พระพุทธรูปปางต่าง ๆ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vibe, 11 พฤษภาคม 2005.

  1. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    [​IMG]
    ปางอธิษฐานเพศบรรพชิต
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงาย
    วางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นตั้งฝ่าพระหัตถ์ตรงพระอุระ
    เบนฝ่าพระหัตถ์ไปข้างซ้ายเป็นกิริยาสำรวมจิตอธิษฐานเพศเป็น
    บรรพชิต พระพุทธรูปปางนี้ไม่มีพระรัศมีบนพระเศียรด้วยนิยมว่า
    พระรัศมีจะมีก็ต่อเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ปางนี้บางตำราก็เรียกว่า
    ปางมหาภิเนษกรมณ์ ฯ
    ตอนที่เจ้าชายสิตธัตถะได้เสด็จ
    ประพาสอุทยาน และได้เห็นเทวทูตทั้ง 4 คือ:-
    คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ จึงทำให้พระองค์เกิด
    ความเบื่อหน่าย และได้เสด็จออกผนวชเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์ ฯ



    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางปัจจเวกณ์ </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายประคอง
    บาตรที่วางอยู่บนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นป้องเสมอพระอุระ
    ทอดพระเนตรลงต่ำ ฯ
    หลังจากเจ้าชายสิตธัตถะได้เพศเป็นบรรพชิตได้ 7 วัน วันที่ 8 ออก
    บิณฑบาตแต่ว่าอาหารที่ได้มาไม่ประณีต ไม่น่าฉัน แต่พระองค์ก็รำพึง
    กับตนเองว่าบัดนี้เราเป็นสมณะ และเที่ยวบิณฑบาตเพื่อเลี้ยงชีพ
    แล้วจะหาอาหารที่สะอาดประณีตมาแต่ที่ใดเล่า จึงได้พิจารณา
    ฉันอาหารบิณฑบาตว่า อาหารนี้ก็สักว่าเป็นธาตุ จะต้องเป็นไป
    ตามปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้น ฯ
    </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"> </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"></CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"></CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"></CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางทุกกรกิริยา </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสอง
    ซ้อนกันวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
    อุตตราสงค์ (จีวร) อยู่บนพระอังสาเล็กน้อย ข้างขวาหลุดลง
    มาวางอยู่บนพระเพลา พระวรกายซูบผอม จนพระอัฐิ
    พระนหารู ปรากฎชัด ฯ
    ครั้นทรงศึกษาในสำนักของอาฬารดาบส และอุทกดาบสแล้ว
    ก็ทรงเห็นว่ามิใช่หนทางพ้นทุกข์ ก็ทรงบำเพ็ญเพียรด้วยพระองค์เอง
    เรียกว่า ทุกกรกิริยา โดยการทรมานตนให้ลำบาก 3 วาระ คือ
    </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"> </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">1. ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยพระชิวหา
    ไว้ให้แน่นจนเหงื่อไหลออกทางพระกัจฉา ได้รับทุกขเวทนา
    เหมือนคนกำลังมากบีบศีรษะหรือคอของคน
    ที่มีกำลังน้อยกว่าฉะนั้น ฯ
    </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"> </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">2. ทรงผ่อนลมอัสสาสะปัสสาสะ เมื่อลมเดินไม่สะดวกทาง
    พระนาสิกและพระโอฐก็เกิดเสียงอู้ทางพระกรรณทั้งสองข้าง
    ทำให้ปวดพระเศียร เสียดในอุทรและร้อนไปทั่วพระวรกาย ฯ
    </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"> </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">3. ทรงอดอาหาร ผ่อนเสวย ลดอาหารลงทีละน้อย ในที่สุด
    ก็ไม่เสวย จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง พระฉวีเศร้าหมอง
    พระอัฐิปรากฎทั่วพระวรกาย ฯ แม้จะทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
    อยู่นานถึง 6 ปี แต่ก็ยังไม่บรรลุ หลังจากนั้นก็ทรงเปลี่ยนมา
    บำเพ็ญทางจิตปฏิบัติปานกลางไม่ตึงและหย่อนเกินไป ฯ
    </CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2005
  2. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    <TABLE cols=1 width="20%" align=left bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>














    ปางทรงพระสุบิน
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา
    (สำเร็จสีหไสยา)พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระกาย
    พระหัตถ์ขวายกขึ้นประคองพระเศียร หลับพระเนตร
    เป็นกิริยาบรรทมหลับ ฯ
    เมื่อทรงเลิกจากการบำเพ็ญทุกกรกิริยา และหันมาบำเพ็ญทางจิต
    คืนหนึ่งในขณะบรรทมหลับ ทรงพระสุบินเป็นบุพพนิมิตร
    5 ประการ คือ

    1. ทรงบรรทมหงายเหนือพื้นปฐพี พระเศียรหนุนภูเขาหิมพานต์
    พระหัตถ์ซ้ายหยั่งลงในมหาสมุทรในทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวา
    และพระบาททั้งคู่หยั่งลงในมหาสมุทรทิศใต้
    (พระมหาบุรษจะได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศในโลก)


    2. หญ้าแพรกเส้นหนึ่งออกจากพระนาภี สูงขึ้นไปจนถึงท้องฟ้า
    (จะได้ประกาศสัจจธรรม แก่มวลเทวดาและมนุษย์)


    3. หมู่หนอนทั้งหลาย ไต่ขึ้นมาแต่พื้นพระบาททั้งคู่ จนถึงพระชานุ
    (คฤหัสถ์ และพราหมณ์ทั้งหลาย จะเข้ามาสู่สำนักของพระองค์)


    4. ฝูงนก 4 จำพวก สีเหลือง เขียว แดง และดำ บินมาแต่ทิศทั้ง 4
    ลงมาจับแทบพระบาทแล้วก็กลายเป็นสีขาว (กษัตริย์ พราหมณ์
    แพศย์ และศูทย์ เมื่อเข้าสู่สำนัก ก็จะเข้าถึงธรรมอันบริสุทธิ์)


    5. เสด็จไปเดินจงกรม บนยอดเขาอันเต็มไปด้วยอาจม
    แต่อาจมนั้นมิได้เปรอะเปื้อนพระบาทแต่อย่างใด (ถึงแม้พระองค์
    จะสมบูรณ์ด้วยสักการะอามิสที่ชาวโลกน้อมถวายด้วยศรัทธา
    ก็มิได้มีพระทัยข้องอยู่ให้เป็นมลทินแม้แต่น้อย) ฯ


    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางรับมธุปายาส
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ แบพระหัตถ์
    ทั้งสองข้างยื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยารับมธุปายาส ฯ
    นางสุชาดาปรุงข้าวมธุปายาสอันประณีตเพื่อไปแก้บนเทวารักษ์
    ที่ได้บนบานไว้ว่า ขอให้ได้สามีผู้มีสกุลเสมอกัน และขอให้ได้
    บุตรชายคนแรก เมื่อไปเห็นพระมหาบุรุษนั่งอยู่ใต้ต้นนิโครธ
    ก็สำคัญว่าเป็นรุกขเทวดา จึงน้อมถาดข้าวมธุปายาส ไปถวาย
    แล้วทูลว่า ความปรารถนาของหม่อมฉันสำเร็จฉันใด
    ขอสิ่งที่พระองค์ท่านปรารถนาจงสำเร็จเถิด (อาหารบิณฑบาต
    ที่ถวายพระตถาคตใน 2 ครั้ง คือ เมื่อเสวยแล้วได้ตรัสรู้อนุตตร
    สัมมาสัมโพธิญาณ และอาหารที่ฉันก่อนเสด็จปรินิพพาน จัดว่า
    เป็นทานมีผลมาก มีอานิสงส์มากกว่า บิณฑบาตทั้งหลาย ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางเสวยมธุปายาส
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย
    ประคองถาดมธุปายาส พระหัตถ์ขวาวางบนถาด แสดงนิ้วพระหัตถ์
    ด้วยอาการหยิบข้าวมธุปายาสปั้นเสวย ฯ
    เมื่อนางสุชาดาทูลลากลับไปแล้ว พระองค์ทรงถือถาดเสด็จไป
    สู่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราประทับที่ริมฝั่ง ผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา พระหัตถ์ซ้ายประคองถาดมธุปายาสพระหัตถ์ขวาทรงปั้นข้าว
    มธุปายาสเป็นปั้น ๆ ได้ 49 ปั้น แล้วเสวยจนหมด ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางลอยถาด
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งคุกเข่าทั้งสองลงกับพื้น
    พระหัตถ์ซ้ายวางที่พระเพลาข้างซ้ายเป็นอาการค้ำพระกายให้ตั้งมั่น
    ทอดพระเนตรลงต่ำ พระหัตถ์ขวาทรงจับถาด ทำกิริยาวางลงในน้ำ ฯ
    ครั้นเสวยเสร็จ ก็ถือถาดลงไปสู่แม่น้ำ แล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าจะได้
    ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ขอให้ถาดทองนี้จงลอยทวน
    กระแสน้ำขึ้นไปเถิด ด้วยอานุภาพของมหาบุรุษ ถาดทองนั้น
    ได้ลอยทวนกระแสน้ำไปประมาณ 1 เส้น แล้วก็จมลง ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางรับหญ้าคา
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้าง
    พระกาย พระหัตถ์ขวายื่นออกไปข้างหน้า เป็นกิริยารับหญ้าคา
    บางแบบถือหญ้าคาก็มี ฯ
    ในระหว่างทางที่จะเสด็จไปสู่ร่มไม้สัตถโพธิพฤกษ์ โสตถิยพราหมณ์
    พบพระมหาบุรุษแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงถวายหญ้าคา 8 กำ
    พระองค์ทรงรับแล้วเสด็จไปยังร่มไม้อสัตถะด้านทิศปราจีน
    ทรงวางหญ้าคา 8 กำ ลงที่โคนต้นอสัตถะนั้น แล้วทรงอธิษฐานว่า
    จะประทับนั่งบำเพ็ญเพียรจนกว่าจะตรัสรู้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ฯ
    </CENTER></CENTER></CENTER></CENTER>
     
  3. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    [​IMG]
    ปางมารวิชัย
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงาย
    วางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้
    ลงที่พื้นธรณี ปางนี้เริ่มนิยมทำพระรัศมีบนพระเศียรแล้ว ฯ
    เมื่อทรงอธิษฐานเสร็จ เหล่าเทพยดาและพรหมทุกสถาน
    ต่างก็แซ่ซ้องสาธุการ แต่พญามารวัสวดี กลับพิโรธริษยา
    ไม่ต้องการให้พระองค์ตรัสรู้ จึงนำกองทัพมาร
    มาล้อมเขตบัลลังก์รัตน์ของพระองค์ไว้ แต่ก็มิได้ทำให้พระองค์
    ผู้ทรงด้วยบารมี 30 ทัศหวั่นไหว ยิ่งทำให้พญามารพิโรธยิ่งขึ้น
    และได้กล่าวกะพระมหาบุรุษว่า บัลลังก์แก้วเป็นของเรา
    ท่านผู้ไม่มีบุญจงลุกไป พระองค์จึงตรัสตอบว่า บัลลังก์เกิดขึ้น
    ด้วยบุญเราแล้วจึงเรียกนางวสุนธราเจ้าแห่งธรณี มาเป็นพยาน
    นางจึงปรากฎกายทำอัญชลีถวายอภิวาทแล้วประกาศให้พญามาร
    ทราบว่า พระมหาบุรุษได้บำเพ็ญบุญกุศลมากมาย เพียงแค่
    น้ำกรวดที่ข้าพเจ้าเอามวยผมรองรับไว้บนเศียรเกล้า ก็มากพอ
    เป็นหลักฐานได้ เมื่อกล่าวเสร็จ นางก็บีบน้ำกรวดที่สะสมไว้ให้
    ไหลออกมาเป็นทะเลหลวง ท่วมทับเหล่าพญามารให้ถอยร่นไป ฯ

    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางตรัสรู้
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสอง
    หงายวางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ฯ
    เมื่อทรงกำจัดมารให้ปราชัยด้วยพระบารมีแล้ว ก็ทรงเบิกบาน
    พระทัยได้ปีติเป็นกำลังสนับสนุนปฏิบัติสมาธิภาวนาให้ยิ่งขึ้น
    ในที่สุดก็ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในเวลารุ่งอรุณ ทำให้พระองค์ทรงเบิกบานเป็นที่สุดถึงกับอุทานว่า "บัดนี้
    เราได้พบนายช่างเรือน คือ ตัวตัณหาแล้ว แต่นี้สืบไป ท่านจะ
    ทำเรือนให้ตถาคตมิได้แล้ว จิตของเราปราศจากสังขาร
    เครื่องปรุงแต่งให้เกิดในภพอื่นเสียแล้ว ตัณหาได้สูญสิ้นไป
    โดยไม่มีส่วนเหลือ ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางถวายเนตร
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเต็มที่
    ทรงทอดพระเนตรดูมหาโพธิพฤกษ์ พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลง
    มาประสานทับกันอยู่หน้าพระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย
    อยู่ในอาการสำรวม ฯเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมา
    สัมโพธิญาณแล้วประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ที่ร่มมหาโพธิ์ 7 วัน
    แล้วก็เสด็จออกจากร่มไม้มหาโพธิ์ ไปประทับ
    ยืนกลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นมหาโพธิ์นั้น ทรงทอดพระเนตร
    ต้นมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรด้วยพระอิริยาบถนั้นถึง 7 วัน
    สถานที่ประทับยืนด้วยอิริยาบถนั้นเป็นนิมิตมหามงคล
    เรียกว่า "อนิมิสสเจดีย์" ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางจงกรมแก้ว
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระบาทขวาก้าว
    เหยียบพื้นยกส้นพระบาทซ้ายขึ้น ปลายพระบาทจรดพื้น
    แสดงอาการก้าวเดินจงกรมพระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสาน
    กันอยู่ที่หน้าพระเพลา ทอดพระเนตรลงต่ำอยู่ในอาการสังวร
    อันเป็นการเดินอย่างมีสติกำกับทุกก้าวพระบาท ฯ
    หลังจากที่เสด็จออกจากอนิมิสสเจดีย์ กลับมาประทับอยู่ที่
    กึ่งกลางระหว่างอนิมิสสเจดีย์กับต้นมหาโพธิ์ เสด็จจงกรมอยู่
    ณ ที่นั้นเป็นเวลา 7 วัน สถานที่นั้น เป็นนิมิตมหามงคล
    เรียกว่า "จงกรมเจดีย์" ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางเรือนแก้ว
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิอยู่ในเรือนแก้ว
    หงายพระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันวางบนพระเพลา มีเรือนแก้วรอบพระกาย บางแห่งสร้างแบบขัดสมาธิเพ็ชรประทับนั่งอยู่ในเรือนแก้ว ฯ
    เมื่อเสร็จการเสด็จจงกรม 7 วันแล้ว พระองค์ก็เสด็จออกจากจงกรมเจดีย์
    ไปทางทิศพายัพของต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งสมาธิในเรือนแก้ว
    ซึ่งเทพดานิรมิตรถวายทรงพิจารณาพระอภิธรรม ณ เรือนแก้วนั้น 7 วัน สถานที่ประดิษฐานเรือนแก้วเป็นนิมิตมหามงคล
    เรียกว่า "รัตนฆรเจดีย์" ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางนาคปรก
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์
    ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุม
    เบื้องบนพระเศียรบางแห่งสร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชร ฯ
    เมื่อเสด็จประทับยืนเสวยวิมุติสุข ณ ร่มไม้ อชปาลนิโครธ 7 วันแล้ว
    พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุติสุขยังร่มไม้จิก
    ชื่อมุจจลินท์ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศอาคเณย์ของต้นมหาโพธิ์นั้น บังเอิญ
    ในวันนั้นเกิดมีฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด 7 วัน พญามุจจลินท์
    นาคราชออกจากพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย 7 ชั้น
    แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตรฉัตร
    ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์
    มิให้ฝนลมหนาวถูกต้องพระวรกาย ฯ
    </CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER>
     
  4. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางฉันสมอ
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์
    ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทรงถือผลสมอ
    และหงายพระหัตถ์วางที่พระชานุเป็นกิริยาเสวยผลสมอ ฯ
    เมื่อพระองค์ประทับเสวยวิมุติสุข ณ ร่มไม้จิก ชื่อมุจลินท์
    ครบ 7 วันแล้วก็เสด็จไปประทับยังร่มไม้เกต ชื่อราชายตนะ
    อันตั้งอยู่ในทิศทักษิณแห่งต้นมหาโพธิ์นั้น เสวยวิมุติสุขอีก
    ตลอด 7 วัน ครั้นล่วง 7 วันเวลาเช้าจึงเสด็จออกจากสมาธิวิหาร
    ทรงประดิษฐาน ณ ที่นั้น ครั้งนั้นท้าวสักกะอมรินทราธิราช
    ทรงดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยวิมุติสุขถึง 7 สัปดาห์
    นับแต่วันตรัสรู้มาถึงวันนี้รวมเป็น 49 วันแล้ว ยังมิได้เสวย
    พระกระยาหารเลย จึงนำผลสมออันเป็นทิพยโอสถน้อมเข้า
    ไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงรับไว้ และเสวยผลสมอนั้น ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางประสานบาตร
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย
    ประคองบาตรซึ่งวางอยู่บนพระเพลา ยกฝ่าพระหัตถ์ขวา
    ขึ้นวางปิดปากบาตร เป็นกิริยาทรงอธิษฐานประสานบาตร ฯ
    พ่อค้าเกวียน 2 คือ ตปุสสะ กับภัลลิกะ ได้เดินทางไปค้าขาย
    ตามเมืองต่าง ๆ และได้ผ่านมาพบพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เกิด
    ความเลื่อมใส จึงได้น้อมถวายข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง แต่เนื่อง
    จากพระองค์ไม่มีบาตร ในกาลนั้นท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4
    จึงได้นำบาตรทำด้วยศิลามีสีเขียว มาจากทิศทั้ง 4 น้อมถวาย
    แด่พระองค์ เพื่อรักษาศรัทธาปสาทะพระองค์จึงรับทั้ง 4 แล้ว
    ทรงอธิษฐานเข้าเป็นลูกเดียวกัน ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์
    ทั้งสองประคองบาตร ซึ่งวางอยู่บนพระเพลา ทอดพระเนตร
    ลงต่ำ เป็นกิริยารับสัตตุก้อนสัตตุผง ฯ
    ครั้นประสานบาตรทั้ง 4 เป็นลูกเดียวกันแล้ว ก็ทรงรับ
    สัตตุก้อนสัตตุผงของพ่อค้าทั้ง 2 คน และทรงทำภัตตกิจ
    ในเวลานั้น ฯ

    </CENTER><CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางพระเกศธาตุ
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย
    หงายวางบนพระเพลา ยกฝ่าพระหัตถ์ขวาขึ้นแนบพระเศียร
    เป็นกิริยาเสยพระเกศา ฯ
    เมื่อเสร็จการเสวยแล้ว ตปุสสะ และภัลลิกะ ก็ขอถึงพระพุทธองค์
    กับพระธรรมเป็นสรณะ พระองค์จึงยกพระหัตถ์ขวาขึ้นลูบ
    พระเศียรเกล้า ได้พระเกศา 8 เส้น นิยมเรียกว่า พระเกศธาตุ
    แล้วทรงประทานแก่พ่อค้าทั้งสอง ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางรำพึง
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสอง
    ประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์
    ซ้ายเป็นกิริยารำพึง ฯ
    เมื่อตปุสสะกับภัลลิกะทูลลาไปแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปประทับยืน
    ที่ใต้อชปาลนิโครธและได้ทรงรำพึงถึงธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้
    แล้วนั้นว่า เป็นธรรมประณีตละเอียด สุขุมคัมภีรภาพยากที่บุคคล
    จะรู้ได้ ถึงกับดำริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน แต่เมื่อทรงรำพึง
    ถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่า ได้ตรัสรู้
    แล้วย่อมแสดงธรรมโปรดประชากร ประดิษฐานพระพุทธศาสนา
    ให้แผ่ไพศาล จนถึงเสด็จปรินิพพาน จึงได้น้อมพระทัยไปในการ
    แสดงธรรม และทรงพิจารณาอีกว่า อุปนิสัยของสัตว์โลกย่อม
    แตกต่างกัน เปรียบเหมือนดอกบัว 4 เหล่า ดอกบัวที่อยู่เหนือน้ำ
    จักบานทันทีเมื่อสัมผัสแสงอาทิตย์ ดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำ และ
    ใต้น้ำ ก็จะบานในวันต่อ ๆ มา แต่ดอกบัวที่อยู่ใต้โคนตม กว่าจะมี
    โอกาสชูดอกมาอยู่เหนือน้ำ อาจจะเป็นอาหารของเต่าและปลา
    ไปก่อนก็ได้ เมื่อพิจารณาดังนั้น จึงทรงอธิษฐานพระทัยในอัน
    จะแสดงธรรมสั่งสอนมหาชน ฯ

    </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางปฐมเทศนา (แสดงธรรมจักร)
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวา
    ยกขึ้นจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นวงกลม เป็นกิริยาแสดงธรรม
    พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา ฯ
    เมื่อทรงมั่นพระทัยที่จะแสดงพระธรรมโปรดเวไนยสัตว์แล้ว
    ก็ทรงรำพึงพิจารณาหาบุคคลผู้สมควรที่พระองค์จะทรงแสดง
    ธรรมโปรด ตอนแรกทรงนึกถึงดาบสทั้งสอง ซึ่งพระองค์ได้ทรงไป
    ศึกษาด้วยเมื่อทรงผนวชใหม่ ๆ แต่อาจารย์ทั้งก็ได้สิ้นชีวิตไปแล้ว
    ต่อจากนั้นทรงระลึก ถึงปัญจวัคคีย์ ที่เคยอุปัฎฐากครั้งที่ทรง
    บำเพ็ญทุกกรกิริยา ครั้นทรงเลิกทุกกรกิริยา ด้วยทรงเห็นว่า
    มิใช่ทางตรัสรู้ แต่ทรงปฏิบัติในทางจิตตามมัชฌิมาปฏิปทา
    ปัญจวัคคีย์ เห็นว่า พระองค์คลายความเพียรเวียนมา
    เป็นคนมักมาก จึงไม่เลื่อมใส แล้วพากันหนีไป
    ทรงเห็นว่าปัญจวัคคีย์มีอินทรีย์แก่กล้าที่จะ ได้ธรรมอันวิเศษ
    จึงเสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันอันเป็นที่อยู่ของปัญจวัคคีย์
    ครั้นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระองค์ทรงแสดง
    "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" อันเป็น "ปฐมเทศนา" โปรดภิกษุทั้ง 5
    ประกาศความตรัสรู้ของพระองค์ว่า "กามสุขัลลิกานุโยค คือ
    การประกอบตนให้พัวพันด้วยความสุขในกาม กับ
    อัตตกิลมถานุโยค คือการทำความทุกข์ยากให้แก่ผู้ประกอบ
    ทั้งสองนี้ ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใ่ช่การตรัสรู้ บรรพชิตไม่ควรเสพ
    ส่วนมัชฌิมาปฏิปทาข้อปฏิบัติเป็นทางกลาง ที่เราตรัสรู้แล้ว
    เป็นเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อนิพพาน
    คือสิ้นตัณหา เครื่องรัดรึง เป็นธรรมที่บรรพชิตควรดำเนิน
    ด้วยเป็นทางทำผู้ดำเนินให้เป็นพระอริยะ" ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER>ปางประทานเอหิภิกขุ
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย
    หงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นตั้ง ฝ่าพระหัตถ์ตรง
    ออกไป งอนิ้วพระหัตถ์ลงหน่อย เป็นกิริยาทรงกวัก ฯ
    เมื่อโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน
    และได้ทูลขออุปสมบทในธรรมวินัยด้วยวาจาว่า "ท่านจง
    เป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติ
    พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด" ด้วยพระวาจาที่
    ตรัสเพียงเท่านี้ พระโกณฑัญญะก็สำเร็จเป็นพระภิกษุใน
    พระพุทธศาสนา ฯ
    </CENTER></CENTER></CENTER></CENTER>
     
  5. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    <TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER>[size=+1]ปางภัตตกิจ[/size] </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">ประคองบาตรซึ่งวางอยู่บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาหย่อนลง </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">ในบาตรเป็นกิริยาเสวย ฯ </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">สมัยหนึ่ง ยสะกุลบตรเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงเปล่ง </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">คำว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ" ในขณะนั้นพระศาสดา </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">ทรงเสด็จจงกรมอยู่ ได้ยินเสียงเช่นนั้น จึงตรัสตอบว่า "ที่นี่ </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">ไม่วุ่นวายหนอ ที่นี่ไม่ขัดข้องหนอ มาที่นี่เถิด เราจะแสดงธรรม </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">ให้ฟัง" ยสะมาณพได้ฟังดังนั้นก็พอใจ จึงเข้าไปถวายบังคม และ </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">นั่งฟังธรรม ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อจบเทศนา ยสะมาณพได้บรรลุ </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">พระโสดาปัตติผล และต่อมาก็บรรลุอรหันต์และทูลขออุปสมบท </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">พระองค์ก็ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาว่า "ท่านจงเป็นภิกษุ </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">มาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์" </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">ในที่นี้ไม่ตรัสคำว่า เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ เพราะพระยส </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">ได้ถึงที่สุดทุกข์แล้ว ในเวลาเช้าวันนั้น พระองค์กับพระยสะ </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">ได้เสด็จไปสู่เรือนของพระยสะ และได้ทำภัตตกิจที่เรือนนั้น </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">พระพุทธจริยาที่ทรงทำภัตตกิจครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ทรงทำ </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px">ภัตตกิจในบ้าน ฯ </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"> </CENTER><CENTER style="MARGIN: 0px"><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางห้ามสมุทร[/size]
    [size=+1](ปางห้ามพระญาติแย่งน้ำในสมุทร)[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองข้าง
    ยกขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็น
    กิริยาห้าม ฯ
    หลังจากที่พระองค์ได้ส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา ส่วน
    พระองค์ก็เสด็จไปสู่สำนักของชฎิล 3 พี่น้อง ผู้เป็นที่เคารพ
    นับถือของมหาชนในมคธรัฐเป็นอันมาก ต่อมาก็ทรงทรมาน
    พญานาคในโรงไฟอันเป็นที่นับถือของชฎิลให้สิ้นฤทธิ์ และ
    ครั้งสุดท้ายทรงทำปาฏิหาริย์ห้ามน้ำ ซึ่งไหลบ่ามาจาก
    ทิศต่าง ๆ ท่วมสำนักของชฎิลมิให้เข้ามาในที่พระองค์
    ประทับอยู่ พระองค์เสด็จจงกรมภายในวงล้อมของน้ำที่
    ท่วมท้นเป็นกำแพงรอบด้าน ครั้งนั้นพวกชฎิลพายเรือมาดู
    เห็นดังนั้นก็เกิดความเลื่อมใส แล้วขออุปสมบท พุทธกิริยา
    เช่นนี้เป็นพุทธรูปปางห้ามสมุทร ฯ
    ในนครกบิลพัสดุ์ เป็นพระนครของเจ้าศากยะพระญาติ
    ฝ่ายพุทธบิดา กับนครเทวทหะ นครของเจ้าโกลิยะพระญาติ
    ฝ่ายพุทธมารดา ทั้งสองนครตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโรหินี ชาวนา
    ของเมืองทั้งสองอาศัยน้ำในแม่น้ำโรหินีนี้ทำนา สมัยหนึ่ง
    น้ำน้อยไม่พอทำนา จึงมีการแย่งน้ำทำนา ชั้นแรก
    ก็เป็นการวิวาทเฉพาะบุคคล แต่เมื่อระงับด้วยสันติวิธีไม่ได้
    การวิวาทก็ลุกลามมากขึ้น เกิดการด่าว่าถึงชาติโคตร และ
    ลามปามไปถึงราชวงศ์ในที่สุด อันเป็นเหตุให้กษัตริย์
    ทั้งสองพระนครกรีฑาทัพออกมาประชิดกันยังแม่น้ำโรหินี
    เมื่อพระศาสดาทรงทราบ ก็เสด็จไปห้ามสงครามแย้งน้ำ
    ระหว่างพระญาติทั้งสอง โดยแสดงให้เห็นโทษความพินาศ
    ของชีวิตมนุษย์ และเป็นการทำลายเกียรติของกษัตริย์ เพราะ
    เหตุเล็กน้อยคือน้ำ ครั้นพระญาติทั้งสองฝ่ายทำความเข้าใจ
    คืนดีกันแล้ว ก็เสด็จพระดำเนินกลับ พุทธกิริยาของพุทธรูป
    ปางนี้เรียกว่า ปางห้ามสมุทร บ้าง ปางห้ามญาติ บ้าง ซึ่งทั้ง
    สองปางนี้มีอันที่จริงก็เป็นปางเดียวกัน ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางชี้อัครสาวก[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์
    ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้น ชี้นิ้วพระหัตถ์
    ขวาตรงออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาประกาศอัครสาวกให้
    ปรากฎในประชุมสงฆ์ ฯ
    เมื่อมาณพ 2 คน คือ อุปติสสะ หรือ สารีบุตร กับโกลิตะ หรือ
    โมคัลลานะ ได้พากันออกจากตระกูลเพื่อแสวงหาโมกขธรรม
    วันหนึ่งสารีบุตรได้ไปพบพระอัสสชิ และได้ฟังธรรมโดยย่อว่า
    ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น
    และความดับแห่งธรรมนั้น ทำให้สารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม
    เมื่อโมคคัลลานะได้ฟังธรรมที่สารีบุตรแสดงให้ฟังก็ได้ดวงตา
    เห็นธรรมเช่นเดียวกัน ทั้งสองจึงพากันไปเฝ้าพระศาสดา
    และทูลขออุปสมบท หลังจากบวชได้ 7 วัน พระโมคคัลลานะ
    ก็บรรลุอรหันต์ ส่วนพระสารีบุตรก็บรรลุอรหันต์ หลังจากนั้น
    อีก 7 วัน เมื่อท่านทั้งสองได้บรรลุอรหันต์ พระศาสดาก็ยกย่อง
    ให้พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา ส่วนพระโมคคัลลานะ
    เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ฯ
    </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางประทานโอวาท[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ ยกพระหัตถ์
    ทั้งสองขึ้นจีบนิ้วพระหัตถ์เสมอพระอุระ คล้ายปางเสด็จลงมา
    จากดาวดึงส์เป็นกิริยาประทานโอวาท คือโอวาทปาฏิโมกข์ ฯ
    ในวันเพ็ญเดือน 3 มาฆมาส เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ประกอบด้วย
    องค์ 4 ซึ่งเรียกว่า จตุรงคสันนิบาต คือ พระสงฆ์ 1,250 องค์นั้น
    เป็นอรหันต์ทั้งหมด, พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ
    คือบวชในสำนักพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าเป็นอุปัชฌายะ,
    พระอรหันต์ทั้งหมดมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย, วันนั้น
    เป็นวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 3 เรียกว่า วันมาฆบูชา ฯ
    ครั้นพระศาสดาทรงเห็นการประชุมใหญ่ของหมู่สงฆ์ จึงทรง
    แสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่พระสงฆ์ทั้งหลายว่า
    "ความอดกลั้นคือความอดทน เป็นธรรมเผาผลาญบาปอย่างยิ่ง,
    นิพพานเป็นธรรมประเสริฐ, ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่จัดว่าเป็นบรรพชิต
    แม้เบียดเบียนผู้อื่น ก็ไม่นับว่าเป็นสมณะ"
    การไม่เข้าไปกล่าวร้าย, การไม่เข้าไปทำร้าย, การสำรวมใน
    พระปาฏิโมกข์, การบริโภคแต่พอควร, การนั่งนอนใน
    เสนาสนะอันสงัด, การประกอบความเพียรในอธิจิต นี้เป็น
    คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฯ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางประทับเรือ[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งประทับบนเรือพระแท่น
    ห้อยพระบาททั้งสองข้างวางอยู่บนดอกบัว พระหัตถ์ทั้งสองคว่ำ
    วางที่พระชานุทั้งสอง ฯ
    ในสมัยหนึ่งเมืองไพศาลีที่เคยมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ ต่อมาประสพภัย
    3 ประการ คือ ทุพภิกขภัย - เกิดข้าวยากหมายแพง ฝนแล้งข้าวตาย
    อมนุสสภัย - อมนุษย์ภูตผีปีศาจทั้งหลายเบียดเบียน อหิวาตกภัย
    เกิดจากอหิวาตกโรค มีคนเจ็บไข้และตายเป็นจำนวนมาก
    เมื่อพระศาสดาทรงสดับข่าวนั้น จึงได้รับคำอาราธนาของเจ้าลัจฉวี เพราะถ้าเสด็จไปก็จะสามารถระงับความเดือดร้อนของประชาราษฎ์
    ภัยทั้ง 3 ประการก็จะพินาศ ด้วยอานุภาพคุณพระรัตนตรัย
    ในรัตนสูตรพุทธอาณา ดังนั้นพร้อมด้วยภิกษุ 500 รูป เสด็จไปสู่
    เมืองไพศาลีโดยทางเรือที่พระเจ้าพิมพิสารจัดถวาย ซึ่งเป็นการเสด็จ
    จากพระนครหนึ่งไปยังพระนครหนึ่ง โดยพระมหากษัตริย์
    ทรงจัดรับจัดส่งทั้งสองพระนคร ฯ</CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER>
     
  6. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    <CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางห้ามพยาธิ[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อย
    ลงข้างพระกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ แบฝ่า
    พระหัตถ์ตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม ฯ
    เมื่อพระพุทธเจ้าด้วยเหล่าสาวกเสด็จไปถึงเมืองไพศาลี
    ฝนก็ตกห่าใหญ่ และไหลเข้าท่วมพระนคร พัดซากศพและสัตว์
    ซึ่งปฏิกูลบนแผ่นดิน ให้ไหลไปสู่ทะเล และเย็นวันนั้น
    พระบรมศาสดา ทรงรับสั่งให้พระอานนท์เรียนรัตนสูตร
    แล้วจาริกไปในกำแพงเมืองไพศาลี เจริญมนต์รัตนสูตรนี้
    เพื่อความสิริมงคลแก่ประชาชน เมื่อพระอานนท์เถระได้
    พรมน้ำพุทธมนต์ที่ท่านตั้งจิตประกอบด้วยเมตตาระลึกถึง
    พุทธคุณคือบารมี 10 และเจริญมนต์รัตนสูตรนี้ ประชาราษฎ์
    ก็หายจากโรคภัย มีกำลังสดชื่น ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นป้อง
    พระอุระ พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระกาย พักพระชานุเบื้องขวา ฯ
    ครั้งที่พระบรมศาสดาได้เสด็จกลับพระนครกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะ
    พร้อมด้วยพระประยูรญาติจำนวนมาก ก็พากันมาต้อนรับ แต่บรรดาพระประยูรญาติทั้งหลายที่มีอายุมากกว่ามีมานะทิฏฐิ
    ไม่ถวายบังคมพระศาสดา พระองค์ทรงพระประสงค์จะทำลายทิฏฐิมานะ
    จึงแสดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นลอยอยู่ในอากาศ ให้ปรากฎประหนึ่งว่า
    ละอองธุลีพระบาทได้หล่นลงตรงเศียรเกล้าแห่งพระประยูรญาติทั้งหลาย
    ครานั้นพระเจ้าสุทโธทนะ และพระประยูรญาติทั้งหลายได้เห็นปาฏิหาริย์
    จึงพากันประนมหัตถ์ถวายนมัสการ ต่อนั้น พระบรมศาสดาก็เสด็จลง
    จากอากาศ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ขณะนั้นฝนโบกขรพรรษ มีสีแดง
    ก็ตกลงมาท่ามกลางพระประยูรญาติ ผู้ใดปรารถนาให้เปียกก็เปียก ถ้า
    ไม่ปรารถนาก็มิได้เปียก เหมือนหยาดน้ำตกลงบนใบบัว แล้วกลิ้ง
    ตกลงไปมิได้ติดอยู่ให้เปียก ฯ
    </CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางอุ้มบาตร[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ส้นพระบาททั้งสองชิดกัน
    พระหัตถ์ทั้งสองยกประคองบาตรราวสะเอว ฯ
    เมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว พระพุทธบิดาและพระประยูรญาติ
    ก็ทูลลากลับ มิได้มีพระญาติสักองค์หนึ่งจะกราบทูลถวายพระยาหาร
    ในยามเช้าพรุ่งนี้ แม้แต่พระเจ้าสุทโธทนะก็มิได้อาราธนาด้วยทรง
    แน่พระทัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระโอรส ก็ต้องเสด็จมาเสวย
    พระกระยาหารที่พระราชนิเวศน์เป็นแน่แท้ เมื่อไม่ผู้ใดอาราธนา
    พระบรมศาสดาไปเสวย ณ ที่ใด ครั้นรุ่งเช้าจึงทรงบาตรพาภิกษุสงฆ์
    เสด็จไปตามท้องถนนหลวง เพื่อรับอาหารบิณฑบาต ฯ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางโปรดพุทธบิดา[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่า
    ประคองบาตร พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้ว อันเป็นกิริยาแสดงธรรม ฯ
    เมื่อข่าวพระบรมศาสดาออกบิณฑบาต ทราบถึงพระเจ้าสุทโธทนะ
    ด้วยความเสียพระทัยจึงรีบไปพบพระบรมศาสดา แล้วรับส่งว่า เป็น
    เรื่องน่าละอายเสื่อมเสียพระอิสสริยยศ กับการถือภาชนะขออาหาร
    เพื่อเลี้ยงชีพ เหมือนยาจกหรือจัณฑาล กษัตริย์จะไม่ประพฤติเช่นนี้
    แต่พระองค์ตรัสตอบพระบิดาว่า นี้เป็นประเพณีของตถาคต นับแต่วัน
    ที่พระองค์ออกผนวช ก็ขาดจากความเป็นกษัตริย์แล้ว และนับแต่นั้นมา
    พระองค์ก็ทรงตั้งอยู่ในประเพณีของสมณะ แล้วจึงแสดงธรรมโปรด
    พระบิดา ปลดเปลื้องทิฏฐิมานะในพระทัยให้เบาบาง และให้เห็น
    คุณค่าของสมณะ ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางรับผลมะม่วง[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวาง
    บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทรงถือผลมะม่วง และวางหลังพระหัตถ์
    ไว้บนพระเพลา หงายพระหัตถ์ให้เห็นผลมะม่วงที่ทรงถืออยู่ ฯ
    เมื่อพระพุทธเจ้ารับคำว่าจะทำปาฏิหาริย์กับพวกเดียรถีย์ ที่ร่มไม้มะม่วง
    พวกเดียรถีย์จึงจ้างให้คนทำลายต้นมะม่วงในสาธารณะทั้งในเมืองและ
    นอกเมืองให้หมด เพื่อมิให้โอกาสแก่พระศาสดา ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ
    กลางเดือน 8 พระองค์พร้อมด้วยพระสาวกก็เสด็จไปเข้าไปในพระนคร
    สาวัตถี เพื่อบิณฑบาต ก็ได้พบกับบุรุษผู้รักษาสวนหลวงชื่อ คัณฑะ ได้
    น้อมผลมะม่วงถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นพระองค์ทรงรับแล้ว
    ก็ประทับ ณ ที่อันสมควร และทรงหยิบผลมะม่วงส่งให้พระอานนท์
    คั้นน้ำมะม่วงถวาย เมื่อทรงเสวยเสร็จก็ส่งเมล็ดมะม่วงให้นายคัณฑะ
    คุ้ยดินปลูกตรงนั้น แล้วก็ทรงล้างพระหัตถ์บนหลุมที่ปลูกมะม่วง ใน
    ทันใดนั้นก็เกิดความอัศจรรย์ เมล็ดมะม่วงก็เกิดงอกออกต้นขึ้นทันที
    มีกิ่งใหญ่ 5 กิ่ง แต่ละกิ่งยาวถึง 50 ศอก ล้วนตกดอกออกผล มีทั้งผลดิบ
    และสุก ดกเต็มต้น ล่วงหล่นเกลื่อนพื้นพสุธา ฯ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งบนบัลลังก์ ห้อยพระบาท
    ทั้งสองแบบนั่งเก้าอี้ ที่พระบาทมีดอกบัวรองรับ พระหัตถ์ซ้ายวางบน
    พระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ จีบนิ้วพระหัตถ์
    เป็นกิริยาแสดงธรรม ฯ
    พระพุทธเจ้าทรงอาศัยต้นมะม่วงคัณฑาพฤกษ์แสดงปาฏิหาริย์มีประการ
    ต่าง ๆ (รายละเอียดต้องหาอ่านได้จากหนังสือ ปฐมสมโพธิ) ฯ</CENTER></CENTER></CENTER></CENTER>
     
  7. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    <TABLE cols=1 width="20%" align=center bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <CENTER>[size=+1]ปางโปรดพุทธมารดา[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวาง
    บนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ นิ้วจีบพระหัตถ์
    เป็นกิริยาแสดงธรรมโปรด ฯ
    หลังจากแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้วก็เสด็จไปจำพรรษาในดาวดึงส์
    แสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือน ในที่สุด
    พระพุทธมารดาก็สำเร็จพระอรหันต์ ฯ
    </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางห้ามแก่นจันทน์[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ห้อยพระหัตถ์ขวา ตั้งฝ่า
    พระหัตถ์ซ้ายออกไปข้างหน้า เสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม ฯ
    เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จไปจำพรรษายังดาวดึงส์เป็นเวลา 3 เดือน
    ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระองค์จึงให้ช่างแกะรูปพระพุทธเจ้าปางประทับนั่ง เท่าองค์จริง
    ด้วยไม้แก่นจันทน์ แล้วอัญเชิญประดิษฐานยังพระราชมณเฑียร
    ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับมาก่อน ภายหลังเมื่อพระบรม
    โลกเชฏฐ์เสด็จกลับจากสรวงสวรรค์แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศล
    ก็ทูลอาราธนาให้พระองค์เสด็จไปทอดพระเนตรพระไม้แก่นจันทน์
    ครั้นพระศาสดาเสด็จไปถึง พระไม้แก่นจันทน์ทำเสมือนหนึ่งว่า
    มีจิตรู้จักปฏิสันถารที่ควรจะลุกขึ้นถวายความเคารพพระศาสดา
    ได้ขยับเลื่อนพระองค์ลงมาจากพระแท่นที่ ครั้งนั้นพระชินสีห์
    จึงได้ยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นห้าม พระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นดังนั้น
    ก็ยิ่งเกิดความเลื่อมใสอัศจรรย์ใจในพระบารมี ฯ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางเปิดโลก[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ห้อยพระหัตถ์ขวา-ซ้าย
    ปกติ เหมือนปางประทับยืน แต่แบฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองหันออกไป
    ข้างหน้าเป็นกิริยาเปิด ฯ
    เมื่อพระบรมศาสดาจำพรรษาบนดาวดึงส์ครบไตรมาสแล้ว ก็ได้แจ้ง
    ให้ท้าวสักกะได้ทราบว่าจะเสด็จไปสู่มนุษยโลก ท้าวสักกะจึงนิรมิต
    บันไดทิพย์ 3 บันได คือ บันไดแก้วอยู่กลางสำหรับพระพุทธเจ้า
    บันไดทองอยู่ข้างขวาสำหรับเทวดาทั้งหลาย บันไดเงินสำหรับ
    พรหมทั้งหลาย เมื่อได้เวลาเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จมา
    ประทับยืนที่บันไดแก้ว ในท่ามกลางเทพและพรหมที่ตามส่ง
    เสด็จ จึงได้ทรงทำ "โลกวิวรณปาฏิหาริย์" เปิดโลก ทุกทิศทุกทาง
    ที่พระองค์ทอดพระเนตรไปก็จะแลโล่งถึงกันหมด ไม่มีอันใด
    กีดกัน ไม่ว่าเทวดา มนุษย์ และสัตว์นรกต่างก็มองเห็นกัน พระองค์
    ทรงทำปาฏิหาริย์เปิดโลก พร้อมกับเปล่งฉัพพัณรังษี เป็นที่น่า
    อัศจรรย์ยิ่ง ฯ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางลีลา[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้น
    จากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้น อยู่ในท่าจะก้าวเพื่อทรงพระ
    ดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอ
    พระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ฯ
    ในคราที่พระบรมศาสดาพระพุทธดำเนินลงจากดาวดึงส์เทวโลก
    ในท่ามกลางเทวดาและพรหมห้อมล้อม ครั้งนั้นพระธรรมเสนาบดี
    สารีบุตรก็กล่าวชื่นชมในพระอิริยาบถย่างก้าวของพระพุทธเจ้า
    ว่า ช่างงดงาม ทำให้ผู้ได้พบเห็นเกิดความเลื่อมใส ฯ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างขึ้น
    เสมอพระอุระ แบบพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ต่างกันแต่จีบนิ้ว
    พระหัตถ์ทั้งสองเป็นกิริยาแสดงธรรม ฯ
    เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาถึงมนุษยโลก ด้วยทรงมีพระกรุณาต่อ
    มหาชนที่คอยรับเสด็จและกำลังโสมนัสที่ได้เห็นระกายอันงดงาม
    ของ พระองค์ที่ทรงประทับอยู่ท่ามกลางหมู่เทพทั้งหลาย จึงทรง
    แสดงธรรมโปรดแก่เหล่าพุทธบริษัทให้ได้หยั่งรู้ธรรม ตามสมควร
    แก่อุปนิสัยที่ได้สั่งสมมา ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางสมาธิเพ็ชร[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิไขว้พระชงฆ์
    ยกฝ่าพระบาททั้งสองหงายขึ้นมาวางบนพระเพลา พระหัตถ์ทั้งสอง
    ก็ยกขึ้นมาวางซ้อนกัน ทับฝ่าพระบาทอีกทีหนึ่ง นิยมเรียกว่า
    พระขัดสมาธิเพ็ชร ฯ
    ตำนานปางนี้ไม่ปรากฎชัด ทราบแต่เพียงว่าเป็นปางประทับพักใน
    เวลากลางวัน ความจริงการนั่งท่านี้ไม่ใช่นั่งสบาย แต่น่าจะมีอะไร
    สักอย่างที่ทรงตั้งพระทัยทำการนั่งขัดสมาธิเพ็ชร จึงขอฝากผู้
    สนใจในพระปางนี้ไว้พึงค้นคว้าสืบไปฯ</CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER>

     
  8. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    <CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางประทับยืน[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืนตามปกติ ห้อยพระหัตถ์
    ทั้งสองลงชิดพระกายอย่างสบาย ๆ แสดงว่า ยังไม่มีเหตุการณ์อะไร
    อันจะทำให้ไหวพระกายคือประทับยืนเฉย ๆ น่าจะเรียกตามเหตุว่า
    ปางเมตตาการุญ ฯ
    เมื่อพระบรมศาสดาจะเสด็จไป ณ ที่ใดพร้อมด้วยหมู่พระสงฆ์ พระองค์
    ก็จะเสด็จออกจากพระคัณฑกุฎีแล้วมาประทับยืนในท่านี้ ณ หน้า
    พระคัณฑกุฎีเป็นปกติ เพื่อทอดพระเนตรความพร้อมเพรียงของ
    พระสงฆ์สาวก เมื่อพร้อมเพรียงกันดีแล้วก็เสด็จเป็นประธานนำ
    พระสงฆ์ไป นี่เป็นพุทธจริยาวัตรที่ทรงแสดงซึ่งน้ำพระทัยให้
    ปรากฎว่าทรงมากด้วยพระเมตตา และกรุณาในพระสงฆ์สาวก ทั้ง
    เป็นเนติอย่างดีสำหรับพระสงฆ์ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะจะพึง
    ปฏิบัติตาม อันจะเป็นความงามในพระธรรมวินัยนี้ ฯ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางประดิษฐานรอยพระบาท[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระบาทซ้ายเหยียบ
    หลังพระบาทขวา เป็นกิริยากดพระบาท พระหัตถ์ทั้งสองประสาน
    ที่พระเพลา เป็นอาการสังวร ตั้งพระทัยประดิษฐานให้รอยพระบาท
    ปรากฎชัดมีลายลักษณ์พระบาทครบบริบูรณ์ ฯ
    ที่แคว้นกุรุ มีพราหมณ์ชื่อมาคันทยะ เป็นผู้มั่งคั่งด้วยสมบัติ มีภรรยา
    ผู้มีความรู้ในเรื่องทำนายทายลักษณะ และมีธิดาสาวสวย จึงทำให้เป็น
    ที่หมายปองของชายหนุ่มทั้งหลาย แต่คันทิยะพราหมณ์ก็ไม่ยอมยกธิดา
    ให้ใคร เพราะนางเป็นคนสวยมาก อีกทั้งตนเองก็มีสมบัติมาก
    วันหนึ่งพระบรมศาสดาทรงตรวจดูอุปนิสัยของผู้ที่สมควรจะเสด็จไป
    โปรด ก็เห็นมาคันทิยะพราหมณ์และภริยาอยู่ในข่ายแห่งพระญาณ
    จึงเสด็จไปประทับยืนที่หน้าบ้านของพรามณ์ เมื่อออกมาเห็นพระองค์
    ก็คิดว่า "ผู้นี้แหละเหมาะกับลูกสาวของเรา จึงบอกว่า ท่านเหมาะสม
    กับธิดาของเรา ท่านจงคอยก่อน เราจะนำธิดาของเรามาให้ท่านดู"
    พราหมณ์จึงรีบไปบอกภริยาให้พาธิดาออกไปพบพระองค์ เมื่อทั้ง 3
    ออกมาก็ไม่พบพระพุทธเจ้า พบแต่รอยพระบาท ฝ่ายภริยาเมื่อได้เห็น
    รอยพระบาทจึงกล่าวว่า "รอยเท้าของชายผู้นี้มีคุณสมบัติเลิศในโลก
    เป็นที่บูชาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คนที่มากด้วยราคะพื้นเท้า
    จะเว้าลึกเข้าไป คนมากด้วยโทสะจะหนักส้นเท้า คนมากด้วยโมหะ
    จะหนักปลายเท้า ส่วนรอยเท้าของท่านผู้นี้มีพื้นเสมอ ไม่ราคะ
    โทสะ และโมหะ ดังนั้นชายผู้นี้ดีเกินว่าจะมาเป็นสามีธิดาของเรา"
    ภายหลังเมื่อทั้ง 3 ได้พบกับพระบรมศาสดาและได้ฟังธรรมก็ได้
    ดวงตาเห็นธรรม ฝ่ายคันทิยะพราหมณ์ได้มอบธิดาให้น้องชายดูแล
    พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติ แล้วชวนภริยาออกบวช ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางสรงน้ำฝน[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ทรงห่มผ้าวัสสิกสาฎก
    เฉวียงพระอังสา พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระกาย ยกพระหัตถ์ขวา
    ขึ้นลูบพระอุระ เป็นกิริยาสรงน้ำ ฯ
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระประทับ ณ พระเชตวันวิหาร
    ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เมืองสาวัตถีเกิดฝนแล้ง ชาวบ้านต่างก็
    ลำบากด้วยน้ำเป็นอันมาก ชาวเมืองจึงคิดว่า พระพุทธเจ้าผู้มากด้วย
    พระมหากรุณา จะทรงโปรดให้เราพ้นจากความเดือดร้อนนี้เป็นแน่
    จึงพากันไปเฝ้าและกราบทูลให้เสด็จออกไปสรงน้ำฝนในที่แจ้ง ครั้น
    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำอาราธนาแล้ว ทรงผลัดผ้าวัสสิกสาฎก
    เสด็จออกไปประทับในที่แจ้ง เพื่อทรงน้ำฝนตามคำอาราธนา ทรงทอด
    พระเนตรแลดูในทิศทั้งหลาย ด้วยพุทธานุภาพในทันใดนั้น มหาเมฆ
    ก็ตั้งขึ้น ให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก ฯ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางขอฝน[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่ง ทรงผ้าอุทกสาฎก
    พระหัตถ์ขวายกขึ้นเป็นกิริยากวัก แสดงอาการขอฝน พระหัตถ์ซ้าย
    หงายบนพระเพลา เป็นอาการรองรับน้ำฝน ฯ
    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหารในเมือง
    สาวัตถี ในปีนั้นฝนแล้งมาก หาน้ำใช้ยาก วันหนึ่งพระศาสดาเสด็จกลับ
    จากโปรดสัตว์ในเวลาเช้า หลังจากทรงทำภัตตกิจแล้ง ได้ทรงเห็นความ
    ลำบากของมหาชน จึงรับสั่งขอผ้าชุบสรงจากพระอานนท์เถระ
    พระอานนท์ทูลว่า น้ำในสระหน้าวัดแห้งหมดพระเจ้าขา จึงตรัส
    ตอบว่า เราจะสรงน้ำฝน พระองค์ทรงผ้าชุบสรง ชายข้างหนึ่งทรง
    ปิดพระกาย ชายอีกข้างหนึ่งตวัดขึ้นพาดพระอังสะลงมา แล้วเสด็จไป
    ประทับยืนที่ของสระ ยกพระหัตถ์ขวาเรียกฝน ยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้น
    รองน้ำ ในทันใดนั้น ด้วยพุทธานุภาพ ฝนก็ตกลงมาดั่งพระวาจาที่รับสั่ง ทำให้ปวงประชาและหมู่สัตว์ได้รับความสุขจากน้ำฝนกันทั่วหน้า ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางชี้อสุภะ[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้องลง
    ข้างพระกายตามปกติ ยกพระหัตถ์ขวาขึ้นชี้นิ้วพระหัตถ์ไปข้าง
    หน้าเสมอพระนาภี เป็นพุทธกิริยาชี้อสุภะ ฯ
    ที่พระนครราชคฤห์ นางสิริมา หญิงงามเมือง (โสเภณี) ผู้มีรูปร่าง
    งดงามเป็นที่ต้องการของบุรุษทั่วไป ผู้ที่ประสงค์จะนอนกับนาง
    จะต้องจ่าย 1,000 กหาปนะ ต่อหนึ่งคืน ประมาณ 4,000 บาท
    วันหนึ่งนางสิริมาได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า และได้
    เข้าถึงธรรม จึงเลิกเป็นโสเภณี และได้นิมนต์พระมารับอาหาร
    บิณฑบาตที่เรือนวันละ 8 รูป ต่อมานางได้ถึงแก่กรรมด้วยโรค
    ปัจจุบัน เมื่อนางตายไปแล้ว ก็ไม่มีปรารถนาอยากได้แม้ไม่
    ต้องจ่ายสักกหาปนะเดียว พระบรมศาสดาจึงชี้ไปที่ศพของ
    นางสิริมา และตรัสกับหมู่ภิกษุว่า ท่านทั้งหลายจงได้
    พิจารณาร่างกายที่ตกแต่งให้งดงามด้วยอาภรณ์พรรณต่าง ๆ
    มีทวารทั้ง 9 เป็นทางให้ปฏิกูลทั้งหลายไหลเข้าออกอยู่เป็น
    ประจำ ปรุงแต่งด้วยกระดูกหลายร้อยท่อน อาดูรด้วยความ
    ไม่สบายเหมือนเป็นไข้ อันจะต้องแก้ไขด้วยการผลัดเปลี่ยน
    อิริยาบถอยู่เสมอ ไม่มีความยั่งยืน ในที่สุดก็ต้องแปรสภาพ
    ทุกคนก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน ฯ
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางชี้มาร[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลง
    ข้างพระกายตามปกติ พระหัตถ์ขวายกขึ้นชี้นิ้วพระหัตถ์ขึ้นข้างบน
    เสมอพระเนตร เป็นอาการชี้มาร ฯ
    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหารใกล้
    พระนครราชคฤห์ ประจวบกับเวลานั้น พระโคธิกเถระได้บรรลุ
    พระอรหันต์และเข้าปรินิพพาน พระองค์พร้อมกับหมู่ภิกษุจึง
    เสด็จไปที่กุฎีของท่าน ขณะเดียวกันนั้น มารผู้มีใจลามกได้เสาะ
    แสวงหาวิญญาณของพระโคธิกะ พระองค์จึงชี้ไปที่มาร แล้ว
    ตรัสว่า มาร ! เจ้าต้องการอะไรกับสถานที่เกิดของพระโคธิกะ
    ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ไม่อาลัยในชีวิต ได้ถอนตัณหาโดยสิ้นเชิง
    ไม่มายังภพนี้อีก และปรินิพพานแล้ว ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางปฐมบัญญัติ[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ ยกฝ่าพระหัตถ์
    ทั้งสองตะแคงยื่นตรงออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาบัญญัติพระวินัย
    เพื่อรักษาพระศาสนาให้ดำรงอยู่ ฯ
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลาป่ามหาวัน
    นครเวสาลี มีเศรษฐีบุตรคนหนึ่งชื่อ สุทิน ได้ฟังพระธรรมเทศนา
    ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเลื่อมใส จึงบวชเป็นภิกษุในพระศาสนา
    วันหนึ่ง พระสุทินเข้าไปบิณฑบาตในระแวกบ้าน เศรษฐีผู้เป็นบิดา
    พบเข้า จึงนิมนต์ให้เข้าไปฉันในเรือน และได้เอาทรัพย์สมบัติ
    ตลอดถึงภรรยาเก่าของพระสุทินมาเล้าโลมให้พระสุทินสึก พร้อม
    กับรำพันถึงตระกูลมีบุตรคนเดียวไม่มีทายาทรับมรดก พระสุทิน
    ก็ตอบว่ายังยินดีในพรหมจรรย์อยู่ บิดามารดาจึงหมดหวัง จึงขอ
    ร้องเป็นครั้งสุดท้ายว่า ถ้าเช่นนั้นก็ขอพืชพันธุ์ไว้เป็นทายาท
    เพราะครอบครัวที่ไม่มีบุตรสืบตระกูล จะต้องถูกยึดมรดก
    พระสุทินจึงรับปากและได้ร่วมหลับนอนกับภรรยาเก่า จึงเกิด
    บุตรชายคนหนึ่งชื่อว่า พีชกะ ต่อมาพระพุทธเจ้าทราบเรื่องทรง
    ตำหนิพระสุทินเพราะเหตุนี้เป็นอันมาก แล้วทรงบัญญัติ
    ปฐมสิกขาบท ฯ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางขับพระวักกลิ[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย
    วางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ เอาฝ่าพระหัตถ์
    เข้าใน หันหลังพระหัตถ์ออกข้างนอก เป็นกิริยาโบกหลัง
    พระหัตถ์ออก แสดงอาการขับไล่ออก ฯ
    พระวักกลิ ออกบวชเพราะอยากอยู่ใกล้พระพุทธเจ้า เพื่อคอยเฝ้า
    ชมพระวรกาย ซึ่งงามพร้อมด้วยพระลักษณะอันหาที่ตำหนิไม่ได้
    และได้ติดตามพระพุทธเจ้าไปทุกทิศทุกทาง ไม่สนใจในการศึกษา
    พระบรมศาสดา ทรงทราบพฤติกรรมดังกล่าวจึงตรัสว่า วักกลิ เธอ
    ต้องการอะไรด้วยร่างกายอันเน่าเปื่อย ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นจึงจะนับ
    ว่าเห็นเรา ผู้ที่มองเห็นพระตถาคตในธรรมเท่านั้น จึงจะนับว่าได้
    เห็นพระพุทธเจ้าโดยแท้จริง แต่ถึงกระนั้น พระวักกลิก็ยังไม่สำนึก
    ครั้นจวนใกล้เข้าพรรษา จึงเสด็จไปพระนครราชคฤห์ พระวักกลิ
    ก็ตามเสด็จไปด้วย พอถึงวันเข้าพรรษา พระศาสดาก็ประณาม
    พระวักกลิด้วยพระวาจาว่า จงออกไป วักกลิ พระวักกลิ
    เมื่อถูกประณามจึงเสียใจมาก คิดว่าตนเป็นคนอาภัพในพระศาสนา
    อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ตายดีกว่า จึงคิดจะไปโดดเหวตาย พระศาสดา
    ทรงทราบความเป็นไปทุกประการ จึงเปล่งรัศมี ให้รูปของพระองค์
    ปรากฎต่อหน้าของวักกลิประดุจว่า ยืนอยู่เฉพาะหน้า และได้เทศน์
    โปรดพระวักกลิจนบรรลุพระอรหันต์ ฯ
    </CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER>
     
  9. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    <CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางสนเข็ม[/size]

    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสอง
    ยกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ซ้ายทำกิริยาจับเข็มพระหัตถ์ซ้ายทำ
    กิริยาจับเส้นด้าย อยู่ในพระอาการสนเข็ม ฯ
    ในครั้งพุทธกาล เมื่อถึงคราวทำผ้ากฐินภิกษุจะต้องช่วยกันเย็บจีวรเอง
    และต้องให้เสร็จทันเวลา แม้พระบรมศาสดาก็มิได้ทรงดูดาย จะเสด็จ
    ไปเป็นประธานในงาน ทรงรับภาระช่วยสนเข็มในขณะพระเย็บผ้า


    จีวรอยู่ รูปใดด้ายหมดก็ส่งเข็มถวาย พระองค์ก็ทรงสนเข็มประทาน ฯ </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางประทานพร[/size]

    พระพุทธรูปปางนี้มี 2 แบบ คือ แบบหนึ่งอยู่ในพระอิริยาบถนั่ง
    ขัดสมาธิและพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาแบฝ่า
    พระหัตถ์ ยื่นออกไปวางที่พระชานุ ฯ
    อีกแบบหนึ่งอยู่ในพระอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นเสมอ
    พระอุระ หงายฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างนอกบ้าง ยกขึ้นเสมอ
    พระอังสะถือชายจีวรบ้าง พระหัตถ์ขวาห้อย หันฝ่าพระหัตถ์
    ออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาประทาน แต่แบบนั่งจะนิยมสร้าง ฯ
    เรื่องพระพุทธเจ้าทรงประทานพร อันควรยกมากล่าวก็มีด้วยกัน
    3 เรื่อง คือ:-
    1. ประทานพรแก่หมอชีวกโกมารภัจจ์
    2. ประทานพรแก่นางวิสาขามหาอุบาสิกา
    3. ประทานพรแก่พระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก
    ในที่นี้จะขอนำพร 8 ประการ ที่นางวิสาขามหาอุบาสิกา ทูลขอกับ
    พระพุทธเจ้า ได้แก่:-
    1. ขอถวายผ้าอาบน้ำฝน
    2. ขอถวายอาหารแด่ภิกษุที่จรมาจากทิศทั้งสี่
    3. ขอถวายอาหารแด่ภิกษุที่เตรียมจะเดินทาง
    4. ขอถวายอาหารแด่ภิกษุอาพาธ
    5. ขอถวายอาหารแด่ภิกษุที่พยาบาลภิกษุอาพาธ
    6. ขอถวายยาแด่ภิกษุอาพาธ
    7. ขอถวายข้าวยาคูประจำ
    8. ขอถวายผ้าอาบน้ำฝนตลอดชีวิต ฯ


    </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางประทานอภัย[/size]

    พระพุทธรูปปางนี้ มี 2 แบบ คือแบบหนึ่งอยู่ในพระอิริยาบถยืน
    ยกพระหัตถ์ทั้งสองเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า
    (แบบห้ามญาติ) ฯ
    อีกแบบหนึ่งอยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ ยกพระหัตถ์ทั้งสอง
    ป้องเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์เข้าหากัน เบนออกไปข้างหน้า
    เล็กน้อย แต่แบบจะนิยมสร้าง ฯ
    พระเจ้าอชาติศัตรู พระโอรสพระเจ้าพิมพิสาร ชอบทำอะไรตามพระทัย
    จนเคยชิน ต่อมาได้รู้จักพระเทวทัตผู้มีใจลามก และได้ปลงพระชนม์
    พระบิดาเพื่อจะได้เป็นพระราชาปกครองราชอาณาจักร ตามคำแนะนำ
    ของพระเทวัต ส่วนพระเทวทัตก็พยายามปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า
    ด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ไม่สำเร็จ เป็นต้นว่ากลิ้งก้อนหินใหญ่ลงมาหมาย
    ให้ทับพระองค์ แต่พลาด เพียงแต่สะกิดหินแตกกระเด็นไปต้อง
    พระบาททำให้พระโลหิตห้อ แม้แค่นั้นก็จัดเป็นอนันตริยกรรม
    ถึงกระนั้นพระเทวทัตก็ยังไม่สำนึกผิด ฝ่ายพระเจ้าอชาติศัตรูต่อมา
    สำนึกผิด จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนาและได้
    เข้าถึงพระรัตนตรัย ภายหลังก็ทูลขอประทานอภัยโทษต่อบาป
    ที่ทรงทำ พระศาสดาจงทรงประทานอภัยโทษว่า การที่บุคคล
    เห็นความผิดโดยความผิดจริง แล้วสารภาพตามความเป็นจริง นั้น


    เป็นความชอบในธรรมวินัยของพระอริยะ ฯ</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางทรงเครื่อง[/size]

    [size=+1](ปางโปรดพญาชมพูบดี)[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ ของเดิมอยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิตามปกติ
    พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาคว่ำวางบน
    พระชานุ แบบปางมารวิชัย ต่างแต่ทรงเครื่องต้นอย่างพระมหา
    กษัตริย์ไทย ฯ
    ในปฐมโพธิกาล พระเจ้าชมพูบดี ครองนครปัญจาละ เป็นผู้มี
    บุญญาธิการมาก มีอำนาจวิเศษเหนือกษัตริย์น้อยใหญ่ 3 อย่าง
    คือ ศรวิเศษ ฉลองพระบาทแก้ววิเศษ และจักรแก้ววิเศษ จึงออก
    ล่าเมืองต่าง ๆ มาเป็นเมืองขึ้น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็นอุปนิสัย
    ของพระเจ้าชมพูบดีว่าควรจะบรรลุพระอริยผล พระองค์จึงทรง
    นิรมิตรูปพระโฉมงามดุจท้าวมหาพรหม ประกอบด้วยพระรัศมี
    หกประการ ประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ ท่ามกลางมุขอำมาตย์
    เสนาบดี พร้อมด้วยพหลโยธีเฝ้าอยู่ในหน้าที่ มือถือศัตราวุธอยู่
    พร้อมสรรพ และได้ทรมานพระเจ้าชมพูบดีให้ยอมแพ้ ในที่สุด


    ก็คลายทิฏฐิมานะเกิดความเลื่อมใส อุปสมบทในพระศาสนา ฯ</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางป่าเลไลยก์[/size]

    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งบนก้อนศิลาห้อยพระบาท
    ทั้งสอง ทอดพระบาทน้อย ๆ พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุ
    พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุ เป็นกิริยาทรงรับ ที่นิยมเรียกว่า
    พระปางป่าเลไลยก์ เพราะว่ามีช้างป่าเลไลยก์และลิงร่วมอยู่ด้วย ฯ
    ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่โฆสิตาราม ในเมือง
    โกสัมพี ทรงปรารภภิกษุมากรูปด้วยกัน เป็นผู้ว่ายาก วิวาทกัน
    ไม่อยู่ในพระโอวาท และทรงแสดงผลดีของการเคารพเชื่อฟังใน
    พระโอวาท ทรงประทานโสภณธรรม คือธรรมที่ทำให้งาม 2 อย่าง
    คือ ขันติ ความอดกลั้น และ โสรัจจะ ความเสงี่ยมเจียมตัว การอยู่
    ด้วยกัน ควรจะได้เพื่อนที่มีความรู้ รักษาตัวได้ มีปัญญารักจะอยู่
    ร่วมกับคนดี เป็นเพื่อนร่วมทางเขาก็ควรยินดี ถ้าหากไม่ได้เพื่อน
    เช่นนั้น การอยู่และเที่ยวไปคนเดียวประเสริฐกว่า แม้จะทรงกรุณา
    ตักเตือนสั่งสอนถึงขนาดนี้ แต่ว่าสงฆ์ทั้งสองฝ่ายก็ยังไมสามัคคีกัน
    พระองค์จึงหลีกไปประทับอยู่ในป่าตามลำพัง โดยมีช้างชื่อเลไลยก์


    และพญาลิงคอยอุปัฏฐาก ฯ </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางโปรดอสุรินทราหู[/size]

    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา พระบาท
    ซ้ายทับพระบาทขวาเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบทอดไปตามพระ
    กาย พระกัจฉะ (รักแร้) ทับบนพระเขนย อุ้งพระหัตถ์ขวาประคอง
    พระเศียรให้ตั้งขึ้น ฯ
    สมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ในพระนคร
    สาวัตถี ครั้นนั้นอสุรินทราหูอุปราช ของท้าวเวปจิตติอสุรบดินทร์
    ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับพระเกียรติของพระองค์ก็ใคร่จะไปเฝ้า แต่
    คิดว่า พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ มีพระกายเล็ก ถ้าเราไปเฝ้าก็จะต้อง
    ก้มลงมอง เป็นความลำบาก ทั้งเราก็ไม่เคยก้มเศียรให้ใคร จึงระงับ
    ความคิดดังกล่าวเสีย แต่ในที่สุดก็คิดว่า ถึงอย่างไรเราก็ต้องไปเฝ้า
    ก่อนที่อสุรินทราหูจะเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดีแล้ว
    จึงให้พระอานนท์จัดที่รับรองหน้าบริเวณพระคันธกุฎี อันเป็นสถานที่
    กว้างใหญ่ และให้ลาดที่บรรทม ณ ที่นั้นด้วย เสร็จแล้วพระองค์ก็
    ทรงบรรทมในพระแท่นที่ประทับ ทรงทำปาฏิหาริย์นิมรมิตพระกาย
    ให้ใหญ่กว่าอสุรินทราหูหลายเท่า เมื่ออสุรินทราหูมาเฝ้าและเห็น
    ความอัศจรรย์ จึงลดมานะ ถวายบังคม ฯ


    </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางโปรดอาฬวกยักษ์[/size]

    [size=+1](ปางโปรดสัตว์)[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย
    หงายวางที่พระชานุ พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ จีบนิ้ว
    พระหัตถ์เป็นอาการแสดงธรรม ฯ
    พระเจ้าอาฬวี กษัตริย์แห่งอาฬวีนครทรงนิยมไพรถือการล่าสัตว์ป่า
    เป็นกิจวัตร วันหนึ่งกำลังไล่กวาง เกิดโชคร้ายพลัดหลงกับกอง
    ทหาร เข้าไปในเขตหวงห้ามของอาฬวกยักษ์ ซึ่งได้รับประทาน
    พรจากพระอิศวรให้จับคนและสัตว์ที่พลัดหลงเข้ามาในแดน
    ของตนกินได้ พระเจ้าอาฬวีจึงขอผ่อนว่า ถ้าปล่อยให้พระองค์
    กลับพระนคร ก็จะส่งคนมาให้เป็นอาหารวันละ 1 คน เมื่อกลับ
    ถึงพระนครพระองค์ก็ทำตามสัญญา ทีแรกก็ส่งนักโทษไป ต่อมา
    ก็เด็ก จนชาวเมืองพากันหนีไปอยู่เมืองอื่น ในที่สุดก็ต้องจับ
    พระโอรสของพระเจ้าอาฬวีส่งไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ


    ด้วยพระญาณ จึงเสด็จไปทรมารยักษ์ให้สิ้นความดุร้าย ฯ</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>ปางโปรดองคุลิมาลโจร

    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ห้อยพระหัตถ์ซ้าย
    และยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเสมอพระอุระ ตั้งนิ้วพระหัตถ์ตรง
    หันฝ่าพระหัตถ์ไปทางซ้ายและตั้งไว้ตรงพระอุระ ฯ
    ในปฐมโพธิกาลนั้น มีพราหมณ์มันตะคูผู้หนึ่ง รอบรู้จบไตรเพท
    มีความรู้ดีเป็นพิเศษในทางทำนายนักษัตร เป็นปุโรหิตาจารย์ของ
    พระเจ้ากรุงสาวัตถีปัสเสนทิโกศลมหาราช เมื่อภริยาคลอดบุตรชาย
    ในราตรีที่กลุ่มดาวโจรที่โคจร พราหมณ์ก็รู้ถึงอนาคตของบุตรชาย
    ว่าจะเป็นจอมโจร ใจอำมะหิต จึงตั้งชื่อว่าอหิงสกะกุมาร
    เพื่อจะแก้ดวงชะตาร้ายให้ลดหย่อนอ่อนลงมา เมื่อกุมารโตขึ้น
    บิดาส่งไปเรียนในสำนักของอาจารย์ทิสาปาโมกข์ เพราะความที่
    เป็นผู้เฉลียวฉลาด และอ่อนน้อมถ่อมตน จึงเรียนเก่งและเป็นที่รัก
    ของอาจารย์ ทำให้บรรดาศิษย์ริษยา ยุแยอาจารย์ด้วยวิธีการต่าง ๆ
    ทำให้อาจารย์หลงเชื่อจึงหาอุบายที่จะกำจัดเสีย จึงบอกให้อหิงสกะ
    ไปหานิ้วคนให้ครบหนึ่งพันนิ้ว แล้วจะประสาธน์พระเวทชื่อ
    วิษณุมนต์ อันจะทำให้ศัตรูทุกทิศสู้ไม่ได้ อหิงสกะกุมารจึงหลบ
    เข้าไปอยู่ป่าและฆ่าคนตัดนิ้วเอาเชือกมัด ประหนึ่งว่าพวงมาลัย
    คล้องคอจึงได้ชื่อว่า องคุลีมาล ข้างฝ่ามารดาขององคุลีมาล
    เมื่อทราบข่าวว่าพระเจ้ากรุงสาวัตถีจัดกำลังทหารไปปราบ
    จอมโจร ด้วยกลัวว่าบุตรจะเป็นอันตรายจึงรีบลอบเข้าไปในป่า
    เพื่อไปบอกลูกชาย ในวันนั้น พระบรมศาสดา ทรงประทับอยู่
    ในพระเชตวัน ทรงทราบนางพรามณีจะมีอันตราย องคุลีมาล
    ลูกชายไม่รู้จักก็จะประหาร เกิดเป็นอนันตริยกรรม จึงเสด็จ
    ไปในป่าล่วงหน้ามารดาองคุลีมาล เมื่อองคุลีมาลเห็นพระองค์
    ก็ดีใจด้วยว่าวันนี้จะได้นิ้วครบหนึ่งพันนิ้ว แล้วพลันวิ่งไล่
    พระพุทธเจ้าแต่ตามไม่ทัน จึงตะโกนบอกว่า สมณะ หยุดก่อน
    พระองค์ก็ตรัสตอบว่า เราหยุดแล้วแต่ท่านซิยังไม่หยุด -- เรา
    หยุดทำกรรมชั่วทุกอย่าง แต่เธอมีสันดานพาลมือถืออาวุธ

    หมายประหาร ยังไม่หยุดทำกรรมอันลามก องคุลีมาลพอได้
    ฟังพระดำรัสก็สำนึกได้ พระองค์จึงแสดงธรรมโปรดและ
    ประทานบรรพชาอุปสมบทให้ ฯ


    </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางโปรดช้างนาฬาคิรี[/size]

    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน ห้อยพระหัตถ์ซ้าย ยก
    พระหัตถ์ขวายื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระนาภี คว่ำพระหัตถ์
    เป็นกิริยาทรงลูบกระพองศีรษะช้างนาฬาคิรี ที่เข้ามาเฝ้าอยู่แทบ
    พระบาทด้วยพระเมตตา ฯ
    เมื่อพระเทวทัตไม่สามารถประหารพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง จึงเข้า
    ไปหาพระเจ้าอชาติศัตรูและขอพระราชทานช้างนาฬาคิรีที่กำลัง
    ตกมัน เพื่อจะปล่อยให้ไปเข่นฆ่าพระพิชิตมาร เมื่อได้รับช้างแล้ว
    จึงไปติดสินบนแก่นายควาญให้ช้างมอมเมาพญาช้างด้วยสุรา
    ครั้นถึงเวลาบิณฑบาตก็ให้ปล่อยช้างไปฆ่าพระพุทธเจ้า แต่ว่า
    ด้วยพุทธานุภาพ พญาช้างนาฬาคิรีที่กำลังตกมัน และคลุ้มคลั่ง
    ด้วยฤทธิ์สุรา ก็ยอมสยบอยู่แทบพระบาท พระองค์จึงยกพระหัตถ์


    ลูบกระพองศีรษะคชสารด้วยความเมตตา ฯ</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางโปรดพกาพรหม[/size]

    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืนทอดพระเนตรลงต่ำ
    พระหัตถ์ทั้งสองประสานที่พระเพลา พระหัตถ์ขวาทับพระ
    หัตถ์ซ้าย อยู่ในอาการสร้างสังวรจงกรมอยู่บนเศียรพกาพรหม ฯ
    เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่ป่าสุภวัน ทรงทราบความปริวตก
    ของท้าวพกาพรหมว่า พกาพรหมกำลังจะจมลงในห้วงแห่ง
    สัสสตทิฏฐิ โดยดำริผิดเห็นไปว่า สิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยงแท้
    ไม่แปรผัน จะเป็นอะไรก็เป็นอยู่อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง จะ
    แช่มชื่นสุขทุกข์อย่างใด ๆ ก็เป็นธรรมดาหาใช่บาปบุญ
    คุณโทษอะไร ๆ มานำพาก็หาไม่ อยู่ในสถานะใด ๆ ก็คงอยู่
    ในสถานะนั้น ๆ ตามภูมิตามชั้นของตน ขัดแย้งต่อศาสนา
    ของพระทศพลที่ตรัสสอนว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
    กรรมดีและกรรมชั่ว ย่อมให้ผลสุขและทุกข์ตามสนองตาม
    โอกาสไม่มีผู้ใดจะขัดขืนอำนาจของกรรมได้ หากไม่มี
    ปัญญาญาณก็ไม่สามารถจะหยั่งรู้ได้ ดังพกาพรหม สมควร
    ที่พระตถาคตประทานธรรมโปรด จึงเสด็จไปยังพรหมโลก
    อันเป็นสถานที่อยู่ของพกาพรหม และทรงทำปาฏิหาริย์
    แสดงธรรมโปรดให้คลายสัสสตทิฏฐิ ฯ</CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2005
  10. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    <CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางปลงกรรมฐาน[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในอิริยาบถยืน มี 2 แบบ คือ แบบหนึ่ง
    ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงทาบที่พระเพลา ยื่นพระหัตถ์ขวาออกไป
    ข้างหน้าเป็นกิริยาซักผ้า ฯ
    อีกแบบหนึ่ง พระหัตถ์ซ้ายทรงธารพระกร ส่วนพระหัตถ์ขาว
    อยู่ในอาการเช่นเดียวกัน นิยมเรียกว่า ปางชักผ้ามหาบังสุกุล ฯ
    ในครั้งพุทธกาล ภิกษุจะแสวงหาผ้าขาวพันศพที่ถูกนำไปทิ้งใน
    ป่าช้าเพื่อเอามาทำจีวร สบง หรือสังฆาฏิ แม้แต่พระพุทธเจ้า
    พระองค์ก็ทรงปฏิบัติเช่นเดียวกัน กิริยาที่ทำอย่างนั้น เรียกว่า
    การชักผ้าบังสุกุล เมื่อเวลาไปชักผ้าออกจากศพก็ต้องมีไม้เท้า
    ที่เรียกว่า ธารพระกร ใช้ยันศพให้กลิ้งออกไปจากผ้าขาว แล้ว
    จึงนำผ้านั้นมาซัก ตัดเย็บต่อไป ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางพิจารณาชราธรรม[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสอง
    วางอยู่ที่พระชานุทั้งสอง
    จำเดิมแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลาย
    ทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่มหาชนเป็นอันมาก ในพรรษาที่ 45 อันเป็น
    พรรษาสุดท้ายแห่งพระชนมายุ ได้เสด็จไปจำพรรษา ณ บ้านเวฬุวคาม
    ในเขตเมืองไพศาลี ครั้นภายในพรรษา พระองค์ทรงประชวรหนัก แต่
    ก็ทรงอดกลั้นทุกขเวทนาเสียได้ด้วยอธิวาสนะขันติคุณ วันหนึ่ง
    ได้ทรงปรารภกับพระอานนท์ว่า บัดนี้เราแก่เฒ่าล่วงวัยได้ 80 ปี กายของ
    ตถาคตย่อมทรุดโทรมเป็นธรรมดา แต่เมื่อใดตถาคตเข้าอนิมิตตเจโต
    สมาธิ เวทนาบางเหล่าย่อมดับไป เมื่อนั้นกายของตถาคตย่อมผ่องใส
    มีความผาสุกสบาย เพราะฉะนั้น ท่านจงมีตนเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง มิใช่
    มีบุคคลมีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือจงมีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึ่งทุกอิริยาบถเถิด
    ครั้นแล้วจึงได้ตรัสเทศนาในข้อว่ามีตนเป็นที่พึ่ง ด้วยสามารถประกอบ
    ตนไว้ในสติปัฏฐาน 4 ฯ </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางแสดงโอฬาริกนิมิตร[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย
    ยกขึ้นป้องเสมอพระอุระ พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ ฯ
    ในเวลาเช้าแห่งวันปุณณรสี เพ็ญเดือน 3 มาฆมาส เมื่อพระบรมศาสดา
    ทรงเสร็จภัตตกิจแล้ว ทรงรับสั่งพระอานนท์ให้เข้าเฝ้า จุดประสงค์
    เพื่อให้พระอานนท์กราบทูลอาราธนาพระองค์ให้ทรงดำรงพระชนม์
    อยู่ชั่วอายุกัปป์หนึ่ง (อายุกัปป์ หมายถึง 100 ปี) หรือมากกว่ากัปป์
    จึงทรงแสดงโอฬาริกนิมิตร ให้แจ้งชัดโดยแสดงอานุภาพอิทธิบาท
    ภาวนาว่า ผู้ใดได้เจริญอิทธิบาทภาวนาดีแล้วสามารถจะดำรงชีวิตอยู่
    ได้ถึงกัปป์หนึ่งหรือเกินกว่า ตรัสปริยายนิมิตรให้ชัดถึง 3 หน แต่ว่า
    มารดลใจพระอานนท์เสีย จึงไม่สามารรู้ทันพระประสงค์ได้
    พระอานนท์จึงไม่ได้กราบอาราธนา ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางห้ามมาร[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย
    วางอยู่บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาแบฝ่าพระหัตถ์ ยกขึ้นตั้งเสมอ
    พระอุระ เป็นกิริยาห้าม ฯ
    เมื่อพระอานนท์ไม่ทูลอาราธนา มารจึงได้โอกาสเข้าเฝ้าพระศาสดา
    แล้วยกเนื้อความแต่ปางหลังที่พระองค์ทรงอธิษฐานว่า ถ้าเหล่าพุทธ
    ได้เข้าถึงธรรม และทรงสามารถประกาศพระศาสนา สำเร็จประโยชน์
    แก่มหาชนแล้ว จึงจะปรินิพพาน และบัดนี้ ปริสสมบัติและพรหมจรรย์
    ก็สมบูรณ์ดังพระประสงค์ทุกประการแล้ว บัดนี้เป็นกาลปรินิพพาน
    ของพระพุทธเจ้าแล้ว เมื่อมารกล่าวดังนี้แล้ว พระองค์จึงตรัสห้ามมารว่า
    ดูกรมาร ผู้มีใจบาป ความปรินิพพานของตถาคตจักมีไม่ช้า แต่นี้ไปอีก
    3 เดือน พระตถาคตก็จักปรินิพพาน ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางปลงอายุสังขาร[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้าย
    วางบนพระเพลา แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกขึ้นประทับที่พระอุระ
    อย่างกิริยาลูบพระกาย ฯ
    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขาร ณ
    ปาวาลเจดีย์ ก็เกิดอัศจรรย์แผ่นดิน ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่นในอากาศ
    ครั้งนั้นพระอานนท์เกิดพิศวงจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้พระภาคเจ้าแล้วทูล
    ถามเหตุดังกล่าว พระองค์จึงตรัสเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหว 8 ประการ
    คือ ลมกำเริบ, ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล, พระโพธิสัตว์จุติลงสู่พระครรภ์,
    พระโพธิสัตว์ประสูติ, พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ,
    พระตถาคตเจ้าปลงอายุสังขาร และพระตถาคตเจ้าปรินิพพานด้วย
    อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แล้วรับสั่งว่า บัดนี้พระองค์ได้ทรงปลงอายุ
    สังขารแล้ว แผ่นดินจึงไหวเพราะเหตุนี้ พระอานนท์จึงกราบทูล
    ให้พระองค์จงอยู่กัปป์หนึ่ง เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก แต่พระองค์
    ตรัสห้ามว่า อานนท์อย่าเลย บัดนี้มิใช่เวลาที่เธอจะมาวิงวอนตถาคต ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางนาคาวโลก[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยเยื้อง
    มาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ซ้ายห้อยลง
    ข้างพระองค์ตามปกติ เอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไปข้างหลัง
    เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลี ด้วยจะเป็นการเห็นครั้ง
    สุดท้าย ฯ
    ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปรับอาหาร
    บิณฑบาตในพระราชนิเวศนของบรรดากษัตริย์ลิจฉวีในพระราชนิเวศน์
    ครั้นทำภัตตกิจแล้วทรงประทานธรรมแก่กษัตริย์ลัจฉวีทั้งปวง โดย
    สมควรแก่นิสสัยแล้ว ทรงพาภิกษุสงฆ์เสด็จออกจากพระนคร เสด็จ
    ประทับยืนอยู่หน้าประตูเมืองไพศาลี เยื้องพระกายผินพระพักตร์มา
    ทอดพระเนตรเมืองไพศาลี พร้อมกับตรัสว่า อานนท์ การเห็นเมือง
    ไพศาลีของตถาคตครั้งนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย สถานที่ตรงนั้นเป็น
    สถานอันสำคัญเรียกว่า นาคาวโลกเจดีย์ นาคาวโลก แปล่า ดูอย่างช้าง </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางทรงรับอุทกัง[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวาง
    บนพระเพลา พระหัตถ์ขวาทรงบาตรวางบนพระชานุ
    เป็นกิริยารับน้ำ ฯ
    ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จไปยังเมืองปาวานคร แล้วเสด็จเข้า
    ไปประทับอาศัยอยู่ในอัมพวันสวนมะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร
    ครั้นนายจุนทะได้ทราบข่าวจึงเข้าไปเฝ้าและฟังพระธรรมเทศนาจนได้
    บรรลุโสดาปัตติผล นายจุนทะได้กราบอาราธนาทูลนิมนต์พระองค์กับ
    หมู่ภิกษุให้เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตยังบ้าน นายจุนทะได้ตกแต่งอาหาร
    คาวหวานกับทั้งสุกรมัททวะ (เนื้อสุกรอ่อน) เมื่อพระองค์ไปถึงก็รับสั่ง
    ให้ถวายสุกรมัททวะเฉพาะต่อตถาคต ที่เหลือให้ฝังเสีย นายจุนทะก็ทำ
    ตาม ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้วตรัสอนุโมทนาให้นายจุนทะ ก็เสด็จกลับไปสู่
    อัมพวัน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตตาหารแล้ว ก็ทรงประชวร
    พระโรค โลหิตปักขัณฑิกาพาธ คือโรคลงพระโลหิต ตรัสสั่งกับ
    พระอานนท์ให้พาเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ระหว่างทางทรงกระหาย
    น้ำ อันเนื่องมาจากอาการพระประชวร จึงขอเสวยน้ำ แต่พระอานนท์
    ได้ทูลทัดทานถึง 2 ครั้ง เพราะแม่น้ำเล็ก น้ำในแม่ก็น้อย เกวียนจำนวน
    500 เล่ม เพิ่งข้ามไป น้ำจึงขุ่นไม่ควรจะดื่ม ครั้นพระองค์รับสั่งเป็นครั้ง
    ที่ 3 พระอานนท์จึงได้สติว่า ธรรมดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ย่อมตรัสแต่ในสิ่งที่มีสาเหตุเท่านั้น จึงนำบาตรไปยังแม่น้ำ เมื่อไปถึง
    ก็เกิดอัศจรรย์ใจที่น้ำในแม่น้ำกลับใสสะอาด พระเถรเจ้าได้ลงไป
    ตักน้ำน้อมไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสวยตามประสงค์ ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางทรงพยากรณ์[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวาลืม
    พระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตาม
    พระกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวายกขึ้นประทับที่พระอุทร ฯ
    เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสวยน้ำและพักผ่อนตามอัธยาศัย ครั้งนั้น
    ปุกกุสบุตรแห่งมัลลกษัตริย์ เดินทางผ่านมาพบ จึงเข้าไปถวายบังคม และ
    ได้สดับธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสจึงน้อมถวายคู่ผ้าสิงคิวรรณอันมีเนื้อ
    ละเอียด มีสีดังสีทอง งาม ประณีต มีค่ามาก แต่พระองค์ทรงรับแค่ผืนเดียวอีก
    ผืนหนึ่งสั่งให้ถวายพระอานนท์เถระ เมื่อปุกกุสบุตรทูลลากลับไปแล้ว
    พระองค์ก็ทรงห่มผืนนั้น ทันใดนั้นผิวกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ก็งามบริสุทธิ์ผุดผ่องนัก พระกายของพระตถาคตจะงดงามบริสุทธิ์
    ผุดผ่องยิ่งใน 2 เวลา ได้แก่ เวลาที่จะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และ
    เวลาที่จะปรินิพพาน คือในยามที่สุดแห่งราตรีวันนี้แหละ ณ ระหว่าง
    ไม้สาละคู่ ณ สาลวันแห่งมัลลกษัตริย์ เมื่อพระองค์ทรงผ้าใหม่แล้วก็เสด็จ
    ดำเนินมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา ครั้นเสด็จถึงกรุงกุสินารา ก็โปรดให้
    พระอานนท์ปูลาดเตียงบรรทม ณ ระหว่างไม้รัง (สาละ) ทั้งคู่ แล้วเสด็จ
    ขึ้นบรรทมสีหไสยา มีสติสัมปชัญญะ แต่มิได้มีอุฎฐานสัญญามนสิการ คือ
    ไม่คิดว่าจะลุกขึ้นอีกต่อไป คือนอนครั้งสุดท้ายนิยมเรียกว่า อนุฏฐานไสยา
    ครั้งนั้น ต้นรังทั้งคู่เผล็ดดอกลานเต็มต้น ร่วงหล่นลงมายังพระพุทธสรีระ
    บูชาพระตถาคตเจ้าเป็นอัศจรรย์ แม้ดอกมณฑาในเมืองสวรรค์ก็ตกลงมาบูชา
    ใช่แต่เท่านั้นเทพยเจ้าทั้งหลาย ก็ประโคมดนตรีทิพย์ บันลือลั่นเป็นมหา
    นฤนาท บูชาพระตถาคตเจ้าในกาลอวสาน พระตถาคตเจ้ารับสั่งกับพระ
    อานนท์ว่า การบูชาตถาคตด้วยอามิสแม้มากเห็นปานนี้ก็ไม่ชื่อว่า บูชา
    ตถาคตแต่อย่างใด ส่วนผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง
    ในธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยิ่ง แล้วทรงตรัสต่อ
    ไปอีกว่า เมื่อตถาคตเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พุทธบริษัททั้งหลายผู้ที่ยัง
    มีความเชื่อความเลื่อมใสในพระตถาคต ก็สมควรจะเที่ยวไปยังเจดีย์
    สังเวชนียสถานทั้ง 4 คือ สถานที่ประสูติ, ที่ตรัสรู้. ที่แสดงธรรมจักร
    และที่ปรินิพพาน ด้วยความเลื่อมใส ครั้นทำกาละกิริยาลง จักเข้าถึงสุคติ
    โลกสวรรค์ แล้วจึงทรงรับสั่งกับพระอานนท์ถึงการปฏิบัติต่อสรีระ
    ของพระตถาคต เช่นเดียวกับสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิราช คือพัน
    สรีระด้วยผ้าขาวซับด้วยสำลี แล้วห่อด้วยผ้าขาว 500 คู่ แล้วอัญเชิญลง
    ในหีบทองคำอันเต็มไปด้วยน้ำมันหอม เชิญขึ้นบนจิตรกาธารซึ่งทำด้วย
    ไม้จันทร์หอม ถวายพระเพลิง แล้วอัญเชิญพระอัฐิธาตุไปทำพระสถูป
    บรรจุไว้ ณ ประชุมแห่งถนนใหญ่ทั้ง 4 ทิศ เพื่อเป็นที่ไหว้สักการะของ
    มหาชนที่สัญจรไปมา บุคคลผู้ควรแก่การประดิษฐานในสถูป เรียกว่า
    ถูปารหบุคคล มี 4 ประเภค คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, พระปัจเจก
    พุทธเจ้า, พระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิ ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางโปรดสุภัททะ[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวา ลืมพระเนตร
    พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระกายเบื้องซ้าย
    พระหัตถ์ขวายกขึ้นตั้ง จีบนิ้วพระหัตถ์เป็นกิริยาแสดงธรรมโปรด ฯ
    เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จบรรทมเหนือเตียงเป็นที่ปรินิพพานแล้ว
    ทรงพยากรณ์ประทานพระอานนท์เถระ บรรเทาความโทมนัสให้สร่าง
    แล้ว ก็รับสั่งให้พระอานนท์ไปบอกพวกมัลลกษัตริย์ว่า พระตถาคตเจ้า
    จะปรินิพพาน ณ ยามที่สุดแห่งราตรีนี้ เมื่อมัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ทราบ
    ข่าวต่างก็มีความทุกข์โทมนัส จึงรีบพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
    สมัยนั้น ปริพาชกผู้หนึ่งชื่อว่า สุภัททะ พอได้ทราบข่าวก็รีบไปพบ
    พระอานนท์เพื่อขอเฝ้า แต่พระอานนท์ได้ห้ามไว้ด้วยว่าจะเป็นการ
    รบกวนพระตถาคต แต่พระองค์ทรงอนุญาติให้เฝ้าได้ ด้วยทรงเห็นว่า
    สุภัททะจักได้รู้ทั่วถึงธรรม เมื่อได้เข้าเฝ้าสุภัททะจึงถามว่า บรรดาครู
    ทั้ง 6 มีปูรณกัสสปะ เป็นต้น ปฏิญญาว่าเป็นผู้วิเศษ ได้ตรัสรู้ด้วยปัญญา
    นั้นสมจริงดังคำปฏิญญาหรือไม่ จึงตรัสว่า อย่าเลย สุภัททะ เราจักแสดง
    ธรรมแก่ท่าน จงตั้งใจฟัง แล้วทำไว้ในใจให้สำเร็จประโยชน์เถิด แล้ว
    พระองค์ก็ทรงตรัสอริยมรรค 8 ประการว่า เป็นมรรคประเสริฐมีอยู่ใน
    ธรรมวินัยใดแล้ว สมณะคือผู้สงบระงับดับกิเลสได้จริง อริยมรรคมีอยู่
    ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น แม้สมณะก็มีอยู่แต่ในธรรมวินัยนี้แห่งเดียว
    สุภัททะ หากภิกษุทั้งหลายจะพึงปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ในธรรมนี้แล้ว
    ไซร้ โลกนี้ก็จักไม่พึงว่างเปล่าจากพระอรหันต์ เมื่อจบธรรมเทศนาแล้ว
    สุภัททะทูลขออุปสมบท และได้บรรลุพระอรหันต์ในราตรีนั้น เป็น
    พระอรหันต์ปัจฉิมสาวก ฯ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><CENTER><TABLE cols=1 width="20%" bgColor=#00ff00 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>[size=+1]ปางปรินิพพาน[/size]
    พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงขวา หลับพระเนตร
    พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระกายเบื้องซ้าย
    พระหัตถ์ขวาหงายวางอยู่ที่พื้นข้างพระเขนย พระบาททั้งสองซ้อนกัน ฯ
    เมื่อพระพุทธเจ้าโปรดสุภัททะเป็นพระอริยะปัจฉิมสาวกแล้ว พระอานนท์
    ได้ทูลถามว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว จะพึงปฏิบัติต่อพระฉันนะ
    อย่างไร เพราะถือตัวว่าเป็นข้าเก่า เป็นผู้ว่ายาก ติดตามพระองค์คราวเสด็จ
    ออกผนวช จึงไม่รับความคำตักเตือนของใคร ๆ พระองค์รับสั่ง
    ให้ลงทัณฑ์ คือ ไม่ให้ภิกษุทั้งหลายพูดด้วย แล้วพระฉันนะ
    ก็จักสำนึกผิดเอง ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ประทาน
    โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว พระวินัยที่เรา
    ได้บัญญัติแก่ท่านทั้งหลายก็ดี พระธรรมที่เราได้แสดงแล้วแก่
    ท่านทั้งหลายก็ดี จักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย แล้วทรงประทาน
    โอวาทครั้งสุดท้ายว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนท่านทั้งหลาย
    สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญ
    ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด ฯ
    </CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER></CENTER>

     
  11. สง่างาม

    สง่างาม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2011
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +1
    ขอบพระคุณอย่างสูงยิ่งค่ะที่นำความรู้มาแบ่งปันค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...