เรื่องดีดีน่าอ่าน "บันทึกลับภิกษุนิรนาม"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กิตฺติคุโณ, 19 กรกฎาคม 2009.

  1. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    ทั้งหมดมี 23บทนะครับ
    บทที่ 1 ทุกอย่างสำเร็จด้วยจิต
    ท้องฟ้าสีคราม ประดับด้วยปุยเมฆสีขาวลอยฟ่องอยู่เป็นกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ ภายใต้แผ่นนภาอันกว้างไกล แสดงถึงความแจ่มใสของโลกที่พ้นฤดูฝนมาแล้ว
    ท้องฟ้าสีคราม ปุยเมฆสีขาว เป็นสิ่งที่มีมานานแล้วตั้งแต่โลกเกิดและจะมีอยู่ต่อไปเป็นนิรันดร เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่ใครและผู้ใดไม่อาจจะลบเลือนได้ มันเป็นสภาวธรรม หรือธรรมชาติแห่งความเป็นจริง
    แต่แม้กระนั้น ก็ใช่ว่าจะหนีกฎแห่งอนิจจังไปได้ มนุษย์พากันวิตกว่า โลกอาจถูกทาลายให้พินาศเป็นจุณไปสักวันหนึ่ง และผู้ที่จะทาลายโลกก็คือ มนุษย์ เอง
    แต่ความวิตกนั้นมันเป็นอนาคตที่เราคาดคิดกันไปอย่างลมๆแล้งๆชีวิตแต่ละชีวิตอาจไม่คงอยู่จนถึงเวลานั้น ทาไม?เราจะต้องไปวิตกถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันต่างหากที่เราควรมองดูว่าเรากาลังทาอะไรกันอยู่
    เรามองเห็นว่า ปัจจุบันมนุษย์กาลังใช้นามธรรม ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา รูปธรรมที่ค้นคิดขึ้นมานั้น มีทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และสิ่งที่จะทาลายโลกให้พินาศ
    ระหว่าง ๒ สิ่งนี้ สิ่งที่เป็นประโยชน์ย่อมมีพลังอานาจน้อยกว่าสิ่งทาลายมากมายนัก ซึ่งเรามองเห็นได้ชัดว่า ประโยชน์จะมีสักเท่าใดเมื่อถูกทาลายเสียแล้วประโยชน์ก็จะหมดไปด้วย มนุษย์ก็จะไม่ได้อะไรเลย แม้แต่ชีวิตของตนเองก็จะต้องหมดไป โลกจะเหลือแต่น้ากับฟ้าอย่างเดิม
    แสดงว่าในปัจจุบันนี้ มนุษย์กาลังใช้นามธรรมอย่างผิดทางเราสร้างสิ่งที่สมมติขึ้น จนเกินความต้องการของชีวิต และบัดนี้เราไม่รู้ว่าชีวิตมนุษย์เราต้องการอะไรกันแน่… มันไม่มีสิ้นสุด… มันไม่มีจุดหมายปลายทาง…
    สิ่งที่เป็นนามธรรม แม้จะไม่มีรูปร่างตัวตนให้มองเห็นได้ แต่มันก็มีความสาคัญยิ่งใหญ่เหนือกว่ารูปธรรมเป็นอันมาก
    รูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของ เครื่องประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่สังขารร่างกายของคนและสัตว์ ล้วนเกิดขึ้นมีขึ้นโดยนามธรรมเป็นผู้บันดาลอยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น ถ้านามธรรมไม่บันดาลสมบัติปรุงแต่งขึ้นมา มันก็จะไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นเป็นรูปร่างที่เรียกว่า รูปธรรม เลย
    พระพุทธเจ้าบรมศาสดาเอกในโลก จึงทรงตรัสว่า ทุกอย่างสาเร็จด้วยจิต จิตก็คือนามธรรมอันซ่อนเร้นแอบแฝงอย่างลับๆอยู่กับร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย
    ผู้มีปัญญารู้ความจริงว่า จิตหรือนามธรรมมีความสาคัญยิ่งใหญ่ย่อมจะปรับปรุงจิตของตน บารุงรักษาจิตของตน ทาความสะอาดบริสุทธิ์ให้แก่จิตของตน ยิ่งกว่าสังขารทั้งหลาย และถือว่าการงานของจิตเป็นสิ่งควรทาอย่างยิ่ง
    แต่ผู้โง่งมงาย ไม่รู้ความสาคัญของจิต จะพากันปรนเปรอบารุงรักษาสังขารร่างกายตามใจกิเลส อันมีความโลภ โกรธ หลง อย่างไม่ว่างเว้น และเต็มกาลังความสามารถ
    และดูเหมือนว่า มันเป็นธรรมชาติที่จะต้องดาเนินไปเช่นนั้นซ้าแล้วซ้าเล่า หมุนเวียนอยู่ไม่มีวันจบสิ้น จนกลายเป็นความยึดมั่นถือมั่นตัวเราเป็นของเรา ยากที่จะแก้ไขปรับปรุงได้ มนุษย์เกิดมาเป็นวัวตามฝูง สุดแต่หัวหน้าฝูง คือ ความโลภ โกรธ หลง จะนาไป ช่างน่าสงสารเหลือเกิน
    เส้นทางของชีวิต ไม่ว่ามนุษย์หรือสรรพสัตว์ เป็นระยะทางอันไกล เลยขอบฟ้าที่เห็นอยู่ลิบๆโน้น มันข้ามภพข้ามชาติ หมุนเวียนเกิดดับอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
    อะไรเล่าคือความหมายของคาว่า "ยุติ" อะไรเล่าคือความหมายของคาว่า "หลุดพ้น" ไปจากการเกิดการดับ ถ้าเราสามารถจะหยั่งรู้ไปถึงกาลในอดีตได้ ก็คงจะเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่าย อ่อนระโหยโรยแรงไปกับการเกิดดับที่ซ้าซากอยู่เช่นนั้น
    ชีวิตในอดีตชาติ หลายภพหลายชาติ กระทั่งถึงชีวิตปัจจุบันเราผ่านความทุกข์มากมายเหลือเกิน ถ้าจะนาความทุกข์ที่เราได้รับมากองไว้ตรงหน้า ก็จะเห็นว่าทุกข์นั้นใหญ่เท่าภูเขาหลวง ทุกข์เกิดจากความโลภ ทุกข์เกิดจากความโกรธ ทุกข์เกิดจากความหลง เป็นกิเลสที่มีประจา สิงสู่อยู่ในชีวิตของเรามันเหมือนดวงอาทิตย์ที่กระจายแสงไปทั่วจักรวาล ครอบคลุมเราและสรรพสัตว์ให้มืดหน้าตาฟางอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่รู้จักคิดพิจารณา เราก็ไม่อาจรู้ว่าทุกข์นั้นเป็นฉันใด หนักหนาสาหัสสักเพียงไหน
    เรามักปล่อยให้มันผ่านไป…ผ่านไปเหมือนความทุกข์นั้นเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต มันเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีทุกข์ใหม่เข้ามาแทนที่ไม่มีวันสิ้นไปหมดไป
    บางทีเราก็ไปไขว่คว้าแสวงหาทุกข์มาใส่ตน เหยียบย่ากองทุกข์นั้นให้จมไปกับการเวลา บางทีเราก็เดินเข้าไปเผชิญหน้า แม้จะรู้ว่าจะพบกับความตาย แต่บางครั้งก็ทนไม่ไหว เพราะอารมณ์กิเลสมันเร่งรัดผลักดันให้คะมาไปข้างหน้า ไปเจอกับความเศร้าโศกที่เกิดจากความพลัดพราก ไปเจอกับความเสียใจที่เกิดจากความผิดหวัง
    ด้วยเหตุนี้กระมัง จึงมีผู้คนมากมายทาลายชีวิตตนเองด้วยวิธีการต่างๆ โดยไม่ยอมหยุดคิดสักนิดว่า ทุกข์นั้นเกิดจากสิ่งใด
    นี่แหละอานาจของอารมณ์กิเลส มันรุนแรง พัดกระหน่ายิ่งกว่าลมมรสุมใดๆทั้งสิ้น
    ทาอย่างไรเราจะมีโอกาสหยุดคิดสักนิดหนึ่ง ว่าเหตุแห่งทุกข์นั้นเกิดจากอะไร จึงเป็นผลให้เราทุกข์ถึงเพียงนี้…
    มันเป็นกรรมของสัตว์โลกเราอย่างนั้นหรือ ที่ไม่สามารถจะหยุดคิดถึงเหตุที่ทาให้เกิดทุกข์นั้นได้ และเป็นเช่นนี้มานับแต่โลกและสรรพสัตว์ได้เกิดขึ้น
    เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมานี้ นามธรรมได้ถูกพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่งโดยพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เกิดขึ้นในโลก พระองค์ได้ทรงค้นพบถึงวิธีที่จะหยุดคิด เพื่อให้ชาวโลกได้รู้เหตุให้เกิดทุกข์ และประทานวิธีหยุดคิดให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย ตามที่พระองค์ประสบผลมาแล้วด้วยพระองค์เอง นับเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ชาติทีเดียว
    วิธีการของพระองค์ฟังดูง่ายๆ ใครได้รับฟังก็คิดว่าน่าจะทาได้ทากายให้บริสุทธิ์ด้วยการรักษาศีล เพราะการรักษาศีล ทาให้ละเว้นความชั่วได้หลายอย่าง เช่น
    ละเว้นจากการฆ่าสัตว์
    ละเว้นจากการลักทรัพย์
    ละเว้นจากการพูดเท็จ
    ละเว้นจากการผิดลูกเมียผู้อื่น
    ละเว้นจากการดื่มสุรายาเสพติด
    ซึ่งเรียกว่า ศีล ๕ เมื่อเราละเว้นจากการทาชั่ว ๕ ประการนี้ได้นอกจากเป็นเบื้องต้นของการละเว้นแล้ว ในขั้นต่อไปที่เรียกว่า ศีล ๘ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ก็ทาให้กายของเราบริสุทธิ์ ครั้นกายบริสุทธิ์แล้วก็ทาให้จิตบริสุทธิ์ต่อไป
    การทาให้จิตบริสุทธิ์นั้น คือ ทาจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิเมื่อเราทาสมาธิมากๆ แล้ว ก็จะเกิดสติสัมปชัญญะตามมา
    สติ ก็คือ การระลึกได้
    สัมปชัญญะ ก็คือ การรู้ตัว
    คนเราเมื่อระลึกได้ รู้ตัวได้เท่าทันกิเลสอารมณ์ที่มันเกิดขึ้น เข้ามาออกไปในจิตของเราอยู่ทุกเวลาและโอกาสจนแทบตั้งตัวไม่ติด มันก็จะถอยห่างออกไป เพราะอารมณ์กิเลสทั้งหลายนั้น มันมีความกลัวอยู่อย่างหนึ่งคือ กลัวการรู้ทัน เหมือนขโมยที่คิดจะเข้าไปขโมยของในบ้าน ถ้ามันรู้ว่าเจ้าของบ้านยังตื่นอยู่ ถือปืนคอยจ้องจะยิงมัน แน่นอน! มันย่อมไม่เข้าไป
    เมื่อไม่มีขโมยเข้ามา จิตก็ว่าง มีเวลาหยุดคิดว่า เจ้าความทุกข์มันเกิดจากอะไร พอรู้สาเหตุที่มันเกิดทุกข์ เราก็จะมองเห็นว่า ทางแก้ทุกข์นั้นยังมีอยู่ ถ้าเรารู้เหตุก็ย่อมจะรู้ทางแก้ เช่น ตัดเหตุนั้นเสียผลที่ทาให้เกิดทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้น หรือถ้าทุกข์นั้นเกิดขึ้นแล้ว เราก็จะมองเห็นว่าควรจะแก้อย่างไร แล้วก็แก้ตามเหตุนั้น มันก็จะระงับดับทุกข์เสียได้ถึงความพ้นทุกข์ที่เกิดขึ้น
    เมื่อพระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ คนในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธองค์ยังทรงดารงพระชนม์อยู่ ก็พากันทาตาม เพราะคนเหล่านั้นเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย มีใจอ่อนละเอียด รู้จักเหตุรู้จักผล มีคุณธรรมอันสร้างไว้ดี เป็นบารมีอันติดตามมาแต่อดีตชาติ ต่างพากันปฏิบัติตามอาศัยศีลบริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ ทาให้เกิดปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงถึงความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เป็นจานวนมากมายตามขั้นตอนแห่งบารมีของตน
    ในรอบพันปี หลังจากพระพุทธองค์ทรงดับขันธปรินิพพานแล้วมหาชนชาวโลกที่พระธรรมคาสั่งสอนของพระองค์แพร่ขยายไปถึงก็ยังประพฤติดี ปฏิบัติชอบตามคาสอนของพระองค์ โดยถือมั่นว่าคาสั่งสอนนั้นเป็นตัวแทนของพระตถาคตเจ้าอยู่
    ผู้ประพฤติปฏิบัติตามด้วยความอดทน พากเพียรพยายามไม่ท้อถอยก็ยังได้ประสบความสาเร็จ ได้บรรลุถึงโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีและอรหัตมรรคอรหัตผลอยู่เป็นจานวนมาก ท่านเหล่านี้ได้ถึงความเป็นอริยบุคคล เป็นผู้ไม่ย้อนกลับมาสู่การเกิดดับ อันเป็นสมมติของชาวโลกอีกแล้ว
    ส่วนท่านที่บุญบารมียังไม่เต็มเปี่ยม ต่างก็ได้ฌานตามกาลังของตน เช่น ฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ จนถึง ฌาน ๔ หรือมิฉะนั้นก็ได้เป็นผู้ถือศีล ปฏิบัติสมาธิโดยเคร่งครัด เมื่อล่วงลับจากโลกมนุษย์นี้ไปแล้ว กุศลผลบุญก็ได้ส่งเสริมให้ไปบังเกิดเป็นเทวดา เป็นพรหมอยู่ในวิมานแดนสวรรค์ ส่วนจะยั่งยืนช้าเร็วเท่าใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการกระทาของตนเอง เพราะกุศลอันน้อยนิดยังเป็นโลกียชนอยู่ ย่อมเสื่อมได้ไม่พ้นจากอานาจของกิเลสมาร ซึ่งเป็นเสมือนบ่วงที่ร้อยรัดสรรพสัตว์ไว้
    คาสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ถือว่าใครเป็นพระเจ้าถึงจะมีพระเจ้าที่ชาวโลกยกย่องในภายหลัง พระเจ้านั้นๆก็ไม่สามารถจะให้บุญให้บาปแก่ใครได้ แม้พระองค์เองก็มิได้ยกย่องพระองค์ว่าเป็นพระเจ้าของใคร เพราะพระเจ้าที่แท้จริงก็คือ มนุษย์ เอง และขึ้นอยู่กับการกระทา ที่เรียกว่า กรรม ของตนเองทั้งสิ้น
    มนุษย์นับว่ามีวาสนายิ่งกว่าสัตว์ใดในโลก มีสิทธิอันสมบูรณ์ที่จะเลือกทากรรมดี หรือกรรมชั่วของตนเอง ถือว่าเป็นสัตว์อันประเสริฐซึ่งพระพุทธเจ้าทรงรับสั่งว่า เกิดเป็นมนุษย์นั้น ประเสริฐกว่าเกิดเป็นเทพ เป็นพรหมเสียอีก เพราะเทพพรหมถึงอย่างไรก็เป็นนามธรรม ไม่มีสังขารร่างกายที่จะทากรรมสิ่งใดให้เป็นไปตามความประสงค์ได้ แม้จะรวมกาลังแรงให้เห็นเป็นรูปร่างได้ในบางครั้งบางโอกาส ก็เป็นเพียงภาพเนรมิตเท่านั้น
    พระองค์ยังทรงชี้ให้เห็นว่า กรรมเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสาคัญของมนุษย์และสรรพสัตว์ มนุษย์จะเกิดมาได้ก็เพราะกรรม เรียกว่ากรรมเป็นแดนเกิด มนุษย์จะสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์กันมาได้ ก็เพราะกรรมนั่นเอง
    กรรมยังเป็นเครื่องจาแนกให้มนุษย์และสรรพสัตว์แตกต่างกันออกไป เกิดมารูปชั่วก็มี เกิดมารูปงามก็มี เกิดมารูปร่างสมบูรณ์ด้วยอาการ ๓๒ ก็มี เกิดมาพิกลพิการก็มี เกิดมาลาบากยากจนอดอยากก็มีเกิดมาร่ารวยก็มี เกิดมาใจบาปหยาบช้าก็มี เกิดมาใจบุญกุศลก็มีและนี่
    แหละที่ถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ประจาโลกมนุษย์เรา ท่านเรียกว่าเป็น กฎแห่งกรรม ที่ไม่มีใครจะเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากมนุษย์เอง
    กรรมนั้นเป็นเหตุ ถ้ามนุษย์เลือกทากรรมดีเป็นกุศล ก็จะได้รับผลดีเป็นการตอบสนอง ถ้าทากรรมชั่วเป็นอกุศล ก็จะได้รับผลชั่วไปด้วย เราสามารถจะมองเห็นผลของกรรมดีกรรมชั่วในโลกมนุษย์แห่งนี้ได้ง่ายๆ ถ้าเรารู้จักพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นมีขึ้นตามความเป็นจริง
    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มนุษย์จะต้องต่อสู้อย่างหนักหน่วงยิ่งกว่าสงคราม ก็คือ ความดีและความชั่ว หรือ กุศล อกุศล ซึ่งขึ้นอยู่ในจิตใจของตนเอง และส่วนมากก็มักจะพ่ายแพ้แก่อกุศลกรรม ซึ่งเป็นฝ่ายกิเลสมารร้ายไปครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะความอ่อนแอในจิตใจของตนอีกเช่นกัน
    ด้วยเหตุนี้ สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงคงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า "วัฏสงสาร" ชาติแล้วชาติเล่า ภพแล้วภพเล่า โดยไม่มีใครคิดสงสารตัวเองแต่อย่างใด ผู้พ่ายแพ้ต่ออกุศลกรรมดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นหมู่สัตว์ชนิดหนึ่งไป เขาจะต้องชดใช้กรรมชั่วของเขาตามที่เขากระทาขึ้น
    อันนี้เป็นสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ เป็นสัจธรรมที่มีประจาโลกจักรวาล อันไม่มีใครจะเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่ามนุษย์จะพัฒนาโลกให้เจริญก้าวหน้าไปสักเท่าใด ผลกรรม บุญบาปก็เป็นอยู่เช่นนั้น เช่นเดียวกับที่ทรงตรัสถึงความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทรงตรัสถึงไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาซึ่งไม่ว่ามนุษย์ สรรพสัตว์ วัตถุที่คิดปรุงแต่ง ประดิดประดอยกันขึ้นมา จะต้องตั้งอยู่ในสภาพเดียวกันทั้งสิ้น
    แม้กระพันพระธรรมคาสอนที่ตรัสไว้มากมายถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระองค์ก็ยังตรัสว่า เป็นเพียงใบไม้แห้งกามือเดียวเท่านั้น พระธรรมคาสอนที่ยังมิได้ตรัสถึง ยังมีอีกมากเท่ากับใบไม้ในป่า
    เพราะเหตุนี้กระมัง พระอริยเจ้าก็ดี ท่านผู้ใครถึงความเป็นพระอริยะก็ดี จึงยินดีชื่นชมที่จะเข้าไปค้นหาพระธรรมคาสอนในป่า อันเป็นที่สงัดวิเวก พระพุทธเจ้าเองก็ได้พบธรรมในป่า ทรงเกิดในป่าตรัสรู้ในป่า นิพพานในป่า พุทธสาวกในครั้งกระโน้น เมื่อบวชเรียนแล้ว พระองค์ก็ทรงชี้แนะให้ไปบาเพ็ญเพียรค้นหาธรรมในป่า
    ธรรมในป่าที่พระองค์นามาสอนชาวโลก ก็คือทางที่จะนาสัตว์ในพ้นจากวัฏสงสาร ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด ไม่ต้องตกอยู่ในอานาจของไตรลักษณ์ และทาให้สามารถจะต่อสู้กับกิเลส ตัณหาจนถึงความพ้นทุกข์ได้ในที่สุด
    ซึ่งโดยสรุปโดยย่อแล้ว อาวุธที่ทรงประทานให้ต่อสู้นั้น ก็คือ ศีลสมาธิ ปัญญา ซึ่งมีอานุภาพปราบได้ทั้งไตรจักร และหักหาญเอากิเลส ตัณหา ที่สิงอยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์และสรรพสัตว์มารวมไว้ในกามือเดียว
    แต่ช่างน่าสงสารนัก ที่ชาวโลกเป็นส่วนน้อยจะสนใจไยดีในเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อชาระความประมาทมัวเมากับกิเลสตัณหา ความโลภ ความโกรธ ความหลง เพื่อลดความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามขันธ์ ๕ ให้หมดไป จะได้ถึงความพ้นทุกข์กันเสียที เพราะความทุกข์นี้ ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ไม่มีพระเจ้าองค์ใดจะช่วยได้ นอกจากตัวของเราเอง
    เอาล่ะ…จะอารัมภบทไปมากนัก ท่านผู้อ่านก็จะเบื่อหน่าย เพราะขึ้นชื่อว่าธรรมแล้ว นับเป็นสิ่งที่ชาวโลกเบื่อหน่ายมากที่สุด โดยเฉพาะธรรมะในพุทธศาสนานี้ มันสวนทางกับความนิยมพอใจของชาวโลกมาโดยตลอด
    ชาวโลกเขานิยมชื่นชมกิเลส ตัณหา เขาพอใจความโลภ โกรธหลง เขาติดในรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็นของรักของชอบใจจนยึดมั่นว่าเป็นตัวเราของเรา ยึดมั่นได้เท่าไร สะสมมากเท่าไรก็จะพอใจยินดีผูกพันเหนียวแน่นไม่ยอมปล่อย แม้จะรู้ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็รู้ไปตามสัญญาที่สืบต่อกันมา แต่ไม่ยอมรับ ไม่ยอมสนใจ นี่แหละที่ว่า โลกกับธรรมมันเดินสวนทางกันจึงอยากจะขอเล่าเรื่องสนุกๆให้ฟังกันบ้าง
    ก่อนจะเล่า ก็ใคร่ขอเรียนให้ทราบโดยย่อ ถึงผลของการปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา เสียหน่อยว่า ผู้ปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญานั้น จะได้รับผลเป็นขั้นตอนแตกต่างกันไป บางท่านได้เคยสร้างบุญบารมีมาเต็มเปี่ยมแล้ว อย่างเคยเป็นผู้บริจาคทานมาเป็นอันมากในอดีตชาติ เคยรักษาศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์มาในอดีตชาติ เคยปฏิบัติธรรมสมาธิมาเต็มขั้น หรือมีพื้นฐานมาก่อน ผู้นั้นก็สามารถจะบรรลุธรรมขั้นเสขบุคคลได้โดยง่าย
    อย่างในพุทธกาลท่านกล่าวว่า เพียงได้ฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้าจบลง ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สาเร็จเป็นพระโสดาบัน เป็นอนาคามี สกิทาคามี หรือเป็นพระอรหันต์ไปเลย
    บางท่านบุญบารมียังไม่เต็มเปี่ยม ก็ยังต้องปฏิบัติต่อไปอีก เร็วบ้าง ช้าบ้าง บางทีก็ต้องปฏิบัติข้ามชาติข้างภพ อย่างได้โสดาบันแล้ว ยังไม่สาเร็จพระอรหันต์ในชาตินั้น ก็จะต้องไปเกิดอีกอย่างมากเพียง ๗ ชาติ
    นอกจากนี้ก็ยังมีขั้นตอนของความสาเร็จอีก เช่น ขั้นต้น จะได้ขั้นขณิกสมาธิ ขึ้นไปอุปจารสมาธิ จนถึงขึ้นอัปปนาสมาธิ หรือได้ฌานที่ ๑ คือ ปฐมฌาน ฌานที่ ๒ คือ ทุติยฌาน ฌานที่ ๓คือ ตติยฌาน ฌานที่ ๔ คือ จตุตถฌาน ผู้ที่ได้ฌาน ๔ นี้ยังถือเป็นโลกิยฌานอยู่ ยังไม่ถึงขั้นโสดาบัน ได้แล้วไม่ปฏิบัติสืบเนื่องให้เกิดวสี คือความคล่องแคล่วชานาญ ก็อาจเสื่อมได้ เพราะกิเลสตัณหา ความโลภ โกรธ หลง เพียงสงบลง แต่มันยังไม่ตายเด็ดขาดเมื่อกระทบสิ่งยั่วยุเข้า ก็เกิดขึ้นมาอีก
    ผู้ปรารถนาความหลุดพ้น ต้องบาเพ็ญเพียรข้ามโลกิยฌานไปให้ถึงโลกุตรฌานอันดับแรก คือโสดาบันให้ได้ แม้กระนั้นกิเลสตัณหา ความโลภ โกรธ หลง ก็ยังมีอยู่ แต่ถือว่าเป็นขั้นไม่ย้อนกลับไปสู่อานาจของกิเลสตัณหาแล้ว คือจะต้องขึ้นไปถึงธรรมที่สูงขึ้นไปจนบรรลุถึงอรหัตผล จึงจะพ้นวัฏสงสาร ไม่เกิด ไม่ตายได้เด็ดขาด
    เพียงขั้นโลกิยฌานนี้ ก็ทาให้มีฤทธิ์ได้ เช่น ได้ตาทิพย์ หูทิพย์ระลึกชาติได้ เป็นต้น แต่เป็นการได้ในวงแคบ เช่น เห็นได้ไม่ไกลได้ยินไม่ได้ไกล หรือระลึกชาติถอยหลังไปได้เพียง ๔-๕ ชาติ ไกลกว่านั้นไม่ได้ ถ้าไปถึงขั้นโลกุตระแล้ว ก็จะเห็นได้ไกล รู้ได้ไกลยิ่งขึ้น และเห็นชัดเจนถูกต้องมากกว่า เอาแค่นี้ก่อน
     
  2. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่ 2 ตายแล้วไปใหน

    บทที่ 2 ตายแล้วไปใหน
    ต่อไปนี้…ผู้เขียนขอใช้คาแทนชื่อตัวเอกของเรื่องว่า "อาตมา"โดยสมมติว่าเป็นพระพุทธสาวกในชาติปัจจุบัน ส่วนจะเป็นพระมากน้อยแค่ไหน เป็นเนื้อนาบุญของชาวบ้านได้มากน้อยเพียงใด จะไม่ขอพูดถึง เพราะการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง เมื่อยังต้องปฏิบัติอยู่ ถ้าไม่ถึงวิมุตติหลุดพ้น จะเรียกพระอย่างเต็มภาคภูมิ ก็ยังต้องเรียกอย่างกระดากปาก เอาเป็นว่าเป็นสมมติสงฆ์ก็แล้วกัน
    และคาว่าพระนั้น มิใช่จะยึดเอาที่ผ้ากาสาวพัสตร์ครองกาย เราท่านจะนุ่งเหลือง ห่มเหลืองเป็นภิกษุสามเณร หรือนุ่งขาวห่มขาวเป็นอุบาสก-อุบาสิกา จะเรียกว่าพระยังมิได้เต็มปาก เพราะเป็นเพียงเครื่องหมายสมมติขึ้นเท่านั้น
    คาว่า พระ ที่เต็มความหมาย ก็คือ ผู้มีจิตสารวมมั่นคงเป็นสมาธิ มีเมตตาอิ่มเอิบสมบูรณ์อยู่เป็นนิตย์ จึงจะเรียกว่าพระได้ เพราะเมื่อมีจิตตั้งมั่นสารวมอยู่ในสมาธิ และเมตตาธรรมแล้ว ศีลทั้งหลายตั้งแต่ศีล ๕ ถึง ๒๒๗ ก็จะสมบูรณ์ในผู้นั้น ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเครื่องหมายอะไร
    เมื่อทาความเข้าใจเอาไว้ดังนี้แล้ว ก็จะเล่าถึงความเป็นมาของชีวิตในชาติปัจจุบันนี้ก่อน
    อาตมาเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะ ที่เรียกว่าพอมีอันจะกินโยมพ่อกับโยมแม่มีอาชีพค้าขาย มีร้านค้าที่มีสินค้าสารพัดอยู่ จะเรียกอย่างสมัยนี้ว่าสรรพสินค้าก็ได้
    ภายในครอบครัว นอกจากโยมทั้งสอง ก็มีพี่ชายคนโต กับพี่สาวอีก ๒ คน อาตมาเกิดเป็นคนสุดท้อง และเกิดห่างจากพี่ๆหลายปีทีเดียว เพราะเขาโตๆ ช่วยโยมพ่อโยมแม่ค้าขายได้แล้ว และไม่มีใครคิดว่าจะมีอาตมาขึ้นมาอีก
    เมื่อเกิดใหม่ๆ ลืมตาดูโลกได้แล้ว ในจิตใจของอาตมาเกิดความสงสัยขึ้นว่า ทาไมตัวเราจึงกลายเป็นเด็กไป มันช่างแปลกประหลาดสิ้นดี
    อาตมามีความรู้ขึ้นมาว่า ตัวเป็นพระอายุตั้ง ๘๐ กว่าแล้ว กาลังนั่งสมาธิอยู่ในกุฏิที่วัด มันไปมาอย่างไรกันแน่ จึงมากลายเป็นเด็กดิ้นอยู่ในเบาะ ต้องกินนมจากเต้าของโยมแม่ ได้รับการทะนุถนอมจากพี่ชาย พี่สาวทั้งสองคน ซึ่งตามธรรมดาแล้ว ผู้หญิงจะมาถูกต้องอาตมาไม่ได้ แต่แม้จะรู้ว่าตัวเป็นภิกษุเฒ่า ก็ทาอะไรไม่ได้ เพราะกลายเป็นเด็กทารกนอนอยู่ในเบาะ ทาอะไรไม่ได้ พูดไม่ได้ แต่ก็รู้ทุกอย่าง
    พออายุยังไม่ชนขวบดี อาตมาก็พูดได้แล้ว แต่พูดยังไม่ชัด ทั้งที่จิตรู้ว่าจะพูดอย่างไร แต่ปากมันไม่ยอมพูดตามนั้น ได้แต่คิดรู้ขึ้นมาว่า ตอนที่เป็นพระภิกษุผู้เฒ่านั่งสมาธิอยู่ จิตได้ดับลงในสมาธิพอจิตดับในสมาธิแล้ว มันก็ออกมายืนดูสังขารร่างกายที่เป็นพระผู้เฒ่ากาลังนั่งสมาธิอยู่นาน เกิดความสังเวชสลดใจในความชราเห็นว่าสังขารอันประกอบด้วยธาตุ ๔ นั้น มันตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว อาศัยมันเป็นเครื่องมือปฏิบัติไม่ได้แล้ว เราจะต้องไปหาสังขารใหม่ปฏิบัติต่อไป
    พอคิดอย่างนั้น ก็ก้มลงมองตัวเอง เห็นร่างกายเหมือนกับร่างเดิมที่กาลังทาสมาธิอยู่ แต่ไม่แก่ชราอย่างนั้น มันเหมือนแก้วใสโปร่งแสง ไม่มีน้าหนัก มองทะลุไปได้ตลอดร่าง สติรู้ในตอนนั้นว่าเป็นกายทิพย์ หรือเป็นกายใน เกิดคาถามว่าเราจะไปไหน ก็นึกตอบขึ้นมาเองว่า ไปหาที่เกิดใหม่ แล้วกายทิพย์ก็ลอยขึ้น…ลอยขึ้น
    มันลอยขึ้นไปถึงกลุ่มเมฆใต้แผ่นฟ้า ซึ่งเมื่อเป็นภิกษุชราก็เคยมองขึ้นไป ไม่เห็นมีอะไรนอกจากความเวิ้งว้างว่างเปล่า นี่มองด้วยตาเนื้อธรรมดานะ แต่ก็เคยมองด้วยตาฌานว่า มันมีสวรรค์วิมานลอยอยู่ในหมู่เมฆมากมาย เต็มไปด้วยแสงสี ได้เห็นเทพเทวานางฟ้าเสวยสุขอยู่ในแต่ละวิมาน ด้วยใบหน้าอิ่มเอิบแย้มสรวล เมื่อกายทิพย์หรือจิตลอยขึ้นมา ก็เห็นเหมือนกับเห็นด้วยตาฌาน แต่จิตไม่ได้มีความปรารถนาอย่างนั้นเลย
    ตอนที่อยู่ในร่างของภิกษุชรา บาเพ็ญเพียรปฏิบัติธรรมสมาธิอยู่ก็ไม่เคยปรารถนาสวรรค์วิมาน เพราะเห็นว่าเป็นการเสียเวลา สวรรค์วิมาน เทวดา นางฟ้า เมื่อเสวยผลจากกุศลกรรมของตนจนหมดแล้วก็จะต้องมาเกิดเป็นมนุษย์อีกตามกรรมของตน
    การไปเสวยผลบนสวรรค์วิมานนั้น จะเห็นว่าต้องเสียเวลามากเพราะเทียบหยาบๆ ร้อยปีในเมืองมนุษย์ ก็เท่ากับวันเดียวบนสวรรค์ถ้าเราเสวยสุขอยู่บนนั้นสักพันปี จะอยู่ได้นานสักเท่าไร จึงมุ่งมั่นประการเดียว ขอปฏิบัติให้ถึงความพ้นทุกข์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก
    เมื่อจิตไม่ปรารถนาสวรรค์ วิมานมาแต่เดิม ก็มีสติรู้ว่าไม่ใช่ที่อยู่ของเรา ทันใดกายทิพย์ก็ตกวูบลงมาสู่พื้นโลก เกิดแวบคิดถึงนรกเพราะมีสัญญาเดิม จาได้หมายรู้ว่านรกเป็นอย่างไร กายทิพย์ก็ลงไปถึงนรก แผ่นดินที่เต็มไปด้วยไฟ แล้วมันก็หยุดชะงักเพียงแค่เห็นไฟมีสติรู้ว่าที่นี่ก็ไม่ใช่ที่อยู่ของเรา เมื่อยังเป็นมนุษย์และเป็นภิกษุอยู่จนชราภาพ เราได้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบในทางกุศลมาโดยตลอด จึงไม่มีนรกสาหรับเรา
    กลับดีกว่า กลับมาสู่โลกมนุษย์ ท่องเที่ยวไปตามจิตปรารถนาสิ่งใดไม่เคยเห็นก็ได้ไปเห็น ส่วนมากก็ไปตามปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนา ไปนมัสการพระพุทธรูปแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประชาชนเขาเลื่อมใส ไปนมัสการพระเจดีย์ธาตุ ที่เรียกว่าวัดมหาธาตุอันมีอยู่ตามเมืองต่างๆ จนจาไม่ได้หมดว่าไปที่ไหนมาบ้าง
    อันที่จริงเป็นจิตทิพย์ กายทิพย์นี้ก็ดี มีความสะดวกมาก พอนึกจะไปที่ไหนมันก็ไปถึงทันที ชั่วแวบเดียวเท่านั้น ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางขึ้นรถ ลงเรือ แม้ในทางเครื่องบินก็ยังช้ากว่าอยู่นั่นเอง
    แต่การจะเพลิดเพลินเจริญใจอยู่กับจิตกับกายที่เป็นทิพย์นี้ จะเสียเวลาเปล่า ไม่ได้ปฏิบัติสมาธิธรรมตามที่ตั้งปรารถนา จะกลายเป็นวิญญาณเร่ร่อนที่ไม่มีจุดหมายปลายทาง เพราะระหว่างที่ท่องเที่ยวอยู่นั้น ก็ได้พบจิตหรือกายทิพย์พเนจรไปมาอยู่มากมาย เกลื่อนกลาดไปหมด พวกนี้นรกก็ไม่ไป สวรรค์ก็ไม่อยู่
    ส่วนมากเมื่อเป็นมนุษย์ปฏิบัติธรรมอยู่ เกิดกายทิพย์ออกไปท่องเที่ยวเพลิดเพลินเกินเวลาจนลืมกลับร่างเดิม พอนึกขึ้นได้ ก็กลับเข้าร่างไม่ได้เสียแล้ว เพราะพ่อแม่ลูกเมียหรือญาติพี่น้องเขาเอาร่างไปเผาทาลายเสียแล้ว โดยคิดว่าตาย หรือพระที่ธุดงค์อยู่ในป่า เกิดกายทิพย์ออกไปท่องเที่ยวเพลินไป ทิ้งร่างเดิมไว้จนเน่าเปื่อยผุพัง ทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาตาย จึงกลับเข้าร่างไม่ได้อีก
    การณ์ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะสติตัวรู้ยังไม่สมบูรณ์พอ ไม่รู้เท่าทันกิเลส กายทิพย์แวบออกไปเห็นสวรรค์ วิมาน เทวดา นางฟ้าอันสวยงาม ก็ไปยึดติดหลงใหลจนลืมร่างเดิม
    ด้วยเหตุนี้ นักปฏิบัติจะต้องพยายามเพิ่มพูนตัวสติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์ รู้เท่าทันกิเลสตัณหาได้รวดเร็ว เท่ากับความรวดเร็วของจิตที่วิ่งเข้าวิ่งออกเหมือนฟ้าแลบ เพราะถ้ารู้ไม่ทัน กิเลส ตัณหาใดเข้ามาก็จะเกิดความคิดปรุงแต่งไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนกับเรานอนหลับฝันไปพอรู้สึกตัวก็ยังงัวเงียฝันต่อไป เป็นเรื่องเป็นราวเพลิดเพลิน จนไม่อยากลุกจากที่นอน แล้วก็ไปยึดถือเป็นจริงเป็นจัง
     
  3. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่3 เรื่องแปลกๆ ในวัยเด็ก

    ระหว่างที่กายทิพย์เร่ร่อนหาที่เกิด ก็ไปพบร้านค้าแห่งหนึ่งเจ้าของร้านสามีภรรยา แม้ไม่มีโอกาสไปวัดเพราะธุรกิจผูกพัน ก็มีการสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน ลูกชายและลูกสาวก็ได้รับการอบรมให้ไหว้พระเช่นกัน เช้าขึ้นก็จะช่วยกันหุงข้าวใส่บาตรเป็นประจา นับว่าเป็นครอบครัวที่มีจิตเป็นฝ่ายกุศล
    จิตก็รู้ขึ้นมาว่า ที่เกิดของเราอยู่ที่นี่เอง และยังรู้ต่อไปว่า โยมมารดานั้นเคยเป็นพี่สาวของเราในอดีตชาติ มีความสัมพันธ์กันอยู่ทันใดนั้น กายทิพย์ก็ตกวูบลงไป เข้าไปอยู่ในครรภ์โยมแม่แล้ว
    จิตในวัยทารกแบเบาะนั้น มันรู้เห็นไปสารพัด บางทีก็รู้ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้น อยากพูด อยากบอก แต่มันยังพูดไม่ได้
    เกิดเป็นมนุษย์นี้ กว่าจะเติบโตขึ้นมาได้ต้องรับทุกขเวทนา ต้องอดกลั้นอดทนมากทีเดียว เพราะสังขารร่างกายที่เป็นมนุษย์นั้น มันเติบโต รู้ภาษาตามวัย พอลุกขึ้นยืนได้ ก็ต้องค่อยๆ ย่างเดิน เพราะขายังไม่แข็งแรงพอ ไม่เหมือนวัว ควาย ม้า พอคลอดออกมาก็วิ่งได้
    การพูดก็อยากพูดเหลือเกิน แต่มันพูดไม่ได้ ต้องอ้อๆ แอ้ๆคนฟังเขาก็ไม่รู้เรื่อง จนราคาญตัวเอง มีอารมณ์หงุดหงิดบ้าง
    พออายุได้ ๓ ขวบ ค่อยโล่งอกไปที เดินได้ วิ่งก็ได้ พูดจาก็รู้เรื่องมากขึ้น ตอนนี้แหละมันอยากจะสวดมนต์ไหว้พระ โยมพ่อ โยมแม่กับพี่ๆ เขาลงไปอยู่ข้างล่าง บางคนก็ไปโรงเรียน บางคนก็ช่วยขายของหน้าร้าน อาตมาก็โอ้เอ้อยู่ข้างบน เห็นเงียบสงัดดีก็เข้าห้องพระ กราบแล้วก็เริ่มสวดมนต์ หนังสือยังอ่านไม่ออก วัดก็ไม่เคยไปมันสวดได้เองเสียงแจ๋ว ๗ ตานาน ๑๒ ตานาน มันสวดไปได้เอง และด้วยคล่อง
    โยมพ่อขึ้นมาเพราะสงสัยว่าพระที่ไหนมาสวดมนต์ เมื่อโผล่หน้าเข้ามาในห้องพระ จึงเห็นลูกชายคนเล็กนั่งสวดมนต์เหมือนที่พระสวดตามวัด ก็แปลกใจว่าสวดได้อย่างไร ต้องไปตามโยมแม่ขึ้นมาฟังด้วย
    อาตมาตอนนั้นไม่สนใจใครเลย นั่งหลับตาสวดจนจบ แล้ก็ทาสมาธิต่อ การนั่งสมาธิก็นั่งได้อย่างถูกต้อง เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวตรง ดารงสติมั่น ทุกอย่างมันเป็นไปเอง
    โยมพ่อโยมแม่เห็นอย่างนั้น ก็ถอยกลับลงไปซุบซิบอยู่ข้างล่างอย่างอัศจรรย์ใจ นี่มันเกิดอะไรขึ้น เป็นไปได้อย่างไร ใครมาสั่งสอนแต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ อายุเพิ่งแค่ ๓ ขวบ ตั้งแต่เล็กก็ไม่เคยไปวัด
    การนั่งสมาธิครั้งแรกนั้น ใช้คาภาวนาว่า "พุทโธ" นั่งไปสักพักหนึ่ง จิตก็รวมตัวตั้งมั่นในสมาธิ แล้วก็เกิดรู้ขึ้นมาเอง เห็นหมด โยมพ่อโยมแม่กาลังทาอะไรอยู่ข้างล่างก็เห็น พี่สาวกาลังวิ่งเล่นที่โรงเรียนก็เห็น ยังได้ยินโยมพ่อโยมแม่คุยกันชัดเจน โยมแม่บอกให้โยมพ่อขึ้นมาดูว่าเลิกนั่งสมาธิหรือยัง เป็นห่วงกลัวจะหิว
    แต่อาตมาตอนนั้น ไม่รู้สึกหิวเลย มันอิ่มเอิบไปหมด นั่งอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆ โยมพ่อขึ้นมาถึง ๒-๓ ครั้ง จึงได้ออกจากสมาธิ
    โยมพ่อถามว่า "ลูกเป็นอะไร"
    อาตมาก็ตอบว่า "ลูกสวดมนต์ไหว้พระ ทาสมาธิ"
    "ลูกทาได้อย่างไร ไม่เคยร่าเรียนมาก่อน ใครมาสอนลูกหรือ"
    "ไม่มีใครสอน ลูกอยากทาก็ทาได้เอง"
    โยมพ่อจูงมือลงไปข้างล่าง ให้โยมแม่หาอาหารให้กิน ไม่รู้จะถามอะไรอีก ยังหาคาตอบไม่ได้ว่า เป็นไปได้อย่างไร แต่ก็สังเกตว่าทั้งสองท่านชื่นชมยินดี พูดกันว่าลูกเราคงเป็นผู้มีบุญมาเกิด จึงใฝ่ใจในทางกุศลตั้งแต่ยังเล็ก
    ที่น่าพอใจก็คือ ท่านไม่ห้ามปรามแต่อย่างใด อาตมาก็สวดมนต์ไหว้พระ ทาสมาธิทั้งตอนเช้าและตอนค่า ไม่ชอบลงไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ชอบนั่งเงียบๆ ดูกายดูจิตอยู่ตามลาพัง ตอนนั้นปฏิบัติได้ถูกต้อง แต่เรียกไม่ถูกว่าปฏิบัติอะไร มารู้ภายหลังว่าทาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ มีการพิจารณา รูป เวทนา จิต ธรรม ทบไปทวนมา ที่รู้ภายหลังนี้ ก็ตอนเข้าวัดศึกษาทางปริยัติ เป็นสามเณรแล้วห่างกันอีกหลายปี
    ตอนเป็นเด็ก อยู่กับโยมทั้งสอง อาตมาได้สร้างความแปลกใจให้กับโยม และเพื่อนบ้านอยู่เสมอ คราวหนึ่งโยมพ่อบ่นกับโยมแม่ว่า "หมู่นี้ร้านเราขายของไม่ดีเลย ไม่รู้เป็นอย่างไร"
    อาตมานั่งอยู่ข้างๆ ก็ชี้มือไปที่หน้าร้าน บอกว่า "ผู้ขัดขวางเขามานั่งอยู่นั่น จะขายดีได้อย่างไร"
    "ใครมานั่งอยู่ที่ไหน พ่อไม่เห็นสักหน่อย ลูกพูดอะไรของลูก"
    อาตมาก็ยืนยันว่า "หนูเห็น เขาเป็นวิญญาณเร่ร่อนอดอยากมาพักอยู่หลายวันแล้ว พ่อทาบุญสังฆทานให้เขาซิ เขาจะได้ไปเกิด"
    แต่แรกพ่อไม่ยอมเชื่อ หาว่าพูดเหลวไหล วันต่อมาแทบไม่มีคนเข้ามาซื้อของในร้านเลย ทั้งที่เคยขายของดี โยมแม่จึงบอกกับโยมพ่อว่า
    "ลูกของเรา เขามีอะไรแปลกๆ มาตั้งแต่เด็ก สวดมนต์ไหว้พระทาสมาธิได้โดยไม่มีใครสอน และเขาก็ทาอยู่ทุกวันไม่เคยขาด ลองเชื่อลูก ทาสังฆทานให้วิญญาณกันดีกว่า"
    โยมพ่อก็ตกลงตาม จัดการเตรียมเครื่องสังฆทาน นิมนต์พระมารับในตอนเช้า ตั้งแต่วันนั้น ปรากฏว่าของขายดีทั้งวัน และดีตลอดมา
    ครั้งหนึ่ง มีสองคนผัวเมียท่าทางภูมิฐาน เอารถมาจอดริมถนนฝั่งตรงข้ามกับที่ร้าน แล้วพากันลงรถเดินเข้ามา ปรากฏว่าเป็นคนชอบพอคุ้นเคยกับโยมทั้งสองมานาน บอกว่านั่งรถผ่านมา คิดถึงจึงแวะมาเยี่ยม
    ขณะที่นั่งคุยกัน ฝ่ายภรรยาปรารภให้ฟังว่า "ไปปลูกตึกแถวขายถึง ๒๐ ห้อง ทาเลดี เหมาะในการค้า แต่ปรากฏว่าตั้งแต่สร้างมาเป็นเวลาถึงสองปี ไม่มีใครมาซื้อเลย มาถามแล้วก็หายไป ลงทุนเข้าไปมาก ตอนนี้ก็แทบหาเงินส่งดอกเบี้ยธนาคารไม่ทัน ไม่รู้เป็นเพราะอะไร"
    โยมแม่ถามว่า "เคยไปหาอาจารย์ทานายทายทัก ให้รู้สาเหตุบ้างไหม"
    สามีก็บอกว่า "ไปมาหลายแห่งจนอ่อนใจ ก็ไม่เห็นว่าอย่างไรเพียงแต่บอกว่า เมื่อนั่นเมื่อนี่จะขายได้ แล้วก็เงียบไป"
    โยมแม่ก็เรียกอาตมาเข้าไปหา แนะนาให้รู้จัก บอกว่า "ลองถามพ่อลูกชายคนเล็กของดิฉันดูซิคะ บางทีเขาจะบอกอะไรได้"
    สองสามีภรรยาทาหน้างงๆ เพราะไม่นึกว่าจะให้มาถามเรื่องสาคัญอย่างนี้กับเด็กตัวนิดเดียว แต่คงจะไม่ให้เสียมารยาท ก็เลยถามว่า "หลานดูได้หรือนี่"
    "พอดูได้ครับคุณลุงคุณป้า ว่าแต่ตึกแถวอยู่ทีไหน มีอะไรเป็นเครื่องหมายให้รู้บ้าง เขาเรียกว่าอะไร" อาตมาซักยังกับเป็นผู้ใหญ่
    คุณลุงตอบว่า "ที่หน้าตึกแถว มีต้นฉาฉาขึ้นเรียงกันอยู่ ๓ต้น เขาเรียกบ้านใหม่"
    พอบอกอย่างนั้น อาตมามองเห็นหมด ทั้งที่ไม่เคยไปหรือเคยรู้จักเลย จึงถามว่า "เป็นตึกแถวสองชั้นครึ่งใช่ไหมคุณลุง"
    "ใช่แล้วหลาน"
    "ข้างนอกทาสีเขียว หลังคากระเบื้องสีน้าตาล ใช่ไหมคุณลุง"
    เอะ…ยังกับตาเห็นเชียวนี่" คุณลุงอุทานแล้วตอบว่า "ใช่"
    "คุณลุงรู้ประวัติที่นี่ไหม"
    "พอรู้…เพราะเป็นที่ดั้งเดิม มรดกตกทอดของลุง"
    "ที่ตรงนี้เคยมีคนมาฆ่ากันตาย เขาสู้กันเลยตายทั้งคู่"
    "โอ้โฮ…ยังกับตาเห็นจริงๆ หลานเห็นหรือจ๊ะ จึงได้บอกถูกต้องหมด" คุณป้าอุทานอีกคนหนึ่ง พร้อมทั้งถาม
    "เห็นครับ…ที่ขายตึกไม่ได้ เพราะวิญญาณสองคนนี้ เขาคอยขัดขวาง อาละวาดอยู่ เขาต่อสู้กันทุกวัน เป็นวิญญาณพยาบาทไม่รู้จักจบสิ้น"
    "แล้วลุงกับป้าจะทาอย่างไรดี"
    "นิมนต์พระที่ปฏิบัติดี มาเทศน์โปรดวิญญาณ ให้เขาละทิฐิมานะ ละความโกรธแค้นพยาบาท แล้วถวายสังฆทาน ๔ ชุด อุทิศส่วนกุศลให้เขาไปผุดไปเกิด ทาเช่นนี้อาทิตย์ละครั้ง สัก ๓ อาทิตย์ต่อไปจะมีคนมาแย่งกันซื้อตึกของคุณลุงคุณป้าจนหมด ไม่เกิน๓ เดือน ๖ เดือน"
    อาตมาบอกไปอย่างนั้น ไม่ได้คิดว่าคุณลุงคุณป้า จะทาตามหรือเปล่า คิดว่าเราเป็นเด็ก ผู้ใหญ่อาจไม่เชื่อ
    อีกสองเดือนต่อมา คุณลุงคุณป้าคู่นั้นกลับมาอีก หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส มาถึงก็ถามหาอาตมาเลย แล้วบอกว่า
    "ลุงกับป้าเอารางวัลมาให้ ๕,๐๐๐ บาท รับไว้ซิหลาน เก่งจริงๆ ตอนนี้ตึกของลุงกับป้าขายไปได้ ๕-๖ ห้องแล้ว ยังมาติดต่ออยู่อีกหลายเจ้า"
    หลังจากนั้น ก็มีผู้มาให้ทานายทายทักอยู่เสมอ แต่ใจไม่ชอบทานายทายทักเลย เมื่อเขามาแล้ว มันเห็นมันรู้ ก็อดช่วยเขาไม่ได้จะบอกว่าไม่รู้ไม่เห็น ก็เป็นการโกหกเขาไป
     
  4. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่4 เจอร่างตนเองในอดีตชาติ

    ครั้งอาตมาอายุ ๑๕ ปี จึงขอโยมทั้งสอบบวชเณร โยมเห็นแล้วว่า อาตมามีบุญวาสนามาทางนี้ ขืนห้ามปรามก็คงไม่สาเร็จจึงอนุญาตให้บวช เตรียมสบงจีวรนามาหาอาจารย์เจ้าอาวาส และได้บรรพชาตามความประสงค์ แต่ก็ได้สั่งโยมพ่อโยมแม่ว่า ถ้าใครจะให้ทานายทายทัก ก็อย่าบอกว่าลูกมาบวชเณรอยู่ที่วัดไหน เพราะไม่ต้องการจะทานายให้ใคร
    การศึกษาปริยัติ ตอนบวชเป็นสามเณร ก็แปลกอีก พอเห็นหนังสือเรียนนักธรรมตรี โท เอก ก็รู้ขึ้นมาว่า หนังสือเหล่านี้ อาตมาเคยเรียนมาหมดแล้ว และยังจาได้แม่นยาด้วย แต่ก็ไม่แน่ใจ จึงให้สามเณร ซึ่งเป็นเพื่อนกันคอยดูหนังสือ อาตมาท่องปากเปล่า อย่างพระวินัย เริ่มแต่ปาราชิก ๔ สังฆาทิเลส ๑๓ จนถึงเสขิยวัตร อาตมาท่องได้หมด ทาให้เณรด้วยกันแปลกใจไปตามๆกัน
    เรื่องนี้รู้ไปถึงท่านมหา ซึ่งเป็นครูประจาชั้น วันหนึ่งท่านก็เรียกไปที่หน้าชั้น ถามว่า "เณรจาพระวินัยได้หมดหรือ อาจารย์สอนยังไม่ถึงเลย"
    อาตมาตอบท่านว่า "คิดว่าจาได้ รู้สึกเหมือนเคยเรียนมาแล้ว"
    ท่านมหาถามว่า "เคยเรียนจากที่ไหน จาได้ไหม"
    "รู้ขึ้นมาเองขอรับว่า เคยเรียนและเคยสอนด้วย"
    "เออ…แปลกจริง ไหนลองว่าให้ฟังซิ"
    ท่านมหากางหนังสือนวโกวาทออกดู เพื่อจะสอบทานไปด้วยอาตมาก็เริ่มท่องให้ฟัง ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่มีติดขัดเลย เหมือนกับที่สอบทานกับสามเณรเพื่อนกัน ยังความแปลกใจให้แก่ท่านมหาเป็นอันมาก
    เมื่อโยมพ่อกับโยมแม่มาเยี่ยมที่วัด ท่านมหาก็เล่าให้ฟัง ยิ่งทาความแปลกใจให้แก่ท่านมหามากขึ้นอีก เพราะได้ทราบจากโยมพ่อว่า ตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ อาตมาก็สวดมนต์ ๗ ตานาน ๑๒ ตานานและทาสมาธิแล้ว เลยเป็นที่เลื่องลือกันไปทั้งวัด
    นับจากนั้น ท่านมหาบอกว่า "เณรไม่ต้องเรียนแล้ว ถึงเวลาสอบก็ไปสอบกับเขา" จนกระทั่งสอบได้นักธรรมเอก
    เป็นสามเณรอยู่หลายปี จนสอบได้นักธรรมเอก ก็ไม่คิดจะเรียนต่อสนใจแต่ในทางปฏิบัติกรรมฐาน ตั้งแต่วันบวชก็ปฏิบัติมาเรื่อย ไม่เคยเว้นเลย การเรียนก็ไม่ต้องไปเรียน ถึงกาหนดสอบก็ไปสอบ นับว่ามีเวลาในการปฏิบัติมาก ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์และท่านมหา เมตตาอาตมามาก เพราะเห็นว่ามีความประพฤติตัวดี ไม่ชอบเล่นหัวเหมือนเณรรูปอื่นๆ บางทีท่านมหาต้องไปกิจนิมนต์ภายนอกวัด ก็มาขอให้ไปสอนพระเณรแทน
    เมื่อจบนักธรรมเอกแล้ว ก็เลยต้องเป็นครูสอนนักธรรมตรี ซึ่งพอปลีกเวลาไปสอนให้ได้ งานอื่นในการดาเนินกิจการของสงฆ์ ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ท่านก็ไม่รบกวน เพราะเห็นฝักใฝ่อยู่ในทางปฏิบัติกรรมฐาน
    อันที่จริง ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของอาตมานั้น ท่านเป็นพระปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง ถือธุดงควัตรเคร่งครัด เช่น ฉันหนเดียว ทาให้ต่อมาอาตมาก็ฉันหนเดียว ฉันในบาตรตามท่าน ตั้งแต่เป็นเณรสอบนักธรรมเอกใหม่ๆ
    วันหนึ่ง ท่านมหามาชวนไปเป็นเพื่อน ที่วัดเดิมของท่าน เพื่อนมัสการอาจารย์อุปัชฌาย์ของท่าน ที่มรณภาพไปนานแล้ว พอไปถึง ท่านก็พาขึ้นไปบนศาลา พร้อมกับบอกว่า อาจารย์อุปัชฌาย์มรณภาพมาเกือบ ๒๐ ปีแล้ว แต่ไม่เน่าเปื่อย นั่งขัดสมาธิขณะมรณภาพ ตอนนี้เขาใส่ตู้กระจกไว้บนศาลา มีคนมากราบไหว้บูชาขอโชคขอลาภเสมอ
    พอไปถึงตู้กระจกที่ใส่ศพ มองเข้าไป อาตมาก็ตกตะลึงจังงังเพราะจาได้ว่าเป็นร่างของตัวเอง นี่มันอะไรกัน รู้สึกตัวชาไปหมดเมื่อจุดธูปเทียนบูชาแล้ว อาตมายังตื่นเต้นจนพูดไม่ออก แต่ถึงจะพูดก็คงไม่กล้าพูดออกไป มันเป็นความรู้เฉพาะตัว ยิ่งกับท่านมหาด้วยแล้ว ขืนพูดคงไม่ดีแน่…
    ครั้นกลับวัดแล้ว ก็ได้ความรู้จากท่านมหาว่า อาจารย์อุปัชฌาย์ของท่าน ทรงแตกฉานในทางปริยัติมาก และเก่งในทางปฏิบัติด้วยทางไสยเวทวิทยาคม ก็ไม่น้อยหน้าใคร มีลูกศิษย์ลูกหาเต็มบ้านเต็มเมือง แต่อาตมาไม่รู้จะถามใครว่า ทาไมอาตมาจึงจาได้ว่าอาจารย์อุปัชฌาย์ของท่านมหาเป็นตัวของอาตมาเอง และท่านมาเกิดเป็นอาตมาจริงหรือไม่ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่กล้าถามใคร
     
  5. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่5 มีฌานหยั่งรู้ได้อย่างอัศจรรย์

    การที่เป็นนักปฏิบัติ ทาให้อาจารย์อุปัชฌาย์กับอาตมารู้สึก มีความสนิทสนมกันมากเป็นพิเศษ เวลาเข้าไปปฏิบัติรับใช้ ต้มน้า ชงชาให้ท่าน บางทีก็นวดให้ท่าน ซึ่งเป็นประเพณีนิยมกันมา ท่าน ก็มักถามว่า การปฏิบัติของอาตมาเป็นอย่างไร ใครแนะนามาก่อน หรือ ก็ได้เรียนความจริงให้ท่านทราบว่า ยังไม่มีใครแนะนา มันรู้ เองเป็นเอง อยากปฏิบัติมาตั้งแต่ ๓ ขวบ และก็ได้ปฏิบัติเรื่อยมา
    ท่านก็บอกว่า "เป็นบุญวาสนาของเณร ติดต่อสืบเนื่องมาแต่ อดีต ชาติก่อนคงปฏิบัติค้างอยู่ ชาตินี้จึงมาเกิดปฏิบัติต่อ ขอให้ พากเพียรพยายามให้มาก จะได้พ้นทุกข์ในชาตินี้ เณรจะมีประโยชน์ แก่พระพุทธศาสนามาก"
    ตอนหนึ่งท่านถามว่า "เห็นโยมผู้ชายของเณรเล่าให้ฟังว่า เณร รู้เห็นอะไรมาตั้งแต่เด็กๆ เดี๋ยวนี้ยังรู้เห็นอยู่หรือไม่"
    "ยังรู้เห็นอยู่ขอรับ ตอนยังไม่ได้บวชเณร มีคนมาให้ช่วยอยู่ เสมอ บางครั้งก็ราคาญ พอบวชเณรแล้ว กระผมจึงไม่ต้องการให้ ใครรู้ บางครั้งเห็นเหตุการณ์จะเกิดขึ้น ก็ไม่กล้าบอก เพราะรู้แล้ว ไม่มีเวลาปฏิบัติ กระผมเห็นว่า การรู้เห็นนั้น ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์"
    "ถูกต้องแล้วเณร การปฏิบัติธรรมกรรมฐานนั้น ต้องตัดช่อง น้อย เอาตัวให้รอดเสียก่อน ดูพระบรมศาสดาเป็นตัวอย่าง พระองค์ ตรัสรู้แล้ว จึงสอนคนอื่น เณรมาได้ไกลแล้วนะ พยายามให้มากเข้า เออ…เรามาทดสอบกันดูซิ…ตอนนี้ท่านมหาจาเริญกาลังทาอะไรอยู่"
    อาตมายกมือพนมขึ้น เรียนท่านไปว่า "ท่านมหาจาเริญ กาลัง ไม่สบายใจมาก"
    "ไม่สบายใจเพราะอะไร"
    "เพราะโยมพ่อมาบอกว่า น้องสาวคนเล็กถูกคนฉุดเอาไป ยัง ตามไม่พบ ตอนนี้พอสรงน้าเสร็จ จะมาปรึกษาหลวงพ่อว่าควรทา อย่างไร"
    "เออ!…เก่งจริง แล้วน้องสาวคนเล็กจะเป็นอะไรไหม"
    "ปลอดภัยแล้วขอรับ ตอนนี้กาลังอยู่บนโรงพัก เจ้าคนฉุด สองคนก็ถูกจับได้"
    "ทาไมจึงถูกจับ"
    "ไปเจอตารวจสายตรวจกลางทาง น้องสาวท่านมหาร้องให้ช่วย"
    พูดเพิ่งจะจบ ก็เห็นท่านมหาจาเริญ เดินขึ้นมาบนกุฏิ เข้ามา นั่งกราบท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ แต่ยังไม่ทันจะพูด ท่านก็ยิ้ม ละมัย บอกว่า
    "ท่านมหาไม่ต้องวิตก สั่งให้ใครไปบอกโยมที่บ้าน ให้ไปรับ น้องสาวที่สถานีตารวจเร็วเข้า"
    "เอ๊ะ ท่านอาจารย์รู้ได้อย่างไร"
    "อย่าเพิ่มถามตอนนี้ รีบๆไปเดี๋ยวจะดึกดื่น"
    ท่านมหาลุกขึ้นกราบ แล้วลงกุฏิไป แต่ท่านไม่ได้ให้ใครไปบอก ท่านไปด้วยตนเอง สั่งโยมพ่อให้ชวนพรรคพวกไปสถานีตารวจ ที่ อาเภอ แล้วก็นั่งรออยู่ จนกระทั่งโยมพ่อพาน้องสาวกลับมาถึงบ้าน เอาใกล้สว่าง
    กลับมาถึง ท่านมหาก็ตรงมาที่กุฏิท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ กราบ ท่านแล้วกล่าวว่า
    "หลวงพ่ออาจารย์รู้เรื่องน้องสาวผมไปอยู่ที่โรงพักได้อย่างไร?"
    ตอนนั้น อาตมาก็อยู่ในที่นั้นด้วย เพราะไปเตรียมบาตรสาหรับ ท่านอุปัชฌาย์ออกบิณฑบาตตามกิจวัตร ที่ท่านไม่เคยขาดเลย นับ เป็นธุดงค์ข้อหนึ่ง ท่านชายตายิ้มๆมาที่อาตมา แล้วพูดขึ้นว่า
    "ท่านมหาเอาแต่ทางปริยัติ ไม่เอาทางปฏิบัติด้วย เห็นจะเอาตัว ไม่รอด อย่ามาสนใจว่า รู้ได้อย่างไร จงไปคิดดูว่า ทาอย่างไรถึง จะรู้ได้ดีกว่า บวชเข้ามาสู่เพศสมณะแล้ว ต้องพยายามให้ครบศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะยั่งยืนในพระศาสนานี้"
    พูดจบท่านก็ลุกขึ้น เตรียมครองจีวรเพื่อไปบิณฑบาต ตอนนั้น ท่านมหาก็หน้าสลดลง ลุกขึ้นกราบแล้วลงจากกุฏิไป
     
  6. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่6 ธรรมเกิด ปัญญาเกิด

    ปีนั้นอายุอาตมาได้ ๑๙ ปีเต็ม พอออกพรรษา ท่านอาจารย์ บอกว่า
    " ออกพรรษานี้ เณรจะไปธุดงค์กับอาจารย์ไหม ?"
    อาตมาปีติยินดีอย่างบอกไม่ถูก ลุกขึ้นกราบแล้วตอบว่า
    "ไปขอรับ"
    จากนั้นก็ไปหาโยมทั้งสอง บอกว่าจะออกธุดงค์กับท่าน อาจารย์ ขอบิณฑบาตกลด ๑ หลัง บริขารอย่างอื่นมีครบแล้ว โยม พ่อถามว่า
    "ทาไมไม่รอให้บวชพระเสียก่อนค่อยไป ยังอายุน้อยนัก จะ ทนได้หรือ เพราะการเดินธุดงค์นั้นต้องเดินทางไกล บุกป่าฝ่าดง อดๆ อยากๆ"
    อาตมาได้ตอบท่านไปว่า "หลวงพ่ออาจารย์บอกว่า จะให้ไป ทดลองปฏิบัติดู ถ้าเห็นว่าทนไม่ไหว ก็จะพากลับ"
    เป็นอันว่า โยมทั้งสองตกลงยินยอม จัดหากลดให้ตามที่ต้องการ แม้จะมีความห่วงใยในฐานะที่เป็นบุตร แต่ท่านก็รู้ว่า พระพุทธเจ้า ทรงสอนไว้อย่างไร กุลบุตรใด เมื่อบวชเข้ามาในพุทธศาสนาแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีญาติ ไม่มีบ้าน อาศัยป่าช้าเรือนร้างป่าเขาและถ้า เที่ยว ไปเพื่อหาทางหลุดพ้น ซึ่งโยมทั้งสองก็ได้แต่อนุโมทนา
    ก่อนออกเดินทางสองวัน ท่านมหาจาเริญมากราบนมัสการ ท่านอาจารย์ ขอคาแนะนาแนวทางที่จะปฏิบัติกรรมฐาน ควรจะเริ่มต้น อย่างไร ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์อนุโมทนาด้วย ที่ท่านมหาได้หันเข้า มาสู่ทางปฏิบัติ และได้แนะนาว่า สัญญาความจาได้หมายรู้ ที่ได้เล่า เรียนมาในทางปริยัตินั้น ขอให้ปล่อยวางให้หมด จงเริ่มต้นด้วยกรรม ฐานให้ดีเสียก่อน เพราะเป็นพื้นฐานสาคัญที่จะนาไปสู่ปัญญา
    อนึ่งอย่าปฏิบัติแบบก้าวกระโดด อย่างที่สอนๆกันว่า พอทา สมาธิได้ถึงขั้นอุปจารสมาธิแล้ว ก็พอแก่การที่จะนากรรมฐานอื่นๆ มาพิจารณาให้เกิดปัญญา เช่น กายคตาสติ อาการ ๓๒ มาพิจารณา เป็นอย่างๆ การปฏิบัติอย่างนี้ เท่ากับเอาสัญญาความจาภายนอก ที่ได้เรียนทางปริยัติมาเป็นหลักพิจารณา ก็จะได้แต่ของนอกๆ ที่จดจา หรือรู้อยู่แล้ว ไม่เกิดปัญญาจากภายในให้รู้ทะลุปรุโปร่งไปได้ เรียกว่า วนเวียนอยู่กับสัญญา อาการ ๓๒ มีอะไรบ้างก็รู้ แต่ไม่เห็นตัวอนิจจัง ชัดเจน นักปฏิบัติมาติดกันอยู่ตรงนี้ เพราะปฏิบัติแบบก้าวกระโดด ทาไมจึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะสมาธิแค่อุปจาระ มันยังไม่ตั้งมั่นพอ ยัง มีอารมณ์กิเลสแทรกเข้ามาเป็นบางขณะ หรือจะเรียกว่าญาณยังไม่ แก่กล้าพอ
    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติ จะต้องปฏิบัติกรรมฐานให้เต็มขั้นเสียก่อน คือให้ ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรือฌาน ๔ และต้องให้มีความชานาญคล่อง แคล่วในการเข้าการออก นึกจะเข้าถึงอัปปนาก็ได้ทันที ในสภาวะ แบบนี้ จะไม่มีอารมณ์กิเลสใดๆเข้ามาได้ จิตเป็นหนึ่ง คือเป็นเอกัคตา อุเบกขาไปเลย
    เมื่อจะทาปัญญาให้แจ้ง จึงถอดจิตออกมาสู่อุปจารสมาธิ แล้ว นาธรรมะอย่างใดอย่างหนึ่งมาพิจารณา เช่น พิจารณาอาการ ๓๒ ก็ เอาแต่ส่วนเล็บอย่างเดียว หรือเพ่งการเกิดดับก็เพ่งไปตามถนัด เพราะ เหตุที่จิตยังมีเชื้อของอัปปนาสมาธิ หรือเอกัคตาเนืองนองอยู่ ปัญญารู้ แจ้งก็จะเกิดขึ้นมาเอง
    รู้อย่างไร? ก็รู้ว่าเล็บที่เราเพ่งเป็นอารมณ์นั้น มีภาพเปลี่ยน แปลงขึ้นมาให้เห็นตามความเป็นจริง หรือการเกิดดับ เราก็จะเห็น ภาพของการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย แม้กระทั่งตายลงไปแล้ว ร่างกายก็จะแปรปรวนไปให้เห็นว่า ผิวหนังมันขึ้นอืด พองเป่ง แตกปริ มีน้าเหลืองไหล มีหนอนชอนไชเกิดขึ้น แล้วก็เห็นเข้าไปภายในตับ ไต ไส้ พุง เส้นเอ็น กระดูก
    การเห็นอย่างนี้ บางคนก็เห็นโดยตลอด บางคนก็เห็นเป็นบาง ส่วน บางคนก็เห็นส่วนต่างๆ แยกออกมาเป็นส่วนๆ เป็นกองๆ แล้วก็ กลับรวมกันอีก แต่จะเห็นอย่างไรก็ตาม ท่านก็ให้เพ่งพิจารณาอยู่ ด้วยความมีสติ จนกระทั่งรู้แจ้งชัดว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเป็น อย่างไร ควรจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกาหนัดหรือไม่ อันนี้จึงเรียก ว่า ปัญญาเกิดเอง ธรรมเกิดเอง เป็นธรรมชาติที่นาไปสู่ความจริง แท้แน่นอน
    ท่านมหาจาเริญเรียนถามว่า "เมื่อธรรมเกิดเองเช่นนี้ จะถือว่า เป็นการบรรลุขั้นสูงสุด คือถึงความหลุดพ้นหรือยัง เพราะในสมัย พระ พุทธองค์ มีสาวกบางท่านได้ฟังธรรม ตรองตามจนเห็นจริงก็ได้บรรลุ พระอรหันต์"
    ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ยิ้มตอบว่า พระสาวกที่ได้ฟังธรรมแล้ว สาเร็จเป็นอรหันต์เลยนั้น เป็นกรณีพิเศษ คือเป็นผู้ที่สร้างสมบุญ บารมีมาหลายภพหลายชาติจนเต็มเปี่ยมแล้ว หรือถ้าจะพูดถึงความ เบื่อหน่ายคลายกาหนัด ท่านก็เบื่อเสียจนล้นหัวอก จนแทบจะระเบิด ออกมา เบื่อมาหลายภพหลายชาติเช่นกัน ท่านเหล่านี้เพียงสะกิดนิด เดียวก็สามารถละวางหลุดพ้นได้ พระพุทธเจ้าท่านก็เคยเบื่อ เมื่อเห็น สนมกานัล นางบาเรอ นอนด้วยอาการต่างๆ ดูดุจซากศพในป่าช้า เคย เกิดเบื่อเมื่อเห็นสภาพความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่ถูกปิดบังไม่ให้แลเห็น ตั้งแต่ยังเป็นพระราชกุมาร แม้เช่นนั้นกว่าจะตรัสรู้ได้ ก็ยังต้อง ใช้เวลาอีก ๖ ปี
    พระยสกุลบุตร ก็เหมือนกัน ท่านมีบุญวาสนาบารมีมาก เกิดมา เป็นลูกเศรษฐี มีปราสาท ๓ ฤดูอยู่ มีนางบาเรอพรั่งพร้อม ตื่นขึ้นมา ในตอนดึก เห็นพวกนางบาเรอนอนไม่เป็นสมฤดี มีอาการต่างๆ ถ้า เป็นคนธรรมดาก็น้าลายยืด แต่ท่านกลับเห็นว่าน่าเบื่อ น่าสังเวช เหมือนซากศพในป่าช้า แล้วอุทานออกมาว่าที่นี่วุ่นวายหนอ แต่งตัว ใส่รองเท้าได้ ก็ลงบันไดเดินเข้าไปในป่า จนพบพระพุทธเจ้าในป่า อิสิปตนมฤคทายวัน
    แต่สาหรับเราๆนี้ เราไม่รู้ว่าในชาติภพก่อนๆ เราได้สร้าง บุญบารมี เช่น ทาน ศีล ภาวนา มาแค่ไหน เต็มเปี่ยมหรือยัง หรือ เบื่อหน่ายคลายกาหนัด เพราะเห็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาเต็มอกหรือยัง เมื่อมาปฏิบัติจนกระทั่งเห็นธรรมเกิดขึ้น เอง ก็ให้ถือว่า ได้เห็นความจริงเป็นเบื้องต้นเท่านั้น เราจะต้องพาก เพียรอดทนปฏิบัติต่อไปอย่างไม่ลดละ
    ทั้งนี้ก็เพราะธรรมที่เกิดขึ้นเอง อาจทาให้เกิดเบื่อหน่ายคลาย กาหนัดอย่างฉาบฉวย ไม่ถึงกับเบื่อย่างเต็มที่ จนละขันธ์ ๕ รูป นามลงไปได้เด็ดขาด เรียกว่า ตัดไม่ได้จริง ยังเบื่อไม่จริง เราต้องเฝ้า พิจารณา ดาเนินตามสติปัฏฐาน ๔ คือรูป เวทนา จิต ธรรม ซ้าๆ ซากๆ จนมันเบื่อชนิดถอนรากถอนโคน เด็ดขาดลงไป ที่ว่าธรรมเกิด เอง ที่กล่าวมาแล้ว มันแค่เริ่มเบื่อรูปเท่านั้น ยังเบื่อไม่หมดด้วยซ้า ไป กาย เวทนา จิต ธรรม อะไรก็ยังไม่ได้พูดถึง
    ฉะนั้น อย่าไปอยาก อย่าไปคิดอะไร ที่มันไกลตัวออกไป เอา เพียงปฏิบัติกรรมฐานให้เต็มขั้น มีสติตั้งมั่น คอยดูแต่ปัจจุบัน ใน กายในจิตของเราเท่านั้น พยายามทาจิตให้สะอาด ปราศจากอารมณ์ กิเลสที่วิ่งเข้าวิ่งออก แวบไปแวบมา ทาจิตให้สว่าง คือ ว่างเปล่า จนสงบระงับลง เพียงแค่นี้ก็จะเป็นฐานเบื้องต้น ให้ธรรม ให้ปัญญา เกิดตามมา ข้อสาคัญก็ขอให้ปฏิบัติต่อเนื่องกันไป อย่าทาๆ หยุดๆ ขาดช่วง ขาดจังหวะ
    จากนั้น ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ก็แนะนาในการนั่ง ในการเดิน จงกรม ซึ่งถือว่าสาคัญมาก และแนะนาถึงการถือธุดงค์ว่า ไม่ใช่รู้ เฉพาะว่าธุดงค์มี ๑๓ อะไรบ้าง แต่ต้องเอามาปฏิบัติให้ได้ทุกข้อ การ ออกป่าเดินธุดงค์นั้น เป็นเพียงข้อหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีก ๑๒ ข้อ ถึงอยู่ ในวัดก็ปฏิบัติได้ บิณฑบาตฉันในบาตรหนเดียว ไม่รับอาหารหลังจาก ฉันแล้ว ล้วนเป็นธุดงค์ที่ทาได้ทั้งนั้น
    ป่าหลังวัด มีต้นไม้ร่มเย็นมากมาย จะถืออยู่โคนไม้ก็ทาได้อีก ข้อสาคัญต้องเอามาฝึกทาดูว่า เราจะทาได้จริงหรือไม่ เท่ากับฝึก ตนเองให้อยู่ในกรอบขอบเขต เมื่อออกป่าไปหาวิเวกจริงๆ ซึ่งยาก ลาบากกว่าในวัด ก็จะเคยชินทาได้ไม่แปลกอะไร
    ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ ได้ถือโอกาสปรารภว่า "ที่วัดนี้แต่เดิม เขาสร้างวัดและปฏิบัติกันมา แบบตามใจชาวบ้าน ไม่ได้ตามธรรมวินัย ลูกชาวบ้านที่เข้ามาบวช ก็บวชตามประเพณี ๑ พรรษาบ้าง ๓ พรรษาบ้าง ก็สึกหาลาเพศกันไป จะเอาธรรมวินัยมากากับอย่าง เคร่งครัดก็ยาก กลัว
    ชาวบ้านเขาจะเบื่อ ไม่มีใครอยากมาบวช เป็น สมภารไม่ตามใจชาวบ้านเขาก็ไม่ชอบ มักมีข้อขัดแย้งกันเสมอ
    ลูกหลานใครสอบธรรมบาลีได้ ก็ถือว่ามีหน้ามีตา เอาไปเทียบ แข่งขันกับวัดอื่น ใครจะได้มากกว่ากัน มีการฉลองกันเอิกเกริก แต่ไม่ มีใครคิดถึงการปฏิบัติเลย กลายเป็นปริยัติสาคัญกว่าปฏิบัติไป เขาไม่ เคยรู้ว่าเป็นปริยัติแล้วไม่ปฏิบัติ มันมีทางลงนรกได้ทุกขณะ ภิกษุถือศีล ๒๒๗ ข้อ แต่เมื่อไม่ปฏิบัติแล้ว พิจารณาให้ดี จะเห็นว่าแค่ศีล ๕ ยังไม่ครบเลย มองเห็นนรกอยู่ชัดๆ ผมมาเป็นสมภารที่วัดนี้ ๘ ปี ยังแก้ไขอะไรให้เป็นไปตามธรรมวินัย ให้พระหันเข้ามาในทางศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ได้ เพราะเราตามใจชาวบ้านเขามาจนเคยตัว ได้ ฟังท่านมหาบอกว่า จะหันมาในทางปฏิบัติบ้าง ผมก็ดีใจขออนุโมทนา ด้วย ขอให้ปฏิบัติไปให้รู้จริงเห็นจริงด้วยตนเอง ท่านก็จะรู้ว่า พระพุทธ ศาสนาของเราจะยั่งยืนต่อไปได้ ไม่ใช่ปริยัติอย่างเดียว จะต้องปฏิบัติด้วย
    จุดประสงค์ของพระพุทธเจ้า ที่ให้การอุปสมบท ก็เพื่อให้บรรลุ ถึงความพ้นทุกข์ ไม่ใช่เรียนแล้วไม่ทา ไม่ประพฤติปฏิบัติ มันสืบ อายุพระพุทธศาสนาไม่ได้จริง ทุกวันนี้ก็เห็นๆกันอยู่ ห่มผ้าเหลืองไป หลอกชาวบ้านเขากินเป็นของสนุก เดชะบุญที่ชาวบ้านเขายังอยู่ใน ฐานะยอมให้หลอกได้ มิฉะนั้นพุทธศาสนาคงจะถูกย่ายีมากกว่านี้
    หมั่นปฏิบัติเถอะท่านมหา ให้รู้ทั้งปริยัติและปฏิบัติด้วย ชาวบ้านเขา จะได้เชื่อถือ จะได้ร่วมมือกันทาวัดของเราให้อยู่ในธรรมวินัย ตาม คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง"
    "ในเรื่องนี้ หลวงพ่ออาจารย์เคยมีโครงการไว้อย่างไรขอรับ" ท่านมหาเรียนถาม
    "ก็ไม่ถึงกับเรียกว่าโครงการ มันฟังใหญ่โตเกินไป ผมเพียงแต่ คิดว่า วัดเราก็มีเนื้อที่กว้างขวางถึง ๑๐๐ กว่าไร่ จึงคิดจะแบ่งเป็น สองส่วน คือ แบ่งเป็นฝ่ายตามใจชาวบ้านส่วนหนึ่ง ฝ่ายตามใจ พระพุทธเจ้าส่วนหนึ่ง
    ฝ่ายตามใจชาวบ้านก็คือเราไม่ทาลายความนิยมของเขา นิยม บวชตามประเพณีก็บวชให้ นิยมเรียนธรรมบาลีก็มีให้ การบวชการ สึกก็แล้วแต่เขา
    อีกส่วนหนึ่ง จะรับเฉพาะคนที่มีศรัทธา ต้องการเข้ามาปฏิบัติ จริงๆ เราจะรู้แน่ชัดว่าเขาศรัทธาจริงหรือไม่ ก็ต้องให้การบวชนั้นเป็นของ ยาก ก่อนบวชต้องมานุ่งขาวห่มขาว ถือศีล ๘ ก่อน ๓ เดือน ๖ เดือน สอนให้รู้ข้อวัตรปฏิบัติของพระ สอนให้รู้จักธุดงค์ สอนการ ปฏิบัติเบื้องต้นของพระ เมื่อบวชเข้ามาแล้ว จะได้เป็นพระแท้พระจริง มีอาการสารวม แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยเขาสมัครใจ นอกจากนี้ก็รับภิกษุ ที่เคยปฏิบัติมาแล้ว จะได้มาช่วยกันได้
    เมื่อแบ่งส่วนออกไปเช่นนี้ ก็จะได้เป็นแบบอย่างที่ดี ให้ส่วน ที่บวชตามประเพณี ตามใจชาวบ้าน ได้รู้ได้เห็น ใครคิดได้จนเกิดศรัทธา ก็จะได้ปฏิบัติตาม
    อีกอย่างก็จะให้ชาวบ้านเปรียบเทียบระหว่างพระปฏิบัติและ ไม่ปฏิบัติ อย่างน้อยเขาก็จะมองเห็นว่า ผู้มุ่งเข้ามาปฏิบัตินั้น เขา ตัดประเพณีสิ้นเปลืองค่าบวชลงไปได้มาก ไม่ต้องมีพิธีรีตอง ไม่ต้อง ทาขวัญนาค จากชีปะขาวก็บวชเลย ไม่มีการแห่แหน เลี้ยงดู กินเหล้า เมายา ซึ่งเป็นบาปมากกว่าบุญ เมาเหล้าเข้าวัด ไปไม่ถึงสวรรค์
    แต่ที่ผมยังทาอะไรไม่ได้ ก็เพราะยังขาดกาลัง ได้แต่รอๆ อยู่ ต้องมีคนช่วย ต้องมีคนทา นาชาวบ้านเขาได้ ตอนนี้ก็ใกล้เข้ามาแล้ว ท่านมหาเข้ามาปฏิบัติผมก็เบาใจ ผมเองก็คงอยู่ไม่นาน ได้ท่านมหา ทาแทนก็หมดห่วง"
    แล้วท่านก็ชี้มาที่อาตมา บอกว่า "เณรนี้ไม่ใช่เณรธรรมดา ท่านมหาก็รู้ว่า เขาปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง มาแต่อายุได้ ๓ ขวบ จะ เรียนนักธรรม เขาก็มีความทรงจาสมบูรณ์ ไม่ต้องสอนก็สอบได้ถึง นักธรรมเอก ผมเคยได้ยินเณรสวดปาติโมกข์อยู่ในกุฏิ เข้าไปดูไม่เห็นมี หนังสือให้ใช้ท่องสักเล่ม เณรสวดออกมาได้เอง ไม่ติดขัด ต่อไปก็จะ เป็นกาลังสาคัญของท่านมหาอีกรูปหนึ่ง และเป็นกาลังสาคัญของ พระพุทธศาสนาด้วย เรื่องน้องสาวท่านมหาถูกช่วยไปที่โรงพัก เณร เขาก็บอกได้เช่นเดียวกับผมรู้"
    ท่านมหาจาเริญ ท่านมีความรักความเอ็นดูสามเณรมาแต่ครั้ง มาบวชใหม่ๆ ยิ่งเห็นความสามารถอันอัศจรรย์ ตอนมาเรียนนักธรรม ก็ยิ่งชื่นชมยินดี บางครั้งถึงกับไว้วางใจให้ทาการสอนแทน จึงมีความ สนิทสนมกับสามเณรคืออาตมาเสมอมา เมื่อเห็นท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ บอกเช่นนั้น ก็หันไปยิ้มกับสามเณร พูดว่า
    "กลับจากธุดงค์คราวนี้ หลวงพี่คงต้องขอเป็นศิษย์เณรบ้าง ในทางปฏิบัติ"
    สามเณรตอบว่า "ผมจะเป็นอาจารย์สอนหลวงพี่ได้อย่างไร เคยแต่เป็นลูกศิษย์ ผมไม่กล้าสอนหลวงพี่หรอก"
    "ทางพุทธศาสนาของเรา ท่านไม่ถืออาวุโสหรือวัยวุฒิ เป็นสาคัญ ท่านถือคุณธรรมสาคัญกว่า ในสมัยพุทธกาลสามเณร สอนพระเถระผู้เป็นพหูสูต ซึ่งเชี่ยวชาญธรรมวินัย ให้บรรลุพระอรหันต์ ก็มี ทาไมจะสอนหลวงพี่ไม่ได้ เพราะหลวงพี่เองเอาแต่เรียนปริยัติ ส่วนทางปฏิบัติไม่รู้เรื่องเลย คิดไปก็น่าเสียดายเวลา นับว่าบวชมา เปล่าโดยแท้"
    "มันเป็นอนิจจังครับหลวงพี่ มนุษย์และสัตว์ต่างก็หมุนเวียน ไปตามกรรมของตน ชาติก่อนผมอาจเคยเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ของ หลวงพี่ มาชาตินี้ผมกลับมาเป็นลูกศิษย์ อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด อะไรจะดับก็ให้มันดับ หรือให้มันเป็นไปเถอะครับ อย่าไปหมายมั่น ปั้นมือ ว่ามันจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ถึงเวลาก็เป็นไปเอง หลวงพี่ คิดจะปฏิบัติธรรม ก็เป็นกุศลที่น่าอนุโมทนา แต่ก็ต้องระวัง เพราะ เป็นท่านมหานี่ ชาวบ้านเขาชื่นชม ไม่ว่าหญิงหรือชาย สาวๆก็อาจ นิยมมากเป็นพิเศษ หมั่นปฏิบัติวัตถาก หลวงพี่อย่าเผลอก็แล้ว กัน เดี๋ยวจะไม่ได้ปฏิบัติ"
    ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ได้ยินสามเณรโต้ตอบกับท่านมหาจาเริญ ก็หัวร่อชอบใจ "ฟังไว้นะท่านมหา…ฟังไว้ เณรพูดได้หลักแหลมที เดียว มีท่าทางจะเป็นอย่างนั้นไหมละ?"
    "ก็มีเค้าอยู่ขอรับ หลายคนเสียด้วย แต่ผมไม่ได้สนใจ หลีก เลี่ยงได้ก็หลีกเลี่ยง เพราะยังรักผ้าเหลืองอยู่"
    "รักผ้าเหลืองอย่างเดียวไม่พอหรอก ต้องเอาทางปฏิบัติและ ธรรมวินัยเข้าช่วย ทางวินัยก็อย่ารับแขกสาวๆ ตามลาพัง ต้องให้ พระเณรมานั่งเป็นเพื่อนด้วย แม้กระนั้นก็อย่าคุยนาน ต้องหากิจวัตร ที่จะหลีกไปทา เพื่อให้เขาจาเป็นต้องกลับไป ควรสารวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้มาก ทางปฏิบัติก็ต้องเร่งทาสมาธิ ให้มาก เพื่อให้เกิดสติเท่าทันกิเลส ความยินดีกาหนัด ไม่นาไปปรุงแต่ง ให้เป็นเรื่องราวยาวออกไป
    ผู้หญิงมาทาตาหวานเยิ้มให้ ไม่ว่าใครก็อดคิดปรุงแต่งไม่ได้ว่า เขารักเรา พอมีคาว่ารักขึ้นหน้า มันก็เกิดความคิดปรุงแต่งกันไปใหญ่ ท่านจึงแนะนาให้พระเรา เข้าไปอยู่ในป่าช้าเสียบ้าง เป็นวัตรได้ยิ่งดี จะได้พิจารณาอสุภกรรมฐาน เห็นความตายเน่าเปื่อยผุพัง เปรียบ เทียบกับความสวยงาม ซึ่งที่สุดก็จะเป็นเช่นเดียวกัน"
    "หลวงพ่ออาจารย์พูดเช่นนี้ ผมชักไม่ไว้ใจตัวเองเสียแล้ว อยาก ติดตามหลวงพ่อไปธุดงค์ด้วย"
    "อย่าเอาถึงอย่างนั้นเลย" ท่านอาจารย์กล่าวพร้อมกับเสียหัวเราะ แล้วหันไปทางเณร
    "ว่าอย่างไรเณร ไปพูดให้ท่านมหาไม่ไว้ใจตัวเองเสียแล้ว"
    "หลวงพี่ครับ การไม่ไว้ใจตัวเอง เป็นความไม่ประมาท ผมมอง เห็นว่า ถ้าหลวงพี่จะพากเพียรปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ช้าก็จะได้เห็น ธรรมที่เกิดขึ้นเอง จริตของหลวงพี่ คือ หมั่นพิจารณาอสุภกรรม ฐาน จึงจะได้ผล ไปถือธุดงค์ข้อที่ว่าอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ก็จะสิ้นเรื่อง กลางวันออกมาปฏิบัติกิจของคณะสงฆ์ กลางคืน ๖ โมงเย็นไปอยู่ ในป่าช้า ปลูกกระต๊อบขึ้นสักหลังหนึ่ง เคร่งครัดปฏิบัติถวายชีวิตต่อ พระพุทธเจ้า จะไม่มีอิตถีมาร หรือมารร้ายต่างๆมารบกวน"
    ท่านมหาหันไปดูท่านอาจารย์ แล้วก็หันไปทางสามเณรถามว่า "เณร ว่าอย่างนั้นจริงๆหรือ เอาล่ะ หลวงพี่จะทาตาม"
     
  7. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่7 ธุดงคจาริก

    ต่อมาอีก ๒ วัน หลังจากอาจารย์กับศิษย์สามเณรฉันเช้าแล้ว ก็ แบกกลด สะพายบาตรออกจากวัดที่สระบุรี มุ่งขึ้นไปทางภาคอีสาน จุด หลายปลายทางคือจังหวัดเลยและหล่มสัก เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นดินแดนที่ ป่ายังอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยภูเขาเป็นพืด และถ้ามากมาย ดูเขียวชอุ่ม ชุ่มชื่นตลอดทั้งปี
    การเดินทางครั้งนี้ ท่านพระอาจารย์อุปัชฌาย์พยายามเลี่ยงเส้นทาง คมนาคมสายใหญ่ ที่มีรถรามาก โดยลัดเลาะไปตามทุ่งนาป่าเขา และไม่ เดินให้ไกลนัก ห่วงสามเณรจะทนไม่ไหว เพราะเพิ่งจะออกธุดงค์เป็นครั้งแรก
    จากสระบุรีก็แวะปักกลดที่แก่งคอย ในป่าช้าของวัดหนึ่ง ท่าน อาจารย์เคยเดินเป็นประจาทุกปี จึงรู้จักทางที่จะลัดเลาะไปได้ดี
    ภายในป่าช้าแห่งนี้ มีต้นไม้ปลูกเป็นแถวเป็นแนวร่มรื่น ดูเป็น ป่าช้าที่พัฒนาแล้ว มีฮวงซุ้ยตั้งเรียงราย มีเมรุเผาศพที่สวยงามทันสมัย มีศาลาใหญ่สาหรับผู้มาเผาศพ จะได้นั่งพักระหว่างทาพิธี ไม่มีสิ่งใด น่ากลัวเลย
    มองเห็นจิตวิญญาณทั้งหลาย มีใบหน้ายิ้มแย้มผ่องใส มีอาหารที่ ญาติพี่น้องมาทาบุญอุทิศให้อย่างอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นพวกจิตวิญญาณ ที่ใจดี
    ฝ่ายอกุศลจิต จะมีจิตวิญญาณที่อยู่ในฐานะลาบาก เห็นพวกไม่มี ญาติ ถูกเขาฆ่าตาย ชาวบ้านเอามาเผาที่ป่าช้านี้ เป็นการสงเคราะห์ จึงมีความอดอยาก ไม่มีที่อยู่อาศัย หน้าตาเศร้าหมอง ซึ่งนับว่าน่าสงสาร
    เมื่อท่านอาจารย์กางกลด จัดสถานที่เรียบร้อย จิตวิญญาณเหล่านั้น เขาก็ชื่นชม พากันมาขอฟังธรรมโดยเรียบร้อย หลวงพ่อเล่าให้ฟังตอน หลังว่า จิตวิญญาณบางดวง ก็เคยรู้จักคุ้นเคย เพราะท่านเคยมาเทศน์ โปรดจิตวิญญาณในปีก่อนๆ เขายังไม่ถึงเวลาไปเกิด หรือย้ายไปจุติ ในภพภูมิอื่น
    หลวงพ่อได้เทศน์โปรดระยะหนึ่ง อาตมามองไปที่พวกผีไม่มีญาติ เห็นเขานั่งอยู่ท้ายแถว หน้าตาไม่ผ่องใส เมื่อหลวงพ่อเทศน์เสร็จแล้ว ก็เรียกเขาเข้ามาใกล้ แผ่เมตตากรวดน้าให้ บอกให้ไปเกิดในภพภูมิอื่น ได้แล้ว อย่ามาเฝ้าป่าช้าให้ลาบากอยู่เลย เขาต่างก็พากันปีติยินดี กราบ แล้วพากันถอยออกไป อย่างมีอาการลิงโลด
    สัตว์ทั้งหลายต่างปรารถนาสุขด้วยกันทั้งสิ้น แต่ขาดสติที่จะพิจารณา ถึงกรรมดี กรรมชั่ว แยกแยะไม่ถูก เช่นเดียวกับมนุษย์ในสังคมของเรา บางกลุ่มบางพวกในขณะนี้ จึงมีทั้งคนที่ทากรรมดี และทากรรมชั่ว มากมาย น่าสังเวชสลดจิต
    แต่ผู้ที่มักทากรรมชั่ว เป็นอกุศล ไม่รู้บุญรู้บาป บ้างก็เที่ยวตกปลา ล่าสัตว์ ทาลายชีวิตซึ่งกันและกัน มีอาชีพที่น่ากลัวอันตราย เช่น มือปืน รับจ้าง ยังมีพวกรับจ้างฆ่าคนโดยทางลับ ปล่อยคุณปล่อยไสย ให้เขา ตายไปโดยไม่รู้สาเหตุ
    การกระทาของคนเหล่านี้ ไม่เป็นความลับในโลกของวิญญาณ เขาจะต้องได้รับผลแห่งกรรม ตกนรกอเวจีไม่มีเวลาสิ้นสุด
    พวกหลอกลวงต้มตุ๋น โกหกมดเท็จ ทาให้ผู้อื่นเสียหายก็เช่นเดียว กัน พวกลักขโมยปล้นสะดม ฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาทรัพย์สิน ทางโลกวิญญาณ จะไม่มีวันยกโทษให้
    พวกผิดลูกเมียผัวเขา แม้แต่คนใช้ในปกครองของเขา ต้องมีบาป หนักหนาสาหัส แม้บางคนเอาลูกมาบาเรอความใคร่ และแม้แต่คน ใช้ เลขานุการ โดยอ้างเอาความกตัญํู หรือบุญคุณที่เขาจะต้องตอบ แทนตน ก็เป็นบาป ถูกไฟนรกเผาไหม้ให้ได้รับทุกข์ทรมาน
    อันที่จริง พระผู้เป็นเจ้าก็ย่อมจะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ปรารถนา จะช่วยพาจิตวิญญาณขึ้นสวรรค์ไปทั้งหมด ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
    แต่สาวกของพระองค์มีมากเหลือเกิน เป็นร้อยเป็นพันล้านคน ญาติพี่น้องของผู้ตายก็ผลักภาระไปให้พระองค์แต่องค์เดียว โดยเพียง แต่ปักไม้กางเขน เป็นเครื่องหมายให้พระองค์รู้เท่านั้น จะทรงขนจิต วิญญาณขึ้นสวรรค์ไปได้หมดสิ้นอย่างไร
    ส่วนไทยเรา ไม่ยอมรอพระผู้เป็นเจ้า และไม่คิดจะผลักภาระให้ พระผู้เป็นเจ้าแต่องค์เดียว ต่างช่วยกันคนละไม้คนละมือ ทาบุญอุทิศส่วน กุศลให้จิตวิญญาณของพี่น้องพ่อแม่ของตนอีกทางหนึ่ง แม้ยังไม่ได้ ขึ้นสวรรค์ ก็ยังมีอยู่มีกิน ประทังชีวิตไปได้
    ได้ส่งจิตไปถามหลวงพ่ออุปัชฌาย์ที่กลดซึ่งอยู่ห่างกันว่า "จะช่วย เขาได้อย่างไรดี ดูน่าสงสารมาก บางคนเขาเชื่อฟังพระผู้เป็นเจ้าดี ไม่ได้ ทาบาป แต่ก็ไม่ได้ทาบุญ หรือไม่มีใครทาอุทิศให้ จะไปเกิดใหม่ บุญก็ ยังไม่พอจะไปเกิดได้ บางคนอยู่นานเกินไป จนมืดมัวไปหมด ไม่รู้จะ ไปทางไหนถูก"
    หลวงพ่อตอบมาว่า "พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เมตตา ไม่เลือกว่าจะ เป็นใคร ศาสนาไหน ชนชาติใด ย่อมเป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เราเข้ามาพักในป่าช้าของเขา ก็เป็นบุญที่เขาจะ ได้ไปผุดไปเกิดมากด้วยกัน จงแผ่เมตตา กรวดน้าอุทิศกุศลของเราที่ เฝ้าบาเพ็ญเพียรมา ให้แก่เขาเถิด"
    การอุทิศส่วนกุศลนี้ เป็นเรื่องสาคัญมาก ก็อยากจะบอกกล่าวญาติโยม ที่เป็นคริสต์ศาสนิกชนว่า ถึงท่านจะทาบุญให้ทาน อย่างไทยพุทธไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้าก็ไม่ทรงห้าม ไม่ให้ทาสิ่งที่เป็นกุศล ท่านอาจจะถือศีลแบบ ของท่าน อาจจะบริจาคทรัพย์เพื่อสาธารณประโยชน์ เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ช่วยเด็กพิการอนาถา ท่านก็สามารถอุทิศกุศลไปถึงญาติพี่ น้องที่ตายไปแล้ว ให้เขาได้รับได้ โดยทาจิตของท่านให้สงบ นึกอุทิศ ด้วยการออกชื่อของเขา ก็จะทาให้เขาได้รับกุศลได้
    ในสมัยทุกวันนี้ บาทหลวง แม่ชี (ซิสเตอร์) ต่างก็สนใจในการฝึก เดินจงกรม ทาสมาธิกันมากขึ้น เพื่อซักฟอกจิตของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
    อันนี้ ก็นับว่าเป็นกุศลเหนือสิ่งใดทั้งสิ้น เมื่อปฏิบัติจบสิ้นแล้ว ก็นึก อุทิศกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ที่เป็นญาติของท่าน หรือจะอุทิศให้สรรพ สัตว์ไปด้วยก็ได้ บุญจะได้เพิ่มพูน ไม่รู้จักหมด
    ที่นาเอาป่าช้าคริสต์มาเล่าแทรกไว้ ไม่มีเจตนาจะหมิ่นศาสนาใด แต่เป็นการบอกบุญ เพื่อประโยชน์สุขของจิตวิญญาณที่ถูกทอดทิ้งให้ อดอยาก เป็นที่น่าสงสาร และบอกทางที่ญาติพี่น้องจะอุทิศส่วนกุศล ให้เขาได้ ถึงไม่ใช่อาหาร ก็จะทาให้เขาไปเกิด พ้นทุกข์ได้เร็วขึ้น
    พระพุทธเจ้าของเรา ทรงมีเมตตาอย่างกว้างขวาง เผื่อแผ่ไปทุก สรรพสัตว์ สมัยพุทธกาล มีเจ้าลัทธิศาสนาเป็นอันมาก เมื่อข้องใจหรือ อยากรู้ปัญหาธรรมที่ยังไม่กระจ่าง ก็มักจะมาตั้งปัญหาถามพระองค์ จน สิ้นความสงสัย เกิดศรัทธาบรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลเป็นอัน มาก บางทีก็มาแบบลองดี หวังเอาชนะ พระองค์ก็ไม่ถือสา เพราะ ทรงเมตตา หวังช่วยเขาให้เข้าใจตามความเป็นจริง
    พระพุทธศาสนา จึงมีเมตตาธรรม ไม่เคยขัดเคือง เป็นศัตรูกับ ศาสนาใด ไม่เคยขัดแย้ง จนถึงต้องทาสงครามศาสนากับชาติใด
    เราอาจมีผู้นับถือน้อย เป็นที่สามของศาสนาอื่น เพราะเราไม่เคย เอาอานาจทางการเมืองไปบังคับกดขี่ใครให้นับถือ อย่างที่เราถูกทาลาย มาแล้วในชมภูทวีป หรือที่อื่นๆ แต่เราก็เป็นศาสนาที่มั่นคง
    ใครมายอมรับนับถือ ปฏิบัติตามอย่างจริงใจ เขาเหล่านั้นก็จะเกิด ความเชื่อมั่นไม่สั่นคลอน เพราะตระหนักว่า เป็นสัจธรรมที่ไม่มีใครจะ เปลี่ยนแปลงได้
    สัจธรรมนั้น จาเป็นต้องพิสูจน์ด้วยกาลเวลา แต่สักวันหนึ่ง เมื่อชาว โลกประสบทุกข์มากขึ้น ชาวโลกก็จะต้องยอมรับสัจธรรมที่มีอยู่ใน พระพุทธศาสนา
    ขณะนี้ รัศมีทองแห่งสัจธรรมกาลังกระจายออกไปในดินแดนต่างๆ ของโลกอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน การปฏิบัติธรรมสมาธิ กาลังคืบหน้า ไปกว่าวิธีการใดๆ
    ในไม่ช้าชาวโลกจะพากันยึดมั่นเอาคาสอนของพุทธศาสนา เป็น เครื่องดาเนินชีวิต และรู้ชัดว่าสันติภาพแท้จริงนั้นหมายถึงอะไร
    สันติภาพแท้จริง คือความยินดีในความสงบที่ออกไปจากจิตของ ชาวโลกทุกคน ทุกชีวิต มันจะไม่มีการทาลายล้าง ไม่มีการหลงผิดไป ตามอานาจของความโลภ โกรธ หลง ทิฐิมานะใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่ความรัก ความเมตตา เอื้อเฟื้อ ปรารถนาดีเพียงอย่างเดียว
    อาตมาก็เป็นชาวพุทธ จึงมุ่งแต่จะดาเนินตามรอยพระยุคลบาท พระบรมศาสดา หวังความสุขแก่ชาวโลกทั้งปวง อย่าหาว่าหมิ่นประมาทเลย
    โดยเฉพาะเป็นพระเป็นสงฆ์ผู้ทรงศีลแล้ว เขาให้ความนับถือ ไม่ กล้าผ่านไป แต่เมื่อเขาเข้าไปยังที่พานักเขาไม่ได้ บางทีก็ทาให้เขาขัดเคือง กลั่นแกล้งเอาบ้าง ซึ่งพระธุดงค์ที่ยังไม่มีตาเห็นได้ มักจะถูกกลั่นแกล้ง เสมอ
    บางทีเขาก็เล่นงานหนักๆ ถึงเจ็บไข้ได้ป่วยไปก็มี บางทีก็แสดงเป็น พายุพัด ไม่ไร่หักระเนระนาด แต่พอเช้าขึ้น ทุกอย่างกลับเป็นปกติ เป็นการเตือนให้รู้ว่า เป็นพระต้องรู้จักการควรหรือไม่ควร
    เรื่องนี้ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ เคยเล่าให้ฟังว่า พระที่จะออกธุดงค์ ใหม่ๆนั้น ถ้าเป็นหมู่คณะมีครูบาอาจารย์ควบคุมไปด้วย ก็พอค่อยยัง ชั่ว เพราะครูบาอาจารย์ท่านรู้จักระมัดระวัง
    แต่ถ้าไปกันตามลาพังใหม่ๆ ด้วยกันรูปเดียวหรือสองรูป ยังปฏิบัติ ไม่ถึงขั้นรู้จักเอาตัวรอด หรือเป็นที่พึ่งของตนเองได้แล้ว นับว่ามีอันตราย มาก บางทีตกอกตกใจถึงเสียสติ ทิ้งบริขารวิ่งป่าราบไปก็มี เพราะเพียง แต่เขามาแสดงให้เห็น ในขณะทาสมาธิ ด้วยลักษณะที่น่ากลัวต่างๆ
    ฉะนั้นการออกธุดงค์ จึงไม่ใช่ของทาเล่นๆ นึกอยากไปก็ไป ทาง ที่ควรจะต้องเรียนรู้ฝึกฝน ในข้อวัตรของธุดงค์ให้ดี มีความเชื่อมั่นใน พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ อย่างแน่วแน่ ไม่หวั่นไหว เชื่อมั่นในศีล ในสมาธิ และมีสติพอรู้เท่าทันเหตุการณ์ ที่เกิด หรือพิจารณาสภาพแวดล้อมอย่างรอบคอบ
    โบราณว่า คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล มีอันตรายเพราะมองไม่เห็น แต่กับป่าที่มองเห็นๆนี่แหละ ก็อวดดีไม่ได้ มักมีอาถรรพณ์ลี้ลับแฝงอยู่เสมอ
    เพียงความไม่รอบคอบต่อสภาพแวดล้อม ได้ยินเสียงลมพัดปะทะ กับช่องอากาศเล็กๆ ในถ้า หรือหินผา ที่มีรูลึกเข้าไป เกิดเสียงหวีดหวิว ครวญครางเหมือนเสียงผีปีศาจ ก็ทาให้ใจหวั่นไหวหวาดกลัวได้ เสียงมา จากไหนก็ต้องตาม ต้องมีสติสังเกตให้รู้แน่ว่า เป็นเสียงอะไร ถ้าเพียงได้ยินเสียง และไปคิดปรุงแต่งเอาเองว่า เป็นเสียงนั้นเสียงนี้ เราก็เสร็จ
    ต้องเอาอย่างพราน เขาระมัดระวังทุกอย่าง เวลาออกป่าล่าสัตว์ เขาจะไม่ใส่เสื้อผ้าที่ซักใหม่เป็นอันขาด ต้องปล่อยให้เหม็นสาปเหม็น สางไปอย่างนั้น เขาว่าจะทาให้สัตว์มันผิดกลิ่น
    การพูดจาเขาก็ระวังไม่พูดเสียงดัง ตะโกนกันโหวกเหวก หรือพูด ตลกคะนอง พูดหยาบคาย แม้แต่ชื่อเขาก็ไม่เรียกออกชื่อกัน
    การเดินก็ต้องดูให้ดี บางทีเขาขุดหลุมพราง ปักหลาวดักสัตว์ไว้ เอา ใบไม้เกลี่ยปิด ถ้าสุ่มสี่สุ่มห้าเหยียบลงไปก็ไม่เหลือ หรือบางทีเขาขัดจั่นห้าว ขึงสายใยไว้ ถ้าเดินไปเตะถูกสายใยเข้า แหลนหลาวหรือปืนที่เขาขัดไว้ มันก็พุ่งใส่พุงเอา ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนให้สารวมอินทรีย์ คือต้องระมัดระวัง สิ่งนี้เอง
    ในป่าบางแห่ง พืชไม่มีพิษนั้นมีมากด้วยกัน ต้องทาความรู้จัก ให้ดี เช่น ตะรังตัวช้าง ไปถูกมันเข้าก็ไข้ขึ้น ตัวต่อหลุมก็เหลือร้าย เผลอ เหยียบลงไปในหลุมหรือรังใต้ดินใหญ่ๆ ถึงตายก็มี บางทีเดินเลาะลัดเข้า ไปในป่าทึบ เห็นเถาวัลย์พันไม้ ห้อยเกะกะอยู่เหมือนท่อนไม้แห้ง บางที มันก็เป็นงูพิษดูไม่ออก เพราะสีมันกลมกลืนกับเถาไม้
    พระธุดงค์สมัยก่อนนี้ ท่านมักมีกาต้มน้าร้อนติดไปด้วย เพราะ รู้ว่ากรักกรองน้า ยังไม่ปลอดภัยพอ สาหรับกรองเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งอาจ เป็นเชื้อโรคร้าย ไม่สะอาดพอ เพราะมันเล็กมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า สู้ต้มไม่ได้ แน่ใจดี
    มาสมัยนี้เห็นสะพายกระติกน้าหุ้มผ้าสักหลาด เวลาน้าหมด เจอลาธาร น้าไหลใสเย็น ก็เอาใส่ไว้ ดูก็โก้ดี เป็นพระทันสมัย แต่ไม่ปลอดภัยเลย น้าบางแห่งทาให้ท้องร่วงท้องเดิน หรือทาให้เป็นไข้ป่าได้
    แม้การอาบน้าในห้วยลาธารซึ่งมีความเย็นเกินปกติ คนสมัย ก่อนเขาก็ระวังกัน ไม่พรวดพราดลงอาบทันที ต้องค่อยๆวักน้าลูบหน้า ลูบตัวเสียก่อน เป็นการปรับอุณหภูมิในร่างกายให้รู้ตัว มิฉะนั้นไข้ป่า อาจถามหา สั่นงั่ก ไม่ทันขึ้นจากน้า
    บางท่านคิดเอาว่า การออกธุดงค์นั้น ตนได้ถวายชีวิตแก่พระพุทธเจ้าแล้ว สุดแต่ท่านจะเมตตา เป็นตายอย่างไรก็ยอมทั้งสิ้น
    อันนี้ก็ถูกที่เชื่อมั่นอย่างนั้น แต่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนอย่างไร ท่านสอนว่าอย่าประมาทใช่หรือไม่ ถ้าเรามีความประมาท ไม่ระมัดระวัง ให้รอบคอบ ก็ผิดคาสอนของท่าน ผู้มีความประมาท เมตตาของพระ พุทธเจ้า คงจะช่วยได้ไม่ทันกาล
     
  8. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่8 ดินแดนสัปปายะ

    หลังจากธุดงค์ที่แก่งคอย ก็เลาะเลียบมาตามอรัญแนวป่า ถึง ปากช่อง ดินแดนที่เคยปกคลุมที่ดงพญาไฟ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น ดงพญาเย็น ดินแดนแห่งนี้ แต่เดิมนั้นเป็นที่สัญจรของพระอริยเจ้า จนถึงพระธุดงค์ที่กาลังแสวงหาความหลุดพ้น บางรูปก็มามรณภาพ ในดงนี้ เนื่องจากไข้ป่าบ้าง หรือดับขันธ์ไปตามกาลเวลาบ้าง จึงมีจิต วิญญาณที่เป็นทิพย์ท่องเที่ยวอยู่เป็นอันมาก
    เมื่อไปปักกลดอยู่ริมน้าลาตะคอง ใต้กอไผ่ ก็ได้พบพรอริยเจ้า ผู้ชราภาพมาแวะเยี่ยมเยียน บอกอุบายธรรมที่จะนาไปสู่ความหลุดพ้น แสดงว่าจิตวิญญาณอันเป็นอมตะธาตุ ทรงกุศลกรรม มิได้สูญหายไป ไหน ยังมีครูบาอาจารย์ที่มรณภาพไปนานแสนนาน คอยปรากฏกายให้ผู้ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ได้เกิดความเชื่อมั่น เกิดปัญญาอยู่เสมอ
    เราเดินทางกันต่อไป จนแยกทางเข้าด่านขุนทด ตัดออกชัยภูมิ จนถึงอาเภอภูเขียว ซึ่งมีป่าเขาลาเนาไพรมากขึ้น และเต็มไปด้วยหมอก ขาว ปกคลุมไปทุกหย่อมหญ้า เนื่องจากเป็นฤดูหนาว
    ชาวนากาลังระดมกันเก็บเกี่ยวข้าว แต่ชาวบ้านที่พานพบนั้น มี ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาน้อยมาก แต่เขายินดีถวายทาน บิณฑบาต ให้พอดาเนินชีวิตท่องธุดงค์ต่อไปได้
    ท่ามกลางอากาศอันหนาวเหน็บเช่นนี้ เราก็พากันเข้าไปบาเพ็ญ ภาวนาอยู่ในถ้า ที่ให้ความอบอุ่นดีกว่ากลางแจ้ง เราไม่ได้กาหนดว่า ถ้า นั้นชาวบ้านเขาเรียกว่าอย่างไร สักแต่ว่าเป็นถ้า มีช่องอากาศถ่ายเทได้ ไม่ อับชื้น ป้องกันหมอกหรือน้าค้าง และให้ความอบอุ่นได้ ก็เป็นอันพอใจ
    แม้กระนั้น พอเวลาใกล้ค่า อาตมาซึ่งเป็นสามเณรก็เที่ยวไปหา ไม้แห้งอันมีอยู่มากมาย ทั้งท่อนเล็กและท่อนใหญ่ เข้ามาเก็บสะสมไว้ ในถ้า พอค่าลงก็จัดการก่อไฟ ใกล้ที่ปักกลดอยู่ในถ้าชั้นในไว้กองหนึ่ง ก่อไว้ที่ข้างกลดอาตมา ซึ่งอยู่ใกล้ปากถ้าอีกกองหนึ่ง เพื่อความอบอุ่นเพิ่มขึ้น
    สาหรับที่กางกลดนั้น แม้จะเป็นในถ้า ก็ต้องแอบไปข้างใดข้างหนึ่ง อย่าไปกางปิดปากถ้าและขวางทางเดิน เพราะตามทางเดินนั้น ย่อมมีจิต วิญญาณหรือโอปปาติกะ เดินเข้าเดินออกอยู่เสมอ
    ตอนย่างเข้าสู่บริเวณหน้าถ้า ก็ได้เห็นเจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าถ้า อารักขเทวา มายืนเรียงรายกันอยู่หลายท่าน และยิ้มแย้มด้วยเมตตา แสดงอาการ ต้อนรับ เมื่อตาเห็นยังไม่รู้ว่าเป็นใครบ้าง ต่อมาสารวมใจ ก็รู้ขึ้นมาเองว่า องค์นั้นองค์นี้เป็นใคร เห็นหลวงพ่ออุปัชฌาย์ท่านหยุดยืนสงบอยู่ ท่าน คงเห็นอย่างอาตมา จึงได้หยุดด้วย แล้วแผ่เมตตาธรรมก่อน เสร็จแล้ว ก็ส่งจิตบอกว่า ที่มานี้ไม่ได้มุ่งหวังสมบัติพัสถานสิ่งใดที่อาจมีอยู่ ณ สถานที่นี้ แต่ต้องการจะมาหาความวิเวก บาเพ็ญภาวนาเพื่อแสวงหา ธรรม อันเป็นทางหลุดพ้น เห็นทุกองค์พากันยิ้มพยักหน้า จึงพากันเดิน เข้าไปสู่ภายในถ้า
    เมื่อลึกเข้าไป ก็ได้เห็นแสงสว่างเป็นลายาว ผ่านช่องหินบนยอด เขาลงมา ทาให้เกิดแสงระยิบระยับ เป็นประกายจากหินย้อยที่ห้อยระย้า เป็นช่อชั้นหลืบกั้น ดังวิสูตรม่านอันงดงาม และมีพระพุทธรูป ขนาด หน้าตักกว้าง ๓ ศอก เป็นองค์ประธาน สีทองงดงามด้วยพุทธลักษณะ
    นอกนั้นก็มีพระพุทธรูปองค์เล็กองค์น้อย เรียงรายลดหลั่นกันเป็น ระเบียบ บางองค์ก็เป็นพระสัมฤทธิ์ บางองค์ก็เป็นพระเงินขาวผ่อง บางองค์ก็เป็นทองคาสุกปลั่ง บางองค์ก็แกะด้วยไม่โพธิ์ ประมาณเกือบ ร้อยองค์ มีบาตรลูกหนึ่ง บรรจุเต็มด้วยพระเครื่อง ทาด้วยผงว่านสีน้าตาล อ่อน ก็ได้แต่ดูด้วยตา แสดงว่าถ้านี้ เคยเป็นที่กราบไหว้บูชามาแต่โบราณ ควรเลื่อมใสศรัทธาจรรโลงใจให้เบิกบานยิ่งนัก หลวงพ่อท่านเรียกถ้า แห่งนี้ว่า "ถ้าพระ" และบอกว่า เคยมาปฏิบัติอยู่ที่นี่เป็นเวลาเดือน กว่า จึงไม่ใช่ผู้แปลกหน้าสาหรับผู้อารักขาที่นี่
    ที่ถ้าแห่งนี้ เป็นที่สงบสงัดควรแก่การเจริญภาวนายิ่งนัก เดินจาก ถ้าไปทางทิศตะวันออก ประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็จะพบหมู่บ้านประมาณ ๓๐ หลังคาเรือน
    ทราบมาว่าบรรพบุรุษของเขา ได้พากันอพยพจากเวียงจันทน์ มาตั้ง รกรากอยู่ เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว ประกอบอาชีพทานาทาสวน พอได้อาศัย ดารงชีวิตอยู่ ไม่มากมายอะไรนัก เพราะพื้นที่จากัด มีเขาล้อมรอบเป็น ส่วนมาก แต่ชาวบ้านก็ดูมีความสุขสบาย พอใจในความเป็นอยู่ของตน
    เวลาบิณฑบาต พวกชาวบ้านก็ทาบุญใส่บาตรให้ โดยเฉพาะเขา ใส่แต่ข้าวเหนียวเปล่า และมีชาวบ้านผู้ชายอายุประมาณ ๕๐-๖๐ ปี สองคน ช่วยกันรับกับข้าวของกินจากชาวบ้าน หาบตามมาส่งถึงถ้า ชาวบ้าน เหล่านี้คุ้นเคยกับท่านอาจารย์มาก่อน จึงนับว่าถ้าแห่งนี้เป็นที่สัปปายะ พอสมควร…
    ตกตอนเย็นประมาณ ๕ โมง ชาวบ้านหญิงชายส่วนมากมีอายุ มากแล้ว จะมีหนุ่มสาวก็ ๒-๓ คนตามมาด้วย รวมกันประมาณ ๒๐ กว่าคน เข้ารับศีลและฟังธรรมจากท่านอาจารย์
    ท่านอาจารย์อุปัชฌาย์ถามว่า "เป็นอย่างไรโยม ยังปฏิบัติทาสมาธิ กันอยู่หรือเปล่า"
    "ตั้งแต่หลวงพ่อจากไปเมื่อปีก่อน ก็ปฏิบัติกันมาไม่ขาด ลูกหลาน บางคนเขาก็พากันปฏิบัติด้วย"
    "ปฏิบัติแล้วได้ผลอย่างไรล่ะโยม"
    "จิตใจมันก็สงบเย็น อิ่มเอิบ บ่ค่อยมีเรื่องยุ่งยากเดือดร้อน ลูก หลานก็เป็นคนดี ว่านอนสอนง่าย เอาแฮงเฮ็ดการงานดีอยู่ ฝนฟ้าก็ดี ทา นาทาไร่บ่อดบ่อยากอย่างแต่ก่อน…หลวงพ่อมาเยี่ยมมายามก็อบอุ่นใจหลาย"
    "ปฏิบัติกันแค่นี้ก็ดีอยู่ แต่ยังบ่พอนะโยม ต่อไปก็ให้ปฏิบัติให้ มากขึ้น เพราะจิตใจนั้น มันมีกิเลสเข้ามารบกวนหลาย ต้องคอยชาระ สะสางให้มันมั่นคงบริสุทธิ์ให้มากขึ้น ให้ถึงมรรคถึงผล ให้พ้นความทุกข์ จริงๆ หมู่โยมอย่าพากันประมาท ความตายจะมาถึงยามใดก็บ่ฮู้ ต้อง เอาสวรรค์นิพพานให้ได้ก่อนตาย จึงจะดีจะชอบ ตั้งหน้าปฏิบัติต่อไป เถอะ พระพุทธเจ้าท่านย่อมคุ้มครอง บ่ให้อดให้อยากหรอก"
    ชาวบ้านป่าที่นี่ นับว่ารู้เรื่องศีลธรรมดีพอสมควร ท่านอาจารย์ เคยธุดงค์มาสั่งสอนเมื่อปีก่อนๆ อาศัยที่เขาเป็นคนซื่อ มีศรัทธา มีความ เชื่อถือ สอนอย่างไรเขาก็ทาตาม
    ระหว่างที่พักอยู่ที่ถ้านี้ ตกเย็นชาวบ้านหญิงชายจะมาฟังธรรม เสร็จแล้วก็แยกย้ายไปนั่งสมาธิ บางวันก็มาน้อย บางวันก็มามาก แล้ว แต่เขาจะมีธุระอื่นหรือไม่ ถ้าเป็นวันพระ ก็มามากเป็นพิเศษ พอตกค่าก็ พากันกลับ จุดใต้ส่องทางไปเป็นแถว ท่านอาจารย์และอาตมาจึงมีเวลา ปฏิบัติมากพอสมควร และจิตใจได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นอันมาก
    เหตุที่พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านยินดีในการแสวงวิเวกอยู่ตาม ป่าเขานั้น ก็เพราะธรรมชาติของป่าเขา มีความสงบอยู่ครึ่งหนึ่งแล้ว ใน ป่าเขาไม่มีสิ่งใดที่จะทาให้จิตใจฟุ้งซ่าน ไม่มีสิ่งเย้ายวนล่อตาล่อใจ นอก จากเสียงจักจั่นเรไร เสียงน้าไหลในลาห้วย เสียงกระรอก กระแตและ นกร้อง จึงมีแต่ความสงัดเงียบ
    บางทีเสียงธรรมชาติเหล่านี้ เราก็หยุดนิ่ง จนจิตของเราสงบไปเอง ยิ่งตอนกลางคืนแล้ว สงบจนรู้สึกว่ากายเบาและจิตเบาไปหมด แม้แต่ ร่างกายที่อยู่ในท่านั่งสมาธิ มันก็เหมือนไม่มี มีแต่ตัวรู้คือสติเท่านั้น
     
  9. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่9 เทพบุตร เทพธิดา มาขอฟังธรรม

    ดังได้เล่ามาแล้วว่า อาตมานั้นมีตารู้ หูได้ยิน อย่างที่เรียกว่า ตาทิพย์ หูทิพย์ มาแต่เด็กๆ เป็นสิ่งที่ติดมากับจิตเดิมแท้ ที่เคยปฏิบัติมา แต่อดีตชาติ โดยเฉพาะชาติที่แล้ว เป็นพระชรามรณภาพในสมาธิ ใน ชาตินี้แม้ยังไม่ได้ปฏิบัติธรรม ก็สามารถเห็นได้เอง
    อย่างที่เห็นเจ้าป่า เจ้าเขา เทวดาอารักษ์ ตอนที่มาถึงถ้านี้ เป็นการ เห็นโดยไม่ได้หลับตา และเห็นตอนกลางวัน การเห็นนี้ นับว่าเห็นจน เคยชิน เป็นเรื่องธรรมดา เช่นเดียวกับที่เรามองเห็นมนุษย์และสัตว์ หรือ ทุกสิ่งในโลกนี้ แม้จะเป็นคนละมิติ คนละภูมิก็ตาม
    ตอนที่อาตมาจะไม่เห็น ก็ตอนที่ปฏิบัติธรรมสมาธิ จิตเป็นเอกัคตา หรือเข้าสู่อุเบกขา กับตอนที่ถอนจิตออกมาสู่อุปจารสมาธิ พิจารณา กายคตาสติ ไม่ได้สนใจกับสิ่งภายนอก ใช่แต่สติคอยดูคอยรู้กายกับจิต เป็นปัจจุบันเท่านั้น เมื่อออกจากสมาธิแล้ว จึงได้เห็นอย่างที่เคยเห็น
    เมื่อปฏิบัติอยู่ในถ้านี้ ๗ วัน คืนที่ ๗ นั้น ขณะที่ออกจากนั่งสมาธิ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ออกไปเดินจงกรมหน้าถ้า ซึ่งเป็นพื้นเรียบ ญาติโยม เขามาปัดกวาดไว้ให้สะอาดดี อาตมาก็ได้พบเจ้าป่าเจ้าเขา เทวดาอารักษ์ ที่เคยพบในวันแรก มานั่งพนมมือขวางหน้าอยู่ จึงถามในใจว่า "ท่านมี ธุระอะไรกับอาตมาหรือ"
    เทวดาอารักษ์เป็นผู้ตอบว่า "ท่านสามเณรปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ บัดนี้ เทพบุตร เทพธิดา มีศรัทธาเลื่อมใส ประสงค์จะมาขอฟังธรรม รออยู่ หน้าถ้าประมาณ ๕๐๐ ตน ขอนิมนต์ท่านสามเณรไปโปรดด้วย"
    อาตมาก็ตอบว่า "อาตมาเป็นเพียงสามเณร มีความรู้น้อย ไม่สมควร จะไปกล่าวธรรมแก่เทพบุตรเทพธิดา อีกประการหนึ่ง ก็มีครูบาอาจารย์ มาด้วย อาตมาไม่กล้าทาเกินหน้าครูอาจารย์ เป็นการไม่เคารพท่าน ทาไมไม่ขอฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ของอาตมา ซึงมีคุณธรรมสูง กว่าอาตมา"
    "ท่านเทพบุตรเทพธิดา พากันแสดงความปรารถนาจะได้ฟังธรรม จากท่านสามเณรนะท่าน" เทวดาอารักษ์ตอบ "ทาไมหนอ เพราะอะไรหนอ จึงแสดงความปรารถนาเช่นนั้น ทาให้อาตมาลาบากใจนะคุณโยมอารักษ์ เอาอย่างนี้เถอะ คุณโยม อารักษ์ไปเรียนปรึกษาต่อหลวงพ่ออาจารย์เสียก่อน ท่านจะอนุญาต ไหม ไม่เช่นนั้นอาตมาไม่กล้าจริงๆ"
    "เอาอย่างนั้นก็ได้ท่านสามเณร"
    ท่านอารักษ์ตอบแล้ว ก็ขยับเขยื้อนกายอันเป็นทิพย์นั้นเข้าไปยังถ้า ชั้นใน แต่แล้วหลวงพ่ออาจารย์ก็มาปรากฏตัว พร้อมกับพูดว่า
    "เณรจงไปแสดงธรรมโปรดเขาเถอะ หลวงพ่ออนุญาต"
    "หลวงพ่ออาจารย์จะให้กระผมแสดงธรรมด้วยข้อใดหรือขอรับ"
    "ธรรมอันทาบุคคลให้เป็นเทวดานั้น ย่อมทาให้เทพเหล่านั้นชื่นชม ยินดี เกิดปีติแก่เขา แต่จะทาให้เขายึดติดอยู่กับความหลงในความเป็น เทวดาของตน ซึ่งมีเหตุให้เสื่อมได้ ไม่ก้าวหน้าในธรรม ควรแสดงไตรลักษณ์ และความไม่ประมาทด้วย จึงจะชอบ"
    เมื่อได้รับอนุญาตเช่นนั้น อาตมาก็ไม่มีทางหลีกเลี่ยง จึงเดินนา เทวดาอารักษ์ออกไปที่ปากถ้า ซึ่งในราตรีนี้ เป็นยามข้างขึ้น ๑๔ ค่า ดวง จันทร์ใต้แผ่นฟ้าส่องแสงกระจ่างแจ่มใสไปทั่วหล้า เหล่าดาราที่เคย ประดับฟ้าในคืนข้างแรม ก็ถูกกลืนหายไป ทั้งที่ธรรมชาติของดวงตา ยังคงมีอยู่เช่นเดิม แสงจันทร์นั่นเองทาให้มองเห็นเทพบุตร เทพธิดา ในชุดขาว นั่งกันอยู่เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน เทพบุตรนั่งรวมกันอยู่ทางซีก ขวา เทพธิดานั่งอยู่ทางซีกซ้าย เว้นช่องทางเดินไว้ตรงกลาง
    จากร่างในชุดขาวบริสุทธิ์นั้น มีแสงเรืองอ่อนๆ อยู่ทั่วกาย อาตมา ได้แต่ชาเลืองดูตอนที่ออกไปยืนหน้าถ้าเท่านั้น มิได้พิจารณาสังเกตอย่าง ถี่ถ้วน ว่าหน้าตาจะงดงามหรือไม่ เพราะต้องอยู่ในอาการสารวมอินทรีย์ กาย วาจา ใจ ทอดสายตาไปไม่เกิน ๔ ศอก
    ครั้นไปยืนอยู่หน้าถ้าแล้ว เทพทั้งหลายต่างยกมือขึ้นนมัสการจรด เหนือหน้าผาก เทพองค์หนึ่งจิตรู้ว่าเป็นหัวหน้า พูดขึ้นด้วยเสียงอันมี กังวานไปเราะว่า
    "พระคุณเจ้า เหล่าโยมซึ่งเป็นเทพบุตร เทพธิดา มากันเป็นจานวน ๕๐๐ ตน มีความปรารถนาจะขอฟังธรรม ขอพระคุณเจ้าได้โปรดแสดง ธรรม แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด"
    อาตมาสงบอยู่ขณะหนึ่ง จึงกล่าวขึ้นว่า "คุณโยมเทพบุตร เทพ ธิดาทั้งหลาย ผู้มีความปีติสุข ความอิ่มเอิบในทิพยสมบัติเป็นเครื่อง อยู่ เป็นผู้นิราศแล้วจากทุกข์ทั้งปวง แม้กระนั้นคุณโยมก็มิได้มีความ ประมาท หลงอยู่ในทิพยสมบัติ มีจิตปรารถนาจะได้รับรสพระธรรม เป็นที่น่ายินดีอนุโมทนา ความปรารถนาในกุศลธรรมนี้ นับเป็นบุญ ที่ควรอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง
    อาตมาได้ออกมาแสดงธรรม ตามความปรารถนาของคุณโยมทั้ง หลาย แต่ขอได้โปรดทราบว่า ธรรมที่นามาแสดงนี้ เป็นธรรมขององค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่ไม่มีกาลเวลา ผู้ส้องเสพซึ่งรสพระธรรมเมื่อใด ย่อมได้รับรสแห่งธรรมนั้นทุกเมื่อ นับเป็น ธรรมของโลกโดยแท้
    กุศลธรรมเหล่าใด อันทาให้บุคคลเป็นเทพบุตร เทพธิดา เสวยทิพย สมบัติอยู่ ณ บัดนี้ กุศลธรรมเหล่านั้น เป็นสิ่งที่คุณโยมทั้งหลายสมควร นามาทบทวน กระทาอยู่อย่างสม่าเสมอ ไม่ควรหลงลืมละเว้น เพราะ เหตุแห่งทิพยสมบัติที่เสวยอยู่ มาปิดบังอาพรางไว้
    อันทิพยสมบัติที่เสวยอยู่นี้ แท้จริงเป็นของเสื่อมได้ หมดได้ เป็น ของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ด้วยเป็นเพียงโลกียสมบัติ เมื่อกุศลกรรมที่ได้ กระทาไว้หมดลง ความสุขอันนี้ก็จะกลายเป็นทุกข์ หรือจะต้องไปเกิดใหม่ ตามภพภูมิ ตามกรรมดีกรรมชั่วของตน ที่ยังมีเชื้อเหลืออยู่
    ทิพยสมบัติมิใช่อัตตาตัวตน ที่เราท่านจะยึดถือหวงแหนเอาไว้ได้ ด้วย เหตุนี้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงตรัสย้าเป็นคาสุดท้าย ก่อน ปรินิพพานว่า ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม ความ ไม่ประมาทนั้น คือควรระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนได้กระทามาดีแล้วและ พากเพียรกระทาต่อไป มิให้ขาดสาย
    โลกทิพย์ อันคุณโยมทั้งหลาย เสวยทิพยสมบัติอยู่นั้น จงพิจารณา ให้ดี ก็จะเห็นว่า ยังเป็นโลกที่ไม่มีแก่นสารอยู่ อาจกล่าวได้ว่า เป็นโลกที่ ไม่มีตัวตน เป็นแต่แสงสว่างแผ่ซ่านอยู่ เป็นโลกที่ละเอียดอ่อน
    คุณโยมที่ปรากฏกายให้อาตมาเห็นนี้ ก็ด้วยอานาจของจิตอธิษฐาน จะจัดว่าเป็นโลกของจิตพักอาศัยอยู่ก็ได้ ฤทธิ์อานาจที่อาจบันดาลให้เป็น ไปตามความปรารถนาได้ ก็ได้อาศัยจิตเท่านั้น สวรรค์ก็ดี วิมาณก็ดี ล้วนเกิดขึ้น มีขึ้น ด้วยอานาจของจิตที่เป็นกุศลธรรมส่งเสริมให้เป็น เช่นนั้น
    จิตเป็นนามธรรม ไม่มีรูปที่จะประกอบกรรมดี หรือชั่วได้อย่าง มนุษย์ แต่จิตก็ใช่ว่า จะบริจาคทาน รักษาศีล เจริญสมาธิไม่ได้ แม้มนุษย์เองก็ได้อาศัยจิตทาให้กายกระทา ตามที่ตนปรารถนา ฉะนั้น คุณโยมผู้เป็นเทพทั้งหลาย พึงใช้จิตบริจาคทาน ใช้จิตรักษาศีล ใช้จิต เจริญสมาธิเถิด
    การบริจาคทานด้วยจิต ก็คือให้ความกรุณา ให้ความเมตตาแก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย ผู้ใดมีทุกข์ ก็พึงอธิษฐานให้เขาพ้นทุกข์ เอาจิต ช่วยเขาให้เป็นสุข ผู้ใดผิดหวัง ก็เอาจิตช่วยให้เขาสมหวัง ซึ่งนับได้ว่า เป็น ทานบารมีอันยิ่งใหญ่
    ศีลก็ย่อมรักษาได้ด้วยจิต ระลึกถึงศีลที่ทาให้เป็นเทวดา ก็จะเห็นได้ ว่า เพราะมีเมตตาละเว้นการฆ่า เบียดเบียนสัตว์อื่น เพราะมีเมตตาไม่ กล่าววาจาให้เขาหลงผิด กระทาในสิ่งผิด เพราะมีเมตตาไม่ทาผู้อื่นเศร้า เสียใจ ต้องการละเมิดลูกเขาผัวเขาเมียเขา เพราะมีเมตตาไม่ถือเอาทรัพย์สิน ที่เจ้าของเขาหวงแหน ได้มาด้วยความทุกข์ยาก เพราะมีเมตตาต่อตนเอง บุตรภรรยา ไม่เสพของมึนเมา เช่น สุรา อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์โทษ ต่างๆ ดังนี้จึงเป็นศีล
    จิตของคุณโยมเป็นกุศลจิต จึงนับว่าได้รักษาศีลไว้โดยสมบูรณ์ สมาธิก็คือทาจิตให้ตั้งมั่น อะไรที่เป็นอุบายให้จิตตั้งมั่นเล่า ก็คือการ ตามระลึกถึงอนุสติ ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีนึกภาวนาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า เป็นต้น จิตภาวนาคาว่าพุทโธ ให้เป็นอารมณ์จิตอยู่สม่าเสมอ ต่อเนื่อง กุศลธรรมก็จะสูงขึ้นไปเป็นลาดับ
    เมื่อหมดบุญกุศลที่ทาให้เป็นเทพ บุญแห่งการเจริญศีล เจริญ ภาวนา ก็จะมาเพิ่มเติมให้คงความเป็นเทพต่อไปอีก เมื่อพ้นจากเทพไปแล้ว ก็อาจไปจุติในมนุษย์โลก ในที่ดีมีสุข ได้ปฏิบัติอยู่ในทาน ศีล ภาวนา เกิดปัญญารู้แจ้งเป็นพุทธะต่อไป
    เมื่อคุณโยมผู้เป็นเทพ ได้ตระหนักชัดว่า ความเป็นเทพนั้น ยังเป็น โลกียสมบัติซึ่งเป็นสิ่งสมมติ ไม่คงทนถาวร เสื่อมได้ หมดได้ สิ้นไปได้ ก็จงอย่ามีความประมาท เวลาในสวรรค์แม้จะยาวนานกว่าโลกมนุษย์ ถึงร้อยเท่าพันเท่า จะพ้นจากไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้น ไม่ได้ สิ่งสมมติทั้งหลาย เกิดขึ้นแล้วย่อมดับ จงขวนขวายละสมมติ ไปสู่วิมุตติเถิด จึงจะพ้นจากการเวียนว่ายในวัฏสงสาร
    อาตมาสามเณรน้อย ได้อาราธนาธรรมคาสอนขององค์พระสัมมา สัมพุทธเจ้า มาเพื่อเป็นข้อระลึกของคุณโยมผู้เป็นเทพ พอสมควรแล้ว ขอเจริญพรแผ่เมตตาให้คุณโยมอย่ามีทุกข์เดือดร้อน อย่ามีภัยอันตราย ใดๆ อย่าเป็นผู้มีเวรมีกรรมต่อกันเลย จงเป็นสุข…เป็นสุข ตามกุศลกรรม ของตนเถิด"
    เมื่อจบลงขณะนั้น เสียงแซ่ซ้องสาธุการของทวยเทพก็ดังสะเทือน เลื่อนลั่นไปทั่วขุนเขาไพรพนมทิพย์ แต่เสียงนั้นจะดังให้โลกรู้ก็หาไม่ ด้วยเป็นเสียงละเอียด ที่ผู้มีจิตละเอียดได้ทิพยโสตเท่านั้น จึงจะสัมผัสได้
    จากนั้นก็ได้เห็นเทพ พากันยกกรขึ้นเหนือลาฏ แล้วก็ทยอยกัน กลับ ด้วยกิริยาอันเรียบร้อย เป็นระเบียบ แล้วเลือนหายไป ท่ามกลาง แสงจันทร์กระจ่าง
    อาตมาก็กลับเข้าถ้า เข้าไปนมัสการอาจารย์อุปัชฌาย์ ตามแบบ อย่างศิษย์กับอาจารย์ ซึ่งท่านก็ได้ยกมือพนมอนุโมทนากล่าวว่า
    "เณรแสดงได้ไพเราะจับใจ เทพทั้งหลายปีติชื่นชม สมใจหลวงพ่อ แล้ว"
    ต่อจากนั้นก็เตือนให้เร่งความเพียรยิ่งๆขึ้นไป
    หลวงพ่ออาจารย์กับอาตมา ได้เจริญภาวนาอยู่ในความวิเวก ต่อมา เกือบเดือน โดยไม่มีเหตุการณ์วุ่นวายมาแผ้วพาน จากนั้นจึงอาลา ญาติโยม ผู้มีอุปการะบริจาคทาน ให้มีกาลังปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้ โดยสะดวก นับว่าญาติโยมเหล่านั้น ได้หว่านพืชแห่งกุศลของตน ลงไป ในนาที่เป็นเนื้อนาบุญ ด้วยเหตุอันดี คงจะได้รับผลเป็นความสุขสืบไป
     
  10. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่10 ธรรมะจากป่า

    จากนั้นก็เดินทางจากเขตป่าของอาเภอภูเขียว ขึ้นไปยังอาเภอ เกษตรสมบูรณ์ ซึ่งเป็นโขดเขินเนินเขาสูงขึ้นไปอีกด้านหนึ่ง
    ที่อาเภอนี้แต่โบราณมา ถือเป็นแผ่นดินทองแห่งหนึ่ง เพราะมีการ ร่อนเร่ส่งส่วยเข้าไปสู่เมืองหลวงตั้งแต่สมัย เจ้าพ่อพระยาแล ของชาว จังหวัดชัยภูมิ
    อันที่จริง จากตัวจังหวัดชัยภูมิ จะมุ่งหน้าไปทางหนองหญ้าปล้อง ข้ามขึ้นเขาไปยังเพชรบูรณ์เลยก็ได้ แต่หลวงพ่อบอกว่าจะไปแวะเวียน เยี่ยมเยียนชาวบ้านที่เคยมีอุปการคุณ เมื่อครั้งธุดงค์เดี่ยวมาเมื่อปีก่อนๆ เขาจะได้สร้างบุญสร้างกุศลกันบ้าง จึงเดินทางสู่เกษตรสมบูรณ์ แวะ เวียนเรื่อยมาไม่เร่งร้อน ที่ไหนเป็นที่สัปปายะ ปฏิบัติธรรมสมาธิรุดหน้าก็ พักอยู่หลายวัน แล้วจึงธุดงค์ต่อไป
    การธุดงค์แสวงหาวิเวกนั้น ครูบาอาจารย์แต่เดิมมา ท่านไม่ให้ ติดที่อันเป็นสัปปายะ ต้องไปกันเรื่อยๆ ลาบากบ้าง สบายบ้าง อดบ้าง กินบ้าง ก็ไม่ให้ยึดถือ ให้เห็นเป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติ สิ่งใดเกิดขึ้น แล้วย่อมดับไป ทุกข์เปลี่ยนเป็นสุข สุขเปลี่ยนเป็นทุกข์ หิวแล้วอิ่ม อิ่ม แล้วก็หิว สิ่งใดที่เราไปยึดมั่นถือมั่น จะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ บางที ก็ไม่เป็นดังที่หวังไว้
    ความผิดหวัง สมหวัง ล้วนขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมที่มนุษย์พากัน กระทาขึ้นทั้งสิ้น กรรมดีก็คลาดเคลื่อนได้ เพราะดียังไม่จริง ยังไม่ สมบูรณ์ กรรมชั่วก็คลาดเคลื่อนได้ ถ้ายังมีกรรมดีมาประคับประคอง ผลมาจากเหตุก็จริง แต่เหตุนั้นต้องสมบูรณ์ก่อน จึงจะได้รับผล
    มองไปตามพื้นดินในป่าใหญ่ มองเห็นธรรมหล่นเกลื่อนกลาด ธรรมเหล่านั้นก็คือใบไม้แห้ง ซึ่งแสดงสภาวธรรมให้เห็นถึงความเป็น อนิจจัง มันหลุดร่วงจากต้น กาลังจะถูกเหยียบย่า ให้เป็นดินเป็นทรายไป เมื่อเป็นดินแล้ว เมล็ดพันธุ์ของมันหล่นลงมาอีก มันก็กลายเป็นฐาน รองรับ ให้เมล็ดนั้นงอกงาม เป็นต้นเป็นใบขึ้นมาใหม่ แล้วค่อยๆโต ขึ้นสูงขึ้น ผลิดอกออกใบอ่อน…ใบอ่อนก็เปลี่ยนเป็นใบแก่ ใบแก่จาก เขียวเป็นเหลือง แล้วก็หลุดร่วงจากก้าน สู่พื้นดินเป็นใบไม้แห้ง เป็นดิน หมุนเวียนอยู่เช่นนี้
    เมื่อเงยหน้าจากพื้นดิน ใบไม้บนต้น ยังมีอยู่มากเป็นแสนล้านเท่า พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปว่า ธรรมที่พระองค์แสดงมาแล้ว เป็นเพียงใบไม้แห้ง ๑ กามือเท่านั้น ส่วนธรรมที่ยังไม่ได้แสดง ตลอด อายุของพระองค์ ยังมีมากเท่าใบไม้ในป่า
    ช่างละเอียดลึกล้าสุดจะประมาณได้ ท่านจึงห้ามเอาไว้ว่า อย่าไป รู้จักโลกเลย ไม่ว่าใครๆ เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตชั้นไหน ก็ไม่มีวัน จะรู้จักโลกได้ทั้งหมด นอกจากพระบรมศาสดาของเรา แม้กระนั้น ก็ยังไม่อาจแสดงความรู้ของพระองค์ได้หมดสิ้น
    ฉะนั้นจงมองโลกให้แคบเข้า…แคบเข้า จนเหลือแต่กายและจิตนี้ เท่านั้น เมื่อรู้จักกายและจิตแล้ว ก็จะรู้จักโลกทั้งหมด ตลอดพิภพจักรวาล
    แต่เพียงกายและจิตนี้ ก็ยังมีมนุษย์นับเป็นร้อยๆ ล้าน ไม่เคยมอง ไม่เคยรู้จัก ตามที่มันเป็นจริง เจ้ากายและจิตนี้ นับเป็นกองขยะที่ยิ่งใหญ่ รกไปด้วย กิเลส ตัณหา อุปาทาน กระจัดกระจายเกลื่อนกลาดไป ด้วยละอองแห่ง โลภะ โทสะ โมหะ ที่หนาเตอะเหนียวแน่น ยากจะ กวาดล้างทาลายให้สะอาดได้ แม้จะสิ้นเปลืองภพชาติเกิดตายไปนับ ไม่ถ้วน
    แต่สิ่งที่เกิดเป็นรูปธรรม ที่เห็นอยู่ในโลกนี้ ก็มีสภาวธรรมอย่าง เดียวกัน ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคน หรือสัตว์ เล็กสัตว์ใหญ่ จะผิดก็แต่รูปร่างที่แตกต่างกันออกไป แม้กระนั้นในสิ่งที่ เราสมมติเรียกอย่างเดียวกัน มันก็ยังแตกต่างกัน
    ออกไปอีก คาว่า "ปลา" คาเดียว แต่มีปลากี่พันชนิดในโลกนี้ "นก" คาเดียว ก็ยังมีชื่อต่อท้าย อีกเป็นพันชนิด
    แม้แต่ "เต่า" คาเดียว ก็ยังมีเต่าสีสวยเลี้ยงไว้ดูเล่น เต่าตะนุใน ทะเลที่ไข่ของมันราคาแพงมีรสมัน เต่านา เต่าบก เมื่อบุกเข้าไปในป่า กาญจนบุรี อาจได้พบเต่า ๖ ขา ขึ้นไปบนภูกระดึง จะได้พบเต่าขึ้น ต้นไม้เก่ง หางยาวตั้งศอก ที่เขาเรียกว่า "ปูเลย" อ้าวแล้วคาว่าปูเลยใน ภาคเหนือ กลายเป็นไพลหัวที่มาตาพอกแก้เคล็ดบวม
    คาว่า "สุนัข" มันมีกี่พันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป แม้แต่เราสมมติ เรียกตัวเองว่า "มนุษย์" ก็มนุษย์ในโลกนี้มีกี่เผ่าพันธุ์ มนุษย์กินมนุษย์ ก็ยังมี แต่ถึงอย่างไร มันก็เป็นสภาวธรรมอันเดียวกันนั่นเอง
    พระพุทธองค์คงจะเห็นว่า จะให้มนุษย์รู้จักโลกได้ทั้งโลก ก็จะทา ให้ฟุ้งซ่าน เวียนเกิดเวียนตายไม่รู้จักจบ จึงทรงกาหนดให้รู้จักแต่ กาย ในการ จิตในจิต แม้อย่างนั้น การทาความรู้จักกายกับจิต ตามสภาพ ความจริงของมัน ก็ต้องข้ามภพข้ามชาติเหมือนกัน กว่าจะรู้ว่า กายก็ดี จิตก็ดี สุดท้ายนั้น ก็เป็นอนัตตาไปทั้งสิ้น มนุษย์พากันยึดถือผูกพันกับ สิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่ของตนเป็นวักเป็นเวร
    อันที่จริง ความเจริญทางวัตถุ การพัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวหน้า พัฒนาโลกอะไรเหล่านี้ ก็นับว่าเป็นของดี ทาให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น สะดวกขึ้น ถึงใครจะไปคัดค้านว่าไม่ดี มันก็หยุดไม่ได้ เพราะ มนุษย์มีความรู้ความฉลาด มีปัญญามากขึ้น ก็ต้องพัฒนากันเรื่อยไป
    แต่มันก็ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทา ไม่มีแนวร่วม ที่จะคิดจะทา อย่างมีจุดหมายปลายทาง มีขีดจากัดว่า เราจาเป็นแค่ไหน อะไรจาเป็น หรือไม่ เลยไม่มีคาว่า "พอดี" ความคิดประดิษฐ์ทาจึงเป็นไปอย่าง ฟุ้งซ่าน ไร้ขอบเขต ใครคิดทาอะไรเป็นพิเศษ ก็ว่าดี ยกย่องกัน จึง แข่งกันคิด แข่งกันทา อย่างจบไม่ได้ หรือหยุดไม่ได้ คิดไกลไปถึงจัดสรร บ้านขายกันที่โลกพระจันทร์ และโลกอื่นๆ พยายามจะทาความฝัน ให้เป็นจริงให้ได้
    แต่ความคิดสร้างสรรค์ ก็ยังนับว่าดีอยู่ แต่การคิดทาลายนี้ มากกว่า ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพียงกดปุ่มปั๊บเดียว โลกก็ถูกทาลายแล้วอย่างนี้ มันมี ความจาเป็นแก่ชีวิตมนุษย์ไหม ทาเพื่อประโยชน์อะไร สร้างแล้วเตรียม เครื่องทาลายไว้ จะสร้างกันไปทาไม ผลที่สุดก็จะมีแต่ความว่างเปล่า ลมๆ แล้งๆ มนุษย์ที่ยังเหลือรอดอยู่ จะอยู่ในสภาพไหน
    ความคิดทาลายนี้ แท้จริงก็ มาจากความโลภ อยากเป็นชาติที่มี อานาจเหนือชาติอื่น เหนือโลก มาจากความโกรธ ที่ไม่สามารถทาให้ ชาติอื่นอยู่ในอานาจของตน มาจากความหลง ที่ไม่รู้จริงในเรื่องของไตร ลักษณ์ ซึ่งไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้ ทุกสิ่งเกิดขึ้น ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไป ทุกสิ่งเกิดขึ้นย่อมเป็นเหตุแห่งความทุกข์ ทุกสิ่งเกิดขึ้น ย่อมสูญสลายไป ปราศจากตัวตน เมื่อสภาพแท้จริงเป็นเช่นนี้ ทาไมจึงไม่คิดไม่ทา เท่าที่มี ความจาเป็น และให้เกิดความ "พอดี"
    ชีวิตมนุษย์เรา ที่เกิดมาเป็นสัตว์สังคมนี้ จริงๆแล้วต้องการอะไร เป็นเครื่องดารงชีวิต?
    พระพุทธเจ้าตรัสถึงเครื่องดารงอยู่ว่า คือปัจจัย ๔ อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ถ้าปัจจัย ๔ พอดี หรือ ขาดแคลนบ้าง ก็พอ อยู่ได้
    ตามชนบทหรือบ้านป่าบ้านดง เราจะเห็นว่าแต่เดิมมานั้น เขาอยู่ กันด้วยปัจจัย ๔ จริงๆ ที่เดือดร้อนต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดก็เพราะ มันไม่พอดี ขาดแคลนมากเกินไป จนทนไม่ไหว ถ้าขาดแคลนเล็กๆ น้อยๆ ก็ยังพออยู่กันได้ นี่สาหรับชาวโลก
    ถ้าเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ปัจจัย ๔ ก็ให้มี แต่ย่อส่วนลงไป ให้น้อยกว่าชาวบ้าน เพราะต้องอาศัยชาวบ้านเขากิน ต้องทาตนเป็น คนเลี้ยงง่าย "อาหาร" ชาวบ้านเขากิน ๒-๓ เวลา แต่พระก็ฉันเวลาเดียว "ยารักษาโรค" ก็ให้ฉันได้เท่าที่จาเป็น ไม่เป็น
    โรคเอายามากินเล่นก็เป็น อาบัติ "เครื่องนุ่งห่ม" ก็ให้มีไตรจีวรชุดเดียว จะมีมากก็เป็นอาบัติ
    ในสมัยพุทธกาล เคยห้ามไม่ให้เอาของใหม่มาใช้ ให้ไปเที่ยว เก็บผ้าที่เขาทิ้งตามกองขยะหรือป่าช้า มาเย็บต่อกันเป็นจีวร มาผ่อนผัน ให้รับผ้าใหม่จากทายกในภายหลัง
    ส่วน "ที่อยู่อาศัย" ก็ให้อยู่ตามโคนต้นไม้ในป่า หรืออยู่เรือนร้าง ที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว หรืออยู่ในถ้าเพิงผาก็อนุโลมให้ ในฤดูเข้าพรรษา ไม่มีที่จะหลบฝน ก็อนุญาตให้ทากระต๊อบมีที่มุงที่บังได้ แต่ก็ให้ไม่เกิน ส้วมของเศรษฐีมีเงินในเมือง และไม่ให้ยึดถือว่าเป็นสมบัติของตน หมด หน้าฝนแล้ว ก็ต้องไปอยู่ตามโคนต้นไม้ ตามถ้า ไม่ให้อยู่เป็นที่ ให้ แสวงวิเวกเรื่อยไป แต่ก็ดารงชีวิตอยู่ได้เพื่อปฏิบัติธรรม ให้ถึงความพ้นทุกข์
    แต่การดารงอยู่ของมนุษย์ในสังคมทุกวันนี้ อยู่กันอย่างแบ่งฐานะ ๓ ระดับคือ
    ๑. อยู่อย่างขาดแคลน
    ๒. อยู่อย่างพอดี
    ๓. อยู่อย่างส่วนเกิน
    มนุษย์ในชนบทหรือป่าดง อยู่ในสองฐานะแรกเป็นส่วนมาก คือ ขาดแคลนกับความพอดี แต่มนุษย์ในเมืองอยู่ใน ๓ ฐานะ อย่างใด อย่างหนึ่ง และ ที่เห็นๆ ในบ้านเมืองนั้น มักเห็นว่าอยู่อย่างส่วนเกิน ไม่น้อยเลย เพราะความเจริญทางวัตถุ ทาให้เกิดส่วนเกินขึ้นมากมาย จนกลายเป็นข้ออ้างว่า "จาเป็น" สาหรับชีวิตประจาวัน
    ในสมัยพุทธกาล คนที่ดารงชีวิตอย่างส่วนเกินก็มี เรียกกันว่า "เศรษฐี" แต่คาว่าเศรษฐีนั้น ท่านแปลว่า "ผู้มีโรงทาน" เศรษฐีเล็กก็มี โรงทานเล็ก หรือมีโรงเดียว เศรษฐีใหญ่ก็มีโรงใหญ่ หรือหลายโรง
    มีไว้ทาไม? ก็มีไว้สาหรับแบ่งส่วนเกินของเขา ให้แก่คนที่ไม่มีหรือ ขาดแคลน ไม่ให้เอาเปรียบสังคมมากเกินไป ความนิยมเรื่องโรงทานนี้ พระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านก็เคยทากันมา
    แต่สังคมไทยสมัยนี้ เศรษฐีไม่มีโรงทาน มีแต่บ้านใหญ่เก็บสะสม ส่วนเกินเอาไว้เท่าที่จะมากได้ ไม่ยอมแบ่งให้ใครง่ายๆ เมื่อเกิดเศรษฐี ส่วนเกินมากขึ้น ก็ทาให้ความพอดีของคนส่วนใหญ่ ต้องขาดแคลนลง คาว่า เอารัดเอาเปรียบก็ตามมา ความไม่เป็นธรรมในสังคมก็ตามมา และชักจะมองหน้ากันไม่ได้ ฉันคนรวย แกคนจน คบกันไม่ได้เสียแล้ว นี่คือการเป็นชาวพุทธ แต่ไม่ได้อยู่กันอย่างชาวพุทธ ไม่มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ความโลภ โกรธ หลง มันมาพอกหน้าเห็นแต่ แววตาที่เห็นแก่ตัว ความพอดีก็หายไป
    พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งความ "พอดี" ต้องการให้ ชาวโลกรักษาระดับแห่งความพอดีเอาไว้ให้ได้ ความเจริญทางวัตถุ ก็ให้อยู่ในความพอดี เท่าที่จะดารงชีวิตอยู่ได้ ความเป็นอยู่ก็ให้พอดี
    เรื่องความร่ารวยเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีนั้น ท่านไม่ได้จากัดไว้ เพราะถือความมีความจน เป็นผลของกรรมดีกรรมชั่ว แต่ท่านให้รู้จัก ปรับตัว ให้อยู่ในความพอดี ถ้าชาวไทยหรือชาวโลก ยึดถือเอาความ พอดีเป็นอุดมการณ์ ก็จะอยู่กันอย่างสันติสุข เป็นสันติภาพแท้จริง
    แม้ภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ ก็ต้องยึดถืออุดมการณ์ ให้เป็นแบบ อย่างแก่ชาวโลก ให้เขาเห็นว่า ภิกษุท่านดารงชีวิตอยู่ได้ด้วยความพอดี ถึงแม้ว่าจะน้อยกว่าชาวโลกเสียอีก แต่ท่านยังอยู่ได้ ทาไมเราจะอยู่ไม่ได้
    ภิกษุส่วนมากในสมัยนี้ ไม่ได้อยู่ในอุดมการณ์ของความพอดี พากันแสวงหาส่วนเกิน มากกว่าชาวโลกเสียอีก เมื่อไม่รักษาอุดมการณ์ เอาไว้ให้ได้ ก็เท่ากับไม่อยู่ใน
    ธรรมวินัย เพราะธรรมวินัยท่านกาหนด เอาไว้ เพื่อให้เกิดความพอดีอยู่แล้ว ภิกษุประเภทนี้ แม้จะมีผ้าเหลืองเป็น เครื่องหมายแสดงความเป็นภิกษุ ก็ไม่ถือว่าเป็นภิกษุ อาศัยเครื่องหมาย หากิน หลอกลวงชาวบ้านไปวันๆ เป็นเนื้อนาบุญไม่ได้ ตายไปก็ลง นรกท่าเดียว
    ที่อาตมาพูดมานี้ ก็ได้จากการพิจารณาธรรมะในป่า เข้าไปหา ในเมือง และเพื่อให้เห็นว่า การเผยแพร่พระพุทธศาสนานั้น จาเป็น อย่างยิ่ง ที่จะเผยแพร่อุดมการณ์แห่งความพอดี ให้กว้างขวางออกไป เป็นพื้นฐานสาหรับการดารงอยู่ของชาวโลกให้ได้เสียก่อน เพราะการ ที่จะปฏิบัติธรรมขั้นสูงต่อไป ก็จะต้องปฏิบัติตามความพอดีเช่นกัน เรียกว่ามีความพอดีเป็นพื้นฐาน และมีความพอดีเป็น "ญาณ" ก้าวไปสู่ อมตธรรม คือ "พระนิพพาน"
     
  11. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่11 ท่องธุดงค์แสวงหาที่วิเวก

    หลวงพ่ออาจารย์กับอาตมา ท่องธุดงค์แสวงวิเวกในป่า แถบนี้ จนบรรลุถึงบ้านบึง ๑๔ แผ่นดินที่อุดมชุ่มชื่น เนื่องจากไอเย็น ที่กระจายจากนํ้าตก ต้นลำแม่นํ้าชี ขาว พืช ผลไม้มักงอกงาม ต้น สมโอของบ้านนี้ ลูกใหญ่ดูเป็นพวงระย้าไปทั้งต้น แต่เพราะห่างไกล ความเจริญ จึงไม่มีค่าเอาไปซื้อขายได้
    ชาวบ้านว่าเคยบรรทุกเกียนเข้าไปขายในเมือง ได้เพียง ๔ ลูกบาศก์ ไม่คุ้มกัน จึงเห็นเด็กๆ เอาส้มโอมาเตะเล่นต่างฟุตบอล เป็นที่สนุกสนาน ความใหญ่ของส้มโอเท่าลูกมะพร้าวทีเดียว
    ในป่าและท้องนาของหมู่บ้านนี้ มักมีเก้งและกระต่าย วิ่งไปมาชุก ชุมมาก เป็นสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่อยู่ในสายตาของชาวบ้าน ในการนำมา เป็นอาหาร สัตว์ที่เราใช้เป็นอาหารอย่างน้อยก็ต้องเป็นกวาง ขึ้นไปถึง วัวป่าและกระทิง
    วัวป่าชนิดหนึ่งมีขนเป็นปุยรอบช่วงคอ เขาเรียกว่า "เมย" มีชุกชุม เป็นฝูง แต่ถ้าชาวบ้านเขาไม่อดจริงๆ ก็จะไม่ล่ามาเป็นอาหาร ที่เขา ชอบมากก็เป็นพวกปลา ที่พอหาได้ในลำห้วยเหนือหรือใต้นํ้าตกลงไป
    ชาวบ้านที่นี่ เป็นคนใจดี อารมณ์แจ่มใส และใจบุญ เวลาไป บิณฑบาต เขาก็พากันใส่ทั้งข้าวทั้งกับ พอได้ขบฉัน อาตมาและหลวงพ่อ ปักกลดห่างหมู่บ้านประมาณสัก ๑ กิโลเมตร ตอนเย็นๆ หรือตอนบ่าย เขาจะมาขอฟังธรรมด้วย แล้วก็ไม่รบกวนอะไร อย่างการขอเลขเบอร์ หวังรํ่ารวยนั้นไม่มี เพราะหมู่บ้านเขาอยู่ไกลเกินกว่าจะเดินไปซื้อหา ที่อำเภอ
    การอยู่ไกลความเจริญนั้นก็ดีไปอย่างหนึ่ง ไม่มีเครื่องยั่วยวนให้ใจ ฟุ้งซ่าน เกิดกิเลสตัณหาเท่าใดนัก รู้สึกว่าเขาอยู่กันด้วยความพอดี แม้ ไม่มีใครมาสั่งสอนเรื่องธรรม เขาก็มีธรรมอยู่ตามธรรมชาติของเขาเอง เรียกว่าธรรมก็คือธรรมชาติ หรือธรรมชาติก็คือธรรม ถึงจะมีการผิดศีล บ้าง เช่น การฆ่าสัตว์ก็เป็นไปเพื่อความมีชีวิตรอด ไม่ได้ถือเป็นอาชีพ
    จิตใจของคนที่อยู่กับธรรมชาติแห่งนี้ จึงอยู่ในความสงบสุข และ พึ่งตนเองได้ เสื้อผ้าก็ทอใช้เอง ปลูกฝ้ายเอง ปลูกต้นครามไว้ย้อมผ้า เอง สิ่งที่เขาจะต้องซื้อก็คือเกลือ
    ชาวบ้านเขาเล่าให้ฟังว่า ในป่าแถบนี้มีสัตว์ป่าชุกชุมมาก เสือก็ มีมากเช่นกัน แต่ไม่เคยเข้ามารบกวนในหมู่บ้าน เนื่องจากมีสัตว์ที่เป็น อาหารของเสืออยู่ทั่วไป เข้าป่าไปหาฟืนเก็บหน่อไม้ เห็นกันก็ไม่ทำอะไร เขาบอกว่าเสือที่จะทำอันตรายคน ก็ได้แก่เสือที่ถูกเขายิงบาดเจ็บ หรือ ที่เรียกว่าเสือลำบาก กับเสือแก่วิ่งไล่จับสัตว์ไม่ไหว ก็มักมาคอยดักกินคน แต่ที่นี่ไม่เคยมีใครไปยิงเสือให้ลำบาก แม้แต่เสือแก่ นอนอยู่เฉยๆ ก็ มีกระต่ายวิ่งมาเข้าปากเอง เพราะมันชุมมาก ชาวบ้านเขาเล่าอย่าง ติดตลก
    หลวงพ่อกับชาวบ้านแถวนั้น คุ้นเคยกันดี เพราะท่านเคยธุดงค์มา ถึงหลายครั้ง บางคนก็ปฏิบัติธรรมสมาธิ ตามที่หลวงพ่อเคยสอนไว้
    การแสดงธรรมของหลวงพ่อ ไม่ได้ทำอย่างมีพิธีการอะไร มัก สนทนากันแบบกันเอง เช่น คุยกันเรื่องศีล ท่านก็จะอธิบายว่าศีลมีอะไร บ้าง ทำไมจึงต้องละเว้น หรือให้ถือศีล ๕ เป็นประจำ
    กลางคืนมีโยมมานั่งปฏิบัติธรรมด้วยหลายคน เท่ากับมาอยู่เป็น เพื่อนดูแลอุปัฏฐากเรื่องนํ้าเรื่องไฟ เวลานอนเขาจะอยู่ห่างจากกลด พูดกันค่อยๆ ไม่ได้ยิน พวกเขาช่างกินง่ายอยู่ง่ายจริงๆ เพราะอยู่กับ ดินกินกับทรายมาเสียจนชิน จะเป็นเพิงหน้าถํ้า โคนต้นไม้
    เขาก็หลับได้ ไม่ต้องระแวงหวาดกลัวอะไร แต่ไฟนั้นขาดไม่ได้ จะเป็นหน้าร้อนหน้า หนาว เข้านอนแล้ว ต้องสุมไฟ เพราะไฟทำให้สัตว์รู้ ไม่เข้ามาใกล้
    จากบ้านบึง ๑๔ ก็ลงเขาขึ้นดอย ไปออกทางบ้านนาสวน มุ่ง เข้าสู่จังหวัดเลย ที่เลยนี้จะเรียกว่าเป็นเมืองภูเขาก็ได้ มองไปรอบๆ ทางไหน จะเห็นเขาน้อยใหญ่เรียงกันเป็นพืดไป แม้ตัวจังหวัดเลยเอง ก็ตั้งอยู่บนหลังเขา เรื่องหนาวไม่ต้องพูดถึง บางปีต้องขุดรูกันอยู่ หรือ เข้าไปนอนหมกอยู่กับกองฟาง แม้แต่ต้นกล้วยก็มีนํ้าในกาบกล้วยแข็งตัว ทำให้เป็นสีดำเหมือนถูกไฟไหม้ ก็เป็นเหตุให้ต้นกล้วยตาย
    อาตมาและหลวงพ่อไม่ได้เข้าไปในเมือง ถือธุดงค์ไปตามป่าแถว ภูกระดึง และวังสะพุง มีถํ้าให้อาศัยหาความอบอุ่น แต่ตอนเช้ามืด จะรู้สึกหนาวเหน็บสะท้านไปทั้งตัว ก็ต้องเริ่มออกบิณฑบาต แต่เดิน ไปสักพักหนึ่ง ก็ค่อยยังชั่วแล้ว กลับมีเหงื่อซึมเสียอีก
    ทำให้ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนให้เดินบิณฑบาต เดิน จงกรม เดินธุดงค์ เป็นการรักษาสุขภาพร่างกายเอาไว้ได้ ไม่เมื่อยขบ ไม่หนาว หรือทนหนาวได้
    พระพุทธเจ้านั้น ท่านสมเป็นพระบรมศาสดา เป็นครูของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย ท่านสอนให้รู้ละเอียดรอบคอบไปหมด เดินบิณฑบาต มีประโยชน์อย่างไร จะต้องเดินอย่างไร จึงจะเป็นการสำรวม การเดิน สำรวมต้องมีสติ เอาจิตจับอยู่ที่ลมเข้าออก ไม่มีอะไรก็ภาวนาคาถา บทใดบทหนึ่งไป เช่น พุทโธ
    เวลาเข้าไปรับบาตร ก็ให้มองลงในบาตร เพื่อไม่ให้ตามันสอดส่าย ไปดูคอเสื้อสีกาเข้า เดี๋ยวมันจะปรุงแต่งไปกันใหญ่
    การคิดปรุงแต่งมันเกิดขึ้นได้ทุกขณะจิต ถ้าตาไปเห็นรูป หูได้ยิน เสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส แม้ไม่ได้สัมผัส จิตมันก็ปรุงแต่งจากสัญญา ขึ้นมาได้ เมื่อสัมผัสแล้วทำอย่างไร ท่านก็ให้พิจารณาถึงสิ่งตรงกันข้าม เสีย เห็นสวยก็ให้คิดถึงความสวยให้ถึงที่สุดว่า สวยแล้วมันจะกลาย เป็นไม่สวยได้ หรือพอแก่หนังเหี่ยวมันจะสวยไหม พอเวลาตาย ผิวมัน จะบวมฉุแตกปริ เน่าเฟอะ ส่งกลิ่นเหม็น มันจะสวยไหม ท่านบอกไว้ ทุกทาง แม้กระนั้นเจ้าความอยากในกามคุณ มันก็ยังเล็ดลอดออกไปได้ ท่านก็สอนให้มีสติ คอยระวังรักษาจิต คอยรู้เท่าทันอารมณ์กิเลส
    ชาวบ้านชาวโลก มีความอยากมากมาย เพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้เกิดความอยาก ให้เกิดการปรุงแต่ง ก็ต้องหัดให้รู้จักระวังรักษาจิต คอยรู้เท่าทันความอยากเสียบ้าง ไม่ใช่อยากแล้ว ก็ไม่รู้จักยับยั้ง ปล่อย ตามใจความอยากเรื่อยไป เพราะความอยากบางอย่าง เราทำให้สมอยาก ไม่ได้ ยังไม่ถึงเวลาจะอยาก เมื่อไม่สมอยาก ก็เศร้าโศกเสียใจ เสียดาย อาลัยหา ซึ่งทำให้เกิดทุกข์แก่ตนเอง
    วัตถุทั้งหลาย เช่น ของใช้ ถ้าเรามีอยู่พอใช้ได้ ก็ใช้ไปก่อน ขืนไป อยากเข้าอีก แสวงหามาอีก มันก็ไม่พอดี เกินความจำเป็นไป
    พระพุทธเจ้าละเอียดยิ่งกว่าพ่อแม่ของเราเสียอีก จะตอบแทน คุณท่านได้อย่างไร เพราะท่านไม่ต้องการให้เราตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น ท่านมีพระประสงค์จะให้สาวกหรือชาวโลกปฏิบัติเพื่อตัวเอง ทำเพื่อ ตัวเอง ทรงตรัสว่า "อัตตาหิ อัตตะโน นาโถ" ซึ่งแปลว่า "ตนเป็นที่พึ่ง ของตน"
    คำสอนของพระองค์ แม้จะประเสริฐยอดเยี่ยมอย่างไร ถ้าไม่ปฏิบัติ ด้วยตนเองแล้ว ก็ยากที่จะพ้นทุกข์ได้ ถึงเราจะประกอบงานอาชีพ อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ทำด้วยตนเอง อาศัยจมูกคนอื่นหายใจ คอยให้ เขาทำให้ ก็จะไม่เกิดผลแก่ตน และคงจะไม่มีใครมาทำแทนเราได้
    ธรรมปฏิบัติที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้ เราต้องรู้ด้วยตนเอง เห็นด้วยตน เอง จึงจะเกิดปัญญารู้แจ้งถึงทางพ้นทุกข์นั้น การตอบแทนคุณท่าน ก็คือปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ด้วยการปฏิบัติเพื่อตนเอง จะไป หวังพึ่งพระเจ้าองค์ไหน ไม่ได้ทั้งสิ้น
    คำสอนของพระองค์เป็นสัจธรรม ไม่มีธรรมหมวดใด ที่จะทรง กล่าวอย่างเหลวไหล พิสูจน์ไม่ได้ เว้นแต่เราจะไม่รู้จริง หรือไม่ยอมพิสูจน์ เท่านั้น สิ่งที่เราจะเห็นง่ายๆ ด้วยการพิจารณาจากชีวิตประจำวัน ของเราเอง ก็คือ อริยสัจ แต่เราก็ไม่ค่อยสนใจกันว่า อริยสัจ ๔ คืออะไร
    เมื่อเรามีทุกข์ บางทีเราก็ไม่สนใจว่ามันเป็นทุกข์ เราพากันเรียก ทุกข์ว่า "ปัญหา" ปัญหาในการงาน ปัญหาในชีวิต
    แต่ที่จริงตามความหมายในพุทธศาสนา ก็คือทุกข์นั่นเอง เมื่อ ปัญหาหรือทุกข์เกิดขึ้น ก็เป็นสิ่งที่เราทนนิ่งดูดายไม่ได้ บางปัญหา ถ้าเราไม่หาทางแก้ไข อาจเดือดร้อนมากมาย อาจทำให้บ้านแตกสาแหรก ขาดก็มี ทำให้ล่มจมก็มี ทำให้ติดคุกติดตะรางก็มี ทำให้สุญเสียทรัพย์ สมบัติก็มี ทำให้ถึงตายก็มี
    เรารู้สึกวิตกกังวลหรือไม่ ถ้าเรารู้สึกวิตกกังวลทนนิ่งอยู่ไม่ได้ นี่แหละเป็นตัวทุกข์แล้ว
    ชาวโลกทั่วไป เมื่อเกิดทุกข์ขึ้นเช่นนี้ ก็จะต้องหาทางแก้ไข เราจะ แก้ไขได้อย่างไร ก็ต้องค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ให้ได้เสียก่อน หรือ จะเรียกว่า ให้รู้ตัวปัญหาว่าทุกข์มันเกิดขึ้นจากอะไร ถ้ารู้ตัวปัญหาแล้ว เราก็จะมีทางแก้ได้หลายอย่างตามความเหมาะสม เรียกว่ารู้ทางดับทุกข์ เมื่อรู้ทางดับทุกข์ และดับมันเสีย ทุกข์ก็ย่อมจะหมดไป สัจธรรมของ พระองค์เป็นอย่างนี้ เราท่านจะปฏิเสธได้หรือว่า ไม่เป็นความจริง
    เมื่อรู้ว่ามีทุกข์ ท่านให้หาเหตุว่า ทุกข์เกิดจากอะไร เมื่อรู้เหตุแล้ว ก็หาทางแก้ เมื่อแก้ได้ก็สิ้นทุกข์ แต่การที่เราจะรู้เหตุแห่งทุกข์ รู้วิธีแก้ทุกข์นั้น ก็จะต้องมีสติ การที่จะมีสติระลึกรู้ได้ ก็ต้องมีความสงบ
    คนที่จิตใจคิดฟุ้งซ่าน กลัดกลุ้มไปร้อยพันเรื่อง ไม่มีทางจะแก้ได้ ถึงแก้ได้ก็ด้วยการตัดสินใจอย่างง่ายๆ บางคนคิดฆ่าตัวตายไปให้สิ้นเรื่อง บางคนเป็นหนี้ ดันไปคิดฆ่าเจ้าหนี้ เพราะเมื่อเจ้าหนี้ตายเสียแล้ว ตน จะได้พ้นจากการเป็นหนี้ แต่ไม่คิดว่า ไปฆ่าเขาตาย เขาจับได้จะเป็น อย่างไร เรียกว่าคิดสั้นๆ อย่างคนโง่เขลาเบาปัญญา ฉะนั้นจึงต้องมี ความสงบ มีสติไตร่ตรองให้รอบคอบ ให้มองเห็นเหตุ จึงเห็นทางแก้
    ท่านจึงสอนว่า ให้หมั่นทำใจให้สงบ ให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิกันเอาไว้ บ้าง เมื่อมีสมาธิ ความเยือกเย็นสุขุม ก็จะเกิดขึ้นมา พิจารณาถึงทาง แก้ไข เรื่องของชาวโลกเรา มันก็มีอยู่ง่ายๆ แค่นี้ แต่เราไม่คิดทำกัน เมื่อเกิดปัญหาหรือทุกข์เล็กน้อย ก็กลายเป็นปัญหาหรือทุกข์ใหญ่ แก้ ปัญหาด้วยตนเองไม่ได้ ต้องวิ่งให้คนอื่นเขาช่วยแก้ ปัญหาของหนุ่มสาว รักๆ ใคร่ๆ ก็แก้ไม่ได้ เห็นให้ทางหนังสือพิมพ์ช่วยตอบให้มากมาย แทนที่จะเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐกับเขาได้ ก็กลายเป็นมนุษย์โง่ๆ ที่ไป ประกาศความโง่ของตนเอง ให้โลกเขารู้ ให้เขาเอาคำถามไปประจาน ในหน้าหนังสือพิมพ์
    นี่เป็นอริยสัจ ๔ ของชาวโลก ที่มีอยู่เป็นอยู่ในชีวิตคนเรา เป็น ประจำวันทีเดียว แต่ยังมีอีกขั้นหนึ่งในทางธรรม ลึกซึ้งขึ้นไปอีก มันเป็น อริยสัจของชีวิต ที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ชีวิตทั้งหลาย ต่างก็ต้อง เวียนเกิด เวียนแก่ เวียนเจ็บ เวียนตายอยู่เช่นนี้ หลายร้อยภพหลาย ร้อยชาติ ด้วยกรรมต่างๆกัน เป็นที่น่าเบื่อหน่ายนัก การเกิดมาก็ต้อง เผชิญกับทุกขเวทนา ไม่มีวันสิ้นสุด ทั้งที่แท้จริง ชีวิตไม่ว่าคนหรือสัตว์ ก็เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตนของเราหรือของใครทั้งสิ้น จะยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นของเราก็ไม่ใช่ ทรงเห็นอย่างนี้แล้ว ก็ทรงเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ไม่ประสงค์ที่จะเวียนเกิดเวียนตายต่อไปอีก จึงทรงออกบวช เพื่อแสวงหา ความไม่เกิดไม่ตาย อันจะเป็นทางพ้นทุกข์
    การออกบวช เพื่อแสวงหาการไม่เกิดไม่ตาย อันเป็นทางพ้นทุกข์ นั้น เพียงหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เราท่านที่ไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้ ก็คง จะมึนงงแทบไม่รู้เรื่องเอาทีเดียว มันสลับซับซ้อนเกี่ยวพันกัน เป็น รายละเอียดมากมาย จะทำให้รู้แจ้งแทงตลอดได้ ก็ด้วย
    การทำจิตพิจารณา ให้เห็นด้วยปัญญาของตนเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงลำบากยากเข็ญมาแล้ว กว่าจะค้นหาเหตุอันนี้พบ
    แต่เมื่อพบแล้ว ก็ยากที่จะอธิบายให้ชาวโลกเข้าใจได้ถึงความเป็น จริง เพราะระดับจิตใจระหว่างผู้พบความจริงด้วยจิต ที่เกิดปัญญาขึ้นเอง กับปัญญาอย่างโลกๆ นั้นแตกต่างกัน ยากที่จะเข้าถึงกันได้
    ถ้าจะนำมากล่าวกันย่อๆ ประการแรก ท่านก็บอกว่า วิญญาณ มีขึ้น เพราะนามรูปเป็นปัจจัย และนามรูปมีขึ้น เพราะวิญญาณเป็น ปัจจัย ถ้าไม่มีสองสิ่งนี้ ก็ไม่มีวิญญาณและนามรูป ไม่มีมนุษย์สัตว์ เกิดขึ้น
    แต่มันไม่ใช่อย่างนั้นเท่านั้น ยังมีสิ่งอื่นประกอบด้วย เช่น ท่านว่า อายตนะ ๖ ประการมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย และอายตนะ ๖ ประการ เป็นปัจจัยของผัสสะ ผัสสะเป็นปัจจัยแห่งเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยแห่ง ตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยแห่งภพ เครื่องเกิดภพเป็นปัจจัยแห่งชาติ ชรา มรณะอันเป็นนิตยทุกข์ ความ โศกรํ่าไรทุกข์โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย ทำให้ทุกข์เกิดขึ้น เพราะชาติ ความเกิดเป็นปัจจัย กองทุกข์ทั้งสิ้นจึงมาเกิดขึ้น ทรงมีพระปรีชารู้แจ้งว่า มันเกิดขึ้นพร้อมกัน
    เมื่อรู้เหตุแห่งทุกข์แล้ว ก็ทรงแสวงหาทางดับทุกข์ให้สนิทลง ทรง ตั้งปัญหาถามพระองค์เองว่า เมื่ออะไรไม่มีเล่าหนอ ชรา มรณะจึง จะไม่มี เพราะความดับไม่เหลือแห่งอะไร ชรา มรณะ จึงจะดับไปโดย ไม่เหลือ จึงเกิดความรู้ด้วยปัญญาว่า เมื่อชาติความเกิดไม่มี ชรา มรณะ ก็ไม่มี อาศัยชาติดับสนิท ชรา มรณะ ก็จะดับไปโดยไม่เหลือ อาศัยชาติ ดับสนิท ชรา มรณะ จึงจะดับสนิทได้ เพราะภพดับสนิท ชาติจึงจะ ดับสนิทได้ เพราะอุปาทานดับสนิท ภพจึงจะดับสนิท เพราะตัณหาดับ สนิทลง อุปาทานจึงจะดับสนิทไป เพราะเวทนาดับสนิท ตัณหาจึงจะ ดับสนิทได้ เพราะผัสสะดับสนิท เวทนาจึงจะดับสนิทได้ เพราะอายตนะ ๖ ประการดับสนิทลง ผัสสะจึงจะดับสนิท เพราะนามรูปดับสนิทลง อายตนะ ๖ ประการ จึงจะดับสนิทได้ เพราะวิญญาณดับสนิท นามรูป จึงดับสนิท
    อันนี้ เป็นการรู้ทางที่จะดับทุกข์ ซึ่งพระองค์ได้ทรงทบทวน เป็น อนุโลมปฏิโลม จนเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้นในพระทัย ไม่มีข้อสงสัย พระองค์ ทรงตรัสรู้แล้ว และการตรัสรู้นี้ก็เพราะพระองค์ได้ทรงดำเนินตามมรรค ๘ เป็นลำดับไป ด้วยทรงมีความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ ซึ่งล้วนแต่ดำเนินไป ตามกุศลธรรมทั้งสิ้น
    มนุษย์เราก็เช่นกัน เมื่อประพฤติปฏิบัติตน อยู่ในมรรค ๘ นี้แล้ว ก็ย่อมจะนำตนให้พ้นทุกข์อย่างโลกๆได้ ไม่มีเวรภัยต่อผู้ใด ที่เป็น พระสงฆ์สาวก ถ้าปฏิบัติตามที่พระองค์สอน ไม่ว่าจะเป็นสมัยพุทธกาล ที่ยังทรงมีพระชนม์อยู่ หรือแม้ปรินิพพานไปแล้ว นานกว่า ๒,๕๐๐ ปีเศษ ก็จะได้บรรลุมรรคผลเช่นเดียวกับพระองค์ เช่นเดียวกับที่พระ องค์ยังทรงพระชนม์ เพราะธรรมะของพระองค์คือตัวแทนของพระตถาคต
    ยังมีอีก ที่เราชาวพุทธควรจะตริตรอง พิจารณาธรรมที่พระองค์ ตรัสไว้ดีแล้ว งามแล้ว ชอบแล้ว เพื่อตนเองจะได้มีปัญญารู้แจ้งแทงตลอด ด้วยตนเอง ไม่มีสิ่งใดที่ทรงปิดบังไว้ ทรงสั่งสอนให้เป็นที่แจ่มแจ้ง และ หลากหลายด้วยอุบายวิธี ที่จะนำมาปฏิบัติให้ถึงสัจธรรมและความ หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เพียงแต่เราท่าน ยังมัวเมาตกอยู่ในอำนาจ ของ โลภ โกรธ หลง กิเลส ตัณหา อุปาทาน ขันธ์ ๕ ก็ค่อยๆ พิจารณา ความเป็นมาแห่งชีวิตของตน เราเกิดมาได้ทำดีทำชั่ว หรือสร้างกรรมดี กรรมชั่วอะไรมาบ้าง สิ่งใดที่ควรทำให้มากขึ้น ก็ทำต่อไป สิ่งใดที่ไม่ดี ควรทำให้น้อยลง หรือไม่ทำต่อไปอีก ก็คงจะทำให้ชีวิตนี้ราบรื่น ปลอด โปร่ง สบายขึ้น
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า ทำไมท่านจึง ตรัสอย่างนั้น ก็เพราะทรงเห็นด้วยญาณอันบริสุทธิ์ว่า กรรมนั้น ไม่ว่า จะดีหรือชั่ว ย่อมมีผลสนองตอบ
    เสมอ การทำกรรมดีนั้น ไม่จำเป็น ต้องพูดถึง แต่กรรมชั่วนั้นซิ มีผลอันน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก
    เพียงละเมิดศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลประจำชีวิตของมนุษย์ทุกคน เป็น เครื่องแสดงถึงความประเสริฐ ของความเป็นมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ผู้ใด ละเมิดซึ่งศีล ๕ ก็แสดงว่า ยังเป็นมนุษย์ไม่สมบูรณ์ตามความหมาย นี่เป็นสิ่งที่เราพอมองเห็นกันได้
    อย่าพูดถึงนรกเลย อาตมาไปเห็นมาแล้ว ถึงไม่ต้องไปก็มีดวงตา เห็นได้ ว่าในแผ่นดินนรกนั้น เป็นแผ่นดินไฟ มีแต่ไฟลุกอยู่อย่างร้อนแรง พร้อมที่จะเผาผลาญความชั่วร้าย ให้พินาศเป็นจุณไป ผู้ละเมิดศีล ๕ มักต้องไปให้ไฟนรกเผาไหม้ทรมาน ไม่มีวันได้หยุดพักหายใจ ถ้าจะ บรรยายให้ละเอียด ก็คงจะยืดยาว จงคิดพิจารณาเอาเองเถิด
    พูดอย่างที่เราท่านพอมองเห็นได้ โลกนี้ก็มีนรกสวรรค์ คือ ความดี ความชั่ว ให้มองเห็นได้ คนที่ทำความดี ให้ทาน รักษาศีล ทำสมาธิให้ใจ ตั้งมั่นสงบ เมื่อนึกถึงความดีที่ตนได้กระทำ ก็ย่อมจะรู้สึกอิ่มเอิบเป็นสุข ผู้ที่รู้สึกอิ่มเอิบเป็นสุข ก็จะมองเห็นทุกสิ่งดีงามไปหมด มักมองโลกใน แง่ที่ดี และเห็นคนอื่นดีเหมือนตน ย่อมดำรงตนอยู่ได้ด้วยความเป็นผู้ มีมิตรที่ดี ครอบครัวก็สงบราบรื่น มีกำลังใจที่จะทำการงาน เพื่อความ สุขของครอบครัว ทำให้มีฐานะดีขึ้น
    ส่วนผู้ที่ทำแต่กรรมชั่ว เมื่อคิดถึงกรรมที่ตนกระทำมา เช่น ไปฆ่า เขา ใจก็ไม่อิ่มเอิบเป็นสุข คอยหวาดระแวงว่า พี่น้องมิตรสหายของเขาจะ มาแก้แค้น ทำกับตนบ้าง เมื่อมีความหวาดระแวง ก็จะเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ไปหมด คนนั้นก็ไว้ใจไม่ได้ คนนี้ก็ไว้ใจไม่ได้ กลายเป็นคนมองโลกใน ด้านร้าย เป็นคนมีอารมณ์หงุดหงิด ในครอบครัวก็คอยแต่จะมีปากเสียง ทะเลาะวิวาททำร้ายกัน คนที่มีจิตใจอย่างนี้ ก็เหมือนตกอยู่ในนรก ให้ ร้อนรุ่มกระวนกระวายอยู่เป็นนิตย์ เอาเพียงเท่านี้ ก็คงเห็นนรกสวรรค์ใน มนุษย์โลกได้แล้ว ว่าแตกต่างกันอย่างไร
    ผู้ที่คิดว่า ตนเป็นคนมีปัญญาความคิด มักพูดกันถึงความยุติธรรม เขาต้องการความยุติธรรม เรียกร้องหาความยุติธรรม แต่ตามที่เป็นจริง แล้ว เขาต้องการความยุติธรรมเพื่อตนเอง มากกว่าที่จะหยิบยื่นความ ยุติธรรมให้แก่ผู้อื่น สิ่งใดที่เขาไม่ได้ประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ให้แก่ผู้ อื่น เขาจะบอกว่าไม่ยุติธรรม แต่ถ้าเขาได้ประโยชน์ โดยทำให้ผู้อื่น เสียประโยชน์ หรือเขาได้ประโยชน์บนความเดือดร้อนทุกข์ยากของผู้อื่น เขาจะบอกว่ามันยุติธรรมดีแล้ว เพราะเขาฉลาดกว่า และมีอำนาจมาก กว่า สิ่งเหล่านี้เป็นปกติวิสัยของมนุษย์ ที่มัวเมาอยู่ใน ความโลภ ความโกรธ ความหลง มัวเมาอยู่ใน กิเลส ตัณหา อุปาทาน ซึ่งก็ช่างเถอะ เพราะ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
    แต่เมื่อคิดพิจารณาให้ลึกเข้าไปอีก ในระหว่างรูปธรรมกับนามธรรม หรือกายกับจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นคนละส่วน แต่อยู่ด้วยกัน เราก็ไม่มี ความยุติธรรมจะให้ ทั้งที่รู้ว่ากายยาววาหนาคืบนี้ มีธรรมชาติเกิดขึ้นแล้ว ดับไป ในที่สุดก็เป็นอนัตตาไม่มีตัวตน ยึดถือเป็นเราของเราไม่ได้ แต่เราก็ ยังงมงายทนุถนอมบำรุงบำเรอกายสารพัด
    แม้แต่อาหารก็ต้องให้กินดีๆ มีโภชนาการ อาหารที่บ้านไม่อร่อย ต้องออกไปกินตามเหลาตามภัตตาคาร ซึ่งมีอาหารเลิศรสราคาแพง สั่ง เข้ามาเต็มโต๊ะ จนกินไม่เข้า เพราะแท้ที่จริงจะดีหรือเลว ก็กินได้เพียง อิ่มเดียวเท่านั้น
    ร่างกายตอนไหนสัดส่วนไม่ดี ก็พากันไปเพิ่มเติมเสริมแต่ง หน้าตา ผิวพรรณโดยธรรมชาติก็งามดีอยู่แล้ว ยังไม่พอใจ ต้องไปเสริมสวย ต้อง หาอะไรมาพอกมาเขียน ให้มันดีขึ้นอีก จนดูเป็นงิ้วหรือตัวตลก ทั้งๆที่ รู้ว่าพอถึงยามแก่เฒ่า หน้าตาผิวพรรณมันต้องเหี่ยวย่นเหนียงยานจนได้ ท่วงท่าเชิดหน้ายังกับนางพญาหงส์ มันจะต้องงองุ้มคุ้มลง ต้องถือ ไม้เท้ายักแย่ยักยัน เราก็ไม่ยอม ขอให้สวยไว้ก่อน
    การพักผ่อน แม้การงานไม่หนัก ก็ต้องพักผ่อนให้มาก พามันไป เที่ยวตากอากาศ บางทีก็ไปถึงต่างประเทศ ให้กินอาหารดีๆ แล้วนอน มากๆ เป็นอะไรนิดหน่อยก็ต้องรีบวิ่งไปหาหมอ รวมความว่าเราเอาใจ ทนุถนอมร่างกายนี้ อย่างเต็มกำลังความสามารถ
    แต่จิตวิญญาณของเราล่ะ เราให้อะไรกับจิตวิญญาณของเราบ้าง จิตวิญญาณไม่ต้องการกินดีอยู่ดีอะไรเลย ขอเพียงให้ได้พักผ่อนบ้างเท่า นั้น ก็ยังไม่มีโอกาสได้พัก กายกินแล้วหลับสบาย แต่จิตวิญญาณกลับ ถูกใช้ให้คิด ให้ทำงานไม่ได้ว่างเว้น กระทั่งนอน ก็ยังต้องครุ่นคิดอยู่ทั้ง คืน คิดโครงการ วางนโยบาย คิดถึงความเสียหาย คิดถึงผลประโยชน์ ไม่มีท่าจะให้คิดอะไร ก็ให้นอนฝัน เพื่อเอาความฝันมาตีเป็นตัวเลข แทง หวย เราท่านให้ความยุติธรรมแก่จิตวิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในตนดีแล้วหรือ จะไปคิดถึงสังคม สิ่งภายนอก เรื่องความยุติธรรมได้อย่างไร ในเมื่อกาย กับจิตของตนเอง เราก็ยังลำเอียง ให้ความยุติธรรมไม่เท่ากัน ไม่รู้ว่า เราบ้าหรือดี ฉลาดหรือโง่กันแน่
    เราท่านทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงตระหนักดีว่า นามรูปไม่มี จิต วิญญาณก็ไม่มี โดยตรงกันข้าม ถ้าจิตวิญญาณไม่มี นามรูปก็มีไม่ได้ เช่นกัน นามรูปนี้เกิดจากจิตวิญญาณเป็นผู้ให้ปฏิสนธิ ไม่มีจิต ก็ไม่มี กาย ไม่มีจิต กายถึงมีก็เป็นดุจท่อนไม้ จิตเป็นผู้บันดาลให้กายเป็น ผู้กระทำกรรมทั้งหลาย จะดีก็ตาม จะชั่วก็ตาม ล้วนเป็นไปได้ด้วยจิต
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ทุกสิ่งสำเร็จได้ด้วยจิต เมื่อกายถึงกาลแตก ดับไปแล้ว จิตจะยังคงดำรงอยู่ เพื่อไปรับผลที่ตนเป็นผู้บงการ ให้กาย กระทำ จิตคือตัวเวียนว่ายตายเกิด สร้างภพ สร้างชาติ ละจากกายนี้ แล้ว ย่อมไปเกิดขึ้นในกายอื่น ไปเกิดในนรกสวรรค์ ไปปรากฏขึ้นทันที เป็นกายทิพย์ ถอดจากกายเนื้อไป กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เริ่มต้นในท้อง มารดา คลอดออกค่อยๆ เจริญวัยเป็นรูปกายขึ้นมาเป็นเวลาช้านาน น่า เบื่อระอายิ่งนัก
    ธรรมชาติของจิตที่มาเกิดกับกายเนื้อนี้ มีความหมายอยู่ ๒ ประการ คือ เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม ที่ตนได้กระทำไม่ดีต่อผู้อื่นในอดีตชาติ ไม่ว่า กรรมใหญ่กรรมเล็ก ก็ต้องใช้ไปให้หมด บางทีก็เผลอไผลไปสร้างกรรม ไม่ดีขึ้นมาอีก เพราะถูกกิเลส ตัณหา อุปาทานมารตัวร้ายเข้าครอบงำ
    หากทุกคนเกิดมาเพื่อสร้างสมความดี มีทาน ศีล ภาวนา เพื่อให้ เกิดปัญญารู้แจ้งหลุดพ้น ถ้าไม่มีมารร้ายมาขัดขวาง ก็จะเดินทางสู่นิพพาน ได้ทุกคน แต่ก็มักขัดขวางเสียเป็นช่วงเป็นตอน ต้องทำดีบ้าง ชั่วบ้าง เพราะกรรมเก่ามันยังไม่หมด
    ด้วยเหตุนี้ จึงพากันเวียนว่ายตายเกิด อยู่ในวัฏสงสารช้านาน เป็น เวลาพันภพแสนชาติ กว่าจะหลุดพ้นบ่วงมารไปได้
    ดังได้กล่าวแล้วว่าทุกสิ่งสำเร็จด้วยจิต ถ้าตั้งใจที่จะทำความดี เอา ชนะมารร้ายให้ได้ ด้วยการบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ระวังตัว ให้อยู่ในมรรค ๘ สมํ่าเสมอ ทางเดินในวัฏฏะมันก็จะแคบเข้า และสั้นเข้า เพราะการเกิดเป็นมนุษย์นี้ นับว่ามีโชคดีอยู่อย่างหนึ่ง คือมีสิทธิ์ที่จะ เลือกทำดีทำชั่วได้อย่างสมบูรณ์ มันอยู่ที่ตัวเราเองจะเลือกเอาอย่างไหน ถ้าใจอ่อนตามใจ เจ้ามารร้ายมันก็จะบงการให้เราทำแต่ความชั่ว ถ้าใจ แข็งเอาชนะมันให้ได้ เราก็จะทำกรรมดีได้สำเร็จ ความสำเร็จมันอยู่ที่ จิตใจของเราเอง ว่าจะทำตามความหมายเดิม ที่เกิดมาเป็นมนุษย์หรือไม่
    การบำรุงบำเรอให้อาหารแก่จิต ก็ไม่สิ้นเปลืองอะไรนัก ให้จิตได้ ทำบุญทำทานบ้างตามสมควร เช่น ใส่บาตรบ้าง เอื้อเฟื้อคนยากจนบ้าง สงเคราะห์เด็กอนาถาบ้าง ก็จะทำให้จิตมีความสุขอิ่มเอิบ อย่าไปทำ เสียจนหน้างอกออกมารับสายสะพายเครื่องราชก็แล้วกัน ทำด้วยศรัทธา เชื่อมั่นในความดีก็ใช้ได้แล้ว ยิ่งให้จิตได้รักษาศีล ฟังธรรม เจริญภาวนา ยิ่งไม่เปลืองอะไร นอกจากเวลา แต่ผลนั้นเกินคาด เจริญภาวนาไป เรื่อยๆ จนจิตตั้งขึ้นอยู่เหนือมารร้าย ก็จะใกล้นิพพานเข้าไป
    อาตมากับหลวงพ่ออาจารย์ แสวงวิเวกอยู่ตามป่าเขาเขตจังหวัด เลย ล่วงเข้าเขตเพชรบูรณ์ การเดินก็เดินด้วยกรรมฐาน ภาวนาพุทโธไป การนั่งก็นั่งอยู่กับพุทโธ การคิดพิจารณา ก็อยู่ในขอบเขตของมรรค ๘ จึงจัดเป็นกรรมฐาน เพื่อปัญญารู้แจ้ง ไม่มีเหตุการณ์ใดๆ มาทำลาย ความวิเวก ที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติได้
    จิตที่ปฏิบัติธรรมสมาธิ เมื่อปฏิบัติต่อเนื่องกันไป ก็เป็นดังสายนํ้าไหล อารมณ์แนบเนื่องอยู่กับเอกัคตา จิตใจไม่คลอนแคลน เราจะรู้แจ้งเห็น จริงตามธรรมชาติ อันเป็นสัจธรรมได้ก็ในตอนนี้แหละ ธรรมใดที่ไม่เคย รู้ก็จะรู้ขึ้นมาเอง ส่วนจะรู้มากรู้น้อย ก็แล้วแต่บุญวาสนาบารมียังมีน้อยอยู่ หรือเต็มเปี่ยมแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือความเพียร เราเพียรกระทำต่อ เนื่องกันไป ก็ย่อมจะเกิดธาตุรู้ขึ้นจนได้ มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ยิ่งก็คือธาตุรู้ เมื่อรู้ขึ้นมาเองได้ วิทยาการทั้งหลายก็จะกว้างขวางออกไปเอง
     
  12. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่12 เจอกายทิพย์

    เมื่ออาตมายังเด็ก ก็มีตาเห็น หูได้ยิน เป็นปกติ คือเวลาเห็นก็ เห็นทั่วไปหมด แม้แต่จิตวิญญาณก็เห็นเราเดินไปมาขวักไขว่ เช่น มนุษย์ เรานี้ หูนั้นใครพูดคุยก็ได้ยินไปหมด จนบางครั้งก็ราคาญว่า คนเรานี่ มันช่างพูดกันไม่รู้จักจบสิ้น จนชินไปเอง ครั้นออกธุดงค์คราวนี้ ก็สามารถ กาหนดได้ คือไม่ต้องการให้เห็นก็ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ถ้าต้องการจึงจะ เห็น จึงจะได้ยินได้ จึงเป็นการตัดราคาญไปได้อย่างหนึ่ง คือไม่ต้องเห็น ต้องได้ยินตามบารมีเก่า ที่ติดมาแต่อดีตชาติอย่างพร่าเพรื่อ
    บางครั้งเมื่อจิตเป็นพุทโธ มีพุทโธอยู่ในจิต ถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีอารมณ์สนุกอยากจะเห็นสภาพป่า ที่ไกลจากบริเวณที่นั่งอยู่ มันก็เห็นทะลุปรุโปร่งออกไปอย่างกว้างไกล ไม่มีขอบเขต ได้เห็นเสือ เห็นหมี บ้างเดิน บ้างนั่ง บ้างนอน อยู่กับความสงบเงียบ เห็นฝูงกวาง พากันเลาะเล็มยอดไม้ใบหญ้าที่กาลังแตกใบอ่อนไปตามประสาตน
    อาตมาได้เห็นพระภิกษุสงฆ์ แบกกลดเดินธุดงค์บ้าง บางรูปก็ บาเพ็ญภาวนา บางรูปก็เดินจงกรม บางทีก็เห็นชีปะขาว แม่ชี ที่นั่น ที่นี่อยู่ทั่วไป ฤาษีชีไพรผมยาวเครารุงรังก็เห็นมีอยู่เช่นกัน ข้อแตกต่าง ที่สังเกตเห็นได้ ถ้าเป็นภิกษุสงฆ์ ที่ยังเป็นมนุษย์อยู่ จะเห็นได้ที่ท่านมีกลด อยู่กับตัว ไม่แบกเดินไป ก็นั่งกางกลดอยู่ตามโคนไม้ ส่วนที่ท่านเป็น กายทิพย์ คือละสังขารทิ้งกายเนื้อธาตุขันธ์ไปแล้ว จะไม่มีกลด บางรูป นั่งอยู่ในสมาธิ ช้านานไม่มีกาหนด บางรูปก็นอนเอกเขนกสบายอารมณ์ อยู่ตามแท่นหิน หรือหน้าถ้าริมธารน้าไหล หรือบนพื้นหญ้าเรียบๆ ท่ามกลางหมู่ไม้ดอกและใบ บางรูปก็เลื่อนลอยไปเหนือพื้นดิน บางรูป พิสดารขึ้นไปนั่งรับลมอยู่บนยอดไม้ ดูไปช่างมากมายเสียจริงๆ จนทาให้ คิดว่า ป่าในเขตจังหวัดเลยและเพชรบุรีนี้ เปรียบเหมือนป่าหิมพานต์ เป็นแผ่นดินธรรมค้าจุนโลก เป็นแดนบุญของบ้านเมือง เทพยดาอารักขเทวา ที่เป็นสัมมาทิฐิก็มีอยู่ทั่วไป เห็นได้จากเมื่อพระอริยสงฆ์ที่เป็นกายทิพย์ ท่านไปนั่งเข้าฌานสมาบัติอยู่โคนต้นไม้ เขาจะรีบลงมาอยู่ข้างล่างทันที ด้วยมีความนอบน้อมเคารพ
    ในป่าเขาแห่งนี้ มีหมู่บ้านสาหรับพวกกายทิพย์อยู่หลายแห่ง ไม่ เฉพาะแต่ทีบนเขาภูกระดึงเท่านั้น พวกกายทิพย์นี้ก็คือ พวกลับแล หรือ บังบด มีฤทธิ์อยู่อย่างหนึ่ง คือ เขาจะให้มนุษย์เห็นก็ได้ ไม่ให้เห็นก็ได้ เป็นพวกมีศีล ชอบทาบุญให้ทาน ที่หมู่บ้านเชิงเขาภูกระดึงนั้น เขาเคย มาร่วมตักบาตรทาบุญที่วัดเสมอ คนช่างสังเกตจึงจะรู้ได้ ภิกษุสงฆ์ที่ ท่านเป็นกายทิพย์ ท่านไม่ต้องฉันอาหาร แต่พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นมนุษย์ ยังต้องฉันอยู่ พวกบังบดจึงมักมาใส่บาตรแก่พระที่เขาเห็นว่า ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีจิตเบาละเอียดเสมอเขา พระที่มาถือธุดงค์อยู่ในป่าแถบนี้ ถ้าปฏิบัติจริงๆแล้วไม่อด ธรรมย่อมรักษาแน่นอน
     
  13. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่13 เล่นกสิณ

    หลวงพ่ออาจารย์กับอาตมา ไม่ได้ออกจากป่าไปบิณฑบาต ตามหมู่บ้านมนุษย์เป็นเดือนๆ เพราะระยะทางห่างไกลมาก ก็ได้อาศัย ญาติโยมชาวบังบดลับแลนี้ เอาอาหารมาใส่บาตรให้
    สังเกตอาหารที่เขาใส่ให้ เป็นข้าวสีเหลืองอ่อนๆ มีกลิ่นหอม อาหารก็มีถั่วงาเป็นพื้น ไม่มีเนื้อสัตว์เลย ฉันครั้งหนึ่งก็ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ไปได้หลายวัน
    แต่ตามปกติ เมื่อจิตอยู่ในขั้นอุเบกขาแล้ว เรื่องอาหารไม่เคยได้ เอาใจใส่ จะฉันหรือไม่ฉัน มันก็อิ่มและวางเฉยอยู่ เป็นสิ่งประหลาด มากว่า จิตที่ฝึกดีแล้วสามารถดารงกายอยู่ได้ โดยไม่เดือดร้อนกระวน กระวาย
    การออกธุดงค์ครั้งแรกตอนเป็นสามเณรนี้ ทาให้การปฏิบัติธรรม เจริญรุดหน้าไปเป็นอันมาก
    ครั้งหนึ่งหลวงพ่ออาจารย์ท่านพูดเปรยๆว่า
    "จิตของเณรดีเข้าขั้นแล้ว นึกสนุกก็เอากสิณมาเพ่งดูบ้าง ถือ ว่าเป็นของเล่นของจิต"
    อาตมาก็ทาตาม ได้ไปนั่งอยู่บนก้อนหิน ที่ริมลาห้วยใหญ่ อันมี น้าใสไหลเย็น นั่งเพ่งน้าในลาห้วยอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งมองเห็น พื้นน้าติดตา ลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น
    เมื่อชานาญคล่องแคล่วแล้ว ก็นึกให้น้าแห้งจนติดก้นลาห้วย น้าก็ แห้งอย่างคิด นึกให้น้าเต็มฝั่ง ก็ขึ้นมาเต็มฝั่ง แล้วนึกให้พื้นน้าแข็ง เหมือนแผ่นดิน เดินไปมาได้ นึกให้น้าไหลอย่างเก่าก็เป็น อันนี้เป็นสิ่ง ที่สาเร็จด้วยจิต ซึ่งได้จากการฝึกกสิณน้าจนชานาญ เพียงนึกก็เป็นดัง ประสงค์
    ต่อไปเมื่อคิดจะเอากสิณอย่างอื่น ในกสิณทั้ง ๑๐ มาเพ่ง ไม่ต้อง เอาวัตถุใดมาเพ่ง เพียงแต่นึกถึงกสิณ ก็เกิดเป็นผลสาเร็จขึ้นมาทันที ทั้ง นี้ก็เพราะระดับจิต เป็นระดับเดียวกัน
    เมื่อได้กสิณน้าแล้ว อย่างอื่นก็ได้ด้วย เพียงแต่ทาให้คล่องแคล่ว ชานาญเท่านั้น
    ด้วยเหตุนี้ เมื่อนึกจะขึ้นไปเดินจงกรมในอากาศ กายก็ลอยขึ้นไป นึกจะเดินทะลุภูเขา มันก็ทะลุออกไปได้ นึกจะดาดินไปโผล่อีกแห่งหนึ่ง ก็ทาได้ นึกอยากจะไปถึงที่ไหน ก็ไปถึงได้ทันที นี่เป็นฤทธิ์อภิญญา ที่มีสอนไว้ในพระพุทธศาสนา ถ้าทาได้จริงก็จะไม่แพ้ฤทธิ์ของลัทธิใด เพราะเป็นฤทธิ์อภิญญาบริสุทธิ์ ไม่มีใครทาลายได้ ไสยศาสตร์มนต์ดา หมดความหมายไปเลย
    แต่เมื่อสาเร็จทางกสิณแล้ว หลวงพ่ออาจารย์ท่านก็เตือนว่า อย่า ไปติดนะ ไม่จาเป็นก็อย่าไปแสดงให้ใครเห็น ถือว่าเป็นเพียงของเล่นทาง ผ่านเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นหลุดพ้นได้ ต้องพากเพียรปฏิบัติต่อไป ซึ่งอาตมา เองก็คิดเช่นนั้น นอกจากทดลองอยู่แต่ในป่าในเขา เพื่อให้รู้ว่า สาเร็จ หรือยัง แล้วก็วางเสีย หันมาปฏิบัติธรรมสมาธิ
    ต่อมาอาตมาก็ฝึกฝนอบรมจิตมาตามลาดับขั้นตอน จนกระทั่งจิต เข้าสู่อุเบกขาชานาญ คือนึกจะวางเฉยเมื่อไรก็วางได้ เมื่อนั้น ไม่ต้อง มานั่งภาวนาพุทโธ หรือลมเข้าลมออกอะไรอีก เห็นว่าสมถะมั่นคงแล้ว มีสติสมบูรณ์แล้ว จึงเห็นว่าควรเข้าวิปัสสนา เพื่อความรู้แจ้งในธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ต่อไป
     
  14. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่14 อบรมจิตตามแนวสติปัฏฐาน ๔

    เมื่อจิตอยู่ในอุเบกขาพักหนึ่ง เป็นที่สบายแล้ว ก็ถอนจิตออกมา เป็นอุปจารสมาธิ ที่ยังมีเชื้อของความสงบเหลืออยู่ เริ่มพิจารณาตาม แนว "สติปัฏฐาน ๔" อันได้แก่ รูป เวทนา จิต ธรรม ไปตาม ลาดับ คาว่าตามลาดับนี้ ไม่ใช่ครั้งเดียวหนเดียว แต่พิจารณาไปตลอด เลย พิจารณาเป็นอย่างๆ
    เริ่มต้นด้วย "รูป" อันรูปคนอื่นที่เป็นสิ่งนอกตัวนอกตนนั้นก็ช่าง เขา เอารูปกายยาววา หนาคืบ ที่ว่าเป็นเราของเรานี้ พิจารณาก่อน… เพราะเพียงคาว่ารูปที่เรียกว่า กายคตาสติ นี้ มีปลีกย่อยออกไปถึง ๓๒ และใน ๓๒ ประการนี้ ก็ยังแยกย่อยออกไปอีก เช่นคาว่า กระดูก ไม่ได้หมายเฉพาะกระดูกร่างกายร่างหนึ่งเท่านั้น แต่มันยังแยกออก ไปอีกถึง ๓๐๐ ท่อน…เส้นเอ็นก็นับไม่ถ้วน
    นอกจากนี้ท่านก็ในแยกพิจารณา เช่น ผม ท่านก็เอามาคานวณ ออกได้ถึงสามแสนเส้น
    เล็บ ก็เอาเล็บมาพิจารณา จนเกิดเห็นขึ้นมาเองว่า เล็บเกิดอย่าง ไร เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ธาตุรู้ก็จะเห็นขึ้นมาเองว่า เล็บแปรปรวน ไป ไม่คงทน เห็นยาวก็ตัดออก ก็ขึ้นมาใหม่ หรือไม่ตัดปล่อยให้ยาว ก็จะหักเอง นี่มันไม่เที่ยง เกิดดับเห็นๆ อยู่
    ลึกเข้าไปอีก เมื่อเราตาย คงจะหลุดหายไป การพิจารณาอย่างนี้ ยังเอาสัญญาเข้ามาพิจารณา เราเพียงเพ่งดูเล็บ จนกว่าธาตุรู้จะเห็น ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมาเองชัดเจน จึงจะใช้ได้
    ต่อไปก็เอา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มาเพ่งพิจารณาไปทีละอย่าง เมื่อธาตุรู้เห็นชัดแล้ว ก็เปลี่ยนใหม่จนครบอาการ ๓๒ นี่เป็นการพิจารณา กายคตาสติ อันประกอบด้วยอาการ ๓๒ หรือจะไปพิจารณาของจริง ทั้งกาย อันเรียกว่าอสุภะหรือศพ ตั้งแต่เพิ่งตาย ให้ติดตาติดใจจน หลับตาเห็นก็ได้
    เมื่อเราพิจารณารูปกายผ่านไปแล้ว ย่อมเกิดความเบื่อหน่ายคลาย กาหนัด เมื่อเบื่อหนักเข้า ก็จะรู้ขึ้นมาว่า รูปกายนี้ไม่ใช่เราของเรา เป็น อนัตตา ไม่มีตัวตน มาเฝ้าเป็นบ้าเป็นหลัง มายึดถืออะไรอยู่ ก็จะ ปล่อยวางลงไปเอง
    ที่นี้ ก็ให้เอา เวทนา มาเพ่งพิจารณา เวทนาที่ท่านเรียกกัน มีทั้งทุกข์ เรียกว่า ทุกขเวทนา มีทั้งสุข เรียกว่า สุขเวทนา แต่ตามความ เป็นจริงล้วนแต่สุข เพื่อจะทุกข์ต่อไปทั้งสิ้น สุขแท้ๆ ที่จีรังยั่งยืนไม่มี
    ทุกขเวทนานั้น ที่มองเห็นก็เกิดที่กาย ที่จิตนี้เอง ตื่นเช้าขึ้นมาก็ ปวดท้องถ่าย จะกลั้นไว้ไม่ได้ ร่างกายก็สกปรก ต้องชาระร่างกาย ทาความสะอาดให้ เดี๋ยวมันหิวขึ้นมาแล้วต้องหาให้มันกิน ไม่กินก็ แสบท้องแสบไส้ ที่ขวนขวายดิ้นรน ต่อสู้แข่งขันแย่งชิง เอาดีเอาเด่น ได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ ต้องรบราฆ่าฟันกันทุกวันนี้ ก็เพียงเรื่อง กินเท่านั้น
    ความเกิด ก็เป็นทุกข์ เพราะผู้ให้กาเนิด พอรู้ว่าตั้งท้องก็เริ่มเดือด ร้อน ต้องเตรียมหาเงินค่ายา ค่าหมอ เตรียมเลี้ยงดูอุปถัมภ์ ตลอดจน เติบโตเล่าเรียน เวลาจะคลอด แม่นั้นทุกข์กว่าเพื่อน เจ็บปวดทรมาน กว่าเพื่อน กว่าจะคลอดออกมาได้
    แต่ทุกข์เหล่านี้ เป็นทุกข์ของพ่อแม่ ตัวเรายังไม่ทุกข์หรอกตอนนั้น แต่ก็เป็นทุกข์ได้เหมือนกัน กับความร้อน ความหนาว ความเจ็บปวด ที่ยังบอกใครไม่ได้ พูดไม่เป็น
    เกิดแล้วก็ต้องเจอกับ ความแก่ เจ้าความแก่นี่ก็เป็นทุกขเวทนา ทาให้วิตกกังวลไปต่างๆ กลัวจะหมดสวยหมดงาม ต้องหาวิธีดึงความ แก่เอาไว้ ไม่ให้แก่เร็ว
    ความเจ็บ ก็เป็นเรื่องใหญ่ เจ็บปวดทรมานแสนสาหัส ยิ่งเป็นโรค ที่หมอรักษาหายยาก ก็เป็นทุกข์ร้อนกลัวจะตาย ตะลอนๆ เที่ยวหาที่ จะชุบชีวิตได้ เจ้าความกลัวตายนี้ จะว่าไปมันทุกข์ยิ่งกว่า ความตาย จริงๆ เสียอีก
    ชีวิตคนเรา พระพุทธเจ้าท่านว่าเป็นทุกข์ เกิดมาไม่เหมือนกัน สุดแต่กรรมจะจาแนกแจกให้เป็นไป บางคนเกิดมาในกองเงินกองทอง พ่อแม่ร่ารวย เป็นสุขสบายเมื่อยังเล็กอยู่ ครั้นเติบโตขึ้น กลับทาให้ พ่อแม่กลับยากจนลง ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลาบากก็มี ที่เกิดมา ยากจนก็ต้องทนอดมื้อกินมื้อ เหนื่อยยาก ต้องทางานหนัก แต่ไม่พอกิน ล้วนเกิดทุกขเวทนาทั้งนั้น ชีวิตไม่มีอะไรแน่นอน การพรัดพรากจาก ของรักของชอบใจ ก็มีอยู่ทุกผู้ทุกคน
    การเพ่งพิจารณาเวทนา ให้เห็นตามความเป็นจริง ตัวเราได้เผชิญ มาอย่างไรบ้าง เคยจากพรากทุกข์โศกมาบ้างหรือไม่ ถ้ายังมีการเกิด การตาย ทุกขเวทนาก็จะตามมาอยู่ด้วย ไม่ปล่อยปละละเว้น มันจะ ตามไปทุกภพทุกชาติ เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายคลาย กาหนัด
    ได้กล่าวถึง กาย เวทนา แล้ว มาพูดถึงจิต บ้าง ถ้าเรา ได้ฝึกฝนทาสมาธิ เราจะมีเครื่องมืออย่างหนึ่ง ที่เรียกสติการระลึกรู้ เราก็จะรู้จักจิตของเราดีขึ้น จิตคิดไปได้ทุกอย่าง ฟุ้งซ่าน ปรุงแต่งไปได้ สารพัด รวดเร็วเหมือนสายฟ้าแลบ
    ที่ท่านให้เฝ้าดูจิตด้วยสติ ก็เพื่อจะได้รู้ว่าจิตเป็นอย่างไร อารมณ์ กิเลสเข้ามาทางไหน มาดีหรือมาร้าย ถ้ามาไม่ดี คิดข้าง กิเลส ตัณหา อุปาทาน คิดไปในทาง โลภ โกรธ หลง เราก็ได้รู้เท่าทัน ยับยั้งมันเสีย ถ้าคิดไปในทางดี ก็อยู่ในขอบเขตของมรรค ๘ เราก็คอยดูว่าเป็นอย่างไร
    จิตที่คิดอยู่ในขอบเขตของมรรค ๘ ย่อมเป็นต้นเหตุให้เกิด ธรรม เราท่านผู้ปรารถนาให้พ้นทุกข์ จงเฝ้าดูต่อไป จะเกิดธรรมให้รู้แจ้งแทง ตลอดในภายหลัง
    การตาม สติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่กล่าว มาอย่างสั้นๆ นี้ ท่านให้ทบทวนกลับไปกลับมา เพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ถึง ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่าชีวิตไม่ว่าของเรา หรือใคร ก็จะเป็นเช่นเดียวกัน และความรู้นั้นต้องเป็นความรู้ที่เกิดขึ้น จากจิต อย่างที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้มาแล้ว อย่างที่เรียกว่า ธรรม เกิดขึ้นเอง จะเอาสัญญาความจาได้หมายรู้ ที่ได้มาจากปริยัติ ซึ่งเป็น ความรู้อย่างนอกๆ นั้นไม่ได้
     
  15. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่15 เมตตาจิตเต็มเปี่ยม

    ธุดงค์อยู่ในป่านี้ บางแห่งมีเสือชุกชุมมาก เป็นเสือลายพาด กลอนตัวใหญ่ๆ ขณะที่เดินจงกรมอยู่ บางตัวเขาจะมานั่งดูเราที่ข้าง ทางเดิน บางตัวเมื่อเราอยู่ในกลด เขาจะมานอนหมอบอยู่ใกล้ๆ เวลา เราออกไปบิณฑบาต เขาจะเดินตามกันไปหลายตัว จนพ้นเขตป่า
    เราจะต้องพิจารณาให้รู้ว่า เขาเป็นเสือจริงๆ หรืออย่างไร ส่วน มากจะเป็นเสือเจ้าป่า และเสือเทพารักษ์ ท่านเนรมิตเป็นเสือ มาคอย พิทักษ์รักษาคุ้มครอง เมื่อเสือเนรมิตนี้อยู่ เสือจริงๆ จะไม่เข้ามาใกล้
    สิ่งที่พระธุดงค์จะขาดไม่ได้ ก็คือเจริญเมตตากรวดน้าให้แก่สรรพ สัตว์ เรามักจะต้องทากันเป็นประจา ตื่นเช้าขึ้นทาจิตให้เป็นสมาธิแล้ว เจริญเมตตากรวดน้า ก่อนเริ่มทาสมาธิ และหลังจากสวดมนต์ทุกครั้ง แล้วหลังจากถอนจิตจากสมาธิอีกครั้งหนึ่ง หากทาสมาธิครั้งใดก็ทาเรื่อย ไป ผลแห่งการแผ่เมตตา และการกรวดน้านี้ จิตวิญญาณที่ท่องเที่ยวอยู่ เขาก็มีโอกาสจุติในภพภูมิอื่น หรือเกิดเป็นมนุษย์ได้
    จิตวิญญาณที่ท่องอยู่ในป่านั้น ส่วนมากแล้วเขาต้องอยู่กันนานๆ ไม่ค่อยได้ไปผุดไปเกิด เพราะกุศลยังหนุนไม่พอ เฉพาะอย่างยิ่ง ไม่มี ใครคอยแผ่ส่วนกุศลไปให้ เรียกว่าลืมกันเลยทีเดียว วนเวียนอยู่มาเป็น ร้อยเป็นพันปี
    ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพระธุดงค์ เมื่อเข้าไปวิเวกอยู่ในป่าแล้ว ต้องหมั่นเจริญเมตตา และกรวดน้าเพื่อช่วยเขา เมื่อเขาได้รับการแผ่ เมตตา แม้กุศลยังไม่พอไปเกิดใหม่ เขาก็จะมีน้าใจไมตรี คอยช่วยเท่าที่ เขาจะช่วยได้ ไม่ให้มีอันตรายเกิดขึ้น
    อันที่จริงก็เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายพระธุดงค์เอง เมื่อมี จิตเมตตาอยู่เต็มเปี่ยมแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ศีลบริสุทธิ์ จิตอยู่ในกุศลธรรม เมื่อจิตอยู่ในกุศลธรรม ก็เป็นศีล เป็นจิตที่พร้อมจะทาสมาธิภาวนา เมื่อ จิตอยู่ในสมาธิภาวนาตั้งมั่นดีแล้ว ก็จะเป็นที่งอกงามของปัญญา เป็น ที่งอกงามของญาณ แม้เวทมนตร์คาถา วิชาความรู้ใดๆ ก็ต้องอาศัย สมาธิภาวนานี้ เป็นที่งอกงามและสาเร็จประโยชน์ ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ถูก โมหะครอบงา จะไม่มีทางสาเร็จประโยชน์ได้เลย
     
  16. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่16 กลับสู่วัด… พบความเปลี่ยนแปลง

    เมื่อใกล้เข้าพรรษา หลวงพ่ออาจารย์ก็ชวนอาตมาธุดงค์กลับวัด ระหว่างเดินทาง หลวงพ่ออาจารย์ยิ้มแล้วก็ถามว่า
    "ดูมหาจาเริญบ้างหรือเปล่า ตอนนี้เป็นอย่างไร"
    "มหาจาเริญตอนนี้หรือครับ ท่านเป็นไปตามที่หลวงพ่อตั้งความ หวังไว้ เข้าป่าช้าทุกวันเลยครับ ต่อไปก็คงจะช่วยเป็นกาลังสาคัญ ให้ชาวบ้านมาปฏิบัติกันได้มากๆ"
    "หลวงพ่อก็คิดอย่างนั้น เห็นมหาจาเริญปฏิบัติเคร่งครัด สารวม อินทรีย์ยิ่งกว่าแต่ก่อน เพราะเรื่องบาปบุญคุณโทษนี้ หากไม่ปฏิบัติ ด้วยตัวเอง ก็มองไม่เห็นว่าเป็นนาม ผิดศีลเล็กๆ น้อยๆ แต่มีผลใหญ่ ก็ไม่รู้สึกสนใจอะไรกัน ตอนนี้คงรู้แล้วนะ เพราะมีสติมากขึ้น หลวงพ่อ ก็ต้องอนุโมทนา"
    "แต่หลวงพ่อครับ"
    "อะไรหรือเณร"
    "หลวงพ่อเห็นหรือยังว่า ตอนนี้เรายังจัดตั้งสานักปฏิบัติไม่ได้ คงจะต้องใช้เวลา ๔-๕ ปีข้างหน้า"
    "อือ…เห็น! อะไรมันยังไม่เกิด มันก็ไม่เกิด แต่เราก็ต้องเริ่มสร้าง คนให้รู้ทางเสียก่อน ชาวบ้านข้างวัดที่เห็นว่าพอมีวาสนาบารมีก็มีอยู่ หลายคน ชวนเขาให้มาปฏิบัติ ไม่ช้าเขาก็จะนาเอาคนอื่นมาด้วย"
    "งั้นพรรษานี้หลวงพ่อก็ลงมือได้แล้ว"
    "เณรก็ต้องช่วยหลวงพ่อเหมือนกันนะ"
    "ก็ยังไม่ถึงเวลาอีกนะครับ หลวงพ่อ"
    "อือ…ก็จริงของเณร ต้องอุปสมบทเสียก่อน เมื่ออุปสมบทแล้ว เณรก็ต้องออกธุดงค์ไปตามลาพังอีก อย่างน้อย ๕ พรรษา คงพอจะ กลับมาสร้างความเชื่อถือให้ชาวบ้านได้"
    "ที่จริงผมควรไปธุดงค์กับหลวงพ่อ จะได้คอยดูแลปฏิบัติหลวงพ่อ ด้วย เพราะหลวงพ่ออายุมากแล้ว"
    "หลวงพ่อจะหยุดออกธุดงค์แล้วนะ ตั้งแต่บวชมาก็ ๓๐ กว่าปี ไม่เคยขาดเลย ตอนนี้ออกธุดงค์หรือไม่ จิตก็เป็นอย่างเดียวกัน จึงคิด อยากจะอยู่ช่วยมหาจาเริญต่อไป จนกว่าจะละสังขาร"
    "หลวงพ่อยังอยู่อีกนาน ยังไม่ละสังขารง่ายๆ หรอกครับ"
    "ละไม่ละ ก็เท่ากันนะเณร เพราะหลวงพ่อไม่ได้ไปยึดถือ อยู่ กับความเกิด ความตาย แตกดับอะไรอีก แต่เณรเองก็เบาใจได้แล้วนี่"
    "ครับ! ผมไม่มีความสงสัย ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระ อริยสงฆ์อีกแล้ว แต่ยังไม่จบพรหมจรรย์ คงต้องประคับประคองจิต ไปอีกสักระยะหนึ่ง ถึงจะไม่ย้อนกลับก็ประมาทไม่ได้ ผมไม่อยากเสีย เวลาไปเป็นพรหม"
    "ถูกแล้วเณร แต่ดูดีแล้วหรือว่า บุญบารมีจะพอในชาตินี้"
    "ตอนนี้ยังไม่พอครับ แต่ก็คงจะสร้างสมได้ทัน อุปสมบทแล้ว พรรษานี้ พอออกพรรษาก็จะต้องไปสร้างบารมีอีกสักพัก คงจะแสวง วิเวกอย่างเดียวไม่ได้"
    เมื่อกลับไปถึงวัด ปรากฏว่าที่ป่าช้ามีกุฏิมุงแฝกเพิ่มขึ้นอีก ๓ หลัง เพราะภิกษุในวัดเห็นการปฏิบัติของมหาจาเริญ ก็เกิดความเลื่อมใส ขอเข้าไปปฏิบัติด้วย
    ตอนนี้มหาจาเริญมีอาการสารวมมากกว่าแต่ก่อน ราศีก็ดูผ่องใส กว่าแต่ก่อน
    นี่แหละแสดงว่ากายตามจิต เมื่อจิตละเอียดมากเข้า กายก็ละเอียด ประณีตตาม คือ มีความสารวมระวังมากขึ้น แม้ปุถุชนคนทั่วไปก็ตาม เราก็จะเห็นความแตกต่างระหว่างคนที่จิตเป็นกุศล มีคุณธรรม หรือ อย่างน้อยเป็นผู้ที่มองโลกในด้านดี มักจะมีกิริยาทางกาย วาจา อ่อน โยน สุภาพ ราบเรียบ เป็นที่รักนิยมของผู้อื่น ส่วนคนที่มีจิตเป็นอกุศล ไร้คุณธรรม โหดเหี้ยมอามหิต ซึ่งเป็นจิตหยาบกร้าน ก็มักมีกาย วาจา หยาบกระด้าง ใครเห็นก็ชิงชังไม่อยากเข้าใกล้
    แต่ในทุกวันนี้ ชาวโลกเราปล่อยให้จิตตามกาย เป็นเบี้ยล่างของ กาย เป็นทาสของกาย มีความโลภ โกรธ หลง เป็น "พลัง" ส่งเสริม ให้เห็นผิดเป็นชอบ กายต้องการอะไร ต้องหามาปรนเปรอให้จงได้
    กิเลส ตัณหา อุปาทาน ก็ประดังกันมา จนเกินความสามารถ ของจิต ที่จะปฏิบัติตามได้ เมื่อเกินความสามารถ ทาอะไรลงไปก็ประสบ ความพ่ายแพ้ ผิดหวัง เศร้าเสียใจ สุดแต่จะเป็นไป ถึงกับทาลาย ตนเอง ทรัพย์สินให้พินาศย่อยยับไปก็มี
    ชาวโลกแบกตัวพ้นทุกข์ไว้ด้วย อวิชชา คือ ความรู้ไม่จริงของ ตนเอง แล้วก็ทาหน้าชื่นอกตรมไปตามประสาของคนที่ถูกอวิชชาครอบงา
    ธุรกิจการงานทั้งหลาย ที่มนุษย์ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมนั้น ท่าน ว่าต้องมีหลักการ และดาเนินไปตามหลักการ จึงบรรลุความสาเร็จ ใครที่ละทิ้งหลักการ ทาไปตามอารมณ์ของตน ธุรกิจการงานนั้นก็จะ พังทลายได้โดยง่าย ชีวิตก็เช่นเดียวกัน
    ทางพระพุทธศาสนาท่านถือว่า มนุษย์ก็ต้องอยู่ในหลักการเหมือน กัน คือ ต้องขึ้นอยู่กับการเวียนว่ายตายเกิด ขึ้นอยู่กับอสังขธาตุ มี ธาตุดิน ธาตุน้า ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุอากาศ วิญญาณธาตุ และต้อง ขึ้นอยู่กับกรรม
    ใครจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ว่าชีวิตมนุษย์เรา มีการเวียนว่ายตายเกิด มานับครั้งไม่ถ้วน ต้องเป็นความจริงอยู่เช่นนั้น การเวียนว่ายตายเกิด ก็ขึ้นอยู่กับธาตุที่กล่าวมาแล้ว เมื่อธาตุรวมตัวกันขึ้นก็เกิด เมื่อธาตุแยก ตัวกันออกก็ตาย การจะเกิดหรือตายก็ต้องอาศัยกรรมเป็นเครื่องจาแนก จะไปเกิดเป็นอะไร จะตายเมื่อไร ขึ้นอยู่กับกรรมที่ตนได้กระทาขึ้นทั้ง สิ้น ทากุศลไปเกิดเป็นเทวดา พระอินทร์ พระพรหม หากทาอกุศลก็ ไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์นรก จาแนกกันอย่างนี้ นี่เป็นหลักการ ดั้งเดิมในชีวิตของมนุษย์และสัตว์
    ต่อมาเพราะมีการจาแนกการเกิด ก็มีอวิชชาเกิดขึ้น คือ ทาให้ มีความไม่รู้ เป็นเครื่องปิดบัง ให้ทาผิด คิดผิด ไปตามอารมณ์ชอบ
    อันที่จริงอวิชชานี้ เป็นต้นเหตุให้เกิดการแสวงหาความรู้ เช่นเดียว กับกิเลส ถ้าเราไม่มีกิเลสก็ไม่ต้องหาทางดับกิเลส ถ้าไม่มีตัณหา ก็ ไม่ต้องหาทางดับตัณหา
    ถ้าจะเปรียบอวิชชาเป็นภูเขาลูกใหญ่ ที่ขวางหน้าเราอยู่ ฟากเขา ด้านหลังเป็นวิชา ฟากเขาด้านหน้าเป็นอวิชชา เมื่อเราต้องการข้าม ไปหาวิชา เราก็ต้องข้ามอวิชชา คือ สันเขาขึ้นไป จนถึงด้านหลังเขา พอข้ามอวิชชาไปได้ เราก็ได้วิชา…
    พระพุทธเจ้าจึงทรงให้ดับอวิชชา เมื่อดับอวิชชาได้เด็ดขาด ก็เป็น อันสิ้นทุกข์ ไม่เกิดไม่ตายอีกต่อไป แต่อวิชชาก็ไม่ใช่สิ่งที่จะดับได้โดย ง่าย เพราะเป็นตัวโลภ โกรธ หลง ต้องพากเพียรพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อชาระล้างตัวไม่รู้ ให้หมดสิ้นไป
    อาตมากลับถึงวัดแล้ว ก็ได้ไปเยี่ยมท่านมหาจาเริญที่กุฏิมุงแฝก ในป่าช้า รู้สึกว่าท่านมีความยินดีมาก ที่ได้พบอาตมา คาถามแรกของ ท่านก็คือ
    "ลาบากไหมเณร"
    "ไม่ลาบากเลยครับ มีแต่ความสงบสบาย"
    "ออกพรรษาหน้านี้แล้ว หลวงพี่คงได้ไปบ้าง"
    "อย่าเพิ่งเลยครับหลวงพี่ ผมว่าปฏิบัติเอาที่ป่าช้านี่แหละ ให้พอ ตัวเสียก่อน จะดีกว่า อีกอย่างหลวงพ่ออุปัชฌาย์ท่านจะไม่ออกธุดงค์ อีกแล้ว ว่าจะอยู่ช่วยท่านมหาสร้างสานักปฏิบัติ ตามที่คิดกันไว้"
    "เณรว่าปฏิบัติให้พอตัวเสียก่อน หมายความว่าอย่างไร"
    "หมายความว่า เมื่อออกธุดงค์อยู่ในป่า พบอันตรายต่างๆ ก็เอา ตัวรอดได้ แต่ตอนนี้การปฏิบัติของหลวงพี่ แม้จะดีขึ้นมาก แต่จิตก็ยัง ไม่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรือฌาน ๔ ได้แต่เพียงความปีติ ความสุข อิ่มเอิบอยู่เท่านั้น"
    "เณรรู้ได้อย่างไร"
    "ก็จริงไหมล่ะหลวงพี่ เชื่อผมเถอะ หลวงพี่ต้องเร่งความเพียร ทางสมถะอย่างเดียว ให้ได้เสียก่อน ถ้ายังไม่ได้ขั้นอัปปนา หรือได้ แล้วยังไม่ชานาญพอ อย่าเพิ่งเอาวิปัสสนาเข้ามาแทรก เพราะจะไม่ได้ อะไรเลย จะได้แต่สัญญานอกๆที่จดจามาจากหนังสือ หรือประสบ การณ์ ยังไม่เป็นธรรมที่เกิดรู้ขึ้นมาเอง
    ที่ผมพูดนี้ ไม่ใช่มาสอนหลวงพี่นะ เพราะผมได้ปฏิบัติมาแล้ว ไม่อยากให้หลวงพี่หลงงมอยู่ อย่างที่ผมเคยหลงมาแล้ว"
    "ก็เห็นจะต้องเชื่อเณร เพราะเณรปฏิบัติมาก่อนหลวงพี่ ว่าแต่ ไปธุดงค์คราวนี้ เณรคงได้อะไรเพิ่มเติมมาอีกมาก"
    "สิ่งที่ผมได้เพิ่งเติมมานั้น แท้จริงก็ได้ความไม่มีอะไรนั่นเอง หรือ จะว่าความยึดถือตัวเราของเรา มันน้อยลง เบาบางลง
    หลวงพ่ออุปัชฌาย์ท่านว่า การที่เรามาปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา กันนั้น จุดหมายก็คือความไม่มีอะไร ความเป็นอิสระ ความไม่เกิด ไม่ตาย"
     
  17. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    ่บทที่17 อุปสมบททดแทนคุณ

    ครั้นใกล้จะเข้าพรรษา อายุอาตมาครบบวชแล้ว ก็ไปหาโยมพ่อ โยมแม่ทั้งสอง บอกความประสงค์ จะทาการอุปสมบท ซึ่งโยมพ่อ โยมแม่ก็มีความยินดี ตระเตรียมการให้ด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ไม่ ท้วงติงแต่อย่างใด เพราะท่านตัดใจได้มานานแล้วว่า ลูกชายท่านคนนี้ คงจะเอาดีทางพระ ไม่สนใจในทางโลกแน่นอน
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็ได้ไปเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ทั้งสอง และพี่ชาย พี่สาว บอกว่า
    “จะขอบิณฑบาตโยมทั้งสองอีกสักอย่างจะได้ไหม ต่อไปจะไม่ ขออะไรอีก”
    โยมต่างก็ถามว่า “ท่านจะขออะไรก็ขอให้บอกเถอะ โยมยินดี จะถวายทั้งสิ้น ที่สามารถจะถวายได้”
    “อาตมาพิจารณาดูแล้ว เห็นโยมพี่ทั้งสอง เรียนสาเร็จแล้ว ก็มี ความรู้ที่จะทาการค้าขายเจริญก้าวหน้าต่อไป ส่วนโยมพ่อและโยมแม่ อายุมากขึ้นแล้วควรจะละความห่วงใยลงเสีย หันมาประพฤติปฏิบัติ ธรรม เพื่อตัวของโยมเองจะดีกว่า โยมพ่อโยมแม่จะทาได้หรือไม่ อาตมาขอเพียงแค่นี้แหละ
    และการที่อาตมาบวชมานี้ โยมจะได้บุญกุศลก็เพียงเล็กน้อย ไม่ สามารถจะพาโยมไปสวรรค์นิพพาน เพื่อความพ้นทุกข์ได้ โยมจะต้อง ขวนขวาย พากเพียรพยายามปฏิบัติเอาด้วยตัวของโยมเองทั้งสิ้น
    บุญกุศลที่โยมทามาแล้วในอดีตชาติ ได้ส่งผลให้โยมมีฐานะความ เป็นอยู่ดีกว่าผู้อื่น มีลูกที่ดีอยู่ในโอวาททุกคน แต่บุญในอดีตชาตินั้น ย่อมหมดลงได้ ถ้าไม่สร้างสมทาเพิ่มขึ้นอีก
    ทาน โยมก็ได้ทามาดีแล้ว ศีล โยมก็รักษาดีแล้ว แต่บุญที่ยิ่ง ใหญ่เหนือกว่าทานกว่าศีลก็คือ สมาธิภาวนา ซึ่งจะเป็นทางเอาตัวรอด พ้นจากทุกข์ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดนับไม่ถ้วนชาติอีกต่อไป”
    โยมพี่ชายได้ถามว่า “ท่านคิดว่าพี่สองคนจะดาเนินกิจการต่อไป ได้หรือ”
    “โยมพี่ทั้งสอง ก็เรียนกันมาทางค้าขาย ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร ช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไข ก็จะทาให้กิจการก้าวหน้าไปกว่าเดิมเสียอีก โยมพี่ชายนะไม่ต้องวิตกอะไร อีก ๕ ปีข้างหน้า ก็จะได้แต่งงาน มี ผู้มาช่วยการงานดีขึ้น ขอให้รักษาความดี ความซื่อสัตย์เอกไว้ให้มั่นคง
    ส่วนโยมพี่หญิง ขอบอกให้รู้ว่า เกิดมาไม่มีเนื้อคู่กับเขาหรอก เพราะอดีตเป็นนักบวช ถึงเวลาพอสมควรก็จะหันหน้าเข้าวัด”
    ที่สุด โยมพ่อโยมแม่ทั้งสองก็รับปากจะขอปฏิบัติธรรม ตามที่ อาตมาขอบิณฑบาต แต่จะไม่เข้าวัดถือบวชระคนด้วยหมู่คณะ จะไป อยู่บ้านสวน ซึ่งมีความสงบดีพอสมควร แล้วค่อยปฏิบัติไป
    อาตมาก็บอกว่า “ไม่จาเป็นจะต้องเข้าวัดเพื่อถือบวช เป็นอุบาสก อุบาสิกา อยู่กับบ้านก็ปฏิบัติธรรมสมาธิได้ ความเป็นอยู่ก็ไม่ต้อง ห่วงใยอะไรแล้ว เพียงตั้งใจปฏิบัติก็จะถึงความสุขได้”
    ในพรรษานั้น ก็ได้ช่วยท่านมหาจาเริญแบ่งเบาภาระในการสอน นักธรรม ซึ่งตอนนี้ก็มีพระนักธรรมเอก และเปรียญ ๓, ๔ ประโยค อีกสองรูป มีผู้เข้ามาบวชเรียนมากขึ้น ก็พอดีช่วยกันได้
    อาตมาได้ชักจูง ภิกษุสามเณรที่บวชเก่า และบวชใหม่ให้หันมา ปฏิบัติธรรมสมาธิ ควบกับการเรียนปริยัติไปด้วย แต่แรกก็มีวอกแวก หละหลวม ไม่เอาจริงกันบ้าง อาศัยที่
    คอยตรวจสอบวารจิต ใครคิด อะไร ก็คอยทักท้วงให้รู้ว่าที่คิดอย่างนั้น อาตมารู้นะ หรือใครไปทา อะไรที่ไหน ก็บอกได้หมด
    จนภิกษุสามเณรภายในวัดแปลกใจว่า อาตมารู้ได้อย่างไร ก็ได้ แต่บอกว่า ถ้าภิกษุสามเณรตั้งใจปฏิบัติ ก็สามารถจะรู้เห็นเช่นอาตมา ได้ จึงไม่มีใครหลีกเลี่ยง ตั้งใจปฏิบัติกันดี
    พรรษาแรก ถึงวันธรรมสวนะ ๑๕ ค่า อาตมาก็ได้รับมอบจาก หลวงพ่ออาจารย์ให้สวดปาติโมกข์ตลอดพรรษา
     
  18. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่18 แสวงวิเวกตามลาพัง

    ครั้นออกพรรษาแล้ว อาตมาได้อยู่ช่วยจนภิกษุสามเณร เข้าสอบ ธรรมที่สนามหลวงจนเสร็จ จึงได้กราบลาหลวงพ่ออาจารย์ ออกธุดงค์ แสวงวิเวกไปตามลาพังต่อไป
    ตอนแรก ท่านมหาจาเริญ และภิกษุ ๓ รูป ที่ไปปฏิบัติอยู่ในป่าช้า จะขอตามไปด้วย แต่หลวงพ่ออาจารย์ทักว่า
    “ปฏิบัติอยู่ที่วัดไปก่อนเถอะ ยังไม่ถึงเวลาจะไป การออกธุดงค์ ต้องมีจิตที่แก่กล้ากว่านี้”
    ท่านมหาจาเริญบอกว่า
    “ไปกับท่าน…คงจะช่วยคุ้มครองให้ได้”
    หลวงพ่ออุปัชฌาย์บอกว่า
    “ได้นะได้หรอก แต่จะไปเป็นกังวลเปล่าๆ ที่ว่ายังไม่ถึงเวลา ก็ เพราะบารมียังไม่พอ อาจจะเกิดอันตรายได้ จึงไม่อยากให้ไป หากอยู่ก็ จะได้ช่วยกันทางนี้”
    เมื่อครูอาจารย์ทักท้วง ก็ไม่มีใครกล้าขัดขืน เพราะต่างก็รู้ คุณพิเศษของท่านเป็นอย่างดี
    ออกธุดงค์แต่ลาพังคราวนี้ ไม่ได้ย้อนกลับวัดตอนใกล้เข้าพรรษา และไม่ได้ไปขอจาพรรษาที่วัดไหนเลย
    พอเข้าพรรษาก็อธิษฐานเข้าพรรษาอยู่ในถ้าใดถ้าหนึ่งจนครบ ๓ เดือน แล้วออกธุดงค์ต่อไป โดยมากก็วนเวียนอยู่แถบจังหวัดเลย และ จังหวัดเพชรบูรณ์ เข้าไปอยู่ในป่าลึกๆ ไกลผู้คน เวลาต้องการอาหาร ซึ่งหลายๆ วันสักครั้ง อยากจะโปรดหมู่บ้านไหน ก็ไปด้วยการอธิษฐาน ชั่วขณะหนึ่งก็ไปถึงชายป่าใกล้หมู่บ้าน แล้วจึงเดินเข้าไป นับว่าไปมา สะดวกรวดเร็ว ไม่ลาบากอะไร
    ชาวบ้านบางคนก็ถามว่า ท่านพักอยู่ที่ไหน ก็ได้แต่ตอบว่า อยู่ ไกล โยมเดินทางวันหนึ่ง ไม่ถึงหรอก ซึ่งชาวบ้านก็ได้แต่แปลกใจ
    ส่วนมากการเดินธุดงค์นั้น อาตมาแสวงวิเวกเรื่อยไป จากภาคกลาง ขึ้นภาคอีสาน ตัดขึ้นภาคเหนือ แล้วลงไปภาคใต้
    เมื่อบาเพ็ญสมาธิภาวนากล้าแข็งขึ้น ตาทิพย์และหูทิพย์ที่ได้มาแต่ เด็กๆ ก็เห็นได้กว้างไกลยิ่งขึ้น อยากเห็นที่ไหน นั่งอยู่กับที่ก็ได้เห็นทะลุ ปรุโปร่งแจ่มแจ้ง เป็นการรู้เห็นแบบปัจจัตตังเฉพาะตัว ซึ่งไม่สามารถ จะอธิบายให้ผู้อื่นเห็นตามได้ นอกจากเขาจะได้ปฏิบัติด้วยตนเอง
    คาว่า “พุทโธ” ซึ่งเป็นบทภาวนาเบื้องต้น เป็นของดีอันประเสริฐ เป็นทางให้ไปสู่ความเป็นผู้รู้ คือรู้แจ้งในธรรมทั้งปวง เป็นทางให้ไปสู่ ความเป็นผู้ตื่น คือ ตื่นจากกิเลสตัณหาที่ห่อหุ้มชีวิตอยู่ปราศจากนิวรณ์ ทั้ง ๕ ตื่นตัวตื่นใจอยู่ทุกขณะ เป็นทางให้ไปสู่ความเป็นผู้เบิกบาน เพราะปราศจากความยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเราของเรา ดังที่อาตมาได้สัมผัสอยู่
    แต่ชาวโลกนั้นเกิดมามีกรรมมีเวร มีอวิชชาครอบงาอยู่ ใครจะมา แนะนาชักจูงว่า ลองทาสมาธิเสียบ้างซิ เขาก็จะหลีกเลี่ยง อ้างว่าไม่มี เวลาบ้าง ใจไม่สงบบ้าง มีเรื่องยุ่งยากกับการงานครอบครัวบาง ซึ่งล้วน แต่เป็นข้ออ้างของกิเลสตัณหา โลภ โกรธ หลง ยึดนั่น ติดนี่ ซึ่งเป็น อวิชชาทั้งสิ้น
    นับว่าชาวโลกส่วนมากเป็นผู้น่าสงสาร แต่ใครจะไปฉุดรั้งผลักดัน เขาได้อย่างไร เมื่อเขาไม่เคยนึกสงสารตนเองเลย
    สงครามในซีกโลกต่างๆ ทาให้ต้องฆ่ากัน ทาลายล้างกัน โดย ไม่มีสาเหตุจาเป็นเลย ก็เพราะอวิชชานี้ ทาให้ไม่รู้บุญรู้บาป รู้ผิดรู้ถูก ไป เที่ยวยึดถือเอาสิ่งภายนอกเข้ามาทาลายตน
    นี่ก็พูดไปตามเนื้อผ้าหยาบๆ ของชาวโลก อาตมาไม่วุ่นวายเดือดร้อน ด้วย เพราะได้ละวางแล้ว จิตที่อยู่เหนือทุกขเวทนา สุขเวทนา มันเห็น แต่ว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไป จะเกิดหรือดับ ก็เป็นไปตามสมมติ เป็นไปตามธรรมดา จะต้องเป็นไปเช่นนั้น ไม่มีใครจะไปเปลี่ยนแปลงได้ เว้นแต่ยังไม่สิ้นกรรม สิ้นวาระ ก็แก้ไขปัดเป่ากันไป
    อาตมาเบิกบานด้วยสุขวิหารธรรม อยู่ตามป่าตามถ้า เป็นเวลา ถึง ๕ ปี หรือ ๕ พรรษา เพลิดเพลินการเสวนาธรรมกับครูบาอาจารย์ ที่ธุดงค์อยู่ในป่า ทั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และจิตวิญญาณที่เป็นอมตะ ซึ่งมีอยู่มากมาย
    ธรรมเหล่าใดที่ยังข้องใจสงสัยอยู่ ท่านเหล่านั้น ก็ให้อรรถาธิบาย ให้กระจ่างขึ้น ตามภูมิปัญญาของท่าน
    ผู้ที่ไม่เชื่อว่าในโลกนี้ยังมีพระอรหันต์ เพราะเขาไม่เห็น แต่ความ จริงแล้ว พระอรหันต์มีอยู่นับไม่ถ้วน บางท่านก็เป็นพระอรหันต์ แบบสุขวิปัสสโก ยินดีพอใจซุ่มซ่อนอยู่เงียบๆ ท่ามกลางป่าดงพงลึก บางท่านก็เป็นพระปัจเจกพุทธ บางท่านก็ทรงฤทธิ์อภิญญา แสดง ปาฏิหาริย์ต่างๆเล่นแก้ราคาญ เป็นที่เบิกบานใจของท่าน ปาฏิหาริย์ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่สาเร็จด้วยจิต คิดจะให้เป็นอย่างไร ก็เป็นขึ้นมาอย่างนั้น ไม่ต้องอาศัยเวทมนตร์คาถา แบบไสยศาสตร์ ท่านเหล่านี้ท่านแสดงธรรม ได้ สอนได้ แต่ท่านไม่ทา เพราะไม่ได้บาเพ็ญบารมีมาทางนี้
    ยังมีอีกเป็นจานวนมาก ที่สมัยเป็นมนุษย์ปฏิบัติธรรมอยู่ แล้ว กายทิพย์ถอดจากร่างไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อกายทิพย์ออกไปแล้ว ก็เพลิด เพลินท่องเที่ยวไปในแดนสวรรค์ชั้นต่างๆ เมื่อสติไม่กล้าแข็งพอ ไปหลง ติดอยู่กับวิมานนางฟ้า ทาให้ลืมเวลาอันสั้นของเมืองมนุษย์ ครั้นคิดกลับ เข้าร่าง ร่างก็เน่าเปื่อยหรือเขาทาการเผาไปแล้ว จึงต้องท่องเที่ยวเร่ร่อน ไป จะไปเกิดก็เกิดไม่ได้ เป็นพวกนอกบัญชีที่ยังไม่ถึงอายุขัย
    การที่กายทิพย์จะออกไปนั้น เป็นการออกแบบไม่รู้ตัว สติไม่ แก่กล้าพอที่จะตามรู้การไปของกายทิพย์ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติสมาธิ จึงควรทา สมาธิของตนให้แก่กล้า เพื่อจะได้มีสติรู้เท่าทันอย่างสมบูรณ์ จะได้ ไม่หลงเพลิดเพลิน จนลืมการกลับสู่ร่างเดิม และจะไม่กลายเป็นกายทิพย์ เร่ร่อน สัญจรไปมาอยู่มากมายในขณะนี้
     
  19. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่19 สร้างศรัทธาด้วยญาณหยั่งรู้

    หลังจากแน่ใจว่า การปฏิบัติธรรมจะไม่ย้อนกลับไปเป็นทางของ กิเลสตัณหา มีแต่เดินไปข้างหน้า ข้ามพ้นชาติชรามรณะทุกข์ไปแล้ว อาตมา จึงกลับสู่วัดเดิม หลวงพ่ออาจารย์และมหาจาเริญยังอยู่ หลวงพ่ออาจารย์ ท่านชราลงไปมาก แต่ก็ยังมีราศีผ่องใส การออกบิณฑบาตเป็นวัตร ซึ่งเป็นธุดงค์ข้อหนึ่ง ท่านก็ยังปฏิบัติอยู่ ทั้งที่ลูกศิษย์ลูกหาชาวบ้าน เขาขอร้องให้หยุดได้แล้ว ท่านว่าสังขารยังใช้ได้อยู่ ก็ต้องใช้เขาไปก่อน
    ท่านทั้งสองได้ช่วยกันพัฒนาวัด ให้เจริญขึ้นเป็นอันมาก โดยเฉพาะ ท่านมหาจาเริญนั้น เมื่อศิษย์ที่ได้นักธรรมเปรียญมีมากขึ้น ก็ทาให้วาง มือในการสอนไปได้ หันมาปฏิบัติและพัฒนาอย่างเต็มที่ ทางถาวรวัตถุก็ ได้บูรณะซ่อมแซมโบสถ์ศาลาให้ดีขึ้น ทางโรงเรียนปริยัติ ก็มีผู้มา บรรพชาอุปสมบทเพิ่มขึ้น แม้ฆราวาสก็มาเรียนและสมัครสอบได้ ส่วน สานักกรรมฐานก็ได้จัดขึ้นเป็นสัดส่วน ตามความมุ่งหมายของหลวงพ่อ อาจารย์ มีศาลาฝึกปฏิบัติธรรม แล้วก็มีกุฏิสาหรับพระเณรปฏิบัติธรรม ประมาณ ๓๐ หลัง
    ส่วนของอุบาสกอุบาสิกานั้น ก็ได้จัดที่ไว้ให้เป็นสัดส่วน อุบาสก อุบาสิกาบางคนมาอยู่ปฏิบัติธรรม ก็มาสร้างเรือนเล็กๆไว้ อาศัยปฏิรูป ตามใจชอบ เมื่อสร้างขึ้นแล้ว เจ้าของเลิกราไป ผู้อื่นก็เข้ามาพักปฏิบัติ แทนสลับกันไปอย่างนี้
    เมื่ออาตมากลับถึงวัด หลวงพ่ออาจารย์กับท่านมหามีความยินดี มาก เพราะท่านหวังว่าอาตมาจะมาช่วยกันอีกแรงหนึ่ง ญาติโยมที่มา จากที่อื่นในระยะหลังๆ ไม่มีใครรู้จักอาตมาเลย แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสาคัญ คุณวิเศษที่มีอยู่ในตนต่างหาก ที่จะช่วยเขาได้
    พระหนุ่มบวชได้ ๕ พรรษา แต่แรกก็ไม่มีใครศรัทธา เพราะเขา เห็นแต่ร่างกาย แต่จิตนั้นเขาเห็นไม่ได้ จะประภัสสรเพียงใดเขาก็ไม่รู้
    เมื่อเริ่มต้นการสอนครั้งแรก อาตมาจึงจาเป็นต้องแสดงให้เขารู้ว่า ใครคิดอะไรอยู่ ทั้งที่เกี่ยวกับตัวเขาเอง หรือตัวอาตมา สร้างความแปลกใจ ให้โยมไปตามๆกัน บางทีก็ทักไปถึงทางบ้าน ที่โยมกาลังเป็นห่วงอยู่
    “โยมมาวัดทาไม ลูกสาวคนโตกาลังป่วยอยู่ มาแล้วก็มีความห่วง กังวล ทาจิตให้สงบไม่ได้”
    โยมถามว่า “ท่านรู้ได้อย่างไรคะว่า ลูกสาวกาลังป่วย”
    “รู้อย่างไรก็ช่างเถอะ แต่อยากจะเตือนว่า ไม่ต้องวิตกกังวล ทาจิต ให้สงบ ปล่อยวางความห่วงใยให้หมด เวลานี้ลูกสาวโยมหายป่วยแล้ว”
    “จะเป็นไปได้อย่างไรเจ้าคะ เขาป่วยมาเป็นปี รักษาเท่าไรก็ ไม่ดีขึ้น หมอที่มารักษานั้นนับไม่ถ้วนแล้วเจ้าค่ะ”
    “นั่นแหละหายแล้ว กลับไปนี้ โยมไปทาสังฆทาน อุทิศส่วน บุญกุศลให้เจ้าเวรนายกรรมเขาเสีย คนเรายังไม่ถึงเวลาตาย ถึงเวลา จะหายมันก็หายเอง ถ้าโยมอยากรู้ว่าลูกสาวหายอย่างไร ก็ไปถามลูก สาวดู”
    วันต่อมา โยมท่านนั้นมาพร้อมด้วยลูกสาว พอเห็นอาตมาเข้า ก็ตรงเข้ามากราบ พูดว่า
    “หากไม่ได้อาจารย์ไปช่วยรักษา ลูกคงนอนซมอยู่อย่างนั้น”
    แล้วหันไปบอกมารดาว่า
    “อาจารย์รูปนี้แหละค่ะ ท่านไปรักษาลูกที่บ้าน”
    ทุกคนในที่นั้น ต่างแปลกใจไปตามๆกัน บางคนซักว่า
    “ท่านไปรักษาแม่หนูตั้งแต่เมื่อไร”
    “เมื่อวานตอนบ่ายๆแหละจ้ะ”
    “เอ๊ะ…เมื่อวานตอนบ่าย ท่านก็อยู่ที่นี่ จะไปรักษาได้อย่างไรกัน”
    “ฉันก็ไม่ทราบเหมือนกัน ที่ทราบก็คือท่านไปรักษาฉันจริงๆ จาท่านได้แม่นยา พอมาเห็นก็จาได้”
    “ท่านไปรักษาอย่างไร”
    “ฉันกาลังนอนลืมตาอยู่บนเตียง อยู่ๆ ท่านก็มายืนอยู่ หลับตา พนมมือ พูดอะไรปากขมุบขมิบอยู่พักหนึ่ง แล้วท่านก็ใช้มือโบกจาก ศีรษะไปหาเท้าสามครั้ง ฉันก็รู้สึกว่าตัวเบาสบาย เหมือนไม่เป็นอะไร ปกติทุกอย่าง อย่างที่เห็นนี่แหละ”
    ตั้งแต่นั้น ญาติโยมที่มาปฏิบัติก็พากันศรัทธาเชื่อถือ จะแนะนา สั่งสอนอะไร ก็ตั้งใจปฏิบัติตาม แต่อาตมาก็ต้องช่วยเหลือชาวบ้าน ทั้งใกล้และไกลมากขึ้น ด้วยกิตติศัพท์มันแพร่กระจายออกไป
    สาหรับการช่วยสงเคราะห์ความป่วยเจ็บของชาวบ้านนั้น ก็ไม่มี การให้คนป่วยมารักษากันที่วัด เพราะดูเป็นการเอิกเกริก หรือรบกวน ผู้ที่กาลังปฏิบัติอยู่ เพียงให้ญาติพี่น้อง เขามาแจ้งสถานที่อยู่ให้ทราบ และโรคที่เป็นอยู่เท่านั้น เมื่อตรวจดูทางจิตแล้ว เห็นว่าเขามีทางจะหายได้ ก็ส่งจิตไปช่วยรักษาให้ ส่วนที่ไม่มีทางจะหาย ถึงเวลาหมดอายุแล้ว ก็จะบอกไปตามที่มองเห็น
    บางรายเข้าเวรนายกรรมเขากาลังมาทวงถาม ขืนไปรักษา เขาก็จะ ต่อว่า หาว่าขัดขวางทางกรรมที่เขาจะได้รับการชดใช้ ในกรณีเช่นนี้ ก็ต้อง ถามความพอใจของเจ้าเวรนายกรรมดูก่อนว่า ถ้าจะทาสังฆทานอุทิศ กุศลให้เขาได้ไปผุดไปเกิด เขาจะยอมอโหสิกรรมให้หรือไม่ เพราะการ จองเวรจองกรรมกันอยู่เช่นนี้ ไม่มีทางที่จะหมดเวรหมดกรรม จะต้อง ผลัดกันรับผลกรรม อีกร้อยชาติพันชาติ ถ้าเขาไม่ยอม ก็ไม่มีทางจะ ช่วยกันได้ นอกจากให้คนไข้อโหสิกรรมเจ้าเวรนายกรรมให้หมด จะได้ดับ ชีวิตลงโดยไม่ยึดติดอาฆาตมาดร้ายกันต่อไป แต่ส่วนมากเขาก็ยอม เมื่อ เขายอม คนไข้ก็หายวันหายคืน ไม่ต้องรักษาอะไรกันมาก
    บางคนป่วยเพราะธาตุในกาย ขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ใช้พลัง จิต เสริมธาตุที่ขาดให้สมบูรณ์สม่าเสมอกับธาตุอื่น เขาก็จะหายเป็นปกติ ในไม่ช้า พลังจิตที่ว่านี้ ได้อาศัยกสิณเข้าช่วย ขาดธาตุใดก็เสริมธาตุนั้น เขาก็จะหายเจ็บป่วย
    แต่มีข้อแม้ว่า เมื่อหายแล้วเขาจะต้องมาฝึกทาสมาธิอย่างน้อย ๗ วัน ครั้นมาฝึกแล้ว ส่วนมากเขาก็จะยินดีปฏิบัติต่อไป เพราะได้รู้รสแห่ง ความสงบ ได้รู้ความจริงของชีวิตที่ต้องเจ็บป่วย ก็เนื่องจากกรรมที่ได้ กระทามาในอดีต หรือความไม่เที่ยงแห่งสังขาร ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้อง แก่ ต้องเจ็บเป็นธรรมดา ความตายจะมาถึงเมื่อไร ไม่อาจรู้ได้ จึงควรอยู่ ในความไม่ประมาท รีบสร้างสมแต่ความดี มีการให้ทาน รักษาศีล ทาสมาธิ อันจะทาให้เกิดปัญญา มองเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็น สิ่งที่จะต้องเกิดต้องมี แก่ทุกผู้ทุกนาม
    บางทีเขาไม่ได้มารักษา ใช้ดวงตามองไปเห็นว่า เขาพอจะมีชีวิต ทาคุณงามความดีต่อไปได้ ก็จะไปช่วยรักษาให้ หายแล้วเขาก็จะตามมา หาจนถึงวัด
    ทั้งหมดที่อาตมาได้สงเคราะห์ชาวบ้าน ทั้งที่อยู่ใกล้และไกล ล้วน กระทาไปด้วยจิตเมตตาอย่างเดียว ไม่มีสินจ้างรางวัล หรือเรียกร้องค่าครู ค่ารักษาใดๆ ทั้งสิ้น บางคนที่เขามีฐานะดี หายเจ็บป่วยแล้ว ก็เอาเงิน ทองข้าวของมาถวายเป็นอันมาก แต่อาตมาก็ไม่รับ เพราะไม่มีความจาเป็น ที่ต้องรับหรือต้องใช้ อาหารบิณฑบาตไปรับมาแล้ว ก็ฉันหนเดียว ยังเหลือเสียอีก อย่างวันพระก็เหลือมาก จึงเอาของเหลือจากพระเณร รูปอื่นๆ มารวมกัน ยกไปให้เด็กๆ ที่โรงเรียน
    หากมีใครจะทาบุญจริงๆ ก็ให้เอาไปบริจาคสร้างโบสถ์ สร้างศาลา สร้างกุฏิ ทาสังฆทานอุทิศให้เจ้าเวรนายกรรม และเป็นบุญสะสมของ ตนเอง จึงมีผู้ศรัทธาเอาปัจจัยมาช่วยวัดมากขึ้น และถ้ามีเหลือ ก็แบ่ง เอาไปช่วยวัดอื่นๆที่ขัดสนบ้าง โดยเฉพาะอาหารแห้ง อาหารกระป๋อง ข้าวสาร มีมากจนไม่รู้จะเอาไปไหนหมด ก็ได้เจือจานแบ่งปันไปทาง วัดที่กันดาร
    อาจารย์เจ้าอาวาสและภิกษุสามเณร ที่ได้รับการแบ่งปัน ท่านก็มา คิดว่า ทาไมวัดที่อาตมาอยู่ จึงมีผู้มาทาบุญมากมาย ส่วนวัดของตน กลับไม่มีใครสนใจ ทั้งที่เป็นวัดในพระพุทธศาสนาอย่างเดียวกัน บางวัน อาหารบิณฑบาต ก็ไม่พอขบฉัน พระเณรที่ทนลาบากไม่ไหว ถ้าไม่สึก หาลาเพศไป ก็จะต้องหาทางไปอยู่วัดอื่นที่ดีกว่า
    ปัญหานี้ มักจะเกิดขึ้นกับวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรไทย ทาให้ พระธรรมคาสอนของพระพุทธเจ้า ไม่กระจายออกไปสู่พุทธบริษัทอย่าง ทั่วถึง วัดไหนมีพระดี สร้างศรัทธาให้ประชาชนได้ พุทธบริษัทก็จะ ไปรวมอยู่ด้วยเป็นกระจุก วัดไหนไม่มีพระดีที่จะสร้างศรัทธาแก่ประชาชน ก็ได้แต่เป็นหลวงตาเฝ้าวัดไปตามๆกัน และมีอยู่เป็นส่วนมากเสียด้วย
    คาว่าพระดีนั้น บางทีก็ดีไม่จริง ดีอย่างปลอมๆ กลายเป็นนักธุรกิจ หาเงินเข้าวัดบ้าง เข้าตัวเองบ้าง ร่ารวยจนต้องสึกหรือให้เขาจับสึกไปก็มี พระที่เป็นพระแต่ผ้าเหลืองเครื่องหมาย แต่ไม่ประพฤติปฏิบัติอยู่ในพระ ธรรมวินัย แอบอ้างผ้าเหลืองหากิน ก็มีอยู่เป็นอันมาก ทาให้ศาสนา เสื่อม ทาให้ประชาชนท้อแท้ ไม่ยอมเข้าวัด เป็นอุปสรรคขัดขวางการ สร้างสมคุณความดีของเขา
    สภาพความจริงดังกล่าวนี้ เป็นปัญหาใหญ่สาหรับพุทธศาสนา ถึงจะมีผู้รู้มองเห็นกันมาก ก็ไม่ทาให้ผู้มีหน้าที่ หาทางแก้ไขอย่าง จริงจัง กลับพากันเห็นเป็นเรื่องธรรมดาไป การเกิด การตาย และสิ่ง ที่ปรุงแต่งสมมติกันขึ้นทั้งนั้น แท้จริงก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่ออยู่กับ ชาวโลก อยู่ในแวดวงพระพุทธศาสนา ซึ่งมีคาสอนเป็นสัจธรรม เป็น ที่ยอมรับของผู้มีปัญญา และนับวันจะพากันยอมรับออกไปทั่วโลก ผู้ มีหน้าที่ก็จาเป็นจะต้องรู้จักแยกแยะความดีความชั่ว ว่าชอบด้วยธรรม วินัยหรือไม่ และควรจะรักษาสัจธรรมนั้นไว้อย่างไร จึงจะงดงามอยู่ใน จิตใจของสาธุชน
    จริงอยู่สัจธรรมคาสอนของพระพุทธเจ้า เป็นของเกิดขึ้นมีอยู่ ไม่ว่าใครจะทาอย่างไร สัจธรรมก็คงเป็นอยู่เช่นนั้นตลอดไป แต่การเข้า ถึงนี้ซิ มหาชนจะเข้าถึงสัจธรรมได้หรือไม่
    สังคมชาวโลกของเรา แม้จะเจริญรุ่งเรืองทางวัตถุ จนเกินความ จาเป็น ก็จะอยู่ด้วยวัตถุอย่างเดียวไม่ได้ เพราะมนุษย์ชาวโลกยังมีความ คิดจิตใจ ที่จะต้องพึ่งพิงอาศัยอยู่ ความคิดจิตใจดังกล่าวนี้ แยกแยะออก ได้เป็นสองฝ่าย คือฝ่ายสร้างและฝ่ายทาลาย
    ฝ่ายสร้าง ก็คือคุณงามความดี ความมีสามัคคีเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน เป็นสัจธรรมฝ่ายสัมมาทิฐิที่จะทาให้สังคมชาวโลก อยู่ กันได้ด้วยความสงบสุข
    ส่วน ฝ่ายทาลาย นั้น ก็คือความชั่วร้าย ความคิดเบียดเบียน แย่งชิงผลประโยชน์ ฆ่าฟันกัน เป็นการตัดสินกันขั้นสุดท้าย ก็เป็น สัจธรรมเหมือนกัน ที่เป็นฝ่ายมิจฉาทิฐิ หรือพูดง่ายๆ ก็คือความดี กับความชั่ว
    เจ้าความดีกับความชั่วนี้ ในโลกมนุษย์เรามันก็มีอยู่ทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับว่า อย่างไหนจะมีมากกว่ากัน เวลานี้โลกสงบสุขก็เพราะมี ความดี อยู่มากกว่าความชั่ว เมื่อใดความชั่วมากกว่าความดี โลกก็จะ สงบอยู่ไม่ได้ มนุษย์ก็จะฆ่าฟันทาลายกัน จนเกิดกลียุคด้วยอานาจของ กิเลสตัณหา โลภะ โทสะ โมหะ
    พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า ความชั่วไม่ทาเสียเลยดีกว่า หรือถ้า มันมีอยู่ ก็ต้องคอยชาระล้างขจัดปัดเป่า ให้มันเบาบางหรือหมดไป ด้วย การรักษาศีล บาเพ็ญภาวนาสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ในการดาเนินชีวิตของคนเรา เมื่อละความชั่ว ก็ต้องไปทาความดี รักษา ความดีให้มากขึ้น เพื่อให้โลกร่มเย็นสงบสุข
    ด้วยเหตุนี้ สัจธรรมที่เป็นฝ่ายสัมมาทิฐิ จึงจะเป็นที่เราจะต้องระวัง รักษา ป้องกันไม่ให้ความชั่วเข้ามาทาให้เสียหาย ทาลายความเชื่อหรือ ศรัทธาของผู้ที่จะทาความดีให้ย่อยยับไป เพราะการทาความดี ต้อง อาศัยศรัทธาเป็นพื้นฐาน ศรัทธาในสิ่งที่ถูกที่ควร ศรัทธาในข้อวัตรปฏิบัติ ที่จะทาให้จิตใจตั้งอยู่ในความดี และศรัทธาเมื่อปฏิบัติตามแล้ว จะเป็น ประโยชน์สุขแก่ตน
    การที่มนุษย์สังคม จะทาความดีโดยอาศัยศรัทธาเป็นพื้นฐานเช่นนี้ ผู้มีหน้าที่จึงจาเป็นจะต้องหาทางแก้ไข อย่าให้วัดสักแต่เป็นวัด อย่าให้ พระสักแต่ว่าเป็นพระ ภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา ของพระบรม ศาสดา จะต้องรักษาศรัทธาของพระชาชนเอาไว้ ด้วยการปฏิบัติอยู่ใน ธรรมวินัย มีศีล สมาธิ ปัญญา ให้มหาชนศรัทธาอย่างทั่วถึง
    อาตมาพูดอย่างตรงๆ เพื่อให้เอาไปคิด อันที่จริงพระตามชนบท ห่างไกลความเจริญ ท่านก็มาจากชาวไร่ชาวนา พื้นฐานความรู้ก็ไม่มาก ไปกว่าชาวไร่ชาวนาเท่าใดนัก แม้ท่านจะศรัทธาเข้ามาบวชในพระ ศาสนา แต่โอกาสที่จะหาความรู้ในทางปฏิบัตินั้นยังมีน้อยอยู่ ท่านจึง ไม่สามารถจะปฏิบัติถูกต้องได้ นอกจากทาไปตามประเพณีที่เขานิยมกัน ประเพณีบางอย่างไม่ชอบด้วยธรรมวินัย แต่เขานิยมมาเก่าก่อน อย่าง พระเณรทางเหนือ ฉันข้าวเย็นได้ ซ้าร้ายถึงกับไปร่วมสารับกับโยมที่ บ้าน โยมเองตอนบวชก็ประพฤติเช่นนี้ จึงพากันคิดว่าไม่ผิด เพราะ สมัยปู่ก็ทากันมาอย่างนี้ ท่านยังหาว่าพระที่ไม่ฉันข้าวเย็นเป็นบาป เพราะทรมานตนเองให้เกิดทุกข์
    เมื่อมีปัญหาเช่นนี้ หลวงพ่ออาจารย์ ท่านมหาจาเริญ และอาตมาจึง มาปรึกษากันว่า ควรจะทาอย่างไร ก็เห็นว่าจะเริ่มต้นกับวัดที่อยู่ใกล้ๆ ก่อน โดยเฉพาะวัดในเขตตาบล ที่หลวงพ่ออาจารย์เป็นเจ้าคณะตาบล อยู่ ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๐ กว่าวัด ตามปกติก็มีภิกษุสามเณรในเขตตาบล มาเรียนนักธรรมบาลีกันอยู่แล้ว แต่ความสาคัญ ขึ้นอยู่กับเจ้าวัดซึ่งเป็น ประธานสงฆ์ เป็นผู้นาของชาววัดและชาวบ้าน จะต้องเป็นแบบฉบับ ให้ได้เสียก่อน
    ความคิดในการปฏิบัติ ในศีล สมาธิ ปัญญา ได้แพร่ออกไปบ้าง แล้ว ภิกษุสามเณรที่มาเรียนนักธรรมบาลี ก็ได้มีชั่วโมงให้ปฏิบัติกรรมฐาน อยู่ด้วย ญาติโยมในตาบลก็สนใจที่จะปฏิบัติกันตามโอกาสที่เขามี ถ้าสมภารเจ้าวัดไม่คิดปฏิบัติเสียบ้าง ต่อไปก็จะไม่มีใครเข้าวัด หมดความ เลื่อมใส ท่านจะอยู่ได้อย่างไร
    เมื่อเห็นกันเช่นนี้ หลวงพ่ออาจารย์ในฐานะเจ้าคณะตาบล จึง นิมนต์เจ้าอาวาสซึ่งอยู่ในเขตตาบลของท่าน มาชี้แจงทาความเข้าใจ
     
  20. กิตฺติคุโณ

    กิตฺติคุโณ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2008
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +61
    บทที่20 เปิดประตูนรก

    เคยมีท่านเจ้าอาวาสหลายแห่ง ได้มาถามข้อสงสัยในความแตกต่าง ระหว่างวัดของท่าน กับวัดที่อาตมาอยู่ ก็ได้ให้ข้อคิดไปว่า การที่วัดของ ท่านขัดสนกันดาร ไม่ค่อยมีผู้สนใจเข้าไปทำบุญให้ทาน ทั้งที่เป็นวัด เหมือนกัน มีภิกษุสามเณรอยู่เช่นกัน สาเหตุก็ขึ้นอยู่กับตัวท่าน และ ภิกษุสามเณรเอง มักจะย่อหย่อนในธรรมวินัย ไม่ยึดถือศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลักปฏิบัติ อยู่กันแบบหลวงตาเฝ้าวัด จึงไม่ทำให้ชาวบ้านเขาเกิด ศรัทธาเลื่อมใส พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า ธรรมย่อมรักษาคุ้มครอง ผู้ปฏิบัติธรรม สาวกของพระตถาคต เมื่อปฏิบัติธรรมอยู่ ย่อมไม่ประสบ ความอดอยาก ดังนั้นทางที่ถูกที่ควร จึงต้องพากันปฏิบัติธรรม พระธรรม ก็จะเลี้ยงดูเรา
    ตอนแรกหลวงพ่ออาจารย์ได้กล่าวว่า
    “การเป็นสมณะเพียงการอุปสมบท นุ่งเหลืองห่มเหลือง ท่องเจ็ด ตำนาน สิบสองตำนานได้ ให้ศีล อ่านใบลานแล้วเทศน์ให้โยมเขาฟัง จะได้ ชื่อว่าเป็นสมณะก็หาไม่ จะต้องปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เคร่งครัดอยู่ใน พระธรรมวินัยด้วย ต้องรู้จักรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ต้องเจริญสมาธิให้ จิตตั้งมั่น มีสติ เพื่อเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในธรรมด้วย จึงจะได้ชื่อ ว่าเป็นสมณะ เป็นเนื้อนาบุญของชาวบ้านอย่างแท้จริง
    การอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานั้น อย่าคิดว่าบวชตาม ประเพณี จะได้บุญ ได้ขึ้นสวรรค์เพียงเท่านั้น ถ้าบวชแล้วมิได้ปฏิบัติ ตามธรรมวินัย มิได้เจริญสมาธิเพื่อแสวงหาความหลุดพ้นจากกองทุกข์ ก็เท่ากับเราอยู่ในความประมาท มีโอกาสจะลงนรกได้ง่ายนัก ศีล ๕ ที่ท่านเคยให้ชาวบ้านสมาทานนั้น ถ้าเราทำผิดเสียเอง ละเมิดเสียเอง จะเป็นบาปสักแค่ไหน ขอให้รู้ว่า บุญบาปมีจริง นรกสวรรค์มีจริง ทำ กรรมสิ่งใดไว้ ย่อมจะได้รับผลของกรรมนั้น พระพุทธศาสนาของเรา ถือกรรมเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไม่มีการกระทำ ก็จะไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น
    การเทศน์ธรรมให้ชาวบ้านฟัง หรือตามที่เขานิมนต์ไป ท่านถือว่า เป็นการให้ธรรมเป็นทาน สืบต่อพระประสงค์ของพระบรมศาสดา ท่านจึง ใช้คำว่าโปรดสัตว์ ช่วยผู้อื่นให้เห็นความจริง ไม่มัวเมาอยู่ในกิเลสตัณหา เมื่อโปรดสัตว์ก็ไปหวังผลอะไรไม่ได้ ใครไปหวังโลภอยากได้ เครื่อง กัณฑ์บูชาธรรมของเขา ก็เป็นบาปถึงตกนรก ไปได้รับทุกข์ทรมานแสน สาหัส ท่านเชื่อไหมว่านรกสวรรค์มีจริง”
    หลวงพ่ออาจารย์เงียบไปพักหนึ่ง แล้วหันมาทางอาตมาบอกว่า
    “คุณช่วยเปิดนรก ให้ท่านอาจารย์ทั้งหลายเห็นหน่อยซิ เอา แค่พระเทศน์เพื่อหวังลาภ จะได้รับผลอย่างไรก็พอ”
    เจ้าอาวาสทุกวัดหันมามองอาตมาด้วยความสงสัย ไม่รู้ว่าจะเปิด นรกอย่างไร จึงได้เรียนกับท่านว่า
    “พระคุณเจ้า…นิมนต์นั่งในท่าสมาธิ หลับตาลง ทำจิตให้สงบ อย่านึกอย่าคิดอะไรทั้งสิ้น ประเดี๋ยวผมจะเปิดนรกให้ดู”
    พระคุณเจ้าทั้งหมด พากันกระทำตาม เมื่อพิจารณาวารจิตของ แต่ละรูปว่า จิตสงบดีแล้ว อาตมาก็เริ่มเปิดนรก ทำให้มโนภาพของ พระคุณเจ้าเหล่านั้น เป็นภาพขึ้น
    แดนนรกนั้น เป็นสถานที่อันกว้างใหญ่ มองไปทางไหน ก็เห็นแต่ เปลวไฟ แลบเลียอยู่ทั่วไป จนรู้ได้ถึงความร้อนแรงกว่าไฟใดๆ ที่มีอยู่ ในมนุษย์โลกนี้ ควันไฟกระจายไปทั่ว ประดุจหมอกดำและขาวปกคลุม ออกไปเป็นระยะไกล ไม่สามารถจะมองเห็นได้ทั่วถึง นอกจากจะเข้าไป ใกล้ๆ
    ทันใดนั้น ก็เกิดภาพที่ชัดเจนปรากฏเฉพาะหน้า เป็นภาพภิกษุ รูปหนึ่งครองจีวรเรียบร้อย ท่าทางสำรวม นั่งอยู่บนธรรมาสน์ปิดทอง ประดับด้วยกระจกสีต่างๆ แวววาวน่าเลื่อมใส ในมือทั้งสองประคอง ใบลานเทศน์ อยู่ในระดับหน้าอก ปากก็เทศน์ส่งเสียงก้องกังวาน
    เพียงชั่วขณะหนึ่ง กลับมีไฟติดพรึ่บขึ้นที่ใบลานธรรม ไหม้จน ใบลานธรรมมอดลง แล้วลุกลามไปที่ปาก ที่ตัว ไฟยิ่งลุกโพลงขึ้นจนท่วม แล้วร่างภิกษุนักเทศน์ก็ไหม้ดำ กลายเป็นขี้เถ้ากองหนึ่ง เป็นที่น่าสังเวช สลดใจยิ่งนัก
    สักพักหนึ่งกองขี้เถ้า ก็กลับเป็นรูปร่างอย่างเดิมขึ้นมาใหม่ แล้วไฟ ก็ติดใบลานอีก เป็นเช่นนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า นับเป็นหมื่นครั้ง ทุกข์ ทรมานสาหัสเพราะไฟลวกเผาให้ปวดแสบ เพราะความโลภในเครื่อง กัณฑ์เทศน์ คิดแต่จะให้เขาถวายปัจจัยมากๆ พยายามเทศน์ให้ถูก ใจคนฟัง
    เพียงความโลภอยากได้กัณฑ์เทศน์ มีผลเห็นปานนี้ ก็ที่พวกอ้าง ว่าเป็นอุบาสกอุบาสิกา พากันกระทำผิดคิดมิชอบ เช่น ยักยอกเอาเงิน ที่เขาอุทิศถวาย สร้างโบสถ์ศาลาไปใช้ส่วนตัว หยิบฉวยเอาของวัดที่ไม่ ได้รับอนุญาต และอีกมากมาย จะได้รับผลกรรมสักเพียงไหน
    พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า “ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า”
    ก็ด้วยเหตุนี้ ผลบาปนี้มันน่าสะพรึงกลัวสยดสยองจริงหนอ เรามา บวชแล้ว กินของอันชาวบ้านเขาถวาย หมายจะส่งเสริมให้มีโอกาสปฏิบัติ ดีปฏิบัติชอบ เพื่อเป็นเนื้อนาบุญของเขาแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติ จะบาปกรรม สักแค่ไหน เราเป็นผู้ประมาทโดยแท้ ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะทรงเมตตา ก็ คงช่วยเราไม่ได้ เพราะเราไม่ช่วยตัวเอง
    “พระคุณเจ้า ออกจากสมาธิลืมตาได้แล้ว”
    อาตมาบอกด้วยเสียงเรียบๆ อ่อนโยน พร้อมกันนั้นหลวงพ่ออาจารย์ ได้ถามขึ้นว่า
    “พระคุณเจ้า…รู้สึกอย่างไรบ้าง นรกมีจริงไหม นี่เป็นเพียงเปิด ทางให้เห็นเป็นส่วนน้อยเท่านั้น ถ้าท่านพากเพียรปฏิบัติกรรมฐาน ด้วยตนเอง ก็จะเห็นด้วยตนเองชัดเจนยิ่งกว่านี้”
    ท่านเจ้าอาวาสทุกรูปต่างพร้อมใจกันลุกขึ้นนั่งคุกเข่า กราบหลวงพ่อ อาจารย์ แล้วหันมาพร้อมกับพนมมือให้อาตมา พูดเหมือนนัดกันว่า
    “ต่อไปนี้ กระผมจะขอปฏิบัติพระกรรมฐาน ตั้งมั่นอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา อย่างเคร่งครัด กินข้าวสุกชาวบ้านเปล่าๆ มานานแล้ว บาป คงจะเกาะอยู่เต็มตัว ของหลวงพ่อและท่านอาจารย์ จงสั่งสอนให้พระ กรรมฐานแก่กระผมด้วย”
    เป็นอันว่า เจ้าอาวาสทุกวัดภายในตำบล ได้พากันหันมาปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ฝึกสมาธิกันจริงจัง ตามความคิดที่ได้คิดกันไว้ อันการปฏิบัติ ธรรมนี้ ไม่เหมือนวิชาความรู้ที่กำหนดเป็นชั้น เป็นเวลา ชั้นประถมจะ สำเร็จในกี่ปี มัธยมจะสำเร็จในกี่ปี มหาวิทยาลัยจะสำเร็จในกี่ปี จะได้ รับประกาศนียบัตรหรือปริญญา แสดงว่าเรียนจบแล้ว
    การปฏิบัติธรรมย่อมขึ้นอยู่กับความเพียรพยายาม ความมานะ อดทน และวาสนาบารมีที่สร้างสมมาในอดีตชาติ หรือสร้างขึ้นใหม่ใน ปัจจุบันชาติ บางท่านปฏิบัติวันเดียว หรือ ๗ วัน ๗ ปีจึงสำเร็จ แต่ที่ แน่นอน เมื่อปฏิบัติไปโดยติดต่อสืบเนื่อง กล้าเสียสละแม้แต่ชีวิต จะเป็น จะตายก็ไม่ย่อท้อ ไม่เสียดายอาลัยในชีวิต จะช้าหรือเร็วก็ต้องบรรลุผล แน่นอน
    พระพุทธเจ้าของเรา ท่านทรงสร้างสมบารมีมาไม่รู้กี่ร้อยกี่พันชาติ แม้ในชาติสุดท้าย จะได้ตรัสรู้สัมโพธิญาณ ก็ต้องใช้เวลาถึง ๖ ปี ยากที่ ใครจะทำได้ และไม่มีใครทำมาก่อนเลย แล้วเราจะมาเหยาะแหยะ ไม่เอา จริง จะสำเร็จได้อย่างไร
    และเมื่อสำเร็จแล้ว ก็รู้ได้เฉพาะตน จะมาเอายศ เอาเกียรติ เอา โด่งดังก็ไม่ได้อย่างชาวโลก ถ้าเรามีเมตตาปรารถนาจะช่วยเพื่อนร่วมโลก ที่อยู่ในกองทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกัน ก็เพียงแต่เอาคำสั่งสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงกล่าวไง้ดีแล้ว และเราได้รู้เห็น มาบอก แก่ชาวโลกเท่านั้น
    คำสอนนั้นเป็นแต่วิธีการปฏิบัติเพื่อถึงความพ้นทุกข์ ส่วนใครจะ เชื่อถือปฏิบัติตามหรือไม่ ก็สุดแต่ตัวเขา เราไม่มีอำนาจใดๆ จะไป บังคับหรือหยิบยื่นผลการปฏิบัติให้แก่เขาได้ การขยายเผยแพร่ธรรมปฏิบัติ จึงต้องการเวลา
    ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะแห่งอัตตะโน นาโถ คือ ต้อง พึ่งตนของตนเอง ช่วยตัวเอง ไม่มีพระเจ้าองค์ใดจะช่วยได้ ไม่ว่าจะจุด ธูปเทียนถวายดอกไม้สักการะจนเสียงแหบแห้ง หรือหัวใจจะแตกสลาย จนสายเลือดแทบจะนองแผ่นดิน
    ท่านทั้งหลายเอ๋ย…ขึ้นชื่อว่าทุกข์นั้น บางทีเราก็มองไม่เห็นว่าเป็น ทุกข์ จงพิจารณาการดำเนินชีวิตของตน ให้เห็นเสียก่อนว่า มันเป็น ทุกข์อย่างไร น่าเหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่ายแค่ไหน ทรมานจิตใจเพียงใด
    แม้เห็นแล้ว เรามองว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา ทนต่อทุกข์นั้นได้ เราก็คงจะ ขวนขวายที่จะหาทางขจัดทุกข์ หรือหนีทุกข์ให้พ้นได้ เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันครอบงำให้เห็นเป็นเช่นนั้น
    ดังนั้นจะต้องทำจิตให้สงบ ตั้งมั่น ทำจิตให้ว่างเปล่า ให้อยู่เหนือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน ขันธ์ ๕ ให้ได้เสียก่อน นั่นแหละ จึงจะเห็น ว่า กองทุกข์นั้นใหญ่เท่าภูเขาหลวง เราจะกวาดมันออกไปได้อย่างไร?
    การเปิดนรกสวรรค์ ทำให้พระคุณเจ้าของวัดต่างๆ ในตำบล ได้ ตระหนักถึงผลบุญผลบาป แล้วน้อมนำให้ท่านเหล่านั้นหันมาปฏิบัติธรรม สมาธิอย่างจริงใจ
    วิธีนี้อาตมาจึงเห็นว่า น่าจะเป็นวิธีที่จะเผยแพร่กับคนที่ยังมีจิต หยาบ ไม่เชื่อถือ ให้เขาเชื่อถือได้ อาตมาจึงได้นำมาใช้กับคนอื่นๆ ตามความเหมาะสม
    ดังนั้นเมื่อจะชักจูงจิตใจให้เขาเป็นผลแห่งคุณความดี ยินดีในทาน ในศีล ก็ให้เขาได้เห็นภาพสวรรค์วิมาน เทพยดานางฟ้าที่ได้ไปเสวยสุข เพราะเหตุนั้นๆ
    แต่เมื่อจะทรมานคนที่มีจิตใจหยาบ ไม่เชื่อถือพระพุทธศาสนา ถือว่า เป็นมิจฉาทิฐิ เห็นว่าทำบุญแล้วไม่ได้บุญ ทำบาปก็ไม่เกิดผล ตายแล้ว ไม่ไปเกิดอีก ก็จะแสดงนรกให้เขาเห็นผลกรรมที่เขาได้กระทำขึ้น ก็จะ ได้รับผลดีตามสมควร
    ที่ว่าตามสมควรนั้น ก็เพราะว่าในชาติก่อน บางคนไม่ได้สะสมบุญ วาสนามาเลย เป็นสัตว์นรกเพิ่งพ้นโทษมาเกิดใหม่เป็นมนุษย์ในชาตินี้ จิตยังมืดมน ไม่รู้ถูกรู้ผิด ถึงจะแนะนำอย่างไร เขาก็ไม่ยอมรับความเชื่อ เรื่องบุญบาปได้โดยง่าย
    ทั้งนี้ก็เหมือนเรือที่สร้างด้วยไม้ เอาเกลือบรรทุกไปจนเต็มลำ ไม้ก็ ไม่รู้จักว่ารสเกลือเป็นอย่างไร เป็นพวกมามืดไปมืด เป็นดอกบัวที่อยู่ใน โคลนตม นับแต่จะเป็นเหยื่อของเต่า ปู ปลา อย่างเดียว
    บางคนพ้นโทษทุกข์จากนรก จากในอดีตชาติมาแล้ว มีบุญหนุน ส่งอยู่บ้าง ก็พอรู้ดีรู้ชั่ว แบบหลับๆ ตื่นๆ พอจะสอดแทรกความผิดถูก เข้าไปได้บ้าง
    บางคนมีวาสนาบารมีทำไว้จากอดีตชาติดีพอสมควร แต่ยังไม่เต็ม เปี่ยม เพียงสะกิดให้รู้ก็ยินดีในการปฏิบัติ
    บางคนไม่ต้องมีใครสะกิดให้รู้ แต่เมื่อถึงเวลา เขาก็เข้าหาธรรม ปฏิบิติได้เอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...