ส่งการบ้าน...31-064 ๕.วิโมกขกถา (09)

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย deneta, 28 พฤษภาคม 2010.

  1. deneta

    deneta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    2,712
    ค่าพลัง:
    +5,723
    [๕๐๔] บุคคลเชื่อน้อมใจไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุตบุคคล
    บุคคลทำให้แจ้ง เพราะเป็นผู้ถูกต้องธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขีบุคคล
    บุคคลถึงแล้วเพราะเป็นผู้เห็นธรรม เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าทิฐิปัตตบุคคล บุคคล
    เชื่อย่อมน้อมใจไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าสัทธาธิมุตตบุคคล บุคคลถูกต้องฌาน
    ก่อน ภายหลังจึงทำให้แจ้งนิพพานอันเป็นที่ดับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากายสักขี
    บุคคล ญาณความรู้ว่า สังขารเป็นทุกข์ นิโรธเป็นสุข เป็นญาณอันบุคคล
    เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น
    จึงชื่อว่าทิฐิปัตตบุคคล ฯ
    ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้วหรือจักเจริญซึ่งเนกขัมมะ ฯลฯ บุคคล
    ทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วย
    สามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ ก็บุคคล
    เหล่าใดเหล่าหนึ่งเจริญแล้ว ย่อมเจริญ หรือจักเจริญซึ่งความไม่พยาบาท
    อาโลกสัญญา ฯลฯ ความไม่ฟุ้งซ่าน ฯ
    ก็บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งนิโรธ
    เจริญมรรค บุคคลทั้งหมดนั้น เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์
    เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่ง
    สุญญตวิโมกข์ ฯ
    [๕๐๕] การแทงตลอดสัจจะ ย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อม
    แทงตลอดสัจจะได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
    การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๔ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
    ได้ด้วยอาการ ๔ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา
    แทงตลอดสมุทัยสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปหานะ แทงตลอดนิโรธสัจ
    เป็นการแทงตลอดด้วยสัจฉิกิริยา แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วย
    ภาวนา การแทงตลอดสัจจะย่อมมีด้วยอาการ ๔ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะ ด้วย
    อาการ ๔ นี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วย
    สามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ ฯ
    การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการเท่าไร บุคคลย่อมแทงตลอด
    สัจจะได้ด้วยอาการเท่าไร ฯ
    การแทงตลอดสัจจะย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
    ได้ด้วยอาการ ๙ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยปริญญา ฯลฯ
    และการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งซึ่งมรรค ๔ แห่งนิโรธ การแทงตลอดสัจจะ
    ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๙ นี้ บุคคลแทงตลอดสัจจะด้วยอาการ ๙ นี้ เป็นสัทธาธิ
    มุตด้วยสามารถแห่งอนิมิตตวิโมกข์ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งอัปปณิหิตวิโมกข์
    เป็นทิฐิปัตตะด้วยสามารถแห่งสุญญตวิโมกข์ ฯ
    [๕๐๖] เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมรู้ย่อม
    เห็นธรรมเหล่าไหนตามความเป็นจริง สัมมาทัศนะ ความเห็นชอบย่อมมีได้
    อย่างไร สังขารทั้งปวงเป็นสภาพอันบุคคลเห็นดีแล้ว โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
    ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างไร บุคคลย่อมละความสงสัยได้
    ที่ไหน ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมเหล่าไหน
    ตามความเป็นจริง ความเห็นชอบย่อมมีได้อย่างไร สังขารทั้งปวงเป็นสภาพอันบุคคล
    เห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ ... ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมเหล่าไหน
    ตามความเป็นจริง ความเห็นชอบย่อมมีได้อย่างไร ธรรมทั้งปวงเป็นธรรมอันบุคคล
    เห็นดีแล้ว โดยความเป็นอนัตตา ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น อย่างไร
    บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในที่ไหน ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ย่อมรู้ ย่อมเห็นนิมิต
    ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สัมมาทัศนะ สังขารทั้งปวงเป็น
    สภาพอันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ด้วยความเป็นไปตาม
    สัมมาทัศนะนั้นอย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้ ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ย่อมรู้ย่อมเห็นความเป็นไปตาม
    ความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าสัมมาทัศนะ สังขารทั้งปวงเป็นสภาพ
    อันบุคคลเห็นดีแล้วโดยความเป็นทุกข์ ด้วยความเป็นไปตามสัมมาทัศนะนั้น
    อย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้ ฯ
    เมื่อบุคคลมนสิการโดยความเป็นอนัตตา ย่อมรู้ย่อมเห็นนิมิตและความเป็น
    ไปตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สัมมาทัศนะ ธรรมทั้งปวง
    เป็นธรรมอันบุคคลเห็นดีแล้ว โดยความเป็นอนัตตา ด้วยความเป็นไปตาม
    สัมมาทัศนะนั้น อย่างนี้ บุคคลย่อมละความสงสัยได้ในสัมมาทัศนะนี้ ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัศนะ และกังขาวิตรณะ (ปัญญา
    เครื่องข้ามความสงสัย) มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถ
    อย่างเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ
    ธรรมเหล่านี้ คือ ยถาภูตญาณ สัมมาทัศนะ และกังขาวิตรณะ มีอรรถ
    อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ฯ




    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.979047/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    <TABLE cellPadding=6 width=500><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,843
    สาธุ
    คุณเดเน็ตต้าเสียงดี เหมาะกับการอ่านมากเลยค่ะ
    เหมือนฟังมืออาชีพอ่านเลยทีเดียว
     

แชร์หน้านี้

Loading...