เดินถูกทางหรือเปล่าค่ะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หนูนิดค่ะ, 22 กันยายน 2010.

  1. หนูนิดค่ะ

    หนูนิดค่ะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +248
    ขอท่านผู้รู้หรือผู้ปฏิบัติอยู่ช่วยตอบหน่อยค่ะ
    1.นั่งสมาธิไปได้สักพัก (เมื่อก่อนจะนั่งนับพุทโธ123....ไปเรื่อยๆๆ) แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องนับ แค่พุทโธนับ 1-10 ก็หยุดนับ เพราะว่าจะสงบเร็วกว่าเมื่อก่อน คือหลับตาอยู่ แต่ว่าจะเห็นแสงสว่างจ้ามากๆ บางทีก็เป็นดวงแจ้งวูบวาบๆ สว่างไสวและอยู่ได้นาน เมื่อก่อนจะอยู่แป๊ปเดียว แต่ว่าเดี๋ยวนี้ จะอยู่นานคือความสว่างไสวและแสงจ้าไปหมด (อยากรู้ว่าแสงสว่างไสวคืออะไรค่ะ)

    2.เมื่อแสงสว่างจ้าอยู่ แต่ว่าหูก็ได้ยินเสียงภายนอก แต่ว่าไม่รู้สึกรำคาญ (เพราะว่านั่งสมาธิ นอกระเบียง มีเสียงรถดังมากๆ) แต่ว่าก็ไม่รำคาญ เหมือนว่าสักแต่ว่าได้ยินไป (นั่งสมาธิถ้าสงบแต่ว่าหูได้ยิน แต่ว่าไม่รำคาญ..คือ)

    3.บางที แสงสว่างจ้าและนิ่งอยู่ ก็จะจ้องมองเหมือนจับดูอยู่ (ทำถูกหรือเปล่าค่ะ)

    4.เมื่อเห็นแสงสว่างหรือนิ่งอยู่ เดี๋ยวนี้อยู่ได้นาน แต่ว่าถ้ากลับมาดูลมหายใจ แสงสว่างก็จะหายใจ สักพักก็กลับมาใหม่ (กลับไปกลับมา อยู่อย่างนี้) พยายามประคองให้อยู่ได้นานที่สุด เพราะว่าแสงสว่างความสว่างไสว ทำให้ใจอิ่มเอิบมากๆ (วิธีนี่ทำถูกต้องหรือเปล่าค่ะ)

    5.ชอบนั่งสมาธิ หันหน้าเข้าแดดเหมือนเดิม และจิตจะรวมเร็วมาก แต่เวลาที่นั่งในห้อง กลับรู้สึกอึดอัดมาก (ไม่ได้นั่งกลางแดดแต่ว่าชอบความสว่างของแสงแดดและความร้อน) เกี่ยวกันหรือเปล่าค่ะ เพราะว่านั่งในห้อง กว่าจะจิตรวมนานมากช้ามากๆ บางทีนั่งไม่ได้นานด้วยค่ะ
     
  2. sss12

    sss12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    288
    ค่าพลัง:
    +1,081
    --ขออนุญาต ตอบรวมๆหลายข้อ โดยนำคำสอนของหลวงพ่อพุธมาให้ลองพิจารณาค่ะ--

    "กำหนดจิตบริกรรมภาวนา หรือพิจารณาอันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตที่ท่านเคยคล่องตัวและเคยพิจารณาแล้ว จนกว่าจิตจะสงบ ลงมีสมาธิอันประกอบด้วยองค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เมื่อเราสามารถทำสมาธิ จิตให้เป็นวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา นั่นคือสมาธิเบื้องต้นได้เกิดขึ้นกับจิตของเราแล้วจิต ที่มีสมาธิที่ประกอบ ด้วยวิตกนั้นเป็นอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ท่านกำลังบริกรรมภาวนาพุทโธ ๆ ๆ อยู่ พอบริกรรมภาวนาไปแล้ว จิตของท่านบริกรรมภาวนาพุทโธ ๆ ๆ รั้งไม่อยู่ นั่น เรียกว่าจิตได้วิตกคือไม่ต้องตั้งใจจะบริกรรมภาวนา แต่จิตก็ภาวนาพุทโธ ๆ ๆ เอง และพร้อม ๆ กันนั้นก็มีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ในขณะจิตที่บริกรรมภาวนาพุทโธ ๆ อันนี้จิตได้วิตก วิจารในขั้นต้นในบางครั้งเราอาจจะภาวนาพุทโธ ๆ ๆ พอจิตหยุดบริกรรมภาวนาพุทโธ จิตไปนิ่งสว่างอยู่ อันนั้นจิตก็มีวิตก คือวิตกถึงความ สว่างที่มีอยู่ในจิต แล้วก็มีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ที่จิต ในขณะที่จิตมีความสงบ นิ่ง สว่าง
    อยู่นั้น จิตกลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา พร้อมกันนั้นก็มีปีติ มีความสุข และมีความ สงบ ได้ชื่อว่าได้สมาธิในขึ้นต้น


    บางที ผู้ที่ไม่รู้เรื่องของสมาธิอย่างละเอียดพอ จิตสงบลงไปสว่างโพลงขึ้นแล้ว ก็เกิดตกใจว่า ทำไมจิตของคนเรามันจึงลุกเป็นไฟขึ้นมาได้ มันเป็นอย่างนั้นก็มีในเมื่อจิตมีความสงบนิ่ง ๆ ๆ สว่าง บ่อย ๆ ๆ เข้า สมาธิคือความสงบจิตนั้น เป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญา ความสงบของจิตทำให้จิตมีพลังงาน ทำให้จิตมีสติสัมปชัญญะ เมื่อจิตมีสติสัมปชัญญะ แม้มันจะอยู่ในความสงบลึกละเอียดสักปานใดก็ตาม แต่เมื่อมันออกจากสมาธิออกจากความสงบมาแล้ว มันจะมีความคิดเกิดขึ้น ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นแหละคือปัญญา

    -- เมื่อเห็นแสงสว่างแล้วก็อย่าไปยึดนะค่ะ รู้แล้วปล่อยวางไป โดยใช้จิตที่สงบในขั้นนี้ พิจารณาให้เกิดปัญญาค่ะ ลองอ่าน ที่หลวงพ่อพุธท่านกล่าวไว้นะค่ะ----

    สมาธิต่อเนื่องวิปัสสนาทำอย่างไร

    คำว่าวิปัสสนานี้ มีอยู่ ๒ ขั้นตอน ขั้นต้นคือวิปัสสนาที่ใช้สติปัญญากำหนดพิจารณาเอาด้วยความตั้งใจ เช่น เราพิจารณาร่างกายให้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ความรู้สึกนึกคิดที่เราเรียนรู้มานั้นมานึกเอา เรียกว่าการเจริญวิปัสสนาแบบใช้สติปัญญาธรรมดาๆ… โดยความรู้สึกนึกคิดเอาเองนี่แหละ เป็นการตกแต่งปฏิปทาเพื่อให้จิตสงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้วเกิดวิปัสสนาขึ้นมาโดยอัตโนมัติ จะปฏิวัติไปสู่ภูมิรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จงทำความเข้าใจว่าถ้าสมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไร ท่านจะไม่ได้วิปัสสนาเพราะวิปัสสนามีมูลฐาน เกิดจากสมถะคือสมาธิ ถ้าสมถะคือสมาธิไม่เกิดขึ้น ท่านจะได้แค่วิปัสสนาแบบนึกคิดเอาเอง เป็นวิปัสสนาภาคปฏิบัติเท่านั้น ยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง

    - สมาธิส่งเสริมปัญญาจะปฏิบัติอย่างไร
    เมื่อจิตอยู่ในฌานขั้นที่ ๔ กายหายไปแล้ว ลมหายใจก็หายไปแล้ว ยังเหลือแค่จิตซึ่งเป็นนามธรรมปรากฏเด่นชัดอยู่เพียงดวงเดียว จิตก็ได้แต่ความนิ่งสว่างอยู่อย่างเดียว อาการแห่งความคิดต่างๆ ไม่เกิดขึ้นในขณะนั้น แล้วจิตก็รู้อยู่เพียงแค่รู้ รู้อยู่แค่เพียงความสงบ รู้อยู่แค่เพียงความเป็นกลางของจิตเท่านั้น ปัญญาความรู้ยังไม่เกิด แต่เป็นฐานที่สร้างพลังของจิต เมื่อจิตสงบอยู่ในสมาธิขั้นนี้นานๆ เข้าและบ่อยครั้งเข้า ทำให้จิตของเราเกิดมีพลังงานคือมีสมาธิความมั่นคง สติสัมปชัญญะค่อยดีขึ้นบ้าง
    ในเมื่อผู้ปฏิบัติทำจิตได้สงบขนาดนี้แล้ว เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้วอย่าไปยินดีและพอใจเพียงแต่ความสงบอย่างเดียว ส่วนมากนักปฏิบัติเมื่อทำจิตให้สงบเป็นสมาธิได้ พอถอนจิตออกจากสมาธิมาเพราะความดีใจในความสงบของจิตในสมาธิ พอรู้สึกตัวขึ้นมาแล้วกระโดดโลดเต้นลุกออกจากที่นั่ง อันนี้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ถ้าขืนทำอย่างนี้จิตมันก็ได้แต่ความสงบนิ่งเป็นสมาธิอย่างเดียว ปัญญาความรู้จะไม่เกิด
    วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ควรทำอย่างนี้ เมื่อจิตสงบดีจนกระทั่งตัวหาย เมื่อจิตถอนจากสมาธิมา พอสัมผัสรู้ว่ามีกายเท่านั้นจิตย่อมมีความคิดทันที ผู้ภาวนาอย่าเพิ่งรีบด่วนออกจากที่นั่งสมาธิเป็นอันขาด ให้ตั้งใจกำหนดทำสติตามรู้ความคิดนั้นๆ ไป ถ้าหากปฏิบัติอย่างนี้ภูมิจิตของท่านจะก้าวสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้เร็ว เพราะเมื่อจิตผ่านการสงบนิ่งมาแล้ว เมื่อเกิดความคิดอันใดขึ้นมา ความคิดมันจะแน่วแน่ คิดถึงสิ่งใดก็จะรู้ชัดเจน เพราะสติมันดีขึ้น เมื่อสติดีขึ้น ความคิดที่คิดขึ้นมา จิตก็จะมีสติตามรู้ความคิดไปเรื่อยๆ เมื่อผู้มาทำสติถ้ากำหนดตามรู้ความคิดที่เกิดดับๆ อยู่ ผลลัพธ์ก็คือว่าจะทำให้ผู้ปฏิบัติรู้พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือรู้ว่าความคิดย่อมมีเกิดขึ้น ทรงอยู่ ดับไปๆ นอกจากจะรู้พระไตรลักษณ์คือ อนัจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว ยังจะต้องรู้ทุกขอริยสัจจ์ เพราะความคิดเท่านั้นที่จะมาแหย่ให้เราเกิดความสุขความทุกข์ เกิดความยินดียินร้าย เมื่อเรากำหนดสติตามรู้อย่างไม่ลดละ เราก็จะรู้พระไตรลักษณ์ รู้ทุกขอริยสัจจ์ที่จะพึงเกิดขึ้นกับจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2010
  3. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ในขณะจิตเป็นสมาธิ รู้แล้วเฉยนั้น รู้ไปเรื่อยๆ ผลของสภาวะต่างๆจะปรากฏหลังจากนั้นครับ

    อนุโมทนาครับ
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ที่พูดมานั้น ยังไม่ถือว่า เป็นสมาธิจิตดีพอครับ
     
  5. เป็ดเซ็ง

    เป็ดเซ็ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    100
    ค่าพลัง:
    +858
    หนูนิดค่ะ

    1.นั่งสมาธิไปได้สักพัก (เมื่อก่อนจะนั่งนับพุทโธ123....ไปเรื่อยๆๆ) แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้องนับ แค่พุทโธนับ 1-10 ก็หยุดนับ เพราะว่าจะสงบเร็วกว่าเมื่อก่อน คือหลับตาอยู่ แต่ว่าจะเห็นแสงสว่างจ้ามากๆ บางทีก็เป็นดวงแจ้งวูบวาบๆ สว่างไสวและอยู่ได้นาน เมื่อก่อนจะอยู่แป๊ปเดียว แต่ว่าเดี๋ยวนี้ จะอยู่นานคือความสว่างไสวและแสงจ้าไปหมด (อยากรู้ว่าแสงสว่างไสวคืออะไรค่ะ)

    เป็นนิมิต หรือเรียกว่า นิมิตโอภาส มักจะเริ่มปรากฏตั้งแต่ อารมณ์อุปจารสมาธิ ขึ้นไป แต่บางท่านก็ไม่เกิด ..

    2.เมื่อแสงสว่างจ้าอยู่ แต่ว่าหูก็ได้ยินเสียงภายนอก แต่ว่าไม่รู้สึกรำคาญ (เพราะว่านั่งสมาธิ นอกระเบียง มีเสียงรถดังมากๆ) แต่ว่าก็ไม่รำคาญ เหมือนว่าสักแต่ว่าได้ยินไป (นั่งสมาธิถ้าสงบแต่ว่าหูได้ยิน แต่ว่าไม่รำคาญ..คือ)

    อาการของ ปฐมฌาณ คือ ฌานที่ ๑ ตัดวิตก ถ้าคำภาวนาหายไป เป็น ฌานที่ ๒ (ตัดวิจารย์ )

    3.บางที แสงสว่างจ้าและนิ่งอยู่ ก็จะจ้องมองเหมือนจับดูอยู่ (ทำถูกหรือเปล่าค่ะ)

    รู้ก็สักว่ารู้ เห็นก็สักแต่ว่าเห็น จิตก็เข้า ฌานที่สูงกว่าเอง ไม่ควรไปยึดติดในนิมิต

    4.เมื่อเห็นแสงสว่างหรือนิ่งอยู่ เดี๋ยวนี้อยู่ได้นาน แต่ว่าถ้ากลับมาดูลมหายใจ แสงสว่างก็จะหายใจ สักพักก็กลับมาใหม่ (กลับไปกลับมา อยู่อย่างนี้) พยายามประคองให้อยู่ได้นานที่สุด เพราะว่าแสงสว่างความสว่างไสว ทำให้ใจอิ่มเอิบมากๆ (วิธีนี่ทำถูกต้องหรือเปล่าค่ะ)

    จิตเริ่มมีกำลังเรียกว่า วสี ควรจะทำตาม ข้อ ๓ เพราะจุดมุ่งหมายของการทำสมาธิ อยู่ที่ฌาน ๔ เพื่อความตั้งมั่นของจิต ในการประหานกิเลส

    5.ชอบนั่งสมาธิ หันหน้าเข้าแดดเหมือนเดิม และจิตจะรวมเร็วมาก แต่เวลาที่นั่งในห้อง กลับรู้สึกอึดอัดมาก (ไม่ได้นั่งกลางแดดแต่ว่าชอบความสว่างของแสงแดดและความร้อน) เกี่ยวกันหรือเปล่าค่ะ เพราะว่านั่งในห้อง กว่าจะจิตรวมนานมากช้ามากๆ บางทีนั่งไม่ได้นานด้วยค่ะ

    ไม่เกี่ยว การฝึกสมาธิ เราควรทำได้ทุกที่ ไม่ว่าลืมตา หรือหลับตา อย่าติดในนิมิต และควรหมั่นพิจารณา ร่างกาย คือขันธ์ ๔ โดยโยงเข้าหา กฏของไตรลักษณ์ และ อริยสัจน์ ๔ เพื่อผลของวิปัสนาญาน
     
  6. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    แสดงว่าได้สมาธิครับ

    แสงสว่าง (โอภาส) เกิดได้ในการทำสมาธิ เมื่อจิตรวม เป็นได้ครับและหลายคนก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน

    แต่ให้รู้ทันว่า โอภาสหรือแสงสว่างนี้ ถือว่าเป็นกิเลสหนึ่งในสิบอย่างที่เกิดจากการทำสมาธิ ที่เรียกว่า วิปัสสนูกิเลส วิปัสสนูกิเลสจะเป็นสาเหตุให้การปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้าหรือเนิ่นช้า หาทางข้ามไปให้ได้ครับ มีสติรู้อยู่ เกิดขึ้นมาได้ เปลี่ยนแปลงไปได้ และ ก็ดับไปได้เหมือนกัน

    เมื่อจิตสงบหรือเกิดความสว่างจ้า ลองน้อมจิตกลับมาที่กายเราซิครับ จะทำให้รู้เห็นอะไร ๆ ในกายเราแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น มีประโยชน์กว่าไปยินดีกับแสงสว่าง แสงสว่างอิ่มเอิบจริง แต่ยังไม่ได้ทำให้รู้เห็นสิ่งที่น่าจะรู้จะเห็นไปกว่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2010
  7. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ....แสงสี นั้น ท่านว่า เป็น นิมิตร แห่งอานาปานสติ...เป็นเพียงสัญญาณว่าเข้าถึงจุดของอานาปานสติ.....อย่าพึงยืดเอาถือไว้ จับลมหายใจต่อ จนถึงที่สุดของอารมณ์(สงบจาก กาย ตามกำลัง)...เป็นสมถกรรมฐาน

    ....อารมร์สงบจากกาย(ตั้งแต่ ปฐมฌานขึ้นไป) พอแก่กำลังใจขณะนั้นแล้ว พึงพิจรณาร่างกาย ตามนัย แห่งคำสอนของพระศาสดา....จะดี
     
  8. หนูนิดค่ะ

    หนูนิดค่ะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +248
    ขอขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาให้คำตอบค่ะ (deejai)
     
  9. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    เริ่มต้นเดินถูกทางคือ ให้มีสติอยู่กับตัวบ่อย ๆ มีสัมปชัญญะอยู่กับปัจจุบัน ให้รู้เนื้อรู้ตัวในปัจจุบัน จิตเกิดอาการให้ดับ ไม่ต้องไปคิด กังวล หรือสงสัยอะไรมาก ดับไปก่อน เอาให้นิ่งให้สงบ เวลาทำงานในชีวิตประจำวันก็เหมือนกันให้มีสติระลึกรู้ตัวเสมอ ๆ ถ้าจิตจะเกิดอาการให้รีบดับ ดับ ๆ ๆ ไปก่อน เช่น รู้สึกหงุดหงิด รำคาญ เบื่อหน่าย ท้อแท้ หรือแม้แต่การหลงไปวิจารณ์เพ่งโทษผู้อื่น รู้ตัวแล้วให้รีบดับ อย่าปล่อยให้หลงไปตามความเคยชินเช่นเคย ฝืน ทวนกระแส จิตจะได้มีกำลัีง สร้างกำลังจิตขึ้นมาจากการทวนกระแสนี้แหละ อย่าคิดมาก ตัดไฟเสียตั้งแต่ต้นลม ถ้าจิตมีกำลัง จิตนิ่งดี เวลาจิตกระเพื่อมจะเห็นอาการกระเพื่อมของจิตได้ดี..ลองทำดู ฝึกให้ชำนาญ ยืน เดิน นั่ง นอน เอาให้นิ่งให้สงบ
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เจตนาคุณหนูนิดทำกรรมฐานเพื่อจุดประสงค์ใดครับ
     
  11. หนูนิดค่ะ

    หนูนิดค่ะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +248

    สร้างบุญบารมีให้ตัวเองเท่านั้น ...คนเราเวลาตายอะไรเอาไปไม่ได้ นอกจากบุญกับบาปที่ทำไว้

    ...เคยฟังพระท่านสอนว่า เกิดมาอย่าให้เสียเวลาเกิด ให้หมั่นภาวนาไว้บ้าง...เลยฉุกคิดได้ว่า ทำดีกว่าไม่ทำ...ทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ถึงฝั่งจ้า...(deejai)
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ถ้าสร้างบุญบารมี ให้กับตัวเอง ต้องเตือนตน เวลาทำสมาธิว่า นิ่งให้เป็น หยุดให้เป็น เอาเท่านั้น จิตจะสอดส่ายไปในทิศทางใด แสดงว่ายังไม่หยุด จิตสัมผัสกับสุข ก็แสดงว่ายังไม่หยุด หยุดนี้คือ นิ่งในอาการทั้งปวง เรียกว่า อุเบกขา เอกคตา

    ดังนั้น เวลาที่เราทำสมาธิ แม้ว่า เราจะนิ่งแล้ว เราก็ต้องมีสติอย่าให้มันสอดส่าย เอานิ่งนั้นแหละ เป็นตัวรู้ กำกับให้อยู่เฉยๆ แล้วจะดีเอง
     
  13. หนูนิดค่ะ

    หนูนิดค่ะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +248

    ขอบพระคุณมากๆค่ะ .. jaah
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ถ้างั้นก็ได้บุญแล้วล่ะครับ ทำต่อไป
     
  15. guaregod

    guaregod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +1,009
    เปลือกตาบาง เวลาหันเข้าแสง ก็จะเห็นแสงเป็นวงเข้ามา เป็นเรื่องปกติ เพราะุคุณชอบใช้แสงที่ทะลุผ่านเปลือกตามาเป็นจุดที่ใช้เพ่ง
     
  16. belives

    belives เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +234
    รู้ไหมว่ายากแค่ไหน กว่าจะนั่งเห็นดวงสว่าง

    คุณนะมาถูกทางแล้ว

    ให้เดินทางสายกลาง นะครับ ตามแนววิชชาธรรมกาย

    น้อมนำดวงนั้นไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 (กลางทองเหนือสะดือ 2 นิ้ว)

    ให้เอาใจหยุดที่ กลางดวงนั้น ก็จะเกิดดวงใหม่ขึ้นมา สว่างกว่าเดิม ใสกว่าเดิม

    เมื่อหยุดเข้าไปเรื่อยก็ ก็จะเห็นกายในกาย เป็นต้น

    จนกระทั่งถึงพระธรรมกาย แล้วความลับของชีวิตก็จะถูดเปิดเผยด้วยตัวของคุณเอง

    แนววิชชาธรรมกาย นี่แหละนี้ต้องที่สุด

    ลองโหลดคู่มือดูนะครับ http://www.kalyanamitra.org/book/pdf/handbook_sompan.pdf
     
  17. หนูนิดค่ะ

    หนูนิดค่ะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +248
    บางครั้งก็นั่งในที่ ร่ม ค่ะ ก็เห็นแสงเหมือนกันค่ะและดวงๆวูบไปวูบมา เพียงแต่นั่งในที่ร่มหรือในห้อง จะรู้สึกว่าจิตสงบได้ช้า กว่านั่งในที่สว่างค่ะ...


    ตัวเองก็คิดแบบนี้เหมือนกันค่ะ ทำไปเรื่อยๆ ไม่ได้คาดหวังอะไรมากมายนักทำหน้าที่ของชาวพุทธ...
    แต่ว่าตัวเองน่ะ ปฏิบัติแบบเรื่อยๆ ปีนี้เข้าปีที่ 18 แล้วค่ะ ก็ได้เท่าที่เล่าให้ฟังค่ะ....
    (ping)(ping)(ping)
     
  18. หนูนิดค่ะ

    หนูนิดค่ะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +248
    ขอบพระคุณสำหรับคำชมค่ะ...แต่ที่ว่าลองภูมิชาวบ้านเขา...นั่นไม่ใช่ค่ะ เพราะตัวเองอยากรู้อะไรก็ถามแบบนั้นค่ะ เผื่อว่าจะได้คำตอบที่เราไม่รู้ไงค่ะเผื่อเป็นแนวทางให้ตัวเองเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นค่ะ
    ซึ่งบางคำตอบก็น้อมรับและคิดพิจารณาตามค่ะ..และทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ
    คนเรานั้นทุกวันนี้จิตสับสนวุ่นวายไปตามโลก (ตามความคิดตัวเอง) ถ้าหันหน้าเข้ามาภาวนาบ้างตามเวลาและโอกาสเอื้ออำนวย ก็จะทำให้ได้พักจิตพักใจได้บ้าง
    ดูแค่ตัวเองเท่านั้นค่ะ ว่าทำอย่างไรหรือหาทางอย่างไรให้จิตของตัวเราสงบค่ะ
     
  19. หนูนิดค่ะ

    หนูนิดค่ะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +248
    ก็เป็นผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้นค่ะ...ที่พยายามใฝ่หาธรรมใส่ตัว
    ถ้าเมื่อก่อนไม่ได้ศึกษาธรรม ก็คงฟุ้งซ่านไปตามกิเลสไม่มากก็น้อย ยังมี โกรธมากๆๆๆๆๆๆและรู้สึกไม่ยอม
    แต่ ณ ปัจจุบันนี้เวลานี้ ได้เห็นตัวโกรธและไม่ยอมแล้วค่ะ มันน่ากลัวมากๆๆ
    น้อมใจเข้าไปดูตัวโกรธของตัวเอง ก็เลยได้ฉุกคิดว่า ถ้าให้มันอยู่กับจิตเรา ก็จะทำให้ใจเศร้าหมอง ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2010
  20. P_first

    P_first สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2010
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +8
    ขออนุโมทนาครับ ทำไปเถิดครับ หนทางยังอีกยาวไกล สิ่งที่เห็นก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติเปรียบเสมือนเราเดินทางไปไหนเราก็ย่อมเห็นอะไรจากการเดินทางถ้าเราหยุดดูมันก็จะทำให้เสียเวลาในการเดินสู่เป้าหมายแห่งการเดินทาง ไม่ต้องสงสัย รู้ว่าเห็นก็พอ แล้วก็เดินทางต่อไป อย่าหยุดนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...