รวมฮิตปัญหาการนอนคนยุคใหม่

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย dhamaskidjai, 29 กรกฎาคม 2010.

  1. dhamaskidjai

    dhamaskidjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,855
    ค่าพลัง:
    +5,727
    [​IMG]

    การนอนที่มีคุณภาพจึงเท่ากับเป็นการใช้เวลาช่วงหนึ่งของชีวิตที่คุ้มค่าทว่า คนจำนวนไม่น้อยกลับมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ ฉะนั้นการใช้ชีวิตและการทำความเข้าใจธรรมชาติของการนอนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อการป้องกันไม่ให้กิจวัตรที่แสนธรรมดากลายร่างเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิต

    1.การนอน เรื่องสำคัญของคนทุกวัย

    แพทย์ หญิงวิสาข์สิริ ตันตระกูล หน่วยโรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤติ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าวว่า

    “การนอนมีความสำคัญต่อ มนุษย์มากไม่เช่นนั้นร่างกายจะทำงานตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีการหยุดพัก นอกจากนี้การนอนหลับยังเป็นการผ่อนคลายสมองอย่างแท้จริง เพราะการนอนหลับเป็นกิจกรรมที่เริ่มต้นที่สมองเป็นอันดับแรก”

    อาจารย์ สาทิส อินทรกำแหง กูรูชีวจิต กล่าวถึงความสำคัญของการนอนในหนังสือ ชีวจิต การใช้ชีวิตอย่างเข้าใจธรรมชาติว่าการนอนหลับคือ การระบายท็อกซินออกจากสมอง

    “การทำงานของสมองไม่เหมือนการทำงานของร่างกายส่วนอื่นๆ ในระหว่างที่เราตื่นเซลล์สมองติดต่อกันเองไม่ได้ต้องผ่านตัวกลางหรือ Neurotransmitter

    “โดยเหคุที่มีรั้วกั้น แต่ละเซลล์ของสมองไม่มีโอกาสเคลียร์ตัวเอง จะมีโอกาสก็ต่อเมื่อนอนหลับและตัวกลางเริ่มผ่อนคลาย การระบายท็อกซินจึเริ่มทำได้ โดยเหตุนี้เมื่อเรานอนหลับสนิท สมองได้พักผ่อน ท็อกซินได้ระบายออก เมื่อตื่นขึ้นมา สมองจึงแจ่มใสและสดชื่น”

    นอกจาก เป็นการผ่อนคลายสมองโดยตรงแล้ว การนอนยังมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกายด้านอื่นอีกมากมาย อาทิ ช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมอวัยวะทุกระบบ ลดการใช้พลังงานของร่างกาย ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และจดจำ เพราะขณะหลับ สมองจะเรียบเรียงข้อมูลที่ได้รับในช่วงกลางวันไปประมวลเป็นความจำระยะยาว

    นอก จากมีความสำคัญต่อร่างกายมากมายเกินนึกถึงแล้ว การนอนหลับยังมีความซับซ้อนที่น่าสนใจอีกมากมายค่ะ

    2.วงจรมหัศจรรย์ของการนอน

    เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมตกกลางคืนเราจึงง่วงนอน ต้องเข้านอนและตื่นขึ้นยามเช้าพร้อมความสดชื่น วงจรนี้วนเวียนอยู่กับชีวิตเราทุกวัน โดยไม่สามารถบังคับได้ สาเหตุเป็นเพราะสมองมีกลไกวิเศษควบคุมวงจรนี้อยู่ค่ะ

    คุณหมอวิสาข์สิริ กล่าวว่า

    “การตื่น การง่วง และการนอนของมนุษย์เกิดจากการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์สมองที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะทุกส่วนให้เหมาะสมตามเวลา เช่น ในตอนกลางคืนระบบนาฬิกาชีวภาพจะกระตุ้นให้สมองหลั่งสารที่ทำให้รู้สึกง่วง นอน เมื่อฟ้าเริ่มสว่างระบบนาฬิกาชีวภาพก็จะกระตุ้นให้สมองหยุดหลั่งสารที่ทำให้ ง่วงนอน และกระตุ้นให้ร่างกายตื่น

    “นอกจากนี้ระบบนาฬิกาชีวภาพยังทำงาน ร่วมกับระบบสมดุลของการนอน(Sleep Homeostasis) ซึ่งทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างการตื่นและการนอนหลับให้พอดี โดยมีหลักการว่า ยิ่งเราตื่นนานเท่าไร สมองก็จะยิ่งหลั่งสารอะดีโนซิน (adenosine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ง่วงนอนมากขึ้นเท่านั้น”
    แทบไม่น่า เชื่อใช่ไหมคะว่ากิจวัตรที่แสนธรรมดาจะมีกลไกที่ซับซ้อนไม่ต่างจากโปรแกรม คอมพิวเตอร์เลย

    3.ยานอนหลับ ตัวช่วยการนอนแสนอันตราย

    “การ นอนไม่หลับเป็นปัญหาจนบางครั้งต้องไปหาหมอ เพราะนอนไม่หลับติดต่อกันหลายคืน คุณหมอก็จัดยานอนหลับมาให้ ไม่ทราบว่าการกินยานอนหลับจะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง”
    คำถามจาก คุณสุรีย์วิภา มงคล

    แพทย์หญิงเรขา กลลดาเรืองไกร จิตแพทย์ แผนกประกันสังคม โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท อธิบายว่า “ยานอนหลับไม่ได้รักษาอาการนอนไม่หลับ เพียงแค่ทำให้อาการทุเลาลงเท่านั้น การใช้ยานอนหลับบางชนิดเป็นเวลานานหรือในผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่แข็งแรง อาจทำให้มียาสะสมในร่างกาย เป็นสาเหตุของอาการง่วงนอนหรือมึนงงหลังตื่นนอน

    “นอก จากนี้ยานอนหลับบางชนิดยังออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้ศูนย์ควบคุมการหายใจถูกกดไปด้วย ผู้ป่วยโรคปอดและผู้ที่นอนกรนจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับประเภทนี้ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจได้

    “ส่วนในกรณีที่ใช้ยานอนหลับต่อ เนื่องเป็นเวลานาน อาจเกิดผลเสียต่อร่างกายได้ เช่น การดื้อยา ติดยา และความจำเสื่อม ผู้ที่กินยานอนหลับจึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด”

    ไม่อยาก สุขภาพเสียเพราะยานอนหลับ ชีวจิตขอแนะนำให้คลายเครียดก่อนนอน กินอาหารมีประโยชน์ และออกกำลังกาย รับรองนอนหลับดีปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์ค่ะ

    4.การนอนสะดุดเมื่อตื่นกลางดึก

    สิ่ง ที่หลายคนกลัวมากกว่าการข่มตาให้หลับคือ การตื่นขึ้นกลางดึกแล้วไม่สามารถนอนหลับต่อได้ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียในวันรุ่งขึ้น

    คุณมนทกานต์ ตั้งสง่า ผู้เข้าร่วมคอร์สชีวจิตครั้งที่ 62 เล่าว่า

    “ปกติจะเข้านอนประมาณห้าทุ่ม พอช่วงตีสามก็จะตื่นขึ้นมา กว่าจะข่มตาหลับอีกครั้งได้ก็นาน บางครั้งไม่หลับเลยจนถึงเช้า ทำให้รู้สึกเพลียเหมือนตัวเองนอนไม่พอทุกครั้ง”

    คุณหมอวิสาข์สิริจึง เล่าว่า“ปัญหาการนอนไม่หลับหลังตื่นกลางดึก เป็นหนึ่งในภาวะการนอนไม่หลับ ซึ่งแบ่งออกได้สามประเภทคือ การนอนไม่หลับช่วงต้น (Innitiation Insomnia) คือการใช้เวลานอนนานเกินครึ่งชั่วโมงก่อนหลับ การนอนไม่หลับช่วงกลาง (Maintenance Insomnia) คือการตื่นขึ้นมากลางดึกบ่อยๆแล้วหลับต่อไม่ได้

    “สุดท้ายคือการตื่นเช้าเกินไป (Early Morning Awakening) เป็นการตื่นนอนก่อนเวลาที่ต้องการ”
    ทั้งนี้คนเราอาจมีปัญหาการนอนไม่หลับ เฉพาะช่วงใดช่วงหนึ่งหรือหลายช่วงรวมกัน ในกรณีคุณมนทกานต์ถือได้ว่ามีอาการนอนไม่หลับช่วงกลาง

    5.นอนหลับโดยไม่รู้ตัวอันตรายไหม

    ขณะที่หลายคนค้นหาวิธีทำให้นอนหลับ คนอีกกลุ่มกลับประสบปัญหานอนหลับโดยไม่รู้ตัวดังเช่น คุณญาดา (สงวนนามสกุล) สาวออฟฟิศวัย 28 ปีเล่าว่า

    “ช่วงนี้ต้องรีบทำงานส่งให้ทันจึงทำงานที่ ออฟฟิศจนดึก และเผลอหลับที่โต๊ะทำงาน
    มารู้สึกตัวอีกทีก็ตอนเช้าแล้ว ตอนนี้เป็นกังวลมากเพราะมีอาการบ่อยขึ้น กลัวว่าร่างกายจะผิดปกติ”

    คุณหมอเรขาอธิบายว่า “การนอนหลับโดยไม่รู้ตัวขณะทำกิจกรรมต่างๆ พบได้บ่อยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่คือ หลับคาโต๊ะทำงาน หลับขณะอ่านหนังสือหรือโทรศัพท์ เรียกโดยรวมว่า 'การหลับใน' ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายอยู่ในสภาวะไม่ปกติ

    “สาเหตุของการหลับใน เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น กินยานอนหลับ ยาแก้ภูมิแพ้ ดื่มแอลกฮอล์ ร่างกายเหนื่อยล้า ความเครียด ยังทำกิจกรรมอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องนอน คือ 24.00 น.-07.00 น. และช่วงบ่ายหลังอาหาร

    “นอกจากนี้อาจเกิดจากการอดนอนเป็นเวลานานหรือนอน ไม่พอคือ นอนน้อยกว่าสองชั่วโมงในวันก่อนหน้า ทำให้เกิดหนี้การนอน (Sleep Dept) ซึ่งร่างกายจะมีการทวงหนี้เป็นพักๆ เริ่มจากทำให้สมรรถภาพสมองต่ำลงและทำงานช้าลง วูบหลับช่วงสั้นๆ และหลับในในที่สุด”

    จัดสรรเวลาทำงานและพักผ่อนให้สมดุล คือ หนทางป้องกันการหลับโดยไม่รู้ตัวและอันตรายจากการหลับในได้ค่ะ

    6.ทำไมวัยรุ่นนอนดึกตื่นสาย แต่คุณยายตื่นเช้านอนหัวค่ำ

    เชื่อว่าพฤติกรรมการนอน หลับที่สวนทางกันของคนสองวัย อาจทำให้ใครหลายคนสงสัยว่ามีสาเหตุจากอะไร

    คุณหมอเรขาไขข้อข้องใจว่า

    “พฤติกรรมการนอนดึกตื่นสายของวัยรุ่นที่ทำติดต่อ กันเป็นเวลานาน ทำให้นาฬิกาชีวิตในร่างกายเปลี่ยนไป คือ จากเดิมที่มีรอบการเดินสอดคล้องกับธรรมชาติ กลายเป็นมีรอบการเดินตามพฤติกรรมการใช้ชีวิต
    “ทำให้มีปัญหาในการเรียน การทำงาน และการเข้าสังคม ฉะนั้นจึงควรปรับพฤติกรรมเพื่อให้นาฬิกาชีวิตเดินสอดคล้องกับธรรมชาติ

    “ส่วน ในผู้สูงอายุที่มักนอนเร็วตื่นเช้า และงีบหลับตอนกลางวัน สาเหตุเกิดจากความเสื่อมของนาฬิกาชีวิต ทำให้มีรอบการเดินของนาฬิกาชีวิตน้อยลง (Circadian oscillation) เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของสมองและระบบเผาผลาญในวัยชรา รวมทั้งการใช้ชีวิตที่อยู่แต่ในบ้าน ไม่ค่อยได้เจอแสงแดด และไม่ออกกำลังกาย”

    รู้ถึงสาเหตุแล้ววัยรุ่นต้องรีบเปลี่ยนพฤติกรรมกัน สายเกินแก้ ส่วนคุณยายต้องเอาชนะความเสื่อมด้วยการใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้นกว่าเดิมค่ะ

    7.นอนกลางวันดีไหม

    “ง่วง นอนตอนบ่ายเป็นประจำจนต้องงีบระหว่างวัน ไม่ทราบว่ามีผลเสียต่อร่างกายไหม”
    คำถามจากคุณรุ้งลดา (สงวนนามสกุล)

    คุณหมอวิสาข์สิริเฉลยปัญหานี้ว่า “ปกติการนอนหลับช่วงกลางวันหรืองีบสั้นๆไม่เกินครึ่งชั่วโมงในคนที่ไม่มี ปัญหาการนอนจะช่วยให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่หากนอนเกินหนึ่งชั่วโมงจะทำให้เกิดความเฉื่อย และส่งผลต่อระบบสมดุลการนอนหลับ ทำให้นอนไม่หลับในตอนกลางคืน”

    ไม่อยาก ง่วงเหงาหาวนอนระหว่างวันต้องนอนหลับตอนกลางคืนให้เพียงพอและไม่กินอาหารรส หวาน รับรองได้ผลชะงัดค่ะ


    อ่านเนื้อหาต่อเพิ่มเติมได้ที่ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 282

    สังคมออนไลน์ของชาวชีวจิต ผู้ที่รักสุขภาพ และผู้ที่สนใจการแพทย์ทางเลือก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 กรกฎาคม 2010
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    การระบายท็อกซินจึเริ่มทำได้ โดยเหตุนี้เมื่อเรานอนหลับสนิท
    สมองได้พักผ่อน ท็อกซินได้ระบายออก เมื่อตื่นขึ้นมา สมองจึงแจ่มใสและสดชื่น
    การนอนยังมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย

    อาทิ ช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมอวัยวะทุกระบบ
    ลดการใช้พลังงานของร่างกาย
    ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และจดจำ
    เพราะขณะหลับ สมองจะเรียบเรียงข้อมูลที่ได้รับในช่วงกลางวัน
    ไปประมวลเป็นความจำระยะยาว

    ได้ประโยชน์จริงๆค่ะ...สาธุ

     
  3. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    เด๋วไปนอนต่อดีกว่าแบบนี้
     
  4. ha801

    ha801 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +928
    เริ่มง่วงอีกแล้ว สงสัย ร่างกายและสมอง อยากจะเอาสิ่งไม่ดีออกออก อิอิ
     
  5. อรชร

    อรชร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +11,465
    นอกจาก เป็นการผ่อนคลายสมองโดยตรงแล้ว การนอนยังมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกายด้านอื่นอีกมากมาย อาทิ ช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมอวัยวะทุกระบบ ลดการใช้พลังงานของร่างกาย ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และจดจำ เพราะขณะหลับ สมองจะเรียบเรียงข้อมูลที่ได้รับในช่วงกลางวันไปประมวลเป็นความจำระยะยาว

    ขอบคุณค่ะ
     
  6. krathin

    krathin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    119
    ค่าพลัง:
    +203
    สมองเสื่อมเร็วมีสาเหตุมาจากการนอนไม่พอหรือป่าวหนอ

    อนุโมทนาสาธุ ค่ะ
     
  7. กังหันลม

    กังหันลม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +693
    ถ้างั้นก็คงต้องปรับหลายอย่าง

    ขอบพระคุณมากครับ
     
  8. ิbilliboy

    ิbilliboy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    500
    ค่าพลัง:
    +273
    การนอนที่เป็นผลเสีย คือนอนในเวลางาน อิอิ

    ขอบคุณครับ
     
  9. junoo

    junoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +268
    เป็นโรคนอนไม่หลับอยู่แล้ว
    พอดีมาเห็น กระทู้นี้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
    อนุโมทนา สาธุด้วยค่ะ
     
  10. social1hometoclick

    social1hometoclick Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +32
    เคยเผลอหลับไปตอน 5 โมงเย็น ตื่นอีกที 1 ทุ่ม T^T
    ตื่นมารู้สึกปวดหัวมาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...