ความมหัศจรรย์ฺของ "พระอรหันต์กลางกรุง" พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ลูกพ่อลิงดำ, 9 มกราคม 2009.

  1. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558

    [​IMG]

    เรื่องโครงกระดูกในกุฏิท่านเจ้าคุณนรฯ

    เมื่อผมเป็นนักเรียนแพทย์ ผมได้ถูกชักชวนโดยอาจารย์ของผมสองท่านคือ ศาสตราจารย์คองดอน และท่านขุนกายวิภาควิศาล ให้สมัครทำงานเป็นนักเรียนผู้ช่วยในวิชานี้พร้อมกับเรียนแพทย์ไปด้วย ผมตกลงเพราะเกิดชอบในวิชานี้อยู่บ้างในการเป็นนักเรียนผู้ช่วยนั้น นอกจากช่วยสอนบ้างเล็กน้อยแล้ว งานส่วนใหญ่หนักไปทางเทคนิคเพื่อตระเตรียมเครื่องใช้ในการสอน สมัยนั้นโครงกระดูกที่นำมาใช้สอนต้องสั่งจากต่างประเทศ เป็นราคาค่อนข้างแพงและไม่ได้กระดูกเหมาะตามความประสงค์ เพราะเป็นกระดูกชาวต่างประเทศ และกระดูกที่ส่งมาก็มีบางส่วนชำรุด
    ศาสตราจารย์คองดอนจึงให้ผมลองประกอบโครงกระดูกขึ้นใช้เอง นับเป็นการฝึกฝนที่ผมพึ่งมารู้สึกเป็นประโยชน์ในภายหลังสองประการ หนึ่งช่วยให้ผมจำต้องศึกษาโครงกระดูกที่จะประกอบละเอียดถี่ถ้วนขึ้น ทำให้ผมมีความรู้ในเรื่องโครงกระดูกดีขึ้นกว่าเดิม สองทำให้ผมรู้จักใช้มือหัดเจาะ ร้อยโครงกระดูกเหล่านั้น และช่วยให้ผมรู้จักช่วยตัวเองไม่ให้ต้องพึ่งของจากต่างประเทศ
    ผมจำไม่ได้ว่าผมได้ใช้เวลาเท่าใดเกี่ยวกับเรื่องประกอบโครงกระดูก แต่จำได้ว่าผมประกอบไม่สำเร็จ เสร็จแต่เพียงกระดูกแขนขา หาวัตถุมาประกอบเป็นกระดูกอ่อนซี่โครงไม่สำเร็จ พอดีหมดกำหนดการเป็นนักเรียนผู้ช่วย ผมก็กลับไปเรียนแพทย์ต่อจนสำเร็จ พอสำเร็จก็ได้รับทุนมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ไปเรียนต่อในวิชากายวิภาคศาสตร์ ที่สหรัฐอเมริกาสองปี
    กลับมาผมก็กลับมาช่วยปฏิบัติงาน ซึ่งตอนนี้หนักไปทางสอน ปรากฏข้อบกพร่องของการสอนในสมัยนั้นก็คือ ขาดวัตถุประกอบการสอน ผมจึงลงมือทำขึ้นหลายอย่างร่วมกับเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในแผนก
    วันหนึ่งมีคนมาติดต่อ แจ้งว่าท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตมีความประสงค์อยากจะได้โครงกระดูกมนุษย์สักโครงหนึ่ง ไว้ช่วยในการปฏิบัติกิจของท่าน โดยท่านจะตอบแทนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ครั้งแรกผมไม่กล้ารับปาก เพราะไม่แน่ใจว่าจะประกอบขึ้นสำเร็จหรือไม่ แต่ประการสำคัญก็คือโครงกระดูกเหล่านี้ความประสงค์เดิมใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้น การจะนำไปใช้เป็นอย่างอื่นจะผิดประสงค์ของผู้อุทิศศพ แต่เนื่องจากผมได้ทราบประวัติของท่านเกี่ยวกับความกตัญญูที่ท่านแสดงกับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ผมจึงอยากจะช่วยท่าน นอกจากนั้นก็ยังอยากได้เงินมาใช้จ่ายในการทำวัตถุที่ใช้ในการสอนด้วย เพราะการเงินในสมัยนั้นค่อนข้างจะฝืดเคือง เบิกมาใช้สอยได้ยาก
    ผมได้พยายามทำอยู่หลายเดือน สุดท้ายก็ประกอบสำเร็จขึ้นเป็นโครงสมบูรณ์ แต่ไม่เรียบร้อยเหมือนกับโครงที่ทำขึ้นใหม่ โดยฝีมือของคนงานแผนก จำได้ว่าเจาะกะโหลกตอนบนไม่ได้ศูนย์ เวลาแขวนโครงกระดูกหน้าง้ำมากเกินไป แต่ผมก็ไม่ไดแก้ไข แจ้งไปยังท่านว่าผมประกอบเสร็จแล้ว ขอให้กำหนดวันด้วย ผมจะได้เอาไปส่ง ขณะที่ผมจัดแจงแขวนกระดูกให้เข้าที่ ท่านก็ถามว่าโครงมนุษย์มีกระดูกเท่าใด ผมกราบเรียนท่านว่าจำนวนเท่าใดนั้นกระผมจำไม่ได้ แต่ถ้าจะให้กระผมนับจำแนกให้ท่านดูทีละส่วนกระผมจะนับให้ท่านดู และจะชี้ให้ท่านทราบว่าจำนวนกระดูกอาจจะไม่เท่ากันได้ ความจริงผมจำไม่ได้เอง เพราะตัวเลขกับผมนั้นเป็นปฏิปักษ์กัน ท่านได้มอบเงินมาให้ผม 300 บาท ซึ่งก็ได้ใช้จ่ายในกิจการเกี่ยวกับหาวัตถุใช้ในการสอน ในการทำพิพิธภัณฑ์กายวิภาคคองดอน บางชิ้นอาจเหลือเป็นประโยชน์ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ผมจึงรู้สึกในบุญคุณของท่านอยู่ แต่ไม่เคยกลับไปหาท่านอีกเลยจนท่านถึงแก่มรณภาพ
    เรื่องเกี่ยวกับโครงการดูกนี้ผมได้เล่าให้นักเรีนแพทย์ฟังอยู่หลายรุ่น และมักจะเอ่ยว่าท่านเจ้าคุณเป็นนักศึกษา มีความอยากรู้อยากเห็นในทุกสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และที่สำคัญมีความกตัญญูเป็นเลิศ ควรถือท่านเป็นแบบอย่าง คนมีความกตัญญู ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ แม้จะมีอุปสรรคภัยอันตรายอย่างไรก็อาจพ้นอุปสรรคภัยอันตรายนั้นไปได้
    ผมพึ่งมาทราบ ความอยากรู้อยากเห็นอยางปรับปรุงแก้ไขกิจการงานที่ท่านได้รับมอบหมายจากหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกัน ตอนที่ทราบว่าท่านได้ไปหาเจ้าคุณดำรงแพทยาคุณ เพื่อขอศึกษาดูการผ่าศพ หาความรู้เส้นเอ็นต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ เพื่อปรับปรุงในหน้าที่ถวายอยู่งานนวดเวลาล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 บรรทม เนื่องจากล้นเกล้าฯ ทรงมีพระวรกายอ้วน เส้นสายอยู่ลึกจะต้องจับนวดแรง ๆ จึงจะถูกเส้น นับเป็นตัวอย่างอันดีในความประพฤติของท่านอีกประการหนึ่ง
    ผมต้องขอโทษที่เล่าเรื่องมาเสียไกล นอกออกไปจากเรื่องที่ผมอยากจะได้กระดูกมาไว้เกี่ยวกับประวัติของวิชากายวิภาคศาสตร์ ถ้าไม่เป็นการรบกวนจนเกินไป ผมขอความกรุณาช่วยติดต่อให้ผมด้วย
    ในที่สุดนี้ผมขอแสดงความยินดีที่หนังสือต่าง ๆ ที่คุณพิมพ์มีประโยชน์ต่อบุคคลเป็นจำนวนมาก ขอกุศลที่คุณปฏิบัติจงช่วยให้คุณมีความสุข ความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

    โดยความนับถือ
    (ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร)
    ภาควิชากายวิภาคศาสตร์
    คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล

    ...............................................................

    ข้อความทั้งหมดจาก http://www.saktalingchan.com/content_detail.php?id=14
     
  2. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเถระ)

    ความสัมพันธ์กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

    เหตุที่ท่านธมฺมวิตกฺโกเลือกเอาวัดเทพศิรินทราวาสเป็นสำนักเพื่อการอุปสมบท ทั้ง ๆ ที่บ้านท่านก็อยู่ใกล้กับวัดโสมนัสฯ เมื่อแรกเรียนหนังสือก็เรียนอยู่ในวัดโสมนัสฯ ท่านและโยมบิดา-มารดาเคยมีความสัมพันธ์กับวัดโสมนัสฯ เป็นอันดีตลอดมา ตลอดทั้งการที่ท่านได้เลือกเอาท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเถระ) เป็นอุปัชฌาย์ ในการตัดสินใจ "บวชหน้าไฟ" เพื่ออุทิศกุศลถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2468 (ถ้านับอย่างปัจจุบันก็จะเป็นปี พ.ศ. 2469 แล้ว) นั้น
    นอกจากจะแอบสังเกตดูลายมือของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เวลาที่ท่านเข้าประเคนของถวายหรือขอดูโดยตรงจากพระเถระบางองค์ตามที่โอกาสจะอำนวย จนกระทั่งมาพบลายมือท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์และได้ดูลักษณะทุกอย่าง จึงได้ตกลงใจเลือกเอาท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ในการบวชดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว
    ยังได้ทราบจากคำบอกเล่าของญาติผู้ใกล้ชิดของท่านมาอีกทางหนึ่ง เป็นข้อเท็จจริงที่แปลกออกไปจากเรื่องที่ทราบกันมาแล้ว แต่เป็นเรื่องที่น่ารับฟังไว้จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังไว้ ณ ที่นี้บ้าง
    ระหว่างที่มีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 นั้น ได้มีการทำบุญถวายสลากภัตเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลเป็นประจำทุก 7 วัน ในพระบรมมหาราชวัง โดยได้กำหนดให้ข้าราชบริพารชั้นพระยาพานทองสายสะพายรับเป็นเจ้าภาพ จัดเครื่องไทยธรรมถวายพระที่ไปในโอกาสนั้นด้วยการจับฉลาก
    ท่านธมฺมวิตกฺโกหรือเจ้าคุณนรรัตนฯ ในเวลานั้น บังเอิญจับสลากได้พระดีคือ ได้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งขณะนั้นยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศาสนโสภณ เจ้าคณะรองคณะธรรมยุตินิกาย ก็เลยเกิดศรัทธาในรูปโฉมของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่ละม้ายคล้ายพระสิริโฉมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ซึ่งมีความเคารพและภักดียิ่งชีวิต กล่าวอย่างธรรมสามัญก็คือ เจ้าประคุณสมเด็จฯ มีรูปร่างอ้วน ขาว และศรีษะล้านละม้ายกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก
    จากรูปโฉมนี้เองเป็นจุดแรงที่โน้มเหนี่ยวให้เกิดศรัทธา กอปรกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ องค์นั้น มีบุคลิกและอัธยาศัยสุภาพ สุขุม นุ่มนวลละมุนละมัยเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่ได้พบเห็น และได้มีโอกาสสนทนาวิสาสะด้วย เป็นสมณะที่สงบและเคร่งครัดต่อการประพฤติปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งรูปหนึ่ง และเป็นพระเถระที่มีเมตตาเป็นอย่างสูงแก่ทุก ๆ คนไม่เลือกหน้าว่าจะมั่งมีหรือยากจน จะเป็นคนชั้นสูงหรือชั้นต่ำ ฯลฯ
    จากรูปโฉมและบุคลิกปฏิปทาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ดังกล่าว ได้ทำให้เจ้าคุณนรรัตนฯ บังเกิดศรัทธาและเคารพเลื่อมใสในองค์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นยิ่งนัก
    ดังนั้นพอเสร็จกิจพิธีถวายสลากภัต เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลในวันนั้นแล้ว ท่านก็ตามไปส่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จนถึงวัดเทพศิรินทราวาสเลยทีเดียว และก็คงจะได้ไปมาหาสู่เป็นประจำตั้งแต่นั้นมาพร้อมกับได้ตัดสินใจเลือกท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นอุปัชฌาย์ ด้วยเชื่อมั่นว่าได้เลือก "พ่อ" ในเพศใหม่คือเพศบรรพชิตที่เพรียบพร้อมเหมาะสมถูกใจเป็นอย่างยิ่งจริง ๆ แล้ว
    พอถึงวันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 24 มีนาคม 2468 ท่านก็เข้ารับการบรรพชาอุปสมบทจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ภายในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส เพื่อน้อมเกล้าฯ อุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นั้น เป็นการบวชอย่างที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "บวชหน้าไฟ"
    พอบวชเสร็จแล้ว ค่ำวันนั้นท่านก็ได้ไปร่วมในพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง พร้อมกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ อุปัชฌาย์
    เกี่ยวกับองค์อุปัชฌายะคือ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเถระ) นั้น ท่าน ธมฺมวิตกฺโกมีความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง ได้เพียรพยายามประพฤติปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนอย่างเคร่งครัด พระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งเล่าว่าทุกครั้งที่ท่านธมฺมวิตกฺโกเดินผ่านกุฏิสมเด็จซึ่งอยู่หลังพระอุโบสถนั้น ท่านจะต้องพนมมือไหว้ด้วยความเคารพนอบน้อมทุกคราวไป และท่านไม่เคยสวมรองเท้าผ่านกุฏิท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เลย
    เมื่อสมเด็จพระอุปัชฌายะถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ในวันพระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2495 นั้น ท่านธมฺมวิตกฺโกได้เดินตามกระบวนแห่โกศศพสมเด็จพระอุปัชฌาย์ไปตามถนนกรุงเกษมเลี้ยวเข้าถนนหลวงและถนนพลับพลาไชยตามลำดับ จนกระทั่งถึงเมรุ ซึ่งคิดว่าเป็นครั้งสุดท้ายที่ท่านออกไปเดินถึงบริเวณนอกเขตวัด หลังจากที่มิได้ย่างกรายออกมาสู่โลกภายนอกเลยเป็นเวลานานกว่า 20 ปีแล้ว
    เล่ากันว่าขณะที่ท่านได้เดินย่างเหยียบลงไปบนพื้นถนนที่ลาดด้วยยางตามแบบอย่างของถนนสมัยใหม่ ท่านได้กล่าวพึมพำออกมาว่า
    "เมื่อก่อนไม่มีอย่างนี้นี่"

    ทุกวันที่ 8 มิถุนายน ที่เวียนมาถึงของแต่ละปี ซึ่งทางวัดเทพศิรินทราวาสได้จัดงานบำเพ็ญกุศล เนื่องในวันคล้ายวันมรณภาพของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นประจำทุกปีนั้น เวลาเช้าจะมีการอัญเชิญโกศอัฐิของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จากกุฏิสมเด็จมายังพระอุโบสถเพื่อบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย เมื่อเสร็จพิธีแล้ว ตอนเย็นก็จะอัญเชิญกลับ ในการนี้ท่านธมฺมวิตกฺโกได้ไปร่วมในการเดินส่งอัฐิสมเด็จพระอุปัชฌาย์นี้ทั้งขาไปและขากลับเป็นประจำทุกปีไม่เคยขาด
    นอกจากนี้ยังรับเป็นเจ้าภาพเครื่องไทยธรรมสำหรับถวายพระสงฆ์ที่มาเจริญพระพุทธมนต์และพระสงฆ์ที่มาแสดงพระธรรมเทศนาในการนี้เป็นประจำ
    จากการสังเกตของพระภิกษุสงฆ์บางรูปในวัดเทพศิริทราวาสเล่าว่า ในการกราบพระประธานในพระอุโบสถนั้นจะเห็นท่านธมฺมวิตกฺโกกราบครั้งที่ 1-2 อันเป็นการคารวะต่อพระพุทธ พระธรรม ตรงไปยังพระประธาน พอจะกราบครั้งที่ 3 อันเป็นการคารวะต่อพระสงฆ์นั้น ท่านจะเฉียงทิศกราบมุ่งไปยังรูปหล่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระอุปัชฌายะ ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถเป็นประจำ
    ความกตัญญูของท่านธมฺมวิตกฺโกที่มีต่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จอุปัชฌาย์นั้นสนิทแน่นสม่ำเสมอ ดังเสมือนความกตัญญูของพระสารีบุตร องค์อัครสาวกของสมเด็จพระบรมศาสดาที่มีต่อพระอัสสชิในครั้งพุทธกาลนั่นทีเดียว
    ในการประกอบพิธีสวดอธิษฐานจิตครั้งใหญ่ทุกคราว จะต้องอัญเชิญรูปถ่ายของท่านเจ้าประคุณสมเด็จอุปัชฌาย์ไปประดิษฐานอยู่ที่หน้าฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถเพื่อให้ท่านได้กราบสักการะและอธิษฐานจิตทุกครั้งไป
    ในการรับเป็นเจ้าภาพเครื่องไทยธรรมสำหรับการบำเพ็จกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระอุปัชฌายะของทางวัดเป็นประจำแต่ละปีนั้น บางปีท่านได้คิดนามใหม่อันไพเราะและเป็นมงคลยิ่งถวายแด่สมเด็จพระอุปัชฌายะเพื่อให้สมกับวัตรปฏิบัติและความเคารพอย่างสูงสุดในสมเด็จฯ องค์นั้น เพื่อให้ทางบ้านจัดการเขียนลงในซองปัจจัยถวายพระในโอกาสนั้น มีหลายอย่างต่าง ๆ กัน เป็นต้นว่า
    "สมเด็จพระพุทธญาณวรวิสุทธิ์มหาเถวรจารย์เจ้า ณ เทพศิรินทราสุทธาวาส"
    "สมเด็จพระพุทธญาณวรอมตวิสุทธิโลกุตตราจารย์ เทพศิรินทราสุทธาวาส"
    จากนามใหม่ที่ท่านคิดถวายสมเด็จพระอุปัชฌาย์เช่นนี้ แสดงว่าท่านมีความเชื่อมั่นในท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่าเป็นอริยสงฆ์สาวกผู้บริสุทธิ์แล้วแน่นอน
    เคยมีผู้สนใจกราบเรียนถามท่านอยู่เหมือนกันว่าทำไมท่านจึงได้ตั้งชื่อใหม่แปลก ๆ ถวายแด่สมเด็จพระอุปัชฌาย์เช่นนี้ ก็ได้รับคำตอบจากท่านว่า
    "สมเด็จฯ ท่านไม่ใช่พระธรรมดานะ"
    เมื่อปี พ.ศ. 2510 ได้มีผู้สร้างเหรียญรูปเหมือนไปถวายให้ท่านสวดอธิษฐานจิตในพระอุโบสถ ท่านได้กล่าวเป็นเชิงตัดพ้อต่อว่า
    "ไม่สมควรเพราะอาตมายังอยู่ อาตมายังไม่สิ้น" แล้วท่านก็กล่าวเป็นเชิงแนะนำต่อไปว่า
    "ควรจะสร้างรูปสมเด็จฯ ซี" พูดพลางท่านก็ชี้ไปยังรูปหล่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางด้านซ้ายเบื้องล่างของพระประธาน
    "เพราะสมเด็จฯ ท่านเป็นอริยบุคคลแล้ว"
    จากคำกล่าวของท่านธมฺมวิตกฺโกนี้ แสดงว่าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเถระ) จะต้องบรรลุธรรมขั้นสูงเป็นพระอริยสงฆ์แล้วแน่นอน เพราะสมณะอย่างท่านธมฺมวิตกฺโกผู้เคร่งครัดต่อศีลาจารวัตรอย่างเด็ดเดี่ยวนี้จะไม่มีวันกล่าวเท็จหรือกล่าวคาดคะเน อย่างที่บุคคลทั่วไปมักประพฤติปฏิบัติกันอยู่เป็นอันขาด ทุกอย่างที่ท่านพูดออกมาจะต้องเป็นเรื่องจริงเป็นความจริงทั้งสิ้น
    ก็โดยเหตุดังกล่าวมานี่แหละ ที่ทำให้ผู้สนใจในธรรมที่ทราบเรื่องดีมีความเชื่อมั่นโดยสนิทใจว่า ท่านธมฺมวิตกฺโกก็ต้องเป็นพระอริยบุคคลแล้วแน่นอนเช่นกัน
    ทั้งนี้ก็เพราะตามหลักทางธรรมนั้น พระสงฆ์ที่สำเร็จธรรมขั้นสูงเป็นพระอริยบุคคลแล้วเท่านั้นที่จะสามารถหยั่งทราบได้โดยแน่ชัดว่า พระสงฆ์หรือสมณะรูปอื่นใดบ้างที่พระอริยบุคคล ดังที่ชอบกล่าวกันอยู่โดยทั่วไปว่า "อรหันต์ย่อมรู้ในอรหันต์"
    บุคคลประเภทอื่นใดที่ยังเป็นปุถุชนกิเลสหนาอยู่ จะไม่มีวันล่วงรู้ได้เลยเป็นอันขาดว่าพระภิกษุสงฆ์รูปใดบ้างที่เป็นพระอริยบุคคล นอกจากการคาดคะเนเท่านั้น
    ทุกวันนี้มีคนกล่าวคาดคะเน สดุดีพระเถระต่าง ๆ เป็นอันมาก ทั้งที่มรณภาพไปแล้วก็มี ยังมิได้มรณภาพก็มี ว่าองค์นั้นก็เป็นพระอรหันต์ องค์โน้นเป็นพระอริยบุคคล ฯลฯ ดูช่างมากมายหลายองค์เหลือเกิน จึงอาจผิดก็ได้ ถูกก็ได้ เพราะผู้กล่าวนั้นมิใช่พระอริยบุคคล
    โดยที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระอริยบุคคล ท่านธมฺมวิตกฺโกก็เป็นพระอริยบุคคล ทั้งสององค์ต่างก็เป็นพระอริยบุคคลด้วยกัน ฉะนั้นเมื่อมีการสร้างรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเถระ) แห่งวัดเทพศิรินทราวาส ไม่ว่าจะเป็นรูปเหรียญเนื้อโลหะ หรือรูปพระผงก็แล้วแต่ เมื่อได้นำไปถวายให้ท่านธมฺมวิตกฺโกแผ่เมตตาประจุพลังความศักดิ์สิทธิ์ให้ พระเครื่องหรือเหรียญนั้นก็จะ "แรง" เป็นยิ่งนัก ด้วยได้รับกระแสพลังความศักดิ์สิทธิ์ถึงสองต่อ คือ "แรง" เป็นทวีคูณเลยทีเดียว ยิ่งเป็นรูปท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และท่านธมฺมวิตกฺโกล้วนประเสริฐสูงส่งสององค์คู่กันก็ยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไปอีก
    นี่เป็นทรรศนะของนักเลงพระเครื่องผู้นิยมบูชาในท่านธมฺมวิตกฺโก
     
  3. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=548 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    "ถึงกายแพ้แต่ใจเราไม่แพ้
    ใจไม่แก่เจ็บตายตามกายหนา
    กายนี้มันจะเน่าเราก็ลา
    ไปสวรรค์ชั้นฟ้านิพพานเอย "



    คำสอนของท่านเจ้าคุณนรฯ



    เรื่องที่ 1
    ในวันวิสาขบูชาวันหนึ่ง หลังจากเวียนเทียนเสร็จ ได้มีหนุ่มสาวคู่หนึ่งเข้าไปกราบท่านธมมวิตกโกขณะที่ท่านเดินอยู่ ท่านได้หยุดและถามว่ามีเรื่องอะไรหรือ หนุ่มสาวคู่นั้นได้เรียนท่านว่ามาขอพรให้เกิดมาพบกันอีก ท่านได้ตอบว่า "มีแต่เขาไม่อยากจะมาเกิด นี่ทำไมอยากมาเกิดอีก อย่างอาตมาถ้าใครแช่งให้ไม่รู้จักผุดจักเกิด อาตมาก็จะขอบใจ เอาละเมื่อมาขอพรก็จะให้ แต่จะบอกว่าคนเราไม่ได้อะไรง่าย ๆ ด้วยการร้องขอ อยากได้อะไรต้องทำถึงจะได้" เรื่องการขอพรนี้มีคนไปขอพรท่านมาก ใครอยากได้อะไรก็ไปขอ จนท่านได้เขียนโอวาทเป็นข้อสุดท้ายลงในหนังสือสันติวรบทของท่านว่า ทำดีดีกว่าขอพร ท่านบอกว่าพรเป็นเพียงกำลังใจให้คนประพฤติปฏิบัติเท่านั้น และพุทธศาสนาก็ไม่ใช่ศาสนาของการสวดอ้อนวอนร้องขออะไร พระบรมศาสดาสอนให้เชื่อในเรื่องกรรมและผลของกรรมนั้น ฉะนั้นท่านจึงบอกว่า "ทำดีดีกว่าพร"


    เรื่องที่ 2
    คราวหนึ่งมีนักเรียนแพทย์ที่จบจากศิริราช จะออกไปเป็นแพทย์ฝึกหัดตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้มาขอโอวาทจากท่านขอให้ท่านกรุณาให้โอวาทด้วย เพราะจะออกไปปฏิบัติหน้าที่แล้ว ท่านธมมวิตกโกได้ให้โอวาทว่า ถ้าจะมาขอโอวาท ก็จะเตือนให้ระวังระเบิดสามลูก มีชื่อ ราคะ โทสะ และโมหะ ระเบิดสามลูกนี้ร้ายกาจมาก เป็นรากเง่าของความชั่วร้าย เรื่องโทสะเห็นจะไม่มีใครชอบพระเป็นของร้อนและเห็นได้ง่ายว่าเป็นทุกข์ แต่ราคะและโมหะให้ระวังให้มาก เพราะมาในรูปของไฟเย็นให้ความสุขได้มองไม่ค่อยเห็นความทุกข์ และราคะนั้นเมื่อมีโมหะเข้าช่วยจะไปกันใหญ่ เพราะจะพากันหลงรักหลงชัง เมื่อท่านให้โอวาทจบได้ถามแพทย์ผู้หนึ่งว่าจะไปอยู่ไหน นายแพทย์ผู้นั้นตอบว่าไปอยู่โรงพยาบาลเชียงใหม่ ท่านธมมวิตกโกบอกว่าคุณต้องระวังให้มากนะ เพราะจะเดือดร้อนจากระเบิดสามลูกนี้โดยเฉพาะลูกที่ชื่อราคะ

    เรื่องที่ 3
    ในกุฏิของท่านธมมวิตกโก นอกจากจะมีหีบศพแล้ว ยังมีโครงกระดูกแขวนอยู่ เป็นโครงกระดูกเต็มตัวร้อยไว้อย่างดี ท่านเคยชี้ให้ดูและบอกว่าเป็นโครงกระดูกผู้หญิง ท่านว่าเป็นคุณหญิงของท่าน ท่านชมว่าดีแท้ ๆ ตั้งแต่อยู่ด้วยกันมาไม่เคยทะเลาะกันเลย ไม่เคยบ่น ไม่เคยทำให้กลุ้มใจ มีแต่ให้ประโยชน์ให้สติ ให้รู้ว่าจะต้องตายเช่นนั้น วันหนึ่งก็จะเหลือแต่โครงกระดูกเช่นนี้ ได้พิจารณาทุกวัน แล้วท่านก็บอกว่าเมื่อมีเนื้อหนังหุ้มโครงกระดูกก็นิยมกันว่าสวย รักกันอยู่ด้วยกันความหลงแท้ ๆ หลงว่าจะเป็นอย่างที่เห็นอยู่ตลอดไปไม่ได้มองลึกลงไป ไม่ได้เห็นแก่นแท้ว่ามีแต่กระดูก ไม่น่าอภิรมย์แต่อย่างใด ทำไมจึงยังหลงไหลมัวเมากันอยู่ได้ แล้วท่านก็จะสรุปว่า "บ่อน้อยเท่ารอยโคหรือจะโผข้ามพ้น เป็นมหาบาเรียนยังเวียนไปหาก้น"

    เรื่องที่ 4
    ที่บริเวณกุฏิของท่านธมมวิตกโก มักจะมีชาวจีนเอาเครื่องไหว้แบบจีนไปไหว้เสมอ โดยเขานับถือว่าเป็นเซียน แต่ท่านบอกว่าเขาเห็นว่ากุฏิท่านเป็นศาลเจ้า วันหนึ่งมีชาวจีนเอาธูปเทียนป้ายหนังสือจีนและกระดองเต่าไปวางไว้ที่โคนต้นไม้ข้างกุฏิของท่าน เมื่อท่านกลับจากโบสถ์มาพบเข้า ท่านได้ชี้ให้ดูและบอกว่าชาวจีนเขายกย่องเต่ามาก เพราะเต่าเป็นสัตว์ที่อดทน แม้จะเดินช้าก็มั่นคงและไปถึงเสมอ ถ้าจะเอาเต่าเป็นตัวอย่างในการครองชีวิตก็ต้องอดทนและรอบคอบดำเนินชีวิตให้มั่นคง ส่วนในแง่ธรรมะจะเอาเต่าเป็นตัวอย่าง ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นตัวอย่าง เพราะเต่ามีกระดองและอวัยวะที่พ้นจากกระดองคือ 4 ขา หัวและหาง รวมเป็น 6 เปรียบเหมือน ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจของคน เมื่อเต่าพบอันตราย จะหดอวัยวะทั้งหมดเข้ากระดองจนกว่าจะปลอดภัย ถ้าคนเราจะเอาตัวอย่างนี้มาประพฤติจะดีไม่น้อย เช่นเมื่อประสาททั้ง 6 ดังที่กล่าวมากระทบกับอารมณ์ใดก็เอามาพิจารณาด้วยความระมัดระวัง เช่นเดียวกับเต่าหดอวัยวะเข้ากระดอง ไม่วู่วามตัดสินใจทำอะไรไปโดยไม่ถูกไม่ควร

    เรื่องที่ 5
    เรื่องบวชไม่สึกของท่านธมมวิตกโกนี้ ท่านบอกวาไม่เพียงแต่พี่สาวของคุณชุบว่าท่านบ้าเพียงคนเดียว แม้แต่คนอื่นก็ว่าท่านบ้าเหมือนกัน ท่านเล่าว่าพระบวชใหม่องค์หนึ่งมาบวชที่วัดเทพศิรินทร์ ขณะที่มาบวชนี้มีคู่หมั้นอยู่แล้ว เมื่อบวชแล้วก็ได้รู้จักกับท่านได้เล่าให้ท่านฟังว่า ก่อนบวชคู่หมั้นได้สั่งไว้ว่าไม่ให้มาหามาคุยกับท่านธมมวิตกโก โดยบอกว่าท่านธมมวิตกโกบ้า บวชแล้วไม่สึก คู่หมั้นของพระรูปนั้นเกรงว่า ถ้าได้รู้จักกับท่านธมมวิตกโกแล้วจะไม่สึกตามไปด้วย จึงได้ห้ามไว้เช่นนั้น เรื่องนี้ท่านธมมวิตกโกบอกว่า คนที่ทำอะไรไม่เหมือนที่โลกนิยมก็จะมีคนว่าบ้า โดยคนที่พูดไม่ได้เข้าใจโดยถ่องแท้ว่า อย่างไรจึงบ้าอย่างไรจึงดี ท่านบอกว่าคนเราที่เกิดมานี้มีหน้าที่สำคัญอย่างยิ่งที่พึงกระทำ คือการทำให้พ้นทุกข์ ถ้าไม่ทำก็เท่ากับว่าไร้ประโยชน์ในการเกิดมา เพราะจะต้องเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่นเอง และคนที่มีความประสงค์จะพ้นทุกข์ และพยายามกระทำเพื่อให้พ้นทุกข์ คนที่ไม่เข้าใจก็ว่าบ้าเหมือนอย่างที่สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) บอกว่า "เมื่อขรัวโตบ้าก็ว่าขรัวโตดี เมื่อขรัวโตดีก็ว่าขรัวโตบ้า

    เรื่องที่ 6
    ในระหว่างเข้าพรรษาท่านธมมวิตกโกจะเตือนพระภิกษุใหม่เสมอว่า ให้รีบศึกษารีบทำความดีเสียเพราะมีเวลากันคนละไม่มาก ถ้าหากไม่ขวนขวายที่จะศึกษาในทางธรรมแล้ว เมื่อสึกออกไปก็จะยิ่งไม่มีโอกาส หากใกล้จะออกพรรษาท่านก็จะเตือนอีกเช่นกัน แต่มีคราวหนึ่งท่านไม่เตือนเหมือนเคย ท่านกลับเตือนว่าอีก "กี่วัน" จะออกพรรษาแล้ว โดยพูดเป็นจำนวนวันที่เหลือ พระภิกษุบวชใหม่ไปเล่าให้ญาติโยมฟังถึงเรื่องนี้ มีบางคนบอกว่าท่านให้หวยแล้วพากันไปแทงตามตัวเลขที่ท่านพูด ปรากฏว่าในงวดนั้นลอตเตอรี่ออกตรงตามที่ท่านพูด ทำให้เล่าลือกันไปว่าท่านให้หวยแม่น เมื่อท่านทราบเรื่องนี้ท่านบ่นว่า "เหลวไหลกันใหญ่ ต่อไปนี้อาตมาจะพูดอะไรเป็นตัวเลขต้องระวังเสียแล้ว ถ้าเกิดไปแทงไม่ถูก จะพากันเสียเงินโดยใช่เหตุ นี่เคราะห์ดีว่าแทงถูก"

    เรื่องที่ 7
    มีพระภิกษุบวชใหม่รูปหนึ่ง เมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจขวนขวายศึกษาธรรม และพยายามจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ท่านธมมวิตกโกเห็นอุปนิสัยเช่นนั้น จึงได้ชักชวนให้พระภิกษุรูปนั้นบวชต่อไป การชักชวนของท่านธมมวิตกโกนี้เป็นการชักชวนอย่างจริงจัง พร้อมทั้งแนะแนวปฏิบัติให้อีกด้วย แต่พระภิกษุรูปนั้นก็ยังไม่รับคำ จนกระทั่งออกพรรษา ท่านธมมวิตกโกได้บอกกับพระภิกษุรูปนั้นว่า "คุณมีอุปนิสัยเพราะคุณเรียนธรรมได้ง่าย นี่แสดงว่าคุณบวชแล้วหลายชาติ และคุณก็สึกทุกที ชาตินี้คุณไม่สึกไม่ได้หรือ" พระภิกษุรูปนั้นได้ตอบว่า "ผมยังมีวิจิกิจฉา ยังสงสัยทุกเรื่อง ยังไม่มั่นใจว่า อะไรคืออะไรเป็นที่แน่นอน คิดเอาเองว่าจะสิ้นสงสัยได้ต้องอธิษฐานขอเป็นพระพุทธเจ้าเอง เพราะเท่าที่ทราบมาพระอรหันต์ระลึกชาติเพียงกัปป์เดียวคงไม่สิ้นสงสัย" ท่านธมมวิตกโกบอกว่า "คุณคิดเหมือนคุณเสถียร โพธินันทะ คุณเสถียรบอกกับอาตมาว่าอยากเป็นพระพุทธเจ้า อาตมาเห็นเป็นเรื่องเหลวไหว เกิดมาพบพระพุทธเจ้าแล้ว ได้เรียนธรรมของท่านแล้ว จะอยากไปเป็นพระพุทธเจ้าอีก ต้องทรมานต่อไปอีกด้วยเหตุผลอะไรกัน แล้วที่คุณว่าเป็นพระอรหันต์ไม่สิ้นสงสัยนั้น คุณทราบแล้วหรือว่าพระอรหันต์เป็นอย่างไร เป็นเรื่องรู้ก่อนเกิด เหลวไหล" แล้วท่านธมมวิตกโกได้กล่าวต่อไปว่า "สำหรับอาตมานั้นต้องการให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย อาตมาไม่อยากจะเกิดอีก อาตมามั่นใจว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย" แล้วท่านก็พูดเป็นภาษาอังกฤษว่า "This Life is the last" ผมก็ไม่ทราบว่าความหวังของท่านบรรลุผลหรือไม่ และท่านเป็นพระอรหันต์จริงหรือไม่ ใครเล่าจะมีคุณธรรมพอจะไปหยั่งรู้ได้ เพราะผู้นั้นจะต้องเป็นพระอรหันต์เช่นกัน และที่ท่านธมมวิตกโกบอกว่า ต้องการให้เป็นชาติสุดท้ายนั้น ก็มีความหมายได้สองนัย กล่าวคือเป็นชาติสุดท้ายจริง ๆ เพราะต้องนิพพานแน่ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นชาติสุดท้ายของการเกิดเป็นมนุษย์ แล้วไปบังเกิดในภพอื่น ไปนิพพานในภพอื่น ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงการเดาเท่านั้น ถ้าพวกเราคือผู้อ่านและผมผู้เขียนเข้าใจว่าท่านเป็นพระอริยบุคคลจริง ๆ จะเป็นพระอริยบุคคลชั้นใดก็ตาม เราท่านทั้งหลายก็ไม่อาจจะหยั่งถึงความเป็นไปหรือความคิดของพระอริยบุคคลได้ คงได้แต่ตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้ท่านได้สมปรารถนาในเจตนาของท่านอย่างบริบูรณ์

    เรื่องที่ 8
    ในบั้นปลายของชีวิต ท่านธมมวิตกโกอาพาธด้วยโรคมะเร็งที่ลำคอ การอาพาธของท่านนี้พูดตามที่บุคคลธรรมดาพึงเห็น แต่สำหรับท่านธมมวิตกโกแล้ว ท่านเป็นปกติธรรมดาไม่เคยแสดงอาการใดว่าท่านได้อาพาธ ท่านปกติธรรมดาจนทุกคนที่พบเห็นท่านคล้ายจะลืมว่าท่านอาพาธ ถ้ามีใครถามถึง ท่านจะเล่าให้ฟังว่าตั้งแต่เริ่มเป็นเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีขนาดเท่าไข่จิ้งจก และโตต่อมาเรื่อย ๆ จนมีขนาดเท่าลูกพุทรา เท่าไข่เต่า และท่านจะบอกว่าตอนนี้เท่าไข่เป็ดแล้ว เมื่อถามถึงความเจ็บปวด ท่านจะบอกว่าไม่เจ็บปวดมากนัก จะมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ผมคิดว่าถ้าเป็นอย่างไรท่านคงจะลุกเดินไม่ไหวเพราะความเจ็บปวดแล้ว แต่ท่านธมมวิตกโกท่านกลับเป็นปกติทุกอย่าง สมมติว่าถ้าแผลมะเร็งนี้เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในไม่มีใครมองเห็นแล้ว ก็จะไม่มีใครรู้ว่าท่านอาพาธเลย ท่านเล่าว่าเมื่อก่อนจะเป็นท่านมีความรู้สึกว่าจะเป็นที่ตับ เพราะมีอาการบางอย่างที่นั่น ท่านเล่าว่าเหมือนกับมีอะไรวิ่งกันอยู่เป็นริ้ว ๆ ที่บริเวณนั้น ท่านได้อธิษฐานว่าหากจะป่วยเป็นโรคใดแล้วขอให้ปรากฏออกมา ขอให้เป็นภายนอกเถิดจะได้มองเห็น และเป็นตัวอย่างให้ศึกษา หลังจากท่านอธิษฐานแล้ว ท่านรู้สึกว่าสิ่งที่วิ่งกันอยู่นั้นได้ย้ายวิ่งมาที่ลำคอและปรากฏเป็นอย่างนี้ เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ที่แรงอธิษฐานของท่านเป็นไปตามที่ท่านอธิษฐาน เห็นจะเป็นด้วยบุญบารมีที่ท่านบำเพ็ญมา และท่านจะยกเอาอาการอาพาธของท่านเป็นตัวอย่างสอนคนที่ไปพบท่านว่า ร่างกายเป็นรังของโรคต้องเจ็บป่วยอยู่เสมอเป็นธรรมดา เป็นเรื่องของการเกิดแก่เจ็บตาย อย่าเศร้าหมองตามการป่วยเจ็บนั้น ทำใจให้ปลอดโปร่ง และให้นึกเสมอว่าการเจ็บการตายไม่แน่นอน จะมาถึงเมื่อใดก็ได้อย่าประมาทอย่ารั้งรอต่อการทำความดีในขณะที่ยังมีโอกาสทำความดี จะได้ไม่ต้องเสียใจ แม้ความตายจะมาถึงในวินาทีใดก็ตาม ท่านจะยกคำกลอนในอุทานธรรมมาพูดเสมอว่า
    ถึงกายแพ้แต่ใจเราไม่แพ้
    ใจไม่แก่เจ็บตายตามกายหนา
    กายนี้มันจะเน่าเราก็ลา
    ไปสวรรค์ชั้นฟ้านิพพานเอย


    เรื่องที่ 9
    คราวหนึ่งท่านได้เคยพูดกับนายอธึก สวัสดิมงคล นายกยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี ภายหลังจากถวายของให้ท่านอธิษฐานจิตแล้ว เป็นคติน่าฟังมาก
    "ทั้งหมดนี่" ท่านกล่าวขึ้น พร้อมกับชี้มือไปยังหีบพระเครื่องต่าง ๆ ที่ท่านอธิษฐานจิตแล้ว "สู้ธรรมะไม่ได้"
    แสดงว่าท่านยกย่องการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมของสมเด็จพระบรมศาสดานั้นว่า มีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด สำคัญยิ่งกว่าการมีพระเครื่องไว้ประจำตัว
    อีกคราวหนึ่งในปี 2513 หลังจากพิธีสวดอธิษฐานจิตเมื่อวันเสาร์ห้าผ่านไปเพียงเล็กน้อย นายแพทย์สุพจน์ ศิริรัตน์ ได้นำพระเครื่องพิมพ์นาคปรกเนื้อนวโลหะที่ท่านเจ้าคุณอุดมฯ สร้างเพื่อจำหน่ายหารายได้สมทบทุนสร้างโรงเรียนนวมราชานุสรณ์ นครนายกนั้น ราว 4-5 องค์ไปถวายให้ท่านอธิษฐานจิตซ้ำอีก ก่อนที่ท่านจะยินยอมอธิษฐานจิตให้ ได้ถูกท่านเทศนาสั่งสอนอย่างเจ็บ ๆ อยู่นานร่วม 1 ชั่วโมง
    "หมอนี่เรียนมาเสียเปล่า มาหลงงมงายอะไรกับเรื่องพรรค์นี้ !"
    ท่านได้ว่ากล่าวสั่งสอน มิให้ลุ่มหลงมัวเมาอยู่กับเรื่องของขลังและอภินิหาร เพราะอภินิหารต่าง ๆ นั้น มิได้ช่วยให้ทุกคนรอดพ้นจากภัยอันตรายได้ทุกครั้งอยู่เสมอไป
    ตลอดเวลาที่ท่านเทศนาว่ากล่าวอยู่นานโขนั้น นายแพทย์สุพจน์ ได้โต้แย้งท่านอยู่ไม่หยุดเช่นกัน โดยปกตินั้นท่านชอบคนโต้เถียงท่านด้วยเหตุผลอยู่เหมือนกัน
    การที่นายแพทย์สุพจน์โต้เถียงท่านในเรื่องอภินิหารนั้น ก็เป็นด้วยนายแพทย์ผู้นี้ได้เคยเอาพระเครื่องกรุเก่า มาทดลองยิงด้วยปืนพกด้วยมือของตนเองมาหลายครั้งหลายหน จนกระสุนหมดไปหลายกล่อง ปรากฏผลเป็นที่น่าทึ่งมาก โดยใช้วิธีอาราธนาพระไว้ที่ตัวปลาหมอ ในระยะที่ยิงได้แม่นยำอย่างสบาย แล้วก็ระเบิดกระสุนใส่เข้าไป !
    ผลของการทดลอง ปรากฏว่าจากการยิงพระนางพญากรุพิษณุโลก ราว 7-8 องค์ ส่วนใหญ่ยิงถูกแต่ไม่เข้า (คงกระพัน) บางองค์ยิงไม่ถูก (แคล้วคลาด) มีอยู่องค์หนึ่งยิงไม่ออก (มหาอุด) และพระปิดทวารของหลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง พิมพ์ใหญ่ชนิดสองหน้า ที่เรียกกันว่าพิมพ์พระประกับนั้น ยิงไม่ออก เป็นยอดมหาอุดจริง ๆ
    จากประสบการณ์ดังกล่าวนี้เอง ทำให้นายแพทย์สุพจน์ ศิริรัตน์ เชื่อมั่นในอภินิหารของพระเครื่องเป็นยิ่งนัก และเอาเรื่องนี้มาโต้แย้งกับท่านธมมวิตกโก ที่ท่านกล่าวหาว่ามาหลงงมงายอยู่กับอภินิหารไม่เข้าเรื่อง !
    "เรื่องอภินิหาร พระเดชพระคุณว่ามีจริงไหม ?" นายแพทย์สุพจน์ เอ่ยขึ้นตอนหนึ่ง
    "จริง" ท่านตอบ จากนั้นท่านกล่าวสืบต่อไปว่า
    "หมอเคยเห็นเคยได้ยินข่าวเรื่องโจรผู้ร้ายที่แขวนพระไว้เต็มคอ แต่แล้วก็กลับถูกตำรวจยิงตาย หรือไม่ก็ถูกจับได้ ต้องติดคุกไปบ้างไหม? ถึงแม้จะมีพระอยู่เต็มคอก็ช่วยอะไรไม่ได้ใช่ไหม?"
    แล้วท่านกล่าวสำทับในที่สุดว่า "อภินิหารนั้นหนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น"
    เมื่อถูกท่านขนาบด้วย "ไม้ตาย" เช่นนี้ ก็ทำเอานายแพทย์สุพจน์ ต้องนิ่งงันสงบปากไม่อาจจะกล่าวโต้แย้งในเรื่องอภินิหารใด ๆ กับท่านได้อีกต่อไป
    ตามที่กล่าวมานี้ จะเป็นที่เห็นได้ชัดว่า แม้ท่านธมมวิตกโกจะตั้งใจอธิษฐานจิตและแผ่เมตตาลงในพระเครื่อง ด้วยความเชื่อมั่นว่า มีความศักดิ์สิทธิ์สามารถปกป้องคุ้มครองผู้สักการะบูชาได้ก็จริง แต่ผู้มีพระเครื่องไว้คุ้มครองนั้น ก็จะต้องประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา เจ้าของที่มาแห่งองค์พระปฏิมานั้นด้วย

    เรื่องที่ 10
    เมื่อคุณหมอ ไพบูลย์ ปุษปธำรง ได้ทำแผลให้เป็นที่เรียบร้อย ท่านก็สวดมนต์อุทิศแผ่ส่วนกุศลให้ แล้ววันนั้นท่านได้กล่าวกับหมอว่า " หมอ อันความตายและการพลัดพรากจากกันนั้นเป็นของธรรมดา และเป็นไปตามธรรมชาติ เขาตายกันนับตั้งแต่คราวปู่ย่าตายาย เมื่อครั้งโบราณกาลมาแล้ว ถ้าเราพิจารณาให้ดีก็จะรู้ว่า การตายไม่ใช่เป็นสิ่งที่น่าสยดสยองอย่างที่ทุกวันมีคนส่วนมากคิด คนเราเมื่อเกิดมาก็ต้องอาศัยสังขารเป็นที่อยู่อาศัยปกติธรรมดาสังขารเราก็จะมีเวลาจำกัด ย่อมจะมีการเสื่อมและทรุดโทรมเป็นธรรมดา ฉะนั้นความตายจึงไม่เป็นสิ่งที่เสียหายตรงไหน หากแต่เป็นเพียงเปลี่ยนสภาพจากหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งเท่านั้น อุปมาเหมือนหมอกับอาตมา ซึ่งในปัจจุบันขณะนี้กำลังคุยกันอยู่ แต่เวลาได้ล่วงเลยดับไปทุกวินาที ทุกชั่วโมง และหมอก็ได้ทำแผลให้อาตมาเสร็จ ประเดี๋ยวหมอก็จะต้องกลับไปบ้าน ส่วนอาตมาก็จะต้องกลับกุฎิ และทุกคนในที่นี้ก็จะต้องกลับไปสู่ที่อยู่อาศัยของตน
    นี่ก็เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งของการพลัดพรากจากกัน ทั้งที่เรายังมีชีวิตอยู่ มีสังขารร่างกาย เมื่อเราได้ลุกจากไปแล้ว สถานที่นั้นก็จะว่างเปล่าปราศจากผู้คนไปชั่วขณะ เพราะเราได้แยกย้ายกันกลับไปสู่ที่พัก เหตุการณ์วันนั้นก็จะเป็นแต่เพียงอดีตเท่านั้น จะมีก็แต่ความทรงจำเท่านั้นแต่จะให้อดีตนั้นย้อนกลับมาใหม่ก็ไม่ได้ ดังนั้นการตายก็เหมือนกัน เป็นแต่เพียงการจากไป มิได้สูญไปไหน หากแต่เปลี่ยนจากสภาวะปัจจุบันไปอยู่อีกสภาวะหนึ่ง ซึ่งอยากที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ และเราก็สามารถที่จะระลึกถึงกันได้ อย่าเข้าใจว่าสูญสิ้นไป ความตายความเกิดนั้นมีอยู่ตลอดเวลา ขออย่าประมาท"

    การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

    ตลอดเวลา 45 พรรษาที่ท่านอุปสมบทอยู่นั้น ท่านได้มีชีวิตอยู่อย่างวิเวกอย่างแท้จริง ทั้ง ๆ ที่ท่านอาศัยอยู่ในใจกลางของเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ และก็อยู่ในบริเวณที่อึกกระทึกจอแจไม่น้อย ท่านไม่ค่อยได้พูดคุยกับผู้ใดนัก นอกจากว่าจะมีผู้พูดกับท่านก่อน และอันที่จริงก็ไม่ค่อยจะมีใครกล้าพูดกับท่านเท่าใดนัก นอกจากว่าจะเป็นการสนทนาธรรมกัน ซึ่งท่านก็ยินดีจะให้คำตอบและอธิบายอย่างเต็มใจเท่าที่สามารถกระทำได้ ดังนั้น จึงมีหลายคนมักจะตำหนิติเตียนท่านว่าเป็นคนใจแคบ ไม่ช่วยสั่งสอนผู้อื่นบ้าง แต่ก็มีหลายท่านเหมือนกันที่ค้านว่า ความจริงข้อวัตรปฏิบัติของท่านที่ท่านได้กระทำติดต่อกันมาด้วยความสม่ำเสมอ ซึ่งแสดงถึงความเป็นผู้เด็ดเดี่ยวในทางความเพียรนั้นแหละคือ เทศน์กัณฑ์ใหญ่ทีเดียว และก็เป็นเทศน์ที่ได้ผลดีไม่น้อยกว่าการเทศน์ด้วยคำพูดเหมือนกัน เพราะเป็นการเทศน์ให้เราดูด้วยตา ไม่ใช่ให้เราฟังด้วยหูอย่างเดียว ซึ่งการเทศน์ให้ฟังนั้น บางครั้งก็อาจจะเกิดกว่าภูมิธรรมภายในของผู้เทศน์ไปไม่น้อยก็เป็นได้ ดังนั้น การเทศน์ให้ดูแบบนี้ สำหรับคนที่ใจไม่บอดจึงมีคติสอนใจได้เป็นอย่างดี

    ....................................................................


    </TD></TR></TBODY></TABLE>http://www.saktalingchan.com/content_detail.php?id=16
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. มงคุณ

    มงคุณ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +21
    <CENTER>ความมหัศจรรย์ฺของ "พระอรหันต์กลางกรุง" พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต (ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ)

    </CENTER>

    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><!-- ads code --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-0334174069738588";/* 160x600, ถูกสร้างขึ้นแล้ว 1/12/09 */google_ad_slot = "9414322058";google_ad_width = 160;google_ad_height = 600;//--></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT><IFRAME name=google_ads_frame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-0334174069738588&dt=1232800900718&lmt=1232800900&output=html&slotname=9414322058&correlator=1232800900718&url=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Fshowthread.php%3Ft%3D168075&ea=0&ref=http%3A%2F%2Fpalungjit.org%2Fforumdisplay.php%3Ff%3D196%26order%3Ddesc%26page%3D8&frm=0&ga_vid=998226883.1229001106&ga_sid=1232799817&ga_hid=1451163146&ga_fc=true&flash=10.0.12.36&u_h=768&u_w=1024&u_ah=738&u_aw=1024&u_cd=32&u_tz=420&u_java=true&dtd=32" frameBorder=0 width=160 scrolling=no height=600 allowTransparency></IFRAME>
    [​IMG]
    <SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT><IFRAME name=google_ads_frame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=undefined&dt=1232800961656&format=undefinedxundefined&output=html&correlator=1232800961656&ea=0&frm=1&ga_vid=998226883.1229001106&ga_sid=1232799817&ga_hid=1641782610&ga_fc=true&flash=10.0.12.36&u_h=768&u_w=1024&u_ah=738&u_aw=1024&u_cd=32&u_tz=420&u_his=1&u_java=true&dtd=62" frameBorder=0 scrolling=no allowTransparency></IFRAME>

    บ้านอยู่ลาดพร้าวค่ะ จะเดินทางไปเส้นทางไหนสะดวกที่สุดคะ


    <SCRIPT>window.google_render_ad();</SCRIPT>
     
  5. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    จะนํามาโพสเรื่อยๆๆน่ะครับ สาระดีๆๆครับพื่อพัฒนาสังคมเวปพลังจิตให้ดีขึ้นครับ

    แต่ที่สําคัญต้องขอขอบพระคุณเวป http://www.saktalingchan.com/ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อประวัติและแหล่งข้อมูล และอีกหลายเวปที่ไม่ได้กล่าวมา ณ. ที่นึ้ ที่เอื้อภาพเก่าของท่านเจ้าคุณนร
     
  6. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    เหตุผลที่ท่านงดออกบิณฑบาตร

    "คนเราควรรู้จักประหยัดและเสียสละเพื่อประเทศชาติจะได้เจริญ"

    "การปฏิบัติธรรมนั้นท่านบอกว่าเป็นการปฏิบัติเพื่อต้องการแสงสว่างในจิตใจ ไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่างภายนอกมาช่วยแต่อย่างไร "


    เมื่อท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตได้อุปสมบทเป็น ธมฺมวิตกฺโก ภิกขุแล้ว ท่านได้ประพฤติธรรมโดยเคร่งครัด มีศีลอันบริสุทธิ์ ไม่เคยล่วงศีลข้อใดเลย ท่านไม่ยอมแม้แต่จะมีเด็กไว้รับใช้ ด้วยเกรงว่าจะขาดประเคนอันเป็นการล่วงศีล และไม่ต้องการจะเบียดเบียนใครแม้แต่กำลังกายของเขาในเมื่อท่านสามารถทำเองได้ ท่านได้ออกบิณฑบาตเช่นเดียวกับภิกษุทั้งหลาย และใช้เวลานี้ไปเยี่ยมบ้าน เยี่ยมโยม เมื่อกลับมาก็จะเอาอาหารบิณฑบาตถวายสมเด็จอุปัชฌาย์เป็นประจำทุกวันไม่เคยขาด นอกจากนี้แล้วท่านไม่เคยออกไปไหน ต่อมาภายหลัง เมื่อท่านปฏิบัติธรรมเคร่งครัดมากขึ้นท่านไม่ออกจากวัดอีกเลย ส่วนเรื่องการบิณฑบาตนั้นภายหลังท่านได้งดออกบิณฑบาตนอกวัด โดยครั้งแรกท่านเบื่อหน่ายที่มีผู้ศรัทธามาดักคอยถวายบิณฑบาตแก่ท่าน เป็นการไม่ถูกต้องกับความประสงค์ของท่านที่ต้องการจะได้อาหารบิณฑบาตตามแต่จะได้เช่นภิกษุอื่น ต่อมาภายหลังท่านได้ตัดสินใจไม่ออกบิณฑบาตอีกเลย เพราะเกิดความสลดใจ ท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งท่านได้ออกบิณฑบาตตามปกติ ขณะที่จะเดินเข้ารับภัตตาหารจากที่มีผู้ถวายประจำนั้น ได้มีพระภิกษุอื่นเดินตัดหน้าท่านไปรับภัตตาหารนั้นก่อน ท่านจึงหยุดรอ เมื่อพระภิกษุรูปนั้นรับภัตตาหารแล้วท่านได้ยินเพื่อนของคนใส่บาตรที่ยืนอยู่ข้าง ๆ พูดว่า "หมายังไม่แย่งกันอย่างนี้ ทำไมพระจึงแย่งกัน" ด้วยคำพูดที่ท่านได้ยินท่านจึงเกิดความสลดใจ และเห็นว่าท่านเองถ้าไม่ออกบิณฑบาตก็ยังมีทางได้รับอาหารจากทางบ้าน แต่พระภิกษุอื่นอาจจะไม่มีทางจะได้อาหารจากที่อื่นนอกจากอาหารบิณฑบาต และอาจจะมีความจำเป็น เช่นมีลูกศิษย์มาก ถ้าท่านงดบิณฑบาตก็จะมีอาหารเพิ่มสำหรับพระภิกษุอื่นอีกหนึ่งองค์ นอกจากนี้ท่านได้บิณฑบาตมาถวายสมเด็จอุปัชฌาย์อยู่หลายปีแล้ว แม้จะงดถวายก็ไม่กระทบกระเทือนต่อสมเด็จอุปัชฌาย์ ท่านจึงงดออกบิณฑบาต และให้ทางบ้านท่านส่งอาหารมาถวายแทนโดยใช้เงินของท่านที่ได้รับทุกเดือนทำอาหารมาถวายท่าน และท่านใช้บาตรรับอาหารที่กุฏิแทน ต่อมาท่านได้เริ่มฉันอาหารมื้อเดียวคือตอนเพล ส่วนอาหารนั้นเป็นอาหารประเภทผักทั้งสิ้น ไม่มีอาหารประเภทเนื้อ ฉะนั้นอาหารของท่านจึงมีเพียง ข้าว ถั่ว และงา ท่านบอกว่าบางครั้งท่านก็ฉันใบตอง โดยให้ตำมาให้ก่อนพอจะเคี้ยวได้ ส่วนอาหารประจำของท่านคือมะนาว ที่ท่านฉันอาหารอย่างนี้ท่านบอกว่าจะได้สะดวกแก่คนทำถวายไม่ต้องไปหามาลำบาก เพราะเป็นสิ่งที่หาง่ายไม่สิ้นเปลืองมาก เมื่อท่านฉันอาหารมื้อเดียวท่านเล่าว่า บางวันก็ไม่ได้ฉัน เพราะหลานท่านเอามาถวาย บางวันด้วยความเป็นเด็กไปเล่นกับเพื่อนเพลินจนลืมท่าน เอาอาหารมาถวายตอนบ่าย ท่านบอกว่ามาเคาะประตูเรียกท่านว่า "หลวงลุงครับ" ท่านเปิดประตูออกมาถามว่ามาทำไม หลานท่านบอกว่าเอาอาหารมาถวาย ท่านก็ตอบว่า "เอามาทำไมตอนนี้ เอากลับไป" ถ้ามีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเป็นอันว่าวันนั้นท่านไม่ได้ฉันอาหาร
    ส่วนเรื่องงดออกนอกวัดนั้น ผมไม่ได้เรียนถามท่านแน่นอนว่าท่านงดออกนอกวัดในวันเดือนปีใด ผมเชื่อแน่ว่าท่านต้องจำได้หรือจดไว้ เพราะปกติท่านจะจดวันเดือนปีเกี่ยวกับเรื่องของท่านไว้เสมอ แต่ท่านเคยบอกว่าท่านงดออกจากวัดออกก่อนสร้างสะพานพุทธฯ หรือก่อนสร้างเสร็จ เพราะท่านบอกว่าท่านไม่เคยเห็นสะพานพุทธฯ ว่าเป็นอย่างไร นอกจากรูปถ่ายที่มีผู้เอามาถวายให้ท่านดู ผมเคยเรียนถามท่านว่า แล้วท่านอยากไปดูไหม ท่านบอกว่าไม่อยากไปดู เพราะถึงอย่างไรก็เป็นเรื่องของสังขาร ล้วนเป็นอนิจจังทั้งสิ้น ส่วนที่กุฏิของท่านนั้นไม่มีไฟฟ้าใช้ ท่านบอกว่าไม่ใช่เพราะต้องการจะอวดคุณวิเศษอะไรดอก แต่เพราะเมื่อท่านบวช กุฏิท่านไม่มีไฟฟ้า เพราะการไฟฟ้าวัดเลียบยังไม่จ่ายกระแสไฟฟ้ามา ภายหลังทางการไฟฟ้าจ่ายกระแสไฟฟ้ามา ท่านก็เห็นว่าไม่จำเป็น เพราะท่านไม่มีการงานอะไรที่จะต้องทำเวลากลางคืน หากจะอ่านหรือเขียนหนังสือ ท่านก็ใช้เวลากลางวันได้และเพียงพอแล้ว หากจำเป็นจริง ๆ ก็จุดเทียนทำได้ ส่วนเวลากลางคืนนั้น ท่านก็ใช้เป็นเวลาปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว การปฏิบัติธรรมนั้นท่านบอกว่าเป็นการปฏิบัติเพื่อต้องการแสงสว่างในจิตใจ ไม่จำเป็นต้องใช้แสงสว่างภายนอกมาช่วยแต่อย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจึงไม่ได้ขอต่อกระแสไฟฟ้าไว้ใช้ในกุฏิเรื่อยมา นอกจากที่ท่านบอกให้ฟังแล้ว ผมคิดว่าอาจจะมาจากนิสัยประหยัดและเสียสละของท่านด้วย เพราะท่านธมฺมวิตกฺโกเป็นผู้ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย และอีกอย่างหนึ่งคือเสียสละ เมื่อท่านไม่จำเป็นต้องใช้ก็ควรจะให้คนอื่นที่จำเป็นได้ใช้ดีกว่า ท่านพูดเสมอว่า คนเราควรรู้จักประหยัดและเสียสละเพื่อประเทศชาติจะได้เจริญ ท่านบอกว่าอย่างโครงการวางแผนครอบครัวที่ทำกันทุกวันนี้ ถ้าทำตามที่พระพุทธเจ้าวางไว้จะมีประโยชน์กว่า ผมไม่เข้าใจจึงถามท่านว่าพระพุทธเจ้าวางไว้อย่างไร ท่านก็อธิบายว่า คนเรานั้นเมื่อแต่งงานมีครอบครัวแล้วคู่สมรสก็ควรถือศีลห้า เพื่อให้ครอบครัวอยู่เป็นสุข เพราะศีลจะทำให้ผู้รักษาศีลนั้นเป็นสุขและร่มเย็นเสมอ เมื่อมีลูกพอแก่ความต้องการแล้วก็เปลี่ยนมาถือศีลแปล การถือศีลแปดหรืออุโบสถศีลนี้ นอกจากจะไม่มีลูกเพิ่มแล้ว ยังไม่เปลืองอาหารมื้อเย็นอีกมื้อหนึ่งด้วย ประเทศไทยคงมีอาหารสมบูรณ์กว่านี้ เมื่ออธิบายจบท่านก็สรุปว่า เรื่องนี้ทำยาก แต่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ ท่านบอกว่าถ้าทำได้ก็ประเสริฐประเทศชาติจะร่มเย็นเป็นสุข และได้เล่าว่าเมื่อสมัยพุทธกาลมีสามีภรรยาคู่หนึ่ง หลังจากมีบุตรแล้วก็ปฏิบัติธรรมแข่งขันกัน จนกระทั่งภายหลังสำเร็จเป็นพระอรหันต์ไปทั้งสองคน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558

    [​IMG]

    ไม่เคยขาดทำวัตร

    ท่านธมฺมวิตกฺโกเป็นผู้อดทน มีความเพียร เมื่อทำสิ่งใดก็ทำสม่ำเสมอ อย่างการทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น ท่านก็ทำโดยตลอดไม่เคยขาด มีงดอยู่วันเดียว วันนั้นท่านอาพาธเพราะถูกงูกัด สมเด็จอุปัชฌาย์ได้มาบอกว่าให้งดสักวันเถิด ท่านก็งดวันนั้นหนึ่งวัน ตลอดเวลา 40 ปีกว่าท่านงดทำวัตรเพียงหนึ่งวัน ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าท่านมีความอดทนและความเพียรเพียงใด คนที่ทำอะไรได้ทุกวันโดยสม่ำเสมอเป็นเวลา 40 กว่าปีนี้เป็นเรื่องน่าคิดและน่าสรรเสริญ เพราะยากนักจะทำได้ และตลอดเวลา 40 กว่าปี มิใช่ว่าท่านจะแข็งแรงมีสุขภาพดีมาโดยตลอดก็หาไม่ ท่านก็เจ็บป่วยเช่นคนทั้งหลาย แต่ด้วยความอดทน ท่านก็พยายามทำไม่ยอมขาด และการป่วยเจ็บของท่านนี้ ท่านบอกว่าท่านไม่เคยฉันยาแม้สักครึ่งเม็ด นับแต่ท่านเริ่มบวชเป็นต้นมา ที่ทำอย่างนี้ท่านบอกว่า เมื่อตัดสินใจจะปฏิบัติทางจิตแล้ว ก็ต้องทำให้ได้โดยอาศัยอำนาจจิตมารักษา เมื่อรักษาไม่ได้ก็ตายไป ไม่ขออาศัยยาแก้เจ็บแก้ไข้ ท่านบอกว่าคนที่ปฏิบัติทางจิตนี้ ต้องการสังขารเพียงเพื่อจะได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมวินัยต่อไปเท่านั้น ไม่ต้องการสังขารที่สุกใส เปล่งปลั่ง ท่านพูดเสมอว่า ช้างพี ฤาษีผอม หมายถึงช้างที่ดีควรจะอ้วน ส่วนฤาษีอันหมายถึงผู้ปฏิบัติธรรมควรจะผอม ต่อมาท่านได้ถูกคางคกไฟกัดอีก แต่ครั้งหลังนี้ ท่านไม่ได้ขาดทำวัตร เรื่องคางคกไฟนี้เป็นเรื่องแปลก ท่านเองก็บอกว่าไม่เคยมีใครพบในกรุงเทพฯ ทราบแต่ว่ามีทางปักษ์ใต้ ทำไมจึงมากัดท่านได้ ท่านชี้ตำแหน่งให้ดูที่หลังเท้าว่ากัดจนจมสองเขี้ยว และท่านเห็นตัวด้วยว่าตัวใหญ่คางคกธรรมดาและสีแดง ท่านบอกว่าคืนนั้นบวมมาก และค่อย ๆ ปวดขึ้นมาจนเข้าหัวใจ ท่านพยายามอดทน และขับไล่ความเจ็บปวดนั้น จนรุ่งเช้าบวมเฉพาะขาทั้งท่อนล่างและท่อนบน แม้อย่างนั้นท่านก็ยังไม่ยอมขาดทำวัตร นอกจากนี้ท่านยังป่วยเป็นโรคมะเร็งกรามช้าง ฉันอาหารไม่ได้เกือบเดือน นอนก็ไม่ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ท่านต้องนั่งก้มหน้าเอากระโถนมารองไว้ให้น้ำหนองไหล และพอฟันซี่ใดหลุดท่านก็จดวันที่และเวลาที่ฟันหลุดไว้ จนกระทั่งฟันหลุดหมดปาก ระยะนี้โยมพ่อได้มาเยี่ยมท่านและบอกว่าท่านคนไม่รอดแน่ ท่านจึงวานโยมพ่อไปต่อหีบศพให้ท่าน ช่างที่ต่อเป็นชาวจีนชื่อจุ่นอยู่หลังวัดเทพศิรินทราวาสใช้ไม้สักทั้งหีบราคาสิบกว่าบาท เมื่อต่อเสร็จก็นำมาไว้ในกุฏิ แต่ปรากฏว่าท่านไม่ตายหีบศพนั้นก็อยู่กับท่านเรื่อยมา เรื่องหีบศพของท่านนี้ ผมจำได้ว่าท่านเล่าให้ฟังว่าท่านป่วยด้วยโรคมะเร็งกรามช้าง 2 ครั้ง และการต่อหีบศพนี้เป็นการต่อในการป่วยครั้งแรกของท่าน เมื่อท่านบวชได้ไม่กี่พรรษา หลังจากเป็นมะเร็งกรามช้างแล้วท่านบอกว่าท่านยังเป็นอัมพาตอีก โดยเป็นที่ขาของท่าน เป็นข้างขวามากกว่าข้างซ้ายทำให้เดินไม่ไหว เวลาไปลงโบสถ์ทำวัตรต้องใช้มือช่วยยกเท้าเดินไป ต่อมาเป็นมากท่านใช้ไม้ผูกเชือกตอนปลายแล้วไปผูกกับนิ้วหัวแม่เท้าแล้วใช้มือช่วยยกเท้าไปลงทำวัตรจนได้ ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าท่านอดทนเพียงไรเพื่อที่จะไม่ขาดทำวัตร ต่อมาภายหลังท่านก็หายจากอัมพาต แต่เวลาเดินเท้าขวายกสูงไม่ได้จนกระทั่งมรณภาพ ทำให้ท่านเดินหกล้มบ่อยหากเดินไปสะดุดอะไรเข้า เพราะยกเท้าไม่พ้น และการที่ท่านหายนี้ด้วยบุญบารมีของท่านเอง ไม่เคยฉันยาเลย ดังที่ท่านบอกว่าตั้งแต่บวชมาไม่เคยฉันยาแม้สักครึ่งเม็ด
    นอกจากการลงโบสถ์เพื่อทำวัตรเช้าและเย็นแล้ว ในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา เป็นต้นนี้ ทางวัดจะมีเทศน์ตลอดคืนให้พระภิกษุและอุบาสกอุบาสิกาฟัง ท่านธมฺมวิตกฺโกก็จะมาฟังเทศน์ด้วย และท่านจะฟังตลอดคืนจนรุ่งเช้าโดยนั่งพับเพียบพนมมือตลอด จะพลิกเปลี่ยนข้างก็เพียงหนึ่งครั้ง ผมเคยถามท่านถึงเรื่องนี้ท่านบอกว่าไม่ยาก อยู่ที่การฝึก นี่เป็นเครื่องแสดงว่าท่านได้ฝึกตนเองมาอย่างดีแล้ว และท่านยังบอกอีกว่า ท่านั่งฝึกสมาธิ ถ้าจะเริ่มหัดท่านั่งพับเพียบนี้เป็นท่านั่งที่ดีที่สุดเหมาะแก่ผู้ที่จะเริ่มนั่ง แม้ท่านเองก็หัดนั่งสมาธิจากท่านั่งพับเพียง ต่อมาจึงค่อยเปลี่ยนเป็นท่านั่งขัดสมาธิ นอกจากนั่งฟังเทศน์โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบทแล้ว ท่านผู้อ่านก็ทราบแล้วว่า นครหลวงฯ ของเรายุงชุมเพียงไร ครั้งแรกผมคิดว่ายุงคงไม่กัดท่าน ท่านจึงนั่งอยู่ได้โดยไม่ต้องไล่ยุง ผมเคยเข้าไปดูท่านใกล้ ๆ ปรากฏว่ายุงก็กัดท่านแล้วตกอยู่รอบตัวท่านเต็มไปหมด คงจะบินไม่ไหวเพราะกินอิ่มก็เป็นได้ แต่ไม่เห็นท่านจะรู้สึกเจ็บหรือคันแต่อย่างใด ท่านเป็นผู้มีความอดทนอย่างน่าอัศจรรย์ เป็นผู้ที่ฝึกตัวเองไว้แล้วอย่างดีเลิศ
     
  8. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]



    ประวัติรับราชการจนถึงมรณภาพ





    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=2 border=0><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 124px">25 กุมภาพันธ์ 2457
    1 เมษายน 2458
    10 พฤศจิกายน 2458

    1 เมษายน 2459
    30 สิงหาคม 2459
    1 กันยายน 2459
    31 ธันวาคม 2460
    1 มกราคม 2460
    31 ธันวาคม 2461
    1 มกราคม 2461
    1 เมษายน 2463
    10 พฤศจิกายน 2464
    1 เมษายน 2465
    1 ธันวาคม 2465
    30 ธันวาคม 2465
    1 กรกฎาคม 2467
    1 มกราคม 2467
    24 มีนาคม 2468

    1 เมษายน 2468
    1 เมษายน 2469

    4 เมษายน 2469
    8 มกราคม 2514
    </TD><TD>โปรดเกล้าฯ ให้รับราชการในกรมมหาดเล็ก แผนกตั้งเครื่อง ยศมหาดเล็กวิเศษ
    เงินเดือน เดือนละ 40 บาท
    ยศ บรรดาศักดิ์ รองหุ้มแพร นายรองเสนองานประภาษ เงินเดือนเพิ่ม 20 บาท รวม 60 บาท
    ย้ายไปอยู่กองห้องที่พระบรรทม
    บรรดาศักดิ์ หุ้มแพร นายเสนองานประภาษ
    เงินเดือนเพิ่ม 40 บาท รวม 100 บาท
    ยศ บรรดาศักดิ์ จ่า นายจ่ายง
    เงินเดือนเพิ่ม 100 บาท รวม 200 บาท
    ยศ บรรดาศักดิ์ รองหัวหมื่น หลวงศักดิ์นายเวร
    เงินเดือนเพิ่ม 100 บาท รวม 300 บาท
    เงินเดือนเพิ่ม 40 บาท รวม 340 บาท
    ยศ บรรดาศักดิ์ หัวหมื่น เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี
    เงินเดือนเพิ่ม 160 บาท รวม 500 บาท
    เจ้ากรมห้องที่พระบรรทม
    บรรดาศักดิ์ พระยานรรัตนราชมานิต
    องคมนตรี ร.6
    ยศ จางวางตรี
    วันถวายพระเพลิงพระบรมศพล้นเกล้าล้นกระหม่อมพระบาทสมเด็จ
    พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส
    เงินเดือนเพิ่ม 200 บาท รวม 700 บาท

    โปรเกล้าฯ ให้ยุบเลิกตำแหน่งที่ราชการกรมมหาดเล็กหลวง
    ได้รับพระราชทานบำนาญเดือนละ 84 บาท 66.2/3 สตางค์
    องคมนตรี ร.7
    ถึงมรณภาพด้วยความชรา (บันทึก ส.น.ว. ที่ 314 ล.ว.11 ม.ค. 2514)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 มกราคม 2009
  9. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]


    ถ่ายกับล้นเกล้า รัชกาลที่ 6 ในชุดร่วมฝึกเสือป่า พระยานรรัตนราชมานิต

    ประวัติสมัยรับราชการ

    เมื่อท่านธมฺมวิตกฺโก หรือนายตรึก จินตยานนท์ จบการศึกษาจากโรงเรียนข้าราชการพลเรือนได้รับประกาศนียบัตรในวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในสมัยนั้นแล้ว ได้มีการซ้อมรบเสือป่าที่ค่ายหลวง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (ท่านบอกว่าเมื่อสมัยนั้นเป็นเขตจังหวัดกาญจนบุรี) ท่านในฐานะเสือป่าได้เข้าร่วมซ้อมรบครั้งนี้ด้วย ท่านได้รับหน้าที่ให้เป็นคนส่งข่าว โดยมีรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ และการซ้อมรบครั้งนี้เองได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของท่านอย่างมากมาย จากความตั้งใจที่จะเป็นข้าราชการฝ่ายปกครองมาเป็นข้าราชการสำนัก โดยที่ท่านไม่เคยนึกฝันมาก่อน เนื่องจากขณะนั้นท่านมีรูปร่างแบบบาง ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 จึงได้รับสั่งถามว่า ตัวเล็ก ๆ อย่างนี้ถ้านำข่าวไปแล้วถูกข้าศึกดักทำร้ายจะสู้ไหวหรือ ซึ่งท่านก็กราบบังคมทูลว่า ต้องลองสู้กันดูก่อน ส่วนจะสู้ไหวหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จากคำกราบบังคมทูลนี้ ปรากฏว่าล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ทรงพอพระราชหฤทัยมาก เมื่อซ้อมรบเสร็จได้มีการเลี้ยงเนื่องในการซ้อมรบครั้งนี้ และล้นเกล้าฯ ก็ได้โปรดให้รับใช้ใกล้ชิด และได้รับสั่งชวนให้ไปรับราชการในวังก่อน เมื่ออายุมากกว่านี้ จะออกมารับราชการฝ่ายปกครองก็จะโปรดให้เป็นเทศาฯ เสียทีเดียว เมื่อท่านเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้โอกาสเช่นนี้แล้ว จึงกราบบังคมทูลว่า แล้วแต่จะทรงโปรด ฉะนั้นเมื่อเสร็จการซ้อมรบท่านก็ตามเสด็จเข้าไปอยู่ในวังเลย
    ท่านเล่าว่าชีวิตของท่านระยะแรกที่เข้าไปอยู่ในวังนั้น ท่านถูกตั้งข้อรังเกียจจากชาววังสมัยนั้น ใคร ๆ ก็ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเด็กเลี้ยงควาย ถึงกับให้มารับใช้อย่างใกล้ชิด เป็นเหตุให้ถูกกลั่นแกล้งต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อเข้าเวรก็มีคนเอาน้ำมาราดที่นอนของท่าน เมื่อกลับมาท่านก็นอนไม่ได้เพราะที่นอนชุ่มน้ำไปหมด ท่านก็อดทนไม่ปริปากบ่นหรือบอกกับใครถึงการที่ถูกกลั่นแกล้งนี้ แต่การ กลั่นแกล้งเช่นนี้ก็ไม่หยุด ท่านจึงหาวิธีแก้ไขโดยไม่นอนบนที่นอน รื้อที่นอนทิ้งแล้วนอนบนเหล็กแทน ที่ว่านอนบนเหล็กนี้เพราะเตียงที่ใช้นอนทำด้วยเหล็กและที่พื้นเตียงก็เป็นเหล็กเส้นพาดไปมา ส่วนหมอนก็ไม่ใช้ เมื่อท่านทำเช่นนี้ก็ไม่มีใครมาแกล้งได้ ท่านบอกว่าท่านรู้ว่าใครมาแกล้ง แต่ท่านก็ไม่ว่ากระไร แม้เมื่อท่านขึ้นมาเป็นเจ้ากรมห้องพระบรรทม กลุ่มที่แกล้งท่านกลับมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ท่านก็ไม่เคยคิดจะแก้แค้นแต่อย่างใด ท่านให้อภัยทุกคน การให้อภัยนี้ทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการทำทานอย่างสูงสุด
    เมื่อท่านธมฺมวิตกฺโก ได้เข้ารับราชการแล้วท่านก็ขวนขวายหาวิชาความรู้เพิ่มเติม เพื่อจะได้รับราชการสนองคุณได้อย่างไม่มีข้อบกพร่อง ท่านได้จ้างครูสอนภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส จนสามารถใช้ภาษาทั้งสองได้ดี ท่านได้เรียนวิชามวยไทย ฟันดาบ และยูโด โดยท่านจ้างครูที่ชำนาญวิชานี้มาสอนแต่ละวิชาเลยทีเดียว และท่านได้ศึกษาวิชาต่อสู้นี้จนคล่องคล่องในกระบวนการต่อสู้ต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา นอกจากนี้ท่านยังสนใจวิชาโหราศาสตร์ โดยเฉพาะการดูลายมือ การดูลักษณะ ซึ่งปรากฏว่าท่านสามารถทายลายมือได้แม่นยำมาก ท่านเล่าว่าท่านเคยทายลายมือคุณหญิงคนหนึ่งในวังจนเป็นที่เลื่องลือว่า ถ้าใครไม่อยากให้ความลับแตกก็อย่าให้เจ้าคุณนรรัตนฯ จับมือ ด้วยความสนใจในวิชานี้ท่านเคยขอเจ้าคุณพัศดีฯ เข้าไปดูลายมือนักโทษที่จะถูกประหารชีวิต เพื่อเป็นการศึกษาและยืนยันความมีอยู่จริงของวิชานี้ เรื่องเกี่ยวกับการดูลายมือนี้ยังเกี่ยวข้องกับชีวิตท่านอีก ซึ่งข้าพเจ้าจะเขียนต่อไปภายหลัง ยังมีอีกวิชาหนึ่งที่ท่านสนใจเป็นพิเศษเช่นกันคือ วิชาโยคศาสตร์ และด้วยวิชานี้สามารถเปลี่ยนแปลงร่างกายท่านจากแบบบางมาเป็นล่ำสันแข็งแรง เนื่องจากท่านสนใจวิชาแพทย์มาแต่เด็ก เมื่อมารับราชการท่านก็มิได้ละทิ้งความสนใจนี้ ท่านเล่าว่าท่านได้ขอท่านเจ้าคุณแพทย์พงศาฯ ผ่าศพดูด้วยตนเองเพื่อการศึกษา จนกระทั่งเจ้าคุณแพทย์พงศาฯ มอบกุญแจห้องเก็บศพให้ จากการผ่าศพนี้ทำให้ท่านมีความรู้ทางกายวิภาคอย่างแตกฉาน และด้วยความรู้นี้ ท่านสามารถบรรเทาอาการทุกขเวทนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ท่านได้เล่าให้ฟังว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประชวรและได้รับการผ่าตัดพระอันตะ (ลำไส้) และหลังจากการผ่าตัดนั้นแล้ว เมื่อเสร็จจากการเสวยพระกระยาหารเกือบทุกครั้งจะปรากฏว่า พระกระยาหารที่เสวยนั้นจะไปติดพระอันตะตรงที่ผ่าตัดนั้น ทำให้ประชวรทรมานมาก ท่านต้องช่วยด้วยการเอามือนวดไปตามพระอันตะ และค่อย ๆ ดันให้พระกระยาหารที่ติดอยู่ตรงช่วงนั้นเลื่อนเลยไปก็จะหายประชวร ซึ่งไม่มีใครทำถวายได้เลยนอกจากท่านเพียงคนเดียว ท่านผู้อ่านอาจจะฉงนว่าทำไมท่านจึงสามารถเรียนรู้อะไรได้รวดเร็วและแตกฉาน สำหรับข้าพเจ้าไม่มีความสงสัยเลย เพราะท่านธมฺมวิตกฺโกเป็นผู้ที่สนใจอะไรแล้วจะศึกษาอย่างจริงจังไม่ย่อท้อ ด้วยความตั้งใจเป็นหนึ่งอย่างเด็ดเดี่ยวนี้ ทำให้ท่านศึกษาได้มากมาย นอกจากที่กล่าวนี้แล้ว เมื่อท่านเข้าทำงานนั้นเป็นงานที่จะต้องผลัดกันอยู่เวร เมื่อออกจากเวรก็กลับบ้านได้ เมื่อถึงเวลาจึงจะกลับมาเข้าเวรต่อไปอีก แต่ด้วยความกตัญญูและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แม้จะออกจากเวรแล้วท่านก็ไม่กลับบ้าน ท่านจะอยู่รับใช้อย่างใกล้ชิดทุกวัน นาน ๆ ครั้งจึงจะกลับบ้าน และก็กลับมาอยู่บ้านไม่นาน อย่างมากมาเช้าเย็นก็จะกลับเข้าไปในวัง ด้วยความเอาใจใส่ต่อราชการอย่างยิ่งนี้ ทำให้ท่านรับราชการด้วยความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งได้เป็นพระยาพานทองเมื่ออายุ 25 ปีเท่านั้น มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยานรรัตนราชมานิต เมื่อปี พ.ศ. 2465
    ท่านธมฺมวิตกฺโก มีปกตินิสัยชอบความสงบ ท่านชอบคนตาย ท่านบอกว่าคนตายให้แต่ความดีงาม ทำใจให้สงบ เพราะเมื่อเห็นแล้วก็เป็นเครื่องเตือนสติว่า ตัวเราก็ต้องตายเช่นนั้นไม่ช้าก็เร็ว นอกจากนี้คนตายยังให้ความรู้เป็นอาจารย์ทางแพทย์ได้อีกด้วย ไม่เหมือนคนเป็น ซึ่งอาจมีคุณและโทษ ถ้าพบคนเลวก็มีแต่โทษ มีแต่ความลำบากใจไม่รู้จักหยุด ฉะนั้นด้วยนิสัยนี้ ถ้าตามเสด็จไปบางปะอินครั้งใดท่านจะต้องไปนั่งในป่าช้าเสมอ เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 ต้องการตัวท่านจะรับสั่งให้คนไปตามที่ป่าช้า ท่านไม่นิยมความสนุกสนาน แต่กระนั้นท่านก็บอกว่าท่านสามารถเล่นโขนและละครได้ ท่านเคยแสดงเป็นทั้งตัวพระและตัวนางหน้าพระที่นั่ง และแสดงได้ดีจนได้รับการยกย่องในสมัยนั้น ท่านบอกว่าล้นเกล้าฯ ของท่านไม่ชอบแสดงเป็นตัวพระหรือนาง หากแต่ชอบแสดงในบทของเสนาหรือบทของคนรับใช้มากกว่า และเคยรับสั่งกับท่านว่า "ข้าเล่นเป็นนายจนเบื่ออยู่ทุกวันแล้ว" เขียนมาถึงตอนนี้มีท่านผู้อ่านคนใดอยากทราบบ้างหรือไม่ว่าเมื่อสมัยเป็นฆราวาส ท่านธมฺมวิตกฺโกมีพระเครื่องรางประจำตัวหรือไม่ และถ้ามีท่านมีพระอะไร เรื่องนี้ผมเคยเรียนถาม ท่านบอกว่ามีอยู่หนึ่งองค์เป็นพระสมเด็จวัดสามปลื้มของสมเด็จเจ้ามา ท่านมีติดตัวเสมอโดยใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อ แต่เป็นที่น่าเสียดายเมื่อคราวตามเสด็จบางปะอิน ตอนขากลับท่านได้ลืมไว้ที่ห้องพักและหายไป หลังจากนั้นแล้วก็ไม่เคยมีพระเครื่องรางอย่างไรติดตัวอีกเลย ท่านเล่าว่าแต่ก่อนนี้ไม่ค่อยมีใครเลี่ยมพระ ส่วนมากใช้ลวดหรือด้ายถักแล้วใช้เข็มกลัดติดกระเป๋า ท่านก็ทำเช่นนั้น จึงได้ลืมเมื่อเอาออกจากกระเป๋าเสื้อและตามเสด็จกลับโดยกระทันหัน

    ท่านธมฺมวิตกฺโก ได้เข้ารับราชการเริ่มแรกในกรมมหาดเล็ก แผนกตั้งเครื่องยศมหาดเล็กวิเศษ เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2457 และในเวลาเพียง 9 ปี ท่านก็ได้เป็นเจ้ากรมห้องพระบรรทม มีบรรดาศักดิ์เป็น พระยานรรัตนราชมานิต เมื่อ 30 ธันวาคม 2465 และได้เป็นองคมนตรีของรัชกาลที่ 6 เมื่อ 1 มกราคม 2467 จะเห็นได้ว่าท่านรับราชการก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ท่านกล่าวเสมอว่าท่านมีกัลยาณมิตรคือผู้ช่วยเหลือทำให้ชีวิตท่านก้าวหน้าได้ถึงเพียงนี้ และกัลยาณมิตรของท่านมีทั้งทางโลกและทางธรรม เมื่ออยู่ทางโลกท่านมีล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 เป็นกัลยาณมิตร เมื่อท่านอยู่ในทางธรรม ท่านก็มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส เป็นกัลยาณมิตร ท่านมีความกตัญญูต่อรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อย่างมากมาย สมดังพุทธภาษิตที่ว่า "นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตัญฺญู กตเวทิตา" ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี ในเรื่องความกตัญญูนี้เป็นชีวิตของท่านทีเดียว ถ้าใครทำอะไรให้ท่าน ท่านจะไม่ลืมบุญคุณอันนั้นและพยายามทำทุกวิถีทางที่จะสนองคุณ มีอุบาสิกาคนหนึ่งถวายอังสะสำหรับฤดูหนาวให้ท่าน ซึ่งท่านก็ได้ใช้มาจนมรณภาพไม่เคยเปลี่ยน แม้ใครจะเอาอังสะสำหรับฤดูหนาวที่ดีกว่าใหม่กว่ามาถวายท่านก็ไม่ยอมรับ โดยบอกว่าท่านมีแล้ว และแนะนำให้เอาไปถวายพระองค์อื่นต่อไป และสำหรับอุบาสิกาผู้นี้ถ้ามีกิจมาขอความช่วยเหลือ เช่นตั้งชื่อลูกบ้างหรืออย่างอื่นก็ตามท่านจะรีบทำให้ทันที ข้าพเจ้าไม่รู้จักอุบาสิกาผู้นี้ แต่เคยเห็นหน้าเมื่อมาหาท่านธมฺมวิตกฺโกคราวหนึ่ง และทราบพฤติการณ์จากท่านธมฺมวิตกฺโกเล่าให้ฟัง ทำให้ผมซาบซึ้งในความกตัญญูของท่านที่มีต่อทุกคนที่มีคุณต่อท่าน ท่านธมฺมวิตกฺโกเคยอธิบายข้อธรรมให้ฟังว่าธรรมทุกข้อล้วนแต่มีจุดมุ่งไปสู่พระนิพพานทั้งสิ้น แม้ความกตัญญูนี้ก็เช่นกัน ท่านเองท่านก็ยึดมั่นแน่วแน่ในเรื่องกตัญญูมาโดยตลอด เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวรและเสด็จสวรรคต ท่านเศร้าโศกเสียใจมาก และใครต่อใครที่อยู่ในวังสมัยนั้นกล่าวหาว่า ท่านสติเฟื่องเพราะว่าท่านกินหญ้าแทนข้าวปลาอาหารทั้งหลาย ผมได้เคยนำเรื่องนี้มาเรียนถามท่านว่าเป็นความจริงหรือไม่ที่เขาว่าท่านสติเฟื่องและกินหญ้าแทนอาหาร ท่านได้บอกว่าเป็นความจริง และได้เล่าว่าขณะนั้นเป็นระยะเวลาทำบัญชีพระราชทรัพย์ส่งล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 ตามหน้าที่เจ้ากรมห้องพระบรรทมของท่าน ในระยะเวลานี้มีคนพูดให้เข้าหูท่านอยู่เสมอว่า ต่อไปนี้ท่านต้องอดตายเพราะไม่มีล้นเกล้าฯ คอยชุบเลี้ยงอีกต่อไปแล้ว ด้วยคำพูดนี้ ท่านจึงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาไปเกี่ยวหญ้ามาให้ท่านและท่านก็กินหญ้าแทนอาหารอยู่หลายวัน เพื่อจะพิสูจน์ว่าคนอย่างท่านไม่มีวันอดตายเพราะท่านกินหญ้าได้ และเมืองไทยก็มีหญ้ามาก ผลจากการพิสูจน์นี้ทำให้ผู้ที่ไม่เข้าใจเห็นกันไปว่าท่านสติเฟื่อง แต่ความจริงแล้วท่านทำลงไปอย่างคนมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน แต่ทำไปเพื่อทดลองดูว่าจะทำได้หรือไม่เป็นการลบคำกล่าวหาอันนั้น คนเรามีวิธีต่อสู้กับการนินทาว่าร้ายหลายวิธีและต่างคนก็ต่างวิธี บางคนหากมีใครมากล่าววาจาดูถูก อาจจะใช้กำลังทำร้ายตอบหรือใช้วาจาร้ายตอบ แต่ท่านธมฺมวิตกฺโกท่านมีวิธีของท่านเองที่ไม่เหมือนใคร เมื่อมีใครมากล่าวหาว่าจะต้องอดตาย ท่านก็ไม่โต้ตอบแต่กลับมาพิจารณาตนเองว่าจะเป็นไปได้อย่างที่เขาว่าหรือไม่ เมืองไทยอุดมสมบูรณ์ วัว ควาย ยังไม่อดตายเพราะกินหญ้าได้ หากท่านกินหญ้าได้ก็จะไม่มีวันอดตาย ท่านจึงทดลองดูว่าท่านทำได้
    เรื่องที่มีคนพูดกันว่า ท่านต้องอดตายนั้นก็มีสาเหตุที่จะพูดเช่นนั้นได้ เพราะท่านธมฺมวิตกฺโกเมื่อครั้งที่รับราชการนั้น ท่านไม่เคยขอพระราชทานสิ่งใดเลย ท่านมีแต่จะตั้งหน้ารับราชการด้วยความกตัญญูเพียงอย่างเดียว เงินเดือนพระราชทานสำหรับท่านก็เพียงพอที่จะใช้ และเหลือไปทำบุญทำทานได้มาก เพราะท่านไม่มีนิสัยฟุ่มเฟือย ท่านประหยัดเสมอ จะทิ้งของสิ่งใดก็ต่อเมื่อเห็นว่าหมดประโยชน์ที่จะใช้ทางหนึ่งทางใดได้แล้ว ท่านเดินไปทำงาน แม้เมื่อเป็นพระยาพานทอง จนมีคนพูดว่าเสียเกียรติพระยาหมด เพราะพระยาสมัยนั้นมีรถยนต์นั่งกันแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระทัยเมตตา ข้าราชบริพารคนใดจะกราบทูลขอพระราชทานสิ่งใดก็ได้ ไม่ว่าจะบ้านหรือที่ดิน และแต่ละคนก็ล้วนแต่ขอพระราชทานไว้ทั้งนั้น แต่สำหรับพระยานรรัตนราชมานิตผู้ใกล้ชิดเป็นเจ้ากรมห้องพระบรรทมไม่เคยขอพระราชทานสิ่งใดเลย จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินที่ราชเทวีให้ ซึ่งกว่าท่านจะรับได้ก็แสนนาน เมื่อรับแล้วท่านก็ปล่อยทิ้งไว้ไม่สนใจใยดี ภายหลังทรงมีพระกระแสรับสั่งจะปลูกบ้านให้ท่านก็ปฏิเสธไม่ยอมรับ คราวนี้ถึงกับปฏิเสธอย่างแข็งขันทีเดียว จนล้นเกล้าฯ ทรงยอมตามใจท่านธมฺมวิตกฺโก สำหรับเรื่องรถยนต์ เมื่อมีคนพูดกันหนาหูท่านก็ซื้อมาคันหนึ่งจะเป็นยี่ห้อใดผมจำไม่ได้เสียแล้ว แต่ท่านบอกว่าแพงมากสมัยนั้น และรถยนต์คันนี้ เมื่อท่านมาบวชที่วัดเทพศิรินทราวาส ท่านก็ได้ถวายสมเด็จอุปัชฌาย์เอาไว้ใช้ และต่อมาสมเด็จก็อุทิศให้แก่โรงพยาบาลกลางเอาไว้ใช้ในราชการ เพราะเหตุที่ท่านธมฺมวิตกฺโกไม่เป็นผู้แสวงหาทรัพย์นี้เองจึงมีผู้กล่าวว่าท่านจะอดตาย
    นอกจากเรื่องทรัพย์สมบัติดังกล่าวแล้ว แม้ในเรื่องยศฐาบรรดาศักดิ์ก็เช่นกัน ท่านไม่ปรารถนามากไปกว่าจะได้ทำงานถวายล้นเกล้าฯ เมื่อจะได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานรรัตนราชมานิตท่านก็ปฏิเสธไม่ยอมรับ โดยอ้างว่าจะเกินหน้ากว่าพ่อมากไป ที่จริงแล้วท่านไม่ปรารถนาจะทำตัวเด่น ท่านปรารถนาจะทำดีเท่านั้น ท่านเคยสอนเสมอว่าการทำตัวเด่นเป็นสิ่งไม่ดี จะเป็นที่อิจฉาและจะเป็นภัยได้ จริงอยู่การที่มีคนอิจฉาแสดงว่าเรามีความดีความสามารถอยู่ในตัว ไม่เช่นนั้นจะไม่มีคนอิจฉา แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องระวังมาก ท่านจึงไม่ปรารถนาจะเด่นเลย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเห็นท่านคัดค้านเช่นนั้น จึงโปรดให้โยมพ่อท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระนรราชภักดี แล้วจึงโปรดให้ท่านเป็นพระยานรรัตนราชมานิต เมื่อท่านได้เป็นพระยาแล้วการณ์ก็เป็นไปดังที่ท่านคาดหมายไว้ว่าจะต้องถูกนินทา โดยกล่าวว่ายังไม่ควรจะโปรดฯ เพราะหนุ่มไปในทำนองนี้ หากท่านได้ยินเข้าท่านก็จะเข้าไปหา แล้วจะบอกว่าผมเองก็ยังไม่อยากเป็น แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อพระเจ้าอยู่หัวให้เป็น ขอโทษด้วยเถิด ทำให้เรื่องนี้เงียบกันไปได้ ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าท่านมีวิธีแก้การดูถูกนินทาว่าร้ายได้ด้วยความสงบเสมอและไม่เหมือนใคร ไม่ว่าจะเรื่องอดตาย หรือเรื่องได้รับบรรดาศักดิ์เร็วเกินไปก็ตาม
     
  10. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    ครับ ขอโมทนาด้วยครับ
    ขอขอบคุณที่ได้นำมาให้ได้อ่านกันครับ
     
  11. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,840
    ค่าพลัง:
    +16,082
    กราบระลึกพระคุณขององค์ท่านมา ณ ที่นี้
     
  12. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    ตลับสีผึ้ง ตะกรุดสาลิกา เส้นเกษา สร้างปี 2512

    เจ้าคุณนรรัตน....หาชมยากเลยนำมาให้ชม
    ตลับสีผึ้ง ตะกรุดสาลิกา เส้นเกษา สร้างปี 2512
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    เสียงสวดชินบัญชรคาถา "พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต"

    [​IMG]

    มาสวดพร้อมกันน่ะครับเพื่อเป็นการสรรเสริญท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต "ทําดี ดีกว่าขอพร"

    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=21432[/MUSIC]
    คณะศิษยยานุศิษย์

    27/02/09
     
  14. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    หูทิพย์ตาทิพย์ 1


    เหตุเกิดเมื่อระหว่างปี 2503-2504 นายพิทักษ์ พยุงธรรม หลานชายท่านเจ้าคุณธรรมธัชมุนี เลขาธิการสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นยังมีสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวี นายพิทักษ์ พยุงธรรมเวลานั้นกำลังเรียนหนังสืออยู่ชั้น ม.ศ. 3 ของโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ โดยปรกติเป็นเด็กแก่นเอาการอยู่
    ค่ำวันหนึ่งในระหว่างเวลาดังกล่าว ที่หน้ากุฏิท่านเจ้าคุณธรรมธัชมุนี ซึ่งอยู่ห่างจากกุฏิท่านธมมวิตกโกไกลโขพอดู ไม่มีทางที่จะได้ยินการสนทนาใด ๆ ถึงกันอย่างปรกติธรรมดาได้เลย วันนั้นนายพิทักษ์ ได้ตั้งวงนินทาท่านธมมวิตกโกกับหมู่บรรดาเพื่อนฝูงศิษย์วัดด้วยกัน ซึ่งเป็นคำกล่าวหานินทาที่ออกจะฉกรรจ์อยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2009
  15. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    สันติวรบท
    โอวาทของธมฺมวิตกฺโกภิกขุ วัดเทพศิรินทราวาส
    ๑. Personal magnet
    ๒. เมตตา
    ๓. สบายใจ
    ๔. สันติสุข
    ๕. ทำอะไรไม่ผิดเลย....ก็คือไม่ทำอะไรเลย
    ๖. สติสัมปชัญญะ
    ๗. อานุภาพของ....ไตรสิกขา
    ๘. ดอกมะลิ
    ๙. "ทำดี ดีกว่าขอพร"

    ๑. Personal magnet
    เรื่องที่มีคนเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจนั้นเป็นเพราะ คุณธรรมความดี ของตนเองหลายประการด้วยกันเป็นต้นว่ามี วิริยะ อุตสาหะ บากบั่น เข้มแข็ง แรงกล้า และจิตใจเมตตากรุณา ไม่เย่อหยิ่งจองหอง เป็นเหตุให้ผู้ที่แวดล้อมอยู่ เกิดความเมตตา กรุณารักใคร่เห็นอกเห็นใจ คิดที่จะช่วยเหลือ
    คนซึ่งมี กิริยามารยาทอ่อนโยน สุภาพ นิ่มนวลย่อมเป็นที่เสน่หารักใคร่ ของ คนที่ได้พบเห็นและพยายามที่จะช่วยเหลือ นี่เป็น Personal Magnet คือ เสน่ห์ในตัวเอง เพราะฉะนั้น จงพยายามรักษาคุณสมบัติดังกล่าวนี้ไว้ จะเป็น เครื่องช่วยตัวเองให้บรรลุความ สำเร็จสมประสงค์ทุกประการทุกกาลเวลา ทั้งปัจจุบันและอนาคต

    ๒. เมตตา
    อย่ากลัว จงรักษาตัวให้บริสุทธิ์ ไม่มีอะไรทำอันตรายได้
    จงจำไว้ว่า ถ้าปรารถนาความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น ก็ควรส่งกระแสใจที่ประกอบด้วยความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจไปยังท่าน เหล่านั้น แล้วก็จะได้รับความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากท่านเหล่านั้นเช่นเดียวกัน นี่เป็นกฏของจิตตนุภาพแล้วความสำเร็จทั้งหลายที่ปรารถนา ก็จะบังเกิดแก่ตน สมประสงค์ทุกประการเป็นแน่นอนไม่ต้องสงสัยเลย

    ๓. สบายใจ
    คำว่า "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป "Let it go,and it out!" ก่อนจะเกิด Let it go!ปล่อยผ่านไปอย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้ ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่าไม่สบายใจไว้ในใจ ต้อง Get it out! ขับมันออกไปทันที อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจจะเคยตัว ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอออดแอดทำอะไรผิดพลาดนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัวเพราะความไม่สบายใจนี้แหละเป็นศัตรู เป็นมาร ทำให้ใจไม่สงบ ประสาทสมองไม่ปกติ เป็นเหตุให้ร่างกายผิดปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายด้วย ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่งเป็น habit ความเคยชินที่ไม่ดีเป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวาง สติปัญญาไม่ให้ปลอด โปร่งแจ่มใส ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไรหรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้วต้องหัดจิตใจแช่มชื่น รื่นเริง เกิดปิติปราโมทย์เป็นสุขสบายอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เกิดกำลังกาย กำลังใจ Enjoy living มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงเบิกบาน จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจจำได้ง่ายเหมือนดอกไม้ที่แย้มเบิกบานต้อนรับหยาดน้ำค้างและอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น

    ๔. สันติสุข
    พระพุทธเจ้าสอนว่า "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ" "สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี" หมายความว่า ความสุขอื่นมี เช่น ความสุขในการดูละคร ดูหนังการเข้าสังคม Social ในการมีคู่รักคู่ครองหรือ ในการมีลาภยศได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ ก็สุขจริงแต่ว่า สุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ทุกอย่างต้อง คอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอ ไม่เหมือนกับความสุขที่เกิดจากสันติความสงบซึ่งเป็นความสุขที่เยือกเย็นและไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมากเป็นความสุขที่ทำได้ง่ายเกิดกับกายใจของคนเรานี่เอง อยู่ในที่เงียบๆคน เดียว ก็ทำได้ หรืออยู่ ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้ ถ้าเรารู้จักแยกใจหาสันติสุขกายนี้ก็เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่งสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมา ถึงใจแม้เวลาเจ็บหนักมีทุกขเวทนาปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำใจให้เป็นสันติสุขได้ ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ใจเดือดร้อน ตามไปด้วย เมื่อใจสงบแล้ว กลับทำให้กายนั้นสงบหายทุกขเวทนาได้ด้วยและประสบสันติสุข ซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น พระพุทธเจ้าสอนให้ฝึกเป็น ๓ ทางคือ
    ๑. สอนให้สงบกายวาจาด้วยศีลไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบที่เกิดทางกาย วาจาเป็นต้นเหตุสันติสุข ทางกายวาจา เป็นประการต้น
    ๒. สอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจด้วยสมาธิ หัดใจไม่ให้คิดถึงเรื่อง
    ความกำหนัด
    ความโกรธ
    ความโลภ
    ความหลง
    ความกลัว
    ความฟุ้งซ่านรำคาญ
    ความลังเลใจ ทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาด เมื่อสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็นสันติสุข ทางจิตใจอีกประการหนึ่ง
    ๓. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางทิฏฐิ ความเห็นด้วย ปัญญาพิจารณาให้เห็นว่า
    สรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงคงทนอยู่ไม่ได้ คือเสื่อมสิ้น แปรปรวน ดับไปเรียกว่าเป็นทุกข์
    ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอนขอร้องเร่งรัด ให้เป็นไปตามความประสงค์เรียกว่า อนัตตา
    เมื่อเรารู้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็งมั่นคง เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ทั้งหลายเพราะ รู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งเหล่านั้นไม่แน่นอน มันคงอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลง เสื่อมสิ้นดับไปไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาฝ่า ฝืนของเรา อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจคงรักษาใจให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ใน สันติสุข เป็นอิสระที่เกิดอำนาจทางจิตใจ Mind power ที่จะใช้ทำกิจกรณียะอันเป็นหน้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์
    "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ" สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
    It needs a Peaceful Mind to support a Peaceful Body,and it needs a Peaceful Body to support a Peaceful Mind, and it needs Both Peaceful and Mind to attain all success that which you wish.

    ๕. ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2009
  16. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    คําสอนพระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต ( ลายมือของท่านเอง)

    ธมฺมวิตกฺโก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กุมภาพันธ์ 2009
  17. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>[​IMG]

    คุณธรรมของ
     
  18. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>แปลกนะครับ คนไทยสมัยนี้ มักให้ความสนใจพระเกจิอาจารย์ดังๆ กันทั่วไป ถึงกับจัด "ทัวร์" (เรียกอย่างนั้นก็ไม่ผิด) ไปไหว้พระที่ตนเข้าใจว่าเป็นพระอรหันต์กันทั่วไป ไปถึงก็พากันกราบๆ ไหว้ๆ บ้างก็เดินชมโน่นชมนี่ตามความพอใจแล้วก็กลับ

    น้อยนักที่จะนั่งสนทนาธรรมจากพระท่าน รับเอาโอวาทท่านไปปฏิบัติเพื่อเกิดประโยชน์แก่ชีวิต อย่างที่ท่านพุทธทาสว่า "คนสมัยนี้เอาแต่ไหว้ พอบอกให้ประพฤติธรรมก็กำหู"

    ยิ่งผู้ที่สนใจอยากจะรู้ว่า ก่อนที่พระท่านจะมาถึง "จุดนี้" เป็นที่เคารพนับถือกันโดยทั่วไป ท่านได้ฝึกฝนฝึกปรือตนเองมาอย่างใดบ้าง

    จุดนี้ต่างหากที่ให้แง่คิด และแบบอย่างแก่ผู้สนใจปฏิบัติตน

    หลวงพ่อธัมมวิตักโก ท่านได้ฝึกฝนตนเองอย่างเข้มงวดตลอดชีวิตของท่าน แม้ร่างกายท่านจะอ่อนแอ ถูกโรคร้ายรบกวน ไม่ใช่โรคธรรมดา หากเป็นโรคมะเร็ง ที่เมื่อกำเริบแต่ละครั้งก็ก่อทุกขเวทนาเป็นอย่างมาก หลวงพ่อปฏิเสธการพยาบาลรักษาแผนใหม่

    ท่านรักษาด้วยพลังจิตขงท่านเอง และด้วยอำนาจพลังจิต ท่านก็สามารถสู้กับโรคร้ายได้ หลายท่านอาจคิดว่า ท่านแพ้แก่โรคร้าย

    ใช่ ในที่สุดท่านก็มรณภาพเพราะโรคร้ายนั้น แต่จิตใจท่านมิได้แพ้ ชนะเสียด้วยซ้ำท่านสามารถแยกนามขันธ์ของท่านออกจากรูปขันธ์ได้ พ้นจากความทุกข์แห่งรูปขันธ์ รูปขันธ์มันจะสลายไปตามธรรมดาของมันก็ปล่อยให้มันสลายไป เพราะท่านละความปรารถนาที่จะอาศัยร่างนี้ต่อไปแล้ว

    กลอนบทนี้ จะเป็นเครื่องยืนยันคำกล่าวนี้อย่างดี

    ถึงกายแพ้แต่ใจเราไม่ยอมแพ้
    ใจไม่แก่เจ็บตายตามกายหนา
    กายนี้มันจะเน่าเราก็ลา
    ไปสวรรค์ชั้นฟ้านิพพานเอย

    ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ผู้ล่วงลับ ได้พรรณนาคุณธรรมของหลวงพ่อไว้ครอบคลุมมาก รวมทั้งหมด 9 ข้อด้วยกัน ผมขอสรุปเท่าที่กระดาษจะอำนวยดังนี้

    1. ท่านมีคุณธรรามเป็นที่ยกย่องของกษัตริย์ถึงสามรัชกาล

    พระมหากษัตริย์ทั้งสามพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 พระราชทานบรรดาศักดิ์และตำแหน่งสำคัญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รัชกาลที่ 7 ทรงแต่งตั้งท่านเป็นองคมนตรี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จไปเป็นประธานในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน

    2. อยู่ในวัดในกรุงให้ผลเท่ากับอยู่ในป่า

    ท่านได้ปฏิวัติความเชื่อถือและความคิดอ่านของคนทั่วไปที่ว่า ถ้าจะบวชหาความสงบควรอยู่ในดงในป่า สงบสงัดจากสิ่งรบกวนภายนอก จึงจะได้ผลตามมุ่งหมาย ท่านทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ว่า ไม่ต้องไปอยู่ในป่าเลย บวชอยู่ในกรุงเทพฯนี้แหละ ขอให้เป็นคนทำอะไรทำจริงเสียอย่างเดียว จะแก้ปัญหาต่างๆได้หมด กุฏิของท่าน ถ้าไม่เปิดรับใคร ก็จะมีสภาพเหมือนป่าดงพงพีไปเอง ภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกามากมายในวัดเทพศิรินทราวาส ก็มิได้เป็นเครื่องขัดขวางการบำเพ็ญเพียรทางจิตเพื่อแสวงหาความสงบแต่ประการใด

    3. เป็นอยู่อย่างง่ายๆ

    ท่านครองชีวิตสมณะอย่างเรียบง่าย มีสมบัติน้อยที่สุด ชีวิตของท่านจึงเบา สบายเช่น ในเรื่องอาหาร ท่านฉันเพียงมื้อเดียว ฉันมังสวิรัติเช่น ถั่วนึ่งแล้วบด ใบไม้ เช่นใบฝรั่งบด โดยเฉพาะในวันพระ ท่านฉันเพียงกล้วยน้ำว้าเพียงอย่างเดียว โดยมีคุณตริ น้องชายท่านคอยทำถวาย เคยมีผู้ศรัทธานำอาหารไปถวายท่าน ท่านก็รับเป็นการสงเคราะห์เขา แล้วบอกให้เขานำไปถวายพระรูปอื่น สุดแต่เขาจะพอใจถวายรูปไหน

    ในเรื่องผ้านุ่งห่ม ท่านใช้ผ้าเพียงสามผืน แม้ใครจะนำผ้าไตรจีวรไปถวาย ท่านก็รับเพื่ออนุเคราะห์เขา เมื่อรับแล้วก็คืนให้เขานำไปถวายพระรูปอื่น ท่านไม่ใช้ไฟฟ้า ไม่ใช้รองเท้า เพราะการเดินทางของท่านมีอยู่เพียงระหว่างกุฏิกับพระอุโบสถเท่านั้นซึ่งห่างกันไม่เกิน 80 เมตร

    เรื่องที่อยู่อาศัยก็อยู่ง่ายๆ กุฏิเป็นตึกแถวแบ่งเป็นห้องๆ เฉพาะรูป ไม่รับแขกในกุฏิใครมีธุระจำเป็นจริงๆ มาขอให้เป็นที่พึ่งทางใจ ท่านก็อาจยืนพูดด้วยผ่านหน้าต่างลูกกรงชั้นล้างบ้าง ชั้นบนบ้าง ส่วนใหญ่ก็สอนให้เขาอยู่ในความสงบ อยู่ในศีลธรรม

    4. ทำอะไรทำจริง

    ท่านทำอะไรทำจริง เช่นลงโบสถ์สวดมนต์เช้าเย็นไม่ขาด ลงฟังพระธรรมเทศนาในวันพระเช้าเย็นไม่ขาด ไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย ท่านทำอย่างนี้ติดต่อกันมายาวนานไม่เคยขาด เท่าที่ทราบตลอดชีวิตของท่าน ท่านขาดลงโบสถ์สวดมนต์เพียงครั้งเดียวเนื่องจากถูกงูกัด และขาดอีกครั้งก็คือวันถึงแก่มรณภาพของท่าน

    5. สามารถควบคุมกายได้

    ท่านสามารถควบคุมกายของท่านโดยใช้หลัก 2 ประการคือ อาศัยการบริหารกายอย่างหนึ่ง อาศัยการบริหารจิตอย่างหนึ่ง

    วันหนนึ่งหลังกลับจากฟังเทศน์ในวันพระ รู้สึกว่ากายท่านซีกซ้ายหมดแรง คล้ายจะเป็นอัมพาต ทรงตัวเดินต่อไปไม่ได้ ท่านมีสติทรุดลงนั่ง เอามือขวาคลำหัวใจ ตรวจดูชีพจรยังเต้นดี จึงใช้ directing the Circulation (อำนวยการหมุนเวียน) ให้มาทางซีกซ้าย ต่อมาค่อยๆ ร้อนขึ้นจากปลายนิ้ว และร่างกายซีกซ้ายค่อยๆ อุ่นขึ้นเป็นปกติ แล้วก็เดินขึ้นห้องได้

    6. สามารถควบคุมจิต

    เมื่อได้รับทุกขเวทนาทางกาย ซึ่งจะส่งผลคือความกระวนกระวายไปยังจิต ท่านสามารถควบคุมจิตท่านมิให้กระสับกระส่าย เข้าลักษณะว่า "เมื่อกายเดือดร้อน จิตของเราจะไม่เดือดร้อน" ด้วยการใช้อำนาจทางจิตนี้เอง ท่านสามารถควบคุมความเจ็บปวดทางกายได้ เมื่อคราวถูกงูกัด และถูกคางคกไฟกัด ท่านใช้อำนาจจิตขับไล่ความเจ็บปวดได้ อาการบวมพองก็ยุบลงได้

    7. ไม่แสดงความยิ่งใหญ่ ไม่เรียกร้องอภิสิทธิ์เหนือผู้อื่น

    คนที่มียศศักดิ์ทั่วไป แม้จะบวชแล้ว ก็ยากจะตัดความยึดมั่นถือมั่นและทิฐิมานะให้หมดสิ้นไปได้ เป็นที่อัศจรรย์ว่า หลวงพ่อธัมมวิตักโก ไม่มีอาการเหล่านี้เลย คุณตริเคยเล่าว่าสมัยท่านเป็นคฤหัสถ์ เป็นพระยาพานทองแล้ว ท่านนั่งรถลาก พอมืดๆหน่อย ท่านให้คนจีนนั่งรถแทนท่าน ท่านเป็นผู้ลากเสียเอง เมื่อถึงจุดหมายปลายทางแล้ว กลับให้เงินคนจีนลากรถอีก

    เมื่อท่านบวชแล้ว ท่านไม่แสดงว่าท่านเคยเป็นพระยาพานทองมาก่อน เข้ากับพระเณรทั่วไปได้อย่างดี แสดงความเคารพตามลำดับอาวุโส

    8. เป็นนักปฏิบัติผู้ส่งเสริมปริยัติคือการศึกษาเล่าเรียน

    ปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอคือ พระผู้เป็นนักปฏิบัติก็จะตำหนิผู้เล่าเรียนตำรับตำราว่า ไม่สนใจปฏิบัติจึงไม่รู้ของจริง ผู้เป็นนักปริยัติก็จะตำหนิผู้ปฏิบัติว่า ไม่สนใจหลักวิชาการ อธิบายธรรมะเอาตามชอบใจ แต่ท่านธัมมวิตักโก เป็นนักปฏิบัติที่อิงอาศัยปริยัติ คือเล่าเรียนศึกษาตลอดเวลา ท่านฟัง ท่านอ่าน ท่านไม่รังเกียจว่าผู้เทศน์ในโบสถ์นั้นเป็นเพียงพระผู้น้อย มีความรู้น้อย ท่านฟังด้วยความเคารพ แม้ผู้เทศน์จะอธิบายผิดหลัก ท่านรู้ว่าไม่ถูก ท่านก็ไม่ว่าอะไร หากคิดเอามาเป็นแง่มุมสำหรับปฏิบัติให้จนได้

    9. เป็นที่รวมแห่งคุณธรรม

    ท่านประพฤติธรรมหลายอย่าง บรรดาที่นับว่าดีงามเช่น เป็นผู้มีกตัญญูกตเวทิตาธรรมอย่างสูง เป็นผู้มีเมตตากรุณาสูงยิ่ง และเป็นพยานแห่งการใช้พลังทางจิตให้เป็นประโยชน์

    ท่านแสดงออกซึ่งความเป็นผู้กตัญญูกตเวทีอย่างสูง เช่นโยมมารดา บิดา ยาย น้าผู้หญิง หม่อมยาย ผู้เคยเลี้ยงดูท่าน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระอุปัชฌายะ โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 คุณธรรมข้อนี้เป็นตัวอย่างแก่บุคคลทั่วไป

    อ่านเรื่องราวของหลวงพ่อแล้ว ทำให้ได้คิดว่า ความเก่งหาได้ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แต่ความดียิ่งเรียนก็ยิ่งหาไม่เจอ

    ต้องฝึกปฏิบัติเองครับ หลวงพ่อธัมมวิตักโกเป็นแบบอย่างของพระดีแท้จริง


    หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
    คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

    </TD></TR><TR><TD>
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10150


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. luangbo

    luangbo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2009
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +118
    อนูโมทนา เยี่ยมยุทธ์ สุดยอด กับตัวอย่างครูบาอาจารย์ที่ดี ในยุคเก่าก่อน
     
  20. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,558
    [​IMG]

    ( รูปนึ้แสดงให้เห็นว่าท่านเจ้าคุณนรแม้เวลาสนทนานานท่านก็เขย่งเท้า)

    อาบัติหาไม่ได้จากพระรูปนึ้

    โดย ลูกวัดท่าซุง

    พระภิกษุพระยานรรัตนราชมานิต "พระอรหันต์กลางกรุง" ผู้เป็นพระที่สมถะเรียบง่ายสันโดษยังเป็นผู้มีความเมตตาและรอบคอบ แม้กรรมเพียงนิดรวมไปถึงข้อห้ามของสงฆ์ อาบัติต่างๆๆ ท่านไม่เคยทําเลยและไม่เคยผิดพลาดด้วยแม้เพียงนิด ตลอดชีวิตของท่าน ในตลอดที่ท่านมีชีวิตอยู่จะหาข้ออาบัติหรือกรรมใดกับท่านนั้นไม่มีเลยสักนิด ท่านเป็นผู้มีสติและรอบคอบทุกอาริยบทไม่ว่าจะเป็น เดิน นั่ง นอน ท่านเป็นผู้สํารวมกาย วาจา จิตได้ดี่เยี่ยม ความเมตตาของท่านหาประมาณมิได้ ท่านช่วยเหลือผู้เดือดร้อนต่างๆๆ รวมไปถึง แม้แต่มดกับแมงท่านไม่เคยฆ่าหรือไม่เคยเหยียบสังเกตรูปนึ้จะเห็นเท้าท่านไม่ติดพื้นบางท่านอาจจะสงสัยแต่คําตอบนึ้ได้กระจ่างลงก็เพราะว่า อ.จำลอง สวัสดิ์พงษ์ ได้เรียนถามท่านเจ้าคุณนรฯ ตรง
    ๆเลยว่าเหตุใดท่านจึงได้เดินเขย่งปลายเท้า คำตอบจากปากท่านเจ้าคุณนรฯเหตุผลที่ได้นั้นก็คือว่า
    "เพียงเพื่อให้บริเวณที่เท้าท่านจะสัมผัสพื้นมีบริเวณน้อยที่สุด โอกาสที่ท่านจะเหยียบสัตว์เล็ก ๆ
    เช่นมด แมลง ก็จะน้อยลงไปด้วย จะได้ไม่อาบัติ" ตลอดที่ผมศึกษาชีวิตปฏิปทาและประวัติรวมไปถึงเคยสอบถามผู้ที่ทันท่าน ท่านเป็นผู้หาอาบัติไม่ได้ เป็นพระที่บริสุทธิ์ที่สุดเท่าที่ผมเคยศึกษาและเคยเจอมาและยังเป็นผู้ที่มีสติและสัมปชัญญะตลอดเวลาทุกอริยาบทมีความละเอียดรอบคอบในทุกๆๆด้าน ทําให้ผมเทิดทูนพระองค์นึ่เป็นพระในดวงใจสมกับเป็น"number 1 " ทั้งทางธรรมทั้งทางโลกสมแล้วที่ท่านจะได้รับขนามนามจากพุทราศากนิกชนว่า "พระอรหันต์กลางกรุง" ผู้ทําเมืองให้เป็นป่าคอนกรีต


    ขอขอบพระคุณรูปภาพรวมไปถึงข้อมูลจาก http://www.212cafe.com/boardvip/view.php?user=saktalingchan&id=236
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...