มาดูสมเด็จกัน

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย wasabi san, 25 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. eak_it

    eak_it เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2010
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +225
    ขอขอบคุณที่ให้ความกระจ่างครับ เป็นพระคุณอย่างสูงครับ
     
  2. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    [​IMG]
    พระของคุณ Pinkcivil<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4254979", true); </SCRIPT> องค์นี้หมดลุ้นครับ

    [​IMG]
    ส่วนองค์นี้นั้นผมสงสัยตรงที่คราบสีเขียวสว่างๆ คือ คราบอะไรกันแน่....
    ดูเหมือนมีการนำใบไม้มาขยี้ใส่พระเลยครับ....ถ้าเป็นไปได้ขอรูปด้านหลังประกอบจะดีมากเลยครับ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_06.jpg
      IMG_06.jpg
      ขนาดไฟล์:
      540 KB
      เปิดดู:
      5,117
  3. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    [​IMG]
    ภาพไม่ชัดครับ....ถ้าดูพิมพ์คร่าวๆ คิดว่าน่าจะหมดลุ้นนะครับ.....


    [​IMG]
    องค์นี้ผมไม่แน่ใจว่าจะใช่พระกรุวัดโพธิ์เกรียบหรือไม่....คงต้องรอคุณวาซาบิให้ช่วยดูให้แล้วหละครับ...
     
  4. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915


    どうもありがとう ,Thank You, Areeyaka yori.

    น่าจะหมายความว่ายุคของพระตระกูลสมเด็จใช่ไหมครับ เรื่องห้วงเวลาจำได้ว่าเคยลงไปแล้วนะครับ ลองอ่านบทความนี้ดูอีกครั้ง


    หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง

    โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน
    ๑. พุทธศิลป์ทรงพิมพ์
    ๒. มวลสาร
    ๓. รัก ชาด ทอง
    ๔. หลักความเป็นไปแห่งธรรมชาติ
    ๕. หลักแห่งวิทยาศาสตร์
    ๖. ฌานสมาบัตร

    หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่มิได้บรรจุกรุ
    ๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธศิลปะอย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
    ๒. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
    ๓. รอยปูไต่ และหนอนด้น “รอยปูไต่” ลักษณะเป็นรอยโค้งเล็ก ๆ หนักบ้างเบาบ้าง อาจเกิดเป็นคู่หรือเดี่ยว “รอยหนอนด้น” ลักษณะเป็นจุดบุ๋มเล็ก ๆ เป็นคู่ ๆเรียงกัน ทั้งสองชนิดเกิดบริเวณด้านหลังของพระสมเด็จ สมมุติฐานจากมวลสาร และเกสรดอกไม้ ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
    ๔. ความแห้งมีลักษณะหลากหลายทั้งแห้งที่มีน้ำหนัก และไม่มีน้ำหนัก อันเนื่องมาจากความหลากหลายของมวลสาร และวัสดุที่ใช้ แต่ที่สำคัญให้พิจารณาจากความหนึกนุ่ม มีความเงางามตามธรรมชาติ และความเก่าขององค์พระเป็นสำคัญ
    ๕. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่งธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจน เกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
    ๖. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
    ๗. ชั้นผิวของพระสมเด็จที่ยังไม่ใช้หรือผ่านการใช้มาน้อย จะปรากฏร่องรอยของผิวพระเป็นชั้น ๆ เป็นวงเล็กบ้าง ใหญ่บ้างซ้อนกัน ลักษณะบาง ๆ ชั้นบนสีจะเข้มชั้นล่าง ๆ สีจะอ่อนลงตามลำดับ แต่ถ้าผ่านการใช้มาแล้วระยะเวลาที่พอสมควรสีของพระจะเป็นสีเดียวกัน หนึกนุ่ม สวยงาม
    ๘. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
    ๙. การแตกลายงา มีสองชนิด คือ หนึ่งแบบหยาบ (สังคโลก เหมือนชามสังคโลก) สองการแตกลายงาแบบละเอียด (เหมือนไข่นกปรอท) ทั้งสองลักษณะร่องลอยการแตกตัวจะไม่ลึกถ้าดูเผินๆคล้ายไม่แยกจากกัน ต้องใช้กล้องส่องจึงจะเห็นชัด และขอให้จำเป็นหลักไว้ว่าการแตกลายงาขององค์พระไม่ได้เกิดจากการลงรัก ปิดทองล่องชาด แต่เกิดจากขั้นตอนของการตากผึ่ง และสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในขณะนั้นเป็นสำคัญ พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองล่องชาด พบว่าเมื่อลอกรัก ชาด ทองเหล่านั้นออกไม่ปรากฏลอยแตกลายงาเลยก็มาก
    ๙. รักชาดสีแดง ให้พิจารณาจากความเก่าของชาด สีของชาดไม่ว่าจะนาน เท่าใดสีจะยังคงแดง (แดงเลือดนก) ไม่ลอก ไม่หลุดล่วง ถ้าไม่ขูดหรือล้างออก
    ๑๐. รักสมุกสีดำ ให้พิจารณาจากความเก่าของรัก ความเก่าของรักสีดำจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มอมดำ (คล้ายสีตาของกุ้ง) จะหลุดลอกออกเป็นแผ่นมากบ้างน้อยบ้างตามจำนวนชั้นที่ลง และกาลเวลา เป็นสำคัญ
    ๑๑. ทอง ให้พิจารณาจากสีของทอง เป็นทองคำเปลวทองเนื้อหก หรือที่โบราณเรียกกันว่าทองสีดอกบวบ ลักษณะเงางาม พบการปิดทองพระสมเด็จทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และปิดทองทึบ (กรุเพดานวิหารวัดระฆัง) พระสมเด็จที่ลงรัก ชาด ทอง เรียกว่า “ลงรักปิดทองล่องชาด”
    ๑๒. คราบไขขาวที่พบบนองค์พระสมเด็จนั้น ที่หลาย ๆ ท่านคิดว่าเป็นคราบแป้งโรยพิมพ์ สืบค้นไม่พบหลักฐานแต่พบว่าในสมัยโบราณจะใช้น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันงาเป็นส่วนสำคัญในการทาพิมพ์เพราะเป็นน้ำมันที่ใสและลื่น ส่วนคราบขาวที่พบเห็นบริเวณผิวหน้าองค์พระนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติระหว่างน้ำมันที่ทาพิมพ์กับเนื้อของพระสมเด็จ (การล้างและทำความสะอาดจะทำให้ผิวของพระเสียหายได้)
    หลักการพิจารณาพระสมเด็จที่บรรจุกรุ
    ๑. ทรงพิมพ์ และพุทธศิลปะ จำให้แม่นยำว่ามีกี่ทรงพิมพ์ และแต่ละพิมพ์มีพุทธ ศิลปะ อย่างไร หาข้อแตกต่างและเปรียบเทียบโดยให้ยึดหลักแห่งธรรมชาติเป็นสำคัญ
    ๒. พิมพ์ของพระสมเด็จวัดระฆัง และพระสมเด็จบางขุนพรหมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบและยกขึ้น จึงพบรอยขอบกระจก และปาดหลังด้วยวัสดุบาง รอยด้านหลังของพระสมเด็จ จะมีลักษณะเป็นรอยแล่ง รอยหลังกระดาน รอยหลังกาบหมาก อันเกิดจากวัสดุที่ใช้ปาดหลัง และรอยภาชนะที่รองรับเวลาตากและผึ่ง
    ๓. คราบฟองเต้าหู้ ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น แข็งฝังในเนื้อพระ (เกิดจากความชื้น แฉะ)
    ๔. คราบไข ลักษณะเป็นฝ้าบางๆเคลือบอยู่บนองค์พระ สีขาวนวล คราบนี้จะติดอยู่กับองค์พระและจะค่อยจางลงเมื่อพระถูกใช้ในระยะเวลาพอสมควร (เกิดจากความร้อน ชื้น)
    ๕. คราบน้ำปูน ลักษณะเป็นฝ้าขาวมีความหนาบางไม่เท่ากัน สีขาวอมน้ำตาลอ่อน เกาะติดกับองค์พระแน่น (เกิดจากน้ำท่วมองค์พระเป็นเวลานานเมื่อน้ำลดลงคราบปูนที่ลอยอยู่บนผิวจะแห้งติดองค์พระ)
    ๖. คราบกระเบน ลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆคล้ายหนังกระเบน สีเทาแกมม่วงอ่อนๆ เกิดจากเม็ดทรายเกาะอยู่ทั่วองค์พระ แข็งมากไม่สามารถชำระล้างให้ออกได้ (เกิดจากพระที่ล่วงลงสู่พื้นปะปนกับดินและทรายเป็นเวลานาน)
    ๗. คราบน้ำผึ้ง ลักษณะเกิดจากปฏิกิริยาของพระที่ผ่านการใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควร สีขององค์พระจะนวลคล้ายสีของน้ำผึ้งแต่แข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และหนึกนุ่ม (เกิดจากมวลสารสำคัญกับระยะเวลาตามธรรมชาติ)
    ๘. รอยปูไต่ และหนอนด้น ลักษณะอันเกิดจากเกสรดอกไม้ และมวลสาร ที่หลุดล่วงตามกาลเวลาแห่งธรรมชาติ
    ๙. ทองทราย ลักษณะเป็นรอยจุดเล็ก ๆ บนผิวพระสมเด็จ วิธีสังเกตให้พลิกองค์พระทำมุมกับแสงสว่างโดยเฉพาะในเวลากลางคืนจะเห็นได้ชัด พระสมเด็จทุกองค์จะมีทองทรายซุกซ่อนอยู่การพิจารณาต้องใช้เวลา และอาจต้องผ่านการใช้มาเป็นเวลาพอสมควร สันนิฐานว่าเกิดจากปูนเพชร และผงศิลาธิคุณที่เป็นส่วนผสมหลัก
    ๑๐. การหดตัว และรอยย่นของเนื้อพระสมเด็จ เปรียบได้กับอาณาจักรแห่ง ธรรมชาติ ที่ ปรากฏไปด้วยภูเขา ห้วย ธาร เกาะแก่งต่างๆ ลักษณะที่เปรียบให้เห็นนั้นเป็นการหดตัวจนเกิดรอยย่นมากบ้างน้อยบ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของธรรมชาติเป็นสำคัญ
    ข้อเขียนนี้ถือเป็นลิขสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมาย ของอาจารย์ไพรพนา ศรีเสน อนุญาตให้ใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ เพื่อเป็นวิทยาทานโดยไม่ต้องขออนุญาต



    พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ) กรุเพดานวิหารวัดระฆัง
    2009-11-20 01:45:18

    พระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ) กรุเพดานวิหารวัดระฆัง
    โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน

    การสร้างพระสมเด็จชุดลงรักปิดทองล่องชาดนี้ จากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์และจากประสบการณ์ตรงของครูอาจารย์และท่านผู้รู้อีกหลายท่าน มีความคิดเห็นคล้ายคลึงกันว่าพระสมเด็จชุดนี้ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๘ พร้อมๆ กับการสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้ว (พระสมเด็จวัดพระแก้วเริ่มสร้างครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๐๘ – พ.ศ. ๒๔๒๕) มูลเหตุในการการสร้างพระสมเด็จชุดนี้เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา เพื่อมอบให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นเบื้องต้น นอกจากนั้นก็มอบให้แก่คหบดี และประชาชนโดยทั่วไป การสร้างจึงจัดเป็นวิจิตรศิลป์ โดยใช้พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังซึ่งปัจจุบันเป็นพิมพ์นิยม และพิมพ์อื่นๆ ที่มีความหมายในทางพระพุทธศาสนาเป็นต้น มวลสารที่นำมาเป็นส่วนผสมในการสร้างนั้นจัดได้ว่าเป็นมงคลวัตถุยิ่ง กล่าวคือมีความเป็นมงคลในตัวเองส่วนหนึ่งและผสมกับผงวิเศษอันทรงไว้ด้วยพุทธคุณ และอิทธิคุณอย่างอเนกอนันต์ ส่วนการลงรักปิดทองล่องชาดนั้นถือได้ว่าเป็นประณีตศิลป์จากฝีมือช่างหลวง (ช่างสิบหมู่) ที่หาชมได้ยากมากในปัจจุบัน แต่น่าเสียดายมากที่พระสมเด็จวัดระฆังชุดนี้ไม่ถูกเปิดเผยออกมาสู่สาธารณชน ผู้เขียนได้พยายามศึกษาสืบค้นข้อมูลจากหลายแหล่งดังที่กล่าวมาแล้ว และได้เขียนเพื่อเป็นข้อมูลแก่ผู้ที่เคารพกราบไหว้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เพื่อเป็นแนวทางในการสืบค้นข้อมูลให้มากขึ้นต่อไป
    จากข้อเขียนของ พ.ต.ต. จำลอง มัลลิกะนาวิน (ซึ่งตรงกับเรื่องเล่าของ พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม หรือ พระอาจารย์จิ้ม กันภัย วัดดงมูลเหล็ก) เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า พระสมเด็จชุดนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๘ จำนวนหลายพันองค์ เป็นเนื้อผงลงรักปิดทองล่องชาดทั้งสิ้น และเมื่อท่านได้ถึงชีพิตักษัยพระชุดนี้ได้ถูกนำมาเก็บไว้บนเพดานวิหารวัดระฆัง และมิได้มีผู้ใดพบเห็นจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงมีผู้ค้นพบพระชุดนี้ และในปีนี้เองเป็นปีที่ครบ ๑๐๐ ปี ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านสิ้นชีพิตักษัย ได้มีการค้นพบพระสมเด็จบนเพดานวิหารวัดระฆังเป็นจำนวนมาก มีหลายพิมพ์แต่จะด้วยเหตุใดไม่ปรากฏชัด ทราบแต่เพียงว่าทางวัดไม่ได้มีการบอกกล่าวให้ประชาชนได้ทราบเลย คงรู้กันเฉพาะในหมู่พระภิกษุไม่กี่รูป ช่างที่เข้าไปบูรณะ กรรมการวัดและบุคคลใกล้ชิดเท่านั้น ประจวบกับในขณะนั้นทางวัดได้จัดสร้างพระสมเด็จขึ้นมาใหม่มีพิธีและงานฉลองอย่างมโหฬาร เนื่องเป็นปีที่ครบรอบท่านสิ้นครบ ๑๐๐ ปี (อันจะด้วยเหตุผลนี้ก็เป็นได้)
    พระสมเด็จที่พบนี้กล่าวกันว่าวางสุมกองไว้บนเพดานวิหารมิได้มีการใส่ภาชนะใดปกปิดไว้ จำนวนมากถึงหลายพันองค์ แต่ที่แปลกและสำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือพระสมเด็จที่พบนั้นปิดทองล่องชาดทั้งสิ้น ( พระสมเด็จที่ปิดทองล่องชาด จัดเป็นพระสมเด็จที่มีการจัดทำเป็นพิเศษเพื่อมอบให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ในสมัยนั้น) พิมพ์งดงามชัดเจนสมกับเป็นพระสมเด็จที่สร้างในยุคท้ายๆ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพิมพ์ที่ช่างหลวง ( ช่างสิบหมู่ )ได้แกะถวาย รักชาดทองยังไม่หลุดลอก พบเพียงความแห้ง แกร่ง มีฝุ่นเกาะอยู่ทั่วไป บางองค์พบรอยทางเดินปลวก ขี้มอด เกาะติดแต่มีจำนวนไม่มากนัก ส่วนแบบพิมพ์มีมากมายนับได้เป็นร้อยกว่าพิมพ์ และมีลักษณะเป็นพิมพ์แปลกๆที่มีความหมายทางพระพุทธศาสนาหลายอย่างหลายประการ ส่วนพิมพ์พระหลักที่มีความสำคัญคือพิมพ์วัดระฆัง พิมพ์วัดบางขุนพรหม ซึ่งส่วนมากเป็นพิมพ์ใหญ่มีเป็นจำนวนมากกว่าพิมพ์อื่นๆ (เป็นพิมพ์นิยมในปัจจุบัน)
    พระสมเด็จเนื้อผงปิดทองล่องชาดเพดานวิหารวัดระฆังรุ่นนี้เมื่อได้นำมาลบทองและชาดออก ปรากฏว่าลบยากเพราะเป็นของโบราณทำด้วยความประณีตและฝีมืออย่างแท้จริง ทองคำเปลวที่นำมาติดนั้นจะสุกอร่ามไม่หมองค้ำเลย เมื่อลบออกแล้วเนื้อในขององค์พระจะงามมาก ขาวดังงาช้าง มีแตกลายงา แต่ละพิมพ์เนื้อจะคล้ายคลึงกันมาก
    จากหนังสือประวัติวัดระฆังโฆสิตารามและประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ที่พบหลายสิบเล่มต่างมีข้อความคล้ายคลึงกันว่า
    กล่าวกันว่า ภายหลังเจ้าคุณสมเด็จฯ ถึงมรณภาพ พระสมเด็จที่ใส่บาตร สัต และกระบุง ตั้งไว้ที่หอสวดมนต์นั้น ได้ขนย้ายเอาไปไว้ที่ในพระวิหารวัดระฆัง (ว่าเอาไว้ที่บนเพดานวิหารก็มี) โดยมิได้มีการพิทักษ์รักษากันอย่างไร เป็นต้นว่าประตูวิหารก็ไม่ได้ใส่กุญแจ ในปีหนึ่งเป็นเทศกาลตรุษสงกรานต์มีทหารเรือหลายคนมาเล่นการพนันที่หน้าวัด เช่น หยอดหลุม ทอยกอง เป็นต้น จะเนื่องด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ทหารเรือเหล่านั้นได้วิวาทชกกัน ทหารเรือคนหนึ่งได้เข้าไปเอาพระสมเด็จในวิหารมาอมได้ ๑ องค์ แล้วกลับมาชกต่อยตีรันประหัตประหารกันต่อไป ที่สุดปรากฏว่าทหารเรือคนนั้นไม่ได้รับบาดเจ็บอย่างไร แม้รอยฟกช้ำก็ไม่มี ส่วนทหารเรือคนอื่นๆ ต่างได้รับบาดเจ็บที่ร่างกาย มีบาดแผลมากบ้างน้อยบ้างทุกคน
    อีกเรื่องหนึ่งว่า คราวหนึ่งมีชายคนหนึ่งอยู่บ้านตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง ป่วยเป็นโรคอหิวา คืนวันหนึ่งฝันว่า เจ้าประคุณสมเด็จ ฯ มาบอกว่า “ ยังไม่ตาย ให้ไปเอาพระสมเด็จที่บนเพดานวิหารวัดระฆังมาทำน้ำมนต์กินเถิดพวกญาติได้พยายามแจวเรือกันมาเอาพระสมเด็จไปอธิษฐานทำน้ำมนต์ให้กินก็หายจากโรคนั้น ทั้งสองเรื่องที่เล่ามานี้ ว่าเป็นมูลให้เกิดคำเล่าลือถึงอภินิหารพระสมเด็จเป็นประถม”
    ข้อสรุปในการศึกษาการสร้างพระสมเด็จ ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี
    ๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้เริ่มสร้างพระตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ถึง ๒๔๑๕ อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ส่วนการสร้างพระเมื่อครั้งยังเป็นสามเณรนั้นคงยังนับไม่ได้ว่าเป็นพระสมเด็จ
    ๒. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี การสร้างพระของท่านมิได้ยึดถือกำหนดว่า กดพิมพ์เป็นองค์พระแต่เมื่อใดแต่ท่านยึดถือว่าพระเครื่องรุ่นนั้น ๆ สำเร็จตั้งแต่เป็นผงวิเศษแล้ว
    ๓. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างพระสมเด็จจำนวน ๘๔’,๐๐๐ องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์ อันเปรียบได้ถึงการระลึกถึงพระคุณอันประเสริฐของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า และการสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า
    ๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้สร้างแบบพิมพ์มากกว่า ๒๐๐ พิมพ์ โดยแบ่งเป็น
    - พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยช่างหลวง (ช่างสิบหมู่)
    - พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบตามความต้องการของท่าน
    - พิมพ์ที่มีความหมายในทางพุทธศาสนา เรื่องราวพุทธประวัติ และ เหตุการณ์ต่าง ๆ
    - พิมพ์ที่ล้อจากพิมพ์พระที่กำลังมีความนิยมในยุคนั้น ๆ
    -พิมพ์ที่จัดทำเป็นแม่แบบโดยฝีมือช่างชาวบ้านมีทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
    ๕. พระสมเด็จวัดระฆังมีทั้งสร้างแล้วแจก กับสร้างแล้วนำบรรจุกรุ เชื่อได้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี สร้างถาวรวัตถุอันเป็นมงคลวัตถุ หรือจะเรียกว่าปูชนียสถานในทางพุทธศาสนาที่ใด ท่านจะนำพระพิมพ์ที่สร้างที่วัดระฆังบรรจุกรุ ณ ที่นั้น

    หลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆังปิดทองล่องชาด (ปิดทองทึบ)
    ๑. พิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดระฆังปิดทองทึบ พิมพ์นิยมในปัจจุบัน พิมพ์คมชัดสมส่วนสวยงาม จัดเป็นประณีตศิลป์ มีทั้งตัดขอบ (พิมพ์แบบเดิมเป็นพิมพ์ชิ้นเดียวตัดขอบข้างและปาดหลัง) และไม่ตัดขอบ (พิมพ์สองชิ้นประกบกัน จัดเป็นพิมพ์แบบใหม่ เป็นฝีมือช่างในตระกูลช่างสิบหมู่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ให้จดจำพิมพ์ทรงให้แม่นยำ
    ๒. พิมพ์ทรงพระสมเด็จวัดระฆังปิดทองทึบพิมพ์พิเศษอื่นๆ มีจำนวนมากหลายสิบพิมพ์โดยมากจะเป็นพิมพ์รูปเหมือนหรือพิมพ์ที่มีความหมายถึงวัฎปฏิบัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นฝีมือการแกะพิมพ์ของช่างยุคเก่าที่มีลักษณะสวยงามตามแบบฉบับช่างในยุคนั้น (การพบพระชุดนี้ปะปนกับพระชุดปิดทองทึบ สันนิษฐานว่าเป็นการเจตนานำมาเก็บไว้ในกรุเดียวกัน แต่นำมาลง รัก ชาด ทอง ใหม่ ให้เหมือนกัน)
    ๓. พิจารณาจาก รัก ชาด ทอง (รักสมุกสีดำ ชาดจอแสสีแดงจัด ทองคำเปลวสีดอกบวบ)
    - ลักษณะการปิดทองแบบปิดทองล่องชาดทึบทั้งด้านหน้า และด้านหลัง
    - ลักษณะการปิดทองแบบปิดทองล่องชาดทึบทางด้านหน้า และด้านหลังลงชาด
    - ลักษณะการปิดทองแบบปิดทองล่องชาดทึบทางด้านหน้า และด้านหลังลงรัก
    ลักษณะของรัก ชาด ทอง จะติดกับองค์พระแน่นมากไม่หลุดลอกออกง่ายตามกาลเวลา (ประมาณ๑๔๔ปี) ให้สังเกตจากการที่เราได้ดูสิ่งก่อสร้างโบราณในพิพิธภัณฑสถานที่มีการลงรักปิดทองล่องชาด มีความงดงาม และมีความคงทนอย่างไร การลงรักปิดทองล่องชาดของพระสมเด็จชุดนี้จะเป็นอย่างนั้น
    ๔. พิจารณาจากเนื้อในขององค์พระ ถ้าลอก รัก ชาด ทองออกเนื้อในจะเป็นสีขาวเหมือนกับปูนขาว จึงมีน้ำหนักเบา และถ้าแช่ไว้ในน้ำนานเป็นสัปดาห์จะละลาย (พระชุดนี้ทำจากปูนขาว) พบทั้งมีการแตกลายงา และไม่แตกลายงา สิ่งที่แปลกและน่ามหัสจรรย์ยิ่งก็คือถ้านำพระชุดนี้มาขึ้นคอบูชายิ่งนานวันเนื้อขององค์พระจะขาวมันวาวมีน้ำหนัก แกร่งขึ้น และไม่ละลายน้ำ (จากการทดลองปฏิบัติ) นี่คือลักษณะแห่งอัจฉริยะภาพของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี และวิธีการอันชาญฉลาดของทีมช่างสิบหมู่ที่สร้างพระสมเด็จชุดนี้
    ๕. คุณลักษณะด้านอื่น ๆ ให้ศึกษาได้จากหลักการพิจารณาพระสมเด็จวัดระฆัง

    บทความทั้งหมดผมคัดลอกมาให้อ่านนะครับ ไม่ได้แต่งขึ้นเอง ผู้อ่านที่ดีต้องคิดไปพร้อมๆกัน เรียนรู้ทั้งหมด แต่ต้องรู้จักแยกแยะ วิเคราะห์ข้อมูลว่าสิ่งไหนเป็นจริง สิ่งไหนไม่เป็นจริง จะได้ไม่หลงทางนะครับ

    ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ โดย อาจารย์ไพรพนา ศรีเสน ที่ได้พรรณนาไว้
    ที่มา :
     
  5. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    [​IMG]

    พระของคุณ bigfoot<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4255680", true); </SCRIPT> องค์นี้ผมว่ามีลุ้นนะครับ....
    ลองวิเคราะห์กันดูดีกว่าครับ....เริ่มจากพิมพ์เป็นพิมพ์ใหญ่ เกศชิดซุ้ม...ใบหน้ารูปเงาะ จัดเป็นใบหน้าที่ไม่สวยในทางสรีระ (วงการไม่เล่นเพราะไม่มีพิมพ์ให้เล่นครับ 555+) แต่เป็นใบหน้าที่มีบันทึกไว้ว่ามีอยู่จริงครับ...

    ไหล่ยกกาง อกกระบอก แขนทอดเป็นตัว U โดยส่วนตัวผมคิดว่าพิมพ์นี้น่าจะเป็นหลวงสิทธิ์แกะพิมพ์ถวายนะครับ....
    เนื้อเป็นปูนเปลือกหอยที่แก่น้ำมันตั่งอิ๋วมากครับ....สีของเนื้อเหลืองอมส้มเข้าสูตรพระกรุบางขุนพรหมก้นกรุมากครับ....

    สีสรรของเนื้อพระบางขุนพรหมกรุเดียวกันแต่จะมีคราบกรุที่แตกต่างกัน....
    อย่างองค์นี้ปรากฎคราบกรุที่ถ้าดูเผินๆ จะคล้ายกับคราบกรุเจดีย์เล็ก สิ่งที่บ่งชี้ว่าพระองค์นี้ไม่ใช่กรุเจดีย์เล็กก็คือ....???

    ถ้าเป็นกรุเจดีย์เล็กของวัดใหม่อมตรสจริง...เนื้อพระจะออกแนวผุไม่ดูแกร่งเท่าเนื้อบางขุนพรหม...
    ผิวกรุจะเกิดคราบแบบฟองเต้าหู้ชนิดหนาเพราะน้ำท่วมมิดเป็นเวลานานหลายเดือน....

    สรุป องค์นี้น่าจะเป็นพระพิมพ์ใหญ่ กรุบางขุนพรหมครับ...
    เอ หรือจะไม่ใช่หว่า....แย่จังครับผมมองไม่ชัดสงสัยคงต้องให้คุณ bigfoot<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_4255680", true); </SCRIPT> ส่งพระมาให้ผมส่องดูใกล้ๆ ให้หายสงสัยแล้วหละครับ อิอิ
     
  6. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915

    เป็นคำถามที่น่าสนใจครับคุณอังคาร โดยมารยาทแล้ว ผมไม่สมควรตอบว่าองค์ไหนดี องค์ไหนไม่ดี เพราะจะไปกระทบกับเจ้าของพระที่เขาจะทำการค้ากัน แต่ไม่เป็นไร ผมตอบแบบเลี่ยงบาลีก็แล้วกัน มีแค่องค์เดียวที่แท้ตาเปล่าครับ

    ผมก็ไม่ใจร้ายนักที่จะทำให้พวกคุณงงนานเกินไป ผมจึงเตรียมภาพเปรียบเทียบมาให้วิเคราะห์จะได้ศึกษาด้วยภาษาตา และเข้าใจด้วยภาษาใจ หวังว่าทุกคนจะเข้าถึงความเข้าใจง่ายโดยไม่ต้องอธิบายนะครับ



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915

    ผมก็เห็นด้วยกับคุณxlmen สิ่งที่ผมสนใจคือทรงพิมพ์ คาดว่าช่างแกะพิมพ์จะเป็นช่างที่แกะพิมพ์ถวายหลวงปู่ภูเช่นกัน หรือไม่พระสมเด็จองค์นี้น่าจะเป็นของหลวงปู่ภูก็เป็นได้ แต่ฝากกรุบางขุนพรหม ผมจะนำภาพมาเปรียบเทียบให้ดู ว่าที่ซุ้มผ่าหวายขององค์นี้ ตรงกับหลวงปู่ภูยุคต้น


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    [​IMG]
    องค์นี้หมดลุ้นครับคุณชัย....ลักษณะพิมพ์จัดได้ว่าเจตนาเลียนแบบพิมพ์ของหลวงวิจารชัดเจนครับ....

    จุดที่เห็นได้ง่ายที่สุดก็ตรงวงแขนด้านขวาขององค์พระโค้งในขณะที่วงแขนด้านซ้ายกลับทิ้งตรงดิ่ง...
    ส่วนเส้นซุ้มผ่าหวายก็ไม่สมส่วนมีการบิดงอเสียรูปชนิดที่ครูช่างไม่น่าจะแกะพิมพ์แบบนี้ให้ลูกศิษย์ตำหนิได้นะครับ....

    ถ้าจะบอกว่าลูกศิษย์แกะได้หรือไม่ ???
    ก็ต้องบอกว่าไม่ได้อีกเช่นกันครับ....กรณีแกะแค่เส้นซุ้มผ่าหวายให้สวยงาม...ถ้าช่างสิบหมู่แกะให้งามยังไม่ได้มีหรือที่อาจารย์ช่างจะปล่อยให้พิมพ์หลุดออกมาได้ง่ายๆ ครับ....

    ถ้าพิจารณามวลสารต่อองค์นี้ก็ถือว่าเจตนาเลียนแบบมวลสารครับ....มวลสารเยอะจริงแต่ไม่เก่าพอครับ....เศษอิฐแดงที่เห็นยังเก่าไม่พอครับ

    สรุป องค์นี้หมดลุ้นครับ....จบข่าว
     
  9. wasabi san

    wasabi san เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    2,009
    ค่าพลัง:
    +5,915
    ฝากคุณxlmen ช่วยตอบคำถามด้วยนะครับ ผมไม่ไหวแล้ว วันนี้ยังไม่ได้พักเลยตั้งแต่เช้า

    ราตรีสวัสดิ์ครับทุกคน
     
  10. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    โอววว....คุณวาซาบิเล่นทดสอบสายตากันอีกแล้วหรือครับนี่....หุหุหุ

    แหมะคำถามปริศนาแบบนี้ผมขอปิดตา ปิดหู ซักคืนนะครับแล้วพรุ่งนี้ผมจะตื่นมาตอบครับคุณวาซาบิ อิอิ....
     
  11. พ่อเลี้ยง2

    พ่อเลี้ยง2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +838
    [​IMG]ผมไม่แน่ใจว่าคุณวซบ. จะหมายถึงองค์นี้หรือเปล่า ผมเดาเอาเพราะว่าดูแล้วใกล้เคียงสุด (อยากทดสอบสายตาด้วย ) ว่าแต่งานนี้มีเฉลยหรือเปล่าครับ หรือเป็นคำถามอัตนัย
     
  12. krit90

    krit90 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +2,222
    ไม่รู้เป็นไรหนอ..เรา..ติดกระทู้ดีเสียแล้ว...อิอิ วันไหนไม่ได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้..เหมือนขาดอะไรไปหนึ่งอย่าง....ขอบคุณท่านอาจารย์ทั้งสอง(วาซาบิ xlmen)ครับ
    และเพื่อนๆพี่ๆที่ให้ข้อมูลดีๆ ไว้ศึกษาพระสมเด็จของสมเด็จโต....ขอบคุณครับ.....
     
  13. อังคาร99

    อังคาร99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2010
    โพสต์:
    628
    ค่าพลัง:
    +1,178
    ขอบคุณครับคุณ wasabi san ผมรู้แล้วครับว่าองค์ไหน และต้องขอโทษเจ้าของรูปที่ผมนำมาลงด้วย เสียมารยาทไปหน่อย เพราะเจตนา อยากให้มาศึกษากันเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาอื่นเลยครับ คุณ wasabi san นี่สุดยอดจริงๆ
     
  14. bigfoot

    bigfoot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    952
    ค่าพลัง:
    +704
    ขอบคุณพี่xlmen และ พี่Wasabi san มากครับ ที่ช่วยให้คำแนะนำครับ
    รวมทั้งพี่ๆในกระทู้เดี่ยวๆของผมด้วย ตอนนี้ก็พอจะทำใหผมทราบทิศทางแล้ว
    เป็นกระทู้ที่ได้ความรู้จริงๆครับ
     
  15. บุพนิมิต

    บุพนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,690
    ค่าพลัง:
    +7,034
    เหลืองดุจขมิ้น...สุดยอดครับท่าน hammerฯ ...
    สาธุ สาธุ สาธุ....

    [​IMG]
     
  16. areeyaka

    areeyaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    435
    ค่าพลัง:
    +458
    Hi sensei

    Wasabi sensei
    ขอบพระคุณอาจารณ์ที่ให้ความกระจ่างมากๆครับ
    Honto ni arigatou gosaimashita

    Jane ........mata aimashou
    Areeyaka yori
     
  17. chaiyaput

    chaiyaput เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    904
    ค่าพลัง:
    +1,146
    ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับ พิมพ์นี้ใช่พิมพ์(ลุงพุฒ) หรือเปล่าครับ ผมยืมรูปจากเวปมาเปรียบเทียบครับ ดูเส้นซุ้มแล้วลักษณะเหมือนกันครับ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    [​IMG]

    แหมะคุณชัยทักถึงพิมพ์ลุงพุฒิทีผมเลยต้องย้อนกลับไปส่องดูใหม่อีกรอบเลยครับ....
    บอกก่อนนะครับว่าผมไม่แม่นพิมพ์และเนื้อลุงพุฒินะครับ....

    ถ้าดูจากรูปที่คุณชัยนำมาลงให้ชมเทียบพิมพ์แล้วในหลายๆ จุดต้องบอกว่าพิมพ์ทรงใกล้เคียงกันมากครับ....จุดหักของซุ้มผ่าหวายก็หักเหมือนกัน เส้นเสี้ยนบล๊อคแตกบริเวณหัวฐานสิงห์ด้านขวาขององค์พระพุ่งชนซุ้มผ่าหวายก็มีเหมือนกัน....

    จุดที่แตกต่างก็มีที่ช่วงแขนด้านซ้ายขององค์พระถึงซอกรักแร้ซ้ายที่ไม่เหมือนกันครับ...

    เอาหละสิครับ....ตกลงองค์ไหนแท้องค์ไหนเทียมกันหละครับ ????
    ตามประวัติการสร้างผมไม่แน่ใจว่าลุงพุฒจะผสมมวลสารพวกผงเกสรแบบสมเด็จด้วยหรือไม่นะครับ....

    ถ้าประวัติการสร้างระบุว่าไม่มีการผสมผงเกสร...คิดว่าคำตอบก็น่าจะเฉลยออกมาแล้วหละครับ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • aaa.jpg
      aaa.jpg
      ขนาดไฟล์:
      225 KB
      เปิดดู:
      3,608
  19. xlmen

    xlmen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +3,291
    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->
    องค์นี้ผิวเนื้อและพิมพ์คล้ายพระของลพ.แพ วัดพิกุลทองมากเลยครับ...(ผิวใช้โดนเหงื่อ)

    ดูจากสีเนื้อและความเก่าของผิวปูนแล้วน่าจะเป็นพระยุคหลังนะครับ....บางทีอาจจะเป็นพระยุคเดียวกับลป.นาค ก็เป็นได้ครับ

    ขออภัยครับคุณHAMMERHEAD....ผมลืมเปิดดูกระทู้ก่อนหน้าที่คุณบุพนิมิตนำมาลงให้ชมหนะครับ หุหุ

    วันนี้เลยลองนำพระเครื่องของหลวงปู่หิน มาให้ชมบ้างนะจ๊ะ<----จาก คุณHAMMERHEAD
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2011
  20. chaiyaput

    chaiyaput เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    904
    ค่าพลัง:
    +1,146
    เรียน ท่านอาจารย์ทั้งสอง ผมขอต่อสมเด็จองค์สีเขียวก้านมะลินะครับ(ไม่ทราบผมเข้าใจถูกต้องหรือเปล่านะครับ)
    และขอขอบพระคุณท่านอาจารย์xlmenสำหรับพิมพ์ลุงพุฒครับ
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 41p.JPG
      41p.JPG
      ขนาดไฟล์:
      441.2 KB
      เปิดดู:
      4,237
    • 41p1.JPG
      41p1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      456.1 KB
      เปิดดู:
      4,464
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...