การสอนดูจิตที่เข้าใจผิดไปจากความเป็นจริงว่าจิตเกิดดับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 5 มิถุนายน 2010.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    นี่ ถ่ายรูปมาให้ดู หุหุ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      113 KB
      เปิดดู:
      173
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      87.3 KB
      เปิดดู:
      146
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      100.3 KB
      เปิดดู:
      147
    • 4.jpg
      4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.5 KB
      เปิดดู:
      160
  2. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697

    (น้าหรือป้าดี) อนุโมทนาค่ะ

    หลวงปู่หล้า
    พูดเรื่องอนัตตาธรรมในนิพพาน ต่างจากอนัตตาธรรมทั่วไปอย่างไร
    พูกดีมักๆ ลองหาดู เห็น(พี่)จินนี่ เคยมาทำเป็นกระทู้ยาวเลย

    *
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณเต้าเจี้ยวครับ

    คุณก็แสดงอาการออกมาแล้ว จากอารมณ์ที่คุณไม่พอใจอยู่นิครับ

    อะไรครับ รูปคืออารมณ์ อย่าถามแบบมีอารมณ์สิครับ

    ที่คุณยกมานั้นพูดว่า รูปก็คืออารมณ์ของจิต ต่างกับรูปคืออารมณ์ คนละเรื่องครับ

    เมื่อเป็นอารมณ์ของจิต ก็แสดงว่า จิตยึดเข้าไปแล้วใช่มั้ยครับ???

    ถ้าจิตไม่ยึด ก็ไม่เป็นอารมณ์ของจิตใช่มั้ยครับ???

    ส่วนจะแสดงอาการชอบหรือไม่ชอบออกมา นั่นอีกเรื่องนึงครับ

    สนุกกับความเป็นจริงดีกว่านะครับ ภาษาไม่ได้ช่วยให้หลุดพ้นได้

    ;aa24
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณเต้าเจี้ยวครับ

    คุณอย่าแอบเนียนสิครับ ผมถามคุณๆก็เลี่ยงที่จะไม่ตอบ

    แต่กลับมาถามผมเรื่องพระนิพพานเป็นอัตตา ผมพูดไว้ที่ไหนครับ

    เอาหลักมาดีกว่าครับ การกล่าวร้ายคนอื่นโดยขาดสำนึก ไม่น่ารักนะครับ

    อย่าคิดเองเออเองสิครับ ทำให้หมดราคานะครับ

    ;aa24
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จิต๗ดวง ๘ดวง ต้องเรียกว่าพวงเดียวกัน แต่มีหลายดวง ไม่ใช่ดวงเดียว

    ;aa24
     
  6. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    วันนี้อารมณ์ดีมากค่ะ
    ส่วนวันนั้น ลองระลึกถึงสำนวนว่า สนุกกับภาษาด้วยคน
    ก็ท่าจะรมณ์ดีอยู่ แต่อารมณ์คุณธรรมภูติไม่ทราบได้ค่ะ

    ที่ยกมาว่ารูปก็คืออารณ์ของจิต เป็นคุณธรรมภูติ
    ส่วนเรายกว่าจิตมีรูปเป็นอารมณ์ต่างกับรูปคืออารมณ์ของจิต
    (โดยนัยยะเรา เพื่อจะแยกชัดว่าอารมณ์เกิดที่จิตไม่ใช่ที่รูป)
    แต่เพื่อความมั่นใจในเจตนาของคุณธรรมภูติ เลยสอบถามดูอีก
    เพราะแค่อยากทราบว่า รูปคืออารมณ์ของคุณธรรมภูตินั้นมีนัยยะลึกๆ อย่างไรเท่านั้นเอง (เพราะบางคนพูดว่ารูปคืออารมณ์ของจิตก็อาจจะมีนัยยะเช่นจิตมีรูปเป็นอารมณ์ก็เป็นไปได้)

    ตอนนี้ก็คาดว่าจะชัดแล้ว ถึงนัยยะของคุณธรรมภูติ จากต้นเม้นท์นี้เลย
    คุณก็แสดงอาการออกมาแล้ว จากอารมณ์ที่คุณไม่พอใจอยู่นิครับ
    อะไรครับ รูปคืออารมณ์ อย่าถามแบบมีอารมณ์สิครับ
    ที่คุณยกมานั้นพูดว่า รูปก็คืออารมณ์ของจิต ต่างกับรูปคืออารมณ์ คนละเรื่องครับ


    รูปแสดงอารมณ์ท่าทางออกมาเพราะตามจิตสั่งค่ะ อารมณ์เกิดที่จิต
    ถ้ารูปก็คืออารมณ์ แสดงอารมณ์เอง จิตไม่ต้องครองแล้ว

    *
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2010
  7. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ เต้าเจี้ยว [​IMG]
    ที่เรายกมาน่ะ พุทธพจน์นะ
    เห็นคุณชอบอนัตตลักขณสูตร เป็นพิเศษ
    ซึ่งจะบอกถึงขันธ์ห้าเป็นไตรลักษณ์ จึงเป็นทุกข์
    ไม่กล่าวบอกนิพพานเป็นอย่างไร
    อย่างนั้นคุณไปเอาพุทธพจน์
    ที่ว่านิพพานที่เป็นอัตตา หรือเป็นอะไรก็ได้ที่คุณคิดก็ได้ มาโชว์ซิ
    ถ้าอยากให้มีใคร เข้านิพพาน พระสูตรไหนล่ะที่บอกไว้
    หรือคิดเองเออเองตีความเอง

    ใครเนียน ก็ยกอันเดิมมาแหละ ไม่ต้องไปไกล
    ชอบไม่ใช่เหรอ มีใครเข้านิพพานน่ะ
    ยกพุทธพจน์มาซิ นิพพานคุณเป็นอย่างไร

    :boo:
     
  8. เต้าเจี้ยว

    เต้าเจี้ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2008
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +1,697
    อ้างอิง:ปราบเทวดา
    ก็จิต ๗ ดวง ๘ ดวง ซึ่งเนื่อง เป็น อัน เดียว กัน
    ชื่อว่าสามารถเกิดในขณะเดียวกันย่อมไม่มี

    โอ กล้วยทอด พระเจ้าช่วย

    :boo:
     
  9. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ขอแสดงทัศนะที่กล่าวถึง สมมุติจิต วิมุติจิต และ นิพพาน ตามทิฐิส่วนตัว
    จากเทศน์หลวงปู่หล้าตามทัศนะทิฐฺิและ ความเข้าใจส่วนตัว คงไม่ถูกต้องนัก ลองรับไปพิจารณาดู



    สมมุติว่านาม นามคือ จิต+เจตสิก (จิต + อารมณ์ ความคิด ความจำ) = ว่าสมมุติจิต
    สมมุติว่ารูป และกล่าวว่ากาย คือ ที่มีอาการประกอบด้วย ธาตุ ดินน้ำ ลม ไฟ มาประชุมรวมกัน
    วิมุติ หรือ นิพพาน จึงพ้นจากสมมุติพ้นจากการกล่าวว่าเป็นจิต ที่กล่าวถึง

    จึงกล่าวแยก รูป จิต+เจตสิก นิพพาน

    รูป (ธาตุ4 และอาการ 32)
    นามหรือ จิต + เจตสิก (จิต + อารมณ์ ความคิด ความจำได้หมายรู้) = สมมุติจิต
    นิพพาน = วิมุติจิต (ปฏิสนธิจิต ฐีติจิต ที่พ้นแล้วจากกิเลสอาสวะและอวิชาที่ดองจิตสันดาน)




    จะหมายเอา จิต ที่ สมมุติว่าคือ จิต + อารมณ์ ความคิด ความจำ กล่าวว่า เป็น พระนิพพาน ก็ไม่ควร

    ถ้าจะกล่าวว่าเป็น วิมุตติจิต หรือ ธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ ธรรมธาตุ นิพพานธาตุ ก็กล่าวไม่ได้ เพราะยังปฏิบัติไม่ถึง แต่ ครูบาอาจารย์ ท่านก็กล่าวไว้มากมายตามสมมุติว่า วิมุตติจิต หรือ ธาตุรู้ที่บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ ธรรมธาตุ นิพพานธาตุ ก็ ลองหาเพื่อศึกษาเปรียบเทียบพิจารณากันดู

    จึงกล่าวได้ว่าพ้นแล้วซึ่งสมมุติ เข้าถึงวิมุติ หลุดพ้นซึ่งอาสวะกิเลส ดับเชื้อคือความโง่อวิชา มิใช่ดับจิต หรือจิตดับสูญ และจิตคงนิรันด์ (กล่าวตามความเข้าใจและทิฐิส่วนตัว)




    " นิพพาน คือ พระนิพพาน "



    ปล.ในสายปฏิบัติท่านมักกล่าวถึง สมมุติจิต กับ วิมุตติจิต เพื่อความเข้าใจสะดวกในการสื่อของสมมุติภาษาในปัจจุบัน
    ในทัศนะของกระผมเป็นเพียงบัญญัติหนึ่งเพื่อสื่อสารให้เข้าใจตรงกันในคำว่า
    กาย คือ ธาตุ 4 และ อาการทางกาย 32
    กับจิต หรือ ผู้รู้ ธาตุรู้ อารมณ์ที่ถูกรู้ และ ความคิด ความจำ กับประสาทสัมผัสรับรู้ทางกาย เพื่อง่ายต่อการปฏิบัติในวงปฏิบัติ

    เลยกว่านั้นก็ เป็นภาษาปฏิบัติ ก็เป็นปัจจัตตัง แปลง่ายๆว่า เป็นสิ่งที่รู้เฉพาะตน คือรู้คนเดียว คือไม่รู้จะบอกยังไง เป็นของรู้ได้ด้วยจิต รู้แล้วบอกไม่ถูก เพราะไม่เคยมีบัญญัติศัพท์ไว้ หรือมีบัญญัติไว้ ก็ไม่รู้ว่าไอ้ที่รู้ที่จิตกับศัพท์บัญญัตินั้นมันตรงกันไม๊ แล้วศัพท์เราจะตรงกับศัพท์ที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ไม๊ สำหรับผู้ที่ ไม่ได้ศึกษามากนักเพราะไม่มีเครื่องมือที่จะเอามาเปรียบเทียบ จะวาดออกมาให้ดูก็ไม่ได้ เพราะสภาวะจิตไม่ได้เป็นภาพ ที่รับรู้ด้วยตาได้ จะทำเป็นเสียง มันก็ไม่รู้จะออกเสียงยังไง
    แค่สักแต่ว่ารู้ ก็ อธิบายออกมาเป็นคำพูดไม่ได้ จะว่ามันมีเรา มันมีก็ไม่มีหมาย แต่ก็มีอยู่รู้อยู่ " มีไม่มี ไม่มี มี " ...

    กล่าว จากทิฐิความคิด และทัศนะส่วนตัว จากการปฏิบัติมาเล็กน้อยมิใช่ความจริง โปรดพิจารณา
    ยินดีรับคำชี้แนะ และสนทนาเพื่อปรับทิฐิให้ถูกตรงต่อไป ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 กรกฎาคม 2010
  10. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918


    ปฏิสนธิจิต กับ ฐีติจิต มันเนื่องกัน กล่าวแบบ จิตดวงเดียวเทียวไป คือ ทำทีละ กิจ
    ก็จะเป็น จิตทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ หลังจากทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจก็เกิดการ ตั้งขึ้นเป็น
    ยอดของกิจของจิตใหม่ เรียกกิจแรกที่จิตเริ่มชาติชรามรณะใหม่นั้นว่า ฐีติ(ตั้งขึ้น)จิต
    ทำหน้าที่เป็น ยอดสุดของกรรมในชาตินั้นๆ(เชื้ออวิชชา) ก็เรียกว่ามันทำหน้าที่ ฐีติกิจ

    ทั้ง ปฏิสนธิจิต และ ฐีติจิต ใช้เรียกจิตที่ยังมีการสืบสาย เกิดดับ แตกสลาย ก็เพราะ
    มันเป็นจิตที่เกิดขึ้น กระทำกิจด้วยเพราะ ยังมีอวิชชา ดังนั้น จิตทั้งสองชื่อนั้นจึง
    เป็น สมมติจิต ทั้งคู่ [ คำเรียก จิตที่บริสุทธินั้นยังมีเหนือกว่า ฐีติจิต อีก เช่น
    มหรรคจิต , มริยาถิกัตจิต แต่เนื่องจาก ชื่อเรียกยาก ก็เลยไม่ค่อยได้ยินบ่อย
    เราจึงเผลอใช้ความ ปรากฏบ่อยกลายเป็น คำจริง แล้วเผลอใช้แทนที่ ชื่อจิต
    ที่ควรเรียกตามบาลีให้ถูก อันเนื่องจาก อิทธิพลของความ นิยม สมัย ในการใช้ภาษา
    ที่กร่อนลงไปตามธรรมชาติโดยสาวกที่เน้นเพียงภาษาปฏิบัติก็พอแล้ว ]

    หาก ฐีติจิตสิ้นอาสวะจริง ปฏิสนธิจิตของฐีติจิตนั้นๆ ก็จะไม่มีอีก(ไม่มีเกิด เพราะไม่มีจุติกิจ)
    และเนื่องจากจิตไม่ได้ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจแล้ว ฐีติจิตก็ไม่เกิดด้วย พ้นการเกิดดับ ทั้งคู่

    เมื่อไม่มีอะไรเหลือแล้ว คนที่ยังไม่ถึงธรรมก็ต้องเกิดความสงสัยว่า ตัวกูหายไปไหน
    ขาดสูญกระนั้นแล้วหรือ ที่เกิดความสังสัยขึ้นมาเช่นนั้นก็เพราะ อุปทานขันธ์มันยังมี

    หาก เห็นสภาวะฐีติจิตสิ้นอาสวะจริง รู้ชัดแล้วว่า ปฏิสนธิกิจ ไม่มีอีก และ ละอุปทาน
    ขันธ์5 ได้ด้วย ก็จะไม่ถาม หรือ สงสัยหลอกว่า ตัวกูหายไปไหน แบบที่เคยชินมา
    นับโกฏแสนชาติภพ จะเลิกหมาย เลิกถามหากู หาอัตตา หากยังถามอยู่อีกก็แปลว่า
    ยังไม่เข้าใจเรื่อง ขันธ์5 เลยแม้แต่นิดเดียว

    หากเข้าใจ อุปทานขันธ์ได้อย่างลึกซึ้งแล้ว ความสงสัยว่า ชีวิตมันดำเนินต่ออย่าง
    ไร ก็จะไม่สงสัยในคำ สมมติที่ใช้ว่า กริยาจิต หรือ พลังงานศักย์ของจิตที่ยังหลง
    เหลือขันธ์(วิบาก วาสนา บารมี อธิษฐาน ฯ)

    โดยหลักการ สภาวะที่เหมือนไม่มีอะไร ไม่สามารถบรรยายได้ เพื่อให้สื่อสารได้ แต่
    ไม่เป็นประโยชน์แน่ๆหากจะกล่าวถึงมากๆ สภาวะที่พ้นการหมาย ข้ามฝากผู้รู้ ปล่อย
    การยึดถือผู้รู้ ก็เรียกว่า นิพพาน

    เมื่อ จรนัยแบบนี้ ก็จะได้ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็น ปรมัตถ4

    แต่ถ้าเป็น ศาสนาอื่น จะปฏิบัติได้แค่ เจโตวิมุตติ ก็จะคิดว่า พบ โลกุตรจิต แล้ว เพราะ
    ไปถือการเห็นจิตที่ไม่มีขันธ์5ทำงาน(ไม่ยึดในรูป รูป อรูป พลอยให้คิดว่า สิ้นตัณหา)

    คนเหล่านั้น จึง งง งวย แล้วตั้งคำถามที่แสนซื่อว่า ในเมื่อ จิต มันกล่าวถึงแล้ว แล้ว
    จิตก็มี สมมติจิต และ วิมมุติจิต แล้ว ทำไมต้อง บรรยัติ นิพพาน ขึ้นมาอีก จริงๆแล้ว
    ตอบง่าย แต่หากคนถามแก่แล้ว ก็ไม่ต้องตอบจะเป็นประโยชน์กว่า และคำตอบนั้นคือ

    ยังไม่เห็นนิพพานไง แถมด้วย การเข้าใจผิดเรื่อง อุปทานขันธ์ ซ้ำซ้อนเข้าไปอีก

    เพราะ หากเข้าใจ อุปทานขันธ์5 แล้ว ก็จะรู้ว่า การที่ยังลำเลิก ย้อนกลับ ไปใช้
    สมมติว่า ตน ขึ้นมานั้น เป็นเพราะความไม่รู้ ว่าอปุทานขันธ์ คือ ตัวที่ทำหน้าที่
    ให้เห็นว่า มีการเกิดเป็นตัวเป็นตน มาอย่างยาวนาน เปรียบเหมือนโจรที่ลอบ
    เข้ามาอยู่ในบ้านนานแสนนาน โดยเจ้าบ้านเองมิอาจรู้ถึงความข้อนั้น

    คนที่ ปฏิเสธ ปรมัตถ์4 โดยคิดว่า จิต นั้นมีส่วนของ โลกุตระจิต รวมอยู่ด้วยแล้ว
    จริงๆแล้ว หากให้คนเหล่านั้นคิดต่อไปอีก ก็จะออกอาการ ปฏิเสธ รูป เจตสิก
    ด้วย ไม่ใช่แค่ ปฏิเสธการปัญญัติ นิพพาน ขึ้นมาตัวเดียว โดยการปฏิเสธนั้นก็
    จะโยน รูป ไปเป็นเรื่องของ กรวด หิน ดิน ทราย แล้ว โยน เจตสิก เป็นเรื่องที่
    พ้นโดยเจโตวิมุตติ(ขันธ์หยุดทำงาน) พูดง่ายๆคือ ขาดความเข้าใจในการ
    ละขันธ์5 ละอัตตา ที่ถูกต้อง มันก็เลยกลัดกระดุมผิดเม็ดไปหมด เขากลัด
    กระดุมปรมัตถ์กัน4เม็ด เจอ นิพพาน แต่ตัวเอง กลัดกระดุมเม็ดแรก ก็พบ
    โลกุตรจิต เสียแล้ว

    กรรม แท้ๆ น้อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2010
  11. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ต่อเนื่องจาก กลัดกระดุมปรมัตถ์ไม่ครบ 4

    สำหรับ คำถามที่ว่า นิพพาน แล้วจะใช้อะไร รู้

    โดยใช้ สมมติฐานแบบ ตรรกศาสตร์ตื้นๆว่า จิต คือ ธาตุรู้

    ก็จะขออธิบายกลับมาที่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ปรมัตถ์4 นี้
    โดยแยกใหม่ตามที่รู้ๆกันคือ รูป ส่วนหนึ่ง นาม อีกส่วนหนึ่ง
    โดยส่วนนามก็คือ เจตสิก จิต นิพพาน

    ทำไมถึง จัดเป็นส่วนนาม ก็เพราะ มันทำหน้าที่ รู้ ได้เหมือนกัน
    รูป มันทำหน้าที่รู้ไม่ได้ ก็ทำให้ปรมัตถ์4 จัดโดย คุณลักษณะใน
    การ รู้ได้ ก็แบ่งออกเป็น รูป/นาม ดังกล่าว

    เจตสิก บางที่ก็เรียก อาการของจิต หรือ นามขันธ์4 ก็ได้ และขันธ์4
    นี้ มันก็ทำหน้าที่ รู้ ของมันเองได้ หากภาวนาเก่งก็ยกขึ้นเป็น วัตถุ
    ถูกรู้ถูกดู มันก็เลย เป็น รูป ก็ได้ มันจึงทำงานได้ในกองของมันเอง
    เพราะมันแปรเป็น รูป/นาม ได้ในกองของมันเอง

    จิต เป็น ธาตุรู้ ก็เข้าใจกันอยู่แล้ว แต่ นิพพาน ทำหน้าที่ รู้ แบบ นาม
    ได้อันนี้ไม่ค่อยมีการกล่าวถึง แต่หากไม่เลินเล่อเกิดเหตุ ก็ต้องเข้าใจ
    โดยนัยที่ว่า มันจัดเป็นส่วนนาม ก็แปลว่า มันก็ทำหน้าที่ รู้ ได้เหมือนกัน
    [ จำได้ว่า สดับเรื่องนี้มาจาก พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ]

    สรุปก็คือ นิพพาน แล้วใช้อะไรรู้ ก็ใช้ นิพพานเป็นธรรมธาตุ รู้ แทนไง
    [ หากภาวนาจนถึงที่สุด ก็คล้ายกันนามขันธ์ นิพพานก็ยกเป็นรูปขึ้นเพื่อ
    รู้ ก็ย่อมปรากฏได้ ก็จะเป็นเรื่องไม่มีเศษเหลือ เป็นเปลวไฟหายไปในอากาส ]

    แล้ว ทำไมถึงมี จิต กับ นิพพาน หละ มีรู้ตั้งสองตัว กลายเป็นมี ตน
    สองตนเหรอ ก็ต้องบอกว่าเปล่า ก็ครูบาอาจารย์ก็พูดชัดอยู่แล้วว่า

    ข้ามฝากไป ข้ามไปอีกด้าน ข้ามผู้รู้ วางผู้รู้ แล้ว ธรรมธาติอีกส่วนมัน
    ก็ปรากฏมารับ จึงกล่าวว่า ไม่มีการไป ไม่มีการเข้า ไม่ได้ใช้จิตผู้รู้
    ทำหน้าที่เข้านิพพาน(เห็นผิดนิพพานเป็นแดนจริงๆจัง,องค์เข้าประทับ) ไม่ได้ปรุงนิพพาน
    ให้เกิดขึ้นในจิต(เห็นผิดว่าธรรมกายมาเกิดในตน,ประทับเข้าองค์) แต่เกิดจากวางจิตผู้รู้(ละ
    สักกายทิฏฐิ ถือเรื่อง มีตัวตนลง) แล้ว ธรรมธาตุที่อยู่อีกฝากเข้ามารองรับ
    แล้วทำหน้าที่ รู้ แทน มันจึงบริสุทธิของมันอยู่แล้ว นิพพานเป็นธรรมธาตุ
    ที่มีอยู่ก่อนแล้ว ปราศจากผู้ถือครอง หมดอาสวะแน่นอนแลเห็นได้ แล้วมัน
    ก็ไม่สูญและก็ไม่มีอุปาธิใดๆ แต่หากยังมีหมายได้แค่พอเหมือนๆ

    ตรงนี้ หากย้อนไปพูดถึง ฐีติจิตที่ถูกละไป มันมี เนื้อหาสาระใดไหมที่มารองรับ
    ภาพนี้ ก็มีสองสำนวน คือ ทิ้งแพข้ามฝากไป สำนวนหนึ่ง หรือ ดับขันธ์(ในฐีติ
    จิต-ละสักกายทิฏฐิสิ้นอาสวะนั้นแหละ)แล้วสลัดคืนจิตให้โลกเขาไป หรือ เหลือ
    เป็นเศษจิตไปงั้นๆ เป็นเสสะฯ เป็นต้น

    ก็...เอาภาษาสมมติ ที่ปรากฏจากครูบาอาจารย์ มาเรียบเรียงให้พิลึกพิลั่นพรั่นพรึง
    กันเล่นๆ พิจารณากันเอง ไม่ขอรับคำติชมใดๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2010
  12. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ผมจะบอกให้ครับ ที่มันมีประเด็นนี้ขึ้นมา ก็เพราะท่านขาดความเข้าใจ ในการ
    ใช้ภาษา มันส่งผลให้ท่าน มองแต่มุมแคบไม่มองมุมกว้าง ดูเฉพาะคำ
    ไม่ดูหรือสนใจเนื้อหาที่คุยกัน ผลมันก็ออกมาดังว่า
    ดังเช่น ถ้าสนใจสิ่งที่สนทนาผ่านมา เกี่ยวเนื่องจากอะไร
    ย่อมต้องเข้าใจสิ่งที่คู่สนทนาต้องการสื่อ เห็นอะไรผิดสังเกตุ ย่อมต้องรู้ได้เลย
    ว่า เพราะอะไร ควรจะเอามาเป็นประเด็น ให้ชาวบ้านหรือเด็กหัวเราะเยาะ
    หรือไม่ แบบนี้ชาวบ้านเรียกว่า พวกไม่มีวิสัยทัศน์นะครับ

    มันมีอยู่คำเดียวผิด ซึ่งคนธรรมดาที่ไม่ต้องใช้วิจารณญาณอะไรเลย
    ย่อมต้องรู้ได้ว่า ผู้แสดงความเห็นพิมพ์ผิด ความจริงสื่อถึงอะไร เพราะเป็น
    บทความต่อเนื่องจากของเดิม

    ท่านครับ ผมก็ไม่คิดว่า ท่านจะเอามาเป็นประเด็น ผมขอร้องครับ
    ท่านอย่าทำให้ผมรู้สึกอายตัวเองที่ต้องมาสนทนากับคนไร้เหตุผล ทำตัวเป็น
    เด็ก เถียงกันในเรื่องที่มันไม่ใช่เรื่องซิครับ

    ท่านครับ ที่ผมผิด ผมก็บอกว่าผิด แต่จะไม่ให้ผมบอกเลยหรือว่า เพราะอะไร
    ไม่ให้ผมทำความเข้าใจ เลยหรือว่าสาเหตุมาจากไหน
    แบบนี้ตัดสินแบบศาลครับ แต่เป็นศาลพระภูมิ ที่ว่าเป็นศาลพระภูมิก็เพราะ
    รู้ได้เองถึงที่มาของความผิดนั้น แฮ่ะ แฮ่ะ
    ก็เพราะท่าน มีมุมมองแบบนี้ มองอะไรสั้นๆ สิ่งที่เกิดขึ้นที่จิต
    มันเลยเพี้ยนกลายมาเป็น อาการของจิต

    รักที่จะถกธรรมกัน หัดมีความบริสุทธิ์บ้างซิครับ แล้วจะได้คำขอบคุณจากผม
    แทนการประนามแบบนี้

    ท่านครับ ผมแนะนำครับว่า ไอ้กว่า๒๐ปีของท่าน แบ่งออกมาสัก๑๐ปี
    ไปศึกษาเรื่องเกี่ยวกับภาษา หลักการหรือวิธีการใช้ให้ดีเสียก่อน ยิ่งท่านเป็น
    คนที่ชอบอ้างพุทธพจน์ด้วย พออ้างแล้ว ตอนชาวบ้านเขาให้อธิบาย
    มันจะมั่วเอานา

    ไอ้เรื่องนิพพาน ผมว่าถ้าท่านมีวุฒิภาวะพอ ท่านต้องเข้าใจว่าผมพยายาม
    เลี่ยง อย่าว่าแต่เรื่องนี้เลย ทุกเรื่องที่ไปสกิดใจ เหล่าพุทธศาสนิกชนผมก็
    พยายามไม่กล่าวถึง
    เรื่องคำที่เราเถียงกันอยู่ เป็นท่านไม่ใช่หรือที่พยายามดึงมันเข้ามา

    ผมบอกให้นะครับ คนที่มีมรรยาทและใจกว้างจริงๆเท่านั้น ที่ยืนหยัดสนทนา
    กับท่านได้นานสองนานแบบนี้ ท่านควรให้เกียรติ์คู่สนทนาว่าไม่อยากคุยเรื่อง
    อะไร ก็กรุณาผ่านไปบ้าง ไม่ใช่เห็นคู่สนทนากลัวเรื่องการปรามาส
    ท่านกลับเห็นเป็นจุดอ่อน พยายามดึงมันเข้ามา ขอพูดซ้ำนะ ไม่แฟร์เลย

    ท่านธรรมภูติครับที่ท่านบอกว่า.....

    "คุณถามว่า "เที่ยง" กับคำว่า "ไม่มีอยู่" คุณเอาอะไรมาถามครับ
    มันก็บอกในตัวมันเองอยู่แล้วว่าคนละเรื่อง อย่าจินตนาการเองสิครับ"

    แล้วท่านเอามาถามผมก่อนทำไมครับ ไอ้เรื่องเที่ยงหรือไม่เที่ยง
    ของสิ่งที่ผมไม่อยากกล่าว เรื่องปรามาส เรื่องอุตริฯ

    ท่านถามมา ผมพยายามที่จะตอบ แต่มันเป็นการตอบแบบเลี่ยง ในสิ่ง
    ที่ผมไม่อยากกล่าวถึง แต่ผมบอกได้เลยว่า....
    สิ่งที่เรากำลังปฏิบัติอยู่นี้ เพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา

    และสิ่งที่ว่านี้ในทิฐิของท่าน มันเที่ยง
    แต่สำหรับผม พยายามให้ได้มาของคำว่า ไม่มีอยู่ครับ
    ท่านสังเกตุดูนะว่า ถ้าเราได้สิ่งที่ไม่มีอยู่มาแล้ว มันก็จะไม่มีหรอก
    คำว่า เที่ยงหรือไม่เที่ยง และเรื่องเกิดดับ
     
  13. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ผมบอกได้คำเดียวครับว่ารู้สึกเสียดาย กว่า๒๐ปีของท่าน
    ไม่สนใจหลักการใช้ภาษา ผลก็เป็นดังนี้

    ถ้าท่านฟังแล้ว ยอมรับสิ่งที่ผมเกริ่นกล่าวไว้แต่ต้นเรื่อง ทิฐิใคร ทิฐิมัน
    ก็คงไม่มีอะไรแล้ว แต่นี้ท่านไม่รับรู้ ไม่รับฟัง ฉันไม่ย้อม ไม่ยอม มันต้องเป็น
    แบบฉันนี่ รูปการณ์มันก็ออกมาดังนี้แล
     
  14. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ผมจะบอกให้ครับที่ท่านมีปัญหา วกไปวนมา ถามแล้วย้อนมาอีก
    ผมจะบอกให้ครับ ....มันเป็นเพราะ ท่านเอาความเห็นผมไปพิจารณาใน
    ทิฐิของท่าน แล้วมันจะรู้เรื่องหรือครับ
    ผมว่านะสิ่งแรกที่ท่านควรทำมากที่สุดคือ หัดแยกแยะเหตุและผลของ
    คนอื่นออกจากทิฐิตัวเองเสียก่อน แล้วก็ลงมือพิจารณาครับ
    ผมก็บอกแล้วไงว่าผมตอบได้ทุกเรื่องตามทิฐิของผม
    แต่ถ้าเอาความเห็นผม ซึ่งผมตอบตามทิฐิผมไปใส่ในทิฐิท่าน
    แล้วนำกลับมาถามผมใหม่ อันนี้ผมจนปัญญาครับ
    เดี๋ยวจะเป็นหัวมังกุ ท้ายมังกรครับแฮ่ะๆ
     
  15. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    อันนี้พิสูจน์ได้ง่ายมาก ตามหลักวิทยาศาสตร์
    ท่านว่าจิตไม่ใช่สภาวะ จิตเป็นดวงเดียวไม่เกิดดับ
    ก็ที่เคยบอกไว้ ตอนหมอผ่ากระโหลกทำไมเห็นแต่มันสมองครับ

    ผมว่าอย่าพยายามทำให้ พุทธศาสนาเป็นเรื่องไสยศาสตร
    ลี้ลับเลยครับ พุทธศาสนาเป็นเรื่องที่มีเหตุมีผลในตัวมันเอง
    สามารถพิสูจน์ได้ ย้ำเลยครับ พุทธศาสนาเป็นวิทยาสตร์ครับ
    ที่ท่านสาธยายมาข้างบน ผมขอตอบสั้นๆครับ
    ไปดูที่ทิฐิของผมเองจิตเกิดดับ จิตเป็นอารมณ์ จิตเป็นสภาวะ
    และจิตเป็นตัวรู้ อย่างหนึ่งเกิดอย่างหนึ่งดับ กลับไปอ่านของเก่า
    ที่ผมพูดไปแล้ว จะเข้าใจหรือไม่เรื่องของท่าน
    รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์ มันเป็นอารมณ์ที่ไหนกัน
    สิ่งต่างๆที่ท่านว่ามา มันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์

    นี่แหล่ะน่า ไม่แบ่ง๒๐ปีที่ว่า ไปศึกษาหลักภาษาบัญญัติต่างๆบ้าง
     
  16. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านยังไม่เข้าใจอีกนะ เรื่องบัญญัติ คนหลายคนก็หลายความคิด
    คนเหล่านั้น เขาก็มีความคิดเป็นของตัวเอง มีภาษาเป็นหลักของตนเอง
    มันจึงทำให้ของอย่างหนึ่ง แต่มีคำเรียกหลายคำ ตัวอย่างเช่นคำว่า.....
    คน ฝรั่งเรียกแมน คนจีนเรียกนั้ง หรือแม้แต่ว่าภาษาไทยด้วยกันเอง
    คนยังเรียกออกไปว่า มนุษย์หรือสัตว์ประเสริฐเลย

    หวังว่าคงเข้าใจสิ่งที่ผมบอกว่า จิต อารมณ์และสภาวะเป็นตัวเดียวกัน
    แล้วแต่ใครจะหยิบยกคำไหนมาพูดครับ

    ข้อความข้างบนผมดูแล้วมันสับสนครับ สงสัยเรื่องทิฐิอีกแล้ว
    ความเห็นผมแต่ทิฐิท่าน

    ผมอธิบายให้ครับว่า ถ้าเป็นทิฐิท่านจิตดวงเดียวไม่เกิดดับ จิตเป็นธาตุรู้รู้อย่าง
    เดียว ย่อมเป็นสองอย่างไม่ได้ เมื่อเกิดอะไรขึ้นก็เลยต้องลงความเห็นว่าเป็นอาการของจิต

    แต่ของผมเกิดสองอย่างได้ แต่ต้องเกิดที่ละขณะ อย่างหนึ่งดับอย่างหนึ่งเกิดมาแทน

    สรุปข้ออ้างท่าน ที่อธิบายความนั้นเกิดจากการสับสน ของบัญญัติครับ
     
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    พิพพานเป็นอนัตตาหรือ ?


    เราไม่พึงกล่าวเช่นนั้น



    นิพพานเป็นอัตตาหรือ?


    เราไม่พึงกล่าวเช่นนั้น



    นิพานเป็น หากกล่าวปรมัตถ์ ข้ามอัตตาและอนัตตา มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่


    สภาพของนิพพาน<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>

    เมื่อกล่าวโดยสามัญญลักษณะสภาพของนิพพานมีเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ปราศจากตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่มีการเกิดแก่ เจ็บ ตาย ใด ๆ ทั้งสิ้น<O:p></O:p>
    แต่นิพพาน ไม่มีอนิจจลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เที่ยง มั่นคง ยั่งยืน ไม่แปรผัน และนิพพาน ไม่มีทุกขลักษณะ เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่ทนอยู่ได้ ด้วยว่า ไม่มีการเกิด ไม่มีการดับ และด้วยเหตุที่นิพพานเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า จึงมีสภาพที่ทน อยู่ หรือดำรงคงอยู่ในสภาพที่ว่างเปล่านั้นตลอดไป ไม่มีอะไรที่จะมาปรุงแต่งให้ กลายเป็นไม่ว่างได้
    <O:p></O:p>
    วิเสสลักษณะ ของนิพพาน มีเพียง ๓ ประการ คือ ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน เท่านั้น ไม่มีปทัฏฐาน
    <O:p></O:p>
    สนฺติ ลกฺขณามีความสุขสงบจากเพลิงทุกข์ เป็นลักษณะ
    <O:p></O:p>
    อจฺจุต รสามีความไม่แตกดับ เป็นกิจ (สัมปัตติรส)
    <O:p></O:p>
    อนิมิตฺต ปจฺจุปฎฺฐานาไม่มีนิมิตเครื่องหมาย เป็นอาการปรากฏ<O:p></O:p>

    (วา) นิสฺสรณ ปจฺจุปฏฺฐานา(หรือ) มีความออกไปจากภพ เป็นผล<O:p></O:p>

    ปทฏฺฐานํ น ลพฺภติไม่มีเหตุใกล้ให้เกิด (เพราะนิพพานเป็นธรรม ที่พ้นจากเหตุ จากปัจจัยทั้งปวง)<O:p></O:p>

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ พ้นแล้วจากตัณหาเครื่อง ร้อยรัด ตรัสรู้ ธรรมส่วนหนึ่งธรรมที่ไม่ตาย ธรรมที่เที่ยง(คือ พ้นจากกาลทั้ง ๓) ธรรมที่ปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐยิ่งกว่าธรรมนั้น คือ นิพพาน
    <O:p></O:p>
    สภาพของนิพพาน ๕ ประการ ที่กล่าวข้างต้น มีความหมายดังนี้ คือ
    <O:p></O:p>
    ๑. ปทํ แปลว่า นิพพานเป็นส่วนหนึ่ง เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ และมีอยู่โดยเฉพาะ ไม่คลุกเคล้าด้วยโลกียธรรม
    <O:p></O:p>
    ๒. อจฺจุตํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ไม่ตาย ไม่มีความเกิด และไม่มี ความตาย ไม่มีแตกดับ
    <O:p></O:p>
    ๓. อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่เที่ยง คือก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีต และ อนาคต หมายความว่า เป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ ได้แก่ นิพพาน<O:p></O:p>

    ๔. อสงฺขตํ แปลว่า นิพพาน ไม่ได้ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย หมายความว่า นิพพานนี้ไม่ใช่ จิต เจตสิก รูป เพราะ จิต เจตสิก รูป นั้นเป็น ธรรมที่เกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง สภาวธรรมที่ปราศจากการปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ ได้แก่ นิพพาน
    <O:p></O:p>
    บัญญัติ ก็เป็นอสังขตธรรมเหมือนกัน แต่ในที่นี้กล่าวเฉพาะ ธรรมที่เป็นปรมัตถ บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ฉะนั้นอสังขตธรรม ในที่นี้จึงหมายถึง นิพพาน แต่อย่างเดียว
    <O:p></O:p>
    ๕. อนุตฺตรํ แปลว่า นิพพาน เป็นธรรมที่ประเสริฐอย่างที่ไม่มีธรรมใด ๆ จะเทียมเท่า

    �����Ը����͹�Ź�...
     
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    <BIG>ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค</BIG>
    <BIG></BIG>
    <BIG>โลกุตตรจิต​

    โลกุตตรจิต มาจากคำว่า โลก + อุตตร + จิต​

    โลก หมายถึงโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก(กามภูมิ) รูปโลก(รูปภูมิ) และอรูป-โลก(อรูปภูมิ) ก็ได้ อีกนัยหนึ่งคำว่า โลก หมายถึงการเกิดดับก็ได้​

    อุตตร มีความหมายว่า เหนือ หรือ พ้น​

    ดังนั้นโลกุตตรจิตจึงเป็นจิตที่เหนือโลกทั้ง ๓ เป็นจิตที่พ้นจากโลกทั้ง ๓ ซึ่งมิได้หมายความว่า จิตนี้อยู่เหนือโลกหรือจิตนี้พ้นไปจากโลก แต่หมายความว่า จิตนี้มีอารมณ์ที่เหนือโลก มีอารมณ์ที่พ้นจากโลก คือโลกุตตร จิตนี้มีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก

    โลกุตตรจิตเป็นจิตที่พ้นจากการเกิดดับ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า จิตนี้ไม่ได้เกิดดับ จิตนี้คงเกิดดับตามสภาพของจิต แต่เป็นจิตที่มีอารมณ์อันพ้นจากการเกิดดับ อารมณ์นั้นคือ นิพพาน ซึ่งนิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีการเกิดดับ ธรรมทั้งหลายในโลกทั้ง ๓ ย่อมเกิดดับทั้งสิ้น แต่นิพพานเป็นธรรมที่ไม่เกิดดับเป็นธรรมที่พ้นจากการเกิดดับ นิพพานจึงเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เป็นธรรมที่เหนือโลก​

    อีกนัยหนึ่ง โลกุตตรจิตมีความหมายว่า เป็นจิตที่กำลังประหารและประหารแล้วซึ่งกิเลส หมายความว่าโลกุตตรกุสลจิตหรือมัคคจิตนั้นกำลังทำการประหารกิเลสอยู่ โลกุตตรวิบากจิตหรือผลจิต เป็นจิตที่เสวยผลซึ่งมัคคจิตได้ประหารกิเลสนั้นแล้ว เป็นการประหารได้อย่างเด็ดขาด อันทำให้กิเลสนั้น ๆ หมดสิ้นสูญเชื้อไปโดยสิ้นเชิง จนไม่สามารถที่จะเกิดมาก่อความเศร้าหมองเร่าร้อนอีกต่อไปได้เลย การประหารเช่นนี้แหละที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน​

    โลกุตตรจิต มี ๘ ดวง คือ โลกุตตรกุสลจิต ซึ่งเป็นประเภท อริยมัคค ๔ และโลกุตตรวิบาก ซึ่งเป็นผลของโลกุตตรกุสลจิตอีก ๔​

    จำง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า มัคคคือกุสล ผลคือวิบาก ซึ่งหมายความว่า มัคคจิตนั้นเป็นชาติกุสล ผลจิตนั้นเป็นชาติวิบาก​

    มีข้อสังเกตว่าโลกุตตรจิตมีแต่โลกุตตรกุสลและโลกุตตรวิบาก ไม่มีโลกุตตรกิริยาด้วยเลย ที่โลกุตตรจิตไม่มีโลกุตตรกิริยานั้นเพราะโลกุตตรกิริยาถ้ามีก็คือ มีโลกุตตรกุสลอันเกิดในสันดานพระอรหันต์​

    อันว่ามหากุสลหรือมหัคคตกุสลนั้น สามารถเกิดได้บ่อยๆ เกิดได้เนือง ๆ ดังนั้นจึงเกิดในสันดานพระอรหันต์ได้เสมอ เมื่อเกิดขึ้นก็เป็นมหากิริยา หรือมหัคคตกิริยาไป ไม่เหมือนกับ มัคคจิต ซึ่งเกิดได้เพียงมัคคละครั้งเดียวคือ โสดาปัตติมัคคก็เกิดได้ครั้งเดียว สกทาคามิมัคค อนาคามิมัคค ตลอดจนอรหัตตมัคค ก็เกิดได้มัคคละครั้งเดียวเท่านั้น เพราะมัคคจิตนั้นเกิดขึ้นมาเพื่อประหารกิเลสและประหารเป็นสมุจเฉทเสียด้วย เมื่อได้เป็นถึงพระอรหันต์ซึ่งได้ประหารกิเลสจนหมดจดโดยสิ้นเชิง ไม่มีกิเลสเหลือเลยแม้แต่น้อย ก็ไม่ต้องมีมัคคจิตเกิดขึ้นมาประหารอะไรอีก ดังนั้นจึงไม่มีโลกุตตรกิริยาจิต


    </BIG>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 กรกฎาคม 2010
  19. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านธรรมภูติครับผม ความเห็นของท่านรวบยอดที่เดียว
    เพื่อไม่ให้เสียเวลา อธิบายมากก็มากความ ยืดเป็นตังเม
    ยืดแล้วแทนที่จะให้มันเป็นเส้นตรง ดันยืดแล้วเอาหัวกลับท้าย
    มาจบกันมันก็กลายเป็นวงกลม สรุปแล้วมันไม่ได้ไปไหนเลย
    วนมันอยู่ตรงนี้นะ
    ......ผมจะบอกให้นะครับ ท่านธรรมภูติ ตราบใดที่ท่านยังเอา
    คำตอบหรือคหของผม ซึ่งผมตอบตามทิฐิของผม
    ท่านเอามันไปพิจารณา ในทิฐิของท่าน มันก็ไม่จบ

    ทั้งนี้ทั้งนั้นผมก็ได้บอกแล้วว่า กรุณาแยกแยะด้วย
    แต่มันก็เท่านั้นแหล่ะครับ ยึดทิฐิตัวเอง
    แม้กระทั้งการแยกแยะ เรื่องการให้แยกเรื่องทิฐิก็ยังไม่ยอมที่จะแยก
     
  20. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=9V8A2yZXUDQ&feature=related"]YouTube- TA Kukrit - Buddhavacana 5 (Thai)[/ame]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=7yzE-4gVbF4&feature=related"]YouTube- TA Kukrit 1 (in Thai)[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...