เหรียญบิน หลวงพ่อทรง - แพโบสถ์น้ำ หลวงตา (เล็ก) น. ๑๒๖๕

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย พี เสาวภา, 7 เมษายน 2008.

  1. nu_wa

    nu_wa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    2,740
    ค่าพลัง:
    +10,698
    กราบ กราบ กราบ หลวงพ่อทรง

    สวัสดีพี่ๆๆ...ยามเช้าครับ
     
  2. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,011
    ค่าพลัง:
    +146,284
    เอาใจช่วยคุณ ไม่เกิดน่ะครับ

    เงียบๆไปเลย
     
  3. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,011
    ค่าพลัง:
    +146,284
    ขอตัวไปออกรอบ ออกกำลังหน่อย เริ่มแก่แล้ว ดึกๆเข้ามาใหม่น่ะครับ
     
  4. Maha Jakkraput sutta

    Maha Jakkraput sutta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2008
    โพสต์:
    286
    ค่าพลัง:
    +915
    ขอบารมีหลวงพ่อทรง จงอำนวยพรให้ลูกคุณไม่เิกิดหายเป็นปรกติด้วยเทอญ
     
  5. Mr.Ex

    Mr.Ex เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2009
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +3,199
    เข้ามากราบหลวงพ่อทรงครับ
     
  6. G.sis.t

    G.sis.t เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    2,321
    ค่าพลัง:
    +11,307
    กราบ กราบ กราบ หลวงพ่อทรง ครับ
     
  7. beleive

    beleive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,149
    ค่าพลัง:
    +3,409
    ผมว่า น่าจะ PM ถามเจ้าของบ้านก่อน นะครับ เพราะบ้านนี้ไม่มีการซื้อขายของนะ ครับ แจกฟรีอย่างเดียว 555 อย่างนี้ มันผิดมารยาทไปหน่อยครับ
     
  8. ชาวประมง

    ชาวประมง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    4,657
    ค่าพลัง:
    +22,538
    กราบ กราบ กราบ หลวงปู่ทรง

    สวัสดีพี่ๆ ทุกท่านครับ
     
  9. JLB

    JLB เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    2,180
    ค่าพลัง:
    +8,080
    เห็นลงที่กระทู้ เบนด้วย
    ผมว่า ถ้าอยากขายจริง ก็เช็คราคาก่อนแล้วเข้ามาเปิดกระทู้ ขาย เป็นของตัวเอง น่าจะเหมาะกว่าครับ
     
  10. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,011
    ค่าพลัง:
    +146,284

    แหะๆ...ได้มาตั้งแต่ออกใหม่ๆ ก็ ๒๕๑๓ ร่วมสี่สิบกว่าปีแล้วน่ะครับ คุณอาจจะอาวุโสกว่าผมซ่ะอีก

    ก็คงแท้แน่นอน และคงมีคนอยากได้น่ะครับ คุณ แก้ว ไม่ใช่สมาชิกฟรีเมี่ยม เขาคงไม่อนุญาตให้ขายของน่ะครับ

    ผมก็ไม่ใช่สมาชิก พรีเมี่ยมน่ะครับ มาลงขายของในกระทู้ของผม เดี๋ยวเขามาปิดกระทู้ล่ะก็ไปไม่ออกกันเลย

    ขอความกรุณาลบความเห็น เรื่องการขายของออกก็แล้วกันน่ะครับ เอาเป็นว่าเข้าใจความเดือดร้อน แล้วเอามาโชว์ ลงเบอร์ ก็แล้วกัน ใครสนใจ โทรไปคุยกันเอง เก็ แท้ ก็รับรองกันเองน่ะครับ ขอความกรุณาอย่าเอาผมมาลงค้ำว่า เก็ แท้ เลยจ้า

    ผมไม่ใช่เซียนใหญ่ แค่ดูรูปปั้บ แล้วตอบได้น่ะ ว่า เก็ แท้...แหะๆ นับถือ ผมไม่มีความสามารถแบบนั้นน่ะครับ ขนาดดูของจริงผมยังพลาดเลย...เหอๆ
     
  11. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,011
    ค่าพลัง:
    +146,284
    ผมไม่ค่อยได้ ถ่ายทอด ธรรมมะ จากครูบาอาจารย์น่ะครับ

    แต่ไปเจอข้อความดีๆ ขออาราธนา คำสอนของพ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ มาลงในที่นี้หน่อย ของท่านดี วิเศษอยู่แล้วผมไม่เคยคิดแม้แต่จะวิจารณ์ และเชื่อถือโดยสนิทใจ ไม่มีตัดต่อ แต่ก็อบมาทั้งดุ้น

    ที่นำมาเพราะเข้ากับเหตุการณ์ ลองอ่านดูกันน่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2010
  12. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,011
    ค่าพลัง:
    +146,284
    [​IMG]


    ฌาน แล สมาธิ มีลักษณะและคุณวิเศษผิดแปลกกันโดยย่ออย่างนี้ คือ

    ฌาน ไม่ว่าหยาบและละเอียด จิตเข้าถึงภวังค์แล้วเพ่งหรือยินดีอยู่แต่เฉพาะความสุขเลิศอันเกิดจากเอ กัคคตารมณ์อย่างเดียว สติสัมปชัญญะหายไป ถึงมีอยู่บ้างก็ไม่สามารถจะทำองค์ปัญญาให้พิจารณาเห็นชัดในอริยสัจธรรมได้ เป็นแต่สักว่ามี ฉะนั้น กิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น จึงยังละไม่ได้ เป็นแต่สงบอยู่

    ส่วน สมาธิ ไม่ว่าหยาบแลละเอียด เมื่อเข้าถึงสมาธิแล้ว มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามชั้นแลฐานะของตน เพ่งพิจารณาธรรมทั้งหลายอยู่ มีกายเป็นต้น ค้นคว้าหาเหตุผลเฉพาะในตน จนเห็นชัดตระหนักแน่วแน่ตามเป็นจริงว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เป็นต้น ตามชั้นตามภูมิของตนๆ ฉะนั้น

    สมาธิจึงสามารถละกิเลส มีสักกายทิฏฐิเสียได้ สมาธินี้ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของตนไว้ได้ ย่อมพลัดเข้าไปสู่ภวังค์เป็นฌานไป ฌานถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไร ย่อมกลายเป็นสมาธิได้เมื่อนั้น ในพระวิสุทธิมรรคท่านแสดงสมาธิเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับฌาน เช่นว่า สมาธิกอปรด้วยวิตก วิจาร ปีติ เป็นต้น ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นเหตุของฌาน เช่นว่าสมาธิเป็นเหตุให้ได้ฌานชั้นสูงขึ้นไป ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นฌานเลย เช่นว่าสมาธิเป็นกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร ดังนี้ก็มี แต่ข้าพเจ้าแสดงมานี้ก็มิได้ผิดออกจากนั้น เป็นแต่ว่าแยกแยะสมถะฌาน สมาธิ ออกให้รู้จักหน้าตามันในขณะที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น สำหรับผู้ฝึกหัดเป็นไปแล้วจะไม่งง ที่ท่านแสดงไว้แล้วนั้นเป็นการยืดยาว ยากที่ผู้มีความทรงจำน้อยจะเอามากำหนดรู้ได้

    นิมิต เมื่ออธิบายมาถึง ฌาน สมาธิ ภวังค์ ดังนี้แล้ว จำเป็นจะลืมเสียไม่ได้ซึ่งรสชาติอันอร่อย (คือ นิมิต) ซึ่งเกิดขึ้นในระยะของสิ่งเหล่านั้น ผู้เจริญพระกรรมฐานย่อมปรารถนาเป็นอย่างยิ่งแทบทุกคนก็ว่าได้ ความจริงนิมิตมิใช่ของจริงทีเดียวทั้งหมด นิมิตเป็นแต่นโยบายให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงก็มี ถ้าพิจารณานิมิตนั้นไม่ถูกก็เลยเขวไปก็มี ถ้าพิจารณาถูกก็ดีมีปัญญาเกิดขึ้น นิมิตที่เป็นของจริงคือนิมิตเป็นหมอดูไม่ต้องใช้วิพากษ์วิจารณ์อย่างนี้ก็มี นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้ เมื่อจะเกิด เกิดจากเหตุ ๒ ประการ คือเกิดจากฌาน ๑ สมาธิ ๑ เมื่ออบรมและรักษาธรรม ๒ ประการนี้ไว้ไม่ให้เสื่อมแล้ว นิมิตทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเองอุปมาดังต้นไม้ที่มีดอกและผล ปรนปรือปฏิบัติรักษาต้นมันไว้ให้ดีเถิด อย่ามัวขอแต่ดอกผลของมันเลย เมื่อต้นของมันแก่แล้ว มีวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าคงได้รับดอกแลผลเป็นแน่นอน ดีกว่าจะไปมัวขอผลแลดอกเท่านั้น

    นิมิต ที่เกิดจากฌานนั้น เมื่อจิตตกเข้าถึงฌานเมื่อไรแล้ว นิมิตทั้งหลายมีอสุภเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นในลำดับดังได้อธิบายมาแล้วในข้างต้นว่า จิตเมื่อเข้าจะเข้าถึงฌานได้ย่อมเป็นภวังค์เสียก่อน ภวังค์นี้เป็นเครื่องวัดของฌานโดยแท้ ถ้าเกิดขึ้นในลำดับของภวังคบาต เกิดแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วนิมิตนั้นก็หายไปพร้อมทั้งภวังค์ด้วย ถ้าเป็นภวังคจลนะ พอเกิดขึ้นแล้วภวังค์นั้นก็เร่ร่อนเพลินไปตามนิมิตที่น่าเพลิดเพลินนั้นโดย สำคัญว่าเป็นจริง ถ้านิมิตเป็นสิ่งที่น่ากลัว กลัวจนตัวสั่น เสียขวัญ บางทีก็รู้อยู่ว่านั่นเป็นนิมิตมิใช่ของจริง แต่ไม่ยอมทิ้งเพราะภวังค์ยังไม่เสื่อม ภวังคจลนะนี้เป็นที่ตั้งของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ มีโอภาโส แสงสว่างเป็นต้น ถ้าไม่เข้าถึงภวังค์ มีสติสัมปชัญญะแก่กล้าเป็นที่ตั้งของปัญญาได้เป็นอย่างดี มีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในที่นี้เอง นิมิตนั้นเลยกลายเป็นอุปจารสมาธินิมิตไป ส่วนภวังคุปัจเฉทะไม่มีนิมิตเป็นเครื่องปรากฏ ถ้ามีก็ต้องถอยออกมาตั้งอยู่ในภวังคจลนะเสียก่อน ตกลงว่านิมิตมีที่ภวังคจลนะอยู่นั่นเอง

    นิมิตที่เกิดในสมาธิ เมื่อเกิดขึ้นในภูมิของขณิกสมาธิ วับแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วก็หายไป อุปมาเหมือนกันกับบุคคลผู้เป็นลมสันนิบาตมีแสงวูบวาบเกิดขึ้นในตา หาทันได้จำว่าเป็นอะไรต่ออะไรไม่ ถึงจะจำได้ก็อนุมานตามทีหลังคล้ายๆ กับภวังคบาตเหมือนกัน ถ้าเกิดในอุปจารสมาธินั้น นิมิตชัดเจนแจ่มแจ้งดี เป็นที่ตั้งขององค์วิปัสสนาปัญญา เช่นเมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ อยู่ พอจิตตกลงเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว หรือเข้าถึงอัปปนาสมาธิแล้วถอนออกมาอยู่ในอุปจารสมาธิ นิมิตปรากฏชัดเป็นตามจริงด้วยความชัดด้วยญาณทัสสนะในที่นั้น

    เช่น เห็นรูปขันธ์เป็นเหมือนกับต่อมน้ำ ตั้งขึ้นแล้วก็ดับไป เห็นเวทนาเป็นเหมือนกับฟองแห่งน้ำ เป็นก้อนวิ่งเข้ามากระทบฝั่งแล้วก็สลายเป็นน้ำตามเดิม เห็นสัญญาเป็นเหมือนพยับแดด ดูไกลๆ คล้ายกับเป็นตัวจริง เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของมันจริงๆ แล้ว พยับแดดนั้นก็หายไป เห็นสังขารเหมือนกับต้นกล้วยซึ่งหาแก่นสารในลำต้นสักนิดเดียวย่อมไม่มี เห็นวิญญาณเปรียบเหมือนมายาผู้หลอกให้จิตหลงเชื่อ แล้วตัวเจ้าของหายไปหลอกเรื่องอื่นอีก ดังนี้เป็นต้น เป็นพยานขององค์วิปัสสนาปัญญาให้เห็นแจ้งว่า สัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ต้องเหมือนกันดังนี้ทั้งนั้น ขันธ์มีสภาวะเป็นอยู่อย่างนี้ทั้งนั้น ขันธ์มิใช่อะไรทั้งหมด เป็นของปรากฏอยู่เฉพาะของเขาเท่านั้น ความถือมั่นอุปาทานย่อมหายไป มิได้มีวิปลาสที่สำคัญว่าขันธ์เป็นตนเป็นตัว เป็นอาทิ


    สมาธินี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๓ ชั้นคือ

    ขณิก สมาธิ สมาธิที่เพ่งพิจารณาพระกรรมฐานอยู่นั้น จิตรวมบ้าง ไม่รวมบ้าง เป็นครู่เป็นขณะ พระกรรมฐานที่เพ่งพิจารณาอยู่นั้นก็ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง เปรียบเหมือนสายฟ้าแลบในเวลากลางคืนฉะนั้น เรียกว่า ขณิกสมาธิ

    อุปจารสมาธิ นั้นจิตค่อยตั้งมั่นเข้าไปหน่อยไม่ยอมปล่อยไปตามอารมณ์จริงจัง แต่ตั้งมั่นก็ไม่ถึงกับแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว ถึงเที่ยวไปบ้างก็อยู่ในของเขตของจิต อุปมาเหมือนวอก เจ้าตัวกลับกลอกถูกโซ่ผูกไว้ที่หลัก หรือนกกระทาขังไว้ในกรงฉะนั้น เรียกว่าอุปจารสมาธิ

    อัปปนาสมาธิ นั้นจิตตั้งมั่นจนเต็มขีด แม้ขณะจิตนิดหน่อยก็มิได้ปล่อยให้หลงเพลินไปตามอารมณ์ เอกัคคตารมณ์จมดิ่งนิ่งแน่ว ใจใสแจ๋วเฉพาะอันเดียว มิได้เกี่ยวเกาะเสาะแส่หาอัตตาแลอนัตตาอีกต่อไป สติสมาธิภายในนั้น หากพอดีสมสัดส่วน ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องตั้งสติรักษา ตัวสติสัมปชัญญะสมาธิ มันหากรักษาตัวมันเอง อัปปนาสมาธินี้ละเอียดมาก เมื่อเข้าถึงที่แล้ว ลมหายใจแทบจะไม่ปรากฏ ขณะมันจะลง ทีแรกคล้ายกับว่าจะเคลิ้มไป แต่ว่าไม่ถึงกับเผลอสติเข้าสู่ภวังค์ ขณะสนธิกันนี้ท่านเรียกว่า โคตรภูจิต ถ้าลงถึงอัปปนาเต็มที่แล้วมีสติรู้อยู่ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าหาสติมิได้ ใจน้อมลงสู่ภวังค์เข้าถึงความสงบหน้าเดียว หรือมีสติอยู่บ้างแต่เพ่งหรือยินดีชมแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบอันละเอียด อยู่เท่านั้น เรียกว่า อัปปนาฌาน

    อัปปนาสมาธินี้มีลักษณะคล้ายกับผู้ที่เข้าอัปปนาฌานชำนาญแล้ว ย่อมเข้าหรือออกได้สมประสงค์ จะตั้งอยู่ตรงไหน ช้านานสักเท่าไรก็ได้ ซึ่งเรียกว่าโลกุตรฌาน อันเป็นวิหารธรรมของพระอริยเจ้า อัปปนาสมาธิเมื่อมันจะเข้าทีแรก หากสติไม่พอเผลอตัวเข้า กลายเป็นอัปปนาฌานไปเสีย


    สมถะ สมถะเมื่อแยกออกไปแล้ว มี ๒ ประเภทคือ สมถะทำความสงบเฉยๆ ๑ สมถะที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๑

    สมถะทำความสงบเฉยๆ นั้น จะกำหนดพระกรรมฐานหรือไม่ก็ตาม แล้วทำจิตให้สงบอยู่เฉยๆ ไม่เข้าถึงองค์ฌาน อย่างนี้เรียกว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ย่อมมีแก่ชนทั่วไปในบางกรณี ไม่จำกัดมีได้เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น

    ส่วนสมถะที่ประกอบไปด้วยองค์ฌานนั้น มีได้แต่เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น เมื่อถึงซึ่งความสงบครบด้วยองค์ฌานแล้ว เรียกว่า ฌานุเปกขา ฌานุเปกขานี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๒ ประเภท คือฌานุเปกขาที่ปรารภรูปเป็นอารมณ์ เอารูปเป็นนิมิต เรียกว่ารูปฌาน ๑ อรูปฌาน ปรารภนามนามเป็นอารมณ์ เอานามเป็นนิมิต ๑ แต่ละประเภทท่านจำแนกออกไว้เป็นประเภทละ ๔ รวมเรียกว่ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ จึงเป็นสมาบัติ ๘

    ฌานนี้มีลักษณะอาการให้เพ่งเฉพาะในอารมณ์เดียว จะเป็นรูปหรือนามก็ตาม เพื่อน้อมจิตให้สงบปราศจากกังวลแล้วเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ มีความสุขเป็นที่นิยมแลปรารถนา เมื่อสมประสงค์แล้วก็ไม่ต้องใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ในสังขารทั้งหลายมีกาย เป็นต้น ดังแสดงมาแล้วนั้นก็ดี หรือจะพิจารณาใช้แต่พอเป็นวิถีทางเดินเข้าไปเท่านั้น เมื่อถึงองค์ฌานแล้วย่อมมีลักษณะแลรสชาติ สุข เอกัคคตา และเอกัคคตา อุเบกขา เสมอเหมือนกันหมด

    ฉะนั้น ฌานนี้จึงเป็นของฝึกหัดได้ง่าย จะในพุทธกาลหรือนอกพุทธกาลก็ตาม ผู้ฝึกหัดฌานนี้ย่อมมีอยู่เสมอ แต่ในพุทธศาสนา ผู้ฝึกหัดฌานได้ช่ำชองแล้ว มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองฌานอยู่ เนื่องด้วยอุบายของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นเครื่องส่องสว่างให้ จึงไม่หลงในฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นฌานของท่านเลยเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่านผู้ขีณาสพ เรียกว่า โลกุตรฌาน ส่วนฌานที่ไม่มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครอง เรียกว่า โลกิยฌาน เสื่อมได้ และเป็นไปเพื่อก่อภพก่อชาติอีก ต่อไปนี้จะได้แสดงฌานเป็นลำดับไป

    รูปฌาน ๔ เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายคตาเป็นต้น จนปรากฏพระกรรมฐานนั้นชัดแจ่มแจ้งกว่า อนุมานทิฏฐิ ซึ่งได้กำหนดเพ่งมาแต่เบื้องต้นนั้น ด้วยอำนาจของจิตที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม อันระคนด้วยอารมณ์หลายอย่าง และเป็นของหยาบด้วย แล้วเข้าถึงซึ่งความผ่องใสในภายในอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว เรียกง่ายๆ ว่า ขันธ์ทั้งห้าเข้าไปรวมอยู่ภายในเป็นก้อนเดียวกัน ฉะนั้น ความชัดอันนั้นจึงเป็นของแจ้งชัดกว่าความแจ้งชัดที่เห็นด้วยขันธ์ ๕ ภายนอก พร้อมกันนั้น จิตจะมีอาการวูบวาบรวมลงไป คล้ายกับจะเผลอสติแล้วลืมตัว บางทีก็เผลอสติแล้วลืมตัวเอาจริงๆ แล้วเข้าไปนิ่งเฉยอยู่คนเดียว

    ถ้าหากผู้สติดีหมั่นเป็นบ่อยๆ จนชำนาญแล้ว ถึงจะมีลักษณะอาการอย่างนั้นก็ตามรู้ตามเห็นอยู่ทุกระยะ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า "จิตเข้าสู่ภวังค์" เป็นอย่างนั้นอยู่ขณะจิตหนึ่งเท่านั้น แล้วลักษณะอย่างนั้นหายไป ความรู้อยู่หรือจะส่งไปตามอาการต่างๆ ของอารมณ์ก็ตามเรื่อง บางทีจะแสดงภาพให้ปรากฏในที่นั้นด้วยอำนาจของสังขารขันธ์ภายใน ให้ปรากฏเห็นเป็นต่างๆ เช่น มันปรุงอยากจะให้กายนี้เป็นของเน่าเปื่อยปฏิกูล หรือสวยงามประการใดๆ ภาพก็จะปรากฏขึ้นมาในที่นั้นโดยไม่รู้ตัว ดังนี้เป็นต้น แล้วขันธ์ทั้งสี่มีเวทนาขันธ์เป็นอาทิก็เข้ารับทำหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของ ตนๆ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต บางทีส่งจิตนั้นไปดูสิ่งต่างๆ ที่ตนต้องการแลปรารถนาอยากจะรู้ ก็ได้เห็นตามเป็นจริง บางทีสิ่งเหล่านั้นมาปรากฏขึ้นเฉยๆ ในที่นั้นเอง พร้อมทั้งอรรถแลบาลีก็มีได้ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าใช้ขันธ์ภายในได้

    ยังอีก ขันธ์ภายในจะต้องหลอกลวงขันธ์ภายนอก เช่น บางคนซึ่งเป็นคนขี้ขลาดมาแล้วแต่ก่อน พอมาอบรมถึงจิตในขณะนี้เข้าแล้ว ภาพที่ตนเคยกลัวมาแล้วแต่ก่อนๆ นั้น ให้ปรากฏขึ้นในที่นั้นเอง สัญญาที่เคยจำไว้แต่ก่อนๆ ที่ว่าเป็นของน่ากลัวนั้นก็ยิ่งทำให้กลัวมากขึ้นจนขวัญหนีดีฝ่อ ด้วยสำคัญว่าเป็นของจริงจังอย่างนี้เรียกว่าสังขารภายในหลอกสังขารภายนอก เพราะธรรมเหล่านี้เป็นสังขตธรรม ด้วยอำนาจอุปาทานนั้นอาจทำผู้เห็นให้เสียสติไปได้ ผู้ฝึกหัดมาถึงขั้นนี้แล้วควรได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ผู้ชำนาญ

    เมื่อผ่านพ้นในตอนนี้ไปได้แล้ว จะทำหลังมือให้เป็นฝ่ามือได้ดี เรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย มีความมุ่งหมายเป็นส่วนมาก ผู้ที่ยังไม่เคยเป็น แต่เพียงได้ฟังเท่านั้น ตอนปลายนี้ชักให้กลัวเสียแล้วไม่กล้าจะทำต่อไปอีก ความจริงเรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย เมื่อทำถูกทางเข้าแล้วย่อมได้ประสบทุกคนไป แลเป็นกำลังให้เกิดวิริยะได้อย่างดีอีกด้วย ภวังค์ชนิดนี้เป็นภวังค์ที่นำจิตให้ไปสู่ปฏิสนธิเป็นภพชาติ ไม่อาจสามารถจะพิจารณาวิปัสสนาชำระกิเลสละเอียดได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลส

    ฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ท่านแสดงองค์ประกอบไว้เป็นชั้นๆ ดังจะแสดงต่อไปนี้ แต่เมื่อจะย่นย่อใจความเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว ฌานต้องมีภวังค์เป็นเครื่องหมาย ภวังค์นี้ท่านแสดงไว้มี ๓ คือ ภวังคบาต ๑ ภวังคจลนะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑

    ภวังคบาต เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์นั้นมาอาการให้วูบวาบลง ดังแสดงมาแล้วในข้างต้น แต่ว่าเป็นขณะจิตนิดหน่อย บางทีแทบจะจำไม่ได้เลย ถ้าหากผู้เจริญบริกรรมพระกรรมฐานนั้นอยู่ ทำให้ลืมพระกรรมฐานที่เจริญอยู่นั้น แลอารมณ์อื่นๆ ก็ไม่ส่งไปตามขณะจิตหนึ่ง แล้วก็เจริญบริกรรมพระกรรมฐานต่อไปอีกหรือส่งไปตามอารมณ์เดิม

    ภวังคจลนะ เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ว่าเมื่อถึงภวังค์แล้ว เที่ยวหรือซ่านอยู่ในอารมณ์ของภวังค์นั้น ไม่ส่งออกไปนอกจากอารมณ์ของภวังค์นั้น ปฏิภาคนิมิตและนิมิตต่างๆ ความรู้ความเห็นทั้งหลายมีแสงสว่างเป็นต้น เกิดในภวังค์นี้ชัดมาก จิตเที่ยวอยู่ในอารมณ์นี้

    ภวังคุปัจเฉทะ เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์แล้วขาดจากอารมณ์ภายนอกทั้งหมด แม้แต่อารมณ์ภายในของภวังค์ที่เป็นอยู่นั้น ถ้าเป็นทีแรกหรือยังไม่ชำนาญในภวังค์นั้นแล้วก็จะไม่รู้ตัวเลย เมื่อเป็นบ่อยหรือชำนาญในลักษณะของภวังค์นี้แล้วจะมีอาการให้มีสติรู้อยู่ แต่ขาดจากอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด ภวังค์นี้จัดเป็นอัปปนาสมาธิได้ ฉะนั้นอัปปนานี้บางท่านเรียกว่าอัปปนาฌาน บางทีท่านเรียกว่า อัปปนาสมาธิ มีลักษณะผิดแปลกกันนิดหน่อยดังอธิบายมาแล้วนั้น เมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว มาอยู่ในอุปจารสมาธิ ไม่ได้เป็นภวังคจลนะ ในตอนนี้พิจารณาวิปัสสนาได้ ถ้าเป็นภวังคจลนะแล้วมีความรู้แลนิมิตเฉยๆ เรียกว่า อภิญญา ภวังค์ทั้งสามดังแสดงมานี้เป็นเครื่องหมายของฌาน


    ความแปลกต่างของฌาน ภวังค์ สมาธิ จะได้แสดงตอนอรูปฌานต่อไป

    รูปฌาน มี ๔ คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตฺถฌาน ๑

    ปฐมฌาน นั้นประกอบด้วยองค์ ๕ คือ มีวิตก ยกเอาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาเพ่งพิจารณาให้เป็นอารมณ์ ๑ วิจารเพ่งคือพิจารณาเฉพาะอยู่แต่พระกรรมฐานนั้นอย่างเดียว ๑ เห็นชัดในพระกรรมฐานนั้นแล้วเกิดปีติ ๑ ปีติเกิดแล้วมีความเบากายโล่งใจเป็นสุข ๑ แล้วจิตนั้นก็แน่วอยู่ในเอกัคคตา ๑ เรียกว่าปฐมฌานมีองค์ ๕

    ทุติยฌาน มีองค์ ๓ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตนั้นยังไม่ถอนกิจ ซึ่งจะยกเอาพระกรรมฐานมาพิจารณาอีกย่อมไม่มี ฉะนั้นฌานชั้นนี้จึงคงยังปรากฏเหลืออยู่แต่ปีติ สุข เอกัคคตาเท่านั้น

    ตติยฌาน มีองค์ ๒ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตติดอยู่ในอารมณ์ของตนมาก เพ่งเอาแต่ความสุขอย่างเดียว จึงยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คือ สุขกับเอกัคคตา

    จตุตฺถฌาน มีองค์ ๒ เหมือนกัน คือ เอกัคคตาที่เพ่งเอาแต่ความสุขนั้นเป็นของละเอียด จนสุขนั้นไม่ปรากฏ เพราะสุขนั้นยังเป็นของหยาบกว่าเอกัคคตา จึงวางสุขอันนั้นเสีย แล้วยังคงมีอยู่แต่เอกัคคตากับอุเบกขา

    ฌานทั้งสี่นี้ละนิวรณ์ ๕ (คือสงบไป) ได้แล้วตั้งแต่ปฐมฌาน ส่วนฌานนอกนั้นกิจซึ่งจะต้องละอีกย่อมไม่มี ด้วยอำนาจการเพ่งเอาแต่จิตอย่างเดียวเป็นอารมณ์หนึ่ง จึงละองค์ของปฐมฌานทั้งสี่นั้นเป็นลำดับไป แล้วยังเหลืออยู่แต่ตัวฌานตัวเดียว คือ เอกัคคตา ส่วนอุเบกขา เป็นผลของฌานที่ ๔ นั้นเอง แต่ปฐมฌานปรารภพระกรรมฐานภายนอกมาเป็นเหตุจำเป็น จึงต้องมีหน้าที่พิเศษมากกว่าฌานทั้ง ๓ เบื้องปลายนั้น ฌานทั้ง ๔ นี้ปรารภรูปเป็นเหตุ คือ ยกเอารูปพระกรรมฐานขึ้นมาเพ่งพิจารณา แล้วจิตจึงเข้าถึงซึ่งองค์ฌาน ฉะนั้นจึงเรียกว่า รูปฌาน

    อรูปฌาน ๔ อรูปฌานนี้ ในพระสูตรต่างๆ โดยส่วนมากท่านไม่ค่อยจะแสดงไว้ เช่น ในโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นต้น พระองค์ทรงแสดงแต่รูปฌาน ๔ เท่านั้น ถึงพระองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญกายคตากรรมฐานไว้ว่ามีอานิสงส์ ๑๐ ข้อ ๑๐ ความว่า ได้ฌานโดยไม่ลำบาก ดังนี้ แต่เมื่อกล่าวถึงวิหารธรรมของท่านผู้ที่เข้าสมาบัติแล้ว ท่านแสดงอรูปฌานไว้ด้วย สมาบัติ ๘ ฌานทั้ง ๘ นี้ บางทีท่านเรียกว่า วิโมกข์ ๘ บ้าง แต่ท่านแสดงลักษณะผิดแปลกออกไปจากฌาน ๘ นี้บ้างเล็กน้อย อรรถรสแลอารมณ์ของวิโมกข์ ๓ เบื้องต้น ก็อันเดียวกันกับรูปฌาน ๓ นั่นเอง เช่น วิโมกข์ข้อที่ ๑ ว่า ผู้มีรูปเป็นอารมณ์แล้วเห็นรูปทั้งหลายดังนี้เป็นต้น แต่รูปฌานแสดงแต่เพียง ๓ รูปฌานที่ ๔ เลยแสดงเป็นรูปวิโมกข์เสีย อรูปวิโมกข์ที่ ๔ เอาสัญญาเวทยิตนิโรธมาเข้าใส่ฌานทั้ง ๘ รวมทั้งสัญญาเวทยิตนิโรธเข้าด้วยเป็น ๙

    ฌานทั้งหมดนี้เป็นโลกีย์โดยแท้ แต่เมื่อท่านผู้เข้าฌานเป็นอริยบุคคล ฌานนั้นก็เป็นโลกุตตระไปตาม เปรียบเหมือนกับฉลองพระบาทของพระราชา เมื่อคนสามัญรับมาใช้แล้วก็เรียกว่ารองเท้าธรรมดา ฉะนั้น ข้อนี้จะเห็นได้ชัดทีเดียวดังในเรื่องวิโมกข์ ๘ นี้ พระองค์ทรงแสดงแก่พระอานนท์ว่า อานนท์ ภิกษุจะฆ่าวิโมกข์ ๘ นี้ได้ด้วยอาวุธ ๕ ประการ คือ เข้าวิโมกข์ได้โดยอนุโลมบ้าง ทั้งอนุโลมแลปฏิโลมบ้าง เข้าออกได้ในที่ตนประสงค์ เข้าออกได้ซึ่งวิโมกข์ที่ตนประสงค์ เข้าออกได้นานตามที่ตนประสงค์ จึงจะสำเร็จ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ดังนี้

    ฉะนั้น ต่อไปนี้จะนำเอาอรูปฌาน ๔ มาแสดงไว้ในที่นี้ด้วย เพื่อผู้ที่สนใจจะได้นำไปวิจารณ์ในโอกาสอันสมควร ผู้ได้รูปฌานที่ ๔ แล้วจิตตกลงเข้าถึงอัปปนาเต็มที่แล้ว ฌานนี้ท่านแสดงว่าเป็นบาทของอภิญญา คือเมื่อต้องการอยากจะรู้จะเห็นอะไรต่ออะไร แล้วน้อมจิตนั้นไปเพื่อความรู้ในสิ่งนั้นๆ (คือถอนจิตออกมาจากอัปปนามาหยุดในอุปจาระ) แล้วสิ่งที่ตนต้องการรู้นั้นก็จะปรากฏชัดขึ้นมาในที่นั้นเอง เมื่อไม่ทำเช่นนั้น จะเดินอรูปฌานต่อ ก็มาเพ่งเอาองค์ของรูปฌานที่ ๔ คือเอกัคคตากับอุเบกขามาเป็นอารมณ์ จนจิตนั้นนิ่งแน่วแน่แล้วไม่มีอะไร ไม่ใส่ใจในเอกัคคตาแลอุเบกขาแล้ว คงยังเหลือแต่ความว่างโล่งเป็นอากาศอยู่เฉยๆ

    อรูปฌานที่ ๑ จึงได้ยัดเอามาเป็นอารมณ์ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ

    อรูปฌานที่ ๒ ด้วยอำนาจจิตเชื่อน้อมไปในฌานกล้าหาญ ย่อมเห็นอาการของผู้รู้ว่าจิตไปยึดอากาศ อากาศเป็นของภายนอก วิญญาณนี้เป็นผู้ไปยึดถือเอาอากาศมาเป็นอารมณ์ แล้วมาชมว่าเป็นตนเป็นตัว วิญญาณนี้เป็นที่รับเอาอารมณ์มาจากอายตนะภายนอก วิญญาณจึงได้กลับกลอกแลหลอกลวง เวลานี้วิญญาณล่วงพ้นเสียได้แล้วจากอายตนะทั้งหลาย วิญญาณไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย บริสุทธิ์เต็มที่ แล้วก็ยินดีในวิญญาณนั้น ถือเอาวิญญาณมาเป็นอารมณ์ข่มนิวรณธรรม อยู่ด้วยความบริสุทธิ์อันนั้น ดังนี้ เรียกว่าวิญญาณัญจายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๒

    อรูปฌานที่ ๓ วิญญาณเป็นอรูปจิต เมื่อติดอยู่กับวิญญาณแล้ว นิมิตอันเป็นของภายนอกซึ่งจะส่งเข้าไปทางอายตนะทั้ง ๕ มันก็ไม่รับ เพ่งเอาแต่ความละเอียดแลความบริสุทธ์อันเป็นธรรมารมณ์ภายในอย่างเดียว จิตเพ่งผู้รู้ดูผู้ละเอียดก็ยิ่งเห็นแต่ความละเอียด ด้วยความน้อมจิตเข้าไปหาความละเอียดจิตก็ยิ่งละเอียดเข้าไปทุกที เกือบจะไม่มีอะไรเลยก็ว่าได้ ในที่นั้นถือว่าน้อยนิดเดียวก็ไม่มี (คืออารมณ์หยาบไม่มี) เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๓


    อรูปฌานที่ ๔ ด้วยอำนาจการเพ่งว่าน้อยหนึ่งในที่นี้ก็ไม่มีดังนี้อยู่ เมื่อจิตน้อมไปในความละเอียดอยู่อย่างนั้น ความสำคัญนั่นนี่อะไรต่ออะไรย่อมไม่มี แต่ว่าผู้ที่น้อมไปหาความละเอียดแลผู้รู้ว่าถึงความละเอียดนั้นยังมีอยู่ เป็นแต่ผู้รู้ไม่คำนึงถึง คำนึงเอาแต่ความละเอียดเป็นอารมณ์ ฉะนั้น ในที่นั้นจะเรียกว่าสัญญาความจำอารมณ์อันหยาบก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีเสียแล้ว จะเรียกว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่ความจำว่าเป็นของละเอียดยังมีปรากฏอยู่ ฌานชั้นนี้ท่านจึงเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔
    เมื่อแสดงมาถึงอรูปฌานที่ ๔ นี้ ท่านผู้อ่านทั้งหลายสมควรจะได้อ่านฌานวิเศษ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธต่อไปอีกด้วย เพราะเป็นฌานแถวเดียวกัน แลเป็นที่สุดของฌานทั้งหลายเหล่านี้ คือผู้เข้าอรูปฌานที่ ๔ ชำนาญแล้ว เมื่อท่านจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็มายึดเอาอรูปฌานที่ ๔ นี้เองมาเป็นอารมณ์ ด้วยการไม่ยึดเอาความหมายอะไรมาเป็นนิมิตอารมณ์เสียก่อนเมื่อจะเข้า ตามนัยของนางธัมมทินนาเถรี ตอบปัญหานางวิสาขอุบาสก ดังนี้ ไม่ได้คิดว่าเราจักเข้า หรือเข้าอยู่ หรือเข้าแล้ว เป็นแต่น้อมจิตไปเพื่อจะเข้า ก็ได้อบรมจิตไว้อย่างนั้นแล้วก่อนแต่จะเข้า เมื่อเข้านั้นวจีสังขารคือความวิตกดับไปก่อน แล้วกายสังขารคือลมหายใจ แลจิตสังขารคือเวทนา จึงดับต่อภายหลัง

    ส่วนการออกก็ไม่ได้คิดอย่างนั้นเหมือนกัน เป็นแต่ได้กำหนดจิตไว้แล้วก่อนแต่จะเข้าเท่านั้น ว่าเราจะเข้าเท่านั้นวันแล้วจะออก เมื่อออกนั้นจิตสังขารเกิดก่อน แล้วกายสังขาร-วจีสังขารจึงเกิดตามๆ กันมา เมื่อออกมาทีแรก ผัสสะ ๓ คือ สุญญตผัสสะ ๑ อนิมิตตผัสสะ ๑ อัปปณิหิตผัสสะ ๑ ถูกต้องแล้ว ต่อนั้นไปจิตนั้นก็น้อมไปในวิเวกดังนี้


    คัดลอกจากคู่มือส่องทางสมถวิปัสสนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2010
  13. SAMRAN38

    SAMRAN38 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +918
    กราบหลวงพ่อครับ
    สวัสดีสมาชิกบ้านเหรียญบินทุกท่านครับผม
     
  14. ไม่เกิด

    ไม่เกิด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,916
    ค่าพลัง:
    +9,458
    กราบหลวงพ่อทรง...ครับ
    เพิ่งกลับมาถึงบ้านได้สักครู่... หลังจากเปลี่ยนเวรเฝ้าลูกที่โรงพยาบาลครับ...
    ได้อ่าน PM ของพี่ พี แล้วครับ ต้องกราบขอบพระคุณอีกครั้งครับ...
    สำหรับอาการของลูกผมก็ยังน่าเป็นห่วงครับ... เพราะว่าความดันยังต่ำอยู่ต้องคอยเช็คความดันทุกๆชั่วโมง และก็การทำงานของไตไม่ดีนัก ( ไตวาย ) มีอาการเหนื่อยหอบนิดหน่อย ต้องใช้สายอ๊อกซิเจนสั้นๆแหย่จมูกนิดๆ เพื่อให้ได้อ๊อกซิเจนได้ดีขึ้น แต่ลูกรู้สึกรำคาญ ( ปรกติไม่เคยใช้ ) และเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการแย่ๆครั้งนี้ ก็ต้องรอผลเพาะเชื้อโรคอยู่ครับ ถ้าทราบเมื่อไรก็จะได้ใช้ยาให้ถูกได้ ส่วนอาการอย่างอื่นไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเช่น ไข้ไม่ค่อยสูงเท่าไร ท้องไม่เสีย และอาการคลื่นไส้ก็ดีขึ้น ปวดเนื้อปวดตัวบ้าง พอทานอาหารได้บ้าง.... แต่ช่วงนี้คงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดครับ....
    และทีสำคัญก็ขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่มีความปราถนาดี และมีความเป็นห่วงใยในอาการป่วยของลูกผม .... ( ขอบคุณอีกครั้ง )
     
  15. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,011
    ค่าพลัง:
    +146,284
    พระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์ นี่ไม่ต้องบรรยายน่ะครับ เป็นที่นับถือตั้งแต่เจ้าชีวิต ลงมา

    อ่านแล้วพวกท่านพอจะทราบว่า สติ อยู่ที่ฝ่ายไหน ฝ่ายนั้นชนะ และเป็นของดีน่ะครับ

    ไม่ใช่ว่าไม่มีสติ หรือ มีแต่ไม่ครบถ้วน จะไม่ดี เพียงแต่ว่า นิมิต อาจจะจริงหรือ ไม่จริงก็ได้น่ะครับ ถ้าไม่สติกล้าแข็งมาคอยควบคุม

    พระฤาษีท่านเจริญ ณาน จนได้ ผลคือนิมิต ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ในความสงบและสามารถนำมาใช้ งานได้ระดับหนึ่ง

    แต่พระ ในพระพุทธศาสนา ท่านเจริญสมาธิ ด้วยสติ จนสามารถบรรลุ จุดสูงสุดของพระศาสนาได้น่ะครับ

    ที่อยากเตือนคือ อย่าฝึกสมาธิ จนเกิดภวังค์ เห็นนั่น เห็นนี่ ยิ่งดูของขลังได้ ว่ามีสีแสง รัศมี ถ้าสติท่านอ่อน อย่าไปลอง ถ้าจะลองต้องอยู่ภายใต้การดูและของครูบาอาจารย์ที่ชำนาญ และ ท่านอนุญาตให้ทำเท่านั้น

    ผมเคยเอาปฐวีธาตุให้อาจารย์ของผมดู พระเดชพระคุณหลวงปู่พระครูบุญศรี ท่านบอกว่าดูยาก พระอาจารย์องค์นี้ของผม ผมขอบอกว่าท่านไม่ธรรมดา ท่านยังบอกว่าดูยากเลย แต่บอกว่าดี อันนี้บอกได้ และไม่พูดต่อ

    มีมหาสมาธิ มหาสติ ขนาดนั้น เขายังไม่แน่ใจเลย ที่จะเตือน คือให้ท่านเล่นพระด้วยตาเนื้อ ส่วนตาใน ให้พิจารณาเอา ว่า เป็นจริงแท้ อย่างไร คนทำได้จริงมีครับ แต่หาไม่ได้ง่ายๆหรอกครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2010
  16. ไม่เกิด

    ไม่เกิด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    1,916
    ค่าพลัง:
    +9,458
    เมื่อสักพักคุณแม่ของลูกได้โทรมาบอกว่า ลูกชายที่นอนป่วยนั้นได้เห็นผู้ชาย 3 คนอยู่ตรงหัวนอน ทำท่าจะทำร้ายเค้า... รบกวนถามพี่ พี หน่อยครับ ผู้ชายเหล่านั้นน่าจะเป็นเจ้ากรรมนายเวรใช่หรือเปล่า ถ้าใช่ควรจะทำอย่างไรบ้างครับ....
     
  17. kaew_k1

    kaew_k1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +41
    เหรียญบินหลวงพ่อทรง กราบขออภัยด้วยครับ

    ผมมือใหม่เข้าผิดที่ไปหน่อยครับบางท่านคงขำที่ว่าได้มานานขณะนี้ผมอายุแค่53ปีเองครับ ผมได้รับมาตอนนั้นยังเด็กอยู่ครับแค่อายุ13ข14ปีเองครับขออภัยเข้าผิดที่ไปหน่อยครับ
     
  18. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,011
    ค่าพลัง:
    +146,284

    กราบขอบคุณครับ ที่เข้าใจ มาร่วมเผยแพร่เกียรติคุณ หลวงพ่อวัดมอญด้วยกันได้น่ะครับ

    สวยๆแบบนั้นมีคนเอาแน่นอนครับ ไปปล่อยเซียนแถววิเศษก็มีคนเอาน่ะครับ

    คุณกับผมคนยุคเดียวกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2010
  19. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,011
    ค่าพลัง:
    +146,284
    ไม่น่ามีอะไรน่ะครับ

    อาจจะเห็นไปเอง สวดมนต์ไหว้พระคิดถึงครูบาอาจาย์น่ะครับ สวดมนต์จนหลับไปเลยน่ะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2010
  20. กราวใน

    กราวใน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    760
    ค่าพลัง:
    +6,266
    กราบ กราบ กราบ หลวงพ่อทรงวัดศาลาดิน
    สวัสดีพี่พีและพี่น้องชาวเหรียญบินทุกท่านอีกครั้งครับ

    ไม่ค่อยได้เข้ามาติดตามครับ ช่วงนี้ว่างจากงานเลยเข้ามารายงานตัวครับ

    และขอแสดงความเสียใจ และเป้นกำลังใจอย่างสุดซึ้ง
    ให้กับท่าน กิ๊ต(นายGEET) ครับที่บ้านเกิดเพลิงใหม้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมานี้
    เพิ่งทราบข่าวโทรไปคุย ใหม้ไปเยอะเช่นกัน และครอบครัวไม่มีใครเป็นอะไร
    เหตุเกิดจากไฟลามมาจากบ้านข้างๆครับ กิ๊ตบอกรวดเร็วมาก
    คงไม่ได้มาพูดคุยพบปะในบ้านเหรียญบินสักพักนะครับทุกท่าน
    ยังไงแล้วก็ขอให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
    ขอให้บารมีครุบาอาจารย์และบารมีหลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน
    ปกป้องคุ้มครองให้ทุกอย่างผ่านพ้นไปได้ด้วยดีนะครับ...<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...