อยากรบกวนถามเรื่องกสิณครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kabukiman, 23 มิถุนายน 2010.

  1. kabukiman

    kabukiman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +566
    สวัสดีครับ


    ผมอ่านในเว็บนี้หลายบทความหรือที่ในเว็บนี้แล้่วก็ยังไม่หายสงสัยครับ

    คือผมไม่เคยฝึกอะไรมาก่อนเลยนี้ผมจะสามารถเริ่มฝึกกสิณเลยได้ไหม
    แล้วเราจะทราบได้อย่างไรครับว่ากสิณกองไหนเหมาะกับเรา
    แล้วช่วยชี้แจงวิธีการของการฝึกเพ่งกสิณจะได้ไหมครับ
    เพราะผมไม่มีความรู้พื้นฐานอะไรมาก่อนเลย อ่านแล้วก็ยัง งงๆ นะครับ
    แล้วฝึกกสิณนี้สามารถฝึกตัวคนเดียวได้ไหมครับ?
    แล้วกสิณนี้มีผลดีหรือผลเสียหรือข้อควรระวังแก้ตัวผู้ฝึกมากน้อยเพียงใดครับ
    แล้วถ้าสามารถฝึกด้วยตัวเองตัวคนเดียวได้ ต้องเริ่มต้นอย่างไรก่อนครับ


    กราบขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
     
  2. daruma

    daruma เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    209
    ค่าพลัง:
    +533
    ขออนุโมทนา กับความดีที่คุณกำลังจะปฏิบัติ ไอ้เรื่องกสิณนี่ผมไม่ทราบหรอกเพราะผมไม่ได้ปฏิบัติทางนี้ เดี๋ยวคงจะมีผู้ที่รู้ ผู้ที่ฝึกเข้ามาให้ความรู้เป็นธรรมทานนะคับ
     
  3. ปราณ

    ปราณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +835
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2010
  4. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ...ศึกษา จริต6 จะดี

    ...ถ้าสนใจ ก็ใช้กสิณ กลางๆ...ดิน น้ำ ลม ไฟ.....

    ...ข้อดี จับเป็นอารมณ์ได้ง่าย เห็นชัด จะจะ

    ...ข้อเสีย เรื่องของ ส่วนสุด2อย่าง

    ....เดิน ตาม พระศาสดา เป็นแนวทางอัน ประเสริฐ....
     
  5. พรเทวราช

    พรเทวราช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +426
    <TABLE class=alt1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle>คุณจะรู้ได้ไง ว่าท่านใหน ตอบถูก ตอบผิด อ่านตรงนี้ ง่ายที่สุด

    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    กสิณคือการจดจำภาพวัตถุใดๆ ที่เราเลือกมาเป็นต้นแบบให้ได้ทั้งหมด แต่การที่จะสามารถจดจำภาพนิมิตได้อย่างละเอียดนั้น จำต้องอาศัยความพยายามในการเพ่งเป็นอย่างมาก กว่าที่จะสร้างให้เกิดเป็นภาพนิมิตติดตาติดใจ ชนิดที่ว่าหลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็น ซึ่งหมายถึงการสำเร็จนิมิตกสิณ

    ในการที่จิตจะจดจำภาพนิมิตอันเป็นรูปแบบหยาบให้ได้ ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องใช้การเพ่งมองวัตถุด้วยตาเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากภาพนิมิตไม่อาจกำหนดสร้างให้บังเกิดขึ้นได้ด้วยการจินตนาการหรือการนึกคิดเอา

    หลายคนที่ฝึกการเพ่งกสิณแล้วไม่ประสบผลสำเร็จในการสร้างภาพนิมิตล้วนมีสาเหตุมาจากการให้เวลากับการเพ่งมองวัตถุต้นแบบน้อยเกินไป ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติเพ่งมองวัตถุต้นแบบในเวลาไม่นานพอที่จิตจะรับเอากรรมฐานกองนี้ไปทำเอง จิตก็ย่อมไม่อาจที่จะจดจำภาพนิมิตกสิณได้

    นอกจากนี้ วัตถุต้นแบบที่จะเลือกนำมาใช้เพ่งก็นับเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญต่อการเพ่งกสิณ ด้วยเพราะวัตถุแต่ละชนิดล้วนมีความแตกต่างกันไป ดังนั้นขีดความสามารถในการที่จิตจะจดจำภาพเอาไว้และแปรสัญญาณภาพให้กลายไปเป็นภาพนิมิต ที่ปรากฏขึ้นภายในจอจิตก็ย่อมมีความแตกต่างกันไปด้วย เช่น ผู้ปฏิบัติบางคนอาจสามารถเรียกนิมิตในการเพ่งดินได้ดีกว่าการเพ่งน้ำหรือการเพ่งอากาศ เป็นต้น

    เมื่อเป็นเช่นนั้นก็หมายความว่าการที่ผู้ปฏิบัติตัดสินใจเลือกที่จะเพ่งกสิณน้ำกับการเลือกเพ่งกสิณไฟจึงมีความหมายที่แตกต่างกันในการปฏิบัติเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะผู้ที่มีจริตภายในจิตใจที่แตกต่างกันย่อมต้องใช้อุบายการเพ่งกสิณที่แตกต่างกัน ซึ่งหากผู้ปฏิบัติตัดสินใจเลือกการเพ่งผิด นอกจากจะส่งผลให้การเพ่งกสิณไม่ประสบความสำเร็จแล้ว อาจยังจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวผู้ฝึกเพ่งกสิณเองอีกด้วย

    ดังนั้น การที่ผู้ปฏิบัติจะฝึกเพ่งได้ประสบผลสำเร็จหรือไม่ จึงต้องขึ้นอยู่กับจริตของผู้ฝึกเพ่งกสิณด้วย ซึ่งก่อนที่ผู้ปฏิบัติจะตัดสินใจว่าจะเลือกเพ่งกสิณชนิดใด ทางที่ดีควรอาศัยการพิจารณาของครูบาอาจารย์ว่าท่านจะมอบกสิณชนิดใดให้เรานำมาปฏิบัติ

    เพราะครูบาอาจารย์ท่านเป็นผู้รู้และมีประสบการณ์ในการเพ่งกสิณมานาน ท่านย่อมสามารถมองเห็นและพิจารณาได้เป็นอย่างดี เพื่อที่ผู้ฝึกเพ่งกสิณจะได้ก้าวหน้าในการปฏิบัติสมาธิภาวนาอบรมจิตด้วยอุบายการเพ่งกสิณ

    แต่ทว่าในกรณีของผู้ปฏิบัติมีความชื่นชอบในการเพ่งกสิณไฟ ที่ต้องการทดสอบพลังจิตของตนว่ามีการพัฒนาหรือไม่อย่างไร ก็สามารถกระทำได้ด้วยการเรียกนิมิตกสิณไฟให้ปรากฏทั้งในยามที่หลับตาทำสมาธิ และการลืมตาทำสมาธิ ซึ่งผู้ที่สำเร็จวิชากสิณไฟและสามารถเรียกภาพนิมิตกสิณไฟให้ปรากฏได้นั้น

    ย่อมจะสามารถเห็นภาพนิมิตกสิณไฟได้ทั้งในขณะที่ลืมตาทำสมาธิและหลับตาทำสมาธิ

    การฝึกเรียกนิมิตกสิณในขณะลืมตา สามารถทำได้โดยให้ฝึกเพ่งมองไปยังผนังที่มีสีขาวแล้วกำหนดจิตให้เป็นสมาธิ จากนั้นจึงกำหนดเรียกภาพกสิณนิมิตไฟให้ปรากฏขึ้นที่ผนัง ซึ่งจะปรากฏเป็นภาพดวงนิมิตกสิณวงกลมสีเหลืองอ่อนคล้ายพระจันทร์ แต่หากสมาธิมีพลังสูงขึ้นภาพนิมิตกสิณนั้นจะมีขนาดเล็กลงและมีสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ

    กรณีที่ผู้ปฏิบัติมีพลังจิตสูง ภาพกสิณนิมิตที่ปรากฏจะมีสีเข้มมาก จากสีเหลืองจะเข้มขึ้นจนกลายเป็นสีแดงเข้ม และเป็นสีน้ำเงินเข้มในที่สุด

    เมื่อดวงกสิณนิมิตมีสีน้ำเงินเข้มและมีขนาดเล็กลงมากที่สุดจะเกิดความร้อนในบริเวณที่เราเพ่งกำหนดมองไป ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้สามารถปรากฏได้ทั้งในมิติแห่งโลกธาตุที่เราอาศัยอยู่ และในมิติแห่งโลกวิญญาณ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกพลังอำนาจของความร้อนที่ได้รับนี้ว่า "พลังแห่งกสิณไฟ"

    หลังจากที่ผู้ปฏิบัติทำการฝึกเพ่งเรียกนิมิตกสิณให้ปรากฏบนผนังที่มีสีอ่อนหรือสีขาวได้จนเป็นที่ชำนิชำนาญดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเรียกภาพนิมิตกสิณไฟให้ปรากฏเฉพาะบนพื้นผนังสีขาวอีกต่อไป คราวนี้ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ ก็ย่อมจะสามารถเรียกภาพนิมิตกสิณไฟให้ปรากฏเป็นภาพซ้อนตัวขึ้นมาได้ อีกทั้งยังสามารถใช้พลังอำนาจจิตบีบดวงนิมิตกสิณนั้นให้มีขนาดเล็กลงได้ตามใจปรารถนาอีกด้วย.

    แนะนำการฝึก กสิน ตั้งแต่เริ่มต้น<!-- google_ad_section_end -->

    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->กสิน ๑๐
    โดยพระเดชพระคุณ พระราชพรหมยาน


    [​IMG]
    คือ เป็นการทำสมาธิด้วยวิธี การเพ่ง
    ( คำว่าเพ่ง ในที่นี้ คือ ลืมตามอง ภาพกสิน แล้วหลับตา นึกถึงภาพ กสิน )
    <O:p

    ๑. ปฐวีกสินเพ่งดิน
    ๒. อาโปกสิณเพ่งน้ำ
    ๓. เตโชกสิณเพ่งไฟ
    ๔. วาโยกสินเพ่งลม
    ๕. นีลกสิน เพ่งสีเขียว
    ๖. ปีตกสินเพ่งสีเหลือง
    ๗. โลหิตกสิณเพ่งสีแดง
    ๘. โอฑาตกสิณเพ่งสีขาว
    ๙. อาโลกกสิณเพ่งแสงสว่าง
    ๑๐. อากาศกสิณเพ่งอากาศ

    <O:p
    กิจก่อนการเพ่งกสิณ
    เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้วท่านให้ชำระร่างกายให้สะอาดแล้วนั่งขัดสมาธิที่ตั่งสำหรับนั่งหลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ ๕ ประการ ตามนัยที่กล่าวในอสุภกรรมฐาน ต้องการทราบละเอียดโปรดเปิดไปที่ บทว่าด้วยอสุภกรรมฐานจะทราบละเอียดเมื่อพิจารณาโทษของกามคุณจนจิตสงบจากนิวรณ์แล้วให้ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณจดจำให้ดีจนคิดว่าจำได้ก็หลับตาใหม่
    กำหนดภาพกสิณไว้ในใจภาวนาเป็นเครื่องผูกใจไว้ว่าปฐวีกสิณเมื่อเห็นว่าภาพเลือนไปก็ลืมตาดูใหม่เมื่อจำได้แล้วก็หลับตาภาวนากำหนดจดจำภาพนั้นต่อไป ทำอย่างนี้บ่อยๆหลายร้อยหลายพันครั้งเท่าใดไม่จำกัดจนกว่าอารมณ์ของใจจะจดจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดีจะเพ่งมองดูหรือไม่ก็ตาม ภาพกสิณนั้นก็จะติดตาติดใจนึกเห็นภาพได้ชัดเจนทุกขณะที่ปรารถนาจะเห็นติดตาติดใจตลอดเวลาอย่างนี้ท่านเรียกว่าอุคคหนิมิตแปลว่า นิมิตติดตา อุคคหนิมิตนี้ท่านว่ายังมีกสิณ
    โทษอยู่มากคือภาพที่เห็นเป็นภาพดินตามที่ทำไว้และขอบวงกลมของสะดึง ย่อมปรากฏริ้วรอยต่าง ๆ เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตแล้วท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตนั้นไว้จนกว่าจะได้ปฏิภาคนิมิตปฏิภาคนิมิตนั้นรูปและสีของกสิณเปลี่ยนจากเดิมคือกสิณทำเป็นวงกลมด้วยดินแดงนั้นจะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้วมีสีใสสะอาดผ่องใสคล้ายน้ำที่กลิ้ง อยู่ในใบบัวฉะนั้นรูปนั้นบางท่านกล่าวว่าคล้ายดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกปิดบังเอากันง่ายๆ ก็คือเหมือน
    แก้วที่สะอาดนั่นเองรูปคล้ายแว่นแก้วจะกำหนดจิตให้เล็กโตสูงต่ำได้ตามความประสงค์อย่างนี้ท่านเรียกปฏิภาคนิมิตเมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วท่านให้นักปฏิบัติเก็บตัวอย่ามั่วสุมกับนักคุยทั้งหลาย จงรักษาอารมณ์รักษาใจให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิเป็นอันดี อย่าสนใจในอารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อยหนึ่ง เพราะแม้นิดเดียวของนิวรณ์ อาจทำอารมณ์สมาธิที่กำลังจะเข้าสู่ระดับฌานนี้ให้สลายตัวได้โดยฉับพลันขอท่านนักปฏิบัติจงระมัดระวัง อารมณ์รักษาปฏิภาคนิมิตไว้คล้ายกับระมัดระวังบุตรสุดที่รักที่เกิดในวันนั้น

    <O:p
    จิตเข้าสู่ระดับฌาน
    เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง ๑๐อย่างนั้นมีอารมณ์ดังนี้ ฌานในกสิณนี้ท่านเรียกว่าฌาน ๔ บ้าง ฌาน ๕บ้างเพื่อเป็นการป้องกันการเข้าใจผิด ขออธิบายฌาน ๔ และ ฌาน ๕ให้เข้าใจเสียก่อน

    ฌาน ๔
    ฌาน ๔ท่านเรียกว่าจตุตถฌาน ท่านถืออารมณ์อย่างนี้
    ๑.ปฐมฌานมีองค์ ๕คือ วิตกวิจาร ปีติ สุขเอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือละวิตกและวิจารเสียได้ คงดำรงอยู่ในองค์ ๓คือปีติ สุข
    เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจารปีติ เสียได้ดำรงอยู่ในสุขกับเอกัคคตา
    ๔. จตุตถฌานมีองค์ ๒คือ ละวิตก วิจารปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา
    กับเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑
    ฌาน ๔ หรือที่เรียกว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึง ๔ ท่านจัดไว้อย่างนี้สำหรับในที่บางแห่งท่านว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๕ท่านจัดของท่านดังต่อไปนี้

    ฌาน ๕
    ๑.ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตกวิจาร ปีติ สุขเอกัคคตา
    ๒.ทุติยฌานมีองค์ ๔ คือ ละวิตกเสียได้คงทรง วิจารปีติ สุข เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌานมีองค์ ๓ คือ ละวิตก วิจารเสียได้ คงทรง ปีติสุขเอกัคคตา
    ๔. จตุตถฌานมีองค์ ๒คือ ละวิตก วิจาร ปีติเสียได้ คงทรงสุขกับเอกัคคตา
    ๕. ฌาน ๕ หรือที่เรียกว่าปัญจมฌานมีองค์สองเหมือนกันคือ ละวิตกวิจาร ปีติ
    สุขเสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตาและเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑<O:p

    เมื่อพิจารณาดูแล้ว ฌาน ๔ กับฌาน ๕ก็มีสภาพอารมณ์เหมือนกัน ผิดกันนิดหน่อยที่
    ฌาน ๒ ละองค์เดียวฌาน ๓ ละ ๒องค์ ฌาน ๔ ละ ๓ องค์ มาถึงฌาน ๕ ก็มีสภาพเหมือนาน ๔ตามนัยนั่นเองอารมณ์มีอาการเหมือนกันในตอนสุดท้าย อารมณ์อย่างนี้ท่านแยกเรียกเป็นฌาน ๔ ฌาน ๕ เพื่ออะไรไม่เข้าใจเหมือนกันกสิณนี้ถ้าท่านผู้ปฏิบัติทำให้ถึงฌาน ๔ หรือฌาน๕ซึ่งมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่ได้เจริญ ในกสิณนั้นเองเมื่อได้แล้วก็ต้องฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่องแคล่ว กำหนดเวลาเข้าเวลาออกให้ได้ตามกำหนด จนเกิดความชำนาญ เมื่อเข้าเมื่อไร ออกเมื่อไรได้ตามใจนึกการ เข้าฌานต้องคล่องไม่ใช่เนิ่นช้าเสียเวลาแม้ครึ่งนาทีพอคิดว่าเราจะเข้าฌานละก็เข้าได้ทันที ต้องยึดฌาน๔ หรือฌาน ๕คือเอาฌานที่สุดเป็นสำคัญ เมื่อเข้าฌานคล่องแล้วต้องฝึกนิรมิตตามอำนาจกสิณให้ได้ คล่องแคล่วว่องไว จึงจะชื่อว่าได้กสิณกองนั้น ๆถ้ายังทำไม่ได้ถึง ไม่ควรย้ายไปปฏิบัติในกสิณกองอื่นการทำอย่างนั้นแทนที่จะได้ผลเร็ว กลับเสียผล คือของเก่าไม่ทันได้ทำใหม่เก่าก็จะหาย ใหม่ก็จะไม่ปรากฏผล ถ้าชำนาญช่ำชองคล่องแคล่วในการนิรมิตอธิษฐานแล้ว เพียงกองเดียว กองอื่นทำไม่ยากเลยเพราะอารมณ์ในการฝึกเหมือนกันต่างแต่สีเท่านั้นจะเสียเวลาฝึกกองต่อๆ ไปไม่เกินกองละ ๗ วัน หรือ ๑๕ วันเป็นอย่างสูงจะนิรมิตอธิษฐานได้สมตามที่ตั้งใจของนักปฏิบัติจงอย่าใจร้อน พยายามฝึกฝนจนกว่าจะได้ผลสูงสุดเสียก่อนจึงค่อยย้ายกองต่อไป <O:p
    องค์ฌานในกสิณทั้ง ๑๐ กอง

    ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตกมีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิตกำหนดจิตจับภาพ ปฏิภาคนิมิตนั้น เป็นอารมณ์ วิจารพิจารณาปฏิภาคนิมิตนั้นคือพิจารณาว่ารูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงดงามคล้ายแว่นแก้ว ที่มีคนชำระสิ่งเปรอะเปื้อนหมดไปเหลือไว้แต่ดวงเก่าที่บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากธุลีต่างๆ

    ปีติ มีประเภท ๕ คือ
    ๑. ขุททกาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้าและน้ำตาไหล
    ๒. ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ
    ๓.โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง คล้ายเรือที่ถูกคลื่นซัด บางท่านก็นั่งโยกไปโยกมาอย่างนี้เรียกโอกกันติกาปีติ
    ๔. อุพเพงคาปีติมีกายลอยขึ้นเหนือพื้นบางรายก็ลอยไปได้ไกลหลายๆ กิโลก็มี
    ๕.ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าซาบซ่านทั้งร่างกายและมีอาการคล้ายกับร่างกายใหญ่
    สูงขึ้นกว่าปกติสุขมีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต
    เอกัคคตามีจิตเป็นอารมณ์เดียวคือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติ ไม่สอดส่ายอารมณ์ออกนอกจากปฏิภาคนิมิตทั้ง ๕ อย่างนี้เป็นปฐมฌานมีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่นๆ แปลกแต่กสิณนี้
    มีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิตจนจิตเข้าสู่จตุตถฌาน หรือปัญจมฌาน
    ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือตอนนี้จะเว้นจากการภาวนาไปเองการกำหนดพิจารณารูปกสิณจะยุติลง คงเหลือแต่ความสดชื่นด้วยอำนาจปีติอารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาคนิมิตจะสดสวยงดงามวิจิตรตระการตามากกว่าเดิมมีอารมณ์เป็นสุขประณีตกว่าเดิม อารมณ์จิตแนบสนิทเป็น สมาธิมากกว่า
    ตติยฌานมีองค์ ๒ คือตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้เหลือแต่ความสุขแบบเครียดๆคือมีอารมณ์ดิ่งแห่งจิตคล้ายใครเอาเชือกมามัดไว้มิให้เคลื่อนไหวลมหายใจอ่อนระรวยน้อยเต็มที่ภาพนิมิตดูงามสง่าราศีละเอียดละมุนละไมมีรัศมีผ่องใสเกินกว่าที่ประสบมาอารมณ์ของจิตไม่สนใจกับอาการทางกายเลย
    จตุตถฌาน ทรงไว้เพียง เอกัคคตากับอุเบกขาคือมีอารมณ์ดิ่งไม่มีอารมณ์รับความสุข และความทุกข์ใดๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้นมีอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ทั้งมวลมีจิตสว่างโพลงคล้ายใครเอาประทีปที่สว่างมากหลายๆดวงมาตั้งไว้ในที่ใกล้ ไม่มีอารมณ์รับแม้แต่เสียงลมหายใจสงัดรูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก ฌานที่๔เป็นฌานสำคัญชั้นยอด ควรกำหนดรู้แบบง่ายๆไว้ว่าเมื่อมีอารมณ์จิตถึงฌาน๔จะไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ควรกำหนดไว้ง่ายๆ แบบนี้สะดวกดีท่านทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตามจุดจบของกสิณต้องถึงฌาน๔และนิมิตอะไรต่ออะไรตามอำนาจกสิณถ้าทำไม่ถึงกับนิมิตได้ตามอำนาจกสิณ ก็เป็นเสมือนท่าน ยังไม่ได้กสิณเลย
    [​IMG]

    <O:p
    ปฐวีกสิณ<O:p
    กสิณนี้ท่านเรียกว่าปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์ รวมความแล้วได้ความว่าเพ่งดิน
    ปฐวีกสิณนี้มีดินเป็นอุปกรณ์ในการเพ่งจะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดินที่ทำให้เตียนสะอาดจากผงธุลี หรือจะทำเป็นสะดึงยกไปยกมาได้ก็ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้นท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามเอาดินสีอื่นมาปนถ้าจำเป็นหาดินสีอรุณไม่ได้มากท่านให้เอาดินสีอื่นรองไว้ข้างล่างแล้วเอาดินสีอรุณทาทับไว้ข้างบน ดินสีอรุณนี้ท่านโบราณาจารย์ท่านว่าหาได้จากดินขุยปูเพราะปูขุดเอาดินสีอรุณขึ้นไว้ปากช่องรูที่อาศัย เมื่อหาดินได้ครบแล้วต้องทำสะดึงตาม ขนาดดังนี้ ถ้าทำเป็นลานติดพื้นดิน ก็มีขนาดเท่ากัน

    ขนาดดวงกสิณ
    วงกสิณที่ทำเป็นวงกลมสำหรับเพ่งอย่างใหญ่ท่านให้ทำไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ คืบ ๔นิ้วอย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน ระยะนั่งเพ่งบริกรรม ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า ๒คืบ ๔ นิ้วตั่งที่รองวงกสิณ ท่านให้สูงไม่เกิน ๒ คืบ ๔ นิ้วท่านว่าเป็นระยะที่พอเหมาะพอดี เพราะจะได้ไม่มองเห็นรอยที่ปรากฏบนดวงกสิณที่ท่านจัดว่าเป็นกสิณโทษ เวลาเพ่งกำหนดจดจำ ท่านให้มุ่งจำแต่สีดินท่านไม่ให้คำนึงถึงขอบและริ้วรอยต่าง ๆ

    อาโปกสิณ
    อาโปกสิณ อาโปแปลว่าน้ำกสิณแปลว่าเพ่งอาโปกสิณแปลว่าเพ่งน้ำ
    กสิณน้ำ มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ ท่านให้เอาน้ำที่สะอาดถ้าได้น้ำฝนยิ่งดีถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอาน้ำที่ใสแกว่งสารส้มก็ได้อย่าเอาน้ำขุ่นหรือมีสีต่างๆมาท่านให้ใส่น้ำในภาชนะเท่าที่จะหาได้ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่องการนั่งหรือเพ่ง มีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณ จนกว่าจะเกิดอุคคหนิมิตอุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อมสำหรับปฏิภาคนิมิตปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณีคือใสมีประกายระยิบระยับเมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วจงเจริญต่อไป ให้ถึงจตุตถฌานบทภาวนาภาวนาว่าอาโปกสิณัง

    เตโชกสิณ
    เตโชแปลว่าไฟกสิณเพ่งไฟเป็นอารมณ์ กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ท่านให้จุดไฟให้ลุกโชนแล้วเอาเสื่อหรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้วแล้ววางเสื่อหรือหนังนั้นไว้ข้างหน้าให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูงหรือระยะไกลใกล้ เหมือนกับปฐวีกสิณการเพ่งอย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมาให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็นอารมณ์ภาวนาว่าเตโชกสิณัง ๆๆๆหลาย ๆ ร้อยหลายพันครั้งจนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตอุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติสำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นมีรูป คล้ายผ้าแดงผืนหนาหรือคล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทองหรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศเมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิดผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา

    วาโยกสิณ
    วาโยกสิณแปลว่าเพ่งลมการถือเอาลมเป็นนิมิตนั้นท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการเห็น หรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
    การกำหนดถือเอาด้วยการเห็นท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา
    การถือเอาด้วยการถูกต้องท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์สมัยนี้การถือเอาลมกระทบจะใช้พัดลมเป่าแทนพัดลมหรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะลมพัดจะใช้พัดลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ ให้ภาวนาว่าวาโยกสิณัง ๆๆๆ อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆคล้ายกับกระไอแห่งการหุงต้มที่มีไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือมีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้วนั่นเองมีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น สำหรับปฏิภาคนิมิตมีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือคล้ายกับก้อนเมฆบางที่ลอยอยู่คงที่นั่นเอง อาการอื่นนอกจากนี้เหมือนในปฐวีกสิณ <O:p
    <O:p
    นีลกสิณ
    นีลกสิณแปลว่าเพ่งสีเขียวท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนัง กระดาษก็ได้แล้วเอาสีเขียวทา หรือจะเพ่งพิจารณาสีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณอุคคหนิมิตเมื่อเพ่งภาวนาว่านีลกสิณังๆๆๆๆอุคคหนิมิตนั้นปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง

    ปีตกสิณ
    ปีตกสิณแปลว่าเพ่งสีเหลืองการปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณแต่อุคคห นิมิตเป็นสีเหลืองปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ นอกนั้นเหมือนกันหมดบทภาวนาภาวนาว่าปีตกสิณังๆๆ

    โลหิตกสิณ
    โลหิตกสิณแปลว่าเพ่งสีแดงบทภาวนา ภาวนาว่าโลหิตกสิณังๆๆๆๆนิมิตที่จัดหามาเพ่งจะเพ่งดอกไม้สีแดงหรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้ อุคคหนิมิตเป็นสีแดงปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ

    โอทาตกสิณ
    โอทาตกสิณแปลว่าเพ่งสีขาวบทภาวนา ภาวนาว่าโอทาตกสิณัง ๆๆๆๆสีขาวที่จะเอา มาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวกหรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้นิมิตทั้งอุคคหะและปฏิภาคก็เหมือนนีลกสิณเว้นไว้แต่อุคคหะเป็นสีขาวเท่านั้นเอง

    อาโลกกสิณ
    อาโลกกสิณแปลว่าเพ่งแสงสว่างท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝา หรือช่องหลังคาหรือเจาะเสื่อลำแพนหรือแผ่นหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้วตามที่กล่าวในปฐวีกสิณแล้วภาวนาว่าอาโลกกสิณังๆๆอย่างนี้จนอุคคหนิมิตปรากฏอุคคหนิมิตของอาโลกกสิณมีรูปเป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบเหมือนกับเอาแสงสว่างมากองรวมกันไว้ที่นั้นแล้วต่อไปขอให้นักปฏิบัติจงพยายามทำให้เข้าถึงจตุตถฌานเพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไปก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ

    อากาสกสิณ
    อากาสกสินแปลว่าเพ่งอากาศอากาสกสิณนี้ภาวนาว่าอากาสกสิณัง ๆๆท่าน
    ให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณคือเจาะช่องเสื่อหรือหนัง หรือมองอากาศคือความว่างเปล่าที่ลอดมาตามช่องฝาหรือหลังคา หรือตามช่องเสื่อและผืนหนังโดยกำหนดว่าอากาศ ๆๆจนเกิดอุคคหนิมิตซึ่งปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนดปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏคล้ายอุคคหนิมิตแต่มีพิเศษที่บังคับให้ขยายตัวออกให้ใหญ่เล็กสูงต่ำได้ตามความประสงค์อธิบายอื่นก็เหมือนกสิณอื่นๆ
    [​IMG]<O:p
    <O:p
    อานุภาพกสิณ๑๐<O:p

    กสิณ ๑๐ ประการนี้เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ในฉฬภิญโญเมื่อบำเพ็ญปฏิบัติในกสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตุตถฌานแล้วก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณกองนั้น ๆ มีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔แล้วแต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่าง ๆ ตามแบบท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าถึงกสิณ อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆ มีดังนี้<O:p

    ปฐวีกสิณมีฤทธิ์ดังนี้ เช่นนิรมิตคน ๆเดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคน ๆ เดียวได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้

    อาโปกสิณสามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่นอธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหินที่
    กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำอธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อนอธิษฐานในสถานที่ฝนแล้งให้เกิดฝนอย่างนี้เป็นต้น

    เตโชกสิณอธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้
    เกิดแก่จักษุญาณสามารถเห็นภาพต่าง ๆในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ทำให้เกิดความร้อน ในทุกสถานที่ได้

    วาโยกสิณอธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลมหรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้สถานที่ใดไม่มีลม อธิษฐานให้มีลมได้

    นีลกสิณสามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้

    ปีตกสิณสามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้

    โลหิตกสิณสามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์

    โอทาตกสิณสามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็น
    กรรมฐานที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักษุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ

    อาโลกกสิณนิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็น
    กรรมฐานสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง

    อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง สถานที่ใดเป็นที่อับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่ง มีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่ ความต้องการได้

    วิธีอธิษฐานฤทธิ์
    วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการ ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน ๔ ก่อน แล้วออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น แล้วกลับเข้าฌาน ๔ อีก ออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา
    <O:p

    (จบกสิณ ๑๐ แต่เพียงเท่านี้)
    [​IMG]<O:p
    แนะกสิณร่วมวิปัสสนาญาณ

    ท่านผู้ฝึกกสิณ ถ้าประสงค์จะให้ได้อภิญญาหก ก็เจริญไปจนกว่าจะชำนาญทั้ง ๑๐ กอง ถ้าท่านประสงค์ให้ได้รับผลพิเศษเพียงวิชชาสาม ก็เจริญเฉพาะอาโลกกสิณ หรือเตโชกสิณ หรือโอทาตกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วฝึกทิพยจักษุญาณ แต่ท่านที่มีความประสงค์จะเร่งรัดให้เข้าสู่ พระนิพพานเร็วๆ ไม่มีความประสงค์จะได้ญาณพิเศษเพราะเกรงจะล่าช้าหรืออัชฌาสัยไม่ ปรารถนา รู้อะไรจุกจิก ชอบลัดตัดทางเพื่อถึงจุดหมายปลายทางขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้<O:p
    ๑. สักกายทิฏฐิ เห็นตรงข้ามกับอารมณ์นี้ที่เห็นว่า ร่างกายคือขันธ์ ๕ เป็นเรา
    เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเราเสียได้ โดยเห็นว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่
    ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา เพราะถ้าขันธ์ ๕ มีในเรา เรามีในขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ จริงแล้ว ในเมื่อเราไม่ต้องการความทุกข์อันเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บและการเปลี่ยนแปลง ขันธ์ ๕ ก็ต้องไม่มีการป่วยไข้และเปลี่ยนแปลง เราไม่ต้องการให้ขันธ์ ๕ สลายตัว ขันธ์ ๕ ถ้าเป็นของเราจริงก็ต้องดำรงอยู่ ไม่สลายตัว แต่นี่หาเป็น เช่นนั้นไม่ กลับเต็มไปด้วยความทุกข์ เปลี่ยนแปลงไม่หยุดยั้ง ทั้ง ๆ ที่เราไม่ต้องการ และ พยายามเหนี่ยวรั้งด้วยวิธีการต่างๆ ขันธ์ ๕ ก็มิได้เป็นไปตามความปรารถนา ในที่สุดก็สลายตัว จนได้ เพราะขันธ์ ๕ เป็นสมบัติของกฎธรรมดา กฎธรรมดาต้องการให้เป็นอย่างนั้น ไม่มีใคร มีอำนาจเหนือกฎธรรมดา ฝ่าฝืนกฎธรรมดาไม่ได้ เมื่อจิตยอมรับนับถือกฎธรรมดา ไม่หวั่นไหว ในเมื่อร่างกายได้รับทุกข์เพราะป่วยไข้ หรือเพราะการงานหนักและอาการเกิดขึ้นเพราะเหตุ เกินวิสัย อารมณ์ใจยอมรับนับถือว่า ธรรมดาของผู้ที่เกิดมาในโลกที่หาความแน่นอนไม่ได้ โลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขจริงจังมิได้ ที่เห็นว่าเป็นสุขจากภาวะของโลก ก็เป็น ความสุขที่มีผีสิง คือสุขไม่จริง เป็นความสุขอันเกิดจากเหยื่อล่อของความทุกข์ พอพบความสุข ความทุกข์ ก็ติดตามมาทันที เช่น มีความสุขจากการได้ทรัพย์ พร้อมกันนั้นความทุกข์เพราะ การมีทรัพย์ก็เกิด เพราะทรัพย์ที่หามาได้นั้นจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้มาแล้ว ก็ต้องมีทุกข์ ทันทีด้วยการคอยระวังรักษาไม่ให้สูญหายหรือทำลาย เมื่อทรัพย์นั้นเริ่มค่อย ๆ สลายตัวหรือ สูญหายทำลายไป ทุกข์เกิดหนักขึ้นเพราะมีความ เสียดายในทรัพย์ แม้แต่ตัวเองก็แบกทุกข์ เสียบรรยายไม่ไหว จะเอาอะไรมาเป็นเครื่องบำรุงความสุขได้จริงจัง ไม่ว่าอะไรก็ต้องตกอยู่ ในอำนาจของกฎธรรมดาสิ้น จิตเมื่อเห็นอย่างนี้ ความสงบระงับจากความหวั่นไหวของการ เปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น เป็นจิตที่ประกอบไปด้วยเหตุผล ไม่มีน้ำตาไหล ในเมื่อได้ข่าวญาติ หรือคนที่รักตาย ไม่หนักใจเมื่อความตายกำลัง คืบคลานมาหาตน และพร้อมเสมอที่จะรอรับ ความตายที่จะเกิดแก่ตน ตามกฎของธรรมดา รู้อยู่ คิดอยู่ถึงความตายเป็นปกติ ยิ้มต่อความทุกข์และความตายอย่างไม่มีอะไรหนักใจ จิตมีอารมณ์อย่างนี้ ท่านเรียกว่า ละสักกายทิฏฐิ
    ได้แล้ว ได้คุณสมบัติของพระโสดาบันไว้ได้หนึ่งอย่าง

    ๒. วิจิกิจฉา ละความสงสัยในมรรคผลเสียได้ โดยมีสัทธาเกิดขึ้นเที่ยงแท้มั่นคงว่าผล ของการปฏิบัตินี้มีผลที่จะพ้นจากวัฏทุกข์ได้จริง

    ๓. สีลัพพตปรามาส ถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด ไม่ยอมให้ศีล บกพร่อง เมื่อมีคุณสมบัติครบสามประการดังนี้ ท่านก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ไม่ต้องรอให้ใครบอก และออกใบประกาศโฆษณา องค์ของพระโสดาบัน

    เพื่อสะดวกแก่การพิจารณาตัวเอง ขอบอกองค์ของพระโสดาบันไว้ เพราะรู้ไว้เป็น คู่มือพิจารณาตัวเอง
    ๑. รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยตลอดชีวิต
    ๒. เคารพพระรัตนตรัยอย่างเคร่งครัด ไม่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย แม้แต่จะพูดเล่นๆ ก็ไม่พูด
    ๓. มีอารมณ์รักใคร่ในพระนิพพานเป็นปกติ ไม่มีความปรารถนาอย่างอื่นนอกจาก พระนิพพาน

    พระโสดาบันตามปกติมีอารมณ์สามประการดังกล่าวมานี้ ถ้าท่านได้ ท่านเป็นพระโสดา ท่านก็จะเห็นว่าอาการที่กล่าวมานี้เป็นความรู้สึกธรรมดาไม่หนัก แต่ถ้าอารมณ์ อะไรตอนใดในสามอย่างนี้ยังมีความหนักอยู่บ้าง ก็อย่าเพ่อคิดว่าท่านเป็นพระโสดาบันเสียก่อนสำเร็จ จะเป็นผลร้ายแก่ตัวท่านเอง ต้องได้จริงถึงจริง แม้ได้แล้วถึงแล้ว ก็ควรก้าวต่อไปอย่าหยุดยั้งเพียงนี้ เพราะ มรรคผลเบื้องสูงยังมีต่อไปอีก<O:p

    (จบกสิณ ๑๐)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2010
  6. yai_93

    yai_93 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +3,354
    ทุกวันอาทิตย์ที่วัดยานนาวา มีการสอนกสิณสี เวลาประมาณบ่ายโมง สอนตั้งแต่เบื้องต้น เข้าใจง่าย ลองไปเรียนดูครับ
     
  7. kabukiman

    kabukiman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +566
    ที่วัดยานนาวานี้เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่เหรอครับ แล้วต้องแต่งตัวยังไงไปเหรอครับ
     
  8. ทำเป็นงง

    ทำเป็นงง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +557
    ดันกระทู้หน่อย ดิ
     
  9. yai_93

    yai_93 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +3,354
    ไม่เสียค่าใช้จ่ายครับ ส่วนใครจะทำบุญก็แล้วแต่ศรัทธา แต่งตัวตามสบายให้เหมาะสมครับ


     
  10. kabukiman

    kabukiman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    258
    ค่าพลัง:
    +566
    ขอบคุณมากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...