รวมคำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เนื่องในวัน คล้ายวันเกิดหลวงพ่อวันที่ ๕ ต.ค.

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 24 สิงหาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    " ร่างกายของเราจะอยู่ในโลกอีกไม่กี่วัน มันก็พัง ฉนั้นในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ท่านบอกว่ามีความสุข พระอรหันต์ทั้งหลาย ร่างกายของท่านพัง ท่านบอกว่าท่านมีความสุข เราก็พยายามทำให้สุข เหมือนอย่างท่านบ้าง ข้อสำคัญจงจำไว้ว่า จงอย่า คิดว่าเราดีไว้เสมอ มองดูความบกพร่องของจิต ว่าจิตของเราบกพร่องตรงไหนบ้าง พยายามแก้ไขให้สู่ระดับความดี ..... "



    ขอแจ้งให้ทราบว่าทุกคนที่ต้องการเป็นศิษย์ ไม่ต้องขออนุญาต ขอให้ปฏิบัติตามนี้ อยู่ที่ไหนไม่เคยเห็นหน้ากันเลยก็รับเป็นศิษย์ คือ
    ๑.ศิษย์ชั้น ๓ พยายามรักษาศีล ๕ ได้เสมอ อาจจะขาดตกบกพร่องบ้าง แต่ก็พยายามรักษาให้ครบถ้วนมากที่สุดที่จะทำได้ อย่างนี้ขอรับไว้เป็นศิษย์ชั้น ๓ คือศิษย์ขนาดจิ๋ว
    ๒.ศิษย์รุ่นกลาง มีปฏิปทาดังนี้ มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ พยายามรักษาอารมณ์ให้ทรงสมาธิเสมอตามสมควร ไม่ละเมิดศีลเป็นปกติ อย่างนี้ขอรับไว้เป็นศิษย์รุ่นกลาง
    ๓.ศิษย์เอก มีปฏิปทาดังนี้
    (ก)รักษาศีล ๕ ครบถ้วนเป็นปกติ
    (ข)เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ไม่สงสัยในความดีของท่าน มีอารมณ์ตั้งมั่นว่า ถ้าตายไปจากคนชาตินี้ ขอไปนิพพานจุดเดียว พยายามละความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นปกติ
    ถ้าปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมานี้ มาพบหรือไม่มา ขออนุญาตเป็นศิษย์ หรือไม่ขออนุญาตก็ตาม ให้ทราบว่าอาตมารับเป็นศิษย์แล้วด้วยความเต็มใจ
    " ตั้งใจไว้โดยเฉพาะว่าเราไม่ต้องการอย่างอื่น เราต้องการอย่างเดียว คือพระนิพพาน

    เห็นใครเขาตาย ก็นึกว่าไม่ช้าเราต้องตายอย่างเขา เห็นใครเขาแก่ ก็นึกว่าไม่ช้าเราก็ต้องแก่ตามเขา เห็นใครเขาป่วย ก็นึกว่าไม่ช้าเราก็ป่วยตามเขา ถ้ามันตายแล้วไปไหนก็นึกว่าช่างมันไม่เอาอีกแล้ว ความเกิดที่เต็มไปด้วยความ*** เต็มไปด้วยความทุกข์ เราไม่ต้องการมันอีก เราต้องการอย่างเดียว คือ แดนพระนิพพาน เป็นแดนอมตะ ไม่มีความแก่ ไม่มีความเจ็บ ไม่มีความป่วยไข้ ไม่มีความไม่สบาย ไม่มีทุกข์แม้แต่เท่าขี้เล็บ ไม่มีทุกข์เลยในแดนพระนิพพาน..."

    [​IMG]


    " จงเห็นว่าไม่มีอะไรเหลือเลยในโลกนี้ เห็นทุกอย่างเป็นเรื่องสมมุตคิทั้งสิ้น แปรปรวน เสื่อมไป สลายไป ทุกอย่างไม่มีอะไรควรยึดถือทั้งสิ้น...... "

    การที่จะหนีอบายภูมิทั้ง ๔ คือการไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัชฉาน ต่อไปนั้น ต้องกำจัดสังโยชน์ คือ อารมณ์ชั่ว ๓ ประการ ให้พ้นจากใจ อารมณ์ชั่วทั้ง ๓ ประการ คือ

    ๑. ที่มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่ตายตัดทิ้งไป ให้มีความรู้สึกว่ามันจะต้องตายแน่และไม่ประมาทในชีวิต คิดทำความดีต่อไป
    ๒. วิจิกิจฉา ความสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ตอนนี้ตัดทิ้งไป ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
    ๓. สีลัพพตปรามาส มีการปฏิบัติในศีลไม่แน่นอน ไม่จริงจัง อันนี้ต้องทิ้งไปหันมากลับมาปฎิบัติในศีลให้แน่นอนและจริงจัง ฆราวาสเพียงแค่ศีลห้า หรือว่ากรรมบถ ๑๐ ใช้ได้แล้ว สำหรับภิกษุสามเณรก็มีศีลของท่าน
    (จากหนังสือ หนีนรก)

    [​IMG]


    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ...นัตถิ โลเก อนินทิโต... คนไม่ถูกนินทาเลยไม่มีในโลก พระพุทธเจ้าเองยังถูกนินทา อาตมาเป็นสาวกรุ่นจิ๋วของพระองค์ทำไมจะไม่ถูกนินทา เวลานี้คำนินทา คำติเตียนก็เกลื่อนโลก เต็มโลกไปหมด ไม่เห็นหนักใจอะไร จะนินทาสักเท่าไหร่ก็ตาม ก็แก่ลงไปทุกวัน ใครเขาสรรเสริญยังไงก็ตาม ก็ยังแก่ลงทุกวัน นินทาก็แก่ สรรเสริญก็แก่ ฉะนั้น คำนินทาและสรรเสริญทั้ง ๒ ประการนี้ ท่านพุทธบริษัท องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ทรงแนะนำว่า จงอย่าถือเอาเลยทั้ง ๒ อย่าง

    (จากหนังสือ หนีนรก)

    [​IMG]

    สำหรับ กรรมบถ ๑๐ ที่บอกแล้วว่ามีทั้งศีลและธรรม ศีลก็คือว่าศีลข้อที่ผ่านมาแล้วฝ่ายธรรมชัดๆ ก็คือ มโนกรรม ที่ไม่อยากได้ทรัพย์สมบัติของใครอย่างหนึ่ง ไม่พยาบาทจองล้างจองผลาญอย่างหนึ่ง มีความเห็นถูกตามพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอย่างหนึ่ง ความจริงธรรมทั้ง ๓ ประการนี้ถ้าอย่างอ่อน ๆ ก็เป็นพระสกิทาคามี ถ้าปฏิบัติได้อย่างกลางๆ ก็เป็นอนาคามี ถ้าปฏิบัติได้อันดับสูงสุด เป็นอรหันต์เลย ธรรมะ ๓ ประการนี้ไม่ใช่ของเล็กน้อย หนักมาก ใหญ่มาก มีคุณมีประโยชน์มาก

    (จากหนังสือ หนีนรก)


    [​IMG]




    เราก็ต้องรู้ด้วยว่าร่างกาย ความจริงมันไม่ใช่เรา มันไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เรา คือจิตที่เรียกว่า อทิสมานกาย ที่เข้ามาอาศัยร่างกายเป็นเรือนร่างที่อาศัยอันนี้ ร่างกายมันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา แล้วมันก็ไม่อยู่ในอำนาจของเรา เราจะปรนเปรอบังคับบัญชามันอย่างไรก็ตาม มันจะไม่ยอมปฏิบัติตามด้วยประการ



    [​IMG]

    สังโยชน์ 10 ประการ ได้แก่

    1 สักกายทิฏฐิ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้เป็น เราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา
    2 วิจิกิจฉา สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
    3 สีลัพพตปรามาส ลูบคลำศีลไม่รักษาศีลจริงจัง
    4 กามฉันทะ พอใจในกามคุณ
    5 ปฏิฆะ มีอารมณ์กระทบใจ จิตมีความโกรธ
    6 รูปราคะ หลงในรูปฌาน
    7 อรูปราคะ หลงในอรูปฌาน
    8 มานะ มีการถือตัวถือตน
    9 อุทธัจจะ มีอารมณ์ฟุ้งซ่าน
    10 อวิชชา ไม่รู้ตามความจริงของเรื่องนิพพาน

    [​IMG]


    อุเบกขาบารมีตัวนี้ พระองค์ทรงตรัสว่า ตรงกับภาษาไทยที่ใช้กันเป็นปกติว่า ช่างมัน ขันติบารมีนี่ก็เหมือนกันใช้คำว่าช่างมัน ตรงตัวดี คนที่มี บารมีต้น นี่นะ เขาเก่งแค่ทานกับศีลอย่างเก่ง ถ้าอุปบารมี ก็เก่งแค่ฌานสมาบัติ จิตใจพอใจมาก แต่พูดเรื่องนิพพานไม่เอาด้วย คนที่มีบารมีเข้าถึง ปรมัตถบารมีเท่านั้น จึงจะพอใจในนิพพาน



    [​IMG]


    ลูกรักทั้งหลาย ธรรมส่วนใดที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอน ที่พ่อจะปกปิดไว้ไม่มี พ่อสอนหมดทุกอย่าง เมื่อพ่อตายแล้ว ขอลูกแก้วของพ่อ จงประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยส่วนนี้ทั้งหมด ในเมื่อขันธ์ 5 มันทรงไม่ไหว พ่อก็อยู่ไม่ได้ พ่อสอนลูกอยู่เสมอว่า ขันธ์5เป็นของธรรมดา มัน เกิด แก่ เจ็บ และตายเหมือนกันหมด ลูกจะเกาะขันธ์ 5 ของพ่ออยู่อย่างนี้ตลอดกาลตลอดสมัยไม่ได้ ความดีที่จะเกิดมีขึ้นนั้นไซร้คือการปฏิบัติตนเอง ฟังแล้วก็จำ จำแล้วก็คิด คิดแล้วก็ปฏิบัติตาม ถ้าสามารถทำได้ ในที่สุดในไม่ช้าก็จะบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคล


    แหล่งที่มา : พ่อรักลูก ๒
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    [​IMG]




    ไปนิพพานนี่ไปไม่ยาก ตัดตัวเดียวที่ร่างกาย คือ สักกายทิฏฐิ ตัวอย่าง ท่านปูติคัตตติสสะ ติสสะ เนื้อเน่านะ ปูติคัตตะ แปลว่ากายเน่า ท่านติสสะ อาศัยที่ท่านฆ่านกชาติก่อนแล้วก็หักแข้งหักขานกหักปีกบ้าง เป็นต้น เวลาเก็บไว้ข้างวัน พอมาชาติหลังนี่พอท่านบวชพระก็ป่วย ฌานสมาบัติท่านก็ไม่ได้ ท่านพุพองทั้งตัว ผลที่สุดก็เน่าทั้งตัว จนปฏิบัติไม่ได้ พระพุทธเจ้าทรงมาแนะนำว่า ติสสะ เธอจงพิจารณาตาม ความเป็นจริงว่าร่างกายนี้อีกไม่ช้าก็จะนอนทับถมพื้นแผ่นดิน จะมีวิญญาณไปปราศแล้วมีสภาพมีสภาพเหมือน ท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ ฟังเสียงแค่นี้ พระติสสะ จิตตัดร่างกายทันที พระพุทธเจ้าบอกว่าร่างกายไม่มีความหมาย ท่านก็เลยไม่ติดในร่างกายแล้วก็ตายทันที พระถามว่า ติสสะ ตายแล้วไปไหน พระพุทธเจ้าบอกว่าไปนิพพาน


    [​IMG]



    ลูกทุกคนของพ่อเป็นคนดี อยู่ในโอวาทขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้นลูกทุกคนจึงเป็นที่รักของพ่อ ใครเขาจะเกลียด ใครเขาจะชังลูก เป็นเรื่องของเขา แต่ว่าพ่อรักลูกทุกคนเสมอกัน ต้องการอย่างเดียว คือ จำนำทางให้ลูกพ้นทุกข์ เข้าไปหาแดนความสุข ที่ไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่มีความหนักใจแม้แต่นิดเดียว นั้นคือ พระนิพพาน

    [​IMG]




    ความโลภ ท่านสอนไว้ว่า ตัดได้ด้วยการบริจาคทาน เพราะการบริจาคทานเป็นการเสียสละที่มีอารมณ์จิตประกอบด้วยเมตตา การให้ทานที่ถูกต้องนั้นท่านสอนให้ ๆทาน ด้วยความเคารพในทาน คือให้ด้วยความเต็มใจและให้ด้วยอากรสุภาพ ก่อนจะให้ให้ทำความพอใจ มีความยินดีในเมื่อมีโอกาสได้ให้ โดยคิดว่า ขณะนี้เราได้มีโอกาสทำลายล้างโลภะ ความโลภ อันเป็นรากเหง้าของกิเลสได้แล้ว มหาปุยญลาโภ บัดนี้ลาภใหย๋มาถึงเราแล้ว คิดแล้วก็ให้ทานด้วยความเคารพในทาน ผู้รับนั้นจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นผู้มีร่างกายบริบรูณ์ หรือทุพพลภาพก็ตาม ขอให้มีโอกาสได้ให้ก็ปลื้มใจแล้ว เมื่อให้ทานไปแล้วทำใจไว้ให้แช่มชื่นเป็นปกติเสมอ

    [​IMG]




    การถือตัวถือตนว่า เราเสมอเขาก็ดี เราดีกว่าเขาก็ดี เราเลวกว่าเขาก็ดี เป็นปัจจัยของความทุกข์



    อย่ามองคน ด้วยฐานะ อย่ามองคน ด้วยศักดิ์ศรี อย่ามองคน ด้วยความรู้ความสามารถ มองคนแต่เพียงว่าสภาพของเขา เป็นวัตถุเหมือนสภาพของเรา จิตใจของเราพร้อมในการเมตตาปรานีไม่ถือตน เขาจะมาในฐานะเช่นใดก็ช่าง ถือว่าเป็นเพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด การกำหนดอารมณ์ อย่างนี้ เราก็สามารถจะกำจัดตัวมานะ การถือตัวถือตนเสียได้ อย่างนี้เรียกว่า อรหัตมรรค







    [​IMG]












    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>


    คนที่เข้าถึงพระโสดาบันน่ะ มีอารมณ์เป็นสุขปกติ ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คำว่า ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ก็คือ เขาเฮที่ไหนไปที่นั่น เขาลือที่โน่นดีไปที่โน่น เขาลือที่นี้ดีมาที่นี่ ผลที่สุด หาดีอะไรไม่ได้ จับไม่ถูก มีอารมณ์ไม่แน่นอนมี สติไม่ตรง อย่างนี้ไม่ใช่พระโสดาบัน

    สำหรับพระโสดาบันน่ะอยู่ที่ไหนก็อยู่ที่นั่น ที่ไหนไม่สำคัญ คำสอนของอาจารย์องค์ไหน พระองค์ไหน องค์ไหนๆ ก็ไม่สำคัญ ถ้าตรงต่อคำสอนของ องค์สมเด็จพระบรมสุคต พระโสดาบันยอมรับ ย่อมไม่ถือว่าอาจารย์เป็นสำคัญ ถือพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ ไม่ใช่ไปนั่งนับถือตัวบุคคลว่า พระองค์นั้นสอนดี พระองค์นี้สอนไม่ดี อาจารย์องค์นั้นสอนดี อาจารย์องค์นี้สอนไม่ดี เขาไม่ถืออาจารย์เป็นตัวสำคัญ เพราะท่านถือว่าเป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส


    ที่มา: ทางสายสู่พระนิพพาน พิมพ์โดย: สส.

    [​IMG]



    อารมณ์ปฐมฌาน ก็คือว่า เมื่อกิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นสำหรับเรา อารมณ์นี้ จะคุมอยู่ในอนุสติทั้งหกตลอดเวลา เราจะไม่ลืมพระพุทธเจ้า เราจะไม่ลืมพระธรรม เราจะไม่ลืมพระสงฆ์ เราจะไม่ลืมศีล เราจะไม่ลืมพระนิพพาน เราจะไม่ลืมนึกถึงความตาย

    ที่มา: ทางสายสู่พระนิพพาน พิมพ์โดย: พิบูลย์
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    อารมณ์ปฐมฌาน ก็คือว่า เมื่อกิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นสำหรับเรา อารมณ์นี้ จะคุมอยู่ในอนุสติทั้งหกตลอดเวลา เราจะไม่ลืมพระพุทธเจ้า เราจะไม่ลืมพระธรรม เราจะไม่ลืมพระสงฆ์ เราจะไม่ลืมศีล เราจะไม่ลืมพระนิพพาน เราจะไม่ลืมนึกถึงความตาย

    ที่มา: ทางสายสู่พระนิพพาน พิมพ์โดย: พิบูลย์



    [​IMG]



    การพิจารณาปลงใจอย่างนี้ เป็นที่ชอบใจขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งนี้เพราะพิจารณาอยู่อย่างนี้เป็นปกติอารมณ์ของท่าน อย่างเลวท่านก็เป็นพระโสดาบัน ดีขึ้นไปอีกนิดหนึ่งท่านก็เป็นพระสกิทาคามี ดีขึ้นไปอีกหน่อยหนึ่งท่านก็เป็นพระอนาคามี แต่จิตทรงอย่างนี้ได้จริงๆ ตลอดเวลานั่น ท่านเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์เป็นกันตรงนี้เท่านั้น เป็นไม่ยาก


    ที่มา: ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า ๗


    [​IMG]



    ขณะใดที่ลูกยังรักษาอภิญญาสมาบัติ และปฏิปทาสาธารณะประโยขน์ ขณะนั้นลูกจงภูมิใจเถิดว่าพ่ออยู่กับลูกตลอดเวลา ถึงแม้ร่างกายกายาของพ่อจะสลายไปแล้วแต่ใจของพ่อยังอยู่ที่ใจของลูก ขึ้นชื่อว่าลูกไปไหนพ่อไปด้วยช่วยลูกทุกประการ

    พิมพ์โดย: ศิษย์ยานุศิษย์


    [​IMG]


    การที่จะเป็นพระโสดาบันมีกฎบังคับว่า ถ้าอารมณ์จิตต่ำกว่าปฐมฌาน จะเป็นพระโสดาบันไม่ได้ หรือว่าจะเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้ อย่างเลวที่สุด จิตต้องทรงอยู่ ในปฐมฌานเป็นปกติ และ อย่างดีที่สุด จิตก็จะทรงอยู่ในฌาน 4 เป็นปกติ แต่ฌาน 4 นี่ปกติ ไม่ได้ปกตินี่ หมายความว่า ถึงเวลาที่เราจะใช้ ในยามปกติ ธรรมดา เราพูด เราคุย เราทำงาน จิตต้องอยู่ในปฐมฌานเป็นปกติ แล้วอารมณ์ปฐมฌานเป็นอย่างไร


    การที่จะทรงความดีเต็มระดับตามที่กล่าวมาให้ครบถ้วน ให้ปฏิบัติดังนี้
    ๑. คิดถึงความตายไว้ในขณะที่สมควร คือไม่ใช่ทุกลมหายใจเข้าออก เมื่อตื่นขึ้นใหม่ๆ อารมณ์ใจยังเป็นสุข ก่อนที่จะเจริญภาวนาอย่างอื่น ให้คิดถึงความตายก่อน คิดว่าความตายอาจจะเข้ามาถึงเราในวันนี้ก็ได้ จะตายเมื่อไรก็ตามเราไม่ขอลงอบายภูมิ ที่เราจะไปคืออย่างต่ำไปสวรรค์ อย่างกลางไปพรหม ถ้าไม่เกินวิสัยแล้วขอไปนิพพานแห่งเดียว คิดว่าไปนิพพานเป็นที่พอใจที่สุดของเรา
    ๒. คิดต่อไปว่าเมื่อความตายจะเข้ามาถึงเราจะเป็นเวลาใดก็ตาม เราขอยึดพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต คือไม่สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ยอมเคารพด้วยศรัทธาคือความเชื่อถือในพระองค์ ขอปฏิบัติตามคำสอนคือกรรมบท ๑๐ประการโดยเคร่งครัด ถ้าความตายเข้ามาถึงเมื่อไรขอไปนิพพานแห่งเดียว

    ที่มา: โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๑ หน้า ๘พิมพ์โดย: ไม่ประสงค์ออกนาม

    [​IMG]



    บารมี นี่แปลว่า เต็ม
    คราวนี้มาว่ากันถึงการปลดร่างกาย จะมานั่งปลดกันเฉย ๆ จะมองทุกข์กันเฉย ๆ มันก็มองไม่เห็น มองเห็นเหมือนกันแต่ไม่ชัด องค์สมเด็จพระสวัสดิโสภาคย์ได้แสดงกฎของการปลดทุกข์ คือ ปลดอารมณ์แห่งความทุกข์ สร้างอารมณ์ความสุขให้เกิดขึ้นกับใจ มีอยู่ 10 อย่าง ด้วยกันคือ
    (1) ทานบารมี

    (2) ศีลบารมี
    (3) เนกขัมมบารมี
    (4) ปัญญาบารมี
    (5) วิริยบารมี
    (6) ขันติบารมี
    (7) สัจจบารมี
    (8) อธิษฐานบารมี
    (9) เมตตาบารมี
    (10) อุเบกขาบารมี
    คำว่า บารมี นี่แปลว่า เต็ม เมื่อเต็มแล้วก็ต้องเต็มจริง ๆ เป็นอันว่าถ้าบารมีทั้ง 10 ประการนี้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์ ที่เรียกว่า ปรมัตถบารมี สำหรับพระสาวกนะ ไม่ใช่อันดับขั้นพระพุทธเจ้า สำหรับขั้นพระสาวกนี้ใช้อารมณ์ต่ำ อารมณ์ไม่สูงนักไม่ใช่ขั้นพระพุทธเจ้า
    ถ้าหากว่าบารมีทั้ง 10 ประการนี้เป็น ปรมัตถบารมี
    คำว่า ปรมัตถบารมี หมายความว่า มีอารมณ์ทรงสูงอย่างยิ่ง คำว่าอย่างยิ่งก็หมายความว่าไม่เคลื่อนไป อารมณ์ที่มีอาการตรงกันข้ามไม่เกิดขึ้นกับจิตใจของเรา


    ที่มา: เร่งรัดปฏิบัติ พิมพ์โดย: พ.บ.

    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ปลงให้เห็นว่า อนิจจัง นี่มันเป็นของไม่เที่ยงจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งหมดในโลกนี้

    ถ้าไม่เที่ยงเราไปยึดมันเข้าแล้วมันเป็นทุกข์ ต้องปล่อยตามมันๆ จะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน

    แล้วในที่สุดมันก็เป็นอนัตตา พังสลายตัวหมด อย่าไปยึดไปถือมัน อย่าไปยึดว่าจะมีอะไรเป็นเราเป็นของเราต่อไป แม้แต่ร่างกายเรายังพัง ในเมื่อร่างกายเรายังพังแล้วจะมีอะไรทรงอยู่ อะไรมันทรงอยู่แล้วก็ตาม ถ้าหากว่าร่างกายเราพังแล้ว เราก็ไม่มีสิทธิ์จะมายึดว่ามันเป็นเราเป็นของเรา


    ที่มา: ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า ๑๗

     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,894
    [​IMG]


    หากว่าท่านทั้งหลายที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วจะ ใช้ปัญญาใคร่ครวญในขันธ์ห้า ที่เรียกกันว่าร่างกาย ว่านี่ร่างกายเราเต็มไปด้วยความสกปรก ร่างกายของเราเป็นของไม่เที่ยง ถ้าเรายึดว่ามันเป็นเรา เป็นของเราอยู่ จิตมันก็เป็นทุกข์ เราจะปล่อยมันไปเสียเพราะมันเป็นอนัตตา ในที่สุดนั้น ร่างกายคนอื่นหรือว่าทรัพย์สินอื่นๆ ในโลกก็เช่นเดียวกัน



    [​IMG]




    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เราสักแต่ว่าเห็น เราสักแต่ว่ารู้ ไม่ยึดถือว่ามันเป็นเราของเรา ถ้าทำจิตอย่างนี้ได้จนเป็นเอกัคตารมณ์ มีปัญญาเห็นได้ชัด สามารถตัดขันธ์ห้า คือไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ห้าได้ ใจจะเป็นสุข ถ้าพิจารณาอย่างนี้ได้เสมอๆ จะไม่กำหนดรู้คำภาวนา ไม่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกก็ได้





    พระพุทธเจ้ามีกฎแห่งการสอนอยู่ว่า


    ๑. สัพพปาปัสสะ อะกะระณัง ให้บรรดาพระสงฆ์และพระองค์เองก็เช่นเดียวกัน พยายามสอนให้ทุกคนละจากความชั่วทุกประเภท คือไม่ทำความชั่วทุกประเภท ไม่ทำ ไม่พูด และก็ไม่คิดซะด้วย
    ๒. กุสลัสสูปสัมปทา แนะนำให้ทำความดีทุกประการ
    ๓. สจิตตะปริโยทะปะนัง แนะนำสั่งสอนให้มีจิตใจผ่องใส คือไม่มีอารมณ์มัวหมอง มีอารมณ์สดชื่นอยู่เสมอ
    ๔. เอตัง พุทธานะสาสะนัง ท่านยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด


    ที่มา: แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ



    ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ระมัดระวังเรื่องจิตใจให้มาก ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนให้ใช้อนุสสติ คือ ตามนึกถึงความดี คือนึกยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า ๑ ยอมรับนับถือพระธรรม ๑ ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์ ๑ นี่เรียกว่า เป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ พยามยามนึกถึง ความดีของเทวดา นึกถึงความตายที่จะเข้ามาถึง นึกถึงอารมณ์ของพระนิพพาน อย่างนี้เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาท่านพุทธบริษัท ไม่ต้องครบทั้งหมด

    องค์สมเด็จพระบรมสุคตทรงสอนว่า ขึ้นชื่อว่าความชั่วที่ทำมาแล้วในกาลก่อน จงอย่าตามนึกถึงมัน นึกถึงความดีที่ทำไว้แล้วเท่านั้น ผลของความดีจะส่งผลให้เป็นสุข คือไปเกิดบนสวรรค์ได้


    ที่มา: แนะวิธีหนีนรกแบบง่ายๆ

    [​IMG]



    เวลาที่เราจะเข้ามาเจริญสมาธิจิต ให้ตัดอารมณ์ที่มีความห่วงใยที่เรียกกันว่า ปลิโพธ

    คิดเสียว่าเวลานี้ เราเป็นบุคคลคนเดียว เราไม่มีเพื่อน เราไม่มีพี่เราไม่มีน้อง เราไม่มีอะไรทั้งหมด แม้แต่ร่างกายนี่ก็เหมือนกัน เราก็ไม่ถือว่าเป็นสาระเป็นแก่นสาร เป็นร่างกายจริงๆจังๆอะไรของเรา เพราะมันมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มีความแก่ไปในท่ามกลาง แล้วก็มีการสลายตัวไปในที่สุด


    เป็นอันว่าร่างกายนี่ก็ไม่ใช่ภาระของเราที่จะต้องห่วงเกินไป เป็นอันว่าเวลานี้เราเป็นคนไม่มีห่วง เรามีภาระอย่างเดียวคือจับจิตเฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งซึ่งเป็นมหากุศล จะพาตนไปสู่สวรรค์ก็ได้ ไปสู่พรหมโลกก็ได้ ไปสู่พระนิพพานก็ได้


    ที่มา: กรรมฐาน ๔๐



    อานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานแก้อารมณ์ฟุ้งซ่านของจิต นอกจากจะใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน จะใช้อนุสสติ อื่นๆ รึว่า กสิณ รึว่า อสุภ ควบคุมก็ได้ ตามใจชอบ แต่ว่าจุดใหญ่จริงๆ ต้องยึดอา นาปานุสสติกรรมฐาน ไว้เป็น อารมณ์ นี้เพื่อป้องกัน จิตโยกโคลง หมายความว่า จิตมีความสะทกสะท้านมาก จิตไม่ทรงตัว ถ้าจิตของเรา ไม่ทรงตัว มีการหวั่นไหวมาก การเจริญพระกรรมฐานก็ไร้ผล


    ที่มา: พรหมวิหาร ๔




    ความเมตตากรุณา ใน 2 ประการนี้ องค์สมเด็จพระชินศรีทรงสอนว่า ในอันดับแรก อย่าเพิ่งแผ่เมตตาไปในบุคคลที่เราคิดว่าเป็นศัตรู ต้องยับยั้งไว้ก่อน ให้แผ่เมตตาคือ ความรัก กรุณาความสงสาร เฉพาะในบุคคลกลุ่มเดียวกัน มีอารมณ์ไจเหมือนกันเป็นกลุ่มคนที่เรารัก เพราะว่าถ้ามุ่งหน้าไปหาศัตรูแล้วก็จิตมันจะหวั่นไหว

    จนเมื่อกำลังใจของเรามั่นคงดีแล้วต่อไปเราก็ มองดูองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสงเคราะห์ไม่เลือกบุคคลใด เพราะกำลังใจเข้มแข็ง ความจริง พระเทวทัตเป็นศัตรูของพระองค์มานับแสนกัป แต่ตอนที่พระเทวทัตมา ก็บวชกับองค์สมเด็จพระบรมครู พระองค์ก็ไม่ทรงถือโทษ กลับให้การอุปสมบท สอนให้ได้อภิญญาสมาบัติ น้ำพระทัยขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ เห็นศัตรูเป็นมิตร มีจิตประกอบไปด้วยความเมตตาปรานี พระพุทธเจ้าทำอย่างไร เราก็ทำอย่างนั้น แต่ตอนนี้ต้องขอให้ ใจมันสูงเสียก่อนนะ กำลังใจเข้มแข็งเสียก่อน

    ที่มา: พรหมวิหารสี่

    ...............ความประสงค์ที่เจริญสมาธิก็คือ ต้องการให้อารมณ์สงัด และเยือกเย็น ไม่มีความวุ่นวายต่ออารมณ์ที่ไม่ต้องการ และความประสงค์ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ อยากให้พ้นอบายภูมิ คือไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เปตร อสุรกาย สัตย์เดียรฉาน อย่างต่ำถ้าเกิดใหม่ขอเกิดเป็นมนุษย์และต้องเป็นมนุษย์ชั้นดีคือ
    ๑. เป็นมนุษย์ที่มีรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ไม่มีอายุสั้นพลันตาย
    ๒. เป็นมนุษย์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ทรัพย์สินไม่เสียหายด้วย ไฟไหม้ โจรเบียดเบียน น้ำท่วม หรือลมพัดทำลายเสียหาย
    ๓. เป็นมนุษย์ที่มีคนในปกครองอยู่ในโอวาท ไม่ดื้อด้านดันทุรังให้มีทุกข์ เสียทรัพย์สินและเสียชื่อเสียง
    ๔. เป็นมนุษย์ที่มีวาจาไพเราะ เมื่อพูดออกไปเป็นที่พอใจของผู้รับฟัง
    ๕. เป็นมนุษย์ที่ไม่มีอาการปวดประสาท คือปวดศรีษะมากเกินไป ไม่เป็นโรคประสาทไม่เป็นบ้าคลั่งเสียสติ
    ..............รวมความว่าโดยย่อก็คือ ต้องการเป็นมนุษย์ที่มีความสงบสุขทุกประการ เป็นมนุษย์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินทุกประการ ทรัพย์สินไม่เสียหายจากภัย ๔ ประการคือ ไฟไหม้ ลมพัด โจรรบกวน น้ำท่วม และเป็นมนุษย์ที่มีความสงบสุข ไม่เดือดร้อนด้วยเหตุทุกประการ

    ที่มา: โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๑ พิมพ์โดย: สมชาย


    ...ขอให้ทุกท่าน จงอย่าหลงตัวว่าเป็นผู้ทรงญาณ เป็นพระอริยเจ้า ความเป็นพระอริยเจ้าไม่ต้องประกาศ เห็นหน้าปั๊บรู้จักได้ยินชื่อ ก็รู้ว่าเป็นพระอริยเจ้า หากว่าท่านยังไม่เป็น และหลงว่าเป็นนี่มันจะซวย ไม่ต้องประกาศเขา ความดีอยู่ที่เรา เราไม่ได้บวชเพื่อบูชาของชาวบ้าน เราบวชเพื่อความดับไม่มีเชื้อ...





    ไม่มีความลำบากสำหรับคนที่มีอารมณ์ใจเข้มแข็งและเป็นคนมีความฉลาด ฉลาดในที่นี้ต้องหลีกจากกิเลส จงอย่าเอากิเลสมาฉลาด จำพุทธสุภาษิต

    อัตตนา โจทยัตตานัง จงเตือนตนด้วยตนเอง

    กล่าวโทษโจษความผิดอย่างโยกความผิด อย่าโยกโทษให้ไปอยู่กับใคร ถ้าความเร่าร้อนในใจเกิดขึ้นกับเรา เราต้องแสวงหาความผิดของตนเอง กล่าวโทษโจษตนเองไว้เสมอ ถ้าเราไม่เลวไม่มีความเร่าร้อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...