เรื่องเล่าในไตรภูมิ ฉบับ ท่านเสฐียรโกเศศ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 4 พฤศจิกายน 2009.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    ไตรภูมิ

    เป็นเรื่องของความรู้ความเชื่อของคนสมัยก่อนเกี่ยวกับเรื่องของการเกิดและสิ้นสุดของโลก เรื่องราวของการกำเนิดของสัตว์ ยักษ์มาร มนุษย์ เทวดา พรหม รวมถึงกำเนิดของสกลจักรวาล ตลอดจนฤดูกาล เรื่องป่าหิมพานต์ เรื่องเขาไกรลาส จนกระทั่งบรรยายการสูญสิ้นแห่งความประลัย ในที่สุดจบด้วยเรื่องนิพพาน

    เสียงประกอบ : ไตรภูมิ ๓๖ ชั้น เสียงอ่านโดย "คุณรัก" กัลชณิกานต์ ธีรสชานันท์
    สมาชิกเสียงอ่านห้องพระไตรปิฏก เวบพลังจิต
    http://palungjit.org/threads/โครงการ-เสียงแห่งธรรม-ห้อง-กฎแห่งกรรม-โหลดไปฟังได้.121854/


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.747221/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2009
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    ท่านเสฐียรโกเศศ<O:p</O:p

    พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๕๑๒<O:p</O:p

    ท่านเสฐียรโกเศศ เป็นนามปากกาของ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน อักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เป็นผู้คงแก่เรียน และนักเขียนที่มีชื่อเสียงยิ่งคนหนึ่งของประเทศไทย ชึ่อเสียงของท่านเป็นที่รู้จักกันดีในวงการนักศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ ท่านมิได้เป็นเฉพาะแต่นักประวัติศาสตร์ นักมานุษยวิทยา นักนิรุกติศาสตร์หรือนักโบราณคดีเท่านั้น แต่ท่านสนใจใคร่รู้สอบสวนสืบเสาะแสวงหาความรู้แทบทุกอย่าง เป็นนักเขียนที่มีความคิดเห็นในเรื่องวรรณคดีหนักไปในทาง Romanticism เมื่อเข้าคู่กัน นาคะประทีป ซึ่งเป็นนักเขียนหนักไปในทาง Classicism จึงทำให้วรรณกรรมที่ผ่านท่านทั้งสองผลิตออกมาสมบูรณ์ถึงขนาด ท่านได้เขียนหนังสือไว้มากมาย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดังเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปแล้ว

    <O:p</O:p
    ท่านเสฐียรโกเศศได้รับราชการในตำแหน่งสำคัญๆ มาเป็นเวลานาน เช่นเคยเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมศุลกากร อธิบดีกรมศิลปากร รักษาการในตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถาน ประธานคณะกรรมการชำระปทานุกรม ประธานคณะบรรณาธิการทำสารานุกรม ประธานกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย นอกจากนี้ท่านยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายวิชานิรุกติศาสตร์ วรรณคดีเปรียบเทียบ และประเพณีไทย ในจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นอาจารย์ผู้บรรยายวิชาศาสนาเปรียบเทียบ และนิรุกติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    <O:p</O:p
    ท่านเสฐียรโกเศศ เกิดเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๒
    <O:p</O:p

    ศึกษาข้อมูลชีวประวัติท่านเพิ่มเติมได้ที่
    http://www.pantown.com/board.php?id=11937&area=1&name=board10&topic=271&action=view



    <O:p</O:p
     
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]



    เรื่องเล่าในไตรภูมิ ฉบับ ท่านเสฐียรโกเศศ ตอนที่ ๑


    ไตรภูมิเป็นเรื่องของความรู้ความเชื่อของคนสมัยก่อนเกี่ยวกับเรื่องของการเกิดและสิ้นสุดของโลกเรื่องราวของการกำเนิดของสัตว์ ยักษ์มาร มนุษย์ เทวดา พรหม รวมถึงกำเนิดของสกลจักรวาล ตลอดจนฤดูกาล เรื่องป่าหิมพานต์ เรื่องเขาไกรลาส จนกระทั่งบรรยายการสูญสิ้นแห่งความประลัย ในที่สุดจบด้วยเรื่องนิพพานเป็นความรู้ของคนที่พยายามจะรู้และเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ อันเป็นเรื่องลึกลับลึกซึ้ง เกิดมีขึ้นครั้งสมัยพระยาลิไทแห่งกรุงศรีสัชนาลัยสุโขทัย คือ พระยาฤาไท หรือ พระธรรมราชาที่ ๑ ต้นฉบับเป็นหนังสือจารในใบลาน ต่อมาแพร่หลายเป็นรูปภาพเขียนตามฝาผนังวัดวาอารามตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในตอนต้นไตรภูมิกล่าวการรวบรวมคัมภีร์ต่างๆ ของพุทธศาสนา รวม ๓๐ พระคัมภีร์หากเนื้อแท้ในทางพระพุทธศาสนามิได้กล่าวถึง เพราะพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า เป็น อจินตัย คือ เป็นเรื่องไม่ควรคิด ไม่เป็นเรื่องที่หนีทุกข์รอดพ้นได้โดยเด็ดขาด อันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา ภายหลังพุทธศาสนานิกายมหายานเกิดมีคตินิยมนับถือพระโพธิสัตว์ จึงมีคติว่าพระโพธิสัตว์จะต้องเป็นผู้รู้เรื่องโลกด้วย จะได้เป็นความรู้เครื่องช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ได้ง่าย จึงมีการนำเอาเรื่องของสวรรค์และนรกมาพรรณนาไว้ กล่าวคือ ผู้ใดประกอบการกุศลมีทำบุญให้ทานมากๆ ตายแล้ว จะได้ไปเกิดบนสวรรค์ของพระพุทธเจ้าอมิตภพพุทธ ชื่อสวรรค์สุขาวดี ซึ่งในคัมภีร์ได้พรรณนาไว้อย่างวิจิตรงดงามน่ารื่นรมย์อย่างพิสดาร เพื่อให้คนจะได้ทะเยอทะยานอยากขึ้นไปอยู่ เป็นการสอนศาสนาทางอ้อมให้แก่คนชั้นสามัญ ได้ผลดีกว่าการสอนทางตรง แล้วลงท้ายจึงบอกว่าเรื่องอย่างนี้เป็นคติของโลก ซึ่งไม่จีรังยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป แม้พรหมเองจะมีอายุนับด้วยกัลป์ คือมีอายุตั้งหลายร้อยล้านหลายโกฏิปี ในที่สุดก็ต้องจุติ คือเคลื่อนที่จากพรหมหรือตายไปปฏิสนธิเกิดใหม่ยังที่อื่นต่อวนเวียนอยู่ในไตรภูมิหรือโลกทั้งสามนี้ ไม่พ้นไปได้ เพราะฉะนั้นหาความยั่งยืนแท้เที่ยงไม่มีตายเป็นมีไม่ได้ มีที่เที่ยงอันไม่ตายก็แต่พระนิพพานเท่านั้น อันผู้จะลุถึงพระนิพพานก็ด้วยการบำเพ็ญเพียรปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ด้วยเหตุฉะนี้จะเห็นได้ว่า เรื่องไตรภูมิมีค่าในทางศาสนาอันอย่างแท้จริงโดยทางอ้อม



    [​IMG]


    ไตรภูมิ แปลว่า แดนสามซึ่งแยกเป็นกามภูมิ ๑ รูปภูมิ ๑ และอรูปภูมิ ๑สัตว์ทั้งหลายเกิดมาย่อมเวียนวนไปมาเกิดใน ๓ ภูมินี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กามภูมิ คือแดนที่ข้องอยู่ด้วยกามตัณหา ยังมีความรัก โลภ โกรธ หลง ดิ้นรนระคนอยู่ด้วยเร่องอยาก ๆ รัก ๆ ใคร่ ๆ มีสุข มีทุกข์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กามภูมิ สัตว์ที่ไปเกิดเป็นสัตว์นรกในแดนนรก ไปเกิดเป็นเปรตในแดนเปรต ไปเกิดเป็นยักษ์มารในแดนอสูรกาย สามแดนนี้รวมเรียกว่าอบายภูมิ คือดินแดนอันเป็นทุกข์เดือดร้อนมาก สัตว์ที่ไปเกิดเป็นคนในแดนมนุษย์ และไปเกิดเป็นเทวดาบนแดนสวรรค์ ๖ ชั้นแรกของชั้นฟ้า คือชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นชั้นต่ำที่สุด ชั้นนี้เป็นที่อยู่ของท้าวจาตุโลกบาลทั้ง ๔ ถัดไปถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันเป็นที่อยู่ของพระอินทร์ นายเทวดา แล้วถึงชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานนรดี และชั้นปรมิตวสวัตตี รวมเป็นสวรรค์ชั้นฟ้า ๑๖ ชั้นนี้ รวมกับแดนมนุษย์ด้วยก็เป็น ๗ แดนด้วยกัน จัดเป็นกามภูมิอันเป็นแดนทะเยอทะยานเกี่ยวข้องอยู่กับเรื่องกาม จึงเรียกว่า กามภูมิ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รูปภูมิคือแดนมีสุข อันไม่มีเรื่องกามเข้าปะปนผู้ได้บังเกิดในแดนนี้เรียกว่า พวกพรหม มีชื่อเรียกเป็นต่างๆ กันเป็นชื่อระยะหรือตรงข้ามกับฆราวาสผู้ครองเรือนพรหมต้องอยู่เป็นโสดตลอดไป ไม่มีโอกาสมีนางฟ้านางสวรรค์มาบำเรอเหมือนพระอินทร์และเทวดา ความสุขของพรหมเป็นความสุขอย่างพระ ตรงข้ามกับฆราวาสผู้ครองเรือน เพราะเหตุฉะนี้ผู้ที่บวชเป็นพระ จึงเรียกว่าประพฤติพรหมจรรย์ดั่งคำเรียกผู้มีสุขอย่างยิ่งว่า “ยินดีดั่งได้โสฬส” คือดีใจที่ได้เป็นสุขเหลือล้นดังได้ขึ้นไปเกิดอยู่บนพรหมโลก ๑๖ ชั้นฟ้า<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อรูปภูมิคือแดนของพรหมซึ่งไม่มีรูป มีหมดด้วยกัน ๔ แดน ผู้ไปเกิดแดนดังกล่าวนี้ก็เป็นพรหมเหมือนกัน แต่เป็นพรหมไม่มีรูปร่าง มีก็แต่จิต เตรงข้ามกับฆราวาสผู้ครองเรือนเขียนรูปพรหมที่ไม่มีรูปร่างนี้เป็นดวงไฟลอยอยู่เหนือแท่นภายในวิมาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คัดและเรียบเรียงจาก เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสถียรโกเศศ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2009
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    เรื่องเล่าในไตรภูมิ ๒ (นรกภูมิ)<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ไตรภูมิกล่าวเริ่มต้นด้วยเรื่องเมืองนรกซึ่งผู้กระทำบาปย่อมไปเกิด ว่ามีนรกใหญ่ ๘ ขุม ขุมในภาษาไทยแปลว่าหลุม ในที่นี้หมายถึงหลุมใหญ่มาก ลึกลงไปใต้ดินซ้อนเป็นชั้นกันลงไปเป็น ๘ ขุมในไตรภูมิให้ชื่อขุมนรกเรียงลำดับกันลงไป ตั้งแต่สูงไปหาต่ำ คือ สัญชีพนรก กาลสูตนรก สังฆาฏนรก โรรุพนรก มหาตาปนรก มหาอเวจีนรก ชื่อที่ให้ไว้นี้นับได้ ๗ ขุมเท่านั้น ขาดหายไปขุมหนึ่งคือ มหาโรรุพนรก ซึ่งเป็นขุมที่ ๕ สัตว์อันเกิดในนรกเหล่านี้ มีอายุยืนนานนับไม่ถ้วน เพียงแต่สัตว์นรกขุมแรกก็มีอายุยืนได้ ๕๐๐ ปีเมืองนรก วัน ๑ กับคืน ๑ ของเมืองนรกได้ ๙ ล้านปีของเมืองมนุษย์ ส่วนสัตว์นรกขุมอื่นที่อยู่ถัดไป มีอายุนับทวีคูณ จำนวนปีของนรกขุมแรก หรือสองเท่าตัวเป็นลำดับไปจนนับไม่ถ้วน เรื่องนับปีเมืองนรกเปรียบเทียบกับปีเมืองมนุษย์นี้ ภาษาที่พูดติดปากกันของชาวบ้าน มักพูดกล่าวว่า ๑๐๐ ปี เมืองมนุษย์เท่ากับวัน ๑ กับคืน ๑ ของเมืองสวรรค์ ๑๐๐ ปี เมืองสวรรค์ เท่ากับวัน ๑ กับคืน ๑ ของเมืองนรก <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในนรกทั้ง ๘ ขุมนี้ ที่รู้จักกันดีในหมู่คนไทยคือ มหาอเวจีนรก มักเรียกเพี้ยนและพูดกันสั้น ๆว่า นรกอเวจี คนสามัญเมื่อต้องการจะทำให้เขาเชื่อถือตน มักกล่าวเป็นคำเชิงสบถสาบานว่า ถ้าพูดไม่จริง ขอให้ตกนรกอเวจีเถิด หรือพูดย่อเป็นติดปากอย่างพล่อย ๆ ว่า ให้ตกนรกอวีจิ คำว่า อวีจิ หรือเพื้ยน เป็น อเวจี แปลว่า ปราศจากคลื่น ท่านแปลได้ความหมายถึง ปราศจากการหยุดพัก คือ ได้รับทุกข์ทรมานอย่างไม่มีสร่างไม่มีหยุด คือต้องทนทุกข์ทรมานนานจนไม่อาจนับเป็นเดือนปีได้



    [​IMG]



    อุปมาเหมือนว่ามีภูเขาลูกหนึ่งสูงได้โยชน์หนึ่ง วัดโดยรอบเขาได้ ๓ โยชน์ ถึงร้อยปีเอาผ้าทิพย์อันอ่อนบางดังควัน มากวาดภูเขาแต่ละคาบ เมื่อใดเขานั้นราบเพียงแผ่นดิน จึงเรียกว่า มหากัลป์หนึ่งแลมหากัลป์หนึ่ง แบ่งเป็น ๔ อสงไขยกัลป์ อสงไขย แปลว่า กำหนดนับไม่ได้ เมื่อนับไม่ได้ แต่เอานับรวมกันได้ถึง ๔ จำนวนนับไม่ได้ ก็เป็นมหากัลป์หนึ่ง ดังนั้น จึงนับว่านานมากเหลือเกินที่จะนับ โลกเรานี้และรวมทั้งโลกอื่นในสกลจักรวาล เมื่อมีอายุได้กัลป์หนึ่งก็ต้องถูกไฟล้างราบ เรียกไฟที่ล้างโลกนี้ว่า ไฟบรรลัยกัลป์ สำนานเมื่อเกิดมีไฟไหม้อย่างใหญ่หลวง จึงมักพูดเปรียบเทียบว่า เหมือนไฟบรรลัยกัลป์



    [​IMG]



    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นรกใหญ่ ๘ ขุมนี้ มีกำแพงเหล็กแดงลุกเป็นไฟอยู่เสมอล้อม ๔ ด้าน รูปสี่เหลี่ยม ข้างบนก็เป็นเหล็กแดง พื้นล่างก็เป็นเหล็กแดง ลุกเป็นไฟอยู่เสมอทั้งข้างล่างข้างบนเหมือนกัน กำแพงทั้ง ๔ ด้าน ยาวด้านละ ๑,๐๐๐ โยชน์ หนา ๙ โยชน์ มีประตูเข้า ๔ ทิศ ส่วนข้างบนและพื้นข้างล่าง มีความหนา ๙ โยชน์เหมือนกัน นรกใหญ่แต่ละขุม มีนรกบริวาร เรียกในหนังสือไตรภูมิว่านรกบ่าวล้อมอยู่ด้านละ ๔ ขุม นรกใหญ่ขุมหนึ่งจึงมีนรกบ่าว ๑๖ ขุม นรกใหญ่ ๑๘ ขุม ก็มีนรกบ่าว ๓๒๘ ขุมรวมกับนรกใหญ่ ๘ ขุม เบ็ดเสร็จทั้งขุมเล็กขุมใหญ่ เป็นนรก ๓๓๖ ขุม ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังมีนรกเล็ก ๆ น้อย ๆ อีกเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน นรกบ่าว ๑๖ ขุมนี้ มีชื่อเรียกต่างๆ กัน ที่ควรกล่าวถึงคือ โลหกุมภีนรก ซึ่งมีหม้อเหล็กเป็นไฟแดงขนาดใหญ่โตเหลือประมาณ มีน้ำเหล็กเป็นไฟเหมือนกัน ผู้ใดตีพระเจ้า พระสงฆ์ เมื่อตายแล้วไปตกนรกขุมนี้ ถูกยมบาลคือ ผู้คุมเมืองนรกจับเอาตัวทุ่มให้หัวทิ่มลงไปในหม้อ แต่ไม่ตาย ถึงตายก็กลับเป็นขึ้นมาใหม่ ทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะสิ้นเวรกรรม หม้อเหล็กและน้ำเหล็กลุกเป็นไฟนี้ ชาวบ้านรู้จักกันดี แต่เรียนว่า หม้อทองแดง น้ำทองแดง มักพูดติดปากสาบานกันว่า ให้ตกหม้อทองแดง ถูกกรอกน้ำทองแดง ดังนี้



    [​IMG]
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นรกอีกขุมหนึ่งที่ควรกล่าวถึงชื่อ โลหสิมพลีนรก หรือนรกต้นงิ้ว ต้นงิ้วเหล่านี้ขึ้นอยู่ในขุมนรกนี้มากมายอย่างเป็นป่าต้นงิ้ว แต่ละต้นสูงตั้งโยชน์ มีหนามยาวตั้ง ๑๖ นิ้วมืออยู่ทั่วลำต้น เป็นเปลวไฟลุกอยู่ตลอดเวลาไม่มีดับ นรกนี้มีไว้ลงโทษหญิงชายซึ่งทำชู้ด้วยเมียผัวเขา เมื่อตายไปแล้วจะตกในนรกขุมนี้ ถูกยมบาลต้อนขึ้นต้นงิ้ว ไม่ขึ้นก็ไม่ได้ เพราะยกบาลเอาหอกและเหล็กแดงแทง แล้วยังมี แร้งปากหนา กาปากเหล็ก คอยจิกเนื้อและมีสุนัขคอยกัดอีกด้วย เมื่อปีนขึ้นไปถูกหนามงิ้วบาดทั่วตัวและถูกไฟลวก แขนขาขาดทาไม่ไหวก็หล่นร่วงลงมาทั้งคู่ แต่ไม่ตาย ถูกยมบาลเอาเหล็กแดงแทงยังคับต้อนให้ขึ้นไปอีก ต้องทนทุกข์อยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด จนกว่าจะสิ้นเวรสิ้นกรรม ในภาษาไทยถ้าพูดว่า ตายไปแล้วจะต้องขึ้นต้นงิ้ว ก็หมายความว่าไปทำชูกับเมียเขาผัวเขา เป็นบาปหนักจะต้องตกนรกขึ้นต้นงิ้ว ดังกวีกล่าวไว้ว่า ใครสร้างกรรมทำชู้ด้วยคู่เขา ให้ร้อนเร่าร่างโรยอยู่โหยหิว ครั้นชีวันบรรลัยก็ไพล่ปลิว ให้ขึ้นงิ้วยมบาลประหารแทง”<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    [​IMG]


    ยมบาล หรือ ผู้คุมเมืองนรก นรกขุมใหญ่ใหญ่ไม่มี เห็นจะเป็นเพราะนรกเหล่านั้นมีกำแพงล้อมรอบแน่นหนาไปเป้นแดนๆ อยู่แล้ว ถ้าจะมีก็เห็นจะเป็นยมบาลเฝ้าประตูนรกเท่านั้น ส่วนนรกบ่าวและนรกเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งไม่กล่าวว่ามีกำแพงล้อมรอบไว้ จึงมียมบาลเป็นผู้คุมดูแล ยมบาลเหล่านี้เดิมก็เคยเป็นคน ทำทั้งบุญและบาป ตายไปจึงไปเกิดเป็นยมบาล ๑๕ วัน อีก ๑๕ วันก็เกิดไปเป็นยมบาลเหมือนกัน แต่ถูกยมบาลอื่นฆ่าฟันพุ่งแทงให้ได้รับความเดือดร้อนสับเปลี่ยนวนเวียนกันดังนี้กว่าจะสิ้นกรรม <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผู้เป็นใหญ่เหนือยมบาลทั้งหลาย คือ พระยายมราช เป็นผู้ทรงธรรมเที่ยงตรง หนักหนา ผู้ใดตายไปต้องไปหาพระยายามราชก่อน พระยายมราชจะสอบสวนบุญบาปของผู้นั้น ถ้าสอบสวนได้ความว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่ได้กระทำบุญบาปมาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง เทวดา ๔ องค์ ซึ่งเป็นผู้ถือบัญชีสำหรับจกบุญและบาป ก็จะเขียนชื่อผู้นั้นลงในแผ่นทองสุก แล้วทูนใส่เหนือหัวไปทูลพระยายมราช ๆ ก็จบใส่หัวแล้วสาธุการอนุโมทนายินดี แล้วก็วางไว้บนแท่นทองอันประดับด้วยแก้วสัตตพิธรัตนะและสีสันอันเรืองงามแล ผู้ใดอันกระทำบาปไซร้ เทวดานั้นก็จะตราบัญชีลงในแผ่นหนังหมาและเอาไว้แห่งหนึ่ง แล้วบังคับให้ฝูงยมบาลมาเอาตัวมันไปทรมานในนรก ดังที่เคยพูดกันติดปากว่า เอาหอกโตเท่าใบพาย แทงทะลุซ้ายตลอดหูขวา และทรมานอีกหลายอย่าง ล้วนแต่บาปกรรมที่ทำไว้หนักและเบา ถ้าเอาบุญกับบาปมาหักลงกัน ถ้าหนักไปทางบุญ ก็ไปขึ้นสวรรค์ ถ้าหนักไปทางบาปก็ไปตกนรกเสียก่อน ใช้โทษบาปหมดแล้วจึงไปเสวยบุญของตนได้ ถ้าบาปและบุญเท่ากันก็ส่งไปเป็นยมบาล เดือนหนึ่ง ๑๕ วัน และตกนรก ๑๕ วัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    [​IMG]



    "ไตรภูมิ" กล่าวพรรณนาเรื่องนรกบ่าวไว้ละเอียดลออว่า ผู้ทำบาปอย่างไหนจะต้องไปตกนรกบ่าวขุมไหน ได้รับโทษทัณฑ์เป็นอย่างไร ก็อธิบายไว้อย่างหมดจด แต่เรื่องนรกใหญ่ ๘ ขุมไม่มีอธิบายไว้ หรือจะเห็นว่าเพียงนรกบ่าวก็เดือดร้อนแก่ผู้ตกนรกมากอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องพรรณนาอะไรอีก พระยายมราชผู้เป็นนายเมืองนรก ผู้ใดถึงกำหนดต้องตาย พระยาจะเอาเชือกบาศมาคล้องเอาวิญญาณของผู้นั้นไปสู่ยังยมโลก อันเป็นดินแดนของพระยมอยู่ทางทิศใต้ เหตุฉะนี้พระยมจึงเป็นท้าวโลกบาลประจำทิศใต้ของลัทธิฮินดู ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความตาย <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นรกภูมิมีดินแดนตั้งแต่ยมโลกไปถึงอเวจีมีระยะไกลได้พันโยชน์ พวกลูกสมุนของพระยายมที่เรียกว่ายมบาล ถ้าแปลก็ว่าผู้ดูแลรักษาเมืองยม แต่ที่ใช้อยู่ในหนังสือเรียกว่านิริยบาล นิริยบาล แปลว่า ผู้ดูแลรักษาเมืองนรก
    <O:p</O:p
    ในนรกยังมีนรกพิเศษอีกแห่งหนึ่ง เรียกว่า นรกโลกันต์ อันเป็นนรกที่อยู่ระหว่างจักรวาล ๓ จักรวาล ถ้าจะเปรียบอย่างเหมือนเขียนวงกลม ๓ วง ต่างว่าแต่ละวงเป็นจักรวาลหนึ่งๆ เอาวงกลมสองวงเรียงอยู่ในระดับเดียวให้ใกล้ชิดกัน แล้วเอาอีกวงหนึ่งคือวงที่สามวางซ้อนไว้ข้างบนของสองวงนั้น ก็จะเป็นรูปตั้ง ๓ วงอย่างรูปสามเหลี่ยม ต่างวงเป็นยอดของอีกสองวง เมื่อวางเรียงกันตามรูปนี้ จะเกิดช่องว่างขึ้นระหว่างกลางเป็นรูปสามเหลี่ยม ช่องว่างนี้เอง เรียกว่า โลกันต์ แปลว่าอยู่ระหว่างกลาง


    [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    โลกันต์นรก กว้างได้ ๘,๐๐๐ โยชน์ มีคูลึกวงรีหาพื้นน้ำบ่มิได้ หาฝาเบื้องบนบ่มิได้ เบื้องบนเป็นปล่องขึ้นไปถึงพรหมโลก ในโลกันต์นรกมือแสนมือ แสงดาวเดือนและดวงตะวันที่ส่องโลกส่องไปไม่ถึง เพราะโลกันต์นรกอยู่นอกกำแพงจักรวาล คืออยู่พ้นกำแพงเหล็กซึ่งกั้นโลกสวรรค์ โลกมนุษย์ โลกนรกออกไป นรกโลกันต์นี้จะมีแต่ความหนาวเย็น คงไม่ร้อนเหมือนอเวจีนรก เพราะแสงตะวันส่องไม่ถึงและมืดตื้อ สัตว์ที่ตกนรกโลกันต์มองไม่เห็นอะไรเหมือนกับคนหลับตา ต่อเมื่อใดพระโพธิสัตว์มาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า

    กล่าวคือเมื่อท่านเสด็จลงมาปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา ๑ เมื่อท่านประสูตี ๑ เมื่อท่านตรัสรู้ ๑ เมื่อท่านตรัสเทศนาพระธรรมจักร คือเทศนาเป็นครั้งแรก ๑ และเมื่อเสด็จเข้าสู่ปริพพาน ๑ ใน ๕ กาลนี้แต่ละกาล สัตว์ในโลกันต์นรกจึงจะเห็นแสงสว่างได้ครั้งหนึ่ง


    แต่กระนั้นเห็นแสงสว่างได้ชั่วดีดีนิ้วมือ หรือชั่วฟ้าแลบแวบเดียวเท่านั้น แล้วกลับมืดอย่างเดิม ผู้ใดกระทำร้ายต่อพ่อแม่และพระสงฆ์ และยุยงให้สงฆ์แตกร้าวกัน ครั้นตายไปก็ไปเกิดในนรกโลกันต์ มีตัวสูงใหญ่ได้ ๖,๐๐๐ วา มีเล็บตีนเล็บมือยาวดังค้างคาวตัวใหญ่มหึมา เอาเล็บเกาะกำแพงจักรวาล ห้อยตัวเอาหัวลงเหมือนค้างคาว เมื่อหิวต่างตัวต่างจะกินกัน โอบรัดฟัดกันจนม้วนต้วนตกลงไปในน้ำ น้ำนั้นเย็นแสนเย็น (นรกเย็น) สัตว์นรกที่ตกลงไป ถูกน้ำกัดเน่าเปื่อยแหลกออกเป็นชิ้น ๆ แล้วกลับเป็นตนขึ้นอีก ทนทุกข์ทรมานตายแล้วเป็นใหม่อยู่อย่างนี้ นานถึงชั่วพุทธันดรกัลป์หนึ่งจึงจะหมดกรรม พุทธันดรกัลป์คือระยะเวลาหรือกัลป์ที่อยู่ระหว่างพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งกับอีกองค์หนึ่งจะมาตรัส เป็นระยะเวลาที่ว่างจากพระศาสนา<O:p</O:p
    <O:p

    คัดและเรียบเรียงจาก
    - เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสถียรโกเศศ


    ภาพประกอบจาก
    - สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรี (๒๕๔๒). กรุงเทพ: กรมศิลปากร.
    - สมุดภาพไตรภูมิ ฉบับล้านนา. (๒๕๔๗). กรุงเทพ: กรมศิลปากร. (จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ครบหกรอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗).
    - ห้องภาพธรรมะ สังคมธรรมออนไลน์ http://www.mindcyber.com/wallpaper/index.gallery.php?gid=9
    <O:p</O:p<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2009
  5. กระรอกน้อย

    กระรอกน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +366
    ขอบคุณที่มีบทความที่ดีๆ มาให้อ่านค่ะ

    อนุโมทนาด้วยนะคะ
     
  6. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เรื่องเล่าในไตรภูมิ ๓ (เดรัจฉานภูมิ)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เดรัจฉานภูมิ

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ผู้ที่เกิดในติรัจฉานภูมิ คือ ในแดนของเดรัจฉาน ติรัจฉานหรือเดรัจฉาน คำไทยแปลว่า ตามขวางหรือตามเส้นนอน หมายความถึงสัตว์ที่ไปไหนมาไหนต้องคว่ำอกไป ตรงกันข้ามกับคนซึ่งไปตัวตรงเป็นเส้นตั้ง

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    [​IMG]


    หนังสือไตรภูมิ เริ่มต้นกล่าวถึงสัตว์อันกำเนิดมาในแดนของเดรัจฉานว่า เกิดจาก ไข่ (อัณฑชะ) ก็มี จากมี รกอันห่อหุ้ม (ชลาพุชะ) ก็มี จาก ใบไม้และเหงื่อไคล (สังเสมชะ) ก็มี เกิด เป็นตัวขึ้นเองและโตทันที (อุปปาติกะ) ก็มี แล้วให้ตัวอย่างว่า “ครุฑ และนาค สิงห์ ม้า วัว ควาย เนื้อถึกทุกสิ่ง เป็ดและห่าน ไก่และนก และสัตว์ทั้งหลาย” เหล่านี้มี ๒ ตีนก็มี ๔ ตีนก็มี หลายตีนก็มี คือสัตว์เดรัจฉานซึ่งเดินไปมาคว่ำอกลงเบื้องต่ำ สัตว์เดรัจฉานนั้นมีความเป็นอยู่กำหนดหมายได้ ๓ ประการ คือ รู้สืบพันธุ์ รู้กินและรู้ตาย เรียกเป็นคำเฉพาะในนั้นว่า กามสัญญา อาหารสัญญา และมรณสัญญา ได้แก่รู่บุญบาปผิดกับสัตว์เดรัจฉาน มีเพิ่มอีกสัญญาหนึ่ง คือธรณมสัญญา ได้แก่รู้บุญบาป ตลอดจนรู้จักค้าขาย และรู้จักทำไร่ทำนาเลี้ยงชีวิต ความรู้เหล่านี้สัตว์เดรัจฉานไม่มี และรู้จักทำไร่ทำนาเลี้ยงชีวิต<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ตอนถึงถัดไปกล่าวถึง ราชสีห์ ว่ามีอยู่ ๒ ชนิด ๔ สิ่งคือ ราชสีห์กินหญ้า (ติณสีห์) มีปีกเหมือนนก ๑ ราชสีห์ดำ (กาฬสีห์) ตัวโตเท่าวัว กินหญ้าเหมือนกัน ๑ ราชสีเหลือง (บัณฑรสีห์) กินเนื้อ ๑ และราชสีห์มีสร้อยคอ (ไกรสรสีห์) ๑ ราชสีห์ทั้งสี่ชนิดนี้ ที่ชาวบ้านรู้จักกันดีคือไกรสร หรือเรียกว่าสิงห์ มักเขียนเป็นรูปหล่อหรือปั้นไว้อยู่ตามวัด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ต่อจากราชสีห์ กล่าวถึง ช้างวิเศษบ้างเรียกช้างแก้ว มีอยู่ ๑๐ จำพวก แต่ที่ชาวบ้านรู้จักกันดีคือ ช้างฉัททันต์ (หกงา) ปรากฏเรื่องในชาดกว่า พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นช้างนี้อยู่ชาติหนึ่ง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ต่อจากช้างเป็นเรื่องของ ปลาตัวใหญ่ ๗ ตัว ให้ชื่อครบทั้ง ๗ ตัวคือ ติรณะ ๑ ติปังคละ ๑ ติรปิงคละ ๑ อานนท์ ๑ นิรยะ ๑ อัชนาโรหนะ ๑ และมหาติ ๑ ปลาเหล่านี้มีขนาดใหญ่โตมาก อย่างเล็กยาว ๗๕ โยชน์ อย่างใหญ่ยาว ๕,๐๐๐ โยชน์ เพียงไหวหู หรือกระดิกหางครั้งเดียว ทะเลก็ปั้นป่วนตีฟองดังหม้อแกงเดือดไกลตั้ง ๘๐๐ โยชน์ก็มี ที่รู้จักกันคือ ปลาอานนท์ ซึ่งหนุนชมพูทวีปหรือโลกนี้อยู่ ถ้า “ปลากระดิกพลิกครีบทวีปก็ไหว เมรุไกรโยกยอดเพียงถอดถอน มัติมิงค์กลิ้งเล่นชโลธร คงคาคลอนคลื่นคลั่งฝั่งสินธู” ปลามัติมิงค์ ชื่อนี้แปลงเพื้ยนไปจาก ปลาติปังคละ และ ตอรปิงคละ กล่าวว่าปลานี้ใหญ่มหึมาโตกว่าปลาวาฬหลายสิบเท่า<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ที่ตีนเขาพระสุเมรุ มีสระใหญ่ชื่อสิมพลีสระ แปลว่าสระต้นงิ้ว กว้างได้ ๕๐๐ โยชน์ ต้นงิ้วขึ้นเป็นป่าอยู่รอบสระ ตามฝั่งสระเป็นที่อยู่ของ ฝูงครุฑ และมีพระยาครุฑเป็นนายใหญ่ตัวโต ๕๐ โยชน์ เมื่อแผ่หางกางปีก ยิ่งกว้างยาวออกไปอีกข้างละ ๕๐ โยชน์ แถมปากซึ่งยาว ๙ โยชน์ และตีนทั้งสองยาวได้ ๑๒ โยชน์อีกด้วย ครุฑนั้นย่อมกินนาคเป็นอาหาร ครุฑตัวโตถึงขนาดนี้ นาคที่เป็นอาหารเห็นจะต้องตัวโตกว่าเช่นกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ต่อไปกล่าวถึง นาค ซึ่งเป็นพวกงูมีหงอนและมีตีน นาคตัวเมียเมื่อตั้งท้อง จะดำน้ำลงไป อกจากแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ อันมี คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิ ไปสู่มหาสมุทรใหญ่ แล้วดำขึ้นไปถึงป่าหิมพานต์ เข้าไปซ่อนตัวคลอดลูกในถ้ำ เพราะกลัวครุฑจะตามไปกิน เมื่อลูกโตแล้วจึงพาไปสู่มหาสมุทร นาคมีสองชนิด ชนิดหนึ่งชื่อ ถลชะ (เกิดบนบก) และอีกชนิดหนึ่งชื่อ ชลชะ (เกิดในน้ำ) นาคถลชะนฤมิตตนได้แต่บนบก คือจะเปลี่ยนแปลงตนเป็นเทวดานางฟ้า เป็นคน หรือเป็นอะไรก็ได้แต่บนบก ส่วนนาคชลชะนฤมิตตนได้แต่ในน้ำ พวกนาคนี้แม้เป็นเดรัจฉานก็ดีกว่าคนเพราะเนรมิตกายเป็นเทวดาก็ได้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ต่อไปจะกล่าวถึง หงส์ โบราณเขียนคำว่าหงส์ ใช้ เป็นตัวการันต์ หงส์มีอยู่ในถ้ำทองบนภูเขาคิชฌกูฎ แปลว่ายอดเขานกแร้ง ปรากฏรูปหงส์ทำบนเสาปักไว้บนเสาโบสถ์ตามวัดต่างๆ มีรูปร่างอย่างนก ถ้าเป็นพระยาหงส์หรือราชหงส์ จะเป็นรูปทองทั้งตัว เรียกว่าสุวรรณหงส์
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    " หนังสือไตรภูมิ " ยังกล่าวถึงสัตว์เดรัจฉานที่พิเศษเป็นจำพวกสัตว์ที่มีอยู่ในป่าหิมพานต์ นัยว่าแตกต่างจากสัตว์โลกที่ปรากฏเห็น ซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีศีลธรรมสะสมบุญกุศลได้เหมือนมนุษย์ สัตว์เหล่านั้นตายไปก็มักเกิดเป็นสัตว์อยู่ร่ำไป แม้มีโอกาสเกิดเป็นคน เมื่อทนทุกข์เกิดสัตว์มาแล้วหลายร้อยชาติก็จะเกิดเพียงเป็นคนเข็ญใจไร้สกุลต่ำที่สุด วกวนเวียนน้อยนักจะยกภพภูมิได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คัดและเรียบเรียงจาก เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสถียรโกเศศ<O:p</O:p
     
  7. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เรื่องเล่าในไตรภูมิ (๔) : เปตภูมิ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เปตภูมิ” หรือแดนแห่งเปรต เปรตเป็นผีเลวชนิดหนึ่ง เปรตเป็นผีมีรูปร่างสูงโย่งเท่าต้นตาล คอยาว ตาและจมูกเห็นกลวงโบ๋ ผอมโชเห็นเป็นซี่โครงขึ้น มีปากเล็กนิดเดียว เล็กเท่ารูเข็มเท่านั้น แต่มันสามารถแลบลิ้นออกมาได้ยาว เวลากลางคืนมักออกมาเพ่นพ่านให้เห็นตัว ส่งเสียงร้องกรี๊ด ๆ ใครได้ยินเป็นรู้สึกเยือกเย็นเข้าหัวใจ เสียวแสยงถึงกับขนลุกเกรียว เพราะกลัวมันจะเดินโย่งเย่งยุ่มย่ามเข้ามาหา แล้วเอามืออันแสนยาวและเล็บก็ยาวของมันคว้าเอาตัวไปให้ได้ตาย เปรตมีหัวไม่จำกัดว่าจะต้องเหมือนคน จะมีเป็นหัวกา หัวหมู หัวนก หรือเป็นอะไรก็ได้ ที่มีหัวอยู่ผิดที่ คือไพล่ไปอยู่ที่ท้องก็มีบ้าง

    [​IMG]

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำพูดเมื่อเห็นมีใครมีรูปร่างสูงมากก็มักเปรียบว่า สูงเหมือนเปรต” หรือเห็นใครที่ผอมโซมีหนังหุ้มกระดูก ก็เปรียบว่า “ผอมเหมือนเปรต” “อดอยากเหมือนอย่างเปรต” ใครตะกละกินอยู่มูมมามก็ว่า “กินเหมือนเปรต” ถ้าร้องกรี๊ด ๆ เป็นเสียงแหลมดังเข้าแก้วหูก็ว่า “ร้องเหมือนเปรต” เวลาทำบุญทำทาน เช่นพลี เขามักแบ่งส่วนบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เปรต เพราะฉะนั้น ถ้าใครมารบกวนขอส่วนแบ่งสิ่งของที่เราได้มาโดยที่ตนมีมีส่วนที่จะได้ก็พูดว่า “เหมือนเปรตขอแบ่งส่วนบุญ” คำเปรตมักมีคำเข้าคู่พูดเป็นคำซ้อนว่า “ผีเปรต” แล้วยังแถมว่า “เศษนรก” เป็นผีเปรตเศษนรกเข้าอีกด้วย พูดว่า “นรกจกเปรต” ก็มี มีลางคนใช้คำว่าเปรตติดปาก พูดคำสองคำก็ว่าเปรต อันคำกล่าวที่ไม่สุภาพคล้ายเป็นคำบ่นติเตียนหรือด่าว่า

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    “ หนังสือไตรภูมิ” ให้ลักษณะรูปร่างของเปรตไดเหมดจดดีคือ กล่าวว่า เปรตลางจำพวกตัวเขาใหญ่ ปากเขาน้อยเท่ารูเข็มนั้นก็มี เปรตลางจำพวกผอมนักหนาเพื่ออาหารจะกินเข้าบ่มิได้ แม้นว่าจะขอดเอาเนื้อน้อยหนึ่งก็ดี เลือดหยดหนึ่งก็ดีบ่มิได้เลย เท่าว่ามีแต่กระดูกและหนังพอกกระดูกภายนอกอยู่ไส้ หนังท้องนั้น ติดกระดูกสันหลัง และตานั้นลึก และกลวงดังแสร้งควักเสีย ผมเขานั้นยุ่งรุ่ยร่ายลงมาปกปากเขา มาตรว่าผ้าร้ายน้อยหนึ่งก็ดี และจะมีปกกายเขานั้นก็หาบ่มิได้เลย เทียรย่อมเดือดร้อนใจเขา และเขาร้องไห้ครางอยู่อยู่ทุกเมื่อแล

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เรื่องเปรตตามที่เล่ามาข้างต้น เป็นเปรตชนิดเลวซึ่งรู้จักกันแพร่หลาย เปรตชนิดอื่นยังมี ว่ามีอยู่ทั่วไป อยู่กันเป็นบ้านเป็นเมืองก็มี อยู่ในยมโลกก็มี ในกลางมหาสมุทรก็มี บนเขาและในกลางเขาก็มี “เปรตจำพวกหนึ่งมีช้าง ม้า ข้าคน มียั่วยวนคานหามทองขี่เที่ยวไปในอากาศ ฝูงเปรตจำพวกเมื่อเดือนแรมเป็นเปรต เมื่อเดือนขึ้นเป็นเทวดา หรือกลับกันข้างแรมเป็นเทวดา ข้างขึ้นเป็นเปรต เปรตลางจำพวกมีปราสาททิพย์ มีเครื่องกินเป็นทิพย์อย่างเทวดา ลางพวกก็อดอยาก แม้ว่าข้าวเมล็ดหนึ่ง น้ำหยาดหนึ่ง จะเข้าไปในปากในคอก็ทั้งยาก เพราะปากเท่ารูเข็ม เปรตลางพวกเมื่อจะตาย กลายเป็นมดตะนอยดำ เป็นตัวตะเข็บ แมลงป่อง และแมลงเม่า เป็นตั๊กแตน เป็นหนอน และเป็นอะไรอีกหลายอย่าง เปรตลางจำพวกตัวงามเป็นทอง แต่ปากเหมือนหมู บ้างก็ปากเหม็นนักหนา มีหนอนเต็มปาก นี่เพราะโทษ เมื่อเป็นคนปากอยู่ไม่สุข กล่าวขวัญครูบาอาจารย์และเจ้ากูสงฆ์ผู้มีศีล เปรตที่เป็นผู้หญิงจำพวกหนึ่งย่อมเปลือยอยู่ “ มีตมอันเหม็นหนักหนาทั่วสารพางค์ แลมีแมลงวันตอมอยู่ เกาะกินตนเขามากนักแล ตนเขานั้นผอมหนักหนา หาเนื้อบ่มิได้เลยสักหยาด เท่าว่ามีแต่เอ็นและหนังพอกกระดูกอยู่ไส้”


    [​IMG]
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    เรื่องเปรตมีกล่าวในไตรภูมิโดยพิสดารว่า ผู้ใดเมื่อเห็นคนบาปอย่างนั้น ๆ ครั้นตายไปจะเป็นเปรตจำพวกนั้น ๆ มีทั้งเปรตเลวเปรตดี คล้ายๆ กับจะยกเอาเปรตขึ้นมาเปรียบเทียบกับคนจริงๆ ว่า ทำความชั่วอย่างนั้นๆ ถึงจะยังไม่ตกนรก แต่ก็จัดว่าเป็นคนเศษนรก คือเป็นเปรตทีเดียว คำว่า เปรต” เป็นภาษาสันสกฤต ตรงกับคำว่า “เปต” ในภาษาบาลี เปรตหรือเปต แปลว่า “ผู้ไปก่อน” หมายความถึงบรรพบุรุษของใครๆ ทุกคนที่ตายไปแล้ว ถ้าเป็นคนดี พระยมจะพาดวงวิญญาณไปสู่แดนอันเป้นบรมสุข ไม่มาเกิดอีก หากเป็นคนไม่ดี ผู้ตายไปตกนรก อาจไม่มีใครช่วย ลูกหลานจะต้องทำบุญอุทิศผลส่งไปให้ เรียกว่าพิธีศราทธ์ ถ้าไม่ทำไปให้ บรรพบุรุษที่ตายไปเป็นเปรตจะได้รับความอดอยากอย่างมาก การทำบุญอุทิศ ๗ วัน หรือทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่ออุทิศผลไปให้ผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น เรียกว่าทำบุญทักษิณนุประทาน แปลว่าทำบุญทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ถ้าแปลตามตัวเห็นจะเป็น “เพิ่มส่วนบุญให้ไปตามทิศใต้ คือยมโลก” ทักษิณาแปลว่าทิศใต้หรือขวามือ ซึ่งถือว่าเป็นมงคล

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คติการทำบุญเป็น ประทักษิณานุประทาน คือทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายนี้ ชาวพราหมณ์จะมีการทำบุญเลี้ยงโดยการเอามือสองมอกอบน้ำในแม่น้ำไว้ในอุ้งมือ นึกอุทิศแผ่ส่วนกุศลเสมอ ถ้าแผ่ส่วนกุศลให้เทวดาต้องปล่อยน้ำให่หยดไหลลงปลายนิ้ว ถ้าให้แก่ฤาษี ต้องให้น้ำหยดไหลหว่างมือสองข้างที่ใกล้ชิดกัน ถ้าให้แก่เปรตต้องให้น้ำไหลเทไปทางขวา ฝ่ายพุทธศาสนา

    เมื่อพระสงฆ์ท่านอนุโมทนา ผู้ทำบุญก็จะกรวดน้ำ คือเอาน้ำที่มีอยู่ในภาชนะเทลงยังที่ใดที่หนึ่งซึ่งไม่ใช่ที่สกปรก อุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย ถ้าแปลคำอนุโมทนาที่พระท่านกล่าวขึ้นต้นว่า ยถา วารีวหา ปูรา ปริปูเรนติ สาครํ” ออกเป็นภาษาไทยก็ว่า “ ห้วงน้ำทั้งหลายอันเต็มแล้ว ทำทะเลให้เต็มฉันใด ทานที่ให้แก่มนุษย์นี้สำเร็จผลแก่ผู้ตายไปแล้ว (คือเปรต) ก็ฉันนั้น” ท่านว่าแดนที่เปรตอยู่เปรียบเหมือนอยู่ในที่ลุ่ม การอุทิศส่วนบุญไปให้จึงต้องเป็นเหมือนกระแสน้ำไหลจากที่สูงไปหาที่ต่ำ เรื่องกรวดน้ำอุทิศแก่ผู้ตาย และดื่มเพื่อให้เกียรติแก่ผู้หนึ่งผู้ใดอย่างชาวตะวันตก ก็มีที่มาทำนองเดียวกัน หากแต่แยกความหมายไป
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เรื่องการทำบุญอุทิศไปให้ผู้ตาย ถือเป็นส่วนสำคัญ ลูกหลานจะละเลยไม่ได้เพราะผู้ตายไปเป็นเปรต มิสิทธิย่อมเรียกร้องให้ลูกหลานช่วยอยู่เสมอเหตุด้วยความรักและมีใจผูกพันในตัวผู้ตาย ถ้าคราวใดหลงลืมไปไม่ทำบุญส่งไปให้ เปรตมักมาเข้าฝัน ปรากฏให้เห็นเต็มตัวมีร่างกายโซ ร้องทุกข์ว่าอดอยากเต็มที เพราะลูกหลานไม่ทำบุญส่งไปให้กินก็มี
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คัดและเรียบเรียงจาก เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสถียรโกเศศ<O:p</O:p
     
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    [​IMG]


    เรื่องเล่าในไตรภูมิ (๕) : อสูรกายภูมิ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หนังสือไตรภูมิได้กล่าวถึง สัตว์ที่ไปเกิดในอบายภูมิหรือแดนทุกข์ จำพวกสุดท้ายคือ อสูรกาย มี ๒ จำพวก คือ กาลกัญชกาสูร สิ่งหนึ่งหรือพวกหนึ่ง ทิพยสุรกาย อีกสิ่งหนึ่งหรือพวกหนึ่ง อสุรกายกาลกัญชกาสูร แปลว่า มีปากเท่ารูเข็ม ตัวสูงได้คาพยุต ๑ หรือ ๒,๐๐๐ วา หรือสูงร้อยเส้น ร่างกายผอมนักหนาหาเลือดและเนื้อน้อยหนึ่งก็ทั้งยาก ผอมเป็นอย่างใบไม้แห้ง มีตาเล็กนิดเดียวเท่าตาปู และตานี้โผล่ขึ้นไปอยู่เหนือกระหม่อม ปากเล็กเท่ารูเข็ม และอยู่เหนือกระหม่อมเหมือนกัน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อสูรกายกัญชกาสูร นี้ เห็นสิ่งอันใดใคร่เอากินต้องปักหัวลง เอาตีนชั้นขึ้นฟ้าจึงได้กินและย่อมถือสากตีกันอยู่ทุกเมื่อ หาความสุขมิได้ อสุรกายเหล่านี้ เป็นจำพวกยากเย็นเข็ญใจยิ่งกว่าอสูรกายฝูงอื่น อสุรกายจำพวกนี้ตนสูง ๒,๐๐๐ วาเหมือนกัน แต่รูปต่างๆ กัน “มีหน้าบ่มีงาม ท้องยาน ฝีปากใหญ่ และมีเล็บมือเล็บตีนอันรีและมีตาดำนั้นฝั่งตาดำสูง จมูกเบี้ยวใจกล้าหน้าแข็งแรง” ลางพวกมีช้างม้าข้าไท้และทหารรี้พลเหมือนพระอินทร์ รวมความว่าอสุรกายพวกนี้มีรูปร่างพิการไม่สมประกอบ น่าเกลียดน่ากลัว ส่วนอสุรกายอีกจำพวกหนึ่งที่เรียกว่า ทิพยอสูรกายไม่มีกล่าวถึง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พวกอสุรกายนั้นมีบ้านเรือนเป็นของตนเองเรียกว่า อสุรภพ อยู่ลึกลงไปใต้ดิน ๘๔,๐๐๐ โยชน์ เป็นบ้านเมืองงดงามมาก ดาดไปด้วยแผ่นทองคำ มีเมืองใหญ่อยู่ ๔ เมือง มีพระยาอสูรปกครองทุกเมือง พระยาอสูรเหล่านี้อยู่ปราสาทงดงามมาก กลางเมืองอสูรมีต้นไม้แคฝอยเป็นไม้ทิพย์ประจำอสูรภพ ถึงวันดีคืนดีพระยาอสูรทั้งหลายย่อมไปเล่นสนุกสนานด้วยกัน ณ ที่ซึ่งมีต้นแคฝอยนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในบรรดาพระยาอสูร มีตนหนึ่งมีอำนาจและกำลังแกล้วกล้ายิ่งกว่าพระยาอสูรทั้งหลาย พระยาอสูรตนนี้มีชื่อว่า “ราหู” มีหัวหูและหน้าตาพิกลเพราะใหญ่โตมาก ใหญ่กว่าเทพยดาทั้งหลายในสวรรค์ โดยสูงได้ ๙๘,๐๐๐ โยชน์ และอ้อมรอบหัวโดยใหญ่ ๘๐๐ โยชน์ และหัวเขากว้างได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ แต่ข้างและข้างได้ ๒.๖๐๐ โยชน์ และหน้าผากโดยกว้างได้ ๙๐ โยชน์ แต่หัวคิ้วมาเถิงหางคิ้วได้ ๒๐๐ โยชน์ แต่หัวตามาเถิงหางตาได้ ๒๐๐ โยชน์ แต่ปากโดยกว้างได้ ๒๐๐ โยชน์ โดยลึกปากได้ ๓๐๐ โยชน์ โดยกว้างฝ่ามือได้ ๒๐๐ โยชน์ ขนตีนขนมือนั้นแลยาวได้ ๓๐ โยชน์ เมื่อถือขนาดของส่วนต่างๆ ราหู เป็นอสูรที่ไม่จำเป็นเหมือนคนทุกอย่าง เพราะเป็นอมนุษย์อยู่นอกโลกมนุษย์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อสูรที่ชื่อ ราหู นี้ มีความเกลียดชังพระอาทิตย์และพระจันทร์นัก ถ้าเป็นวันเพ็ญเดือนงามและวันเดือนดับคือวันสิ้นเดือนตะวันงาม อสูรราหูขึ้นไปนั่งอยู่บนยอดเขายุคลธร อันเป็นทิวเขาทิวแรกล้อมเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทวดา ค่อยท่าพระอาทิตย์หรือพระจันทร์ผ่านมา ถ้าพระอาทิตย์ประทับอยู่ในปราสาทอันตั้งอยู่บนเกวียนทอง (ไม่เรียกว่ารถ) มีม้าสินธพพันตัวลากเกวียนทองก็ดี หรือถ้าพระจันทร์ประทับอยู่ในประสาทอันตั้งอยู่บนเกวียนทองอย่างเดียวกัน แต่มีม้าสินธพลากเพียง ๕๐๐ ตัวก็ดี พอชักรถล่องอากาศมาใกล้ยอดเขายุคลธร ราหูก็อ้าปากอันกว้างได้ ๒๐๐ โยชน์ อมเอาพระอาทิตย์พระจันทร์หายลับไปไว้เข้าในปาก ลางคาบก็เอานิ้วมือบังไว้บ้าง เอาไว้ใต้ลูกคางบ้าง ใต้รักแร้บ้าง รัศมีพระอาทิตย์และพระจันทร์ก็เศร้าหมองบ่มิงามได้เลย คนทั้งหลายเรียกกันว่ามี“สุริยคราส” และ “จันทรคราส”

    เมื่อสมัยพระพุทธเจ้ามีชีวิตอยู่ พระอาทิตย์เทพบุตรและพระจันทร์เทพบุตรเคยไปร้องทุกข์แก่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสแก่ ราหู ให้ปล่อยพระอาทิตย์พระจันทร์เสีย ราหู ตกใจกลัวพระพุทธเจ้า ต้องปล่อยวางพระอาทิตย์พระจันทร์แล้วหนีไป เรื่องอสูรกายภูมิในไตรภูมิมีโดยย่อดังกล่าวมานี้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เหตุไร ราหู จึงเกลียดจงชังพระอาทิตย์และพระจันทร์นัก ตามเรื่องราวเล่าเป็นนิยายชาวบ้านว่า เดิมพระอาทิตย์ พระจันทร์ และราหูเกิดเป็นคน และเป็นพี่น้องกัน พระอาทิตย์เป็นพี่เอื้อย ราหูเป็นน้องคนเล็ก พี่น้องสามคนนี้ไปทำบุญตักบาตร พระอาทิตย์ตักด้วยขันทอง พระจันทร์ตักด้วยขันเงิน ราหูตักด้วยกระบุง ครั้นตายไปแล้ว พี่ชายใหญ่ได้เกิดเป็นพระอาทิตย์ มีร่างกายรุ่งเรืองเป็นสีทอง เพราะตักบาตรด้วยขันทอง พี่คนรองไปเกิดเป็นพระจันทร์ เพราะตักบาตรด้วยขันเงิน ส่วนน้องเล็กไปเกิดเป็นราหู มีร่างกายกำยำ เพราะตักบาตรด้วยกระบุง ที่ราหูมีปากกว้างอมพระอาทิตย์พระจันทร์ได้ เพราะตักบาตรด้วยกระบุงซึ่งมีปากกว้างนั่นเอง ราหูรู้สึกน้อยใจ อิจฉาพี่น้องที่มีร่างกายงดงามกว่าตน จึงเจ็บใจจองร้าย เป็นโอกาสเมื่อใด ก็จับพระอาทิตย์พระจันทร์กลืนกินเสีย แต่กินไม่สำเร็จสักครั้ง เพราะมนุษย์คอยตีเกราะเคาะไม้ ตีฆ้องกลองระฆังและจุดประทัดอยู่เอ็ดอึงทนหนวกหูไม่ไหวต้องคายคืนพระอาทิตย์พระจันทร์ปล่อยออกมา เหตุที่มีสุริยคราสจันทรคราส ก็เนื่องมาจากราหูจับเอาพระอาทิตย์และพระจันทร์เอาไว้ฉะนี้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    อสูร แปลดื้อ ๆ ก็ว่า ผู้ไม่ใช่สุระ คือไม่ใช่พวกเทวดา ซึ่งมีพระอินทร์เป็นหัวหน้า เดิมพวกอสูรมีเมืองอยู่บนเขาพระสุเมรุ ภายหลังพวกเทวดาคิดอุบายมอมเหล้าพวกอสูรเมาจนไมได้สติ แล้วพวกเทวดาช่วยกันแตะพวกอสูร ถีบให้ตกเขาพระสุเมรุดิ่งจมลงไปในดิน และเข้าครอบครองเมืองของอสูร เมืองที่ว่านี้คือเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อันเป็นที่อยู่ของเทวดานั้นเอง เมืองสวรรค์ก็แปลว่า เป็นที่ไปดีหรือเป็นอารามที่ดี เหตุนี้ใครๆ จึงอยากไปสวรรค์


    เมื่อพวกอสูรสร้างเมาได้สติแล้ว ได้สำนึกตัวได้ว่าเป็นเพราะกินเหล้าเมามาย จึงต้องเสียบ้านเมือง ถูกเทวดาแย่งเอาไป จึงเลิกกินเหล้า แล้วไปสร้างเมืองใหม่อยู่ใต้บาดาล เรียกว่า เมืองของอสูร หรืออสูรภพ อันมีความงามความสนุกชื่นบานไม่แพ้เมืองสวรรค์ที่เทวดาแย่งไป ถึงคราวต้นแคฝอยในอสูรภพออกดอกทำให้หวนนึกถึงต้นปาริชาติบนสวรรค์ ซึ่งอยู่ในบ้านเมืองเดิมของตน คิดขึ้นมาทีใดก็แค้นใจเทวดานัก จึงยกพวกขึ้นไปรบกับพวกเทวดาบ่อยๆ แต่ถูกเทวดาต่อต้านต้องพ่ายมาทุกครั้ง ถึงกระนั้นพวกอสูรก็ไม่ละความพยายาม คราวใดต้นแคฝอยออกดอก ก็ขึ้นไปรบกับเทวดาอยู่เสมอ การรบกันนี้เรียกว่า เทวาสุรสงคราม คือสงครามระหว่างเทวดากับอสูร<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถ้าว่ากันตามเรื่องที่เล่ามา ต้องถือว่าเทวดาเป็นฝ่ายผิดเป็นฝ่ายอธรรม เพราะทำอุบายแย่งเมืองเดิมของอสูร ไปก่อเหตุกับพวกอสูรก่อน แต่ตามเรื่องไม่ได้ว่าอย่างนั้น กลับถือว่าอสูรเป็นพวกผิดพวกอธรรม ขึ้นไปรุกรานเป็นพาลแก่เทวดาผู้เป็นพวกธรรม ที่กลับกันเช่นนี้เพราะผู้เล่านับถือเทวดา จึงเห็นเทวดาถูกเสมอ ทั้งยังวาดภาพอสูรมีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวร้ายกาจมาก ขึ้นชื่อว่าอสูรตามที่เข้าใจกัน ย่อมมีหน้าตาน่าเกลียดทั้งนั้น และมีลูก ลูกนั้นก็เป็นหญิง ก็ย่อมต้องมีหน้าตาหน้าเกลียดพอกัน ยกเว้นเป็นพิเศษที่ต้องไปเป็นเมียเทวดา จึงจะมีรูปร่างเหมือนมนุษย์ แต่งามยิ่งกว่ามนุษย์เสมอ เช่น นางสุชาดามเหสีฝ่ายขวาของพระอินทร์ก็เป็นธิดาพระยายักษ์ชื่อ เนวาสิกาสูร ซึ่งพระอินทร์ปลอมแปลงเป็นยักษ์ไปลักตัวแย่งเอามา <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กลุ่มพวกที่คล้ายคลึงพวกอสูรยังมีพวกยักษ์และพวกกุมภัณฑ์ กล่าวทั่วไปว่าไม่ผิดแปลกอะไรกับพวกอสูรนัก วรรณคดีของไทยใช้คำเหล่านี้แทนกันได้ จะใช้คำว่าอสูรหรือยักษ์หรือกุมภกัณฑ์ ก็มีความหมายเท่ากัน แต่ว่าโดยเฉพาะพวกยักษ์นั้น เป็นบริวารท้าวเวสสุวัณ ผู้เป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ ส่วนกุมภกัณฑ์นั้นเป็นบริวารท้าววิรุฬหกผู้เป็นโลกบาลประจำทิศใต้ พวกยักษ์และกุมภกัณฑ์ไม่ใช่เป็นเทวดา จึงอยู่ที่เขาพระสุเมรุไมได้ เพราะนั้นเป็นที่อยู่ของเทวดา อย่างดีอยู่ใต้เตี้ย ๆ เพียงเชิงเขาพระสุเมรุเท่านั้น


    ก็เมื่อหนังสือไตรภูมิแบ่งสัตว์ที่ไปเกิดตามภูมิต่างๆ คือ ไปเกิดในนรกภูมิ เดรัจฉานภูมิ เปตภูมิ และอสูรกายภูมิ ๔ ภูมินี้ เป็นอบายภูมิแดนแห่งทุกข์ เหนือนั้นขึ้นไป เกิดเป็นมนุษย์หรือเป็นเทวดา ซึ่งจัดเข้าสุคติภูมิแดนแห่งสุข พวกอสูร ยักษ์ เข้าด้วยไม่ได้ เพราะไม่ใช่มนุษย์ และไม่ใช่เทวดา เอาไปไว้กับพวกอบายภูมิ อยู่ถัดเปตภูมิขึ้นมา ดีกว่าพวกเปรตนิดหนึ่ง ซึ่งที่แท้จากเรื่องที่เล่าไว้ พวกอสูรที่ไม่มีปากเท่ารูเข็มเหมือนเปรต มีฐานะความเป็นอยู่ดีกว่ามนุษย์เสียอีก<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คัดและเรียบเรียงจาก เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสถียรโกเศศ<O:p</O:p
     
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เล่าเรื่องในไตรภูมิ (มนุษยภูมิ ๑)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ฝูงสัตว์อันเกิดในมนุษยภูมิ หนังสือไตรภูมิกล่าวเป็นเบื้องต้น จับแต่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาว่า เริ่มทีแรกเป็นอย่างไร คือชั้นต้นเมื่อแรกก่อเป็นตัวมีลักษณะเป็น กัลป์ละ ก่อนว่า มีขนาดเล็กที่สุด ท่านเปรียบยกเอาผมของคนเส้นหนึ่ง นำมาผ่าออกเป็น ๔ คาบ หรือครั้ง จะได้ผมผ่าออกเป็น ๘ เส้นเล็ก ผมเส้นเล็กที่นำมาผ่าแล้วนี้เส้นหนึ่ง เท่ากับผมคนที่เกิดในทวีปอุตตรกุรุ อันเป็นแผ่นดินอีกแห่งหนึ่งอยู่กันละมุมโลกกับของมนุษย์ ที่นี่คือชมพูทวีป เอาเส้นผมของชาวอุตตรกุรุนั้นเส้นหนึ่งชุบน้ำมันงาอันใสงามแล้วสลัดเสียได้ ๗ ครั้งแล้วจึงถืออยู่ น้ำมันงายังมีตกค้างอยู่ที่เส้นผมจะย้อยลงมาที่ปลายผม ท่านว่านี้ยังมีขนาดใหญ่กว่า กัลป์ละนั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กัลป์ละ ที่กล่าวถึงนี้ แปลว่ามีรูปโปร่งเหลวเหมือนกับน้ำ ลางทีแปลว่าเหมือนเปือกตม เป็นคำใช้หมายเฉพาะสิ่งที่ห่อหุ้มก่อกำเนิดเป็นคนเท่านั้น กัลป์ละนั้นถ้าเปรียบกับความรู้สมัยใหม่ น่าจะเป็นสิ่งที่มีรูปเป็นอนุปรมาณูเล็กเหลือเกินไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ต่อจากนี้แล้วกัลป์ละก็เจริญเติบโตก่อรูปขึ้นเพราด้วยธาตุทั้ง ๔ มี ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งกล่าวไว้พิสดาร จะขอผ่านไป จนครบ ๗ วัน รูปนั้นเกิดเป็นตุ่มดังหัวหูดขึ้น ๕ แห่ง เรียกว่า ปัญจสาขา

    ซึ่งต่อมาเกิดเป็นมือ ๒ อัน ตีน ๒ อัน และเป็นหัว ๑ อัน แล้วจึงเป็นขนเป็นเล็บและเป็นอื่นๆ ครบถ้วน เป็นจำนวน ๓๒ และเกิดเป็นตัวเด็กหรือกุมารขึ้นนั่งกลางท้องแม่ และเอาหลังมาต่อหนังหน้าท้องแม่ได้รับความลำบากเหม็นกลิ่นเน่า อันเกิดจากอาหารที่แม่กินเข้าไป ไส้ดือของกุมารนั้นกลวงใน ปลายไปเกาะติดที่หลังท้องแม่ ข้าวน้ำและอาหารอันใดที่แม่กินและโอชารส ก็เป็นน้ำชุ่มเข้าไปในไส้ดือ แล้วเข้าไปในท้องของกุมารเพื่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโตต่อไป <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กุมารที่นั่งอยู่กลางท้องแม่ นั่งยองๆ กำมือทั้งสองข้าง คู้ตัวต่อหัวเข่าทั้งสองเอาไว้เหนือหัวเข่า เหมือนกับลิงเมื่อฝนตก นั่งกำมือเซาเจ่าอยู่ในโพรงไม้ฉะนั้น เมื่อกุมารอยู่ในท้องแม่ บ่ห่อนหายใจเข้าออกเลย บ่ห่อนได้เหยียดตีนเหยียดมือออก” ทนทุกข์ทรมานอยู่ ยากจนได้ ๗ เดือนบ้าง ๘ เดือนบ้าง ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือนบ้าง ๑๑ เดือนบ้าง หรือครบขวบปีบ้าง จึงคลอดออกมาจากท้องแม่ คนใดอยู่ในท้องแม่ ๗ เดือนจะคลอดออกมาจะเป็นคนอ่อนแอ ไม่ทนแดดทนฝน คนใดมาแต่นรกมาเกิด เมื่อคลอดออกมาตัวจะร้อน ถ้าจากแต่สวรรค์มาเกิด เย็นเนื้อเย็นใจ ผู้ใดเคยเป็นสัตว์นรกหรือเป็นเปรตมาก่อน คลอดออกมาก็ร้องไห้เพราะคิดถึงความลำบากที่ล่วงมาแล้ว ถ้ามาแต่สวรรค์ก็หัวร่อก่อน เพราะคิดถึงความสุขแต่หนหลัง <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คนเมื่อแรกเกิดไม่รู้เดียงสา ไม่รู้อะไรจำอะไรไมได้ทั้งหมด เว้นแต่ผู้มาเกิดเป็นพระปัจเจกโพธิและพระอรหันต์ขีณาสพ จึงจะรู้อะไรทุกอย่าง มาแต่กำเนิดเป็นคน ส่วนพระโพธิสัตว์ซึ่งมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า นอกจากรู้ความอะไรทุกอย่าง เมื่อยังอยู่ในครรภ์พระมารดาไม่ได้นั่งจับเจ่าห่อตัวเหมือนกับคนทั้งหลาย ย่อมนั่งแพนงเชิงอย่างท่าที่นักปราชญ์นั่ง มีรัศมีจากายตัวเรืองงามดั่งทองทะลุพุ่งออกมาภายนอกท้อง เมื่อขณะคลอดแผ่นดินทั่วโลกธาตุจะหวั่นไหว เป็นเครื่องหมายหรือนิมิตบอกให้รู้ว่าพระโพธิสัตว์มาเกิด และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

    <O:p</O:pบุตรที่เกิดมาท่านแบ่งเป็น ๓ ชนิด ในไตรภูมิใช้คำว่า ๓ สิ่ง คืออภิชาตบุตร เป็นลูกที่เฉลียวฉลาดมีรูปงาม หรือมั่งมี มียศมีกำลังยิ่งกว่าพ่อแม่ อนุชาตบุตรมีเพียงพ่อเพียงแม่ และ อวชาตบุตร มีถ่อยกว่าพ่อแม่
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คนทั้งหลายแบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ<O:p</O:p
    ๑. ผู้ทำบาปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และบาปนั้นตามทัน ต้องถูกตัดตีนสิ้นมือและทุกข์โสกเวทนานักหนา พวกน่านเรียกคนนรก
    <O:p</O:p
    ๒. ผู้หาบุญอันกระทำบ่มิได้ และแต่เมื่อก่อนและเกิดมา เป็นคนเข็ญใจหนักหนาและมีผ้าและมีเสื้อของตนหาบ่มิได้ และอดอยากไม่มีกินรูปโฉมก็ขี้เหร่ ผู้นี้เรียกว่าคนเปรต
    <O:p</O:p
    ๓. คนที่ไม่รู้จักบุญและบาป ไม่มีความเมตากรุณา ใจกล้าแข็ง ไม่รู้จักยำเกรง ผู้เฒ่าผู้แก่ ไม่รู้จักปฏิบัติพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ไม่รักพี่รักน้อง กระทำบาปอยู่ร่ำไป พวกนี้ท่านเรียกว่าคนเดียรฉาน
    <O:p</O:p
    ๔. คนที่รู้จักบุญและบาป รู้กลัวรู้ละอายแก่บาป รู้จักยากง่าง่าย รู้รักพี่รักน้อง รู้เอ็นดูกรุณาคนผู้เข็ญใจ และรู้ยำเกรงพ่อแม่ผู้เฒ่าผู้แก่สมณพรหมณาจารย์ และรู้จักแก้ว ๓ ประการ คือ พระรัตนตรัย พวกนี้ท่านเรียกว่า มนุษย์
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คนทั้ง ๔ ชนิดนี้ <O:p</O:p
    · จำพวกหนึ่งเกิดและอยู่ในชมพูทวีป มีรูปหน้ากลมดังดุมเกวียนอย่างคนที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
    <O:p</O:p
    · จำพวกหนึ่งเกิดและอยู่ในแผ่นดินบุรพวิเทย์เบื้องตะวันออกมีรูปหน้าดังเดือนเพ็ญ กลมดังหน้าแว่น
    <O:p</O:p
    · จำพวกหนึ่งเกิดและอยู่ในแผ่นดินอุตตรกุรุทวีป ฝ่ายเหนือ มีรูปหน้าเป็น ๔ มุม ดุจดังท่านแกล้งถากให้เป็น ๔ เหลี่ยม กว้างและรีเท่ากัน
    <O:p</O:p
    · จำพวกหนึ่งเกิดและอยู่ในแผ่นดินอมรโคยานทวีปเบื้องทิศตะวันตก มีรูปหน้าดังเดือนแรม ๘ ค่ำ<O:p</O:p
     
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เล่าเรื่องในไตรภูมิ ๖ (มนุษยภูมิ ๒)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ภพมนุษย์บนแผ่นดินประกอบด้วย ๔ ทวีป คือ ชมพูทวีป แผ่นดินบุรพวิเทย์ แผ่นดินอุตตรกุรุทวีป และแผ่นดินอมรโคยานทวีป นี้ บอกตำแหน่งของทิศไว้ด้วย ไม่ได้หมายถึงทิศที่เอาชมพูทวีปอันเป็นที่อยู่แห่งโลกนี้เป็นที่ตั้ง ย่อมหมายเอา เขาพระสุเมรุอันเป็นที่อยู่ของเทวดาเป็นศูนย์กลางเป็นศูนย์กลางที่ตั้ง เขาพระสุเมรุนั้นตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล มีทิวเขาและทะเลล้อมรอบสลับกันเป็นชั้นๆ ได้ ๗ ชั้น ทิวเขาทั้ง ๗ มีชื่อต่างๆ กันโดยลำดับ คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัศน์ เนมินธร วินันตก และอัศกรรณซึ่งเป็นรอบนอกสุด รวมด้วยกันเรียกว่า เขาสัตตบริภัณฑ์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนทะเลที่ล้อมรอบอยู่ ๗ ชั้น เรียกว่าทะเลสีทันดร เป็นชื่อเดียวเหมือนกันหมด ถัดทิวเขาอัศจรรย์ออกมา เป็นมหาสมุทรอยู่ทั่ไปทุกด้าน และมีภูเขาเหล็กกั้นทะเลนี้ไว้รอบ เรียกว่าขอบจักรวาล <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พ้นนั้นไปเป็นนอกขอบจักรวาล ในมหาสมุทรทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ มีทวีปหรือแผ่นดินเป็นเกาะใหญ่ ชื่อว่า ชมพูทวีป คือ โลกที่เราอยู่นี้ แต่บัดนี้หมายเอาเฉพาะประเทศอินเดีย เพราะชาวอินเดียเดิมเป็นเจ้าของไตรภูมินี้ รู้จักโลกซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์อันแท้จริง คือประเทศอินเดียเท่านั้น อายุของคนนั้น ถ้าเป็นผู้มีศีลมีธรรม ทำบุญทำทาน รู้จักยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่และสมณชีพราหมณ์ก็ยืนนาน ถ้ามีลักษณะตรงกันข้าม อายุก็สั้น เพราะฉะนั้นอายุคนในชมพูทวีปจึงกำหนดไม่ได้
    แต่คนในทวีปบุรพวิเทห์มีอายุขัยยืนได้ ๑๐๐ ปีจึงตาย คนในอมรโคยานทวีป ๔๐๐ ปี จึงตาย
    คนในอุตตกุรุทวีป๑,๐๐๐ ปี จึงตาย คนทั้งสามทวีปหลังนี้ไม่มีใครอายุสั้น เพราะเป็นคนถือปัญจศีล หรือศีล ๕ เสมอ
    อมรโคยานทวีปอยู่เบื้องทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ เป็นแผ่นดินกว้างได้ ๙,๐๐๐ โยชน์ และมีเกาะเล็กเกาะน้อยเป็นบริวารล้อมอยู่โดยรอบ คนทวีปนั้นมีรูปหน้าดั่งเดือนแรม มีจมูกโด่ง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เบื้องทิศตะวันออกเขาพระสุเมรุ เป็นแผ่นดินใหญ่เรียกว่า บุรพวิเท่ห์ทวีปกว้างได้ ๗,๐๐๐ โยชน์ มีแผ่นดินเกาะหรือเกาะ ๔๐๐ ล้อมรอบเป็นบริวาร ฝูงคนในทวีปนี้หน้ากลมดังเดือนเพ็ญ เห็นจะหมายความว่ารูปสัณฐานหัวกะโหลกมีส่วนกว้างมากกว่าส่วนยาว แผ่นดินทวีปนี้ มีแม่น้ำเล็กใหญ่ มีเขามีเมืองใหญ่เมืองน้อย ฝูงคนอันอยู่ที่นั้นมีมากมายหลายนัก และมีท้าวพระยาและมีนายบ้านนายเมือง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แผ่นดินเบื้องตีนนอน (ทิศเหนือ) พระสิเนรุนั้นชื่อว่า อุตตรกุรุทวีป โดยกว้างได้ ๘,๐๐๐ โยชน์ แผ่นดินเล็กได้ ๕๐๐ แผ่นดินนั้นล้อมรอบเป็นบริวารฝูงคนอยู่ในที่นั้น หน้าเขาเป็น ๔ มุม และมีภูเขาล้อมรอบ ฝูงคนทั้งหลายอยู่ในที่นั้นมากมายหมายนัก เทียรย่อมดีกว่าคนทุกหนทุกแห่ง เพื่อว่าบุญเขาและเขารักษาศีล และแผ่นดินเขานั่นราบเรียบเสมอกันดูงามหนักหนา และว่าหาที่ราบที่ลูบขุบที่เทงมิได้ แลมีต้นไม้ทุกสิ่งทุกพรรณ์ แลมีกิ่งตาสาขางามดี มีค่าคบมั่งคั่งดั่งแกล้งทำไว้ ไม้ฝูงนั้นเป็นเย้าเป็นเรือนเยื้อนกันเข้า มองงามดั่งปราสาท เป็นที่อยู่ที่นอนฝูงคนในแผ่นดิน ชาวอุตตรกุรุนั้น และไม้นั้นหาด้วงหาแมงมิได้ และไม่มีที่คดที่โกง หาพุกหาโพรงหากลวงมิได้ ซื่อตรงงามนักหนาและมีดอก เทียรยอมมีดอกและลูกอยู่ทุกเมื่อบ่มิได้ขาดเลย อนึ่งที่ใดมีบึงมีหนองมีตระพัง ทั้งนั้นย่อมมีดอกบัวแดงบัวขาวบัวเขียวบัวหลวง มีกลิ่นอันหอมขจรอยู่มิรู้วายสักคาบ “<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ข้อความนี้คัดมาจากหนังสือไตรภูมิโดยตรง แม้มีคำหลายคำเป็นคำแปลกมิใช่คำปัจจุบัน แต่เมื่ออ่านไปโดยยังไม่ต้องพิจารณาคำลางคำ ก็อ่านเข้าใจได้ดีว่า แผ่นดินแห่งอุตตรกุรุทวีปเป็นอย่างไร
    <O:p</O:p
    ชาวอุตตรกุรุทวีปมีรูปร่างสมประกอบ ไม่ต่ำไม่สูง ไม่พีไม่ผอม ดูงามสมควรนัก มีเรี่ยวแรงอยู่ชั่วตนแต่หนุ่มถึงแก่ บ่มิรู้ถอยกำลังเลย ไม่มีความกลัวเพราะไม่ต้องทำมาหากิน ทำไร่ไถนา ซื้อขายวายล่อง บ่ห่อนจะรู้ร้อนรู้หนาวและมิมีใญ่ข่าว (แปลกระไรไม่รู้) บ่ห่อนจะทำลายแก่เขา และริ้นร่านหานยุงและงูเงี้ยวเปียวของทั้งหลายอันมีพิษ บ่ห่อนจะทำร้ายแก่เขา รวมความว่าชาวอุตตรกุรุทวีปห่อนจะรู้ร้อนรู้หนาว (คำสมัยใหม่ เดือดเนื้อร้อนใจ)
    <O:p</O:p
    ชาวอุตตรกุรุทวีปมีข้าวสารชนิดหนึ่งไม่ต้องปลูก หากเป็นต้นเป็นรวงเอง ทั้งเป็นข้าวขาวและหอม ปราศจากแกลบและรำ บ่มิพักตำและฝัด เพราะเป็นข้าวสารอยู่แล้ว ต้องการกินข้าวก็เอาข้าวสารกรอกใส่หม้อทอง ยกไปตั้งบนแผ่นหินอันชื่อว่าโชติปราสาท ซึ่งเกิดเป็นไฟลุกขึ้นเอง พอไฟดับ ข้าวก็สุกจึงคดใส่ถาดและตะไลหรือถ้วยทอง ส่วนเครื่องกับข้าวก็ไม่ต้องหา นึกว่าตะกินอะไรก็เกิดขึ้นมาอยู่ใกล้ๆ เอง ทั้งยังป้องกันโรคภัยเจ็บไข้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในแผ่นดินอุตตรกุรุมีต้นกัลป์พฤกษ์ต้นหนึ่งสูงได้ ๑๐๐ โยชน์ กว้าง ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบบริเวณมณฑลได้ ๓๐๐ โยชน์ ผู้ใดปรารถนาอยากจะได้เงินทองของแก้ว เสื้อสร้อยถนิมพิมาภรณ์ ผ้าผ่อนท่อมแพร ข้าวน้ำ โภชนาหารของกินสิ่งใดนึกเอาก็ได้สำเร็จสมปรารถนา ต้นไม้ชื่อกัลป์ปาพฤกษ์นี้บนเมืองสวรรค์ของพระอินทร์ก็มี เมื่อพระศรีอาริย์จะลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ก็จะมีในเมืองมนุษย์เหมือนกัน ใครอยากนึกอะไรได้ดั่งใจปรารถนา จึงขอมุ่งไปเกิดชาติหน้าให้ทันสมัยพระศรีอาริย์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กล่าวถึงผู้หญิงชาวเมืองอุตตรกุรุ ขอคัดตามสำนวนมาลงไว้ เพราะแต่งดีมีลักษณะเป็นวรรณคดี ดังนี้
    <O:p</O:p
    และมีฝูงผู้หญิงอันอยู่ในแผ่นดินนั้นงามทุกคน รูปทรงเขานั้น บ่มิต่ำมิสูง บ่มิพีมิผอม บ่มิขาวบ่มิดำ สีสมบูรณ์งามดั่งทองอันสุกเรืองรอง เป็นที่พึงใจฝูงชายทุกคนแล นิ้วตีนนิ้วมือเขานั้นกลมงามนะแน่ง เล็บตีนเล็มมือเขานั้นแดง งามดั่งน้ำครั้งอันท่านแต่งแล้วและเติมไว้ และสองแก้มเขานั้นใสงามเป็นนวลดั่งแกล้งเอาแป้งผัด หน้าเขานั้นเกลี้ยงปราศจากมลทิน หาฝ้าหาไฝบ่มิได้ แลเห็นดวงหน้าเขาใส ดุจดวงจันทร์อันเพ็งสมบูรณ์นั้น เขานั้นมีตาอันดำ ดั่งตาแห่งลูกรายพึ่งออกได้สามวัน ที่บูรณ์ขาวก็ขาวงามดั่งสังข์อันท่านพึ่งฝนใหม่ และมีฝีปากนั้นแดงดังลูกฟักข้าวอันสุกนั้น และมีลำแข้งลำขานั้นงามดั่งลำกล้วยทองฝาแฝดนั้นแล และมีท้องเขานั้นงามราบ เพียงลำตัวเขานั้นอ้อนแอ้นแกล้งกลมงาม แลเส้นขนนั้นก็ละเอียดอ่อนนัก ๔ เส้นผมเขาจึ่งเท่าผมเรานี้เส้นหนึ่ง และผมเขานั้นดำงามดั่งปีกแมลงภู่ เมื่อประลงมาเถิ่งริมบ่าเบื้องต่ำ และมีปลายผมเขานั้นงอนเบื้องบนทุกเส้น และเมื่อเขานั่งอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี ดังจักแย้มหัวทุกเมื่อ และขนคิ้วเขานั้นดำและงามดั่งแกล้งก่อ และเมื่อเขาเจรจาและน้ำเสียงเขานั้นแจ่มใส ปราศจากเสมหะขละทั้งปวงแล ในตัวเขานั้นเทียรย่อมประดับด้วยเครื่องถนิมพิมภรณ์บวรยุคันฐี และมีรูปโฉมโนมพรรณอันงาม ดั่งสาวอันได้ ๑๖ เข้า และรูปเขานั้นบ่ห่อนรู้เฒ่ารู้แก่และหนุ่มอยู่อย่างนั้น ชั่วทุก ๆคนแล
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในที่นี้ ชมเล็บมือเล็บตีนของหญิงสาวชาวอุตตรกุรุว่า แดงงามดั่งน้ำครั่งอันท่านแต่งและแต้มไว้ เห็นจะชมตามคติความงามของอินเดีย เพราะผู้หญิงอินเดียแต่โบราณ ใช้น้ำครั่งชุบสำลีแต้มเล็บมือเล็บตีน หญิงไทยสมัยก่อนก็ย้อมเล็บด้วยใบเทียน ไม่ต่างกับผู้หญิงสมัยใหม่ปัจจุบันนี้ ที่กล่าวว่าผู้หญิงอุตตรกุรุไว้ผมประบ่า มีปลายผมงอนขึ้นนั้น ก็เป็นรูปเรือนผมของหญิงไทยสมัยอยุธยา ดังบทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศที่ว่า ผมประบ่าอ่าเอี่ยมองค์ คงไม่ใช่เรือนผมของหญิงชาวอินเดีย เพราะหญิงชาวอินเดียนิยมไว้ผมยาวลงมาถึงบั้นเอว อันเป็นลักษณะงามประการหนึ่งของนางงามเบญจกัลยาณี แสดงว่าหญิงไทยนิยมไว้ผมประบ่า คงมีมาแล้วแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เมื่อสมัยสุโขทัยผู้หญิงไว้ผมประบ่า สมัยอยุธยาตอนปลายก็ยังไว้ผมประบ่าอยู่<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หนังสือไตรภูมิกล่าวถึงผู้หญิงชาวอุตตรกุรุแล้ว จึงกล่าวถึงผู้ชายว่า รูปโฉมโนมพรรณเขานั้น งามดั่งบ่าวหนุ่มน้อยได้ ๒๐ ปี มิรู้แก่บ่มิรู้เฒ่า หนุ่มอยู่ดั่งนั้นชั่วตนทุก ๆ คน และเขานั้นใส้เทียรย่อมกินข้าวและน้ำสัพพหารอันดีอันมีโอชารสนั้นและแต่งแต้มตัวเขา ทากระแจะและจวงจันทน์น้ำมันอันดีและมีดอกไม้หอมต่างๆ กัน เอามาทัดเอามาทรงเล่น แล้วก็เที่ยวไปเล่นตามสบาย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การเล่นสนุกของชาวอุตตรกุรุ มีร้องรำทำเพลง และเที่ยวไปในสวนอันเป็นที่สนุกตระการตา ประกอบไปด้วยดอกไม้นานาหอมตลบแลสรรพลูกไม้ตระการและมีลูกอันสุกหวานคือว่าขนุน ลูกโตเท่าไหหามหรือโตเท่ากะละออม มีรศหอมหวานซึ่งชาวอุตตรกุรุชวนกันกินเล่นสำราญบานใจ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ชาวอุตตรกุรุเล่นสนุกแล้วก็ชวนกันไปอาบน้ำในแม่น้ำใหญ่ อันมีท่าอันราบอันปราศจากเปือกตม เขาชวนกันว่าล่องท่องเล่น เต้นเด็ดดอกไม้อันมีในแม่น้ำนั้นด้วยกันแล้วและลงอาบฉาบตัว เก็บดอกไม้มาทัดทรงไว้เหนือหัวและหู บ้างก็ชวนกันเล่นเหนือหาดทรายอันงาม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ชาวอุตตรกุรุอยู่เป็นสุขตราบเท่าสิ้นอายุพันปี ผู้หญิงชาวอุตตรกุรุเมื่อมีครรภ์และจะคลอดลูก ห่อจะรู้เจ็บท้องเจ็บพุงเวลาจะคลอด จะเกิดมีแท่นเป็นที่อยู่ที่นอนเกิด และห่อนจะรู้เจ็บท้องเจ็บไส้แค้นเนื้อแค้นใจ ลูกที่เกิดออกมาไม่มีเลือดฝาดและเมือกคาวเป็นมลฑิน งามดั่งทองแท่งอันสุกใสปราศจากราคี ไม่ต้องให้กินข้าวกินน้ำกินนม เอาไปนอนหงายทิ้งไว้ริมหนทาง อันมีหญ้าอ่อนดังสำลีใครเดินไปมากล้ำกราย

    ครั้นเห็นลูกอ่อนนอนหงายอยู่อย่างนั้น ก็เอานิ้วมือเขาป้อนเข้าไปในปากลูกอ่อน ด้วยบุญของลูกอ่อน ก็บังเกิดเป็นน้ำไหลออกมาแต่ปลายนิ้วมือเข้าไปในคอลูกอ่อนนั้น ครั้นลูกอ่อนใหญ่รู้เดินไปมาได้แล้ว ลูกบ่อรู้จักแม่ แม่มิรู้จักลูก และงามเหมือนกันหมด เมื่อเขาแรกรักเป็นผัวเมียกัน เขาก็บ่ห่อนได้กันเป็นผัวเป็นเมีย เพราะเขาฝูงนั้นเป็นคนนักบุญ หากเทวดาตกแต่งเขาให้เป็นธรรมดา <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อเขาตายจากกัน เขามิได้เป็นทุกข์เป็นโศกมิร้องไห้ เขาเอาศพนั้นมาอาบน้ำแต่งแง่ (แต่งตัว) ทากระแจะจันทน์น้ำมันอันหอม นุ่งห่มผ้าให้แล้วเอาไปวางไว้ในที่แจ้ง ก็จะมีนกชนิดหนึ่งซึ่งบินอยู่ทั่วไปทั่วแผ่นดินอุตตรกุรุมาคาบเอาไป

    <O:p</O:pคัดและเรียบเรียงจาก เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสถียรโกเศศ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
  11. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เล่าเรื่องในไตรภูมิ ๖ (มนุษยภูมิ ๓)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เป็นที่ทราบกันว่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพระพุทธเจ้าก็ดี และอัครสาวกและพระอรหันต์ขีณาสพเจ้าก็ดี พระโพธิสัตย์อันจะตรัสเป็นพระพุทธเจ้าก็ดี และพระยาจักรวรรดิราชก็ดี “อันว่าท่านผู้มีบุญทั้งหลายดังกล่าวมานี้ไส้ บ่ห่อนรู้ไปเกิดในแผ่นดิน ๓ อันนั้นเลย “แผ่นดินอัน ๓ นั้นได้แก่ แผ่นดินอมรโตยานทวีป บุรพวิเทห์ทวีป และอุตตรกุรุทวีป ท่านผู้มีบุญทั้งหลายนี้ย่อมเกิดแต่ในชมพูทวีปเท่านั้น ถ้าคราวใดเกิดมีพระยาจักรวรรดิราชขึ้นในชมพูทวีป ฝูงชนทั้งหลายในทวีปทั้งหลาย จะมาเฝ้าแหนไหว้นบเคารพยำเกรงพระยาจักรวรรดิราช <O:p</O:p


    หนังสือไตรภูมิ เมื่อกล่าวถึงเรื่องชาวอุตตรกุรุทวีปไว้พิสดารยิ่งกว่าการพรรณนาเรื่องราวของชาวอมรโตยานทวีป และบุรพวิเทห์ทวีป ซึ่งกล่าวไว้นิดเดียว เสร็จแล้วก็กล่าวถึง พระยาจักรวรรดิราช เมื่อชาติก่อนเป็นคนกระทำบุญไว้มาก ครั้นตายไปเกิดในสวรรค์ แต่ลางคราวก็มาเกิดเป็นท้าวพระยามีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ปราบได้ทั่วทั้งจักรวาล ผู้มาเกิดเป็นท้าวพระยานี้ได้พระนามว่า พระยาจักรวรรดิราช ทรงพระคุณธรรมทุกประการ มีสมาทานศีล ๕ (ปัญจศีล) ทุกวันและ ศีล ๘ (อัฐศีล) ทุกวันอุโบสถมิขาดเป็นต้น มีแก้ว ๗ ประการ อันเป็นสมบัติของพระยาจักรพรรดราช คือ จักรแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี เมียแก้ว ขุนคลังแก้ว และขุนพลแก้ว
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จะกล่าวถึง กงจักรแก้ว หรือเรียกว่า “จักรรัตน์” ซึ่งจมอยู่ในท้องทะเล โดยลึกได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ จักรแก้วหรือจักรรัตน์นี้ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ (สัปตรัตน์) มีกงคือวงนอกของล้อ และดุมคือปุ่มซึ่งเป็นส่วนกลางของวงล้อล้วนเป็นแก้วมณี หัวกำหรือซี่ของล้อซึ่งฝังเข้าไปในดุมเป็นเงินและทองงามหนักหนา เมื่อเห็นปานดังดุมนั้นรู้หัวคือหัวเราะได้ ปากดุมหุ้มด้วยแผ่นเงินงามดั่งเดือนเพ็ญ แล้วพรรณนาเรื่องจักรแก้วนี้อีกมาก เมื่อรวมความจักรแก้วนั้นแสงเลื่อมพรายงามดังสายฟ้าแลบ รุ่งเรืองด้วยแสงดังรัศมีพระอาทิตย์ และรู้จักลอยไปไหนมาไหนในอากาศได้ จักรแก้วเกิดสำหรับบุญผู้เป็นพระยาจักรวรรดิราช ถ้าอายุของโลกกัลป์ใดไม่มีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกโพธิ กัลป์นั้นก็จะมีพระยาจักรวรรดิราชแทน ซึ่งจะต้องมีจักรแก้วและแก้วอีก ๖ แก้ว เป็นคู่พระบารมี<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อเกิดจักรวรรดิราชขึ้นในโลก จักรแก้ว ซึ่งเป็นของคู่บุญและจมอยู่ในมหาสมุทรก็จะผุดขึ้นจากท้องทะเล ซึ่งแหวกเป็นช่องให้เหาะพุ่งขึ้นไปในอากาศเกิดเป็นแสงเลื่อมพรายรัตน์พรรณรายงามดั่งดวงจันทร์วันเพ็ญ แลหมุนพุ่งขึ้นเทียมพระจันทร์ พอเพลาค่ำ ฝูงคนทั้งหลายในเมืองพระยาจักรวรรดิราชจะเห็นพระจันทร์ขึ้นมาในคืนนั้นเป็นสองดวง ครั้นจักรแก้วใกล้เข้ามายังอีก ๑๒ โยชน์ จะได้ยินเสียงจักรแก้วพัดและต้องลมเป็นเสียงดังไพเราะยิ่งกว่าเสียงพาทย์และเสียงพิณ ฆ้อง กลอง แตร สังข์ กังสดาล ดุริยดนตรี ทั้งหลาย ฝูงชนรู้สึกถูกเนื้อจำเริญใจยินหลากยินดีทุกคน และต่างประหลาดอัศจรรย์โจษขานกันต่าง ๆนานา พอจักรแก้วแล่นเข้ามายังอีกโยชน์หนึ่งจะถึงเมือง จึงได้ทราบว่าเป็นจักรแก้ว และคาดเดาได้ว่ามาด้วยบุญพระยาจักรวรรดิราชผู้เป็นเจ้านายของตน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จักรแก้ว มาถึงแล้วร่อนลงที่ประตูเมือง กระทำประทักษิณเวียนให้ขวารอบเมือง ๓ รอบ ๗ รอบแล้ว เข้าล่วงอากาศโดยหนทางหลวง เข้าสู่ราชมณเฑียรกระทำประทักษิณพระยาจักรวรรดิราช ๓ รอบ ๗ รอบแล้ว ก็ลงมานบนอบ จากนั้นพระยาจักรวรรดิราชก็เสด็จปราบทวีปทั้ง ๔ คือ ชมพูทวีป บุรพวิเทหฺทวีป อมรโคยานทวีป และอุตตรกุรุทวีป โดยการประทานโอวาทให้ชาวทวีปเหล่านั้นประพฤติและตั้งอยู่แต่คุณงามความดี แล้วเสด็จขึ้นกลับพระนคร <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กล่าวถึง “ช้างแก้ว”(หัสดีรัตน) ของพระยาจักรพรรดิราช เป็นช้างต้น คือช้างทรงโดยเฉพาะของพระองค์ อันเกิดมีขึ้นเพราะด้วยเดชบุญ เป็นช้างจำวพวกฉัททันต์ และอุโบสถตระกูล สีขาวงาม ตีนและงวงสีแดงแบะงามเหมือนกัน เหาะได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถัดมาเป็น “ม้าแก้ว” (อัศวรัตน) เป็นม้าจำพวกวลาหกในตระกูลม้าสินธพ มีขนงามดั่งสีเมฆหมอก กีบเท้าและหน้าผากแดงดั่งน้ำครั่ง เหาะได้เหมือนกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ต่อมาเป็น “แก้วดวง”(มณีรัตน) เป็นแก้วที่มีขนาดยาวได้ ๔ ศอก ใหญ่เท่าดุมเกวียนใหญ่สองหัวแก้ว มีดอกบัวทองสองดอก เป็นพระยาแก่แก้วทั้งหลาย ๘๔,๐๐๐ จำพวก เกิดอยู่ในยอดเขาพิบูลบรรพต (ไพบูลย์บรรพต) แก้วนี้สว่างไสวไปทั่วทุกแห่ง แม้มืดทั้ง ๔ ประการ คือมืดเพราะเดือนดับหรือมืดกลางคืน ๑ มืดเพราะป่าชัฏหรือป่ารก ๑ มืดเพราะมืดฟ้ามัวดิน ๑ มืดเพราะเที่ยงคืน ๑ ด้วยอำนาจแห่งพระยาแก้วนี้ ก็จะกลายเป็นไม่มืด แต่จะสว่างเป็นอย่างกลางวัน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คราวจะกล่าวถึง “นางแก้ว” (อิตถีรัตน) ซึ่งจะมาเป็นพระมเหสีคู่พระบารมี หญิงใดมีบุยอันได้กระทำมาแต่ก่อน และมาเกิดในแผ่นดิน อันนางแก้วนั้น

    บ่มิต่ำบ่มิสูง พองามพอดี มีพระฉวีเกลาเกลี้ยงหมดใสงามนักหนา มาตรว่าละอองธุลีน้อยหนึ่ง จะติดแปดเปื้อนกายนั้นหาบ่มีเลย ดุจดั่งดอกบัวและถูกน้ำนั้นแล”
    <O:p</O:p
    “เมื่อนางแก้วเจรจาก็ดี หัวร่อก็ดี กลิ่นปากนางแก้วนั้นหอมฟุ้งออกดั่งกลิ่นดอกบัวอันชื่อว่านิลุบลและจงกลนีเมื่อบานอยู่ อันว่า กลิ่นปากแห่งนางแก้ว หอมอยู่อย่างนั้นทุกเมื่อ แลเมื่อใดพระยามาหาสู่นางแก้ว นางแก้วนั้นมิได้นั่งอยู่ในที่อยู่ตนนั้น ย่อมลุกไปต้อนรับพระยา แล้วเอาหมอนทองมานั่งเฝ้าอยู่พัดพระยานั้น นางแก้วนั้นบ่ห่อนจะขึ้นนอนเหนือแท่นแก้วก่อนพระยานั้นสักคาบ แม้ว่านางแก้วนั้นจะกระทำการงานอันใด ๆ ก็ดี ย่อมไหว้ทูลแต่พระยานั้นให้ “ธ” (ท่าน) รู้ก่อน เมื่อใดพระยาสั่งให้นางจึ่งทำ นางนั้นบ่ห่อนละเมิดท่านผู้เป็นผัวเลยสักคาบ กระทำการอันใดๆ ก็ดี ย่อมจะต้องชอบใจผัวทุกประการ ว่ากล่าวการใด ๆ ก็ดี ย่อมพึงพอใจผัวทุกประการ อันว่านางแก้วนั้นจักได้เอาใจออกหากพระยานั้นน้อยหนึ่งจะได้เป็นผัวน้องแก้ว”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แก้วประการที่ ๖ คือ “ขุนคลังแก้ว”เกิดขึ้นเมื่อลุญแห่งพระยาจักรพรรดิราช และเป็นมหาเศรษฐีสืบมาแต่ตระกูลมหาศาล คำว่า มหาศาล หมายถึงผู้มั่งคั่งมีมากคือเป็นมหาเศรษฐี กษัตริย์มหาศาล ผิว่าพระยาต้องพระราชประสงค์ทรัพย์สิ่งสินอันใด ขุนคลังแก้วอาจสามารถนำมาถวายได้ เพราะขุนคลังแก้วนี้มีตาทิพย์หูทิพย์ ดังเทวดาในสวรรค์ แก้ว แหวาน เงิน ทอง อันใด แม้อยู่ลึกลงไปได้ ๑๖ โยชน์ หรืออยู่ใต้ท้องสมุทร ขุนคลังแก้วสามารถเห็นหมด ต้องการอย่างไหนก็นึกเอา สิ่งอย่างนั้นก็ขึ้นมาเอง และมาเป็นฝูงๆ ด้วย เพราะเหตุนี้พระยาจักรพรรดิราชจึงสามารถพระราชทานแจกจ่ายแก่ไพร่ฟ้าข้าไทด้วยสิ่งของอันมีค่าได้มาก ๆ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แก้วประการสุดท้าย คือ “ขุนพลแก้ว” (ปรินายกรัตน) อาจออกมาในรูปพระโอรสนับพันพระองค์ โอรสเหล่านี้มีรูปโฉมอันงามและย่อมรู้หลักนักปราชญ์แกล้วกล้าหาญทุกคน สามารถรู้เนื้อรู้ใจคนทั้งหลาย ผู้ใดดีผู้ใดร้ายก็รู้ อยู่ไกลได้ ๑๒ โยชน์ก็รู้ ความบ้านการเมืองและราชกิจอันใดก็รู้ กุมารเหล่านี้เป็นผู้ดูแลและจักทำไปด้วยความชอบธรรมทุกอย่าง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระยาจักรพรรดิราชนั้น เป็นเจ้าเป็นนายแก่คนทั้งหลาย อันมีในแผ่นดินใหญ่ ๔ แผ่น และแผ่นดินน้อย ๒,๐๐๐ อันมีในขอบจักรวาลนั้นแล พระอง๕ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม คือความประพฤติ ๑๐ ประการของพระมหากษัตริย์ ทรงสั่งสอนให้คนทั้งหลายตั้งอยู่ในคุณงามความดี ถึงคราวที่พระยาจักรพรรดิราชสวรรคตแล้ว จักรแก้วก็ไม่อยู่ จะคืนไปสู่ท้องสมุทรโพ้นดังเก่า
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คัดและเรียบเรียงจาก เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสถียรโกเศศ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
  12. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เล่าเรื่องในไตรภูมิ ๗ สวรรคภูมิ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เรื่องเล่าเกี่ยวกับเมืองสวรรค์และชาวสวรรค์ตามที่กล่าวไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง สูงขึ้นไปไกลพื้นดินแห่งโลกนี้ได้ ๔๖,๐๐๐ โยชน์ ถึงสวรรค์ชั้นแรก เรียกว่า จาตุมหาราชิกภูมิ แปลว่าเป็นแดนแห่ง ๔ มหาราช สวรรค์ชั้นนี้ตังอยู่เหนือจอมเขายุคลธร อันเป็นเขาแรกในเทือกทั้ง ๗ ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ บนเขายุคลธรทั้ง ๔ ทิศ โดยถือเอาเขาพระสุเมรุเป็นหลัก มีเมืองใหญ่ ๔ เมือง <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมืองอยู่ทิศตะวันออก ของเขาพระสุเมรุ มี ท้าวธตรฐ เป็นพระยาใหญ่แก่บริวารคนธรรพ (คนธรรพเป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่งรูปร่างหน้าตามที่เข้าใจกันเป็นครึ่งเทวดาครึ่งมนุษย์ เป็นนักเลงดีดสีตีเป่าและชอบผู้หญิง ชาวฮินดูเชือว่าท้าวโลกบาลประจำทิศตะวันออกนี้คือพระอินทร์น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมืองทางทิศตะวันตก มีท้าววิรุปักษ์เป็นพระยา เป็นใหญ่แก่พวกนาค ทางอินดูกล่าวว่าโลกบาลทิศตะวันตกเป็นพระยม<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมืองฝ่ายทิศใต้ มีท้าววิรุฬหกเป็นพระยาใหญ่แก่พวกกุมภัณฑ์ (ยักษ์ใหญ่ชนิดหนึ่ง ) ชาวฮินดูว่าเป็นพระวรุณ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมืองฝ่ายเหนือ มีท้าวไพศพเป็นพระยา เป็นใหญ่แก่พวกยักษ์ ฮินดูว่าโลกบาลทิศนี้ เป็นพระกุเวร เรียกตรงกันว่า ท้าวเวสสุวัณ เป็นพระยายักษ์ถือตระบองยืนแยงแย่อยู่เหนือเปลสำหรับเด็กอ่อน เพื่อป้องกันภัย <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อายุเทวดาในชั้นจาตุมหาราชิภูมิ ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นต่ำสุดได้ ๕๐๐ ปีทิพย์ เทียบกับ ๙ ล้านปีในเมืองมนุษย์ เทวดาเหล่านี้อยู่ปราสาทแก้ว ลอยอยู่กลางอากาศ เรียกว่าวิมาน หรือพิมาน ปราสาทนั้นกว้างเป็น ๓ ขนาด ๘๐๐ โยชน์ ๑๖,๐๐๐ โยชน์ และ ๘๘,๐๐๐ โยชน์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผู้ใดทำบุญกุศลไว้ ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดาชั้นนี้ ถ้าไปเกิดใน ผ้าภัพพในปราสาทหรือวิมานของเทวดาองค์ใด ได้ชื่อว่าเป็นลูกสาวของเทวดาองค์นั้น (ต่อมา ผ้าภัพพ เห็นจะตีหมายถึงผ้าพับ เพราะเปรียบลูกสาวใครมีกิริยาวาจาเรียบร้อย มักว่าเหมือนผ้าพับไว้) ถ้าผู้ใดไปเกิดเหนือที่นอน จะได้ชื่อว่าเป็นเมียของเทพยดาเจ้าของเทพยดาองค์นั้น ผู้ใดทำบุน้อยไปเกิดในกำแพงของเทพยดาองค์ใด ก็เป็นไพร่ฟ้าของเทพยดาองค์นั้น ถ้าไปเกิดนอกกำแพงอันทราบไม่ได้ว่าเป็นแดนวิมานของเทพยดาองค์ใด พระอินทร์ต้องเสด็จลงมาตัดสิน ถ้าเวลาเกิดบ่ายหน้าไปข้างวิมานของใคร ก็ทรงตัดสินเอาไว้เป็นไพร่ฟ้าขององค์นั้น เพื่อป้องกันมิให้เทวดาทะเลาะกัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผู้ที่ไปเกิดเป็นเทวดา พอเกิดเป็นตัวใหญ่ขึ้น ในที่นั้นบัดเดี่ยวและประดับด้วยถนิมพิมพาภรณ์รุ่งเรื่อง เหตุนี้เทวดาจึงได้ชื่อว่าผู้มีแสงรุ่งเรือง มีรูปโฉมนุ่มและงามสะพรั่งอายุได้ ๑๖ ปี มีตัวอันบริสุทธิ์ผุดผ่องหามณฑินบ่มิได้เลย มีกลิ่นกายหอม เทวดานั้นทำตัวนิมิตให้เล็กใหญ่เท่าใดได้ทั้งนั้น หรือหลายรูปกายเท่าใดก็ได้ และกินอาหารทิพย์ทุกวัน เพราะด้วยเหตุนี้ คำว่าเทวดาจึงแปลว่า ผู้เล่นตามอำเภอใจได้อีกความหมายหนึ่ง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ย่อมเป็นที่อยู่ของเทพยดารูปงาม แต่ไฉนมหาราชผู้เป็นพระยาโลกบาลซึ่งเป็นใหญ่จึงมีรูปร่างพิกล เช่นท้าววิรูปักษ์โลกบาล ประจำทิศตะวันตก ตามชื่อก็แปลว่ามีรูปตาวิกล จำพวกมีตาถลน ท้าวไพศพหรือเวสสุวัณ ก็มีหน้าเป็นยักษ์และมี ๓ ขา เกะกะมาก ที่มีรูปเช่นนี้ เห็นทีจะประสงค์ให้พวกปีศาจที่เป็นมิจฉาทิฐิเห็นแล้วตระหนกตกใจกลัว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พ้นจากสวรรค์ชั้นฟ้าจาตุมหาราชิกาไปได้ ๔๖,๐๐๐ โยชน์ คือเท่ากับระยะจากพื้นดินโลกไปถึงชั้นมหาจาตุราชิกา ก็ถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อันตั้งอยู่เหนือจอม เขาพระสิเนรุราชบรรพต หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เขาพระสุเมรุ สวรรค์ชั้นนี้เป็นเมืองของพระอินทร์ ผู้เป็นพระยาแห่งเทวดาทั้งหลาย เมืองพระอินทร์กว้างคณนาได้ ๘,๐๐๐,๐๐๐ วา มีปรางค์ปราสาทแก้ว มีกำแพงแก้ว มีประตูทองประดับด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการ เมื่อเผยประตูจะได้ยินเสียงดนตรีอย่างไพเราะ กลางนครไตรตรึงษ์หรือเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีไพชยนต์วิมานหรือปราสาทเป็นที่ประทับของพระอินทร์ ตั้งอยู่ท่ามกลางพิภพดาวดึงส์โดยสูงได้ ๒๕,๖๐๐,๐๐๐ วา ประดับด้วยสัตตพิธรัตนะ คือแก้ว ๗ ประการ งามนักงามหนา ไพชยนต์ปราสาทนั้นประกอบด้วยเชิงชั้นชาลา ๑๐๐ ชาลา แต่ละชาลามีวิมานได้ ๗๐๐ วิมาน วิมานหนึ่งมีนางเทพอัปสร ๗ คน คนหนึ่งมีนางฟ้าเป็นบริวาร ๗ คน รวมนางเทพอัปสรอยู่ในไพชยนต์ปราสาทดี ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ คน<O:p


    </O:pคำว่า “สวรรค์” เดิมเขาหมายเอาชั้นฟ้าของพระอินทร์ แห่งเดียวเท่านั้น แปลว่าที่ที่มีความสว่างรุ่งเรือง ตามความเชื่อลัทธิฮินดู นอกจากสวรรค์ ยังมีเมืองฟ้าของพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ ไวกูณฐ์ แห่งวิษณุโลกหรือพระนารายณ์ เขาไกรลาสแห่งศิวโลกหรือโคโลกของพระศิวะหรือพระอิศวร และสัตยโลกของพระพรหม ผู้ที่จะได้ไปเกิดในโลกของพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม โลกใดโลกหนึ่งนั้นได้ต้องเป็นผู้ภักดีนับถือพระองค์โดยเฉพาะจึงจะขึ้นไปอยู่ได้ นอกจากนี้แล้ว ถ้าอย่างดีก็ได้ไปเกิดได้เพียงบนสวรรค์เท่านั้น ต่อมาเกิดมีเมืองฟ้าเป็นหลายชั้น คำว่าสวรรค์ก็ใช้ทั่วไป ครอบเมืองฟ้าได้ทุกชั้น เพราะเป็นเมืองสว่างรุ่งเรืองทั้งนั้น เมืองฟ้าของพระอินทร์จึงมีชื่อเรียกเป็นพิเศษอีกชื่อหนึ่ง คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    " ดาวดึงส์ " แปลเป็นคำบาลีว่า ๓๓ หมายถึง เทวดาชั้นผู้ใหญ่ ๓๓ องค์ ลางทีเรียก “ไตรตรึงษ์” ซึ่งเป็นคำสันสกฤตแปลว่า ๓๓ เหมือนกัน ซึ่งมีเรื่องเล่าว่า เดิมพระอินทร์เป็นมนุษย์ชื่อ มฆมาณพ มีเพื่อนสนิทอยู่ ๓๒ คน ทำบุญกุศลไว้มาก เมื่อตายไปจึงไปเกิดเป็นเทวดาผู้ใหญ่อยู่บนสวรรค์ ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ตรงกลาง ชื่อว่าเมืองสุทัศน์ แปลว่า ดูงาม ซึ่งมีมาแต่เดิมครั้งพวกอสูรอยู่ เมื่อพระอินทร์กับพวกมาแย่งเมืองนี้ได้ จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า อมรวดี แปลว่าเมืองของผู้ไม่ตายหรือเทวดา ส่วนสหายทั้ง ๓๒ คนก็ไปเกิดเป็นเทวดาด้วย ต่างก็มีเมืองของตนตั้งอยู่รอบ ๆ เมืองสุทัศน์ของพระอินทร์ แบ่งกันอยู่ ๔ ทิศ ๆ ละ ๘ เมือง จึงมีเมืองทั้งหมด ๓๓ เมือง ตัวอย่างเทวดาผู้ใหญ่ที่เป็น สหายของพระอินทร์ เช่น มาตุลี ซึ่งมีหน้าที่เป็นสารถีขับรถให้พระอินทร์ เวสนุกรรมซึ่งเป็นนายช่างของเทวดา พระจันทรเทพบุตร พระสุริยเทพบุตร พระพิรุณซึ่งเป็นเจ้าแห่งฝน เป็นต้น

    <O:p</O:pพระอินทร์ มีหน้าที่คอยขับไล่และประหารพวกอสูร ซึ่งทำความมืดมัวให้แก่โลก โดยใช้สายฟ้าเป็นอาวุธ เรียกว่า วชิราวุธ เป็นเครื่องทำลายขจัดให้หมดสิ้นไป ถ้าอสูรตนใดทำความแห้งแล้งให้เกิดมีขึ้น พระอินทร์ก็จะล้างผลาญอสูรนั้นเสีย แล้วทำให้น้ำฟ้าหรือฝนตกลงมา เมื่อพระอินทร์คอยให้ความสว่างและความชุ่มชื่นเป็นประโยชน์แก่การเพาะปลูก มนุษย์ย่อมยินดีนับถือพระอินทร์ยิ่งกว่าเทพองค์อื่น ในที่สุดพระอินทร์ก็ได้เป็นใหญ่กว่าบรรดาเทพทั่งหมด แม้พระวรุณซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งฝนแห่งน้ำโดยตงก็สู้พระอินทร์ไม่ได้ คนจึงไม่ค่อยรู้จัก แล้วคำว่า อินทร์ มีความหมายขยายออกไปว่าผู้เป็นใหญ่ใช้ผสมเข้ากับคำอื่น แปลว่าเป็นใหญ่แก่สิ่งนั้น เช่น ผสมกับคำว่า สุระ เป็น สุรินทร์ แปลว่าเป็นใหญ่ในสุระคือเทวดา ผสมกับคำว่า นร เป็น นรินทร์ แปลว่าเป็นใหญ่ในนคร คือคน ได้แก่พระเจ้าแผ่นดิน ดั่งนี้เป็นต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระอินทร์ไปในทางไม่งดงาม เพราะไปผิดเมียของฤาษีตนหนึ่ง จนต้องถูกฤาษีสาปให้พระอินทร์มีนิมิตลับ คือเครื่องหมายของผู้หญิงพราวเต็มไปทั้งองค์ ภายหลังฤาษีนั้นหายโกรธแล้วจึงสาปแบ่งเบาเสียใหมา ให้สิ่งนั้นกลายเป็นตาไป เพราะเหตุนี้พระอินทร์จึงได้ชื่อว่าท้าวสหัสนัยน์ แปลว่าท้าวพันตา นอกจากพระอินทร์จะต้องระวังฤาษีและยักษ์ที่บำเพ็ญตบะ เพื่อให้มีอำนาจเหนือเทวดา ตบะ คือการทรมานกายอย่างยิ่งยวดเพื่อหวังผลให้เกิดฤทธิ์อำนาจต่างๆ ตามที่ต้องการ ถ้าบำเพ็ญตบะสำเร็จเมื่อใด พระอินทร์และเทวดาทั้งปวงจะได้รับความเดือดร้อนเมื่อนั้น เมื่อฤาษีหรือยักษ์ตนใดบำเพ็ญตบะแก่กล้า เห็นท่าไม่ดีแล้ว พระอินทร์ก็ใช้นางเทพอัปสรผู้เป็นนางบำเรอของเทวดาตนหนึ่งไปทำลายตบะด้วยวิธียั่วยวนชวนฤาษีหรือยักษ์ตนนั้น ให้ลุ่มหลงต่อความกำหนัดในสตรีเพศ เลิกความเพียรที่จะบำเพ็ญตบะต่อไป พระอินทร์และเทวดาก็รอดพ้นภัยไปคราวหนึ่ง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระอินทร์ทางพุทธศาสนาไม่เป็นตำแหน่งประจำตัว ใครทำบุญกุศลไว้มาก อาจขึ้นไปเกิดเป็นพระอินทร์ ด้วยบุญบารมีที่ตนทำไว้ เป็นพระอินทร์อยู่ตลอดเวลาที่บุญกุศลยังส่งให้อยู่ หมดบุญเมื่อใดต้องไปจุติ คือเคลื่อนจากความเป็นอยู่เดิมหรือตายจากเทวดาลงไปเกิดยังภพอื่น จะไปเกิดภพใดภูมิใดแล้วแต่กรรมที่ทำไว้ ส่วนตำแหน่งพระอินทร์ คนอื่นที่เขามีบุญสมควรกันขึ้นไปแทนและเป็นตำแหน่งคอยป้องกันและส่งเสริมพุทธศาสนาให้เจริญสืบไป
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คัดและเรียบเรียงจาก เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสถียรโกเศศ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
  13. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471

    เล่าเรื่องในไตรภูมิ ๗ (สวรรคภูมิ ๒)<O:p</O:p
    <O:p
    เมืองสุทัศน์ของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เบื้องตะวันออก มีสวนขวัญชื่อ นันทวนุทยาน หรือนันทอุทยาน แปลว่าสวนขวัญอันเป็นที่ยินดี เพราะมีต้นไม้ลูกไม้ดอกอย่างวิเศษและอุดม เป็นที่เล่นสนุกสนานสุขสำราญแก่เทพยดาทั้งหลาย ใกล้อุทยานทางเข้าสู่เมืองมีสระใหญ่ชื่อ นันทาโบกขรณีสระ ๑ (โบกขรณีแปลว่าสระบัว) ชื่อจุลนันทาโบกขรณีสร่อจุลนันทาปริปาสาณะ ๑ น้ำในสระใสงามดังแผ่นแก้วอินทนิล ริมฝั่งสระมีศิลาแก้ว ๒ แผ่น ชื่อ นันทาปริถิปาสาณแผ่น ๑ ชื่อจุลนันทาปริถิสาณแผ่น ๑ เป็นแผ่นศิลามีรัศมีรุ่งเรือง เมื่อจับดูจะรู้สึกว่าอ่อนดังว่าถือหนังเหน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทางทักษิณหรือทิศใต้ มีอุทยานชื่อ ผรุสกวัน แปลว่าสวนมะปราง ไม้ในสวนนี้อ่อนนิ้มค้อมงามนัก มีสระใหญ่ชื่อภัทราโบกขรณีสระ ๑ ชื่อสุภัทราโบกขรณีสระ ๑ ที่ฝั่งสระมีก้อนแก้วชื่อภัทราปริถีปาสาณก้อน ๑ ชือสุภัทราปริถิปาสาณก้อน ๑<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทางปัจฉิมทิศหรือทิศตะวันตก มีอุทยานใหญ่ชื่อจิตรลดาวัน แปลว่างามไปด้วยไม้เถา มีสระใหญ่ชื่อจิตรโบกขรณีสระ ๑ ชื่อจุลจิตรโบกขรณีสระ ๑ มีแผ่นศิลาแก้ว ๒ แผ่น แผ่นหนึ่งชื่อจิตรปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งชื่อจุลจิตรปาสาณ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทางทิศอุดีหรือทิศเหนือ มีอุทยานใหญ่ชื่อสักกวัน มีสระชื่อธรรมาโบกขรณีสระ ๑ ชื่อสุธรรมาโบกขรณีสระ ๑ มีศิลาแก้วอยู่ฝั่งสระ ๑ ชื่อธรรมาปริถิปาสาณก้อน ๑ ชื่อสุธรรมาปริถิปาสาณก้อน ๑<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทางทิศอิสานหรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุทยานใหญ่ชื่อมหาพล มีสระแก้วสระ ๑ (ไม่มีชื่อ) ส่วนทิศอื่นอีก ๓ ทิศ คือ ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ทิศอาคเนย์ (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ไม่มีกล่าวถึง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สำหรับ รถไพชยนต์ อันเป็นรถเทียมม้าของพระอินทร์ กล่าวว่าเป็นม้าแก้วมีจำนวนได้ ๒,๐๐๐ ตัว รถนี้มีความแวววาวประกอบด้วยทองคำและสัตตพิธรัตนหรือดวงแก้วต่างๆ ๗ ประการ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนท้าวจตุมหาราชทั้ง ๔ คุมบริวารเป็นกระบวนทัพอย่างกระบวนแห่
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท้าวธตรฐ มีบริวารคนธรรพ นับได้ว่าร้อยล้าน มีเครื่องประดับเหนือหัวและเนื้อตัวทั้งมวลเป็นเงินยวง ถือค้อนและสากเงินเป็นอาวุธ ไปยังกำแพงจักรวาลด้านทิศตะวันออก คือทิศที่ท้าวธตรฐเป็นโลกบาลประจำอยู่ตามคติของพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท้าววิรุฬหก มีบริวารเป็นผีเสื้อกุมภัณฑ์ไปสู่กำแพงจักรวาลด้านใต้ เครื่องประดับกายทั้งท้าววรุณหกและบริวาร ล้วนไปด้วยแก้วมณีรัตน์ พวกบริวารถือค้อนถือตะบองแก้วมณี ท้าววรุณหกขี่ม้า <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท้าววิรุณปักษ์ มีบริวารเป็นพวกนาค ไปสู่กำแพงจักรวาลด้านทิศตะวันตก เครื่องประดับเป็นแก้วประพาฬ มีหน้าสีแดง พวกบริวารที่เป็นเทวดาถือค้อนสากแห้วประพาฬ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท้าวไพศพ หรือท้าวเวสสุวัน มีบริวารเป็นยักษ์และเทวดาไปสู่กำแพงจักวาลด้านทิศเหนือ เครื่องประดับเป็นทองเนื้อสุก ทรงม้าสีทอง บริวารถือค้อนถือสากทอง
    <O:p</O:p
    ช้างทรงของพระอินทร์ เรียกช้างไอยราวัน มีสามหัว คำภาษาไทยเรียกว่าไอยราพต ไม่ใช่สัตว์เดรัจฉาน ช้างไอยราพตคือเทวดาองค์หนึ่งชื่อไอยราวันเทพบุตร เมื่อพระอินทร์เสด็จไปแห่งใด ไอยราวันเทพบุตรก็นิมิตตนเป็นช้างเผือกตัวหนึ่งใหญ่นัก โดยสูงได้ ๑,๒๐๐,๐๐๐ วา และมีหัวได้ ๓๓ หัว หัวน้อย ๆ สองหัวอยู่ข้างหัวใหญ่ เป็นชุดละ ๓๓ หัว หัวใหญ่ได้ ๒,๐๐๐ วา และหัวถัดเข้าไปทั้งสองข้าง แลหัวแล ๓,๐๐๐ วา ถัดเข้าไปแลหัวแล ๔,๐๐๐ วา ถัดเข้าไปอีกเป็น ๕,๐๐๐ วา และ ๖,๐๐๐ วา ตามลำดับ (คนว่า แลหัวแล อาจหมายความว่าแต่ละหัว ส่วนหัวใหญ่อยู่ท่ามกลางหัวทั้งหลายชื่อสุทิศน์ เป็นที่นั่งแห่งพระอินทร์โดยกว้าง ๒,๔๐๐,๐๐๐ วา) เหนือหัวช้างมีแท่นแก้วอันหนึ่ง กว้างได้ ๙๖,๐๐๐ มีปราสาทกลางแท่นแก้วสูงได้ ๘,๐๐๐ วา มีราชอาสน์หนาพร้อมด้วยหมอนใหญ่หมอนน้อย หมอนอิง องค์พระอินทร์นั้นสูงได้ ๖,๐๐๐ วา เสด็จประทับเหนือแท่นแก้ว มีเทพยดาขี่ ๒๒ หัว แต่ละหัวมีงา ๗ อัน งานละอันยาวได้ ๔๐๐,๐๐๐ วา และงานั้นแต่ละงามีสระได้ ๗ สระ สระนั้นแต่ละสระมีบัวได้ ๗ กอ กอบัวแต่ละกอมีดอก ๗ ดอก แต่ละดอกมีกลีบ ๗ กลีบ แต่ละกลีบมีนางฟ้ายืนจับระบำ ๗ คน นางแต่ละคนมีสาวใช้ได้ ๗ คน รวมยอดช้าง ๓๓ หัว มีงานได้ ๒๓๑ สระได้ ๑,๖๑๗ สระ กอบัวได้ ๑๑,๓๑๙ กอ ดอกบัวได้ ๗๙,๒๓๓ ดอก กลีบดอกบัวได้ ๕๕๔,๖๓๑ กลีบ นางฟ้าได้ ๓,๘๘๒,๔๑๗ คน และสาวใช้นางระบำได้ ๒๗,๑๗๖,๙๑๙ คน แลในงาช้างไอยราวันนั้น มีสถานสำหรับนางระบำและสาวใช้อยู่โดยกว้างได้ ๕๐ โยชน์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระอินทร์มีพระมเหสีซึ่งในไตรภุมิใช้คำว่านางผู้เมียหรือนางเมีย ๔ องค์ ชื่อนางสุธรรมา นางสุชาดา นางสุนันทา และนางสุจิตรา เวลาพระอินทร์เสด็จนั่งเหนือแท่นแก้ว นางสุธรรมานั่งเฝ้าอยู่ฝ่ายซ้าย นางสุชาดาอยู่ฝ่ายขวา นางสุนันทาอยู่ฝ่ายหลัง และนาง<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]สุจิตราอยู่เบื้อง ซ้ายอีกผู้หนึ่ง</st1:personName> เวลาเฝ้าย่อมมีบริวาร ถัดออกมาเป็นเหล่านางฟ้า ซึ่งเป็นเมียพระอินทร์ได้ ๙๒ คน ถัดออกไปอีกเป็นพวกนางฟ้าสาวสวรรค์ฟ้อนรำถวายแด่พระอินทร์ มีเทพธิดาดีดพิณ เป่าแตรสังข์ ตีบัณเฑาะว์ กลอง และเป่าปี่ เป็นต้น แต่ละสิ่งมีเพื่อนเป็นจำนวน ๖๐,๐๐๐ ทั้งนั้น และยังมีพวกคนธรรพอีกด้วย คนธรรพเป็นพวกศิลปินทางดนตรีของพระอินทร์ เป็นอมนุษย์ประเภทหนึ่ง ไม่ใช่เทวดา เมียพวกคนธรรพคือพวกนางอัปสร นางฟ้า และยังมีนางฟ้าที่เป็นเมียพระอินทร์อีกจำนวนหนึ่ง ๒๔,๐๐๐,๐๐๐ คน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มเหสีของพระอินทร์องค์ที่ชื่อสุชาดา เป็นธิดาของท้าวอสูรชื่อ เนวาสิกาสูร พระอินทร์แปลงเป็นยักษ์แก่ไปลักพาเอาขณะที่นางเสี่ยงพวงมาลัยเลือกคู่ ที่ว่าพระอินทร์มีเมียเป็นน่งฟ้าถึง ๒๔,๐๐๐,๐๐๐ คน ก็เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว แม้กระนั้นยังน้อยกว่านางฟ้าที่แห่ล้อมหน้าหลังพระศรีอาริยเมตตตรัย เมื่อเสด็จมาไหว้พระจุฬามณีบนสวรรค์ นางฟ้าที่แห่นำหน้าพระศรีอาริยเมตตรัยมาก่อนมีจำนวนได้แสนโกฎิคน แห่ห้อมมาทางซ้ายขวาอีกข้างละแสนโกฎิคน และตามเป็นกระบวนท้ายอีกสานโกฎิคน รวมหมดด้วยกัน ๔ แสนโกฎฺคน หรือ ๔,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ คน ที่กล่าวชัดเจนอย่างนี้ เห็นทีจะมีความมุ่งหมายอะไรสักอย่างหนึ่ง เพราะเพียงแค่เทวดาชั้นสามัญอย่างเลวเต็มที ยังมีนางฟ้าเป็นบริวารองค์ละพันคน อย่างดีก็ได้ถึงองค์ละแสนคน ผู้ใดเมื่อยังไม่ตาย เป็นคนทำบุญทำกุศล เพียงเอาทราบมาก่อเจดีย์บูชาพระศาสนาเท่านั้น ตายแล้วไปเกิดเป็นเทวดา มาได้บริวารเป็นนางฟ้าพันคน มนุษย์จึงปรารถนาหาความสุข มุ่งเพียรทำบุญปรารถนาไปเกิดเป็นเทวดาบ้าง
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    บนสวรรค์ไตรตรึงษ์ออกไปทางฝ่ายตะวันออกเฉียงใต้ มีพระเจดีย์องค์หนึ่งชื่อว่า พระเจดีย์จุฬามณี เป็นพระเจดีย์อินทนิลมณีประดับไปด้วยทองและแก้ว ๗ ประการ โดยคณนาสูงได้ ๘๐,๐๐๐ วา มีกำแพงทองล้วนสี่ด้าน ๆ ละ ๑๖๐,๐๐๐ วา ประดับด้วยธงประฎาก (ธงเป็นผืนห้อยยาวลงมาอย่างธงจระเข้) ธงไชย และกลดชุมสาย (กลดทำด้วยผ้าตาดทอง มีสายห้อยเป็นระย้าอยู่รอบๆ) มีเทวดาดีดสีตีเป่าเครื่องดุริยางค์ ดนตรีบำเรอถวายพระเจดีย์จุฬามณีอยู่ตลอดเวลา พระอินทร์ย่อมเสด็จไปนมัสการพระเจดีย์นี้มิได้ขาด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    กล่าวว่า พระมาลัยเถระ ซึ่งเป็นพระอรหันต์องค์สุดท้ายภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานล่วงมาแล้วตั้งพันปี ได้ขึ้นไปไหว้พระจุฬามณี พระอินทร์บอกพระมาลัยว่า สร้างไว้ให้เทวดาบูชา เรียกว่า พระเจดีย์จุฬามณีทาฒธาตุ แปลว่า พระเขี้ยวแก้ว ในที่นี้เป็นว่าบรรจุพระเกศา สร้างเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ คือเมื่อเสด็จออกบวช ทรงตัดพระเกศาแล้วพระอินทร์ไปรับเอาพระเกศาไปสร้างพระเจดีย์บรรจุไว้บนสวรรค์ ที่ไปไหว้พระเจดีญืจุฬามณีเห็นทีเพราะต้องการไปไหว้พระศรีอาริย์ ก็เพราะเมื่อพระมาลัยขึ้นไปไหว้พระเจดีย์จุฬามณี ก็เพื่อได้พบกับพระศรีอาริย์เทวโพธิสัตว์ แล้วจะได้แสดงคุณสมบัติแห่งพระศรีอาริย์พาให้คนทะเยอทะยานอยากพบบ้าง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นอก เมืองไตรตรึงษ์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีสวนอุทยานชื่อว่าบุณฑริกวัน ในสวนนี้มีไม้ทองหลางใหญ่ต้นหนึ่งชื่อปาริกชาติกัลปพฤกษ์ หรือเรียกย่อว่าต้นกัลปพฤกษ์



    <O:p</O:p
    ใต้ต้นกัลปพฤกษ์มีแท่นศิลาแก้วชื่อบัณฑุกัมพลเป็นแท่นสีแดงเข้มดังดอกละเอ้ง (ดอกชบา) และอ่อนดังฝูกผ้าอ่อน เมื่อพระอินทร์นั่งเหนือแผ่นศิลานี้ แท่นจะมีอาการอ่อนยุบลงไปเพียงสะดือ เมื่อพระอินทรืลุกขึ้นจากแท่นนี้ แท่นก็จะเต็มดังเดิม ใกล้ๆ กับที่นี้มีศาลาใหญ่ชื่อสุธรรมาเทพสภา เป็นที่ประชุมและเป็นที่ฟังธรรมเทศนาของเทวดา ใกล้กำแพงทองล้อมรอบศาลาสุธรรมา มีดอกไม้ชนิดหนึ่ง ชื่ออสาพติ หอมนักหนา บานพันปีละครั้งเท่านั้น ส่วนดอกปาริชาติร้อยปีจึงบานครั้งหนึ่ง ส่งกลื่นหอมฟุ้งไปได้แสนวา เวลาดอกไม้บาน เทวดาพาไปเก็บดอกไม้ทิพย์เหล่านี้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมืองสวรรค์ไตรตรึงษ์ของพระอินทร์มีเทวดาฟังธรรม ตรวจดูบัญชีรายการนำเสนอพระอินทร์ ถ้าในบัญชีแผ่นทองปรากฏว่ามนุษย์ทำบุญมากเทวดาก็จะดีใจแซ่ซ้องสาธุการ ถ้าในบัญชีมีน้อย เทวดาก็จะร้องว่า โอ้ อนิจจาคนทั้งหลายทำบุญกันน้อยนักหนา ตายไปจะไปนรก ดังนั้นเห็นจะกล่าวได้ในที่สุดนี้ว่า ที่กล่าวเรื่องเมืองสวรรค์ไว้งดงามมโหฬารคือกว้างขวางอย่างใหญ่ ก็เพื่อประโยชน์จะให้รับความเพลลิดเพลินเป็นอุดมคติให้คนเร่งขวนขวายประพฤติแต่การบุญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    แท่นบัณฑุกัมพลของพระอินทร์ เป็นแท่นที่ชาวไทยรู้จักกันมาก ถ้ามีเหตุอะไรเป็นเรื่องเดือดร้อนขึ้นในเมืองมนุษย์ แท่นนี้จะมีอาการปรากฏแข็งกระด้าง ไม่อ่อนนุ่มเหมือนเวลาปกติ เป็นเครื่องหมายบอกให้พระอินทร์รู่ว่ามีเรื่องร้ายเป็นเหตุเภทภัยแก่ผู้มีบุญในเมืองมนุษย์ขึ้นแล้ว เป็นหน้าที่ของพระอินทร์จะต้องเสด็จลงไปช่วย หรือให้ใครลงไปช่วยแทน

    คัดและเรียบเรียงจาก เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสถียรโกเศศ<O:p</O:p
     
  14. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    เล่าเรื่องในไตรภูมิ ๗ (สวรรคภูมิ ๓)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สูงขึ้นไปเหนือสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ถึงชั้นฟ้าชื่อ ยามา เป็นสวรรค์หรือเทวโลกชั้นที่สาม สวรรค์ชั้นนี้มีปราสาทแก้ว ปราสาทเงินเป็นวิมาน มีสวนแก้วอุทยานและสระโบกขรณี งดงามไม่แพ้สวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นยามาชื่อสุยามเทวราช สวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงกว่าวิถีโคจรพระอาทิตย์ แสงแดดส่งไปไม่ถึง แต่ก็ไม่มืด เพราะด้วยรัศมีแก้วและรัศมีตัวเทวดาส่องสว่างอยู่เสมอ ไม่รู้จักรุ่ง จักค่ำ อาศัยดอกไม้ทิพย์บานเมื่อใดก็รู้ว่ารุ่ง ถ้าหุบเมื่อใดก็รู้ว่าค่ำ เพราะฉะนั้นท่านจึงแปลคำยามาในสวรรค์ชั้นนี้ว่า เป็นสวรรค์มีแต่เวลาหรือยามดีตลอดไปไม่มีค่ำ เทวดาบนสวรรค์ชั้นยามามีอายุยืนได้ ๒,๐๐๐ ปีทิพ เท่ากับ ๑๔๒,๐๐๐,๐๐๐ ปีในมนุษย์ หรือ ๒๐๐ ปีเมืองมนุษย์เท่าวันกับคืนบนสวรรค์ชั้นนี้ สวรรค์ชั้นยามามีกล่าวไว้เพียงเท่านี้ และเป็นสวรรค์ที่ชาวบ้านไม่รู้จักชื่อ เพราะไม่สู้มีกล่าวไว้ในวรรณคดี<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถัดขึ้นไปสูงได้ ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ ถึงสวรรค์ชั้นดุสิต เป็นเทวโลกชั้นที่ ๔ ดุสิตแปลว่าเป็นที่บันเทิง มีพระยาผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นนี้ชื่อสันอุสิตเทวราชพระโพธิสัตว์ ซึ่งจะเสด็จลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ในสวรรคชั้นนี้มีพระศรีอาริย์โพธิสัตว์ซึ่งจะมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในภายหน้า เป็นต้น อายุเทวดาชั้นดุสิตยืนได้ ๔,๐๐๐ ปีทิพ เท่ากับ ๕๗๖,๐๐๐,๐๐๐ ปีเมืองมนุษย์ หรือ ๔๐๐ ปี เมืองมนุษย์เป็นวันกับคืนในสวรรค์ชั้นดุสิต
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ต่อสูงขึ้นไปอีกได้ ๓๓๖,๐๐๐ โยชน์ ถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี แปลว่า เทวดาผู้ยินดีในการเนรมิต นึกอะไรก็เนรมิต ไม่ต้องให้ใครถวายใครสังเวยเหมือนเทวดาอื่นที่อยู่ต่ำลงมา นี้จัดเป็นเทวโลกชั้นที่ ๕ เทวดานี้อายุยืน ๘,๐๐๐ ปีทิพ หรือ ๒,๓๐๔,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พ้นสวรรค์นิมมานรดีไปได้ ๖๗๒,๐๐๐ โยชน์ ถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิควสวัสตตี แปลว่า เทวดาผู้เป็นอิสะ หรือเป็นผู้ควบคุมการเนรมิตของผู้อื่น คือจะเนรมิตเองก็ได้ หรือ จะให้ผู้อื่นเนรมิตแทนก็ได้ จัดเป็นเทวโลกชั้นที่ ๖ หรือชั้นสูงสุดของเทวดา เทวดาชั้นนี้มีอายุยืน ๑๖,๐๐๐ ปีทิพ หรือ ๙๒๑,๖๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์ มีพระยาชื่อปรนิมมิตวสวัสตตี อันพระยามาราธิราชผู้เป็นใหญ่แก่มนุษย์มารทั้งหลายก็อยู่บนสวรรค์ชั้นนี้ แต่อยู่กันคนละฝ่ายกับเทวดาเพราะไม่ถูกกัน เพราะพระยามารเป็นผู้คอยขัดขวางไม่ให้พระโพธิสัตว์ลงมาตรัสเป็นพระพุทธเจ้า เพราะกลัวมนุษย์จะขึ้นสวรรค์กันมาก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถัดจากสวรรค์ชั้นสูงสุดขึ้นไป ถึงพรหมโลกเป็นที่อยู่ของพวกพรหม พรหมโลกนั้นอยู่ไกลขึ้นไปยิ่งนัก ไกลแสนไกลจนไม่อาจกำหนดนับคณนาได้ แม้ศิลาก้อน ๑ เท่ากับปราสาทเหล็กอันได้ชื่อว่าโลหะปราสาท ซึ่งมีอยู่ในลังกาทวีปโพ้น เอาทอดทิ้งลงไปจากชั้นพรหมปาริสัชชา ซึ่งเป็นพรหมโลกชั้นต่ำสุด และบ่มิข้องขัดสักแห่งเลย แม้ว่าดี่งนี้ก็ดี กินเวลาตกลงมาได้ ๔ เดือนจึงจะมาถึงแผ่นดินที่เราอยู่นี้ ถ้าเทียบความรู้ปัจจุบัน พรหมโลกก็เท่ากับเป็นดวงดาวต่างๆ ซึ่งอยู่ห่างหรือไกลจากโลกเรานี้ไปไกลแสนไกลอันไม่อาจกำหนดนับได้กันตามธรรมดา ต้องกำหนดเอา ปีแสงสว่าง (Light year) เป็นหน่วยนับแทนจำนวนปี แสงสว่างนั้นมีความเร็วแล่นไปได้วินาทีละ ๑๘๗,๐๐๐ ไมล์ หรือ ๑๘,๐๐๐ โยชน์ ถ้าปีหนึ่งเป็นจำนวนเลขสักเท่าไรที่แสงสว่างจะแล่นไปได้ ก็จะเป็นจำนวนเลขไม่แพ้กับที่กล่าวไว้ในไตรภูมิ<O:p</O:p
    <O:p


    พรหมโลกจัดเป็น ๒ จำพวก พวกหนึ่งเป็นพรหม มีรูปร่างเรียกว่ารูปพรหม มีทั้งหมดด้วยกัน ๑๖ ชั้นหรือโสฬส เรียกอีกอย่างหนึ่งรวมกันว่า รูปวจร อีกพวกหนึ่งไม่มีรูปร่างเรียกว่าอรูปพรหม มีด้วยกัน ๔ ชั้น เป็นอรูปพรหม รวมทั้งสอง พวกก้เป็น ๑๖ ชั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คนที่จะไปเกิดในพรหมโลก ได้แก่ ผู้เข้าฌานบรรลุชั้นตามที่มีกำหนดในเรื่องวิธีเข้า ฌาน (Trance) ผู้ที่ไปเกิดเป็นพรหมจุงมักเป็นพวกพรหมณ์ พวกฤาษีแทบทั้งนั้น บนพรหมโลกทุกชั้นมีปราสาทแก้วและมีเครื่องประดับงามยิ่งกว่าของเทวดาตั้งพันเท่า ในพรหมโลกล้วนมีแต่ผูชาย พรหมผู้หญิงไม่มี เพราะฉะนั้นพรหมจึ้งพ้นจากกามตัณหา ไม่มีเรื่อง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เครื่องบำรุงบำเรอ ไม่มีลูกไม่มีเมีย จึงไม่จำเป็นต้องมีเพศ พวกพรหมนั้นมีอายุยืนยาวนานมาก จะไม่นับปีด้วยล้านโกฎิไม่พอกัน จะคำนวณได้ก็ด้วยเอาจำนวนมหากัลป์เป็นจำนวนนับหน่วยสำหรับนับ พรหมชั้นต่ำมีอายุได้ครึ่งมหากัลป์ อย่างชั้นสูงถึง ๘๐,๐๐๐ มหากัลป์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มหากัลป์ แปลว่ากัลป์ใหญ่ มีความนานแสนนานเหลือที่จะนับได้ด้วยปี เป็นระยะเวลาระหว่างที่ โลกธาตุหรือสากล (Universe) หรือสากลจักรวาลเกิดหรือทำลายใปคราวหนึ่งๆ มหากัลป์แบ่งออกเป็น อสงไขยกัลป์ ๔ อสงไขย แปลว่าเหลือที่จะนับได้
    อสงไขยที่ ๑ คือเวลาตอนที่โลกถึงแก่ความประลัยหรือทลายไป เพราะด้วยไฟและน้ำและลมมาล้างให้หมดสิ้นไป <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อสงไขยที่ ๒ คือระยะเวลาที่โลกธาตุทลายพินาศแล้ว ยังมีความว่างเปล่าอยู่<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อสงไขยที่ ๓ คือระยะเวลาโลกธาตุเกิดใหม่
    <O:p</O:p
    อสงไขยที่ ๔ คือระยะเวลาที่โลกธาตุมีขึ้นจนกว่าจะถึงระยะเวลาประลัยทลายอีก เท่ากับเป็นอายุของโลกธาตุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ระยะเวลาอสงไขยที่ ๑ ช้านานเท่าไร เป็นเรื่องไม่สามารถนับได้ จึงต้องใช้วิธีอุปมาดังว่า เอาผ้าทิพย์อันอ่อนบางเหมือนควัน มากวาดภูเขาซึ่งสูงได้โยชน์ ๑ และวัดโดยรอบได้ ๑ โยชน์ ในระยะเวลาร้อยปีว่ากวาดครั้งหนึ่ง เมื่อใดภูเขานั้นราบเพียงแผ่นดินเป็นหน้ากลองก็เป็นอสงไขยกัลป์หนึ่ง นักปราชญ์ตะวันตกผู้หนึ่ง (A Remusat) เคยคำนวณหาจำนวนอสงไขยกัลป์ ได้ตัวเลขเป็น ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ปี เป็นอสงไขนกัลป์หนึ่ง แต่มีนักปราชญ์ตะวันตกคนอื่นไม่เห็นด้วย เห็นว่า อสงไขยกัลป์หนึ่งเท่ากับจำนวนเลขตัวหนึ่ง มีเลขศูนย์ตาม ๙๗ ตัว เป็นเลขศูนย์ตาม ๑๖๘ ตัวก็มี บ้างว่ามีจำนวนเลขศูนย์ ๑๔๐ ตัว
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    อสงไขยกัลป์ ๑ แบ่งเป็น ๒๐ อันตรกัลป์ แปลว่ากัลป์อยู่ในระหว่าง จะหมายความว่าเป็นเวลาอยู่ได้อย่างไรไม่ทราบได้ แล้วอันตรกัลป์นี้ยังแบ่งออกเป็นระยะเจริญและเสื่อม ระยะเจริญแบ่งออกเป็น ๔ ยุค มีพระยาจักรพรรดิราชมาเกิดเป็นลำดับกันได้ ๔ องค์ คือเป็นยุคที่เจริญขึ้นตามลำดับ อายุของคนจึงเจริญยืนนานเป็นลำดับตั้งแต่ ๑๐ ปี จนมีอายุขัยได้ ๘๔,๐๐๐ ปี เจริญถึงที่สุด แล้วก็ถึงระยะที่เสื่อม แบ่งออกเป็น ๓ ยุค เป็นยุคเกิดโรคระบาด เกิดสงคราม และเกิดข้าวยากหมากแพงต้องอดตาย อายุของคนเริ่มเสื่อมลงจนเหลืออายุขัยได้เพียง ๑๐ ปีเท่านั้น
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    นอกจากกล่าวถึงกัลป์แล้ว ยังมี สูญกัลป์ คือกัลป์ที่ว่างไม่มีพระพุทธจ้ามาตรัส และพุทธกัลป์คือกัลป์ที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัส ถ้ามีมาตรัสเพียงพระองค์เดียวในกัลป์นั้น เรียกว่า สารกัลป์ ถ้ามีมาตรัส ๒ พระองค์ เรียกว่า มณฑกัลป์ ถ้ามี ๓ พระองค์ เรียกว่า สารมณพกัลป์ ถ้ามี ๕ พระองค์ เรียกว่า ภัทรกัลป์ ได้แก่กัลป์ในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีพระพุทธเจ้ามาตรัส ๕ พระองค์ คือพระพุทธเจ้า พระกุกุสันโธ พระโกนาคมน์ พระกัสสป พระโคตรมะ ยังพระศรีอาริยเมตตรัย ภัทรกัลป์มีความนานได้ ๒๓๖ ล้านปี และล่วงมาแล้ว ๑๕๑ ล้านปี <O:p</O:p
    <O:p

    คัดและเรียบเรียงจาก เล่าเรื่องในไตรภูมิ ของ เสถียรโกเศศ


    จบบริบูรณ์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
  15. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    ขออนุโมทนาสำหรับธรรมทานที่นำมาบอกเล่า และตักเตือนกันค่ะ
    อยากอยู่ตรงไหนก็เร่งสร้าง เร่งปฏิบัติกันนะคะ..สาธุ..
     
  16. kyokonk

    kyokonk Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +45
    ขอบคุณครับ
    ผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีแล้ว มีประโยชน์
     
  17. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ขอบคุณแม่บุญญฯ เจ้าของกระทู้ และคุณเจงผู้แนะนำนะคะ ดีมากค่ะเดี๋ยวกลับมาค่อยๆ อ่านใหม่นะคะ สาธุค่ะ

    [​IMG]
     
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    อนุโมทนาสาธุ จ่ะ ขอบคุณพี่บุญญ จ่ะ ที่นำบทความดีๆ มาเผยแพร่ มาให้ได้อ่าน.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...