อรูปฌาน ๔

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 29 เมษายน 2010.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อรูปฌาน ๔
    ต่อไปนี้จะได้อธิบายถึงวิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่างคือ อากาสานัญ-
    จายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะรวม ๔ อย่างด้วยกัน
    อรูปฌานทั้ง ๔ นี้เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว
    เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์
    ในวิปัสสนาญาณมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญ
    สำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริงตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ แต่ทว่าอรูปฌานนี้
    ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนามถือความ
    ว่างเป็นสำคัญ

    อานิสงส์อรูปฌาน

    ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌาน
    ที่ได้แล้ว ยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้อรูปฌานนี้แล้ว
    เมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ คือมีคุณสมบัติพิเศษ เหนือจากที่ทรง
    อภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และ คุณสมบัติพิเศษ
    อีก ๔ คือ

    ปฏิสัมภิทา ๔

    ๑. อัตถปฏิสัมภิทามีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ท่านอธิบาย
    มาแล้วอย่างพิสดาร ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัดไม่เสียความ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้พิสดาร
    เข้าใจชัด
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่างอัศจรรย์
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่างอัศจรรย์
    ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทา
    หรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ ๑๐ และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้
    ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญา แล้วท่าน
    มาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ ๙ ประการ
    ปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาท
    ของอรูปฌาน คือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึง
    จตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติ
    ในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่านที่ได้กสิณจน
    คล่องอย่างน้อย ๙ กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้ว จึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้ ฉะนั้นท่าน
    ที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกัน
    อยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอา
    โลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐ หรือทั้ง ๘ นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันที
    ในสมัยที่เป็นฌานโลกียส่วนปฏิสัมภิทาญาณ ๔ นี้ เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรง
    ปฏิสัมภิทาไม่ได้ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะ
    ปรากฏบังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้

    ๑. อากาสานัญจายตนะ

    การอธิบายในอรูป ๔ นี้ ขอกล่าวแต่พอเป็นแนวเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นกรรมฐานละเอียด
    ทั้งผู้ที่จะปฏิบัติก็ต้องทรงอภิญญามาก่อน เรื่องการสอนหรืออธิบายในกรรมฐานนี้ มีความสำคัญ
    อยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้ากรรมฐานกองใดท่านผู้อธิบายไม่ได้มาก่อน ก็อธิบายไม่ตรงตามความเป็นจริง
    ท่านที่จะอธิบายได้ถูกต้องและตรงจริง ๆ ก็ต้องได้กรรมฐานกองนั้น ๆ มาก่อน ผู้เขียนนี้ก็ เช่นกัน
    อาศัยที่ศึกษาเรื่องของกรรมฐานมาเฉพาะประเภทวิชาชาสาม สำหรับเรื่องของวิชชาสามเรียนมา
    พอเขียนได้อ่านออก ถึงแม้จะไม่ได้สำเร็จ มรรคผลใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ฟังคำสอนมาพอเอาตัวรอด
    ได้บ้างพอควร ไม่ถึงเก่งและถ้าไปโดนท่านที่ฉลาดจริงเข้า ท่านอาจไล่เบี้ยเอาจนมุมเหมือนกันส่วน
    ด้านอภิญญานั้น อาศัยที่เคยศึกษาในกสิณบางส่วนมาบ้าง พอเห็นทางไร ๆ แต่ก็ได้ไม่ครบแต่ถึงจะได้
    ไม่ครบก็ทราบว่าแนวของกสิณมีแนวเป็นอันเดียวกัน ฉะนั้นเรื่องอภิญญาพอจะแอบ ๆ ฟุ้งได้บ้าง
    พอสมควร
    อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอรูปอากาสานัญจายตนะ
    นี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญ
    ว่ากสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญความสุข ความทุกข์ที่เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็น
    ต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณนั้น ถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็น
    นิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศ
    ไว้โดยกำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ดังนี้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นฌาน ๔ ในอรูปฌาน

    ๒. วิญญาณัญจายตนะ

    อรูปนี้กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ โดยจับอากาสานัญจายตนะ คือกำหนดอากาศจาก
    อรูปเดิมเป็นปัจจัย ถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์ แล้วกำหนดว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิต
    ที่อาศัยรูปอยู่ ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตาม แต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะ
    วิญญาณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดจิตว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาด
    กำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือนจิต โดยคิดว่า เราต้องการจิตเท่านั้น รูปกายอย่างอื่น
    ไม่ต้องการ จนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์

    ๓. อากิญจัญญายตนะ

    อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน ๔ ในวิญญาณแล้วเพิก
    วิญญาณคือไม่ต้องการวิญญาณนั้น คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศก็ไม่มี วิญญาณก็ไม่มี
    ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้น การไม่มีอะไรเลยเป็นการ
    ปลอดภัยที่สุด แล้วก็กำหนดจิต ไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด จนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้

    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือทำความรู้สึก
    ตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัว
    เสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่อาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อน
    แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวายมีชีวิตทำเสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใดๆ ปล่อยตามเรื่อง
    เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์
    เป็นจบเรื่องอรูปกันเสียที เขียนมานี้อึดอัดเกือบตาย เป็นอันว่าเขียนไว้คร่าว ๆ ไม่รับรอง
    ผิดถูกเพราะปฏิบัติไม่ได้ ก็ไม่ยอมรับรอง เรื่องกรรมฐานนี้เดาไม่ได้ ขืนเดาก็เละหมด สมัยเป็นนัก
    เทศน์เคยถูกท่านอาจารย์ไล่เบี้ยอารมณ์กรรมฐานเสียงอม เดาท่านก็ไม่ยอม ท่านให้ตอบตามอารมณ์
    จริง ๆ ผิดนิดท่านให้ตอบใหม่ ท่านทรมานเอาแย่ แต่ก็ขอบคุณท่าน ถ้าท่านไม่ทำอย่างนั้น ก็คง
    ไม่สนใจอะไรเลย เพราะกลัวขายหน้าคนฟังเทศน์ ที่ไหนบกพร่องก็รีบซ่อม ถึงอย่างนั้น พอเจออภิญญา
    กับสมาบัติเข้าคราวไร เป็นยกธงขาวหราทุกที
     
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์
    ในวิปัสสนาญาณมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญ
    สำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริงตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ

    อรูปฌานนี้
    ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนามถือความ
    ว่างเป็นสำคัญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2010
  3. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ๑๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน

    อุปสมานุสสติ แปลว่า ระลึกคุณพระนิพพานเป็นอารมณ์ ตามศัพท์ท่านน่าจะแปลว่า
    ระลึกถึงคุณของความเข้าไปสงบระงับจิตจากกิเลสและตัณหา ก็คือการเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง
    ท่านแปลเอาความหมายว่า ระลึกถึงคุณพระนิพพานนั้น เป็นการแปลโดยอรรถ ท่านแปลของท่าน
    ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ที่เขียนถึงคำว่าสงบระงับไว้ด้วยก็เพื่อให้เต็มความประสงค์ของนักคิดเท่านั้น
    เอง

    ระลึกตามแบบ


    ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ
    ท่านอธิบายถึงการระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี ๘ ข้อ ไว้เป็นแนวเครื่องระลึก ดังจะนำมา
    เขียนไว้เพื่อเป็นเครื่องอุปกรณ์ในการระลึกดังต่อไปนี้

    บาลีปรารภพระนิพพาน ๘


    ๑. มทนิมฺมทโน แปลว่า พระนิพพานย่ำยีเสียซึ่งความเมา มีความเมาในความเป็น
    คนหนุ่ม และเมาในชีวิต โดยคิดว่าตนจะไม่ตายเป็นต้น ให้สิ้นไปจากอารมณ์ คือคิดเป็นปกติเสมอว่า
    ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน โลกนี้ทั้งสิ้น มีความฉิบหายเป็นที่สุด
    ๒. ปิปาสวินโย แปลว่า พระนิพพาน บรรเทาซึ่งความกระหาย คือความใคร่กำหนัด
    ยินดีในกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และการถูกต้องสัมผัส
    ๓. อาลยสมุคฺฆาโต แปลว่า พระนิพพาน ถอนเสียซึ่งอาลัยในกามคุณ ๕ หมายความ
    ว่า ท่านที่เข้าถึงพระนิพพาน คือมีกิเลสสิ้นแล้ว ย่อมไม่ผูกพันในกามคุณ ๕ เห็นกามคุณ ๕ เสมือน
    เห็นซากศพ
    ๔. วัฏฏปัจเฉโท แปลว่า พระนิพพาน ตัดเสียซึ่งวนสาม คือ กิเลสวัฏได้แก่ ตัดกิเลส
    ได้สิ้นเชิง ไม่มีความมัวเมาในกิเลสเหลืออยู่แม้แต่น้อย กรรมวัฏ ตัดกรรม อันเป็นบาปอกุศล วิปากวัฏ
    คือตัดผลกรรมที่เป็นอกุศลได้สิ้นเชิง
    ๕. ตัณหักขโย, วิราโค, นิโรโธ แปลว่า
    นิพพานธรรมนั้น ถึงความสิ้นไปแห่ง
    ตัณหา
    ตัณหาไม่กำเริบอีก มีความหน่ายในตัณหา ไม่มีความพอใจในตัณหาอีก ดับตัณหาเสียได้สนิท
    ตัณหาไม่กำเริบขึ้นอีกได้แม้แต่น้อย
    ๖. นิพพานัง แปลว่า ดับสนิทแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน กรรมอำนาจทั้ง ๔ นี้ ไม่มี
    โอกาสจะให้ผลแก่ท่านที่มีจิตเข้าถึงพระนิพพานแล้วได้อีก

    ตามข้อปรากฏว่ามีเพียง ๖ ข้อ ความจริงข้อที่ ๕ ท่านรวมไว้ ๓ อย่าง คือ ตัณหักขโย ๑
    วิราโค ๑ นิโรโธ ๑ ข้อนี้รวมกันไว้เสีย ๓ ข้อแล้ว ทั้งหมดจึงเป็น ๘ ข้อพอดี ท่านลงในแบบว่า ๘
    ก็เขียนว่า ๘ ตามท่าน ความจริงเมื่อท่านจะรวมกัน ท่านน่าจะเขียนว่า ๖ ข้อก็จะสิ้นเรื่อง เมื่อท่าน
    เขียนเป็นแบบมาอย่างนี้ ก็เขียนตามท่าน
    ท่านสอนให้ตั้งจิตกำหนดความดีของพระนิพพานตามในบาลีทั้ง ๘ แม้ข้อใด ข้อหนึ่งก็ได้
    ตามความพอใจ แต่ท่านก็แนะไว้ในที่เดียวกันว่า บริกรรมภาวนาว่า "นิพพานัง" นั่นแหละดีอย่างยิ่ง
    ภาวนาไปจนกว่าจิตจะเข้าสู่อุปจารฌาน โดยที่จิตระงับนิวรณ์ ๕ ได้สงบแล้วเข้าถึงอุปจารฌานเป็นที่สุด
    กรรมฐานนี้ ที่ท่านกล่าวว่าได้ถึงที่สุดเพียงอุปจารฌานก็เพราะเป็นกรรมฐานละเอียดสุขุม และใช้
    อารมณ์ใคร่ครวญเป็นปกติ กรรมฐานนี้จึงมีกำลังไม่ถึงฌาน

    อานิสงส์

    อานิสงส์ที่ใช้อารมณ์ใคร่ครวญถึงพระนิพพานนี้มีผลมาก เป็นปัจจัยให้ละอารมณ์ที่คลุกเคล้า
    ด้วยอำนาจกิเลสและตัณหา เห็นโทษในวัฏฏะ เป็นปัจจัยให้แสวงหาทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
    อันเป็นปฏิปทาไปสู่พระนิพพาน เป็นกรรมฐานที่นักปฏิบัติได้ผลเป็นกำไร เพราะเป็นปัจจัยให้เข้าถึง
    ความเป็นพระอริยเจ้าได้อย่างสบาย ขอท่านนักปฏิบัติจงสนใจกรรมฐานกองนี้ให้มาก ๆ และแสวงหา
    แนวปฏิบัติ ที่เข้าตรงต่อพระนิพพานมาปฏิบัติ ท่านมีโอกาสจะเข้าสู่พระนิพพานได้อย่างไม่ยากนัก
    เพราะระลึกนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์นี้ เป็นองค์หนึ่งในองค์สามของพระโสดาบัน ชื่อว่าท่าน
    ก้าวเข้าไปเป็นพระโสดาบันหนึ่งในสามขององค์พระโสดาบันแล้ว เหลืออีกสองต้องควรแสวงหาให้
    ครบถ้วน

    พระนิพพานไม่สูญ


    ท่านนักปฏิบัติได้กำหนดกรรมฐานในอุปสมานุสสตินี้แล้ว ท่านอาจจะต้องประสบกับปัญหายุ่ง
    สมองในเรื่องพระนิพพานอีกตอนหนึ่ง เพราะบรรดานักคิดนักแต่งทั้งหลาย ได้พากันโฆษณามาหลาย
    ร้อยปีแล้วว่า พระนิพพานเป็นสภาพสูญ แต่พอมาอ่านหนังสือของพระอรหันต์ท่านเขียน คือหนังสือวิสุทธิ-
    มรรค ท่านกลับยืนยันว่า พระนิพพานไม่สูญ ดังท่านจะเห็นตามบาลีทั้ง ๘ ที่ท่านยกมาเป็นองค์ภาวนา
    นั้น คือ มทนิมฺมทโน พระนิพพานตัดความเมาในชีวิต ปิปาสวินโย นิพพานบรรเทาความกระหายใน
    กามคุณ ๕ อาลยสมุคฺฆาโต พระนิพพานถอนอาลัยในกามคุณ วัฏฏปัจเฉโท พระนิพพานตัดวนสาม
    ให้ขาด ตัณหักขโย พระนิพพานมีตัณหาสิ้นแล้ว หรือสิ้นตัณหาแล้วเข้าสู่นิพพาน วิราโค มีความเบื่อ
    หน่ายในตัณหา นิโรโธ ดับตัณหาได้สนิทแล้ว โดยตัณหาไม่กำเริบอีก นิพพานัง มีความดับสนิทแล้ว
    จากกิเลส ตัณหา อุปาทานกรรม อันเป็นเหตุให้เกิดอีกในวัฏสงสาร
     
  4. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ที่มาครับ
    http://www.oknation.net/blog/Aug-saraporn/2009/06/05/entry-1
    อุปสมานุสสติ ขั้นวิมุตติ
    .
    สอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพาน
    นิพพานนั้น
    ตามหลักแบ่งชั้นธรรมดังที่กล่าวแล้วเมื่อคราวก่อน
    คือมรรค ผล นิพพาน
    นิพพานในระดับดังที่กล่าวนี้
    ท่านแสดงว่ามีอยู่สองอย่างคือ
    สอุปาทิเสสนิพพาน
    นิพพานที่มีอุปาทิยังเหลือ
    กับ
    อนุปาทิเสสนิพพาน
    นิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลือ
    มีอธิบายที่แตกต่างกันอยู่สองอย่าง คือ
    อย่างหนึ่ง
    คำว่าอุปาทิ หมายถึงขันธ์ห้า
    ฉะนั้น
    สอุปาทิเสสนิพพาน
    นิพพานที่ยังมีอุปาทิคือขันธ์ห้ายังเหลืออยู่
    จึงมีอธิบายว่า
    หมายถึงพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย
    ซึ่ง
    บรรลุถึงนิพพานอันเป็นธรรมที่สิ้นกิเลสทั้งสิ้นแล้ว
    เป็นพระขีณาสพแล้ว
    แต่ยังมีขันธ์ห้าเหลืออยู่ คือดำรงชีวิตอยู่
    ดังเช่นพระพุทธเจ้า
    เมื่อได้ตรัสรู้แล้วยังยังทรงดำรงพระชนมชีพอยู่
    ยังเสด็จประกาศพระศาสนาต่อไปอีกถึง ๔๕ ปี
    เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้พระธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
    ชื่อว่าได้ทรงบรรลุสอุปาทิเสสนิพพาน
    และแม้พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน
    เมื่อท่านได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นกิเลสคือนิพพาน
    แล้วยังยังดำรงชีวิตอยู่ มีขันธ์ห้าเหลืออยู่
    ก็ชื่อว่าบรรลุสอุปาทิเสสนิพพาน
    นิพพานที่ยังมีอุปาทิคือขันธ์ห้าเหลืออยู่
    อนุปาทิเสสนิพพาน
    นิพพานที่ไม่มีอุปาทิคือขันธ์ห้าเหลืออยู่
    จึงหมายถึง
    พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตขีณาสพสาวกทั้งหลาย
    ชึ่งดับขันธ์แล้ว
    ก็ชื่อว่าบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน
    ได้มีอธิบายในพระสูตรบางแห่ง
    ที่แสดงว่า
    พระสารีบุตรเถระแสดงไว้ว่า
    นิพพานของท่านที่คนอื่นยังมองเห็นได้ด้วยตา
    เรียกว่า สอุปาทิเสส
    เมื่อมองไม่เห็นได้ด้วยตา
    เรียกว่า อนุปาทิเสส
    ดั่งนี้
    อีกอย่าง
    หนึ่ง
    อุปาทิ หมายถึง อุปาทาน หมายถึง กิเลส
    ฉะนั้น
    สอุปาทิเสสนิพพาน
    นิพพานที่ยังมีอุปาทิ คือยังมีกิเลสยังเหลืออยู่
    จึงหมายถึงท่านที่ละกิเลสได้เด็ดขาดบางส่วนแล้ว
    แต่ยังมีกิเลสเหลือ คือยังละได้ไม่หมด
    จึงหมายถึง
    ท่านที่บรรลุโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลแล้ว
    ก็ชื่อว่าบรรลุนิพพานขั้นหนึ่ง
    ท่านที่บรรลุสกทาคามิมรรค สกทาคามิผลแล้ว
    ก็ชื่อว่าได้บรรลุนิพพานอีกขั้นหนึ่ง
    ท่านที่บรรลุอนาคามิมรรค อนาคามิผลแล้ว
    ก็ชื่อว่าได้บรรลุนิพพานอีกขั้นหนึ่ง
    คือ ละกิเลสได้เด็ดขาดบางส่วนแต่ยังไม่หมด
    ยังมีกิเลสบางส่วนเหลืออยู่
    ดั่งนี้
    เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน
    ส่วนนิพพานของท่านที่ละกิเลสได้เด็ดขาดไม่มีเหลือ
    เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
    นิพพานที่ไม่มีอุปาทิคืออุปาทานหมายถึงกิเลสทั้งหมดเหลืออยู่
    คือละได้หมด
    ตามอธิบายหลังนี้แล้ว
    แม้ว่าจะยังมองเห็นได้ด้วยตา
    คือยังมีขันธ์ห้าเหลืออยู่ ยังดำรงชีวิตอยู่
    ก็เรียกว่า
    บรรลุอนุปาทิเสสนิพพานได้
    ในเมื่อละกิเลสได้เด็ดขาดทั้งหมด
    ตามอธิบายนี้
    ก็สักแต่ว่าเป็นอธิบายที่แตกต่างกันไปเท่านั้น
    แต่ก็
    ไม่ทำให้ความสำคัญของนิพพานลดลง
    หรือ
    แตกต่างออกไป
    แต่ประการใด
    เป็นแต่เพียงว่า
    แม้ละกิเลสได้เด็ดขาดบางส่วน
    ก็เป็นอันชื่อว่าบรรลุนิพพานได้
    แต่อธิบายนิพพานให้หย่อนลงมา
    ยังมีอธิบายอย่างอื่นอีก
    ซึ่งจะยังไม่กล่าวในวันนี้
     
  5. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อรูปฌาณ 4 เป็นส่วนหนึ่งในกรรมฐาน 40
    ยึดเอาในอารมว่าง ว่างจากขันธ์ เป็นอารมนิ่งสงบกดกิเลสไว้ ทำได้รักษาได้ในขั้น ฌาณระดับสูง
    อุปสมานุสสติกรรมฐาน
    ยึดเอาอารมนิพพาน อารมที่ว่างจากตันหาและอวิชา เป็นอารมสบายปล่อยวาง รู้ในกิเลสที่มี ทำได้รักษาได้ตั้งแต่อุปจารสมาทิถึงขั้นฌาณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2010
  6. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP> เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
    คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็น​เจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​ ​มหาสติปัฏฐานสูตร​ ​และ​ ​สติปัฏฐานสูตร​ ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
    โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
    1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    4. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
     
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ใครเคยฝึกอรูปฌาณบ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2010
  8. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    สำหรับการปฏิบัติเพื่อละกิเลส
    ผมจะไม่สนใจอรูปฌาณเท่าใดนัก...
     
  9. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    คุนวิมุติติครับอนุโมทนาครับ
    ลองสังเกตุดูนะครับเวลาปติบัติ
    ท่าพิจารนากายและจิตด้วยสติ ในชีวิตประจำวันไม่ได้เพ่งหรือทำฌาณ
    มันก้เป็นอารมสบายๆๆ เรารู้กายรู้ใจตัวเองรู้ว่ามีกิเลสอย่างไรลดละได้อย่างไรอันไหนมีมากอันไหนมีน้อย เราก้อยู่กับปัจจุบัน

    แต่เวลาปติบัติทางด้านสมถะภาวนา ตรงนี้ไม่ทราบว่าคุนวิมุตติได้ทำด้วยบางโอกาสไหมนะครับ
    เราก้จะสามารถพิจารนาสติในองฌาณที่เกิดขึ้นได้ ขนะที่เราเพ่ง ในกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นอรูปฌาณเราก้มีสติ เรียกว่าทำสมถะคู่วิปัสนา

    และเมื่อเราทำสมถะด้วยความไม่ยึดติดเราย่อมพิจารนาเห็นว่า
    กายไม่ใช่เราอาการทางกายเกิดอย่างไรๆ มันก้ดับลงไปอย่างนั้นๆ
    โดยที่เราไม่ต้องไปสนใจสมาทิเราก้ต่อเนื่องได้
    อาการเวทนาเกิดขึ้นอย่างไร เราก้รู้เวทนานั้นและวางเฉยต่อเวทนานั้นได้
    รวมทั้งสัญญาสังขารและวิญญานที่เกิดขึ้น ในขนะนั้นๆๆท่าเรามีสติย่อมรู้ชัด

    ตรงนี้เป็นผลที่ได้จากการมีสติทั้งเจริญวิปัสนาและสมถะ และทำการละวางขันธ์ ซึ่งอารมตรงจุดนี้แหละครับ

    ผมได้ยกกองกรรมฐานมาไห้พิจารนาว่ามันมีอาการคล้ายกัน หลวงพ่อท่านก้เทศไว้และสภาวะธรรมก้เป็นเช่นนั้น

    เมื่อเราพิจารนากายและใจด้วยวิปัสนา ไม่สนใจต่ออาการต่างๆที่เกิดด้วยรู้ว่ามันเกิดเป็นธรรมดาและดับเป็นธรรมดาแล้วเราจะเข้าสู่สมาทิที่ไม่ติดอยูกับกายและใจหรือ ขันไม่ใช่เราขันไม่มีในเรา ตรงนี้เป็น ปัตจัตตัง แต่ละบุคคลไม่เท่ากันผมไม่ทราบว่าแต่ละท่านจะเห็นความไม่ใช่เราแค่ไหนนะครับ

    ลองพิจารนาการเจิยสติปัฐฐาน การเจริญอรูปฌาณ และเจริญ อนุสติที่ละลึกถึงนิพพานเป็นอารมดูนะครับ 3อย่างนี้มีส่วนคล้ายและส่วนจต่างเพียงยกมาไห้ดูที่ยกมาก้ยกมาจากที่หลวงพ่อสอน แต่ไม่ได้หมายเอาว่าผมทำได้หมดแล้วนะครับเห็นว่าน่าสนใจก้เอามาแบ่งกัน

    ยังไงการไม่สนใจฌาณไม่ติดในอารมสงบไม่ติดในสังขารธรรมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นสิ่งที่ดี สังขารเปลี่ยนแปลงไปตามการกระทบ อนุโมทนาครับ
     
  10. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ที่ว่า ไม่สนใจอรูปฌาณ เพราะดูเหมือนจะเกินความจำเป็นไป
    รูปฌาณสี่ ก็เกินพอแล้ว
    ทั้งนี้ทั้งนั้น การฝึกสมาธิย่อมเป็นเรื่องดี
    หากเจริญฌาณได้ถึง สมาบัติ๘ ก็ยิ่งดี มีโอกาสเข้านิโรธสมาบัติ
    ตามสะดวกครับ อนุโมทนาครับ...
     
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จิตที่ทรงตัว ตั้งมั่น ปราโมทย์ ไม่ยึดติดขันธ์ รู้เห็นไตรลักษณ์ เป็นจิตที่ควรแก่การงาน

    ทำสมาทิพิจารนาขันธ์ 5 กันนะครับ ละวางความยึดมั่นถือมั่น

    อนุโมทนา
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อรูปถ้าไม่เกินความสามารถทำได้ก็ทำเถอะครับ.....ทำได้ย่อมดีกว่าไม่ได้....ของมีดีกว่าไม่มีอยู่วันยังค่ำ......ของอย่างนี้ใช้เป็นมีประโยชน์ทั้งนั้นนะ......พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงเมตตาสอนไว้......

    โมทนาสาธุธรรมครับ....
     
  13. SONICx

    SONICx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +225
    เหตุ ที่ยกมา ด้วยเหตุผลกลใด หรือเป็นการทบทวนข้อความให้จำขึ้นใจ เพื่อไปคุยอวดว่า ตัวเองรู้จากการไปจำๆมา อย่ามัวแต่ไปเพ้อฝันหา หากต้องการสัมผัสด้วยตน ลงมือปฏิบัติเลย เดี๋ยวนี้ จะได้รู้ แต่หาก ปอดแหก ขลาดเขลา ขี้เกียจ ขี้กลัว อย่าหวังว่าจะได้เจอ
     
  14. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เหตุที่ยกมาเพราะ การได้ปติบัติแล้ว ได้ทำแล้ว รู้สึกว่ากรรมฐานที่ยกมาไห้ดู

    อรูปฌาณ และ อนุสติที่ละลึกนิพพานเป็นอารม และการเจริญวิปัสนาสติปัฐฐาน

    มีส่วนที่คล้ายกันและส่วนที่แตกต่างกันนำมาเปรียบเทียบและวิเคาะห์เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เคยได้ยินไม่เคยได้รู้ในการทำกรรมฐาน และเจริญวิปัสนาในที่ยกมา และเชิญชวนผู้ที่ปติบัติอยุ่แล้วและยังไม่ปติบัติได้อ่านและได้ลองปติบัติ เพราะเหล่านี้ต่างก้ยกมาจากคำสอนของพระสุปติปันโน

    ท่านกัลยานชนท่านใดปติบัติแล้วปติบัติได้แล้วขออนุโมทนา ท่านใดต้องการท่องจำไว้ก่อนก้ขออนุโมทนาอย่างน้อยก้ได้รู้จักกับการทำกรรมฐาน อย่างถูกต้องแต่ต้องบอกว่าต้องอ่านและพิจารนาไห้ดี ขั้นตอนการปติบัติมีรายละเอียดไม่ใช่เพียงการนั่งหลับตาเท่านั้น

    และท่านใดที่ทำอยู่แล้วแต่ไม่ก้าวหน้าขอให้พิจารนาเนื้อความไห้ดีว่าขั้นตอนการปติบัตินั้นทำอย่างไร การทำอย่างถูกวิทีโดยศึกษาอย่างดีแล้วย่อมดีกว่าการทำโดยไม่รู้จุดหมาย

    ตนเตือนตนนั่นแหละดี การมองใจตนเองและเปลี่ยนแปลงตนเองง่ายกว่าเปลี่ยนแปลงผู้อื่น การวางทิฐิตนเองง่ายกว่าการวางทิฐิผู้อื่น
    จะมัวสนใจผู้อื่นอยู่ทำไม ทำไมไม่สนใจตนเอง ปัญญาเปรียบดังแสงสว่าง ตันหาคือความดิ้นรน

    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2010
  15. นายวีระศักดิ์ ท

    นายวีระศักดิ์ ท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กันยายน 2006
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +1,003
    ท่าน<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->albertalos<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_3248940", true); </SCRIPT> ครับ ผมอยากได้ขั้นตอนการปฏิบัติของอรูปฌานครับ ผมปฏิบัติอยู่ครับแต่ยังทำไม่ได้ ฌานสี่ในอานาปานสติกรรมฐาน แล้วไปอรูปได้หรือไม่ครับ หรือว่าต้องได้ฌานสี่ในกสินเท่านั้น จึงจะไปอรูปได้ ครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 พฤษภาคม 2010
  16. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ตามที่ยกมาไห้อ่านเลยครับหลวงพ่อท่านสอนไว้แล้ว
     
  17. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    ....ทำรูปฌาน(กสิณ) ให้เกิด(ฌาน4)...

    ....ปฏิเสธรูปกาย....

    ....ปฏิเสธความรู้สึกสัมผัสทางกายทั้งหมด...

    ....ปฏิเสธความมีอยู่ ของทุกอย่างทั้งหมด.....

    ....ปฏิเสธความผูกพันธนาการเกี่ยวเนื่องทั้งหมด...

    ...เหลือ เพียงดวงจิต(ที่ไม่รับรู้ถึงการมีอยู่) ที่ไม่ต้องการ เกาะ สิ่ง ใด เลย.....turn off
     
  18. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เห็นด้วยหมดทุกเรื่องไม่เห็นด้วยเพียงเรื่องเดียวเพราะไม่อยากให้ใครๆทั้งหลายหลอกตนเอง เพราะหากหลอกตนเองอยู่ก็จะไม่พบความจริงเสียที วนเวียนอยู่อย่างเดิม คล้ายกับพอใจในสิ่งนั้นแล้ว เห็นว่าสิ่งนั้นเองคือสิ่งที่เหมาะสำหรับตนเป็นของๆตนเสียแล้ว จึงไม่เห็นด้วยแม้จะเป็นคำกล่าวของพระเถระก็ตามที แต่ก็ไม่ได้หลบหลู่เพียงแต่ไม่เห็นด้วยเท่านั้นครับ ถึงอย่างไรก็อนุโมทนา และขอให้สร้างกุศลให้มาก ปฏิบัติให้มากๆ ได้แล้วก็วางเสีย ยังไม่ได้ก็อย่าพึ่งวาง อย่าหลอกตนเอง สำคัญที่สุดครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  19. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ลองทำดุนะครับ ว่ามันเป็นการปติเสทจริงไหมและไม่รับรู้จริงไหมตรงนี้ผมก้สรุปตามด้วยไม่ได้เพราะไม่ได้แตกฉานในอรูป
    และอารมสภาวะที่เกิดจริงกับตัวหนังสือมันไม่เหมือนกันครับคงต้องให้คุนพลรัฐลองทำดู

    เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์
    ในวิปัสสนาญาณมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญ
    สำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริงตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ แต่ทว่าอรูปฌานนี้
    ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนามถือความ
    ว่างเป็นสำคัญ

    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...