จิตไม่เกิดดับ เพราะจิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ จิตจึงไม่ใช่กองทุกข์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 16 สิงหาคม 2011.

  1. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ต้องตอบว่ามีอยู่แล้วครับ แต่โลภะนี้คงจะมีน้อยมากแล้วครับ

    เพราะว่าถ้าหากหมดแล้วคงไม่เห็นกิจใดสำคัญแล้วครับ

    คุณคงไม่เข้าใจคำว่า เห็นหนทางใช่ไหมครับ จึงได้ถามผมบ่อยๆ

    เหมือนคุณจำแผนที่ได้หมดแล้ว ไม่มีทางที่จะลืมได้ คุณจะต้องพกแผนที่อีกไหมครับ

    และหากว่าคุณเคยได้เดินทางไปตามที่แผนที่กล่าว จนเห็นสถานที่ ที่คุณต้องการที่จะไป

    อีกไม่ไกลแล้ว คุณจะแบกสิ่งที่เป็นภาระ หนักๆไปด้วยไหมครับ

    หากไม่มีสิ่งที่คุณถาม ผมคงบรรลุธรรมแล้วครับ

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  2. ขมิ้นชัน

    ขมิ้นชัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2008
    โพสต์:
    508
    ค่าพลัง:
    +141
    "ให้พิจารณา ครอบจิตอีกทีนึง ถึงจะทลายอวิชาได้"
    ท่านคงหมายถึงพิจารณาจิตรู้อีกทีหนึ่ง เพื่อปล่อยวางตัวรู้เห็น
    ไม่ยึดในสภาวะ รู้ เป็นการ วางรู้ เพื่อพ้นจากสภาวะนั้น
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จิตดวงเดียว ไม่ขาดสาย เป็นความคลาดเคลื่อนของเจ้าของกระทู้
    ไม่ใช่ความเห็นในมติเถรวาทตามตีความในพระไตรปิฏก
    ปัญหานี้มีคำตอบใน คำภีร์กถาวัตุ

    ถ้าทุกคนมีความบริสุทธิ์แห่งจิต
    แล้วอะไรทำให้ติดข้องในสังสารวัฏ
    อวิชาเกิดมาได้อย่างไร
     
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    อาจไม่ตรงกับที่พี่ธรรมภูตศึกษามา แต่ผมก็อยากเชิญชวนให้ลองอ่านดูสักหน่อย

    http://palungjit.org/threads/บัญญัต...ย-พระครูเกษมธรรมทัต-สุรศักดิ์-เขมรํสี.222547/
     
  5. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    กระทู้นี้ อัดแน่นด้วยเนื้อหา สงวนดำรงค์คงไว้ ณ ห้องอภิญญา :cool:
     
  6. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    ท่าน จขกท. อ่านตรงนี้หน่อย ถ้าเป็นสิ่งที่ท่านนับถืออยู่ก็ต้องขออภัยนะครับ
     
  7. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ในหนังสือ ของคุณตา พิมพ์เมื่อปี พ.ศ 2503

    กล่าว ว่า ภควา แปลว่า ผู้มีโชค ไม่ได้แปลว่า Good luck นะ


    ขยายความ ว่า จิตรู้เต็มที่ไม่มีอะไรรู้ยิ่งไปกว่านี้ รู้..แล้วละ และ สละ เลย

    จากหนัง สือ ธรรมวิภาค ปริเฉท
     
  8. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +494
    แก้ไขข้อความ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 พฤศจิกายน 2012
  9. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    มามุขนี้ ยิ่งหนักเลยครับ

    แต่อยากให้อธิบาย จั๊กหน่อย

    เพราะที่โต้แย้งกันมา นั่นเพราะเห็นขันธ์5 คือจิต โดยเข้าใจไปว่า วิญญาณขันธ์ เป็นตัวจิต

    แต่ไม่เคยได้ยินว่า "เวทนากับสัญญา คือจิต"

    วิญญาณขันธ์ ทำหน้าที่ในการรู้อารมณ์
    ด้วยขันธ์5 และอายตนะผัสสะนี้ทำงานอยู่ตลอดอยู่แล้ว
    ที่จากเกิด ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

    แล้วอุปทานไปว่าเป็นเรา โดยสัญญา สังขาร และเวทนา เป็นตัวหลอกล่อจิต

    ลองศึกษาใน "ขันธวิมุติสมังคีธรรมะ ของหลวงปู่มั่น" ดูครับ

    www.84000.org/supatipanno/history.html

    [​IMG]

    *สัญญาในนั้นพราก (พารก) สังขารขันธ์นั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Capture.JPG
      Capture.JPG
      ขนาดไฟล์:
      207.9 KB
      เปิดดู:
      157
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2011
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ตาปลา;5000496]คิดจะพูดอะไร เคยหยุดพิจารณาบ้างมั้ย?
    พิจารณาแล้วว่าจะกล่าวอะไร
    ก็กล่าวด้วยเหตุและผล ตริตรองให้รู้เห็นตามความเป็นจริงสิ

    เอาแต่จำตำรามาพูดเท่านั้น ไม่รู้สึกว่าขาดเหตุหรือ?
    จำสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะ ว่าด้วยเรื่องของเหตุและผล
    ที่ยกมาหนะแน่ใจนะ ของพระบรมศาสดา ที่ยกมามีเหตุผลที่ไหนกัน

    ถ้าตัวจิตเป็นกองทุกข์เสียเองแล้ว ก็ไปดับจิตซะจะได้หมดทุกข์ใช่หรือไม่?
    ใช่ค่ะ จิตเป็นอาสวะที่หมักดองอยู่ทุกภพทุกชาติ
    การทำให้จืด คลาย ดับไปเป็นเรื่องของการดับทุกขอริยสัจน์ โดยเจริญมรรคมีองค์๘
    พูดภาษาอะไร? จิตกลายเป็นอาสวะอีกแล้ว
    จิตไม่ใช่อะไรทั้งสิ้นเป็นเพียงธาตุรู้
    แต่มีอาสวะกิเลสหมักดองมานานนับไม่ถ้วน มรรคใช่ทางเดินของจิตหรือไม่
    ตอบด้วยว่าทำอะไรให้จืด คลาย ดับจากทุกข์ จิตหรือกายเน่าๆ

    แบบนี้ก็หาบุคคลที่มีจิตใจที่เป็นสุขไม่ได้เลยสิ เพราะจิตเป็นกองทุกข์เสียเอง
    แน่นอนค่ะ เพราะจิตมีหน้าที่เก็บทั้งอกุศล กุศล วิบาก กิริยา(พระอรหันตร์)
    ยอมรับแล้วนะว่า จิตมีหน้าที่เพียงเก็บกักหรือปล่อยวางทั้งอกุศล กุศล วิบาก กิริยา
    พระอรหันต์จิตของท่านรู้จักปล่อยวางไม่ใช่เก็บกักอย่างเดียว


    การจะเชื่ออะไรนั้น ควรยืนอยู่บนหลักของเหตุผล
    สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะ ว่าด้วยเรื่องของเหตุและผล
    ใช่พระพุทธพจน์ล้วนเต็มไปด้วยเหตุและผล แต่ตำรารุ่นหลังรจนาตามมติที่ชอบใจตนเอง

    อย่าคนในศาสนาอื่นมาหัวเราะเยาะได้ว่า มีแต่เรื่องไร้เหตุผลสิ น่าอายนะ
    ดูจิตตัวเองให้ออกว่า ขณะนี้จิตเป็นกุศล หรือ อกุศล
    อ้าวดูจิตทำไมหละ ก็บอกเองใช่มั้ยว่าจิตเป็นกองทุกข์ อะไรที่เป็นกองทุกข์เขี่ยทิ้งสิ ไปดูมันทำไม
    ก็เพราะจิตไม่ใช่กองทุกข์ แต่จิตรู้ผิดจากความเป็นจริง จึงไปยึดติดอกุศล กุศล วิบาก ว่าเป็นของๆตน

    จิตของผู้ปฏิบัติเป็นผู้กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ใช่เป็นตัวทุกข์เสียเอง
    จิตเป็นผู้ปฏิบัติผู้กำหนดไม่ได้ เพราะจิตเป็นตัวทุกข์
    ก็บอกแล้วไง ถ้าเป็นตัวทุกข์เสียเอง ฆ่าตัวตายสิจะได้หมดทุกข์
    ที่พูดนะมีเหตุผลที่ไหน"จิตเป็นตัวทุกข์" จิตเป็นตัวสุขมีมั้ย?

    ถ้าเป็นตัวทุกข์เสียเอง ผู้ปฏิบัตก็ควรตายไปซะจะได้พ้นทุกข์ใช่หรือไม่?
    การที่ยังมาเวียนเกิดเวียนตาย เป็นการเสวยวิบากทั้งกุศลและอกุศล
    ทุกกรรมที่ได้กระทำไม่ได้หายไปไหน แค่ยังไม่ถึงเวลาเท่านั้น
    ผู้มีปัญญา ควรเจริญมรรคมีองค์๘ เพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยะบุคล
    จากพระโสดบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันตร์

    ตายแบบมีปัญญาคือเจริญมรรคมีองค์๘ ก่อนตาย
    พูดไปเรื่อยๆเจื่อยแจ้วไป ใครหละที่เจริญมรรคมีองค์แปด กาย หรือ จิต?
    ใครเป็นผู้เสวยวิบากทั้งกุศลและอกุศล กาย หรือ จิต?
    ใครคือผู้มีปัญญา กายที่ตายเน่า หรือ จิตผู้รู้?
    อะไรเข้าสู่ความเป็นพระอริยะ กายเน่าๆที่ตายเข้าโลงได้ หรือ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่เห็นอยู่
    อย่าพูดโดยไม่มีประธานของประโยคสิ
    อย่าบอกนะว่ามีแต่การเข้าสู่ความเป็นอริยะ แต่ผู้เข้าถึงไม่มี?
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เจ้าของบทความได้เคยสนทนากันมาแล้วนักต่อนัก

    ยังค้างตอบคำถามอยู่ไม่น้อย ทวงถามไปก็ไม่ได้คำตอบเพราะหาเหตุผลไม่ได้

    เมื่อไม่คิดจะตอบคำถาม ก็ได้แต่วางแปะไว้เท่านั้น

    เจ้าของสโลแกน "พระพุทเจ้าเป็นเพียงขันธ์๕เท่านั้น" เฮ้อ!!!
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    วิญญาณคืออาการของใจ

    ใจคือช่องทางในการรับอารมณ์ของจิต
     
  13. animejanai

    animejanai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    520
    ค่าพลัง:
    +494
    แก้ไขข้อความ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 ตุลาคม 2012
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ในพระสุตตันตปิฎก ได้แสดงลักษณะของจิตว่า ดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก เที่ยวไปไกล (ทูรงฺคมํ) เที่ยวไปดวงเดียว (เอกจรํ) ไม่มีรูปร่าง (อสรีรํ) อาศัยอยู่ในถ้ำ (คุหาสยํ)

    ธรรมะของพระพุทธองค์นั้น สั่งสอนให้เข้าใจได้โดยไม่ยากจนเกินไป ชัดเจนในตัว

    ไม่ต้องเขียนแผนภูมิให้วุ่นว่ายไปหมด แถมยังเขียนจากมติตามชอบใจของตนเองเสียอีก

    ส่วนไวพจน์นั้นไว้ใช่แทนกันเท่านั้น แล้วแต่กรณีไป
    เช่น เป๊ปซี่ แฟนต้า น้ำแดง น้ำเขียว ก็ได้ชื่อว่าน้ำเช่นกันเป็นไวพจน์กัน แต่ไม่ใช่ตัวน้ำที่บริสุทธิ์

    รูปที่่มีจิตครอง(อุปาทินกสังขาร) กับรูปที่ไม่มีจิตครอง(อนุปาทินกสังขาร)

    รูปที่ไม่มีจิตครอง ก็พวกต้นไม้ใบหญ้ากองหินดินทราย คนตายฯลฯ
    สั่งสอนให้รู้ไม่ได้ ไม่มีการแสดงอาการใดๆให้รู้สึกได้

    ส่วนรูปที่มีจิตครองนั้น เช่นคน สัตว์ทั้งหลาย
    สั่งสอนให้รู้เห็นตามความเป็นจริงได้ มีการแสดงอาการสนองตอบต่ออารมณ์นั้นได้

    พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ล้วนอุบัติขึ้นมาเพื่อสั่งสอนพวกอุปาทินกสังขารเท่านั้น

    จขกท.เมื่อนำมาลงก็ตอบด้วยว่า "เจตสิก"คืออะไร? อยู่โผล่มาจากไหนใครรู้บ้าง?
     
  15. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    จิตตสังขาร คือ เวทนาและสัญญา จ้า(k)(k) หากกล่าวว่า "จิต" ไม่น่าจะใช่น่ะ
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ก่อนอื่น อย่ามั่วคิดไปเองสิว่า

    เมื่อจิตยืนตัวรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นดับไปจากจิต แล้วจิตต้องเที่ยง รู้ได้ไงว่าจิตไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์เหล่านั้น

    การมีวุฒิรับรองก็ไม่ได้บอกว่ารู้จริงซะหน่อย

    หมอที่จบมามีวุฒิรับรอง ยังมีหมอที่รักษาแล้วไม่หาย แถมยังตายอีกถมเถ

    ในอนัตตลักขณสุตรชัดๆว่า กล่าวถึงขันธ์๕เท่านั้น ไม่ได้รวมจิตเข้าไปด้วยเลยใช่หรือไม่?

    เอ้!!!ไหนบอกว่ามีวุฒิ ของแค่นี้ทำไมยังอ่านไม่รู้นะ หรือจบเพราะจำมาพูดเทื่านั้น

    ^
    ^
    พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดๆแล้วว่า

    ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
    ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา?


    ไม่ควรเห็นอย่างนั้น แล้วควรเห็นอย่างไรล่ะ

    เมื่อไม่ควรเห็นขันธ์๕ว่านั่นเป็นตัวตนของเรา

    แล้วอะไรหละที่ควรเป็นตัวตนของเรา?

    เมื่อมีของที่"ไม่ใช่" ก็ต้องมีของที่"ใช่"จริงหรือไม่?

    เป็นหลักตรรกะพื้นๆ ที่ใครๆก็พิจารณาตริตรองเห็นตามได้ ใช่หรือไม่?

    ก็บอกแต่ต้นกระทู้แล้วไงว่า ขันธ์๕ไม่ใช่จิตและจิตก็ไม่ใช่ขันธ์๕
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2011
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ไม่รู้จริงๆหรือแกล้งไม่รู้เพราะติดตำรา

    ดวงเดียวเที่ยวไป(เอก จรํ) พระพุทธพจน์เถรวาท

    พระไตรปิฎกโดยเฉพาะพระสูตรไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้น

    เพียงแค่สรุปให้ได้อ่านให้เป็นก็พอแล้ว

    ในพระสูตรนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนแล้วว่า

    "แม้ผู้มีปัญญาก็ยังไม่รู้เลยว่าอวิชชานั้น มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่มีมาในภายหลัง"

    มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ชัด ว่างๆจะค้นมาลงให้อ่านจะได้หายสงสัย
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
    ขุททกนิกาย มหานิทเทส(อรรถกถา)

    พระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าพ้นแล้วอย่างไร?
    พระอรหันต์มีจิตพ้นแล้วพ้นวิเศษ พ้นดีแล้ว จากความกำหนัด ความขัดเคือง
    ความหลง ความโกรธ ความผูกโกรธความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา
    ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้างความแข่งดี ความถือตัว
    ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
    ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง
    อกุสลาภิสังขารทั้งปวงพระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ เพราะอรรถว่าพ้นแล้วอย่างนี้.

    ^
    ^
    อะไรของท่านพระอรหันต์ชื่อว่าเป็นผู้คงที่?
    ๑.ร่างกายของท่านเป็นคงที่ หรือ ๒.มีจิตพ้นแล้วพ้นวิเศษ พ้นดีแล้วเป็นผู้คงที่
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เข้าใจว่า ที่อุปมามานั้น มาจาก อสฺสุตวตาสูตร ใน สุตฺต. สํ. นิทานวคฺโค
    นำทั้งบาลีทั้งไทยมาด้วยดีกว่า

    เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว มกฺกโฏ อรญฺเญ จ พฺรหาวเน จ จรมาโน สาขํ คณฺหาติ ตํ มุญฺจิตฺวา
    อญฺญํ คณฺหาติ ตํ มุญฺจิตฺวา อญฺญํ คณหาติ ตํ มุญฺจิตฺวา อญฺญํ คณฺหาติ.
    เอวเมว ภิกฺขเว ยมิทํ วุจฺจติ จิตฺตํ อิติปิ มโน อิติปิ วิญฺญาณํ. อิติปิ ตํ รตฺติยา จ ทิวสสฺส จ
    อญฺญเทว อุปฺปชฺชติ อญฺญํ นิรุชฺฌติ.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่ จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม
    จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด
    ร่างกายอันเป็นที่ชุมนุมแห่งมหาภูตรูป ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
    จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล.

    ^
    ^
    มีผู้รู้พระบาลีพอสมควรบางท่านที่พยายามยกเอาพระบาลีอัสสุตวตาสูตร
    มาเพื่อกล่าวแย้งเรื่องจิตเกิดดับอย่างแน่นอน ตามคำแปลพระบาลี
    โดยเอาคำว่า "อุปปชฺติ" แปลว่า เกิด
    และคำว่า "นิรุชฺฌติ." แปลว่า ดับ

    โดยการนำมาชี้แจงเพียงเท่านี้ พร้อมกับคำแปลที่เป็นภาษาไทยถูกรจนาขึ้นในภายหลัง
    ผมเองก็มีความรู้พระบาลีเพียงเล็กๆน้อย จากการจำมาจากพระสูตรต่างๆ
    ซึ่งในพระบาลีที่นำมานั้น มีนัยยะ เรื่องเกิดดับดังนี้
    มีพระบาลีที่ยกมาบอกไว้ว่า "อัญญะเทว" แปลว่า
    อัญญา=รู้ต่าง เทว อ่านว่าทะเว= รู้ต่างทั้งสองฝ่าย คือรู้ต่างทั้งเกิดขึ้นและดับไป

    ฉะนั้นคำว่า "อญฺญเทว อุปฺปชฺชติ" แปลได้ว่า เกิดขึ้นก็รู้
    คำว่า "อญฺญํ นิรุชฺฌติ" แปลได้ว่า ดับไปก็รู้ เพราะรู้ต่างทั้งสองฝ่าย

    เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พระบาลีบอกไว้ชัดๆว่า เกิดขึ้นก็รู้ ดับไปก็รู้
    แสดงว่าที่เกิดดับไปนั้นเป็นเพียงอาการของจิต(จิตเป็นต้นนั้น)เท่านั้น
    แต่ก็ยังมีคนพวกหนึ่ง เมื่ออ้างถึงจิตเกิดดับมักต้องยกเอาพระสูตรนี้มาเป็นประจำ

    โดยไม่ศึกษาถึงเนื้อหาที่ถูกต้องแท้จริงๆเลย
    เพราะเชื่อตามที่สอนว่าเป็นแบบนั้น โดยไม่เอาหลักเหตุผลใดๆทั้งสิ้นเลย

    พระอริยสาวก ย่อมรู้ชัดว่าคือรู้เห็นตามความเป็นจริง
    ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
    ทุกข์เกิดขึ้นที่ไหนครับ? ที่จิตใช่มั้ยครับ?
    สุข ทุกข์ที่เกิดขึ้นดับไปล้วนใช่อาการของจิตมั้ย?

    ส่วนปุถุชนนั้น เห็นอาการของจิต(จิตตสังขาร) ที่เรียกว่า
    จิตบ้าง มโนบ้าง วิญาณบ้างฯลฯ จิตเป็นต้นนั้น
    เกิดดับไปตามอารมณ์เหล่านั้น(เครื่องเศร้าหมองจิต)เป็นธรรมดาเพราะไม่รู้จักจิต
    ส่วนพระอริยสาวกรู้เห็นตามความเป็นจริง เห็นอารมณ์เกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิตครับ

    พระสูตรก็ชัดเจนอยู่แล้ว ท่านเปรียบวานรเหมือนจิต วานรกี่ตัว?
    แต่อาการที่วานร ไปจับกิ่งโน้น ปล่อยกิ่งนี้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดกิ่งนี้
    จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ ใช่วานรเป็นต้นนั้นมั้ยครับ?

    ถ้าวานรเปรียบเหมือนจิตที่เกิดๆดับๆ วานรมิต้องตกตายเกลื่อนป่าหรือ?
    ดวงเดียวเที่ยวไป ก็เหมือนวานรตัวเดียวเที่ยวไป
    ส่วนอาการของจิตที่แสดงในการจับสิ่งนั้น(อารมณ์) ปล่อยสิ่งนี้ ปล่อยสิ่งนั้น ยึดสิ่งนี้
    จับสิ่งอื่น ปล่อยสิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวสิ่งงใหม่
    ล้วนเป็นจิตสังขาร หรือ จิตเป็นต้นนั้นทั้งสิ้นใช่หรือไม่?
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    พระสูตรที่ยกมานั้น ควรอ่านตั้งแต่ต้นที่ทรงกล่าวไว้ว่า
    "ปุถุชน ผู้ที่ไม่ได้สดับจากพระอริยะ" ใช่มั้ย?
    แล้วปุถุชนมักมองเห็นในสิ่งตรงข้ามกับพระอริยะเจ้าใช่มั้ย?
    ปุถุชนรู้เห็นอย่างที่ยกมานั้น ก็เป็นธรรมดา ที่จะยึดกายดีกว่ายึดจิต ไม่ได้สดับ
    ย่อมต้องเห็นต่างจากพระอริยสาวก ที่ไม่ยึดกายอันตาบเน่าเข้าโลง
    พร้อมกับฝึกฝนอบรมจิตของตนให้สลัดคืน ถ่ายถอนความยึดมั่นทั้งหลายให้หมดไป

    ในพระสูตรส่วนใหญ่แล้ว เมื่อทรงกล่าวถึงปุถุชน ผู้มิได้สดับ รู้เห็นเป็นอย่างไรใช่มั้ย?
    ย่อมต้องทรงกล่าวเปรียบเทียบถึง พระอริยสาวก ผู้ที่ได้สดับมาว่า รู้เห็นเป็นอย่างไรใช่มั้ย?
    พระอริยะสาวก ผู้ได้สดับมานั้น รู้เห็นว่า
    "รู้ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ รู้ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้"
    ไม่ใช่รู้ความเกิดๆดับๆของจิตนะ รู้ความเกิดขึ้นดับไปแห่งกองทุกข์ ที่เกิดดับคือกองทุกข์

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้
    ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย
    แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
    เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว
    ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ"
    ู^
    ^
    อะไรเกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้น? ใช่จิตมั้ยที่รู้?
    ถ้าไม่ใช่ก็ช่วยตอบด้วยนะครับว่าอะไรที่หยั่งรู้
     

แชร์หน้านี้

Loading...