การเดินทางอันยิ่งใหญ่

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย piyaa, 12 สิงหาคม 2010.

  1. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    <center></center> พระโพธิธรรมพระเถระชั้นสูงชาวอินเดีย ซึ่งในนิยายจีนกำลังภายใน เรียกขานพระนามว่า " ปรมาจารย์ตั๊กม๊อ " หรือ "ผู่ ถี ต๋า ม๋อ"

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="100%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="267"> <tbody><tr> <td width="128">ผู่ ถี หรือ โพธิ</td> <td width="139">หมายถึง ผู้รู้</td> </tr> <tr> <td>ต๋า ม๋อ</td> <td width="139">หมายถึง ธรรมะ</td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table>

    พระโพธิธรรมมหาเถระ ออกเดินทางจากอินเดียโดยลงเรือโต้คลื่นลมฝามรสุม มุ่งสู่ประเทศจีน
    กล่าวกันว่าช่วงเวลานั้น แม้ในประเทศจีนจะมีพระพุทธศาสนาสถาปนาขึ้นแล้ว แต่พุทธบริษัททั้งหลายปฏิบัติธรรมกันแต่เพียงผิวเผิน การสวดมนต์ภาวนา ศึกษาธรรม ก็มิได้ทำอย่างจริงจังกระทั่งเล่าเรียนพระไตรปิฎก ก็หวังเพียงประดับความรู้ หรือไม่ก็ใช้เป็นข้อถกเถียงเพื่ออวดภูมิปัญญา
    จะกล่าวไปไยกับการมุ่งปฏิบัติสมาธิวิปัสสนา ช่างยากที่จะหาคนทุ่มเทฝึกฝน คนก็คือคน นั่งนานก็บ่นว่าเมื่อย ล้วนกลัวความยากลำบาก ไม่จริงใจในการปฏิบัติ แต่ร่ำร้องจะเอามรรคผล
    แท้จริงแล้ว ก่อนหน้าที่พระอาจารย์ตั๊กม๊อจะเดินทางมาจีนท่านได้ส่งพระภิกษุสาวก ๒ รูป ให้เดินทางมาสำรวจดูลู่ทางก่อนแต่ทว่าเมื่อศิษย์ทั้งสองมาถึงแผ่นดินจีน กลับไม่ได้รับการต้อนรับหรือสนับสนุนจากทั้งนักบวชและผู้คนทั้งหลายเท่าที่ ควร
    ในที่สุดพระภิกษุทั้งสองรูป จาริกมาถึงที่ หลู่ ซัน ได้พบปะกับอาจารย์ ฮุ่ย เอวียน ไต้ชือ ผู้ซึ่งคร่ำเคร่งต่อการท่องสวด
    ท่าน ฮุ่ย เอวียนไต้ซือ ได้ถามศิษย์ของพระอาจารย์ตั๊กม๊อว่า
    "ท่านทั้งสองเป็นภิกษุอินเดีย นำธรรมะอะไรมาเผยแพร่?แล้วทำไมผู้คนถึงไม่ศรัทธา? "
    เวลานั้นภิกษุทั้งสอง พูดภาษาจีนได้น้อยมาก ไม่รู้จะ อธิายอย่างไรจึงได้แต่แบมือยื่นออกไปแล้วตวัดกลับมาอย่างรวดเร็วพร้อมทั้ง เอ่ยขึ้นว่า
    "มันเร็วไหม? "
    ท่านฮุ่ย เอวียน ไต้ซือ ก็ตอบว่า
    "ใช่...เร็วมาก"
    ศิษย์ของอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงกล่าวว่า
    "โพธิ และ ทุกข์ ก็เร็วเช่นนี้แหละ"
    เมื่อนั้น ท่าน ฮุ่ย เอวียน ไต้ซือ ก็บังเกิดความสว่างจิตรู้แจ้งในทันที และได้เปล่งอุทานธรรมขึ้นว่า
    "ทุกข์ คือ สุข...สุข คือ ทุกข์
    ไม่แตกต่าง..ทั้งสองอย่างเกิดดับอยู่ที่ "ใจ"
    อยู่ข้างไหน...ก็ขึ้นอยู่กับใจที่สำแดง"
    หลังจากที่ท่าน ฮุ่ย เอวียน ไต้ชือ รู้แจ้งในธรรมแล้ว จึงกล่าวนิมนต์ให้พระภิกษุอินเดียทั้ง ๒ รูป อยู่พำนักจำพรรษาที่อารามของท่าน แต่ช่างน่าเสียดายที่ต่อมาไม่นานศิษย์ทั้งสองของอาจารย์ตั๊กม๊อก็ดับขันธ์ไป ในวันเดียวกัน ชึ่งสถานที่บรรจุสรีระสังขารของทั้งสองท่าน ก็ยังคงปรากฏอยู่ ณ เขา หลู่ ชัน เป็นหลักฐานตราบจนทุกวันนี้
    ต่อมาเมื่อพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้พิจารณาเห็นถึงวาระอันควรท่านจึงประกาศต่อบรรดาสานุศิษย์ในอินเดียว่า
    "บัดนี้เวลาแห่งการปฏิบัติภาระกิจสำคัญมาถึงแล้วอาจารย์ต้องนำเอาหลักธรรมอันยิ่งใหญ่ ไปสู่แดนบูรพา"
    พระโพธิธรรม พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๒๘ ผู้รับสืบทอดวิถีธรรมตรง จึงลงเรือออกเดินทางโดยมิได้ย่อท้อต่อความลำบากเหนื่อยยาก มีเพียงความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบหลักแห่งจิตญาณอันเที่ยงแท้ เพื่อฉุดช่วยเวไนยสัตว์ทั้งปวง
    ด้วยรูปลักษณ์ของพระองค์ท่าน ที่เป็นชาวอินเดียมีหนวดเคราดกรุงรัง นัยน์ตาทั้งคู่กลมโต ผิวดำคลา ชาวบ้านที่พบเห็น ก็จะหลอกลูกหลานว่า พระแขกจะมาจับตัว เพื่อให้เด็กๆกลัว ฉะนั้นแม้ว่าท่านจะเดินไปทางไหน เด็กๆก็จะพากันวิ่งหนีเข้าบ้านหมดบางคราวต้องฝ่าแดดกรำฝน ท่านก็จะดึงเอาผ้าจีวรขึ้นคลุมศีรษะกันร้อนกันหนาว นานวันผ้าจีวรที่ห่มอยู่ก็ชำรุดคร่ำคร่าเปื่อยขาดอันเนื่องจากการรอนแรมนาน ถึง ๓ ปี!
    <center> [​IMG]
    ภาพศิลาจารึก พระสังฆปริณายกองค์ที่ ๑.
    </center>
    พระโพธิธรรม มหาครูบา. ภาษาจีนที่เห็นนั้น แต้จิ๋วอ่านว่า "ตงโท้วชอโจ้ว ผู่ที้ตกม้อใต้ซือ" ปฐมาจารย์องค์แรกจากอินเดียนำพระพุทธศาสนา นิกายเซ็น (ฌาน) สู่แผ่นดินจีน ชาวจีนนิยมเรียกสั้นๆว่า "ชอโจ้ว หรือ อิ๊ดโจ้ว" หมายว่าองค์แรกคือที่ ๑. หรือ"ตกม้อโจ้วซือ" (ถ้านับจากอินเดียตามสายลงมาเป็นอันดับองค์ที่ ๒๘) <center>รับนิมนต์จากองค์ฮ้องเต้</center>
    กระทั่ง ณ วันที่ ๒๑ ค่ำเดือนเก้า สมัยราชวงศ์เหลียงบู๊ตี้ประมาณปีพุทธศักราช ๑๐๗๐ ท่านจึงมาถึงยังฝั่งเมืองกวางโจว
    ขณะนั้น พระเจ้าเหลียงบู้ตี๊ พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาพุทธศาสนามาก ทรงถือศีลกินเจอยู่เป็นประจำ เมื่อข่าวการมาถึงของพระอาจารย์ตั๊กม๊อถูกรายงานไปยังราชสำนัก พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงปิติยินดี ยิ่งจึงได้มีพระกระแสรับสั่งให้อาราธนาเข้าเฝ้าทันที
    ในปีนั้นเองพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้รับนิมนต์จากพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ไปยังนานกิงนครหลวงเพื่อถกปัญหาธรรม
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ได้ตรัสถามพระอาจารย์ตั๊กม๊อว่า
    "ตั้งแต่ข้าพเจ้าครองราชย์มา ได้สร้างวัดวาอาราม โบสถ์วิหาร และพระคัมภีร์มากมาย อีกทั้งอนุญาตให้ผู้คนได้บวช โปรยทาน ถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนทะนุบำรุงพระศาสนามากมาย ไม่ทราบว่าจะได้รับกุศลมากน้อยเพียงใด? "
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า
    "ที่มหาบพิตรบำเพ็ญมาทั้งหมด เป็นเพียงบุญกิริยาทางโลกเท่านั้น ยังมิใช่กุศลแต่อย่างใด"
    การที่ท่านตอบเช่นนั้น ก็เพราะพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้มีความเข้าพระทัยผิด ดั่งที่แม้ปัจจุบันผู้คนก็จะคิดว่า "บุญ" และ "กุศล"เป็นอย่างเดียวกัน จึงเรียกสับสนปนเปกันไป
    แท้ที่จริง การให้ทานเงินทอง วัตถุสิ่งของ อาหาร หรือสร้างวัดวาอาราม ฯลฯ เรียกว่า "บุญ" หมายถึง ส่งที่ทำให้ฟูใจทำให้ใจมีปิติอิ่มเอมเท่านั้น ส่วน "กุศล" หมายถึงสิ่งที่จะช่วยขจัดเครื่องกางกั้น ช่วยให้จิตหลุดรอดไปจากสิ่งครอบคลุมห่อหุ้ม"พุทธะจิตธรรมญาณ" ฉะนั้นกุศลที่แท้ คือ ความรู้แจ้งทางจิตใจคือปัญญาอันผ่องแผ้วสมบูรณ์ เป็นความว่าง สงบจากกิเลส
    เวลานั้นพระเจ้าเหลี่ยงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
    "อริยสัจ คืออะไร? "
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่มี"
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
    "เบื้องหน้าข้าพเจ้านี้ คือใคร?"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่รู้จัก"
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงได้ยินคำตอบเช่นนั้น ไม่ค่อยพอพระทัย
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นว่า พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงสั่งสมภูมิปัญญายังไม่แก่กล้าพอที่จะบรรลุได้ จึงทูลลาจากไป
    เมื่อท่านเดินทางพ้นจากเมืองไปแล้ว พระธรรมาจารย์ปอจี่เชี้ยงซือ คือ พระเถระผู้ทรงปราดเปรื่องรอบรู้พระไตรปิฎกได้เข้าเฝ้าแล้วกราบทูลถามพระเจ้า เหลียงบู๊ตี้ว่า
    "พระภิกษุอินเดียรูปนั้น ขณะนี้พำนักอยู่ที่ใด? "
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงตรัสว่า
    "จากไปแล้ว.....ท่านเป็นใครหรือ? "
    พระธรรมจารย์ ปอจี่เซียงซือ กราบทูลว่า
    "ท่านคือ พระกวนอิมมหาโพธิสัตว์อวตารมาทีเดียว...ฝ่าพระบาทได้พบท่าน เหมือนไม่ได้พบ ได้เห็นท่าน แต่เหมือนไม่ได้เห็น"
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงทราบเช่นนั้นจึงมีพระดำริ จะให้ทหารออกติดตามไปอาราธนาท่านกลับมา ฝ่ายพระธรรมจารย์ปอจีเซียงซือ ได้กราบทูลต่อไปอีกว่า
    "ไร้ประโยชน์...ถึงจะยกทัพไปแสนนาย ท่านก็ไม่กลับมา" <center>ชี้แนะนกแก้ว</center>
    เมื่อพระอาจารย์ตั๊กม๊อเดินทางจากเมืองหลวงแล้ว ระหว่างทางจาริกท่านได้พบนกแก้วตัวหนึ่งถูกขังอยู่ในกรง เจ้านกแก้วตัวนี้ถึงจะเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ทว่ามันมีปัญญามากกว่าคนทั่วไปเสียอีกเพราะมันสามารถล่วงรู้ด้วย สัญชาตญาณว่า มีพระอรหันต์ขีณาสพผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก เหยียบย่างมาถึงแผ่นดินนี้แล้ว
    พอเห็นพระอาจารย์ตั๊กม๊อเดินเข้ามาใกล้ เจ้านกแก้วจึงร้องเรียกขึ้นว่า
    "ท่านผู้เจริญ!....ท่านผู้สูงส่ง....ขอท่านได้โปรดเมตตาชี้แนะช่องทางให้ข้าน้อยออกจากกรงขังนี้ด้วยเถิด"
    ฝ่ายพระอาจารย์ตั๊กม๊อ เมื่อได้ยินคำวิงวอนจากนกแก้ว ก็ให้คิดคำนึงในใจว่า
    "นับตั้งแต่มาถึงแผ่นดินจีน..จนกระทั่งบัดนี้ จะหาใครบ้างที่ล่วงรู้ในจิตใจ มีใครที่มีวาสนาพอจะ แนะวิถีธรรมให้ได้บ้าง จะมีก็แต่เจ้านกแก้วตัวนี้ ที่ร้องขอเมตตา"
    ครั้นแล้ว พระอาจารย์ตั๊กม๊อ จึงโปรดชี้แนะเจ้านกแก้วไปว่า
    "สองขาเหยียดตรง สองตาปิดสนิท เท่านี้แหละ....เจ้าก็จะออกจากกรงได้"
    เจ้านกแก้วฟังแล้วก็เข้าใจความหมายทันที มันจึงเฝ้ารอคอยให้เวลามาถึง ทั้งนี้เพราทุกๆเย็น เมื่อเจ้าของนกแก้วกลับถึงบ้าน ก็จะแวะหยอกล้อกับมันเป็นกิจวัตร
    ดังนั้นพอนกแก้วเห็นนายของมันเดินมาแต่ไกล มันจึงรีบล้มตัวลงนอน หลับตาสนิท เหยียดขาตรง ทำตัวแข็งทื่อ
    ครั้นเจ้าของมองดูในกรง เห็นนกแก้วแสนรักของตนนอนแน่นิ่งไม่ไหวติงเช่นนั้นก็ตกใจ รีบเปิดกรงเอื้อมมือเข้าไปประคองอุ้มมันออกมาเพื่อตรวจดูว่าเป็นอะไร แต่เอ๊ะ...ทำไมตัวมันยังคงอุ่นๆอยู่ทันใดนั้นเอง เจ้านกแก้วชึ่งรอคอยโอกาสอยู่ก็กางปีกบินหนีไปอย่างรวดเร็ว มันโผบินขึ้นสู่ท้องฟ้า ด้วยความสุขสำราญและอิสระเสรีอย่างที่สุด
    หันมามองดูมนุษย์ในโลกกันบ้าง ถึงไม่ได้ถูกจับใส่กรงขัง ก็อย่าหลงนึกไปว่าตนเองอิสระ ผู้คนทั้งหลาย บ้างนึกอยากจะกินก็กินใครอยากจะดื่มก็ดื่ม สำมะเลเทเมาสนุกให้สุดเหวี่ยง ไม่มีศีล ไม่มีสัจจ์ ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีความถูกต้อง ไม่เห็นความดีงามความควรไม่ควรไม่มีอยู่ในสายตา ทำทุกอย่างตามความพอใจของตนแล้วคิดว่านั่นเป็น ความอิสระเสรี
    แท้จริงมันเป็นอิสระจอมปลอม เป็นชีวิตที่ไร้แก่นสารไร้สาระความหมายที่แท้จริงของ "ชีวิตอิสระ" คือ อิสระจากการเกิด-ตาย
    ไม่ใช่ทุกคนที่อยากเกิด แต่ก็ต้องเกิด
    และไม่ใช่ว่าทุกคนอยากตาย แต่ก็ต้องตาย
    ใครบ้างเลือกได้ หรือ เลี่ยงได้
    มีเพียงผู้ที่อิสระแท้จริงเท่านั้นที่อยู่เหนือโลก คือ สามารถพ้นเกิดตาย เจ้านกแก้วเป็นตัวอย่างของการไปให้ถึงความเป็นอิสระ
    คือ การ "ตาย" เสียก่อน "ตาย"
    ผู้ที่สามารถ ตายจาก รัก โลภ โกรธ หลง
    ตายจาก ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
    ชิวตในโลกของเขาผู้นั้นไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลสตัณหาอวิชชาทั้งหลาย เช่นนี้..จึงจะได้ชื่อว่า "ตายก่อนตาย" ได้สู่อิสระเสรี อย่าง แท้จริง<center>ชี้แนะเสินกวงฝ่าซือ</center>
    ย้อนกล่าวถึง พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ได้เดินทางมาถึงวัดใหญ่แห่งหนึ่ง มีท่านเจ้าอาวาสนามว่า "เสินกวง" ท่านเจ้าอาวาสรูปนี้เป็นผู้ที่มีปัญญาหลักแหลมมาก และความจำล้ำเลิศชนิดที่ว่า คนทั่วไปอ่านหนังสือกันทีละแถว แต่ท่านสามารถอ่านได้ทีละ ๑๐ แถวท่านสามารถฟังคนร้อยคนพูดในเวลาเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้นท่านสามารถแยกแยะเรื่องราวจากเจ้าของเสียงได้อย่างถูกต้อง นับว่าท่านเสินกวงฝ่าชือ เป็นพระสงฆ์อัจฉริยะองค์หนึ่ง แต่ทว่าอีกด้านหนึ่งท่านก็เป็นนักบวชที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวมากด้วยเช่นกัน ในด้านการเทศนาธรรม ท่านเจ้าอาวาสเสินกวง นับเป็นนักเทศน์ชั้นเยี่ยมยอดแห่งยุคนั้น เพราะท่านสามารถเทศน์จนศรัทธาสาธุชนที่มานั่งฟังสามารถมองเห็นภาพสวรรค์ภาพ นรกขึ้นมาได้
    วันนั้นขณะพระอาจารย์ตั๊กม๊อมาถึง ท่านเสินกวง กำลังแสดงธรรมเทศนา มีสานุศิษย์ชุมนุมอยู่เป็นจำนวนมาก พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงเข้าไปปะปนนั่งนิ่งฟังอยู่แถวหลังสุด ตอนไหนที่ถูกท่านก็ยิ้มๆ แล้วผงกศีรษะหน่อยๆ ตอนไหนที่เทศน์ผิดความหมาย..ท่านก็จะส่ายหน้าหน่อยๆ
    ฝ่ายท่านเสินกวง ผู้ซึ่งกำลังแสดงธรรมอยู่บนแทนธรรมมาสน์ เมื่อมองเห็นพระภิกษุอินเดียแปลกหน้ามาแสดงกิริยาเช่นนั้น เหมือนกับว่าเป็นการตำหนิตน ก็รู้สึกไม่สบอารมณ์บ้างแล้ว
    ครั้นการเทศนาธรรมจบลง ผู้คนเริ่มทะยอยกันกลับ พระอาจารย์ตั๊กม๊อจึงถือโอกาสเข้าไปสนทนาเพื่อหวังชี้แนะ ด้วย เห็นว่าเป็นผู้มีภูมิธรรมปัญญาเป็นฐานอยู่แล้ว
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ท่านอยู่ที่นี่ทำอะไร? "
    ท่านเสินกวง "อ้าว!...ข้าก็เทศน์ธรรมอยู่ที่นี่น่ะซิ!"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "ท่านเทศน์ธรรมเพื่ออะไร?"
    ท่านเสินกวง "เทศน์เพื่อให้ผู้คนหลุดพ้น!"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ "จะช่วยคนให้พ้น เกิดตายได้อย่างไร...ในเมื่อธรรมที่ท่านเทศน์ ก็คือ
    ตัวหนังสือบนคัมภีร์
    ตัวหนังสือดำ ก็เป็นสีดำ
    กระดาษขาว ก็เป็นสีขาว
    เทศน์ไปเทศน์มา ก็คือเทศน์ตามตัวหนังสือดำๆ บนกระดาษขาวๆ
    เมื่อถูกจู่โจมด้วยคำถามชนิดไม่ทันให้ตั้งตัว ท่านเจ้าอาวาสเสินกวงได้แต่อึกอักอ้าปากค้าง ไม่รู้จะตอบอย่างไร จากความอายกลายเป็นโกรธจัด แม้ว่ายามปกติท่านจะเป็นนักเทศน์ที่เยี่ยมยอดก็ตาม แต่คราวอารมณ์โกรธปะทุ ขึ้นมาก็จะรุนแรงราวฟ้าผ่า
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นท่านเสินกวงไม่อาจตอบก็พูดย้ำเข้าไปอีกว่า
    "นี่แหละน๊า...แผ่นดินจีนในยุคนี้
    มีธรรมะ ก็เหมือนไม่มี
    หากจะว่าไม่มี ก็มีคนพูดธรรมะกันทั้งเมือง"
    ถึงตอนนี้ ท่านเสินกวงสุดจะกันความโกรธเอาไว้ได้ จึงเหวี่ยงสายประคำฟาดไปที่หน้าของพระอาจารย์ตั๊กม๊ออย่างสุดแรงพร้อมกับ ตะโกนด่าว่า
    "นี่แน่ะ!....แกกล้าดีอย่างไร ถึงมาเป็นตัวบ่อนทำลายศาสนาที่นี่"
    จะว่าไปแล้ว พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ท่านก็เป็นผู้ล้ำเลิศในเชิงวิทยายุทธ แต่ก็มิได้หลบหลีกการประทุษร้าย ทั้งนี้เพราะท่านนึกไม่ถึงว่า บรรพชิตผู้ออกบวช อีกทั้งยังมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนมากมาย จะมากด้วยโทสะจริตจนถึงกับลงมือลงไม้กันหนักขนาดนี้ และผลจากการถูกฟาดด้วยสายประคำเส้นใหญ่อย่างแรง ทำให้ฟันคู่หน้าทั้ง ๒ ซี่ หลุดอยู่ในปาก!
    ตามตำนานโบราณได้กล่าวว่า หากแม้นองค์พระอรหันต์เจ้าผู้บริสุทธิ์พระองค์ใด ถูกล่วงเกินทำร้ายถึงกับพระทันตธาตุต้องตกล่วง แม้ว่าเศษแห่งพระทันตธาตุนั้นตกลง ณ พื้นแผ่นดินใด แผ่นดินนั้นจะต้องประสบทุพภิกขภัย แห้งแล้งติดต่อกันถึง ๓ ปี!
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อผู้เปี่ยมด้วยมหาเมตตาจิต พิจารณาว่า
    "หากแผ่นดินนี้ต้องแล้งฝน ขาดน้ำถึง ๓ ปี ชาวบ้านผู้คนเด็กเล็ก ตลอดจนสัตว์ใหญ่น้อยมากมาย จะต้องล้มตายกันนับไม่ถ้วนอันตัวเรานี้อุตส่าห์ดั้นต้นเดินทางจากแผ่นดิน เกิดมาไกลแสนไกลก็เพื่อประกอบภาระกิจโปรดเวไนยสัตว์ มิใช่กลับกลายเป็นก่อวิบากกรรมให้แก่มวลเวไนย ให้ทุกข์ยากลงไปอีก"
    ท่านดำริใคร่ครวญเช่นนี้แล้ว จึงกลืนฟันที่ถูกฟาดจนหลุดทั้ง๒ ซี่ลงไปไนท้อง ไม่ยอมบ้วนลงพื้น พระอาจารย์ตั๊กม๊อผู้มีจิตพ้นแล้วจากกิเลสใหญ่น้อยทั้งปวง ไม่มีความรู้สึกระคายเคืองใจ แม้เพียงน้อยนิต จึงได้แต่หันหลังเดินจากไปด้วยอาการสงบเย็น
     
  2. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,700
    ค่าพลัง:
    +51,933
    ขาดสัจจะ ... ปลดลดละนิสัย ความเชื่อมานะทิฐิ
    กายวาจาใจ....ไม่ตรงกัน การกระทำเที่ยงไม่เกิด นิสัยอารมณ์ไม่หมดไปได้

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     

แชร์หน้านี้

Loading...