การสอนดูจิตที่เข้าใจผิดไปจากความเป็นจริงว่าจิตเกิดดับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 5 มิถุนายน 2010.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สุข ทุกข์ที่แท้จริงเกิดขึ้นที่ไหนหละ??? ที่กาย(ขันธ์๕) หรือ จิต

    เห็นสุข ทุกข์ที่แท้จริงกันที่ไหนหละ??? ที่กาย(ขันธ์๕) หรือ ที่จิต

    สุข ทุกข์เกิดขึ้นที่ไหน ให้พิจารณาที่นั่น??? ที่นั่นหนะที่ไหน

    กิเลสไม่ใช่เหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต เป็นเพียงปลายเหตุเท่านั้น

    เหตุที่แท้จริง(สมุทัย)นั้น เกิดจากจิตที่ชอบแส่ส่ายส่งออกไปยึดมั่นถือมั่น ในรูปวัตถุสิ่งของต่างๆ

    หรืออารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นมาเป็นของๆตนใช่มั้ย???

    ทำไมบางสิ่งจึงเป็นกิเลสสำหรับเรา แต่ไม่เป็นกิเลสสำหรับคนอื่นหละ เพราะอะไร???

    รูปวัตถุสิ่งของต่างๆและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย จะเป็นกิเลสขึ้นมาได้นั้นเพราะอะไร???

    ใช่เพราะจิตของผู้นั้นเข้าไปยึดมั่นถือมั่นใช่มั้ย??? ถ้าไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นรูปวัตถุฯหรืออารมณ์ความรู้สึกฯแล้ว

    จะเรียกรูปวัตถุสิ่งของต่างๆและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเป็นกิเลสของเราได้รึ ย่อมไม่ได้

    อวิชชาเกิดขึ้นที่ไหน??? ที่กาย(ขันธ์๕) หรือ ที่จิต

    เมื่อปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา จนกระทั่งจิตหลุดพ้นดับอวิชชาได้แล้ว รู้มั้ย??? ต้องรู้สิ

    วิชชาเกิดขึ้นที่ไหน??? ที่กาย(ขันธ์๕) หรือ ที่จิต

    เมื่อปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เกิดวิชชาขึ้นที่จิต จนกลายเป็นโลกุตรจิตชั้นพระอรหันต์ รู้มั้ย??? ต้องรู้สิ

    ถ้าการเข้าถึงความพ้นทุกข์ การเข้าถึงเหตุแห่งทุกข์

    การเข้าถึงความดับทุกข์ การเข้าถึงทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์

    สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้รู้มั้ย??? ต้องรู้สิ

    ถ้ากล่าวมาทั้งหมดนี้ โดยไม่มีผู้รู้เลย ก็แสดงว่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องโกหกทั้งเพสิ

    เมื่อไม่มีผู้รู้แล้ว บอกได้ยังไงหละว่า เข้าถึงสิ่งนั้น เข้าถึงสิ่งนี้

    เมื่อไม่มีผู้รู้แล้ว แสดงว่าที่กล่าวมานั้น เป็นการเดาๆเอาเองทั้งสิ้นเท่านั้นสิ

    ถ้าศาสนาพุทธขาดเรื่องจิตไปซะเรื่องเดียวแล้ว

    ไม่ต้องรู้เรื่องอื่นในพุทศาสนาอีกแล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนรวมลงที่จิตทั้งสิ้น อยากรู้อะไรค้นหาเอาที่จิต

    ;aa24
     
  2. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ยามเมื่อตะวัน โผล่ขึ้นจากขอบฟ้า
    จะเร็วหรือช้า ก็อัสดง
    ........ปริศนาธรรมของ...หลวงตาบัว

    ข้อความนี้นำมาจาก...ท้ายรถอาสาร่วมกตัญญู
     
  3. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ขอผู้มีจักษุไม่มืดบอด ช่วยสาดแสงแห่งปัญญาด้วย

    อะไรคือกายสังขาร

    อะไรคือจิต
    อะไรคือจิตหนึ่ง

    อะไรคือจิตสังขาร
    อะไรคืออาการของจิต

    อะไรคืออุปทานขันธ์
    อะไรคือหลุดพ้นจากขันธ์

    จะหาผู้ที่พอมีปัญญาช่วยสาดแสงแห่งปัญญาให้สว่างกระจ่างแจ้งได้บ้างรึป่าว .....
    ขออนุโมทนา สาธุการด้วย สาธุ สาธุ สาธุ....
     
  4. kastsuyaz

    kastsuyaz สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +9

    สังขาร แปลว่า การปรุงแต่ง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง สังขารมี 2 ความหมาย ดังนี้
    [แก้] สังขารในเรื่องไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณ์

    สังขารหมายถึงร่างกาย ตัวตน สสาร สิ่งที่ประกอบกันขึ้นหรือถูกปรุงแต่งขึ้นจากธาตุ 4 สังขารในความหมายนี้แบ่งเป็น 2 คือ สังขารมีใจครอง (อุปาทินนกสังขาร) คือสิ่งมีชีวิต มีจิตวิญญาณ สามารถเคลื่อนไหว รับ จำ คิด รู้อารมณ์ได้ ได้แก่มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน สังขารไม่มีใจครอง (อนุปาทินนกสังขาร) คือ สิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีจิตวิญญาณ รับ จำ คิด รู้อารมณ์ไม่ได้ ได้แก่ต้นไม้ ภูเขา ดิน น้ำ รถ เรือ เป็นต้น
    สังขารในความหมายนี้ จัดเป็นรูปขันธ์ในขันธ์ 5 มิใช่สังขารขันธ์ และมีลักษณะเสมอกันโดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    [แก้] สังขารในขันธ์ 5

    สังขาร หมายถึงสิ่งปรุงแต่งจิต ระบบปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รู้สึกและจำได้ ซึ่งก็ได้แก่ความคิด ความรู้สึกปกติทั่วไปของคนเรา เช่นรัก ชัง โกรธ ละอายใจ อยากได้เป็นต้น
    สังขารในความหมาย 2 นี้ ได้แก่ เจตสิกธรรม คือสิ่งที่ประกอบจิตอยู่ เกิดดับพร้อมจิต รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต เป็นสิ่งที่ดีเรียกว่ากุศลบ้าง เป็นส่วนที่ไม่ดีเรียกว่าอกุศลบ้าง เป็นส่วนกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่วที่เรียกว่าอัพยากฤตบ้าง
    คำว่า สังขาร ในเรื่องไตรลักษณ์กับในเรื่องขันธ์ต่างกัน คือสังขารในเรื่องไตรลักษณ์เป็นรูปธรรม ในเรื่องขันธ์เป็นนามธรรม
     
  5. kastsuyaz

    kastsuyaz สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +9
    [​IMG]
    อุปาทานขันธ์ ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์หรือขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทาน คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ, ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า รูปูปาทานขันธ์, เวทนูปาทานขันธ์, สัญญูปาทานขันธ์, สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์


    อุปาทานขันธสูตร
    [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ รูปูปาทานักขันธ์ ๑ เวทนูปาทานักขันธ์ ๑ สัญญูปาทานักขันธ์ ๑ สังขารูปาทานักขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานักขันธ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละ อุปาทานักขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯ

    (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓)

    [​IMG]
    พุทธพจน์ แสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕
    <CENTER>ปัญจขันธสูตร</CENTER>
    [๙๕] ....."ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง"
    "ขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕".....
    [๙๖] ....."อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ? รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน(หรือถูกอุปาทานครอบงำในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง)...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕"....
    (สํ.ข. ๑๗ / ๙๕-๙๖ /๕๘-๖๐)
    [​IMG]
    "ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และตัวอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง.
    "รูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือ ธรรม(สิ่ง)อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน (ส่วน)ฉันทราคะ(ก็คือตัณหา) ในรูป...เวทนา..สัญญา...สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานในสิ่งนั้นๆ"
    (ฉันทะราคะ คือความชอบใจจนติด หรืออยากอย่างแรงจนยึดติด กล่าวคือตัณหา จึงเป็นเหตุปัจจัยจึงมีอุปาทานครอบงำ)
    (สํ.ข. ๑๗ / ๓๐๙ / ๒๐๒)
    [​IMG]
    ในทางพระพุทธศาสนา เราสามารถแยกกระบวนการทำงานของจิต หรือกระบวนธรรมของจิตได้เป็น ๒ แบบใหญ่ อันต่างก็ล้วนเป็นกระบวนการธรรมชาติของจิต แต่ฝ่ายหนึ่งเป็นการดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติ และอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อดำเนินเกิดขึ้นแล้วก่อให้เกิดความทุกข์อุปาทาน คือความทุกข์ที่ประกอบหรือถูกครอบงำด้วยอุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนขึ้นทั้งต่อกายและใจ อันเป็นไปตามกระบวนธรรมปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง
    ขันธ์๕ เป็นกระบวนธรรมของจิต แบบไม่เป็นทุกข์อุปาทาน เป็นกระบวนธรรมที่จำเป็นยิ่งในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติ มีเหมือนกันทั้งในปุถุชน และพระอริยเจ้าผู้ยังมีชีวิตอยู่
    อุปาทานขันธ์๕ เป็นกระบวนธรรมของจิต ชนิดที่ก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้น เป็นสภาวะธรรมชาติเหมือนกัน แต่เป็นฝ่ายที่ก่อให้เกิดทุกข์โทษภัยแก่ผู้ดำเนินอยู่ มีอยู่แต่ในปุถุชน กล่าวคือเป็นกระบวนธรรมของจิตที่ดำเนินเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทจนเกิดทุกข์อุปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนขึ้นเป็นที่สุด เป็นกระบวนธรรมของจิตฝ่ายก่อให้เกิดความทุกข์ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้จึงไม่มีเกิดในเหล่าพระอริยเจ้า
    อุปาทาน ความยึดมั่น, ความถือมั่น อันเป็นไปตามกำลังอำนาจกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวของตน หรือ
    อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น เพื่อความพึงพอใจของตัวของตน เป็นสําคัญในสิ่งใดๆทุกๆสิ่ง อันท่านตรัสว่า อุปาทาน มี ๔
    ๑. กามุปาทาน คือการยึดมั่นพึงพอใจติดพันในกาม ในสิ่งที่อยากได้หรือไม่อยากได้ ในกามหรือทางโลกๆ เช่นใน รูป, รส, กลิ่น, เสียง, โผฏฐัพพะ(สัมผัส)
    ๒. ทิฏฐุปาทาน คือการยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลสหรือความพึงพอใจของตัวของตน ในความเชื่อ, ความเข้าใจ(ทิฏฐิ), ทฤษฎี, ความคิด, ลัทธิของตัวของตน. อันมักมีความอยากให้เป็นไป หรือไม่อยากให้เป็นไปตามที่ตนเชื่อ, ตามที่ตนยึดถือ, หรือตามที่ตนยึดมั่น, ตามที่ตนเข้าใจ ถ้าผิดไปจากที่ตนพึงพอใจยึดถือหรือเข้าใจ ก็จะไม่เห็นด้วยหรือต่อต้าน โดยไม่รู้ถูกรู้ผิดตามความเป็นจริงของธรรม
    ๓. สีลัพพตุปาทาน คือการยึดมั่น ถือมั่น ยินดียินร้ายในศีล(ข้อบังคับ)และพรต(ข้อปฏิบัติ) อันมักเติมแต่งด้วยกิเลสหรือตัณหาอย่างเข้าใจผิดๆ หรืออย่างงมงาย หรือตามความเชื่อที่สืบต่อตามๆกันมาแต่ไม่ถูกต้อง เช่น การทรมานกายเพื่อให้บรรลุธรรม, ถือคีลหรือทําแต่บุญอย่างเดียวแล้วจะพ้นทุกข์หรือบรรลุธรรมจึงขาดการวิปัสสนา, เชื่อว่าขลังว่าศักสิทธิ์, เชื่อว่าปฏิบัติสมาธิอย่างเดียวจนแก่กล้าแล้วปัญญาบรรลุมรรคผลจักเกิดขึ้นเองจึงไม่จําเป็นต้องปฏิบัติวิปัสสนา(พิจารณาธรรม)จนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง(สัมมาญาณ), ทําบุญเพื่อไปสวรรค์แต่ฝ่ายเดียว, กราบพระหรือสิ่งศักสิทธิ์หรือทําบุญเพื่อบนบานหวังความสุข ขอทรัพย์ ขออย่าให้มีทุกข์ โศก โรคภัย เสนียดจัญไรต่างๆมาแผ้วพาน, การบนบาน ฯลฯ. อันล้วนเกิดขึ้นแต่อวิชชา คือยังไม่รู้ไม่เข้าใจตามความเป็นจริง จึงไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆก็เพื่อเป็นที่ยึด ที่วางจิต คือให้เป็นกำลังจิตเป็นกำลังใจโดยไม่รู้ตามความเป็นจริงด้วยอวิชชา
    ๔. อัตตวาทุปาทาน คือความยึดมั่นในวาทุ หรือวาทะ(ถ้อยคํา,คําพูด)ของตนเอง คือเกิดการยึดมั่นถือมั่นเป็นที่สุดว่าเป็นของตนของตัวโดยไม่รู้ตัว เหตุเนื่องมาจากคําพูดหรือถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อแสดงความเป็นตัวตน,ของตน,หรือของบุคคลอื่น อันเป็นเพียงแค่สื่อถ้อยคําอันจำเป็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการสื่อสารซึ่งกันและกันในสังคม แต่ก็ก่อกลายให้เกิดเป็นความหลงผิดขั้นพื้นฐาน ที่เกิดในชีวิตประจําวันอย่างสมํ่าเสมอจนเป็นสังขารความเคยชินหรือการสั่งสมอันยิ่งใหญ่โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว, เนื่องเพราะความจําเป็นที่ต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นๆนี้เองโดยทางวาจาหรือถ้อยคํา และยังต้องมีการช่วยเสริมด้วยถ้อยคําภาษาสมมุติต่างๆเพื่อใช้สื่อสารต่อกันและกันเพื่อความเข้าใจอย่างละเอียดละออถูกต้องในชีวิตประจําวัน จึงก่อให้เกิดการสั่งสม การหลง ความเคยชิน อันก่อเป็นความจำอย่างอาสวะกิเลสแล้วยังเป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง, ทําให้เกิดการมองเห็นสิ่งต่างๆเกิดการแยกออกจากกันและกัน คือก่อตัวก่อตนขึ้นตามคําพูดนั้นๆโดยไม่รู้ตัว ทําให้เกิดความจำว่าเป็นของตัวของตน, ของบุคคลอื่นเด่นชัดขึ้นในจิตโดยไม่รู้ตัว เป็นประจําทุกขณะจิตที่สื่อสารพูดคุยกัน จึงก่อให้เกิดความหลงผิดหลงยึดถือด้วยความเคยชินตามที่สั่งสมโดยไม่รู้ตัว ดังเช่น ของๆผม, ของๆคุณ, บ้านผม, รถฉัน, ลูกฉัน, เงินฉัน, สมบัติฉัน, นั่นของคุณ, นี่ของผม, นี่ไม่ใช่ของผม ฯลฯ. จนเกิดการไปยึดถือ, ยึดติด, ยินดียินร้ายหรือพึงพอใจตามภาษาที่ใช้สื่อสารกันนั้นโดยไม่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา ในทุกขณะจิตในชีวิตประจําวัน โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีสังคมและการแข่งขันสูง และการสื่อสารที่ทันสมัย [​IMG]
    มองทุกข์ที่เกิดในแง่มุมของอุปาทานขันธ์๕
    อุปาทานขันธ์ ๕ มองในมุมของปฏิจจสมุปบาท คือ กระบวนธรรมของขันธ์ทั้ง ๕ หรือกระบวนการทำงานที่เนื่องสัมพันธ์กันของขันธ์ทั้ง๕ ของชีวิตที่ดำเนินอยู่ แต่มีตัณหาหรือนันทิความติดเพลินเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน จึงเป็นปัจจัยให้ขันธ์ทั้งหลาย ถูกครอบงําหรือประกอบด้วยอุปาทาน, ถ้าพิจารณาจากวงจรปฏิจจสมุปบาทก็เกิดขึ้นในองค์ธรรม "ชาติ และ ชรา"
    หรือ อุปาทานขันธ์๕ ก็คือ ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในกิเลส ให้เป็นไปตามความพึงพอใจของตัวตนเป็นใหญ่ คือมีความยึดมั่นเยี่ยงนี้แฝงอยู่ในเหล่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ในขันธ์ต่างๆของขันธ์ ๕ ตามภพที่ได้เลือกไว้โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี เช่นกามภพชนิดขุ่นเคืองคับแค้นเกิดจากอุปาทานไม่ได้รับการตอบสนองความพึงพอใจตามที่ตัวตนคาดหวัง กามภพชนิดสุขใจก็เกิดจากอุปาทานได้รับการตอบสนองเป็นไปตามความพึงพอใจของตัวตน ดั่งเช่น ถ้าพูดถึงหรือคิดถึงหรือกระทําอะไรให้บุคคลบางคนเช่น ลูก พ่อแม่ คนรัก ซึ่งจะเป็น " รูป " คือสิ่งที่ถูกรู้ชนิดที่แฝงอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในสุขหรือความพึงพอใจของตัวตนเองอยู่ในที คือมีอุปาทานยึดมั่นพึงพอใจในรูปนั้นติดมาด้วยแบบรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี อันถ้ามีตัณหากระตุ้นเพียงเล็กน้อยก็จักเป็นเหตุปัจจัยให้อุปาทานที่นอนเนื่องอยู่ เกิดการทำงาน แล้วดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทได้อย่างง่ายๆทันที คือ เป็นรูปที่ก่อเป็นสุขหรือทุกข์ก็ได้แทบทันที เพราะความคุ้นเคยหรือดุจดั่งฟืนที่เคยไฟ และท่านเรียกรูปที่เกิดอย่างนี้ และรูปขันธ์หรือตัวตนที่มีอุปาทานครอบงําหรือทํางานร่วมด้วยแล้วว่า "รูปูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานรูป"
    เวทนา ก็เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานเวทนา เวทนาความรู้สึก ที่ประกอบหรือแอบแฝงด้วยความยึดมั่นด้วยกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวตน
    สัญญา ก็เรียกว่า สัญญูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานสัญญา สัญญาความจำ ที่ประกอบหรือแอบแฝงด้วยความยึดมั่นด้วยกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวตน
    สังขาร ก็เรียกว่า สังขารูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานสังขาร การกระทำต่างๆ ที่ประกอบหรือแอบแฝงด้วยความยึดมั่นด้วยกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวตน
    วิญญาณ ก็เรียกว่า วิญญานูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานวิญญาณ การรู้แจ้ง ที่ประกอบหรือแอบแฝงด้วยความยึดมั่นด้วยกิเลส เพื่อความพึงพอใจของตัวตน

    พอจําแนกการเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ เป็นได้ ๒ จําพวก
    ๑. เกิดจากขันธ์ ๕ ปกติ แล้วมีเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา หรือก็คือมีตัณหามากระทําต่อเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น ตามกระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์(ปฏิจจสมุปบาท)จึงเกิดอุปาทานขึ้น ดังนั้นขันธ์ที่เหลือที่เกิดต่อไปในขบวนหรือกระบวนธรรมจึงกลับกลายเป็นขันธ์ที่มีอุปาทานร่วมหรือครอบงําด้วย หรือก็คือกระบวนของขันธ์ ๕ ที่ยังดำเนินไปไม่จบกระบวน จึงต้องดำเนินเกิดต่อเนื่องจากเวทนาต่อไป จึงดำเนินต่อเนื่องไปแต่ครั้งนี้ล้วนประกอบหรือแฝงด้วยอุปาทาน กล่าวคือดำเนินต่อไปใน ชาติ และ ชรา อันเป็นทุกข์เร่าร้อนเสียแล้ว อันเมื่อแสดงเป็นแผนภูมิร่วมระหว่างขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาท เพื่อขยายให้เกิดความเข้าใจ พอแสดงได้ดังนี้
    ตา [​IMG] รูป [​IMG] วิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] เวทนา [​IMG] ตัณหา [​IMG] อุปาทาน [​IMG] ภพ [​IMG] ชาติ เกิดอันคืออุปาทานสัญญา [​IMG] อุปาทานสังขารขันธ์
    หรือแบบมีรายละเอียด
    ตา [​IMG] รูป [​IMG] วิญญาณ [​IMG]ผัสสะ[​IMG] สัญญาจํา [​IMG] เวทนา [​IMG] ตัณหา [​IMG] อุปาทาน [​IMG] ภพ [​IMG] ชาติ เกิดคือขันธ์ที่เหลือ เกิดต่อไปเป็นอุปาทานสัญญา(หมายรู้) [​IMG] อุปาทาน(มโน)วิญญาณ [​IMG] อุปาทานสังขารขันธ์
    แล้วเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ แบบข้อ ๒ ที่แสนเร่าร้อนเผาลนต่อเนื่องไปอีกหลายๆครั้ง วนเวียนเป็นวงจรย่อยๆอยู่ในชรา จนกว่าจะดับไป(มรณะ)
    ๒. เมื่อเกิดอุปาทานขันธ์ ดังข้อที่๑ แล้ว ก็จักเกิดอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ อันเกิดขึ้นจากความคิดนึกปรุงแต่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในเรื่องนั้นๆ คือ เกิด ดับๆ อีกหลายๆครั้งหลายๆหนอยู่ในชรา จนกว่าจะดับ(มรณะ)ไป กล่าวคือ อุปาทานสังขารขันธ์ จากที่เกิดขึ้นในข้อที่ ๑ นั้น เช่น เป็นความคิดใดๆ ก็จะถูกหยิบยกมาปรุงแต่งใหม่ขึ้นอีก ดังนั้นอุปาทานสังขารขันธ์ข้างต้นนี้ จึงถูกทำหน้าที่เป็น รูปูปาทานขันธ์ หรือเป็นอุปาทานรูป ของความคิดนึกปรุงแต่งครั้งใหม่ ดังนั้นขันธ์ต่างๆที่เกิดต่อเนื่องไปในชราดังที่แสดงด้านล่างนี้ จึงล้วนถูกครอบงําไว้ด้วยอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในตนของตนอย่างเรียบร้อยบริบูรณ์กล่าวคือทุกขันธ์ ตั้งแต่ต้นขบวนจนย่อมส่งผลไปถึงทุกๆขันธ์ที่เนื่องสัมพันธ์ต่อไป จนกว่าจะมรณะดับไป ดังวงจร
    <TABLE style="MARGIN-TOP: 2mm; MARGIN-BOTTOM: 2mm" width=332 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=326>
    รูปูปาทานขันธ์ + ใจ + วิญญูาณูปาทานขันธ์ [​IMG] เวทนูปาทานขันธ์
    [​IMG] อุปาทานขันธ์๕ต่างๆ อัน เกิดๆดับๆ วนเวียนอยู่ในชรา [​IMG]
    สังขารูปาทานขันธ์ * เช่น คิดที่เป็นทุกข์ [​IMG] สัญญูปาทานขันธ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    แล้วกระบวนจิตก็ดำเนินการคิดนึกปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านไปปรุงแต่งต่อไปเนื่องด้วยกำลังอำนาจของอุปาทานจึงหยุดไม่ได้ กล่าวคือ สังขารูปาทานขันธ์* (อุปาทานสังขารขันธ์)ที่เกิดจากความคิดแรกๆหรือความคิดที่ทำหน้าที่เป็นรูป(รูปูปาทานขันธ์ - อุปาทานรูปขันธ์)ที่ถูกครอบงำด้วยอุปาทานความยึดมั่นในความพึงพอใจของตัวของตนแล้วในวงจรข้างต้น จึงเป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดรูปูปาทานขันธ์ขึ้นใหม่อีก ดำเนินและเป็นไปเยี่ยงนี้ อย่างต่อเนื่องหรือค่อนข้างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ดังวงจรข้างต้น โดยไม่มีสติรู้เท่าทัน หรือรู้เท่าทันแต่ไม่สามารถหยุดได้เสียแล้วเพราะประกอบด้วยกำลังของอุปาทาน อันแรงกล้า อันเป็นไปโดยอาการธรรมชาติของปุถุชนผู้ยังไม่มีวิชชา อันคือดำเนินไปตามวงจรการเกิดขึ้นของทุกข์ปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปรมัตถธรรม
    หรือคือขันธ์ ๕ ที่ดําเนินไปตามภพอันคือสภาวะหรือบทบาทที่เลือก อันถูกครอบงําภายใต้อิทธิพลของอุปาทานนั่นเอง
    ตัวอย่าง อุปาทานขันธ์ในแบบ ข้อ ๒
    มีภพขัดข้องขุ่นเคือง มีความกลุ้มใจคิดอยากได้เงิน และเป็นทุกข์ใน"ชาติ-ชรามรณะ"แล้ว เนื่องจากความอยาก(ตัณหา)หรือความจําเป็นต้องใช้เงิน ดังนั้นเมื่อครุ่นคิดปรุงแต่งในเรื่องนี้ อันคือการเกิดของขันธ์ ๕ แต่เป็นอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์ เนื่องจากยังไม่ได้รับการตอบสนองตามตัณหาความอยากได้ อยากมี อยากให้เป็นไป ตามความพึงพอใจของตัวของตน
    ๑.ใจ [​IMG] คิด(อยากได้เงิน) [​IMG] ๓.(มโน)วิญญาณ [​IMG] ผัสสะ[​IMG] ๔.สัญญา [​IMG] ๕.เวทนา [​IMG] ๖.สัญญา [​IMG] ๗.(มโน)วิญญาณ [​IMG] ๘.สังขาร
    ๑.ใจ คือสฬายตนะหรืออายตนะภายในเหมือนตา หู จมูก ลิ้น กาย อันรวมเป็น ๖ อันปกติมีอวิชชาแฝงตัวอยู่แล้ว
    ๒."ความคิดอยากได้เงิน" อันเป็นธรรมารมณ์ทำหน้าที่เป็น"รูป" คือสิ่งที่ถูกรู้ แต่เป็นชนิดที่มีตัณหาอันก่ออุปาทานติดมาด้วยแล้วตามวงจรปฏิจจสมุปบาท จึงเป็นอุปาทานรูป(รูปูปาทานขันธ์) มีอุปาทานแฝงอยู่แล้วในรูปหรือเงินนั้น คือมีความพึงพอใจของตัวของตนในเงินหรือรูปนั้นร่วมอยู่ในจิตอยู่แล้ว
    ๓.(มโน)วิญญาณที่เป็นตัวกลางในการสื่อนํา ย่อมนําความพึงพอใจที่ยังไม่ได้รับการสนองที่มีนั้นไปด้วยตามหน้าที่ กลายเป็นวิญญาณที่มีแฝงความขุ่นเคืองขัดข้องตามภพที่ครอบงำร่วมติดไปด้วยในที จึงเรียกวิญญาณูปาทานขันธ์ หรืออุปาทานวิญญาณ
    ๔.สัญญา ความจําได้ในรูปที่เกิดขึ้นย่อมนึกถึง คุณค่าของเงิน และจํารู้ว่าใช้จ่ายเพื่อสิ่งใดๆได้ ร่วมมากับภพปฏิฆะจากการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองตามความพึงพอใจของตนในความคิดเรื่องเงินนั้นๆ จึงเป็นสัญญูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานสัญญา
    ๕.เวทนาที่เกิดเป็น "ทุกขเวทนา" เพราะความคิดอยากได้เงินนั้นแต่ยังไม่ได้ จึงเป็นเวทนูปาทานขันธ์ อันมีภพขัดข้องขุ่นเคืองเพราะอุปทานความพึงพอใจยินดียังไม่ได้รับการตอบสนองดังใจตน ตามตัณหาความอยาก
    ๖.สัญญาเกิดอีกครั้ง รวบรวมข้อมูลต่างๆทั้งเวทนา, ทั้งอุปาทานความพึงพอใจที่มีอยู่จึงยังคงเป็นสัญญูปาทานขันธ์ เพื่อหมายรู้สรุปโดยมีอุปาทานร่วมในขบวนการหมายรู้นี้เช่นกัน จึงหมายรู้เข้าลักษณะเอนเอียงไปตามความพึงพอใจของตนเป็นแก่นเป็นแกน
    ๗.(มโน)วิญญาณเกิดอีกครั้ง มารับรู้ สรุปข้อมูล ตัดสินใจ แล้วนําข้อมูลทั้งหมดอันล้วนแต่มีอุปาทานแฝงอยู่ทั้งสิ้น นําส่ง"สังขารขันธ์" เพื่อตอบโต้หรือสนองข้อมูลอันเกิดจากเวทนาและสัญญา
    ๘.สังขาร ก็คิดอ่านเจตนาขึ้นว่า(สัญเจตนา) จะทําอย่างไร อันแน่นอนว่าย่อมอยู่ภายใต้อิทธิพลของอุปาทานต่างๆตามที่แอบแฝงมานั้น เกิดเป็นสังขารูปาทานขันธ์ หรือ อุปาทานสังขาร คือเกิดเจตนาคิดอ่านเพื่อกระทํา, พูด , คิด(อันคือการกระทําทาง กาย, วจีสังขาร, มโนสังขาร) เพื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างก็ได้ หลายๆครั้งหลายๆหน ซึ่งล้วนถูกครอบอยู่ในอิทธิพลของอุปาทานที่ไม่ได้รับการสนองหรือภพปฏิฆะอันขุ่นข้องและขัดเคืองทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแต่ก่อให้เป็นทุกข์
    กายสังขาร-ออกไปทํางานหาเงินตามเจตนา หรือเล่นการพนัน ซื้อสลากกินแบ่ง
    หรือ เกิดวจีสังขาร บ่นอยากได้เงิน บ่นถึงความจน ความจําเป็นต่างๆนาๆ
    หรือ เกิดมโนสังขาร คิดฟุ้งซ่านหาเงิน หรือวางแผนหาเงิน วางแผนใช้เงิน อิจฉาคนมีเงิน ปล้น...ฯลฯ. ล้วนก่อทุกข์ใจทั้งสิ้น ทําให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมองไปคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องอื่นๆบานปลายออกไปอีก
    และสังขารคิดใดๆที่ขึ้นเกิดอีก ก็จักเป็นอุปาทานขันธ์๕เกิดใหม่ขึ้นอีก เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในทุกข์ คือความคิดที่อยากจะได้เงิน, หาเงินอย่างไร ซึ่งเป็นไปตามวงจรในช่วง "ชาติ-ชรามรณะ" ในสภาพชราหรือความแปรปรวนต่างๆนาๆ แล้วก็ดับไปและเก็บสะสมเป็นอาสวะกิเลส (ดูภาพวงจร สีแดงที่กําลังกระพริบคืออุปาทานขันธ์๕ที่เกิดๆดับๆอย่างต่อเนื่อง)
    เห็นได้ว่าอุปาทานเริ่มมาตั้งแต่หัวขบวนของขันธ์๕คือรูปจนจบสังขาร, และยังจะเกิดอุปาทานขันธ์๕อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีสติ หรือถูกเบี่ยงเบนบดบังด้วยสาเหตุอื่นๆ
    ตัวอย่างอุปาทานขันธ์๕ มองแบบขันธ์๕, ใจคิดถึงคนที่เกลียดหรือทําให้เราโกรธหรือเรื่องที่เกลียด
    ใจ + ธรรมารมณ์(คิดในเรื่องคนที่เกลียดนั้น) + มโนวิญญาณหรือวิญญาณของใจรับรู้.....เกิดสัญญาขั้นแรกจําได้ถึงความเกลียดโกรธนั้น ทําให้เกิดทุกขเวทนาขึ้นทันทีเพราะเป็นทุกขเวทนาที่จําได้อยู่แล้ว สัญญาหมายรู้ทั้งหลายรวบรวมสรุปภายใต้อิทธิพลของความจําเดิมๆ..... มโนวิญญาณใจรับรู้ข้อมูลทั้งหมดตัดสินใจ..... สังขารขันธ์อันมีอิทธิพลของความจําเดิมๆครอบงำอยู่ ทําให้ความคิดอ่าน(สัญเจตนา-เจตนา)ในการกระทําใดๆทางกาย ทางวาจา ใจ-คิดอันใด ล้วนแต่เป็นสิ่งที่กระทําตอบโต้หรือตอบสนองต่อทุกขเวทนาที่เกิดนั้นทั้งสิ้น (เช่น ทางกาย-ลงมือลงไม้คนที่เกลียด, ทางวาจา-นินทา ด่าทอต่างๆนาๆ, ทางใจ-ครุ่นคิดด่อทอ สาปแช่งอยู่ในใจ) มีอาการปฏิฆะเกิดขึ้นชั่วขณะตามสภาวะธรรม(ชาติ)แล้วก็ดับไปถ้าไม่คิดปรุงแต่งให้เกิดตัณหาขึ้นมา ต้องยอมรับและเข้าใจเวทนาที่เกิดขึ้นนั้นก็จักไม่เป็นทุกข์ นี้เป็นเพียงตัวอย่างของขันธ์๕ปกติธรรมดายังไม่ใช่อุปาทานขันธ์๕แท้ๆ เป็นแค่ขันธ์๕ในความทุกข์เดิมๆ ดับได้ง่ายถ้ารู้เท่าทัน
    แต่ถ้าเกิดตัณหาความอยาก,ไม่อยาก ในทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นจากความคิดปรุงแต่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นอีก ก็เป็นอันเข้าไปในกระบวนการเกิดทุกข์อีกทันที อันยังใหทุกขเวทนานี้กลายเป็นอุปาทานเวทนาอันยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ต่างๆอันเป็นทุกข์ และขยายปรุงแต่งต่อเติมเกิดๆดับๆไปเรื่อยๆ หรือครอบงําไปยังเรื่องอื่นๆอีกอันเนื่องมาจากทุกข์ที่เกิดและจิตขุ่นมัวที่บังเกิดขึ้นแล้วนั่นเอง
    ข้อสังเกตุ สังขารคิดที่เกิดขึ้นในปฏิจจสมุปบาทความจริงแล้วแฝงด้วยทุกข์ หรือเป็นอุปาทานขันธ์๕อยู่ในทีอยู่แล้วคือนอนเนื่องยังไม่ทํางานเพราะเกิดแต่อาสวะกิเลส หรือสัญญาชนิดมีกิเลส แต่ถ้ามีตัณหาปรุงแต่งเข้าไปขึ้นมาก็จะเกิดทุกข์ซํ้าขึ้นอีก อันเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาท อย่าเกิดตัณหาอยาก,ไม่อยากเข้าไปอีกจักเป็นทุกข์จริงๆ อันรวมทั้งหยุดคิดนึกปรุงแต่งด้วยเพราะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาขึ้นใหม่อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาต่อเวทนาที่เกิดขึ้นใหมได้ด้วย
    ส่วนสังขารขันธ์คิดหรือจิตสังขารในขันธ์๕ เป็นสังขารคิดที่เป็นปกติธรรมชาติในการดําเนินชีวิตให้เป็นปกติ อย่าใส่ตัณหาความอยากและไม่อยาก และหยุดคิดนึกปรุงแต่งด้วยเช่นกัน เท่านั้นก็จะจางคลายจากทุกข์

    ข้อคิด
    ตัณหา ที่เกิดขึ้นในบางครั้งเราสามารถสังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจนเช่นความทะยานอยากหรือไม่อยากในสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุนแรง แต่เดิมเรามีอวิชชาความไม่รู้ว่าเป็นโทษจึงมักปล่อยปละละเลย หรือสนองตอบตัณหาความต้องการนั้น อันทําให้กิเลสตัณหานั้นเติบโตกล้าแข็ง จนในที่สุดก็ไม่สามารถสนองตามตัณหานั้นได้ในที่สุด
    และในความเป็นจริงนั้นส่วนใหญ่ตัณหามักแอบแฝงเข้ามาในรูปของความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆอันล้วนยังให้เกิดเวทนา, ความเพลิดเพลิน(นันทิ)ตลอดจนคิดเรื่อยเปื่อย สารพัดรูปแบบ อันมักทําให้ผู้ปฏิบัติตามไม่ทันเล่เหลี่ยมมายาของจิตตนเอง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือเมื่อสังขารขันธ์ในขันธ์๕ทํางานเรียบร้อยตามหน้าที่ของตัวแล้ว ออกมาเป็นสังขารขันธ์ใดๆก็ตามแม้แต่ความโกรธก็ไม่เป็นไร เขาเพียงแต่ทําหน้าที่ของเขาอย่างถูกต้องตามข้อมูลที่มี, หน้าที่อันพึงกระทําของเราคือละตัณหาที่มักแอบแฝงมากับความคิดนึกปรุงแต่งอันยังให้เกิดเวทนา โดยการหยุดนึกคิดปรุงแต่งนั่นเอง อย่าให้จิตมีโอกาสหลอกล่อปรุงแต่งให้เป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป อันคือการเกิดของขันธ์๕ขึ้นอีกครั้งหรือหลายๆครั้ง อันย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้นอีกด้วยอย่างแน่นอน อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ขึ้นมา, อันนี้แหละที่จักเป็นโอกาสอันดีงามของตัณหาในอันที่จักคืบคลานแอบแฝงเข้ามากับความนึกคิดปรุงแต่งนั้นๆ หรือก็คือสมควรถืออุเบกขาเสียนั่นเอง
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณเสขะ บุคคลครับ

    อะไรคือกายสังขาร สิ่งต่างๆทั้งหลายที่ปรุงแต่งกายให้เป็นไปตามสิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งกายนั้น

    แต่คนส่วนใหญ่แล้วมักไม่รู้สึกตัวว่ากำลังถูกปรุงแต่ง แต่กลับเข้าใจไปว่าสิ่งที่ปรุงแต่งเหล่านั้นเป็นของๆตน เกิดขึ้นเอง

    แม้ลมหายใจก็เป็นกายสังขารเช่นกัน สืบเนื่องจากธาตุ๖มาประชุมรวมกันให้เกิดชีวิตินทรีย์ เป็นกายสังขารขึ้นมา

    เพราะมีจิตหรือวิญญาณธาตุถือครองใน(อาศัย)กายสังขารนั้นอยู่ ของใครของมัน

    อะไรคือจิต จิตคือธาตุรู้ ย่อมทรงไว้ซึ่งความรู้อยู่ทุกกาลสมัย

    การที่จิตมีปัญหาอยู่ทุกวันนี้ เพราะจิตรู้ผิดไปจากความเป็นจริง จิตถูกอวิชชาครอบงำ

    คือจิตไม่รู้จักอริยสัจ๔ตามความเป็นจริง เมื่อรู้อะไรแล้ว มักยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่รู้นั้นว่าเป็นตน เป็นของๆตนนั่นเอง

    อะไรคือจิตหนึ่ง จิตหนึ่งก็คือจิตที่เป็นอิสระแล้วจากอาการของจิตทั้งปวง
    (ไม่แสดงอาการไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายแล้ว)โดยสิ้นเชิง

    มีเพียงแต่กิริยาจิตเท่านั้น ไม่ถูกอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลายปรุงแต่งให้จิตเสียคุณภาพ จนเกิดอาการของจิตขึ้นมาอีก

    อะไรคือจิตสังขารหรืออะไรคืออาการของจิต จิตที่ถูกอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งจนจิตเสียคุณภาพไป ล้วนเป็นจิตสังขารทั้งสิ้น

    หรือที่เรียกว่าอาการของจิตที่เกิดขึ้นและเป็นไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เข้ามาปรุงแต่งในขณะนั้น และดับไปตามนั้น

    ไม่ใช่ "จิต"เป็นเพียงอาการของจิตหรือจิตสังขารเท่านั้น

    เช่นจิตเมื่อมีราคะ จิตย่อมแสดงออกไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่ปรุงแต่งในขณะนั้น

    สืบเนื่องจากจิตขาดสติคอยกำกับนั้นเอง ต่อเมื่อจิตรู้ตัวทัน จิตก็รู้ว่าเมื่อสักครู่ที่ผ่านมานั้น จิตมีราคะเข้ามาปรุงแต่งครอบงำใช่มั้ย???

    อะไรคืออุปทานขันธ์ อุปทานขันธ์นั้นก็คือการที่จิตชอบเที่ยวแส่ส่ายออกไป

    ยึดมั่นถือมั่นใน รูปวัตถุสิ่งของต่างๆ และอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆทั้งหลายมาเป็นตน เป็นของๆตนนั่นเอง

    อะไรคือหลุดพ้นจากขันธ์ อะไรหละที่หลุดพ้นจากอุปทานขันธ์ทั้งหลาย

    อะไรหละที่ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอุปทานขันธ์ ถ้าไม่ใช่จิตของผู้ปฏิบัติ???

    พระพุทธวจนะในพระอนัตตลักขณสูตร พระองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนแล้ว ดังนี้

    [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อริยสาวก ผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่ อย่างนี้

    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ

    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด
    เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็หลุดพ้น
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

    อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
    .

    [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี

    (ในพระบาลีเขียนไว้ดังนี้ อตฺตมนา=อตฺต แปลว่า ตน มนา แปล ว่าใจ)
    เพลิดเพลินภาษิตของผู้มีพระภาค.

    ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่
    จิตของพระปัญจวัคคีย์ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น อนัตตลักขณสูตร จบ
    ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์ ในครั้งกระนั้น พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์


    ;aa24

     
  7. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    อนุโมทนาในคำตอบของทุกท่านนะครับ จะนำไปพิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงต่อไป ....

    มีใครมีทิฐิที่เห็นต่างออกไปจากนี้ ช่วยแนะนำเพื่อปรับทิฐิให้ถูกตรงต่อไป ...
     
  8. gandaan

    gandaan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +163
    ....จิตดูจิต จิตรู้...จิดจะดับหรือไม่ก็เรื่องของจิต....เรารู้ดูอย่างเดียว....อย่าตาม ถ้าตามไปเกาะเกี่ยวผูกพันเมื่อไหร่ทุกข์เมื่อนั้น เกิดการปรุงแต่งตลอด จึงติดในโลกสมมุติ เหมือนแมงมุมชักใยพันตัวเอง.....
     
  9. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    จิตคือธาตุรู้ ถ้าจิตดับคือรู้ดับ
    แล้ว...เราจะรู้ดูอย่างเดียว...ได้อย่างไร???


    เราก็คือจิต (จิตของตนเองนั้นแหละ)
    ต้องรู้อยู่ที่รู้ (อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติของจิตตนเอง = สติปัฏฐาน)
    อย่าไปรู้อยู่ที่เรื่อง (อารมณ์)

    จิตของเราก็จะไม่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์ (รูป)
    ทำให้ไม่เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
    ทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นที่จิต


    (smile)
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณgandaanครับ

    เมื่อจิตดูจิต จิตรู้เห็น อาการของจิตจะเกิดจะดับ จิตต้องรู้ใช่มั้ยครับ???

    รู้อย่างเดียวพอหรือครับ??? ถ้ารู้แล้วละเรื่องที่รู้ไม่เป็นจะมีประโยชน์อะไรครับ???

    ใครครับที่ชอบตามไปเกาะเกี่ยวผูกพันกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอยู่ตลอดเวลา ใช่จิตมั้ยครับ???

    โลกียจิต คือ จิตที่ติดอยู่ในโลก ข้องอยู่ในโลก ใช่ติดสมมุติมั้ยครับ???

    โลกุตรจิต คือ จิตที่พ้นโลก จิตที่เหนือโลก ใช่พ้นสมมุติมั้ยครับ???

    ;aa24
     
  11. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    จิตเกิดมีไหม จิตตายมีไหม ?

    หากชาตินี้ภาวนาแล้ว ไม่เห็นจิตเกิด ไม่เห็นจิตตาย ก็ไม่เห็นความจริง ?

    มาดูคำสอนของหลวงพ่อสงบ มนัสโต เรื่อง การยกคำสอนจิตเกิดจิตตายมี มี มี!! กัน


    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>นี่เราจะพูดให้เห็นว่าวัฏฏะมันหมุนเวียนอย่างนี้ แต่ในปัจจุบัน ชาติปัจจุบันนี้เรา
    ทำให้ดีที่สุด แล้วเพราะอะไร เพราะเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา สิ่งที่เรารู้ได้ เราทำได้
    เพราะเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราศึกษาแล้วเราก็ลังเลสงสัย
    แต่ถ้าคนที่ปฏิบัติไปแล้วมันเห็นจริงหมดนะ ถ้ามันไม่เห็นจริง ไม่เห็นจิตเกิด จิตตาย แล้ว
    มันจะเห็นจริงได้อย่างไร แล้วจิตเกิดจิตตาย จิตที่มันเกิดนี่นะ มันมีกิเลส มีอาสวะ มันมี​
    เป็นแสนๆ ล้านๆ ชาติ

    คำว่าจิตตายคือกิเลสตาย จิตเกิดจิตตาย ถ้าจิตยังเกิดอยู่ ยังมีอวิชชาอยู่ ยังมีข้อมูล
    อยู่ คอมพิวเตอร์มันมีโปรแกรมอยู่เอ็งกดเมื่อไหร่ก็ออกหมดใช่ไหม แล้วถ้าคอมพิวเตอร์
    ไม่มีโปรแกรม คอมพิวเตอร์กดแล้วมันจะมีข้อมูลออกมาไหม จิตตายคือข้อมูลนั้นโดน
    ทำลายหมด อวิชชาในหัวใจโดนทำลายหมด มันแค่คอมพิวเตอร์เปล่าๆ ร่างกายนี้เปล่าๆ
    พลังงานคือพลังงานสะอาด ไม่มีอะไรอีกแล้ว จิตตายคือกิเลสมันตายไปจากจิต แล้วมัน
    จะไม่เกิดไม่ตายอีกเลย นี่ไง สิ่งที่มันเกิดตาย มันถึงมีเวรมีกรรมกันมานี่ไง เดี๋ยวโดนไอ้​
    นั่น เดี๋ยวโดนไอ้นี่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ก็จะเห็นว่า เมื่อถึงที่สุด จิตจะต้องไม่เกิดอีก คือ เมื่อกิเลสหมจากจิตแล้ว จิตจะไม่เกิด
    อีก หากจิตยังเกิดอีกก็แปลว่ามันยังมีอวิชชา มีอาสวะหลงเหลือ

    อาจจะมีคนถามว่า หากจิตไม่เกิดอีกหลังจากสิ้นกิเลสแล้ว แล้วที่ยังเดินๆอยู่คืออะไร

    ก็จิตมันไม่เกิดไม่ตายแล้ว สิ่งที่ปรากฏก็ไม่เรียกว่าจิตอีก แต่เนื่องจากไม่มีศัพท์ใช้แล้ว
    จึงต้องยืมคำว่า จิตมาใช้ต่อ แต่ต้องเดิมคุณศัพท์ให้ครบ คือ "จิตเหนือการเกิดการตาย"
    "จิตเป็นธรรมธาตุ" หรือใช้ "จิตไม่เกิดไม่ตาย"

    ก็จะเห็นว่า จิตไม่เกิดไม่ตาย นี้ย้อนกลับมาใช้อีก แต่การใช้คำนี้จะต้องเป็น กลุ่มคำ ทำ
    หน้าที่เฉพาะ ไม่ใช่คำโดดที่จะแยกออกไปเพื่อแสดงว่ามันไม่เกิดมันไม่ตาย ถ้าจะเขียน
    หรือพูดให้ถูกต้องไม่คลุมเครือ ก็ต้องพูดว่า "จิตที่ไม่เกิดไม่ตาย" เพราะหากไม่เติมคำว่า
    ที่ลงไป คำๆนี้ก็จะไปตีกันเองกับบทธรรมปฏิบัติที่จะต้องเห็นตามจริง คือ ต้องเห็นการเกิด
    การตายของจิต หากไม่เห็น อยู่ดีๆไปพูดว่า จิตไม่เกิดไม่ตาย ก็จะเป็นเรื่องเรียนลัดไป

    สรุปคือ การปฏิบัติ จะต้องเข้ามาเห็นการเกิดการตายของจิต แล้วเห็นเหตุที่จะให้พ้นเรื่อง
    การเกิดการตายของจิต นั้นก็คือไปเห็น การสิ้นกิเลส คือ เหตุของการพ้นการเกิดการตาย
    พ้นไปทั้งสอง คือพ้นทั้งการเกิด และพ้นทั้งการตาย พ้นทั้งคู่ ไม่ใช่ยังเกิดแต่พ้นเฉพาะการ
    ตาย

    คำว่า เกิด กับ ตาย นี้จะเป็นภาษาชาวบ้าน ภาษาพื้นบ้านที่คนธรรมดาจะเข้าใจ แต่ในกรณี
    คนที่มีปัญญามาก จะใช้คำว่า เกิด ดับ มาแทนที่ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปตกอกตกใจอะไร

    เพราะขนาดใช้คำว่า เกิด ตาย สลับกัน ยังใช้ได้ ทำไมจะใช้คำว่า เกิด ดับ ไม่ได้ ทำไมจะ
    ต้องไปกลัวว่า ดับไปดวงหนึ่งแล้วอีกดวงจะมาแต่ไหน เพราะหากเข้าใจได้ว่า ตายไปแล้ว
    แล้วมันมาเกิดได้อย่างไร มันก็ ดับแล้วเกิดด้วยอาการเดียวกัน ก็ขอให้เข้าใจแบบนั้น

    และจิตพ้นเกิดจิตพ้นการตาย ด้วยอาการอย่างไร จิตก็พ้นการเกิดการดับด้วยอาการอย่าง
    เดียวกัน คำสอนเหมือนกัน เหมือนกัน เหมือนกัน

    สาธุชนคนที่เป็นบัณฑิต(ผู้รอบรู้,รอบครอบ) ย่อมไม่ยกความแตกต่างเพียงแค่ การใช้รูป
    ศัพท์ที่ตนพอใจเล็งเห็นว่าใช้สอนคนในวาสนาของตนได้ หรือหวงแหนเอาไว้เฉพาะวาระวาทะ
    ตนเท่านั้นที่แตกต่าง


    อ้างอิง : จิตวิญญาณ<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    การเกิดดับและวิถีจิต

    <!-- Main -->ธรรมชาติการ เกิด-ดับ ของจิต

    จิตเป็นธรรมชาติที่เกิดดับเร็วที่สุดไม่มีอะไรที่รวดเร็วเท่าจิต เมื่อจิตดวงหนึ่งดับไป จิตดวงหนึ่งก็เกิดขึ้นมาแทนที่ แต่ก่อนที่จิตดวงก่อนจะดับไปนั้น ได้ทิ้งเชื้อคือกรรมและกิเลสไว้ให้จิตดวงต่อไป เหมือนกับมารดาบิดา แม้จะตายจากไปแล้วก็ยังได้ทิ้งกรรมพันธุ์ให้แก่ลูกหลานได้นำสืบไป การเกิดดับของจิตเป็นไปรวดเร็วติดต่อกัน จนเราไม่อาจที่จะกำหนดได้ เช่นเดียวกับกระแสไฟฟ้าที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา แต่ติดต่อกันรวดเร็วจนเราไม่อาจจะสังเกตได้

    จิตเกิดดับครั้งหนึ่งเรียกว่า “ขณะหนึ่ง หรือดวงหนึ่งของจิต” และจิตดวงหนึ่งยังมีขณะเล็กหรืออนุขณะอีก ๓ คือ อุปปาทขณะ ฐิติขณะและภังคขณะ

    ขณะที่จิตเริ่มเกิด เรียกว่า อุปปาทขณะ ขณะที่จิตตั้งอยู่ยังไม่ดับไป เรียกว่า ฐิติขณะ ส่วนขณะที่จิตกำลังดับไป เรียกว่า ภังคขณะ

    อายุของจิตขณะหนึ่ง ๆ มีความเกิดดับรวดเร็วมาก ซึ่งเมื่อเปรียบกับอายุของรูปที่ปรากฏขึ้นขณะหนึ่ง ๆ แล้ว ก็คือจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะใหญ่ เท่ากับรูปดับไปครั้งหนึ่ง ดังที่พระอนุรุทธาจารย์กล่าวไว้ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ว่า ตานิ ปน สตฺตรส จิตฺตกฺขณานิ รูปธมฺมานมายูฯ แปลความว่า “อายุของจิต ๑๗ ขณะใหญ่ เท่ากับอายุของรูป ๑ ขณะ”

    อายุของรูปธรรมที่นำมาเปรียบกับจิตนี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะรูป ๒๒ รูป (เว้นวิญญัติรูป ๒ และลักขณรูป ๔)

    ลักษณะการดับหรือการตายของรูปร่างกายนี้ก็นับว่ารวดเร็วมาก แต่ก็ยังนับว่าช้ากว่าการดับของจิตถึง ๑๗ เท่า ลักษณะการดับของรูปหรือการตายของรูปนั้น มีอยู่ตลอดเวลาในร่างกายของคนเรา แต่เราไม่อาจจะสังเกตเห็นได้ เพราะมีรูปเกิดขึ้นมาทดแทนรวดเร็วมากเช่นเมื่อเซลล์เนื้อ หรือเซลล์เส้นผมก็ตาม และเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเหล่านี้เล็กมาก เราจึงไม่อาจจะสังเกตเห็นมันได้ แต่ถ้าเราไม่ใช้กล้องจุลทัศน์ส่องดูแล้ว เราก็จะทราบได้ว่าเซลล์เหล่านี้ตายแล้วเกิดใหม่ขึ้นมาทดแทนอยู่ตลอดเวลาซึ่งหลักการอันนี้ของพุทธศาสนาก็ตรงกับหลักของสรีรวิทยาหรือชีววิทยาทางด้านวิทยาศาสตร์


    ขณะจิตทั้ง ๑๗ ขณะ เป็นคำสอนที่ละเอียดสุขุมมากอย่างหนึ่งในพระอภิธรรม จะนำมาอธิบายแต่โดยย่อ ดังนี้

    ขณะจิตที่ ๑ อตีตภวังค์
    เป็นภวังคจิตที่กระทบกับอารมณ์ทั้ง ๕ มีรูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในปัจจุบันเป็นครั้งแรก
    การที่จะเข้าใจอตีตภวังค์ก็จำต้องเข้าใจลักษณะของภวังคจิตเสียก่อน ภวังคจิตหมายถึงจิตที่ทำหน้าที่รักษาภพชาติ
    คือรักษาผลของกรรมที่ถือกำเนิดมาในภพชาตินั้น ๆ และรักษารูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานให้ดำรงอยู่ในอาการปกติ
    เช่น รูปที่เกิดจากการหายใจเข้าออกเป็นต้น

    ภวังคจิตมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่รักษาสืบเนื่องมาแต่ภพก่อน ซึ่งเรียกว่าอารมณ์เก่าหรืออดีตอารมณ์
    ได้แก่ กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ และคตินิมิตอารมณ์ หรือเรียกสั้นๆ ว่ากรรม กรรมนิมิต และคตินิมิต
    อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนี้ซึ่งจิตเริ่มรับมาแต่ปฏิสนธิวิญญาณปรากฏขึ้นแล้วดับลงไป ต่อจากนั้น คือในทันใดนั้น
    ปฐมภวังค์ คือ ภวังคจิตดวงแรกที่เกิดขึ้นในภพใหม่ก็จะเกิดขึ้นรับอารมณ์นั้นสืบต่อจากปฏิสนธิวิญญาณ
    แล้วภวังคจิตดวงอื่น ๆ ก็จะเกิดขึ้นรับอารมณ์เช่นเดียวกันนี้เรื่อยไปจนกว่าจะสิ้นชีวิต

    ในช่วงระหว่างปฏิสนธิกับจุติในภพชาติหนี่ง ๆ ภวังคจิตจะทำหน้าที่รับอตีตารมณ์
    (คือ กรรม กรรมนิมิต หรือคตินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง) เรื่อย ๆ ไป ถ้าไม่มีอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันชาติ
    มากระทบภวังคจิตให้ไหวเปลี่ยนไปรับอารมณ์ใหม่ที่มากระทบนั้นแล้ว จิตจะคงรับอารมณ์เก่าเป็นภวังคจิต
    รักษาภพชาติของตนอยู่สืบไป ภวังคจิตเช่นนี้เองที่เรียกว่า อตีตภวังค์ จิตในขณะนี้ยังไม่ขึ้นสู่วิถี
    ยังเป็นวิถีมุตตจิต คือจิตที่พ้นจากวิถีอยู่ ยังไม่ได้ขึ้นสู่วิถี

    ขณะจิตที่ ๒ ภวังคจลนะ
    มีความเคลื่อนไหวของภวังคจิต หรืออาการที่ภวังคจิตเคลื่อนไหว เป็นภวังคจิตที่เกิดต่อจากอตีตภวังค์
    มีอาการไหวคลายจากอารมณ์เก่า แต่ยังคงเป็นภวังคจิตอยู่นั่นเอง แต่ต่างกับอตีตภวังค์ตรงที่มีการกระทบกับอารมณ์ใหม่
    แล้วเกิดความไหวขึ้น จิตดวงนี้ก็จัดเป็น วิถีมุตตจิต คือจิตที่ยังไม่ขึ้นสู่วิถีเช่นกัน

    ขณะจิตที่ ๓ ภวังคุปัจเฉทะ
    เป็นภวังคจิตที่เริ่มตัดขาดอารมณ์เก่า กำลังจะเตรียมตัวขึ้นสู่วิถีจิต คือภวังคจิตที่เริ่มปล่อยอารมณ์เก่า
    จนขาดจากอารมณ์เก่าที่ตรงกับภังคขณะ (ขณะดับ) ของจิต แต่จิตในขณะนี้ยังรับอารมรมณ์เก่าอยู่ จึงยังไม่เป็นจิตที่ขึ้นสู่วิถี

    ขณะจิตที่ ๔ ปัญจทวาราวัชชนะ
    เป็นอเหตุกจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ใหม่ที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น และ กาย
    ให้รู้ว่าอารมณ์ที่มากระทบนั้น เป็นอารมณ์ที่มาจากทวารไหน เพื่อเป็นปัจจัยให้สัญญาณแก่วิญญาณทางทวารนั้น ๆ

    ปัญจทวาราวัชชนจิตนี้ เป็นจิตที่รับอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันเป็นครั้งแรกในวิถีหนึ่ง ๆ
    จึงนับเป็นจิตดวงแรกที่ขึ้นสู่วิถีรับอารมณ์ใหม่ เป็นปัจจัย (เหตุหนุน) แก่จิตดวงต่อ ๆ ไปให้รับปัญจารมณ์นั้นไปจนสุดวิถี


    ขณะจิตที่ ๕ ปัญจวิญญาณ
    คือ จิต ๕ ดวงที่เกิดขึ้นรับปัญจารมณ์ดวงใดดวงหนึ่งตามสมควรแก่อารมณ์ที่มากระทบในขณะนั้นคือ
    ๑. จักขุวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับรูปารมณ์ คือเห็นรูป
    ๒. โสตวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับสัททารมณ์ คือฟังเสียง
    ๓. ฆานวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับคันธารมณ์ คือสูดกลิ่น
    ๔. ชิวหาวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับรสารมณ์ คือรู้รส
    ๕. กายวิญญาณ ปรากฏขึ้นรับโผฏฐัพพารมณ์ คือรู้สัมผัสทางกายทวาร และอารมณ์เพื่อทำกิจในการเห็นหรือการได้ยินเป็นต้น

    เมื่อปัญจวิญญาณ อันเป็นขณะจิตดวงที่ ๕ ดับลง
    ขณะจิตที่ ๖ คือ สัมปฏิจฉันนะ ก็เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ ที่ได้เห็นหรือได้ยินเป็นต้น
    และส่งมอบอารมณ์นั้นต่อไปให้กับสันตีรณะ เมื่อสัมปฏิจฉันนจิตดับลง
    ขณะจิตที่ ๗ คือ สันตีรณะ ก็เกิดขึ้นเพื่อไต่สวนอารมณ์ที่ได้รับมาจากสัมปฏิจฉันนะ
    เพื่อให้รู้ว่าอารมณ์ที่ได้รับนี้ดีหรือไม่ดีประการใด ถ้าเป็นอติอิฏฐารมณ์คืออารมณ์ที่ดียิ่ง
    โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากจิตก็เกิดขึ้นทำหน้าที่พิจารณาไต่สวนอารมณ์นั้น
    ถ้าเป็นอิฏฐมัชฌัตตารมณ์คืออารมณ์ดีปานกลาง อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากจิตก็เกิดขึ้นทำหน้าที่รับอารมณ์นั้น
    แต่ถ้าเป็นอนิฏฐารมณ์คืออารมณ์ไม่ดี อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบากจิตก็ทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาอารมณ์นั้น
    แล้วดับไปพร้อมกับส่งมอบให้กับโวฏฐัพพนจิต

    เมื่อสันตีรณจิตดับลง
    ขณะจิตที่ ๘ โวฏฐัพพนจิต ก็เกิดขึ้นทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจ คือ ตัดสินอารมณ์ว่าจะให้เป็นกุศลหรืออกุศลต่อไป
    เมื่อโวฏฐัพพนจิตดับลงแล้ว ขณะจิตที่ ๙ คือ ชวนะ ก็เกิดขึ้น

    ขณะจิตที่ ๙ คือ ชวนะ
    ทำหน้าที่ชวนกิจ คือเสวยหรือเสพรสของอารมณ์ที่โวฏฐัพพนจิต ได้ตัดสินแล้วนั้น
    โดยความเป็นกุศลชวนะหรืออกุศล ชวนะจิตดวงนี้เรียกชวนจิตเพราะทำหน้าที่เสพรสแห่งอารมณ์ที่เป็นกุศลอกุศล
    หรือบุญบาปที่ปรากฏขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย ข้อนี้หมายความว่า บุญหรือบาปจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องเข้าถึงชวนจิตเสียก่อน
    เว้นไว้แต่ชวนจิตของพระอรหันต์ที่จัดเป็นกิริยาชวนะ เพราะเป็นจิตที่พ้นจากอารมณ์ที่พ้นจากกรรมอันเป็นกุศลหรืออกุศลแล้ว

    นับตั้งแต่ขณะจิตที่ ๙ ถึงขณะจิตที่ ๑๕ ทั้ง ๗ ขณะจิตนี้จิตทำหน้าที่เพื่อเสวยรสของอารมณ์เป็นชวนกิจอย่างเดียว
    ในกามชวนะนี้มีขณะจิตเกิดได้ทั้ง ๗ ขณะ เมื่อชวนจิตทำหน้าที่เสวยรสแห่งอารมณ์ไปแล้ว ๗ ขณะ ก็ดับลง

    ต่อจากนั้นขณะจิตที่ ๑๖ และที่ ๑๗ ก็เกิดขึ้นรับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะ เพื่อหน่วงอารมณ์นั้นลงสู่ภวังค์ตามเดิม
    เรียกจิตทั้ง ๒ ดวงนี้ว่า ตทาลัมพนจิต

    ขณะจิตที่ ๑๖ และ ๑๗ คือ ตทาลัมพนจิต
    เกิดเพื่อรับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะตามสมควรแก่อารมณ์ และจะต้องเกิดขึ้น ๒ ครั้ง หรือ ๒ ขณะเสมอไป
    เท่ากับอายุของอารมณ์ที่ดำรงอยู่ได้ เมื่อถึงขณะจิตที่ ๑๗ พอดี ก็เป็นอันสุดวิถีจิตในวิถีหนึ่ง ๆ

    ต่อจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของภวังคจิตเกิดขึ้นตามธรรมชาติต่อไป

    .................................................................................................................


    พระอภิธรรม กล่าวว่า จิตเกิดดับสืบเนื่องกันไป( 17 ขณะ)
    ..แต่ก็ยังมีผู้รู้สมัยนี้ บอกว่าจิตเป็นอัตตา ไม่มีเกิดดับ

    ตกลงจะเชื่อใคร ....พระพุทธเจ้า หรือผู้รู้สมัยนี้
    ท่านผู้มีปัญญาพิจารณากันเองเถอะครับ.......<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2010
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณเล่าปังครับ

    คุณอย่าเอานิสัยถาวรแอบเนียน อธิบายธรรมของพ่อแม่ครูบาอาจารย์

    เพื่อหลอกด่าคนอื่นสิครับ ตรงไหนครับ ที่บอกว่าคนที่มีปัญญามากจึงเห็นจิตเกิดดับ

    แถมยังบอกอีกว่าอย่ากลัวว่า "ดับไปดวงหนึ่งแล้วอีกดวงจะมาแต่ไหน เพราะหากเข้าใจได้ว่า ตายไปแล้ว"

    ที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านเทศน์สอนนั้น ท่านบอกให้รู้ว่าที่จิตตายไปนั้น จิตตายคือกิเลสมันตายไปจากจิต

    ไม่ใช่อย่างที่คุณพยายามมั่ว อธิบายอยู่นั้นหรอกครับ

    คนละเรื่องกับที่คุณกำลังแอบอ้างและพยายามอธิบายเพื่อเข้าข้างทิฐิตัวเองอยู่นะครับ

    จะอธิบายทั้งทีควรให้ชัดเจนหน่อยสิครับ ที่เกิด-ดับนั้นมันเป็นเพียงอาการของจิตเท่านั้นใช่มั้ยครับ???

    ผมถามนะครับ ที่คุณพูดว่า

    "จะต้องเข้ามาเห็นการเกิดการตายของจิต แล้วเห็นเหตุที่จะให้พ้นเรื่องการเกิดการตายของจิต"

    ใครครับที่เข้าไปเห็นการเกิดการตายของจิต???

    ใช่ตัวจิตเองใช่มั้ยครับ??? ที่เห็นตนเองตายไปแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลาย???


    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2010
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณโลกุตตระครับ

    คุณไม่รู้จริงๆหรือครับที่คุณยกมานั้นเป็นของอรรถกถาจารย์ ที่รจนาขึ้นมาในภายหลังครับ

    ผู้มีปัญญาเค้าก็รู้ทั้งนั้นแหละครับว่า อรรถกถาจารย์กับพระพุทธพจน์ มีที่แตกต่างกันในหลายแห่ง

    ในพระสูตรชั้นต้นๆนั้น มีพระพุทธพจน์ตรงไหนครับ??? ที่พระองค์ทรงกล่าวจิตเกิดดับ

    ของแบบนี้คิดเองเออเองไม่ได้นะครับ หรือเชื่อแบบตามๆกันมาโดยไม่ลืมหูลืมตาทั้งที่ขาดเหตุผลครับ

    พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ว่า

    ๑.ละชั่ว ๒.ทำดี ๓.ชำระจิตให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง

    มีตรงไหนครับที่พระองค์ทรงกล่าวว่า ชำระจิตที่เกิดดับครับ???

    อย่าลืมเอาหลักฐานที่เป็นพระพุทธพจน์มาแสดงด้วยนะครับ

    ผมถามคุณนะครับ ที่คุณบอกว่า"จิตเกิดดับสืบเนื่องกันไป( 17 ขณะ)"

    ขณะนั้นคุณรู้มั้ยว่าจิตกำลังเกิดดับอยู่??? อย่าบอกนะครับว่ารวดเร็วมาก

    ถ้าบอกว่าเกิดดับรวดเร็วมากจนตามไม่ทัน แล้วรู้ได้ยังไงครับว่ามีถึง๑๗ขณะ???

    อย่าบอกนะครับว่าเดาๆเอาเองเท่านั้น หาความถูกต้องไม่ได้

    ใครเห็นจิตที่เกิดดับอยู่ในขณะนั้นครับ????

    ถ้าอยากรู้ว่าจิตเกิดดับหรือไม่นั้น ควรลงมือปฏิบัติส้มมาสมาธิในอริยมรรคครับ จึงจะรู้ความจริง

    ไม่ใช่เชื่อแบบตามๆกันมา โดยขาดการสมาทานเพื่อให้เข้าถึงความรู้ยิ่งเห็นจริงครับ

    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2010
  15. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    ท่านธรรมภูต ท่านไม่รู้จริงหรือ ว่า ....จิตเป็นอนัตตา
    เกิดดับต่อเนื่องสืบทอดกันไป ท่านไม่เห็น(รู้)การเกิดดับของจิตหรือ
    ผมไม่อยากโต้แย้งเพื่อเอาแพ้เอาชนะกัน มันไม่มีประโยชน์อันใด
    แต่ท่านลองทบทวนดู สอบถามผู้รู้ดู ถ้าท่านคิดไม่ได้ตอนนี้
    และไม่รู้ในตอนนี้ก็ไม่เป็นไร แต่ผมเชื่อว่าสักวันหนึ่ง ท่านจะเข้าใจ...

    อนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มิถุนายน 2010
  16. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ไตรสิกขา ปฏิบัติไปเถอะ ศีล สมาธิ ปัญญา
    อย่าเพิ่งมาถามหาเลยว่า จิต เกิด ดับ หรือเปล่า
    รู้ตอนนี้ก็ไม่ได้เรื่องได้ราวอะไรหรอก

    เกิดหัวฟาดพื้นความจำเสื่อมก็ลืมเหมือนเดิม
    ปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา เข้าไปเถอะ
    เมื่อถึงตัวจิตก็รู้เองนั่นล่ะ

    แต่นี่มาบอกว่าจิตเกิดดับ
    แล้วมาพูดในทำนองว่าสมาธิไม่จำเป็น
    อย่างนี้ไม่ถูก

    ถึงแม้จะทำงานไปด้วยก็สามารถทำสมาธิได้
    ทำสมาธิตลอดเวลาก็ได้ ตลอด 24 ชม.

    จะมาบอกทำนองว่าสมาธิไม่สำคัญ สำคัญแต่สติอย่างเดียว
    มาแยกสมาธินอกแบบ ในแบบ อย่างนี้ไม่ถูกต้อง
    ตลอด 24 ชม. คุณสามารถทำสมาธิได้หมดนั่นล่ะ....
     
  17. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ท่านธรรมภูติครับ รบกวนให้ท่านอธิบาย เรื่องอาการของจิต
    มันเกิดอย่างไรครับ แล้วทำไมเรียกว่าอาการของจิต???
    ตอนมีอาการของจิต จิตรู้เลยหรือรู้ทีหลังครับ???
    แล้วอาการของจิตที่ท่านว่า ท่านทำอย่างไรให้มันหายไปครับ???
    สำคัญก่อนตอบคำว่า"อาการของจิต"มีในพุทธพจน์หรือเปล่าครับ???
    รบกวนยกมาอ้างอิงด้วยครับ???

    ขอภาษาที่เข้าใจง่าย และเข้าใจตรงกัน
    เป็นภาษาวิชาการ ที่ใช้อธิบายในห้องเรียนก็ยิ่งดีใหญ่ครับ
    ขอร้องครับ อย่าเอาคำตอบชนิดที่ต้องอธิบายความหมายซ้ำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2010
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณโลกุตตระครับ

    ผมรู้จริงๆครับว่า จิตไม่ใช่อนัตตา เพราะอะไรก็ตามที่เป็นอนัตตา

    ย่อมต้อง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้

    แล้วจิตที่มีสติกำกับอยู่ตลอดเวลา พึ่งพาอาศัยไม่ได้หรือครับ???

    คุณกล้าที่เสนอคคห. คุณก็ต้องกล้าที่จะตอบด้วยสิครับ อย่าทำตัวน่ารังเกียจเลยนะครับ???

    ไม่ใช่ตอบไม่ได้แล้ว คุณก็ออกอาการกล่าวร้ายผู้อื่นไว้ก่อนด้วย คำว่า"มิจฉาทิฐิ"

    ซึ่งผมเองก็มีสหายธรรมที่ศึกษาอภิธรรมอยู่ ก็มีความคิดเช่นเดียวกับคุณ ที่เชื่อตำราหัวปักหัวปำ

    โดยขาดเหตุผลก็ยังจะเชื่อ ไม่เคยลงมือปฏิบัติเพื่อจะค้นหาความจริงเลยใช่มั้ยครับ???

    เมื่อคุณลงมือปฏิบัติสัมมาสมาธิอย่างจริงจัง คุณก็จะเข้าใจได้เอง เมื่อสิ่งที่รู้เทียบลงได้กับพระพุทธพจน์

    ;aa24
     
  19. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    สวัสดีครับท่านธรรมทูต

    ที่ท่านว่า จิตไม่ใช่อนัตตา เพราะอะไรก็ตามที่เป็นอนัตตา ย่อมต้อง ไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์ เป็นที่พึ่งพาอาศัยไม่ได้

    อนัตตา ในความหมายของศาสนาพุทธ คือไม่มีตัวตนมิใช่หรือครับ เป็นส่วนหนึ่ง
    ของไตรลักษณ์ ซึ่งประกอบด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา(ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    ไม่มีตัวตน) ความหมายอนัตตาที่ท่านอธิบายดูแปลกๆนะครับ ไม่ตรงกับที่เราๆ
    ได้เรียน ได้ศึกษามา....

    ......สำหรับการเกิดดับของจิต พระอภิธรรมก็ได้กล่าวไว้ มีผู้รู้และปฏิบัติมา
    ไม่ขาดสาย เรื่องเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง ต้องรู้เห็นด้วยตนเอง เข้าใจด้วยตนเองครับ
    และที่สำคัญคือต้องมีความเห็นที่ถูกต้องด้วย(สัมมาทิฏฐิ)เพราะฉะนั้นการโต้แย้ง
    กันไปมา ไม่มีประโยชน์อันใดครับ....

    ...... ผู้ที่ผ่านการฝึกการปฏิบัติมาดี ถูกต้องตามแนวทางพระศาสนดา
    จิตใจจะมีแต่ความเมตตา ปราถนาดีต่อผู้อื่น การทับถมกันการเหยียดหยามกัน
    จะไม่มี มีแต่จะทักท้วงและชี้แนะให้แก่กัน กิเลสต่างๆจะลดลงไปเรื่อยๆ
    ใจจะสงบนิ่งเย็น ไม่ร้อนรุ่ม เราสามารถรู้เห็นได้ด้วยตัวเราเองครับ ........

    อนุโมทนาครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2010
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณโลกุตตระครับ

    คุณก็ควรต้องศึกษาใหม่ซะแล้วหละครับ

    อนัตตาแปลตรงๆตัวเลยก็แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน

    นิรัตตา แปลว่า ไม่มีตัวตน

    คำว่าไม่ใช่ตัวตน กับไม่มีตัวตนนั้น คนละเรื่องเลยนะครับ

    ในอนัตตลักขณสูตร ก็แปลไว้ชัดเจนอยู่แล้วครับว่า

    นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

    ยกตัวอย่างเช่นนาย ก.ไม่ใช่พ่อ(อนัตตา)นาย ข. แสดงว่านาข.มีพ่อ แต่ไม่ใช่นาย ก.ใช่มั้ยครับ???

    ถ้าเราพูดว่า นาย ข.ไม่มีพ่อ(นิรัตตา) ก็แสดงว่านาย ข.ไม่มีพ่อ ไม่ต้องพูดถึงพ่อนาย ข.ใช่มั้ยครับ???

    แล้วคำถามต่อมาก็เกิดขึ้นว่า ถ้านาย ข.ไม่มีพ่อแล้ว นาย ข.เกิดมาได้อย่างไรครับ???

    อย่าลืมใช้หัวที่มีไว้กั้นหูให้เกิดประโยชน์นะครับ ผมเองก็ใช้อวัยวะในส่วนนั้นพิจารณาหาเหตุผลเป็นประจำครับ

    คุณไปปรุงแต่งเอาเองว่า เป็นคำส่อเสียด ส่อเสียดตรงไหนครับ เป็นความจริงทั้งนั้น มีใครบ้างที่มีหัวไว้กั้นอย่างอื่นครับ???

    หรืออะไรที่เป็นความจริง มีเหตุ มีผล คุณยอมรับไม่ได้เพราะไม่เหมือนที่คุณรู้มา

    คุณเองก็ชอบปรุงแต่งไปเรื่อยเฉื่อย เห็นใครพูดเพาะ พูดดี ก็คิดเองว่านั่นเป็นคนดีซะแล้ว

    ส่วนคนที่ชอบพูดตรงไปตรงมา แต่ไม่เข้าหู ล้วนเป็นคนที่มีกิเลสหนาทั้งนั้นใช่มั้ยครับ???

    คุณเองก็เอานิสัยที่ชอบกล่าวร้ายคนอื่นไว้ก่อน เก็บเอาเข้าตู้เซฟ แล้วไม่ต้องนำมาใช้อีกนะครับ

    ถ้าผมไม่เมตตาคุณ โดยมีคำถามกลับไป เพื่ออะไร? เพื่อให้คุณนำเอาไปตริตรองให้เกิดประโยชน์มั้ยครับ???

    คุณอย่าอ้างปัจจัตตังเลยครับ ผมเห็นมานักต่อนักแล้วครับ เวลาตอบไม่ได้ก็ยกให้เจ้าปัจจัตตังผิดไปกันหมด

    ถ้าพระบรมครูเราอ้างบ้างแล้วอะไรจะเกิดขึ้นครับ ต่างคนต่างรู้ต่างคนต่างทำ โดยไม่มีบรรทัดฐานใช่มั้ยครับ???

    ในเมื่อคุณรู้ได้เฉพาะตน คุณต้องบอกคนอื่นได้สิว่า ที่คุณรู้เห็นอะไรมาบ้างใช่มั้ยครับ???

    ส่วนปัจจัตตังที่ถูกต้องนั้น เกิดจากการที่เรารู้มาแล้ว นำมาปฏิบัติอีกที

    แล้วเกิดผลขึ้นมาเฉพาะกับตัวเรา ไม่ใช่เกิดผลขึ้นกับคนอื่น

    เราจึงเรียกว่าปัจจัตตัง อย่าพยายามโยนความผิดให้เจ้าปัจจัตตังอีกเลยนะครับ

    ตอบได้ก็ควรตอบ ตอบไม่ได้ก็ถาม คงไม่เสียหายอะไร แต่ควรยืนอยู่บนหลักเหตุผลเท่านั้นเองครับ...

    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มิถุนายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...