อกุศลมูล ๓ กุศลมูล ๓

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 17 สิงหาคม 2009.

แท็ก: แก้ไข
  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อกุศลมูล ๓
    อกุศลมูล ๓ (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง รางเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้ง
    ปวง เมื่อกำเริบจะแสดงออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ
    ๑. โลภะ ความอยากได้ โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูป
    แบบซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ
    ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ในตน
    ๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิด
    กิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คน
    พาล และเป็นภัยต่อสังคม วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ
    ๓. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป้นรากเหว้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆ
    มากมาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้ง
    ส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย


    กุศลมูล ๓
    กุศลมูล ๓ หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความดีทั้งปวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ตรงกันข้ามกับ อกุศลมูล มี ๓ ประการดังนี้
    ๑. อโลภะ ความไม่อยากได้ อโลภะ คือ ความเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก เป้นผู้ที่มีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดๆ มีแต่ความยินดี
    และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่เท่านั้น การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโลภะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโลภะ เช่น สันโดษ ความพอใจ ทาน การบริจาค จาคะ การเสีย
    สละ อนภิชฌา ความไม่โลภไม่อยากได้ของผู้อื่น เป็นต้น
    ๒. อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย อโทสะ คือ คสามไม่คิดประทุษร้าย ไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท จะทำอะไรก็มีสติรู้สึกตัวอยู่เสมอใช้ปัญญาในการ
    ประกอบการตัดสินใจต่างๆ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา ความ
    สงสาร อโกธะ ความไม่โกรธ อพยาบาท ความไม่ปองร้ายผู้อื่น อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน ตีติกขาขันติ ความอดทนต่อความเจ็บใจ เป็นต้น
    ๓. อโมหะ ความไม่หลง อโมหะ คือ ความไม่หลงงมงาย ไม่ประมาทอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคงใช้ปัญญา
    พิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล เมื่อมีอโมหะเกิดขึ้นกับตัวแล้ว โลภะ โทสะ และโมหะ ก็มิอาจเกิดขึ้นได้ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติ
    ธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษารับฟังมาก วิมังสา หมั่นตรึกตรองพิจารณา สัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ โยนิโสมนสิการ การรู้
    จักตรึดตรองให้รู้จักดีชั่ว ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น

    ตายไม่สูญ...แล้วไปไหน

    ....ความจริง “ตายแล้วไม่สูญ”และ “ตายแล้วไปไหน”นี้ไม่น่าจะเป็นที่ข้องใจของท่านเลย เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วอย่างละเอียดว่า เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ทางที่ไปก็มี ๕ สายคือ <O:p</O:p

    ๑) อบายภูมิ ได้แก่เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย และเป็นสัตว์เดรัจฉาน<O:p</O:p
    ๒) เกิดเป็นมนุษย์<O:p</O:p
    ๓) เกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าอยู่บนสวรรค์<O:p</O:p
    ๔) เกิดเป็นพรหม<O:p</O:p
    ๕) ไปพระนิพพาน<O:p</O:p
    ท่านที่ตายแล้วจะไปเกิดที่ใด พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกเหตุที่จะไปเกิดไว้ครบถ้วนตามกฎของกรรมคือการกระทำ ได้แก่ความประพฤติดีหรือชั่วในสมัยที่เกิดเป็นมนุษย์นี้เอง กฎของกรรมหรือความประพฤติดีหรือชั่วที่จะพาไปเกิดในที่ใดที่หนึ่ง ตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ๕ ทางนั้น ท่านว่าไว้อย่างนี้<O:p</O:p

    แดนเกิดสายที่หนึ่ง ที่เรียกว่า อบายภูมิ

    แดนเกิดสายที่หนึ่ง ที่เรียกว่า อบายภูมิ มีนรกเป็นต้นนั้น เป็นผลจากความประพฤติชั่ว คือก่อกรรมทำเข็ญในสิ่งที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่คนและสัตว์ ท่านจัดกฎใหญ่ๆ ไว้ ๕ ประการคือ<O:p</O:p
    ๑) เป็นคนมีใจโหดร้าย ชอบข่มเหงรังแก เบียดเบียนคนและสัตว์ให้ได้รับความเดือดร้อนโดยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นความดี หมายถึงละเมิดศีลข้อที่ ๑<O:p</O:p
    ๒) มือไว ชอบลักขโมยของที่เจ้าของยังไม่อนุญาต หรือฉ้อโกงเอาทรัพย์สินของคนอื่นด้วยเล่ห์กลโกง หมายถึงละเมิดศีลข้อที่ ๒<O:p</O:p
    ๓) ใจเร็ว ได้แก่มีจิตใจไม่เคารพในความรักของคนอื่น ชอบลอบทำชู้ บุตร ภรรยาและธิดา สามี ของคนอื่นด้วยความมัวเมาในกามคุณ หมายถึงละเมิดศีลข้อที่ ๓<O:p</O:p
    ๔) พูดปด ได้แก่พูดไม่ตรงต่อความเป็นจริงเพื่อหวังทำลายประโยชน์ของผู้อื่นโดยเจตนา หมายถึงละเมิดศีลข้อที่ ๔<O:p</O:p
    ๕) ชอบทำตนให้เป็นคนหมดสติ ด้วยการย้อมใจให้หมดความรู้สึกในการรับผิดชอบด้วยนํ้าเมา หมายถึงละเมิดศีลข้อที่ ๕<O:p</O:p
    กรรม คือความประพฤติในกฎ ๕ ประการนี้ ท่านว่าตายจากความเป็นคนแล้วไปสู่อบายภูมิมีตกนรกเป็นต้น<O:p</O:p

    แดนเกิดสายที่สอง คือเกิดเป็นมนุษย์

    แดนเกิดสายที่สอง คือเกิดเป็นมนุษย์ ท่านว่าคนที่ตายแล้วจะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ ต้องมีกรรมบถ ๑๐ หรือที่รู้กันง่ายๆ ก็คือ เป็นคนมีศีล ๕ ประจำได้แก่<O:p</O:p
    ๑) เป็นคนมีเมตตาปรานี ไม่รังแกข่มเหง ทำร้ายใครไม่ว่าคนหรือสัตว์ มีความรัก เมตตาปรานีคนและสัตว์เสมอด้วยรักตนเอง<O:p</O:p
    ๒) ไม่มือไว คือเคารพสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอื่น ไม่ยอมถือเอาทรัพย์สินของใครมาเป็นของตน ในเมื่อเจ้าของไม่อนุญาตด้วยความเต็มใจ<O:p</O:p
    ๓) ไม่ใจเร็ว ละเมิดความรักในบุตร ธิดา ภรรยา สามีของบุคคลอื่น<O:p</O:p
    ๔) ไม่เป็นคนไร้สัจจะ พูดแต่เรื่องที่เป็นสาระตรงต่อความเป็นจริง<O:p</O:p
    ๕) ทำตนให้เป็นคนมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คือเป็นคนมีอารมณ์รับรู้ความดีความชั่วตามกฎของกรรม ไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอยด้วยน้ำเมาต่างๆ<O:p</O:p
    ท่านที่ทรงความดี ๕ อย่างนี้ได้ ท่านว่าตายจากความเป็นคนแล้ว มีสิทธิ์กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ได้<O:p</O:p

    แดนเกิดสายที่สาม ได้แก่สวรรค์

    แดนเกิดสายที่สาม ได้แก่สวรรค์ อาการที่ทำให้คนเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์ ท่านบรรยายไว้มาก แต่เมื่อสรุปกล่าวโดยย่อมี ๒ อย่างคือ
    <O:p</O:p
    ๑) เป็นคนมีความละอายต่อความชั่ว ไม่ยอมทำชั่วในที่ทุกสถาน<O:p</O:p
    ๒) เกรงผลของชั่ว จะทำให้เกิดความเดือดร้อน<O:p</O:p
    เหตุ ๒ ประการนี้ เป็นผลทำให้ตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้า<O:p</O:p

    แดนเกิดสายที่สี่ ได้แก่พรหมโลก<O:p</O:p

    แดนเกิดสายที่สี่ ได้แก่พรหมโลก พรหมกับเทวดามีดินแดนที่เกิดเป็นคนละแดนกัน พรหมท่านว่าศักดิ์ศรีดีกว่าเทวดาและมีชั้นภูมิสูงกว่า มีอำนาจมากกว่า มีความสุขดีกว่า ความสวยสดงดงามก็ดีกว่าเทวดา แต่พรหมไม่มีเพศคือไม่มีเพศหญิงเพศชาย ทั้งนี้เพราะพรหมไม่มีการครองคู่ อยู่โดดเดี่ยวอย่างพระสงฆ์ตามวัดคือไม่มีภรรยาสามี ท่านว่ามีความสุขสงบสงัด ท่านที่จะเป็นพรหมได้ท่านว่าต้องเป็นนักกรรมฐานและมีอารมณ์จิตสุดท้ายก่อนตาย อารมณ์จิตเป็นฌานที่เรียกว่า เข้าฌานตาย<O:p</O:p

    แดนเกิดสายที่ห้า ได้แก่พระนิพพาน

    แดนเกิดสายที่ห้า ได้แก่พระนิพพาน แดนนี้เป็นเขตที่รู้เรื่องกันยากมาก เพราะนักปราชญ์สมัยนี้ถือว่า นิพพานสูญกันเป็นประเพณีไปแล้ว ขอบอกไว้ย่อๆ ว่า คนที่จะถึงพระนิพพานได้นั้นต้องมีความบริสุทธิ์ ๑๐ อย่างคือ
    <O:p</O:p
    ๑) ไม่เมาในตนเองหรือวัตถุต่างๆ ที่คิดว่าเป็นสมบัติของตน รู้สึกเสมอว่าจะต้องตายและพลัดพรากจากของรักของชอบใจแน่นอน ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามความตายและความพลัดพรากได้ ทำจิตใจเป็นปกติเมื่อความตายมาถึงหรือเมื่อต้องพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรัก
    <O:p</O:p
    ๒) ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนตามความเป็นจริงว่า ทุกอย่างในโลกนี้ไม่ว่าสิ่งที่มีชีวิตต้องทำลายตนเองลงในเมื่อกาลเวลามาถึง ไม่มีอะไรทรงสภาพเป็นปกติอยู่ได้ ใครทำความดี ความดีก็คุ้มครองให้มีความสุขใจ ใครทำชั่ว ความชั่วจะบันดาลความเดือดร้อนให้ แม้ผู้อื่นยังไม่ลงโทษ ตนเองก็มีความหวาดสะดุ้งเป็นปกติ
    <O:p</O:p
    ๓) รักษาศีลมั่นคง ดำรงจิตอยู่ในศีลเป็นปกติ
    <O:p</O:p
    ๔) ทำลายความใคร่ในกามารมณ์ให้สิ้นไปจากใจ ด้วยอำนาจความรู้ถึงความจริง รู้ว่าความรักเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ภัยอันตรายที่มีขึ้นแก่ตนเพราะอาศัยความรักเป็นเหตุ
    <O:p</O:p
    ๕) มีจิตใจเต็มไปด้วยความเมตตาปรานี ไม่โกรธไม่จองล้างจองผลาญคิดทำอันตรายใคร ไม่ว่าใครจะแสดงอาการอย่างไร จิตก็ไม่คลายจากความเมตตา
    <O:p</O:p
    ๖) ไม่มัวเมาในรูปฌาน โดยคิดว่าการที่ตนทรงรูปฌานได้นี้ เป็นผู้ถึงที่สุดของความดี เมาฌานจนไม่สนใจความดีที่ตนยังไม่ได้
    <O:p</O:p
    ๗) ไม่มัวเมาในอรูปฌาน โดยคิดว่าความดีเพียงเท่านี้ ยังไม่เป็นทางสิ้นทุกข์
    <O:p</O:p
    ๘) มีอารมณ์เป็นปกติ ไม่คิดถึงเรื่องอารมณ์เหลวไหล มีจิตใจเต็มไปด้วยความหวังดี ไม่ว่าต่อคนหรือสัตว์ ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่
    <O:p</O:p
    ๙) ไม่ถือตน ทะนงตน ว่าดีเลิศประเสริฐกว่าใคร มีอารมณ์ใจเป็นปกติ เห็นคน สัตว์ ทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของธรรมดาที่จะต้องตายจะต้องสลายไป และมีอารมณ์ไม่หวั่นไหวเมื่อเข้าสังคมสมาคมใดๆ มีอาการเป็นเสมือนว่าสังคมนั้น สมาคมนั้นๆ เป็นกลุ่มของคนที่ต้องตาย ไม่ทำตัวใหญ่หรือเล็กจนน่าเกลียด ทำตนพอเหมาะพอสมควรแก่สมาคมนั้นๆ เรื่องของเขา เขาจะดีจะชั่วก็ตัวของเขา เราช่วยได้เราก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็เฉยไว้ ไม่สนใจที่จะไปเบ่งบารมีทับใคร
    <O:p</O:p
    ๑๐) ตัดความรักความพอใจในโลกีย์วิสัยให้หมด งดอารมณ์อยากดีอยากเด่น ทำอารมณ์เป็นพระพุทธในพระอุโบสถ พระพุทธท่านยิ้มเสมอ ท่านที่จะถึงพระนิพพานต้องยิ้มได้อย่างพระพุทธ ใครจะดีจะชั่วก็ยิ้ม เพราะเห็นเป็นของธรรมดามันหนีไม่ได้ไล่ไม่พ้น เมื่อยังมีตัวตนเป็นคนมันก็ต้องพบอาการอย่างนี้อยู่ ก็สบายใจ ความตายจะมาถึงก็ไม่สะดุ้งหวาดกลัวเพราะรู้ตัวอยู่เสมอว่าจะต้องตาย มีอารมณ์ใจปกติ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่ผูกพันทรัพย์สินหรือสัตว์หรือบุคคลอื่น เท่านี้ก็ไปพระนิพพานได้
    <O:p</O:p
    เมื่อพูดกันมาถึงทางหรือแดนเป็นที่ไป เมื่อตายแล้วว่ามี ๕ ทาง ท่านอาจจะสงสัยว่าเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนั้น จะมีทางใดพิสูจน์ความจริงได้บ้างว่า คำสอนนั้นตรงต่อความเป็นจริง เคยมีใครบ้างไหมที่ฟังแล้วและเรียนข้อวัตรปฏิบัติตาม ไม่ใช่เรียนแล้วเอามาคุยอวดกัน ต้องเรียนแบบฝรั่งไม่ใช่เรียนแบบไทย ฝรั่งเขาสงสัยอะไรเขาค้นคว้าหาความจริงว่ามีหรือไม่เพียงใด สมัยนี้แม้แต่ดวงจันทร์ที่ทุกท่านคิดว่าเป็นของเกินวิสัย แต่ฝรั่งเขาไปดูจนได้เพราะเขาเรียนแล้วปฏิบัติด้วย ที่ว่าเรียนแบบไทยก็เพราะคนไทยเป็นคนมีบุญ ทุกอย่างไม่ต้องลงทุนคอยดูฝรั่งแสดงก็พอใจได้เปรียบกว่าฝรั่งมาก แต่ทว่าเนื้อแท้แล้ว เราก็รู้เพียงเขาว่าไม่ใช่เราเห็นเอง<O:p</O:p
    เรื่องของ การตายแล้วไม่สูญและ ตายแล้วไปไหนก็เหมือนกัน ถ้าเรียนกันแบบอ่านหนังสือแล้วก็ตั้งแง่สงสัยหรือเอาความรู้จากหนังสือที่อ่านจำได้แล้วเอาไปเบ่งบารมีกัน ก็ไม่ต่างอะไรกับคนนอนฝันหาความจริงไม่ใคร่ได้ ถ้าจะพบความจริงบ้างก็ต้องบังเอิญจริงๆ หลักเกณฑ์การปฏิบัติเพื่อรู้ว่าตายแล้วไปไหน ท่านสอนไว้ในหลักสูตรของวิชชาสาม ท่านให้เจริญสมาธิคือ เจริญกสิณกองใดกองหนึ่ง หรือเอากสิณเฉพาะเพื่อทิพจักขุญาณ ท่านให้ใช้เตโชกสิณเพ่งไฟ หรืออาโลกสิณเพ่งแสงสว่าง หรือโอทาตกสิณเพ่งสีขาว จนมีสมาธิถึงขั้นอารมณ์เริ่มเป็นทิพย์คือถึงอุปจารฌาน แล้วถือนิมิตกสิณเป็นสำคัญฝึกดูสวรรค์ นรก และพรหมโลก ถ้าทรงวิปัสสนาญาณด้วย ก็พิสูจน์พระนิพพานด้วยได้ การพิสูจน์คำสอนของพระพุทธเจ้าต้องฟังแล้วปฏิบัติตาม ท่านจึงจะหมดข้อสงสัยเพราะท่านรู้เองเห็นเอง แต่ถ้าฟังกันแล้วแต่ไม่ทำตาม ความหวังที่ตั้งใจต้องล้มเหลวแน่เพราะเป็นเพียงเสือกระดาษจะกัดใครตายได้ เวลานี้มีผู้ฝึก มโนมยิทธิเพื่อพิสูจน์คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสว่า ตายแล้วไม่สูญแดนอบายภูมิ แดนสวรรค์ แดนพรหม และแดนพระนิพพาน นั้นมีจริง เขาฝึกกันได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก ต่อไปก็จะขอนำเรื่องราวของท่านผู้ที่ตายไปแล้วกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ และได้ไปพบไปเห็นในแดนต่างๆ ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อเป็นตัวอย่างให้ท่านทั้งหลายได้ทราบตามความเป็นจริงว่า ตายแล้วไม่สูญ..
    ด้วยผลแห่งการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นของจิต ในขณะเกิดและดับ สืบต่อไป จิตขณะสุดท้ายจะนำไปสู่จิตขณะแรกปฏิสนธิ (การเลือกเกิด)ตรงนี้ไม่ทราบเหมือนกันว่าจริงไหมแต่ส่วนที่ทราบก็ในปัจจุบันขณะจิตให้ทุกท่าน โยนิโสมนสิการ ตรงจุดนี้ จะได้ไม่หลงคิดว่า ไม่มีเวร ไม่มีกรรม เพราะกรรมก็คือ ผลของการกระทำโดยจิตเป็นผู้รับผู้ปรุงแต่งให้เกิดผลต่างๆออกมา ลองตรองดูว่าพอจะเห็นอะไรได้บ้าง

    พระพุทธองค์ได้ตรัสถึง บุคคลที่ไม่มีความกลัวตาย

    ไม่มีความสะดุ้งต่อความตายดังต่อไปนี้
    ๑.บุคคลบางคนเป็นผู้ที่ลด เลิก ละความมักมาก หมกมุ่นในกามได้ ทั้งยังมองเห็นโทษของกามมีประการต่างๆครั้นป่วยไข้หนัก(ใกล้ตาย) ก็ไม่มีความวิตกกังวลว่ากามคุณที่แสนรักแสนอาลัยนี้กำลังจะจากเขาไป เขาย่อมไม่เศร้าโศกเสียใจไม่ทุบอกชกหัวร่ำไห้แต่อย่างใด พวกนี้ไม่มีความสะดุ้งตกใจกลัวต่อความตาย

    ๒.คนบางคนมองเห็นสัจจะของชีวิตว่า มีเกิด ตัองมีแก่ เจ็บตายเป็นธรรมดาไม่มัวเมาประมาทในร่างกาย ซึ่งมีปกติ เน่าเปื่อยนั้น แล้วสร้างคุณงามความดีและปฏิบัติธรรมให้รู้ความจริงของชีวิตมากขึ้น ครั้นป่วยหนัก (ใกล้ตาย)ก็ไม่มีความวิตกกังวลว่า กายที่สวยหรือสง่างามกำลังจะจากเขาไปเขาย่อมไม่เศร้าโศกเสียใจ คนพวกนี้ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อความตายเลย

    ๓.คนบางคนมองเห็นว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา (ไม่ใช่เราและตัวตนของเรา) แล้วพากเพียรทำความดี ทางกาย ทางวาจา และทางใจตั้งแต่วัยหนุ่มสาวเรื่อยๆมา เห็นชีวิตมีความตายอยู่ทุกอิริยาบถไม่ประมาทครั้นป่วยหนัก(ใกล้ตาย) ก็ไม่มีความวิตกกังวลว่าตนไม่เคยได้ทำบุญหรือความดีใดๆไว้เลย ดังนั้นเมื่อใกล้ตาย จึงไม่มีความสะดุ้งตกใจกลัวความตายแต่อย่างใด

    ๔. คนบางคนเป็นผู้สนใจในการศึกษาธรรม และปฏิปทาต่างๆในทางพระพุทธศาสนามาตลอด ไม่ปล่อยความสงสัยไว้ในใจ เมื่อเจ็บไข้หนัก(ใกล้ตาย)ก็ไม่มีวิตกกังวลในใจว่า ตอนเป็นหนุ่มสาว เขาไม่ได้ปฏิบัติศึกษาธรรมปล่อยให้มีความสงสัยอยู่จนป่านนี้ดังนั้นพวกนี้จึงไม่สะดุ้งกลัวต่อความตายใดๆ


    และขออนุโมทนาบุญแก่เจ้าของบทความที่กลั่นกรองข้อความไว้ จงได้รับส่วนบุญส่วนกุศลนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2009
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    <CENTER>ตอนที่ ๒ สังโยชน์ของพระโสดาบัน</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>สำหรับโอกาสนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้วต่อนี้ไปตั้งใจสดับคำแนะนำในการปฏิบัติพระกรรมฐาน

    สำหรับคำแนะนำวันนี้จะขอตัดตอนต้นไป เพราะเป็นการซ้ำกันบ่อย ๆ ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้น เป็นการเดินทางเข้าสู่สายพระนิพพานโดยตรง การปฏิบัติตนให้สู่พระนิพพานนี่อาจจะต้องพูดกันหลายวันหน่อย เพราะว่าเพื่อความเข้าใจของนักปฏิบัติ วันนี้จะยกเรื่องสมาธิทิ้งไป และก็จะไม่ปรารภจริตใด ๆ ทั้งหมด เพราะการเดินทางสายเข้าสู่พระนิพพานต้องเป็นคนมีอารมณ์จิตเข้มแข็ง จะไม่ยอมก้มศีรษะให้แก่กรรมทุกอย่าง มิฉะนั้นแล้วท่านทั้งหลายก็จะเป็นเหยื่อของนรก เรื่องที่พูดกันถึงพระนิพพานก็ไม่ต้องพูดกัน เราจงรู้ตัวของเรา

    ทีนี้ตามพระบาลีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถึงความเป็นพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคา อรหันต์ ตรัสเป็นเขตไว้ ขอบรรดาท่านทั้งหลายจำไว้แล้วก็นำไปประพฤติปฏิบัติ เพราะเป็นจุดหมายปลายทางและเป็นหนทางที่ตรงอย่างยิ่ง จะได้ไม่เอนไม่เอียง ไม่มีความสงสัย การที่อวดตัวว่ารู้มากตำราไม่มีความหมาย ความสำคัญมีอยู่อย่างเดียว คือ ทำจิตให้หมดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานนี้เป็นความต้องการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็เป็นความต้องการของผมด้วย ขอได้โปรดจำกันไว้ให้ดีว่า ผมต้องการคนที่มีความปรารถนาในการตัดกิเลสและก็พยายามตัดกิเลส ไม่ใช่เพาะกิเลส

    มีเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงกฎแห่งการที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงการเป็นพระอริยเจ้าที่เคยปรากฏอยู่เสมอว่า บรรดาพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาที่บวชเข้ามาแล้วต้องมีสิกขา ๓ ประการ คือ

    ๑. อธิศีลสิกขา ปฏิบัติศีลอย่างยิ่ง คำว่า อย่างยิ่ง ก็หมายความว่า เคร่งครัด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด มีศีลจับใจเป็นอารมณ์ สิ่งใดที่ขัดต่อศีลเราไม่ทำ และสิ่งใดที่ขัดต่อความดีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัส เราไม่ทำ
    ๒. อธิจิตสิกขา พยายามเร่งรัดอารมณ์สมาธิให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์สูงสุดจริง ๆ คือ ฌาน ๔
    ๓. อธิปัญญาสิกขา มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง มีปัญญาสามารถจะรู้กำหนดการตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานเบื้องสูง

    สิกขา ๓ ประการนี่ที่ว่าเราจะต้องปฏิบัติกัน เพราะว่า ภิกขุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร สมณะ แปลว่า สงบ หรือผู้มีบาปอันลอยแล้ว นึกดูน้ำใจของเรา ว่า น้ำใจของเราน่ะมันเลวหรือว่ามันดี อัตตนา โจทยัตตานัง พระพุทธเจ้ากล่าวว่า จงเตือนตนไว้เสมอ ไม่ใช่ไปนั่งเตือนคนอื่น คือ ไปนั่งค่อนขอด ค่อนแคะประณามบุคคลอื่น ถ้าเราไปนั่งค่อนขอด ค่อนแคะประณามบุคคลอื่น นั่นแสดงว่าเราเลวเกินไปที่จะเป็นมนุษย์ได้ เป็นวิสัยของสัตว์ในอบายภูมิ นี่เป็นเรื่องสำคัญ เตือนตนไว้เสมอ

    สำหรับอธิศีลสิกขา พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นวิสัยของพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี จำให้ดีนะ

    อธิจิตสิกขา เป็นวิสัยของพระอนาคามี
    อธิปัญญาสิกขา เป็นวิสัยของพระอรหัตผล

    เป็นอันว่าถ้าเราพิจารณาตามพระพุทธฎีกาข้อนี้ จะเห็นว่าการปฏิบัติตนตรงต่อความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของไม่ยาก ไม่ยากเพราะอะไร เพราะว่าเรารู้อยู่ว่าสำหรับพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีไม่มีอะไรมาก คือ เป็นผู้ปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัดนั่นเอง

    ทีนี้เราก็หันไปดูองค์ของพระโสดาบัน หรือว่าไปดูสังโยชน์ของพระโสดาบัน เอาสังโยชน์ก่อน สังโยชน์ที่เราจะละเข้าถึงพระโสดาบัน นั่นก็คือ

    ๑. สักกายทิฏฐิ พิจารณาว่า อัตตภาพร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา สำหรับสักกายทิฏฐิข้อนี้เราตัดกันแต่เพียงเบา ๆ เท่านั้น คำว่าตัดเพียงเบา ๆ ก็หมายความว่ามีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย เราไม่ประมาทในชีวิต คิดไว้เสมอว่าความตายอาจจะมีแก่เราได้ทุกขณะ ไม่ใช่ว่าวันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ คิดถึงความตายไว้เป็นปกติว่า เราอาจจะต้องตายเดี๋ยวนี้ เมื่อเราคิดว่าเราจะตายเดี๋ยวนี้ เราก็ต้องรวบรวมกำลังใจสร้างความดี เพื่อว่าเมื่อตายแล้วจะได้ไม่ไปตกอยู่ในอบายภูมิ นี่สำหรับสักกายทิฏฐิข้อต้น

    พระโสดาบันถ้าจะว่าตัดก็ยังไม่ถึง เรียกว่า ขัดสีฉวีวรรณสักกายทิฏฐิให้มันผ่องใสขึ้นเท่านั้น เพราะว่าอารมณ์เดิมของเรามันเต็มไปด้วยความโง่ เห็นชาวบ้านเขาตาย รู้ แต่ว่าไม่เคยคิดเลยว่าตัวจะตาย หาความรู้สึกว่าตัวจะตายไม่ได้ มีความประมาทสร้างความชั่วเป็นปกติ นี่อารมณ์เดิมของเรามันเลวแบบนี้ ทีนี้พอมาถึงมีจิตหวังตั้งใจจะปฏิบัติให้เป็นพระอริยเจ้า ก็ต้องนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ถ้าไม่นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ความประมาทมันก็มีอยู่ เมื่อความประมาทมีอยู่ ตายแล้วก็ต้องไปตกอบายภูมิแน่

    เมื่อเรานึกถึงความตายแล้ว เราก็คิดว่าถ้าเราตายแล้วคราวนี้เราจะไปไหน ถ้าเราคิดว่าเราจะเกิดเป็นคนใหม่มันก็เลวเต็มที ถ้าเป็นพ่อค้าก็ถือว่าขาดทุน ทั้งนี้เพราะอะไร เราลงทุน ๑๐๐ บาท ค้าขายอยู่ ๙ ปี ๑๐ ปี ก็มีทุนอยู่แค่ ๑๐๐ บาท ถ้าอย่างนั้นเราไม่ทำเลยดีกว่า เป็นอันว่าเราก็ตั้งใจว่าอย่างเลวที่สุด เราจะเป็นผู้เข้าถึงกระแสของพระนิพพาน คือ เป็นพระโสดาบันเป็นอันดับน้อยที่สุด เลวที่สุด อย่าลืมนะ เราต้องถือว่าการทำจิตให้เข้าถึงพระโสดาบันนี่เป็นความเลวที่สุด คือ ได้ดีน้อยที่สุดที่เราต้องการจะพึงถึง

    แต่ทว่าการเข้าถึงพระโสดาบันนี่ถือว่าเข้าถึงกระแสพระนิพพานเป็นระยะการที่เราจะก้าวเข้าไปสู่พระนิพพานโดยไม่ถอยหลัง คือ ไม่กลับถอยหลังกลับมา เพราะ พระนิพพานเบื้องต้นเราจะเกิดระหว่างเทวดากับมนุษย์ หรือ ระหว่างเทวดากับพรหม มาเกิดอย่างละ ๗ ชาติ พอเป็นมนุษย์ชาติที่ ๗ เราก็เป็นอรหันต์ ถ้าเป็น โกลังโกละ มีความเคร่งเครียด คือ ว่ารวบรัดอารมณ์จิต ดึงอารมณ์จิตไว้มั่นคงกว่า สัตตักขัตตุง อันนี้เราก็มีจังหวะเกิดมาเป็นมนุษย์กับเทวดาสลับกันอีก ๓ ชาติ เราก็เป็นอรหันต์ ถ้ามีอารมณ์เคร่งครัด เรียกว่ามีอารมณ์จิตมั่นคงอย่างยิ่งในองค์พระโสดาบัน เราตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหม พ้นจากนั้นมาเป็นมนุษย์อีกหนึ่งชาติ เราก็เป็นพระอรหันต์ นี่เป็นอันว่าอาการของพระโสดาบันมี ๓ อย่าง มี ๓ ระดับ

    ทีนี้ คนที่เป็นพระโสดาบันจริง ๆ เราเอาอะไรเป็นเครื่องกำหนด

    อันดับแรก เราก็ต้องรู้องค์ของพระโสดาบัน ทีนี้พูดถึงสังโยชน์ยังไม่จบ อันดับแรกเรานึกถึงสังโยชน์ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อารมณ์ที่เกาะขันธ์ ๕ คือ เกาะกาย คราวนี้เราไม่เกาะละ ปล่อยน้อย ๆ คิดว่าร่างกายนี้จะต้องตายแน่ เราควบคุมมันไม่ได้แน่นอน แม้แต่องค์สมเด็จพระชินวรเป็นพระพุทธเจ้าก็ยังไม่สามารถจะควบคุมร่างกายไม่ให้ตายได้ มันตายแน่ เราไม่ยอมเกาะมันเกินไป แต่มันยังเกาะอยู่นะพระโสดาบันเกาะกายเหมือนกันแต่ไม่หลงคิดว่ามันจะไม่ตาย คิดว่ามันจะตายไว้เสมอ

    ทีนี้สังโยชน์ที่สอง ท่านบอกว่า วิจิกิจฉา เราใช้ปัญญาพิจารณาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะในเรื่องของ ศีล ว่าเราพอจะเชื่อได้ไหมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

    สีเลนะ สุคติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข
    สีเลนะ โภคะสัมปะทา ศีลเป็นปัจจัยให้ทรัพย์สินเยือกเย็น
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน

    ใช้ปัญญาพิจารณาศีล ๕ ประการ ว่าเราต้องการให้บุคคลทั้งหลายมีศีลเพื่อเรา แล้วเราล่ะ เป็นผู้มีศีลเพื่อบุคคลอื่นไหม คำว่าเราต้องการให้คนอื่นมีศีลเพื่อเรา ก็ หมายความว่า เราไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าเรา มาทำร้ายเรา มาลักทรัพย์สินของเรา แย่งคนรักของเรา มาโกหกมดเท็จ พูดเสียดสี พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ และเป็นคนไร้สติสัมปชัญญะ อันนี้เราไม่ต้องการ

    ในเมื่อเราไม่ต้องการเราก็ใช้ปัญญาสิ อย่าทำเป็นควาย ๆ คิดว่าเราไม่ต้องการอย่างนี้ แล้วคนอื่นเขาต้องการอย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความสำคัญที่สุด ถ้าพูดคำหยาบ โกหกมดเท็จ เสียดสี ทำลายกำลังใจของบุคคลอื่น พูดเพ้อเจอเหลวไหล เป็นอาการเสียดแทงใจของบุคคลอื่น ทำลายความดีของบุคคลอื่นที่มีอารมณ์จิตยังไม่มั่นคงนัก อาการอย่างนี้เกิดขึ้น ใครเลว เราผู้พูดนั่นละเลวที่สุด เพราะอะไรจึงเลว เพราะไม่ควบคุมวาจาไว้ให้ดี

    ทีนี้ทางกายล่ะ ถ้าหากว่าวาจามันไม่ดี กายไม่ดี ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตลักขโมยของเขา ยื้อแย่งความรัก ถ้าเราเลวอย่างนี้ คนอื่นเขาไม่ต้องการ เราไปทำเข้า ก็จัดว่าเราเลวเกินกว่าที่เขาจะคิดว่าเราเป็นคน นี่มันเลวเกินไป

    สำหรับการไร้สติสัมปชัญญะเป็นของดีไหมการดื่มสุราเมรัยเป็นปัจจัยให้ไร้สติสัมปชัญญะ มันก็ไม่ดี คนไม่มีสติสัมปชัญญะนี่สัตว์เลี้ยงมีค่ามากกว่า เพราะยังไง ๆ มันก็เป็นสัตว์

    รวมความว่า คนที่มีกายชั่ว มีวาจาชั่ว มีสติชั่ว อย่างนี้มีค่าไม่เท่าสัตว์เลี้ยง เพราะอะไร เพราะสัตว์เลี้ยงมันเป็นสัตว์ มันอยู่ในอบายภูมิ มันไม่มีอารมณ์พิเศษ มันยังต้องโทษอยู่ แต่เราเป็นคนรู้ดีรู้ชั่ว รู้ตัวว่าถ้าใครทำความดีความชอบ ใครพูดดีเราชอบ แต่ว่าเรากลับทำชั่วเพื่อเขา เราพูดชั่วเพื่อเขา อย่างนี้มีค่าไม่เท่าสัตว์เลี้ยง หรือจะกล่าวไปอีกทีก็มีค่าตัวไม่เท่ากับสัตว์ทั่วไปในโลกเลวกว่าสัตว์ เพราะอะไร เพราะว่าสัตว์ตายแล้วเกิดเป็นสัตว์ใหม่หรือมิฉะนั้นก็เกิดเป็นคน มิฉะนั้นก็เกิดเป็นเทวดา แต่คนที่มีกายชั่ว วาจาชั่ว มีอคติชั่ว ตายแล้วลงนรก ถ้าชั่วมากลงอเวจีมหานรก

    นี่เราลองเทียบกันว่าคนประเภทนั้นกับสัตว์เดรัจฉานน่ะใครจะดีกว่ากัน เป็นอันว่าคนประเภทนั้นมีความดีไม่เท่าสัตว์เดรัจฉาน ใครต้องการบ้าง ถ้าต้องการก็อยู่ที่นี่ไม่ได้ เพราะที่นี่ไม่ต้องการคนที่เกิดเป็นคนแล้ว แต่ว่าทำตนเพื่อความเป็นสัตว์และเลวยิ่งกว่าสัตว์ เป็นอันว่า เราต้องประณามตัวแบบนี้ อัตตนา โจทยัตตานัง พระพุทธเจ้าทรงเตือน และสำนักนี้พูดเสมอว่าจงเตือนตนรู้ตนอยู่เสมอ ระเบียบมี วินัยมี สำนักนี้ถ้าเลวแล้วละก็ไม่ควรจะไปอยู่ที่ไหนเลย ถ้าฟังภาษาคนไม่รู้เรื่องละก็จงอย่าไปอยู่ที่ไหนเลย ถ้าที่ดีไม่มีใครเขาคบ เขาฟังธรรมะกันวันละ ๔ เวลา แต่ว่าถ้ายังเลวอยู่ แสดงว่าสัตว์เดรัจฉานดีกว่าเราเยอะ นี่เราต้องประณามตัวแบบนี้ เราอย่าไปนั่งมองคนอื่นเขา มองตัวเรา นี่เตือนกันทุกเย็น ใครมีความรู้สึกตัวบ้างไหมว่าเราเลว ถ้าเลวแล้วไม่เห็นว่าเลว ก็แสดงว่าเรารวมอยู่กับ พระเทวทัต ได้แน่นอน นี่เราต้องประนามตัวเราแบบนี้

    คนดีน่ะเขาไม่ยกย่องตัวเอง คนดีเขาจะประณามตัวเอง เพราะว่า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงพยายามประณามตนไว้เสมอ โจทก็กล่าวโทษ มองหาความผิดของตัวไว้เป็นปกติ อย่าไปหาความดี ในเมื่อมันหาความผิดไม่ได้ละมันก็ดีเอง ถ้าไม่มีชั่วละมันดี

    สังโยชน์ที่เราจะพึงตัด
    ๑. ไม่อาลัยในชีวิตมากเกินไป รู้ว่าเราจะต้องตาย
    ๒. ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ๓. รักษาศีลบริสุทธิ์

    นี่เราจะเห็นว่าพระโสดาบันนี่มีเท่านี้

    อันนี้เราก็หันไปอีกทีถึงองค์ เมื่อกี้เป็นสังโยชน์ บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอารมณ์อย่างนี้

    ๑. เคารพในพระพุทธเจ้า
    ๒. เคารพในพระธรรม
    ๓. เคารพในพระสงฆ์ แล้วก็
    ๔. มีศีลห้าบริสุทธิ์สำหรับฆราวาส สำหรับพระมีศีล ๒๒๗ บริสุทธิ์ สำหรับเณรมีศีล ๑๐ บริสุทธิ์ ถึงพระสกิทาคามีก็เหมือนกันมีเท่านี้

    ตอนนี้สมมุติว่าคนที่เขาไม่เคยเจริญพระกรรมฐาน แต่ชอบสวดมนต์เป็นปกติ มีศีล ๕ บริสุทธิ์ จะถามว่าคนประเภทนี้เป็นพระโสดาบันได้ไหม ก็ต้องตอบว่าได้ คนที่เขานั่งสวดมนต์เป็นปกติ เขาสวดด้วยความเคารพพระพุทธเจ้า เคารพพระธรรมในพระอริยสงฆ์ เพราะบทสวดมนต์ทุกบทมีค่าเท่ากัน คือ สรรเสริญความดีของพระพุทธเจ้า สรรเสริญความดีของพระธรรม สรรเสริญความดีของพระอริยสงฆ์ แล้วเขาก็มีศีลบริสุทธิ์ แต่ตอนนี้ต้องระวังนิดหนึ่ง ถ้าเรามีจิตเบาเพียงเท่านี้อาจจะยังไม่ได้พระโสดาบัน อาจจะเรียกว่า กัลยาณชน

    ทีนี้ ถ้าบุคคลผู้นั้นเขามีกำลังใจเพิ่มไปอีกนิดหนึ่งว่า ที่เรายอมเคารพในพระพุทธเจ้า ยอมเคารพในพระธรรม ยอมเคารพในพระสงฆ์ มีศีล ๕ บริสุทธิ์อย่างนี้ เรามีความประสงค์อย่างเดียว คือ พระนิพพาน ถ้าอารมณ์ใจเขาหยั่งถึงพระนิพพานอย่างนี้เป็นพระโสดาบันแน่ นี่อารมณ์พระโสดาบันมีเท่านี้ พระสกิทาคามีก็เหมือนกัน แล้วก็อย่าลืมอีกนิดหนึ่งว่า ทำไมพระโสดาบันยังรักเขาอยู่ล่ะ ยังอยากแต่งงาน ยังอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง นี่ก็ต้องย้ำลงไปอีกนิดว่า ดูองค์ของพระโสดาบันว่ามีอะไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อธิศีลสิกขา คือ มีศีลยิ่งเท่านั้นเอง พระโสดาบันกับสกิทาคามีความสำคัญอยู่ที่ศีล เขาอยากรวยเขาก็ไม่โกงใคร เขารักเขาก็อยู่ในขอบเขตของศีล เขาโกรธเขาไม่ฆ่าใคร เขาหลงรัก หลงสวย หลงงาม เขาก็ไม่ลืมความตาย นี่จะไว้ว่านี่เป็นองค์พระโสดาบัน แล้วการปฏิบัติเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์เบื้องต้น องค์สมเด็จพระทศพลกล่าวว่าเต็มไปด้วย อธิศีลสิกขา

    สำหรับในการพูดในวันนี้ก็ขอยุติไว้เพราะหมดเวลา

    ต่อจากนี้ไปขอท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
    Welcome to Pranippan.com
    ก็เป็นสิ่งดีๆ และขออนุโมทนาบุญกับผู้เขียนบทความนี้เช่นกันครับ
    </CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2009
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ผมกอปเขามาครับ เห็นว่าดีในที่แจ้งและที่ลับครับ ผมไม่มีความสามารถมากขนาดนี้ครับ แต่เรื่องที่สองนี้ผมไม่รู้ว่าของใครมีแต่ เวปลิ้งนั้นแหละครับ
     
  4. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    สำหรับท่านที่ไม่เข้าใจว่ากุศลและอกุศล บาปและบุญ และเหตุแห่งสวรรค์และนรก ตลอดจนมรรคผลนิพพานก็ลองอ่านดูนะครับ หากผมเป็นผู้เริ่มผมจะนั่งพิจารณาก่อนว่า อะไรเป็นกุศลอะไรเป็นอกุศลอันดับแรก แล้วเลือกทำในสิ่งที่ไม่เป็นอกุศล คือ พยายามให้ได้มากที่สุดจนเป็นนิสัยอันไหนไม่ดีก็ค่อยๆลดลง จากนั้นเมื่อจิตใจเบาสบายแล้วจึงฝึกสมาธิ หรือฝึกสติแล้วแต่ชอบ แต่ต้องยึดหลักให้ได้ว่า เห็นหรือไม่เห็นอะไรก็จะไม่ยึดเอาไว้ว่านั่นคืออะไร หรือสำคัญว่านั่นเป็นอะไร ครับผมฝึกไปแบบนี้ ทุกวันนี้ก็ฝึกแบบนี้ครับ เพราะบางทีฝึกไปๆก็ไม่รู้หลงลืมไปว่าอะไรคือบาปอกุศล อะไรคือบุญกุศล ก็ต้องกับมาย้อนพิจารณาในสิ่งที่กระทำไปในแต่ละวัน แรกๆก็ย้อนนึกถึงอดีตที่ผ่านมาว่ามันผิดหรือถูกกันต่อมาก็ไม่ต้องย้อนนึกเพราะมันรู้แล้วว่านี่ผิด ปัจจุบันจึงไม่มีอกุศล เรียกว่า มีสติเป็นปัจจุบัน ทำไปเรื่อยๆ จิตใจก็สงบก็เอาผลแห่งความสงบนั้นมาทำสมาธิเพื่อให้ได้ความสุขสงบและสติที่ละเอียดสุขุมมากขึ้น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลาก็จะพิจารณาธรรมได้เองตามสมควรแก่ฐานะครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เดี้ยวนี้มีแต่คนปัญญาอ่อน เพราะปฏิบัติกรรมฐาน ไม่รู้อะไรทั้งสิ้นแม้บาปอกุศลใดก็ไม่อาจรู้ รู้แต่เพียงตำราก็ยังพากันตั้งพรรคตั้งกกตั้งเหล่า เอาอัตตาตัวตน เอาความโง่ของตนมาอวดให้ผู้อื่นเห็น เพื่อจะให้คนทั้งหลายอันยังไม่ทันคิด จะได้เห็นว่าการกระทำนั้นๆเป็นไปเพื่อความสุขสงบเป็นกุศลเพื่อกุศล ต่อทั้งตนเองและพระศาสนา มาถึงตรงนี้ ไอ้คนประเภทนั้นแหละที่เรียกว่าน่าสมเพช เพราะยังคิดจะทำเรื่องแย่ให้กลายเป็นเรื่องดี แล้วปากก็จะบอกกับทุกคนว่า เรานี้มีความรู้ฝึกปฏิบัติมาอย่างดีโดยพระป่ากรรมฐาน หากท่านทั้งหลายเจอคนประเภทนี้พึงระวัง เพราะพระป่ากรรมฐานจะสอนให้มีสติ รู้จักใช้ปัญญา รู้จักมองสิ่งต่างๆอย่างธรรมะ แต่คนบางจำพวกที่อ้างพระกรรมฐานสายพระป่าว่าเป็นครูบาอาจารย์ ก็จะเอาชื่อเสียงของท่านมาทำลายด้วยการ เพ่งโทษผู้อื่นต่างๆนานา ด้วยการทำเรื่องเสื่อมเสียอันเป็นอกุศลต่างๆนานา แล้วจะประกาศตนว่าเราเป็นลูกศิษย์พระกรรมฐานอย่างนั้นอย่างนี้ ขอท่านโปรดใช้ปัญญา เขาเหล่านั้นแม้จะเคยไปวิปัสสนาก็จริงแต่หาใช่ศิษย์พระอริยะเจ้ากรรมฐานสายพระป่าแต่ประการใด เป็นแต่เพียงนำชื่อของกรรมฐานสายนั้นมาสร้างความเสื่อมเสียและทำลาย ขอใหโปรดใช้วิจารณญาณด้วย สติปัญญา ให้ดีๆครับ
     
  6. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อัตตนา โจทยัตตานัง จงพยายามประณามตนไว้เสมอ โจทก็กล่าวโทษ มองหาความผิดของตัวไว้เป็นปกติ
    ข้อความที่พี่เก่งเน้ย้ำนี้กล่าวได้ดีคับ ขอเสริมเพิ่มเติมนิดนึง
    จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม มีสติปัญญา
    จิตไม่โศก มีสติปัญญา
    จิตปราศจากธุลี มีสติปัญญา
    จิตเกษรม มีสติปัญญา
    ทั้งหลายมีสติปัญญาในตนเอง
    อนุโมทนา
     
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ฝึกมาหลายสิบปีนับเป็นวันได้หลายพันวันนับเป็นชั่วโมงได้หลายหมื่นชั่วโมงนับเป็นนาทีได้หลายแสนนาที นับเป็นวินาทีได้หลายล้านวินาที แต่ถ้ายังไม่อาจรักษากุศลให้เกิดกับจิตตนได้อย่างแท้จริงนั้น หากยังไม่ละการสร้างกรรมอันเป็นการริดรอนสติปัญญาตนนั้น มันคงดูไร้ค่า อย่าให้เสียเวลามากแล้วไร้ค่าได้แต่คำเจื้อยแจ้วเป็นนกแก้วนกขุนทอง ได้แต่คำเสียดสีเพื่อความสะใจ มันไร้ประโยชน์ เป็นการสร้างกรรมอันเป็นอกุศลกรรมต่อตนเอง ทุกคนมีรอยตำหนิทั้งนั้นแต่จะเหมือนกันหรือไม่นั้นสุดแล้วแต่จะพิจารณาเห็น อาจเป็นเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ พระศาสดาและพระอริยะสงฆ์สาวกทั้งหลาย เป็นเครื่องยืนยันว่าพระสัทธรรมทั้งหลาย เป็นทางที่จะนำตนให้พ้นจากทุกข์ได้จริง อย่าสร้างกรรมอีกเลย เอาเวลามานั่งพิจารณาว่านั่นสิ่งที่ผ่านไปแล้วนั้นมันผิดหรือถูกและเกิดขึ้นเพราะสิ่งใดอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยแล้วแก้ไขมันดีกว่า แก้ที่ตนเองนั่นแหละ อย่าปล่อยให้ลมหายใจผ่านไปทั้งๆที่เคยเรียนธรรมมาแล้วมากมาย มองหามันให้เห็นแล้วหาทางกำจัดเสียดีกว่าครับ ก็เตือนทั้งตนเองและผู้ที่ยังไม่รู้ตนเองนั่นแหละครับ
    สาธุคั๊บ
     
  8. ariyabut

    ariyabut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +2,415
    คนดีน่ะเขาไม่ยกย่องตัวเอง คนดีเขาจะประณามตัวเอง เพราะว่า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงพยายามประณามตนไว้เสมอ โจทก็กล่าวโทษ มองหาความผิดของตัวไว้เป็นปกติ อย่าไปหาความดี ในเมื่อมันหาความผิดไม่ได้ละมันก็ดีเอง ถ้าไม่มีชั่วละมันดี

    สังโยชน์ที่เราจะพึงตัด
    ๑. ไม่อาลัยในชีวิตมากเกินไป รู้ว่าเราจะต้องตาย
    ๒. ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ๓. รักษาศีลบริสุทธิ์

    นี่เราจะเห็นว่าพระโสดาบันนี่มีเท่านี้

    กราบอนุโมทนา สา..ธุ
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ถ้าไม่รู้จักชั่วก็ไม่รู้จักดี แต่คนที่รู้จักดีโดยไม่รู้จักชั่ว จะเรียกว่ารู้จักดีอย่างแท้จริงได้อย่างไร เราไม่รู้ว่าพระโสดาบันนั้นท่านเป็นเช่นไร แต่เรารู้ว่าพระโสดาบันนั้นท่านรู้จักดีแล้วทั้งดีและก็ชั่ว ไม่ใช่รู้แต่ดีอย่างเดียวแล้วบอกว่าเป็นพระโสดาบัน
    มันอาจจะดูหนักๆไปหน่อยกับการเขียน แต่ขอพึงพิจารณาครับกราบอนุโมทนาครับ
     
  10. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เอามาตอกย้ำอีกครั้งถึงความปัญญาอ่อนเพื่อความปัญญาอ่อน อย่างน้อยของตนเองจะได้หมดไปจากสันดานบ้าง เวลาเปิดอ่านอีกครั้ง จะได้ไม่หลงลืมว่าทำไมปัญญาถึงอ่อน
     
  11. wasin45

    wasin45 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +305
    สาธุ
     
  12. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    เอาให้ได้เท่านี้ก็น่าจะพอสำหรับคนยุคนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...