"๒๖มิ.ย.๒๕๔๙"วันที่ปฏิทินโหรตรงกับปฏิทินหลวง

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 27 มิถุนายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>"๒๖ มิ.ย. ๒๕๔๙" วันที่...ปฏิทินโหรตรงกับปฏิทินหลวง</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] -->
    [​IMG]



    "จันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๙" ไม่ใช่วันหยุดราชการ และก็ไม่ใช่วันสำคัญทางศาสนาด้วย ดังนั้นคนส่วนไทยใหญ่จึงไม่ให้ความสำคัญ



    แต่สำรับคนในวงการโหราศาสตร์ และนักคำนวณปฏิทินจะให้ความสำคัญกับวันดังกล่าวมาก ด้วยเหตุที่ว่า "เป็นวันที่ปฏิทินหลวงตรงกับปฏิทินโหร คือ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ เหมือนกัน"
    ความไม่ตรงกันของปฏิทินหลวงและปฏิทินโหรนั้น ข้างขึ้นข้างแรมจะต่างกัน ๑ วัน โดยเริ่มมีความแตกต่างกัน คือ ปฏิทินหลวง วันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ตรงกับแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ และ วันพุธที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ตรงกับแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ เป็นวันพระสิ้นเดือน
    ในขณะที่ปฏิทินโหร วันอังคารที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ จะเป็นวันพระสิ้นเดือน คือ แรม ๑๔ คำเดือน ๗ และ วันพุธที่ ๖ กรกฎาคม จะเป็นวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๘
    ความไม่ตรงกันดังกล่าวส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนของวันพระและวันสำคัญทางศาสนาตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา เช่น วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ของปี ๒๕๔๘ และวันวิสาขบูชา ปี ๒๕๔๙ โดยไม่มีหน่วยงานใดของรัฐ ทั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พ.ศ.) กรมการศาสนา รวมทั้งมหาเถรสมาคม (มส.) ออกมาประกาศรับผิดชอบ ชี้แจงอธิบาย และหาทางออกของเรื่องดังกล่าวให้ประชาชนเกิดความเข้าใจว่า
    ปฏิทินหลวงที่ถูกนั้นใช้หลักการคำนวณอย่างไร ข้างขึ้นข้างแรมที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นข้างขึ้นข้างแรมที่ตรงกับความเป็นจริงของพระจันทร์บนท้องฟ้าหรือไม่ ปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการคำนวณปฏิทินรวมทั้งโหรออกมาชี้แจงกันเอง
    ในครั้งนั้นสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติบอกว่า ได้ต้นฉบับมาจากมหาเถรสมาคม ในขณะที่มหาเถรสมาคมก็บอกว่า พิจารณาตามที่โหรหลวง สำนักงานพระราชวังเสนอให้มา โดยไม่มีการแก้ไขใดๆ
    เมื่อปฏิทินไม่ตรงกัน พระพรหมมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม บอกว่า "คณะสงฆ์ต้องอนุวัตร หรือแก้ไข โดยปรับวันสำคัญทางศาสนาของพระสงฆ์ให้ตรงกับวันที่โหรหลวงกำหนดไว้แล้ว"
    "ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งสุดท้ายของประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่ปฏิทินโหรและปฏิทินหลวงไม่ตรงกัน นับตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๙ นี้ ซึ่งทั้งสองปฏิทินจะตรงกับขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๘"
    นี่คือคำยืนยันของ พระครูสุนทรสิทธิการ (สุคนธ์ สุคนฺธธโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) หรือ "พระมหาสุคนธ์" พระผู้เชี่ยวชาญเรื่องการคำนวณปฏิทินผู้ซึ่งถูกยกให้เป็น "ปราชญ์แห่งปฏิทินโหรศาสตร์"
    สำหรับเหตุที่ปฏิทินโหรกับปฏิทินหลวงไม่ตรงกันนั้น พระมหาสุคนธ์ บอกว่า เกิดจากการคำนวณ ซึ่งยึดหลักตำราที่ไม่ตรงกันซึ่งเคยเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่งเมื่อปี ๒๕๐๐
    อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความคลาดเคลื่อนของการนับข้างขึ้นข้างแรม หลักปฏิบัติที่ยึดถือกันมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ถ้าหากปีใดไม่ตรงกันให้ยึดเอาปฏิทินหลวงเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน แต่ถ้าเป็นโหรก็จะยึดปฏิทินโหรเป็นหลักทั้งนี้เพื่อความแม่นยำในการคำนวณ
    อย่างไรก็ตาม ในอดีตนั้นมีผู้ให้ความสนใจเรื่องการคำนวณปฏิทินนั้นน้อยมาก เพราะเป็นเรื่องที่ยากแก่การคำนวณ ขณะเดียวกันก็มีเพียงเครื่องคิดเลขเท่านั้นในการช่วยคำนวณ แต่ปัจจุบันนี้มีผู้ให้ความสนใจเรื่องการคำนวณปฏิทินมากขึ้น ที่สำคัญคือมีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยคำนวณ ทำให้สามารถคำนวณตัวเลขที่เป็นทศนิยมได้หลายสิบหลัก ยิ่งเพิ่มความละเอียดและความแม่ยำของการคำนวณได้มากยิ่งขึ้น
    "คืนจันทร์เพ็ญเต็มดวง เต็มจริงหรือไม่จริงนั้น คณะทำงานของอาตมาตรวจสอบกับองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า นาซา ข้างขึ้นข้างแรมที่ปรากฏบนปฏิทินโหรนั้นตรงกับสภาพความเป็นจริงของดวงจันทร์ ณ วันนั้น" พระมหาสุนธ์ กล่าว
    พร้อมกันนี้พระมหาสุคนธ์แนะนำผู้ที่รับผิดชอบในการประกาศปฏิทินให้ประชนชนใช้ด้วยว่า ทุกวันนี้โลกพัฒนาไปไกลแล้ว ผู้มีความรู้และผู้เชี่ยวชาญเรื่องปฏิทินมีมากขึ้น เมื่อเกิดการคำนวณที่ไม่ตรงกันของปฏิทินโหรและปฏิทินหลวงก็น่าจะมาประชุมหารือกัน ไม่ใช่ถือทิฐิอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันความเสียหายจึงเกิดขึ้น
    "ทิฐิ หมายถึง ความดื้อรั้นในความเห็นของตน พอเถียงกันไปเวลาหาความรู้ ความจริง ก็ไปติดตัวทิฐิเสีย ทิฐิก็มากั้นความจริง ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงความจริงได้ เพราะแต่ละคนมาติดทิฐิ ยึดในทิฐิของตัวเองว่าทิฐิของฉันจะต้องถูกเอาแต่ความเห็นของตัว ดื้อรั้นไม่รับพิจารณาใคร ในเมื่อจะเอาแต่ตัว มุ่งผลประโยชน์ ต้องการให้ตัวเด่นเป็นสำคัญ ติดในทิฐิของตัวก็เลยไปไม่รอดแก้ปัญหาไม่สำเร็จ เพราะฉะนั้นการแสวงหาความจริงก็เดินหน้าไปไม่ได้" พระมหาสุคนธ์ กล่าว

    ขอให้เป็นครั้งสุดท้ายของชาติ
    พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าคณะพราหมณ์หลวง สำนักงานราชวัง และหัวหน้าคณะพราหมณ์ โบสถ์เทวสถาน (เสาชิงช้า) บอกว่า ต่อไปนี้โหรหลวงผู้ซึ่งคำนวณปฏิทินหลวงและส่งเรื่องให้มหาเถรสมาคมพิจารณา หากจะประกาศใช้ปฏิทินหลวงคงต้องทบทวนหรือตรวจสอบว่าการคำนวณของตัวเองถูกต้องหรือไม่ โดยต้องเปิดใจยอมรับว่าปัจจุบันนี้มีนักคำนวณปฏิทินที่มีความเชี่ยวชาญจำนวนมาก หากไม่ตรงกันก่อนประกาศใช้เป็นทางการต้องมาประชุมหารือร่วมกัน เพื่อหาข้อยุติและหาหลักฐานมาสนับสนุนว่าใครคำนวณผิดใครคำนวณถูก
    อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ควรยึดเป็นอุทาหรณ์เตือนใจ มากกว่าที่จะมาตั้งแง่ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็กเป็นอันขาด เพราะข้างขึ้นข้างแรมนอกจากมีความเกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางศาสนาแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องฤกษ์ยามของสังคมไทยด้วย
    "การให้ฤกษ์ที่ไม่ถูกต้องอาจจะเป็นการบั่นทอนกำลังใจคนไทยได้หลังจากวันนี้เป็นต้นไป วิกฤติของบ้านเมืองหรือความขัดแย้งต่างๆ คงลดลงตามลำดับ ปฏิทินหลวงตรงกับปฏิทินโหรถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี" พระราชครูวามเทพมุนีกล่าว
    ในขณะที่ โหรลักษณ์ เลขานิเทศ เจ้าของฉายา "โหรฟันธง" บอกว่า เหตุที่โหรสำนักต่างๆ ออกมาแสดงความเห็นขัดแย้งกับโหรหลวง เพราะเห็นว่าโหรหลวงคำนวณปฏิทินผิดจริงๆ ซึ่งที่ผ่านมาคนไทยมักจะคิดไปเองว่า อะไรที่ออกจากหลวง หรือเป็นของหลวง ต้องถูกต้องเสียทั้งหมด แต่ปัจจุบันนี้มีผู้รู้เรื่องปฏิทินรวมทั้งมีการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยคำนวณ การคำนวณจึงมีความละเอียดกว่าในอดีตมาก
    ความผิดพลาดของการประกาศใช้ปฏิทินของปีที่ผ่านมา จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย ทำให้ลูกหลานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตย้อนกลับมาด่าโหรในยุคนี้ได้ว่า เมื่อรู้ว่าผิดทำไมไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ตรงกับความเป็นจริง ให้ตรงกับกฎเกณฑ์แห่งท้องฟ้า ดาราศาสตร์ เพื่อให้ได้ปฏิทินที่ตรงกันทั้งประเทศ อย่างกับคนในยุคเราย้อนด่าคนในอดีตว่า ทำไมไม่ทำสิ่งที่ถูกต้อง
    "ผมยอมถูกด่าในวันนี้ เพื่อความถูกต้อง ดีกว่าให้ลูกหลานหรือนักปราชญ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมาย้อนด่าบรรพบุรุษ อย่างกับคนรุ่นเราไปย้อนด่าบรรพบุรุษในประวัติศาสตร์ที่เคยทำในสิ่งไม่ถูก ไม่ต้องไม่ควร ผมรู้สึกเสียใจกับผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่ให้ความสำคัญไม่ออกมาแก้ไข มิหนำซ้ำยังยึดมั่นถือมั่นในความผิดนั้นไว้อีก ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอับอายมาก ส่วนผู้ที่รู้จริงก็เอาตัวรอดไม่ออกมาแก้ไข ไม่มีใครกล้ามายืนหยัดต่อสู้เพื่อความถูกต้องอย่างแท้จริง ปล่อยให้ออกมาอธิบายให้คนทั่วไปเข้าก็ทำได้เฉพาะวงจำกัดเท่านั้น" โหรลักษณ์ กล่าว
    ด้าน อาจารย์พัฒนา พัฒนศิริ ผู้อำนวยการสถาบันพยากรณ์ศาสตร์ กล่าวเสริมว่า เพื่อไม่ให้ความผิดพลาดของการประกาศใช้ปฏิทินอีก สถาบันพยากรณ์ศาสตร์ส่งลูกศิษย์ของสถาบันไปเรียนวิชากการคำนวณปฏิทินโดยเฉพาะ จากอาจารย์อันเป็นที่ยอมของวงการคำนวณปฏิทิน ได้แก่ พลตรี บุญนาค ทองเนียม โดยประสานกับพระมหาสุคนธ์ รวมทั้ง พลเรือตรี ประเวศ โภชน์สมบูรณ์ (อดีตกรรมการสมาคมโหร) ซึ่งต่อไปนี้อาจจะมีการทำแจกวัดทั่วประเทศ ส่วนประชาชนทั่วไปหาซื้อได้ในเดือนกรกฎาคม ขณะเดียวกันทุกๆ ปี จะมีการยื่นปฏิทินให้เลขาเถรสมาคมเพื่อประกอบการพิจารณาปฏิทินในปีถัดๆ ไปด้วย
    อย่างไรก็ตาม อาจารย์พัฒนา เสนอแนะว่า ในกรณีที่มีการคำนวณปฏิทินไม่ตรงกันอีก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกประชุม มาหาข้อสรุปก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ หน่วยงานที่ควรมาประชุมหาข้อสรุปเรื่องการประกาศใช้ปฏิทิน เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี มหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สมาคมโหรต่างๆ รวมทั้งสื่อมวลชน "ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐไม่ออกมาพูดหรือแสดงความคิดเห็นใดๆ น่าจะเป็นเพราะราชการไม่มีผู้รู้เรื่องปฏิทินจริงๆ และไม่ให้ความสำคัญเรื่องข้างขึ้นข้างแรม ทั้งๆ ที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ การกำหนดวันพระและความสำคัญทางศาสนาเกี่ยวกับข้างขึ้นข้ามแรม" อาจารย์พัฒนา กล่าว



    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา : [​IMG]
     
  2. ฟีฟะ

    ฟีฟะ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +16
    ถูกต้องครับ...................
     

แชร์หน้านี้

Loading...