..pasajag...lop..gok..long...mai..mee..kaou...tong..kan..ea..rai

    ea..nu..ta..na...bun....kra
     
  13. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    .




















    .
     
  14. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    ปัตจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ
    ผู้บรรลุธรรม ย่อมรู้ได้ด้วยตัวเอง


    ลองอ่านดูบทอุปมา อธิบาย


    ต่อไปนี้ เป็นเนื้อความ ในธัมมัตถาธิบาย
    ขยายคำในพระพุทธอุทาน ต่อจากอรรถกถาออกไปอีก
    เพื่อให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ใฝ่ใจทั้งหลาย กล่าวคือ
    ในพระพุทธอุทานนั้นมีเนื้อความว่า


    สิ่งที่ไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นของที่เห็นได้ยากของจริงไม่ใช่เป็นของที่เห็นได้ง่าย
    เครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้แทงตลอดตัณหาแล้วรู้อยู่เห็นอยู่ ดังนี้
    คำเหล่านี้พระอรรถกถาจารย์
    ได้แก้ทุกคำแล้ว คือ
    คำว่า เห็นได้ยากนั้น พระอรรถกถาจารย์แก้ไขไว้ว่า
    ผู้ที่ไม่ได้สะสมญาณบารมีไม่อาจเห็นได้
    เพราะนิพพานเป็นของลึก ตามสภาพ เป็นของละเอียดสุขุมอย่างยิ่ง ดังนี้


    คำของพระอรรถกถาจารย์นี้ เป็นคำปฏิเสธว่า ไม่เห็นเสียเลย
    ไม่ใช่ว่าเห็นได้ยาก

    นัยที่ ๒ พระอรรถกถาจารย์แก้ไขไว้ว่า
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง การบรรลุนิพพานได้ยาก
    ด้วยคำว่า เห็นได้ยาก โดยอ้างเหตุว่า
    การอบรมสิ่งที่ไม่มีปัจจัย
    ไม่ใช่เป็นของที่สัตว์โลกทั้งหลายจะทำได้ง่าย
    โดยเหตุว่า สัตว์โลกทั้งหลาย ได้อบรมสิ่งที่มีปัจจัยด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น
    ซึ่งเป็นของทำปัญญาให้ทุผลภาพเสียกำลังดังนี้ ฯ
    ได้ใจความตามนัยที่ ๒ นี้ว่า
    ที่ว่าเห็นได้ยากนั้น คือ สำเร็จได้ยาก ฯ

    โดยเหตุนี้ขอให้ท่านทั้งหลายจงจำไว้เถิดว่า
    คำว่าเห็นได้ยากนั้น พระอรรถกถาจารย์ว่าไว้ ๒ นัย

    นัยที่ ๑ ว่า ผู้ไม่ได้สะสมญาณบารมีไว้ไม่อาจเห็นได้ นัยนี้ชี้ให้เห็นว่า
    เห็นไม่ได้ทีเดียว ฯ

    นัยที่ ๒ ว่าสำเร็จได้ยาก ฯ นัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ต่อเมื่อไรได้สำเร็จจึงจะเห็นได้
    การสำเร็จนั้นย่อมเป็นการสำเร็จได้ยากฯ

    ขยายคำข้อนี้ออกไปอีกชั้นหนึ่งว่า
    การจะเห็นพระนิพพานนั้น ต้องเห็นได้ด้วยปัญญาจักษุ
    อันเป็นปัญญาที่ประเสริฐ ปัญญาจักษุนั้น เป็นของที่ทำให้เกิดขึ้นได้แสนยาก
    ด้วยเหตุว่า ต้องอบรมบารมี


    มีทาน ศีล ภาวนาเป็นต้น อยู่จนตลอดกาลนาน
    จึงอาจทำปัญญาจักษุ คือ ดวงปัญญาอันประเสริฐ ให้เกิดขึ้นได้
    ขอให้ดูแต่พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเป็นตัวอย่างเถิด คือ
    พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
    พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญบารมี มาตลอด ๔ อสงไขยกับอีกแสนมหากัลป์
    นับแต่ได้พุทธพยากรณ์มาแล้ว

    ก่อนแต่ยังไม่ได้พุทธพยากรณ์มานั้น พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญมาแล้วตลอดกาลนาน คือ ทรงบำเพ็ญในเวลาที่ตั้งความปรารถนาในใจว่า
    จะเป็นพระพุทธเจ้านั้น อีกสิ้น ๙ อสงไขย จึงได้พุทธพยากรณ์จาก
    สำนักพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๔ พระองค์ มี พระทีปังกรเป็นต้น

    รวมเวลาบำเพ็ญบารมีทั้ง ๓ ตอน เข้าด้วยกัน
    ก็เป็น ๒๐ อสงไขย เศษแสนมหากัลป์
    จึงจะทำพระปัญญาจักษุอันประเสริฐให้เกิดขึ้น
    แต่ถึงอย่างนั้น
    พระองค์ก็ยังทรงทำได้แสนยากต้องทนลำบากพระองค์
    บำเพ็ญทุกขกิริยาอยู่ถึง ๖ พรรษา
    เพื่อแสวงหา
    ดวงจักษุ คือ ปัญญาอันประเสริฐ จึงได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    ทรงเห็นพระนิพพานแจ่มแจ้งด้วยพระองค์เอง
    โดยไม่เกี่ยวกับทุกขกิริยาที่ทรงกระทำมานั้น ไม่ใช่เป็นหนทางให้พระองค์ได้ตรัสรู้
    ส่วนหนทางที่ให้พระองค์ตรัสรู้นั้น ได้แก่
    อัฏฐังกิมรรค ๘ ประการ มีสัมมาทิฐิเป็นต้น มีสัมมาสมาธิ
    เป็นปริโยสาน
    ที่พระองค์ทรงทำให้เกิดขึ้นด้วยทรงเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน คือ
    ทรงตั้งพระหฤทัย
    กำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ เมื่อพระองค์ทรงบ่ม
    อานาปานสติ การกำหนด ลมหายใจเข้าออกนั้นให้แก่กล้านั้น
    ก็เกิดเป็นสมาธิชั้นที่ ๑ ที่๒ ที่๓ ที่๔ ซึ่งเรียกตามบาลีว่า
    ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
    เมื่อ
    จตุตฌานเกิดขึ้นแล้ว พระหฤทัยของพระองค์ดำรงมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส
    ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง อ่อนโยน ละมุนละไม
    ตั้งอยู่ในฐานะที่จะบังคับได้ดังประสงค์ ดำรงมั่นไม่หวั่นไหวแล้ว

    พระองค์ก็ทรงน้อมพระหฤทัยไป เพื่อให้เกิด บุพเพนิวาสญาณ ให้ระลึกการหนหลังได้ ในลำดับนั้น พระองค์ก็ทรงระลึกกาลหนหลังได้ ตั้งแต่ ชาติหนึ่งเป็นต้นไป จนกระทั่งถึงปลายกัลป์ หากำหนดมิได้ พร้อมทั้งอาการและอุเทศ คือ
    ทรง ระลึกได้ว่า ในชาติโน้น พระองค์มีพระนาม และโครต ผิวพรรณ วรรณะ
    อาหาร สุขทุกข์ อายุ อย่างนั้นๆ
    จุติจากชาตินั้นแล้ว ได้มาเกิดในชาติโน้น ทรงระลึกได้อย่างนี้
    เป็นลำดับมา จนกระทั่งชาติปัจจุบันนั้น บุพเพนิวาสญาณ การระลึกชาติหนหลังนี้
    ได้เกิดมีแก่พระองค์ในปฐมยาม ฯ
    ในปฐมยามนั้น พระองค์ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมจนตลอดแล้ว
    ก็ทรงเปล่งอุทานขึ้น ดังที่แสดงมาแล้วในกัณฑ์ ที่ ๑ โน้น
    เมื่อถึง มัชฌิมยาม พระองค์น้อมพระหฤทัยไปเพื่อ
    ให้รู้การจุติ และอุบัติของสัตว์โลกทั้งหลาย
    พระองค์ก็ได้ทรงเห็นสัตว์โลกทั้งหลายที่จุติ และเกิดได้ทุกจำพวก
    คือจำพวกที่เลวและดี ทั้งพวกที่มีผิวพรรณดีและไม่ดี
    ทั้งจำพวกที่ไปดีและไปไม่ดีด้วยทิพพจักษุญาณ

    คือ พระองค์ทรงทราบว่าพวกที่ประกอบด้วย
    กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า
    เป็นมิจฉาทิฐิ ถือมั่นมิจฉาทิฐิทำกาลกิริยาตายแล้ว ก็ไปเกิดในอบาย
    ทุคติ วินิบาต นรก

    การที่พระองค์
    ทรงทราบนั้น คือ ทรงเล็งเห็นด้วย ทิพพจักษุ
    เหมือนกับบุคคลยืนอยู่บนปราสาทซึ่งเล็งเห็นผู้ที่อยู่รอบปราสาทฉะนั้น

    เมื่อพระองค์ทรงได้ทิพพจักษุ อันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จตูปปาตญาณแล้ว
    พระองค์ก็ทรงพิจารณา ปฏิจจสมุปบาทในฝ่ายปฏิโลม
    แล้วทรงเปล่งอุททานเป็นครั้งที่ ๒ ดังที่แสดงมาแล้ว
    ในกัณฑ์ ที่ ๒ โน้น
    เมื่อพระหฤทัยของพระองค์บริสุทธิ์ดังที่แสดงมาแล้วในกัณฑ์ที่ ๓ โน้น ฯ
    ในขณะที่พระองค์ทรงไว้ อาสวักขยญาณอันทำให้สิ้น อาสวะกิเลสนั้น
    สรรพปรีชาญาณทั้งสิ้น คือ เวสารัชชญาณ ๔
    ทศพลญาณ ๑๐ และสัพพัญญุตญาณเป็นต้น
    ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ฯ

    เป็นอันว่าในขณะนั้น พระองค์ได้ตรัสรู้
    พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก
    เป็นอันว่าพระปัญญาจักษุ
    คือ ดวงปัญญาอันวิเศษ
    ซึ่งเป็นเหตุให้เห็นพระหฤพาน ก็เกิดมีขึ้นแก่พระองค์ พร้อมทั้ง
    พระพุทธจักษุพระสมันตจักษุ ทิพพจักษุทุกประการ ฯ
    เท่าที่สังวัณณนาการแล้วนี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า


    พระนฤพานนั้น เป็นของที่เห็นได้แสนยาก เพราะเหตุว่า
    เป็นของละเอียดลึกซึ้งไม่มีสิ่งจะเทียมถึง
    โดยเหตุนี้
    ควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จะอุตสาหะบำเพ็ญ บารมีทั้ง ๑๐ ประการ
    คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี
    ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี
    เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี อันกล่าวโดยย่อว่า ได้แก่
    ทาน ศีล เนกขัมมะ บรรพชา ปัญญา วิริยะ ขันติ
    สัจจะ อธิฐาน เมตตา อุเบกขา ตามกำลังสามารถของตน ตามภูมิชั้นของตน ๆ
    ที่ปรารถนาเป็น สาวก สาวิกา หรือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามโอกาสบริสุทธิ์มาด้วยบุพเพนิวาสญาณ และ
    จุตูปปญาณ ในปฐมยาม และมัชฌิมยามดังนี้แล้ว
    พระหฤทัยของพระองค์ก้ผ่องแผ้วยิ่งขึ้น
    พระองค์จึงทรงน้อมพระหฤทัยไปเพื่อให้เกิดอาสวักขยญาณ
    ทำให้สิ้น อาสวะจากสันดานของพระองค์ ฯ

    พระองค์ก็ทรงทราบตามความเป็นจริงว่า
    สิ่งไรเป็นทุกข์
    สิ่งไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    สิ่งไรเป็นความดับทุกข์
    สิ่งไรเป็นทางดับทุกข์ฯ
    พระองค์ก็ทรงทราบตามความเป็นจริงว่า
    สิ่งเหล่านี้เป็นอาสวะ
    เป็นเหตุ
    ให้เกิดอาสวะ
    เป็นความดับอาสวะ
    เป็นทางให้ดับอาสวะ ฯ
    เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นอย่างนั้น พระหฤทัย
    ของพระองค์ก็หลุดพ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ
    เมื่อพระหฤทัยของพระองค์หลุดพ้นจาก
    อาสวะ ทั้ง ๓ อย่างนั้นแล้ว ก็เกิดพระปรีชาญาณขึ้นว่า
    พระหฤทัยของเราหลุดพ้นแล้ว พระองค์สิ้นความ
    เวียนตายเวียนเกิดอยู่ในกำเนิด ๔ คติ ๕ สัตตาวาส ๙
    อันนับเข้าในสงสารเสร็จแล้ว
    พระองค์สำเร็จพรหมจรรย์แล้ว ได้ทรงทำสิ่งที่ควรทำ สำเร็จแล้ว ลำดับนั้น
    พระองค์ก็ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
    กลับไปกลับมาทั้งฝ่าย อนุโลมและปฏิโลม แล้วทรงเปล่งอุทานขึ้นเป็นครั้งที่ ๓
    ดังที่ได้ ที่ควรกระทำ

    เมื่อผู้ใดพยายามบำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ มีทานเป็นต้น
    ตามสมควรแก่เวลาแล้ว ผู้นั้นก็ใกล้ต่อการเห็นนิพพาน
    ไปโดยลำดับ ด้วยเหตุว่า
    จิตใจของผู้นั้น จะผ่องใสไปโดยลำดับ เหมือนกับทองที่ช่างทองได้ไล่ขี้ไป
    โดยลำดับฉะนั้น ฯ
    ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ทรงสอนไว้ว่า
    บุคคลผู้มีปัญญา ควรกำจัด
    มลทินของตนไปทีละน้อยๆ ไปตามขณะสมัย ในเวลาอันสมควร
    ให้เหมือนกับช่างทองไล่สนิมทองฉะนั้น
    ดังนี้ ฯ


    แต่ขอเตือนท่านทั้งหลายอีกอย่างหนึ่งว่า
    ท่านทั้งหลายอย่าท้อใจว่า กว่าจะได้เห็นนิพพานนั้น
    ต้องบำเพ็ญบารมีอยู่ตลอดกาลนาน
    เพราะเหตุว่าเมื่อเราทำไป วันเวลาเดือนปี ก็สิ้นไปตามลำดับ
    เมื่อเราดับจิตแล้ว เราก็เกิดชาติใหม่ เมื่อเราเกิดชาติใหม่แล้วเราก็ลืมชาติเก่า

    เรานึกไม่ได้ว่าเราได้
    บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว เมื่อเราเกิดอยู่ในชาติใด

    เราก็นึกได้แต่เพียงชาตินั้น อันนี้ไม่เป็นเหตุให้เรา
    เบื่อหน่าย ท้อทอยต่อการบำเพ็ญบารมี

    ถ้าเราไม่ลืมชาติหนหลัง เหมือนดั่งเราเดินทาง แล้วไม่ลืมระยะทาง
    ที่เดินมาแล้วในวันก่อนๆนั้นแหละ

    จึงจักทำความหนักใจท้อถอยให้แก่เรา

    อีกประการหนึ่ง การเดินทางนั้น
    ย่อมทำให้เกิดความเหนื่อยมากในวันแรก และวันที่ ๒ ที่ ๓ เท่านั้น

    สำหรับวันต่อๆไป ความเหนื่อยนั้น
    ก็คลายลงไปทีละน้อยๆ ด้วยเหตุว่า

    ความคุ้นเคยต่อการเดินทางนั้น ย่อมมีขึ้นกับเท้าและแข้งขาของเรา
    การบำเพ็ญบารมี ก็ทำให้เรามีความชำนิชำนาญขึ้นทีละน้อยๆ ฉันนั้น

    เหมือนเราไม่เคยให้ทาน รักษาศีล
    ฟังพระสัทธรรมเทศนา เราย่อมรู้สึก ลำบากใจ

    เห็นว่าเป็นของทำได้ยาก แต่ว่าเมื่อเราทำได้มากขึ้นแล้ว
    ก็จะเห็นว่าเป็นของทำได้ง่ายขึ้นทุกทีฯ



    อีกประการหนึ่งการบำเพ็ญบารมีเพื่อปรารถนาเป็น สาวก สาวิกา
    ปกตินั้น ย่อมไม่กินเวลานานเท่าไรนัก
    กินเวลาเพียงแสนมหากัลป์เท่านั้น

    ส่วนปรารถนาเป็นมหาสาวก และอัครสาวก
    พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
    จึงกินเวลานานมากกว่ากันขึ้นไปเป็นลำดับ ฯ

    เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นพระนิพพานอยู่ตราบใด
    ก็ไม่เห็นความสิ้นทุกข์อยู่ตราบนั้น
    เหมือนกับเรายังไม่เห็น
    ความมั่งมีตราบใดเราก็ไม่เห็นการสิ้นความจนอยู่ตราบนั้น
    ฉะนั้นโดยเหตุนี้ จึงควรที่ทุกคนจะพยายาม
    บำเพ็ญบารมีทั้ง ๑๐ ที่มีทานบารมีเป็นต้น
    ให้มีขึ้นในตนเสมอไป
    แก้ไขมาในคำว่า นิพพานเห็นได้ยาก
    ก็พอเป็นที่เข้าใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายแล้ว
    จึงจะได้อธิบายคำอื่นต่อไป


    มีคำว่า นิพพาน ไม่มีเครื่องน้อมไปเป็นต้น คือ
    คำว่า นิพพานไม่มีเครื่องน้อมไปนั้น พระอรรถกถาจารย์
    อธิบายว่าตัณหาชื่อว่าเป็นเครื่องน้อมไป เพราะน้อมไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น

    และน้อมไปในภพทั้งหลาย มีกามเป็นต้น
    ซึ่งท่านย่นใจความว่า นิพพานนั้นไม่มีตัณหา ฯ
    คำของพระอรรถกถาจารย์ที่อธิบายดังนี้
    เป็นอันได้ความแจ่มแจ้งแล้ว คือ พระนิพพานนั้น ไม่มีตัณหาที่จะให้น้อมไปในอารมณ์
    และภพอันใดอันหนึ่ง จึงเป็นที่เกษมสุขอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่า สิ่งที่มีตัณหานั้น

    เป็นสิ่งที่ให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น

    คำว่านิพพานไม่มีเครื่องน้อมไป คือ ตัณหานี้
    เป็นเครื่องชี้คุณของนิพพานให้เห็นว่าไม่มีเหตุที่จะให้เกิดทุกข์
    จึงจัดเป็นเอกันตบรมสุขอย่างยิ่ง สมกับคำว่า
    นิพพานัง ปรมัง วทันติ พุทธา
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมสุขดังนี้

    คำว่า ของจริงไม่ใช่เห็นได้ง่ายในพระอุทานนั้น

    พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า นิพพานนั้น ชื่อว่าเป็นของจริง
    เพราะเป็นของไม่วิปริต เป็นของมีอยู่โดยแท้
    ใครจะแก้ไขให้เห็นว่า นิพพานไม่มีนั้นเป็นอันไม่ได้
    นิพพานนั้น ถึงผู้ได้สะสมบุญญาณไว้ได้ตลอดกาลนาน
    ก็ยังยากที่จะเห็นได้ ดังนี้

    คำของพระอรรถกถาจารย์นี้เป็นคำที่แจ่มแจ้งอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องชี้แจงซ้ำอีก
    ให้พิสดาร เป็นแต่จับใจความว่า
    ตามถ้อยคำของพระอรรถกถาจารย์นี้มีมาว่า นิพพานซึ่งเป็นของจริงนั้น
    ถึงผู้บำเพ็ญบารมีมานานแล้ว ก็ยากที่จะสำเร็จได้

    คำว่าแทงตลอดตัณหานั้น พระอรรถกถาจารย์ว่า ได้แก่
    ละตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ฯ คำว่าผู้รู้ผู้เห็นนั้น ได้แก่
    ผู้รู้เห็นอริยสัจด้วยอริยมรรคปัญญา ฯ

    คำว่า
    ไม่มีความกังวลนั้นได้แก่ ไม่มีกิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ คือ
    ความวนเวียนแห่งกิเลส และกรรม
    กับทั้งผลแห่งกรรม ดังนี้ ฯ

    ถ้อยคำของพระอรรถกถาจารย์เหล่านี้ ก็มีใจความแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น
    โดยเหตุนี้ จึงของดธัมมัตถาธิบายในพระพุทธอุทาน ที่ ๗๒
    อันมีเนื้อความว่า

    ธรรมชาติอันใดไม่มีเครื่องน้อมไป

    เป็นของเห็นได้ยาก เพราะของจริงไม่ใช่เป็นของเห็นได้ง่าย
    เครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้แทงตลอดตัณหาแล้วรู้อยู่เห็นอยู่ ดังนี้ ......



    ที่มา กัณฑ์ ที่ ๗๒ คัมภีร์ ขุททกนิกาย
    พุทธอุทาน ว่าด้วยนิพพานอันปรากฎแก่ผุ้สิ้นตัณหา......

     
  15. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    นิพพาน คือ นิพพาน
     
  16. moshininja

    moshininja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +103
    นิพพาน คืออะไร เอากระดาษกว้างเท่าจักรวาลมาบรรยายก็ยังไม่พอ
     
  17. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    ดูบทอธิบาย เพิ่มเติม ลองดู​


    สังวัณณนาแห่งทัสสเนนปหาตัพพติกะ​

    [๙๒] บทว่า​

    ทสฺสเนน โดยอรรถว่า
    อันโสดาปัตติมรรค. ก็โสดาปัตติมรรค พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ทัสสนะ เพราะเห็นนิพพานครั้งแรก.
    ส่วนโคตรภู เห็นนิพพานครั้งแรกก็จริง;
    ถึงอย่างนั้น ก็ไม่เรียกว่า เห็น
    เพราะไม่มีการประหา (การละ) กิเลส
    อันเป็นกิจที่พึงเห็นนิพพานทำ,​

    เหมือนอย่างบุรุษผ้าสู่ราชสำนักด้วยกรณียะเฉพาะบางอย่าง
    แม้ได้เห็นพระราชาซึ่งเสด็จทรงช้างไปตามถนนแต่ไกลเทียว
    เมื่อถูกถามว่า “ท่านได้เฝ้า พระราชาแล้วหรือ”
    (คำว่า เฝ้า หรือเข้าเฝ้า ในภาษาบาลี
    ใช้กริยาศัพท์เดียวกันกับ เห็น นั่นเอง
    เพราะเฝ้า หรือเข้าเฝ้า ก็คือเห็น หรือพบนั่นเอง)

    ก็ย่อมจะตอบว่า “ยังไม่ได้เฝ้า”

    เพราะ ยังมิได้ทำกิจที่พึงเข้าเฝ้า กระทำฉันใด, ก็ฉันนั้น นั่นแหละ.​

    แท้จริง โคตรภูญาณนั้น ก็ตั้งอยู่ในฐานะแห่งอาวัชชนะของมรรค.
    บทว่า ภาวนา โดยอรรถว่า มรรค ๓ ที่เหลือ.
    ก็มรรค ๓ ที่เหลือ บังเกิดขึ้นด้วยอำนาจภาวนา
    ในธรรมที่ปฐมมรรคเห็นแล้วนั่นเอง.
    ไม่ได้เห็นธรรมอะไรๆ ที่ปฐมมรรคไม่เคยได้เห็น;
    เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ภาวนา.
    บทที่ ๓ ตรัสโดยการปฏิเสธบททั้ง ๒.​

    บรรดาธรรมทั้ง ๓ นั้น จิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง
    และที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาดวงหนึ่ง รวม ๕ ดวง
    เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรค (ทัสสนะ) พึงประหาณ (พึงละ) เทียว.
    จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นธรรมอันมรรค ๓ ที่เหลือ (ภาวนา)
    พึงประหาณ นั่นเทียว.
    อกุศลจิตตุปบาท ๖ ที่เหลือ ทั้งที่เป็นไปและไม่เป็นไปโดยความเป็นเหตุแห่งอบาย
    เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ ก็มี,
    เป็นธรรมอันมรรค ๓ ที่เหลือไม่พึงประหาณ ก็มี.​

    ส่วนจิตตุปบาททั้งปวงเว้นอกุศล, รูป,และนิพพาน
    เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรค หรือมรรค ๓ ที่เหลือไม่พึงประหาณ.
    ส่วนบรรดาเจตสิก ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อิสสา มัจฉริยะและกุกกุจจะ
    เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณเทียว.
    อกุศลที่เหลือ เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรคพึงประหาณก็มี.
    เป็นธรรมอันมรรค ๓ ที่เหลือพึงประหาณก็มี;
    เจตสิกที่เหลือจากที่กล่าวแล้ว ๑๓ อย่าง
    อันมีชาติ ๓ เป็นธรรมอันโสดาปัตติมรรค
    หรือมรรค ๓ ที่เหลือ ไม่พึงประหาณเทียว.​

    ส่วนการประหาณแม้ซึ่งกุศลและอัพยากฤตที่ท่านอนุญาตไว้โดยนัยมีคำว่า
    “นามและรูปที่พึงบังเกิดในสังสารวัฏ อันไม่รู้เงื่อนต้นเงื่อนปลายเว้น ๗ ภพ ย่อมดับลงในที่นี้เพราะอภิสังขารวิญญาณดับลงด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ” ดังนี้เป็นต้น​

    นั้นท่านกล่าวหมายปริยายนี้ว่า
    เพราะได้ประหาณบรรดากิเลส อันเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งนามและรูปที่พึงบังเกิดขึ้นเพราะมิได้ยังมรรคนั้นๆ ให้เกิด.​

    อนึ่ง
    ติกะนี้เป็นนิปปเทสัตติกะ. ทัสสเนนปหาตัพพติกะ จบ ​


    อ่านเต็มๆ ที่นี่ http://palungjit.org/threads/๑๓-โมหวิเฉทนี-เสสติกสังวัณณนา.295973/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2011
  18. Noppie

    Noppie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +173
    <center>คิริมานนทสูตร

    เมืองพระนิพพาน

    </center> ตทนนฺตรํ ในลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส เทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ นิพฺพานํ นครํ นาม อันชื่อว่าเมืองพระนิพพาน ย่อมตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก โลกมีที่สุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ที่สุดนั้น พระนิพพาน เป็นพระมหานครอันใหญ่ เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ คำที่ว่าที่สุดแห่งโลกนั้น จะถือเอาอากาศโลกหรือจักรวาล โลกเป็นประมาณนั้นมิได้ อากาศโลกและจักรวาลโลกนั้น มีที่สุดเบื้องต่ำก็เพียงใต้แผ่นดิน แผ่นดินนี้มีน้ำรองใต้น้ำ นั้นมีลม ลมนั้นหนาได้ ๙ แสน ๔ หมื่นโยชน์สำรองน้ำไว้ ใต้ลมน้ำลงไปเป็นอากาศหาที่สุดมิได้ ที่สุดโลกเบื้องต่ำก็ เพียงลมเท่านั้น อันว่าที่สุดแห่งจักรวาลโลกเบื้องขวางนั้น มีอนันตจักรวาลเป็นเขต นอกอนันตจักรวาลออกไปเป็น อากาศว่างๆอยู่ จึงว่าโดยขวางมีอนันตจักรวาลเป็นที่สุด อันว่าที่สุดแห่งจักรวาลโลกเบื้องบนนั้น มีอรูปพรหมเป็นเขต เฉพาะอรูปพรหม ๔ ชั้นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น นิพพานพรหมหรือนิพพานโลก นิพพานโลกนี้เป็นที่ไม่ สิ้นสุด ส่วนว่านิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีนามว่า โลกุตตรนิพพาน เป็นนิพพานที่สุดที่แล้ว ต่ออรูปพรหม ๔ ชั้นขึ้นไปก็เป็นแต่อากาศที่ว่างๆ อยู่ จึงว่าที่สุดเบื้องบน เพียงอรูปพรหมเท่านั้น จะเข้าใจเอาเองว่าลมรองน้ำและ อนันตจักรวาลและอรูปพรหมเป็นที่สุดของโลก เมือง พระนิพพานคงตั้งอยู่ในที่สุดของโลกเหล่านั้น ดังนี้ พระ พุทธเจ้าจึงห้ามว่า อย่าพึงเข้าใจอย่างนั้นเลย ที่ทั้งหลาย เหล่านั้น ใครๆก็ไม่สามารถจะไปถึงด้วยกำลังกาย หรือ ด้วยกำลังยานพาหนะมียานช้างยานม้าได้ อย่าเข้าใจว่าเมือง นิพพานตั้งอยู่ในที่สุดของโลกเหล่านั้น หรือตั้งอยู่ในที่ แห่งนั้นแห่งนี้ อย่าเข้าใจว่าตั้งอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเลย แต่ว่า พระนิพพานนั้น หากมีอยู่ในที่สุดของโลกเป็นของจริง ไม่ต้องสงสัย ให้ท่านทั้งหลายศึกษาให้เห็นโลก รู้โลกเสีย ให้ชัดเจน ก็จักเห็นพระนิพพาน พระนิพพานก็ตั้งอยู่ใน ที่สุดแห่งโลกนั้นเอง

    ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายถึงที่สุดโลกออกจาก โลกได้แล้ว จึงชื่อว่าถึงพระนิพพาน และรู้ตนว่าเป็นผู้พ้น ทุกข์แล้วและอยู่สุขสำราญบานใจทุกเมื่อ หาความเร่าร้อน โศกเศร้าเสียใจมิได้ ถ้าผู้ใดยังไม่ถึงที่สุดโลก ยังออกจากโลก ไม่ได้ตราบใด ก็ชื่อว่ายังไม่ถึงพระนิพพาน จะต้องทนทุกข์ น้อยใหญ่ทั้งหลาย เกิดๆ ตายๆ กลับไปกลับมาหาที่สุด มิได้อยู่ตราบนั้น บุคคลทั้งหลายเป็นผู้ต้องการพระนิพพาน แต่หารู้ไม่ว่าพระนิพพานนั้นเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน การปฏิบัติ ในทาน ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นทางไปสู่พระนิพพาน ก็ไม่เข้าใจ เมื่อไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจแล้ว จะไปสู่พระนิพพาน นั้นเป็นการลำบากยิ่งนัก เปรียบเหมือนคน ๒ คน ผู้หนึ่ง ตาบอด ผู้หนึ่งตาดี จะว่ายข้ามน้ำมหานทีอันกว้างใหญ่ ในคนทั้ง ๒ นั้น ผู้ใดจักถึงฝั่งข้างโน้นก่อน คนผู้ตาดีต้อง ถึงก่อน ส่วนคนผู้ตาบอดนั้น จะว่ายข้ามไปถึงฝั่งฟากโน้น ได้แสนยากแสนลำบาก บางทีจะตายเสียในท่ามกลางแม่น้ำ เพราะไม่รู้ไม่เห็นว่าฝั่งอยู่ที่ไหน ข้ออุปมานี้ฉันใด คนไม่รู้ ไม่เห็นพระนิพพานอยู่ที่ไหนเป็นอย่างไร ทางจะไปก็ไม่เข้าใจ เป็นแต่อยากได้อยากถึง อยากไปพระนิพพาน เมื่อเป็น เช่นนี้การได้การถึงของผู้นั้นก็ต้องเป็นของลำบากยากแค้นอยู่ เป็นของธรรมดา บางทีจะตายเสียเปล่า จะไม่ได้เงื่อนเค้าของ พระนิพพานเลย ผู้ศึกษาพึงเข้าใจว่า พระนิพพานอยู่ที่สุด ของโลก ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางไปพระนิพพาน ถ้า รู้อย่างนี้ยังมีทางที่จะถึงพระนิพพานได้บ้าง แม้เมื่อรู้แล้ว อย่างนั้น ก็จำต้องพากเพียรพยายามเต็มที่ จึงจะถึงเหมือน คนตาดีว่ายข้ามน้ำ ก็ต้องพยายามจนสุดกำลังจึงจะข้าม พ้นได้ มีอุปไมยเหมือนกันฉันนั้น ดูกรอานนท์ บุคคล ทั้งหลายผู้ปรารถนาพระนิพพานควรศึกษาให้รู้แจ้ง ครั้น รู้แจ้งแล้วจะถึงก็ตาม ไม่ถึงก็ตาม ก็ไม่เป็นทุกข์แก่ใจ ถ้าไม่รู้ แต่อยากได้ย่อมเป็นทุกข์มากนัก เปรียบเหมือนบุคคล อยากได้วัตถุสิ่งหนึ่ง แต่หากไม่รู้จักวัตถุสิ่งนั้น ถึงวัตถุสิ่งนั้น จะมีอยู่จำเพาะหน้า ก็ไม่อาจถือเอาได้เพราะไม่รู้ ถึงจะ มีอยู่ก็มีเปล่าๆ ส่วนตัวก็ไม่หายความอยากได้ จึงเป็น ทุกข์ยิ่งนัก ผู้ปรารถนาพระนิพพาน แต่ไม่รู้จักพระนิพพาน ก็เป็นทุกข์เช่นนั้น จะถือเสียว่าไม่รู้ก็ช่างเถอะ เราปรารถนา เอาคงจะได้ คิดอย่างนี้ก็ผิดไป ใช้ไม่ได้ แม้แต่ผู้รู้แล้ว ตั้งหน้าบากบั่นขวนขวาย จะให้ได้ถึงก็ยังเป็นการยาก ลำบากอย่างยิ่ง บุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็นพระนิพพานและจะถึง พระนิพพาน จะมีมาแต่ที่ไหน อย่าว่าแต่พระนิพพานเลย แม้จะกระทำการสิ่งใดก็ดี เป็นต้นว่า ช่างเงิน ช่างทอง ช่างเหล็ก ช่างไม้ ช่างวาดเขียน ต่างๆ เป็นต้น ต้องรู้ ด้วยใจหรือเห็นด้วยตาเสียก่อนจึงจะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จได้ ผู้ปรารถนาพระนิพพานก็ต้องศึกษาให้รู้จักพระนิพพานไว้ ก่อนจึงจะได้ จะมาตั้งหน้าปรารถนาเอาโดยความไม่รู้นั้น จะมีทางได้มาที่ไหน ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายควรจะ ศึกษาให้รู้ให้แจ้งทางของพระนิพพานไว้ให้ชัดเจนแล้วไม่ควร ประมาท แม้ปรารถนาจะไปก็ไป แม้ไม่ปรารถนาจะไป ก็อย่าไป ครั้นเห็นดีแล้ว จิตประสงค์แล้ว ก็ให้ปฏิบัติ ในทางของพระนิพพานด้วยจิตอันเลื่อมใสก็อาจจะสำเร็จ ไม่สำเร็จก็จะเป็นอุปนิสัยต่อไป ผู้ที่ไม่รู้แม้ปรารถนาจะไป หรือไปอยู่ใกล้ที่นั้นบ่อยๆก็ไม่อาจถึง เพราะเข้าใจผิด คิดว่าอยู่ที่นั้นที่นี้ ก็เลยผิดไปตามจิตที่คิด หลงไปหลงมา อยู่ในวัฏฏสงสาร ไม่มีวันที่จะถึงพระนิพพานได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...