ธรรมะonM. นิยาม๕ ความหมายของชีวิต กรรมนิยาม ธรรมนิยาม

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย cartoony, 7 ธันวาคม 2008.

  1. cartoony

    cartoony Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +34
    ธรรมะOn M. เรื่อง นิยาม ๕ ตอนที่ ๑ ความหมายของชีวิต
    (วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๑)

    ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร

    ---------------------------------------------------------------------------
    ห้องสนทนาธรรม on M.
    ---------------------------------------------------------------------------
    เป้ says:
    ออนเครื่องท่านมหานิพลเหรอเจ้าคะ

    พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
    ใช่ คอมฯ ของอาตมาเสีย ยังซ่อมไม่ได้เลย

    ตอนนี้มีสมาชิกทักเข้ามาเพื่อจะสนทนาด้วย ๒ คนเจ้าค่ะ อยู่เยอรมัน ไปศึกษาที่นั่น
    เปิดห้องเลยไม๊เจ้าคะ วันนี้คุยเรื่องนิยาม ๕ นะเจ้าคะ
    พร้อมหรือยังเจ้าคะ

    พร้อมแล้ว
    เชิญน้องเก๋ค่ะ เชิญน้องอภิชาตค่ะเชิญคุณนัฐค่ะ เชิญคุณหมีค่ะ
    *^o^* Kae (Kitty) ….... says:
    กราบนมัสการท่านค่ะ สวัสดีค่ะ
    API- เรียนรู้ใจตนเอง says:
    ครับผม กราบนมัสการท่านด้วยครับ

    นัฐพล-น.น้ำใจดี (FM๘๙.๒๕Mhz) says:
    กราบนมัสการ พระอาจารย์ปิฯ และสวัสดีเพื่อน ๆ ทุกท่านครับ

    เจริญพรโยมทุกๆ คนจ๊ะ
    Daystar says:
    กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ

    สวัสดีจ๊ะ
    นิมนต์พระอาจารย์แสดงธรรมด้วยค่ะ วันนี้ว่าจะถามเรื่องนิยาม ๕ ว่าแต่ละนิยามคืออะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
    ทำไมคุณเป้ถึงถามเรื่องนี้ล่ะ
    ได้อ่านหนังสือมาเล่มนึง เขาบอกว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น นั้นเป็นเพราะกรรมหรือปัจจัยอย่างอื่นที่ทำให้เกิด
    อย่าง เช่น การได้รับรางวัลที่หนึ่ง นั้นเป็นเพราะความน่าจะเป็น หรือเพราะว่ากรรมดี การที่คนหนึ่งจะถูกปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นฟ้าผ่า นี่เพราะว่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดฟ้าผ่าตรงนั้น หรือว่าเพราะอกุศลกรรมที่เขาเคยทำมา
    คือ กฏธรรมชาติ มีอะไรบ้างเจ้าคะ แล้วสิ่งที่จะเกิดกับเรานี่เพราะกรรมเท่านั้นเหรอ

    กรรมของสิ่งต่างๆ มาบรรจบกัน จึงเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นหรือป่าวค่ะ แต่ละสิ่งมีกฏของมันอยู่
    แล้ว ถ้าฟ้าผ่าลงต้นไม้ นี่เป็นกรรมของต้นไม้ หรือเพียงแค่ธรรมชาติของฟ้าผ่า การที่เราจะถูกล๊อตตารี่ นี่เพราะมีโชคหรือเปล่า เพราะบางคนก็ได้รางวัลเสมอๆ บางคนก็ไม่เคย หรือว่าซื้อคอมมาสักเครื่อง เสีย ต้องไปซ่อมเป็นประจำ แต่บางคนไม่เคยมีปัญหา
    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมอะครับ

    การที่ฟ้าผ่าลงต้นไม้นั้นเป็นอุตุนิยาม หรือเป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเท่านั้น ต้นไม้นั้นไม่มีกรรม หรือไม่ได้สร้างกรรมอะไร
    คำว่า กรรม หรือ กฏแห่งกรรม ใช้กับคนและสัตว์เท่านั้นนะ ต้นไม้ไม่มีชีวิต จึงไม่อาจเรียกได้ว่า เป็นกรรมของต้นไม้

    กฎที่ว่าคือกรรมเก่าใช่ไหมครับ
    แต่ควรที่จะคิดแก้ไขกรรมปัจจุบันด้วย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม เสมอไป ใช่ไหมครับท่านอาจารย์
    ทำไมต้นไม้ไม่มีชีวิตค่ะ
    เข้าเรื่องของพืชและต้นไม้พอดีเลยครับ
    แล้ว ถ้าต้นไม้ต้นนั้นเราได้พึ่งพามัน เกิดกุดด้วนไป ทำให้เราไม่ได้พึ่งพา เป็นผลกระทบต่อเรา นี่กลายเป็นว่าเป็นกรรมของเราด้วยหรือเปล่า
    ถ้าอย่างนั้น ก็ใช่
    ทุกอย่าง ที่เกิดกับเรานั้นเพราะกรรมเก่าของเราเท่านั้นเหรอเจ้าคะ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเรา จะให้เป็นเพราะกรรมนิยามเท่านั้นเหรอเจ้าคะ
    เคยฟังการบรรยายของ ดร.อาจอง ว่าท่านเคยทดลองให้นิสิตแผ่เมตตาให้ต้นไม้ กับอีกกลุ่มไม่ได้แผ่เมตตาให้
    กลุ่มที่ได้รับการแผ่เมตตาเติบโตได้ดี แต่ต้นไม้เมื่อไม่ได้รับการแผ่เมตตาก็เติบโตได้ไม่ดี มันดูเหมือนต้นไม้เขารับรู้ได้น่ะคะ
    เรื่องของว่าต้นไม้มีชีวิตหรือไม่ใช่ไม๊คะ
    ใช่ครับ อยากทราบว่าต้นไม้มีชีวิตหรือไม่ครับ
    คำว่า ชีวิต ในความหมายนี้ หมายถึง การมีจิตใจ หรือสภาพการรู้อารมณ์และการมีวิญญาณการรับรู้ซึ่งต่างกับคำว่า ชีวิต ในความหมายทั่วๆ ไปที่ใช้ในปัจจุบัน (ในทางวิทยาศาสตร์)
    คำว่า วิญญาณ
    หรือการทำหน้าที่ของจิต ได้แก่ การเกิดจักขุวิญญาณ การเห็นทางตา โสตวิญญาณ การได้ยินทางหู .. กายวิญญาณ การรู้สัมผัสทางกาย เหล่านี้เป็นต้น
    มีนิสิตท่านหนี่งลองแช่ง ทั้งๆ ที่ห้ามแล้ว ต้นไม้ก็เหี่ยวเฉาเลยค่ะ ต่อมาน้องคนนั้นก็ป่วย
    จิตของน้องเขาเศร้าสิ
    มีใครทราบบ้างว่า ชีวิตในทางวิทยาศาสตร์ ต้องมีอะไรบ้างคะ

    ชีวิตในทางวิทยาศาสตร์?
    ครับ ท่านอาจารย์ ผมรออ่านอยู่ครับ
    ในทางวิทยาศาสตร์นั้น คำว่า ชีวิต หมายถึง สิ่งที่ยังไม่ตาย คือ ยังมีการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ หรือองค์ประกอบทางด้านพืชพันธุ์หรือทางเคมีของสิ่งเหล่านั้นไปตามสิ่งแวดล้อม
    เช่น ต้นไม้ ก็มีชีวิตในแบบของวิทยาศาสตร์ คือ มีองค์ประกอบทางเคมีทางพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อม และสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง หรือแสดงออกต่อความสัมพันธ์ของสิ่งที่อยู่รอบตัวมัน เช่น แสงแดดอยู่ทางใด ก็หันเหกิ่งใบไปทางนั้น
    ซึ่งในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช้คำว่า ชีวิต เพียงเพราะปฏิกิริยาที่สนองตอบเช่นนั้น ด้วยความหมายเพียงว่ามีปฏิกิริยาทางเคมีหรือโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะ การกระทบ หรือมีการเคลื่อนไหวไปตามสิ่งแวดล้อมที่เข้ามากระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

    ใน ทางวิทย์ สิ่งมีชีวิต มีสัตว์ชั้นต่ำ สัตว์ชั้นสูง สัตว์เซลล์เดียว สัตว์หลายเซลล์ แต่ในทางธรรม พืชไม่มีชีวิตเพราะอะไรค่ะ อะไรคือนิยามในทางธรรมค่ะ
    ในทางพระพุทธศาสนามีการใช้คำว่า ชีวิต ในความหมายที่กว้างบ้างแคบบ้าง คือ
    ความหมายในลักษณะที่ ๑ หมายถึง อายุของอุปาทินนกธรรม (ธรรมชาติที่กรรมแต่งขึ้น)
    หรือช่วงเวลาแห่งการตั้งอยู่ของสังขารที่มีใจครอง เช่นในคำว่า “ชีวิตนาม”
    คำว่า ชีวิตนาม
    หมายถึง อายุของนามธรรม หรือองค์ประกอบด้านจิตใจซึ่งประกอบอยู่ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ที่เรียกว่า เจตสิก ซึ่งนามธรรมนี้มีอายุสั้นมากเพียงเสี้ยววินาที ตั้งแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มีการเกิดดับติดต่อกันเรื่อยไป เป็นความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงและเกิดดับตลอดเวลาซึ่งมีในสัตว์ทั้งหลาย
    เช่นเดียวกับ อายุของรูปธรรม ซึ่งก็มีการเกิดดับเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน มีความเสื่อมสิ้นสลายไปอยู่ทุกขณะ ซึ่งอายุของรูปธรรมทั้งปวงย่อมมีระยะเวลาแห่งการดำรงอยู่ ตั้งแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป (อุปาทขณะ ฐีติขณะ และภังคขณะ) มีความยาวหรือช่วงเวลาเท่ากับจิตเกิดดับไปแล้ว ๑๗ ขณะจิตหรือ ๑๗ ดวง นั่นเอง
    (แต่คัมภีร์บาลีและอรรถกถา มิได้ใช้คำว่า “ชีวิตรูป” ในความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ชีวิตนาม” แต่กลับใช้ในความหมายอื่น และมีคำที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอีกหลายคำ เช่นในคำว่า รูปชีวิตินทรีย์๑๐ ซึ่งก็ใช้ในความหมายที่แตกต่างกันไป)
    สรุป ว่า คำว่า ชีวิต ในความหมายกว้างๆ อาจหมายถึง อายุหรือระยะเวลาแห่งการตั้งอยู่แห่งอุปาทินนกธรรม ที่มีการเกิดดับตลอดเวลาในช่วงเวลาหนึ่งๆ นั่นเอง

    นิมนต์ท่านเอกชัยเจ้าค่ะ
    นมัสการพระเอกชัยครับ

    กราบนมัสการ พระเอกชัย ครับ
    กราบนมัสการ พระเอกชัยครับ
    นมัสการพระอาจารย์ครับ นมัสการพระอาจารย์ค่ะ
    นมัสการท่านเอกชัยครับ
    พระเอกชัยEmptiness does not mean Nothingness says:
    นมัสการพระอาจารย์ครับ

    จิต ๑๗ ดวง คืออะไรหรือเจ้าค่ะ
    เป็น การเปรียบเทียบ ระหว่าง รูปธรรมกับจิตในแกนของเวลาใช่ไหมครับพระอาจารย์ โดย ๑ หน่วยของการเกิดดับของรูปธรรม มีค่าเท่ากับ การเกิดดับของจิตถึง ๑๗ ขณะจิต หมายความว่า จิตมีความเร็วมาก ๑๗ เท่าของรูปธรรม ถูกต้องหรือไม่ครับ
    ถูกต้องแล้ว คำว่าจิต ๑๗ ดวง ก็หมายถึง จิตเกิดดับไปแล้ว ๑๗ ครั้ง
    ซึ่ง ท่านอุปมาไว้ว่า จำนวนของจิตที่มีการเกิดดับตลอดเวลาอย่างรวดเร็วนั้น ในหนึ่งชั่วลัดนิ้วมือ จิตเกิดดับไปแล้วแสนโกฏิขณะ หรือแสนโกฏิดวงนั่นเอง
    ๑๑
    โอ...
    แล้วทำไมต้นไม้ไม่มีชีวิตล่ะเจ้าคะ

    ก็เพราะต้นไม้ไม่มีจิตน่ะสิ
    ๑ หน่วยของการเกิดดับของรูปธรรม นับเป็น ๑ เซลล์ได้ไหมค่ะ
    น้องเก๋ ตอนนี้ หน่วยของพลังงานที่เล็กที่สุดเรียกว่าอะไรนะคะ คว๊าก หรือเปล่า อ่านเหมือน ว๊าก แหะ
    ฮ่าๆ ค่ะ คิดว่าใช่นะคะ
    เขาเป็นพลังงานใช่ไม๊คะ ไม่รู้ว่าคุณสมบัติเป็นอย่างไรบ้าง
    ๑ หน่วยของการเกิดดับของรูปธรรม หมายถึง รูปธรรมเกิดดับไปแล้วครั้งหนึ่งๆ ซึ่งอาจจะเกิดดับมากมายไปพร้อมๆ กันทีละแสนๆ เซลล์ก็ได้
    ตอน นี้ มาดูความหมายของคำว่า ชีวิต อย่างแคบบ้าง หรือจะกล่าวว่า หมายถึงคำว่า ชีวิต ในความหมายอย่างในภาษาไทยที่เราเข้าใจกัน ซึ่งหมายถึง การมีชีวิตที่มีจิตใจหรือยังคงมีลมหายใจอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย
    ๑๒ ที่เราเรียกกันว่า คนนั้นหรือสัตว์นั้นยังไม่ตาย นั่นเอง
    อัน นี้เป็นความหมายของคำว่า ชีวิต ที่เราหมายความกัน คือ สัตว์ที่ยังเป็นๆ อยู่ ที่สามารถประกอบกรรมได้ หรือกระทำสิ่งต่างๆ ได้ตามจิตปรารถนา

    เล็กลงไปถึงระดับไหนเหรอเจ้าคะ แล้วพวกเชื้อโรค แบคทีเรีย หรือโตขึ้นมาก็โปรโตซัว ล่ะ
    พวกเชื้อโรค แบคทีเรีย เป็นสัตว์เซลล์เดียวค่ะ เรียกว่าโปรคาลิโอต แต่ไวรัสไม่ใช่สิ่งมีชีวิต ไวรัสน่าจะเป็นโมเลกุลน่ะคะ
    ซึ่ง ตรงนี้นี่เอง ที่เราจะใช้เป็นตัววัดว่า ธรรมชาตินั้นๆ หรือสิ่งนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตในความหมายนี้หรือไม่ คือมีจิตหรือไม่นั่นเอง อย่างต้นไม้นี่นะ แม้ว่าจะยังไม่ตาย แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นชีวิตในความหมายนี้ คือ ไม่เป็นสัตว์ หรือไม่ใช่สัตว์ เพราะไม่มีจิตใจที่สามารถตั้งเจตนาในการกระทำกรรมต่างๆ ขึ้นได้นั่นเอง
    ชีวิตตามความเข้าใจของมนุษย์ เป็นชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลก(โลกิยะ) ประกอบด้วยการรับรู้ และการแสดงออก
    เอาล่ะ ได้ตอบคำถามเรื่องเกี่ยวกับคำว่าชีวิตและสัตว์(ธรรมชาติที่มีใจครอง) มาพอสมควรแล้ว

    ค่ะ
    กลุ่มของเซลล์ที่มีนามครอง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งไหนมีใจครองล่ะเจ้าคะ
    การ จะรู้ได้ว่า สิ่งใดเป็นสัตว์ (ธรรมชาติที่มีใจครอง) หรือสิ่งใดเป็นพืช (ธรรมชาติที่ไม่มีใจครอง) นั้น ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ก็ดูได้ง่าย เช่น สัตว์ต่างๆ ที่เราเห็นอยู่ แต่การจะรู้ถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เป็นสิ่งที่รู้ได้ยาก
    แม้ใน ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์จะอาศัยกล้องจุลทรรศน์เพื่อให้เห็นสิ่งมีชีวิตที่ เล็กที่สุดก็ตาม ซึ่งบางชนิดก็อาจเป็นพืช บางชนิดอาจเป็นสัตว์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ยังรู้ได้ยาก หรือแยกได้ยากว่าสิ่งนั้นๆ มีจิตหรือไม่
    แม้ ว่ากล้องจุลทรรศน์จะช่วยให้เห็นได้ว่า สิ่งนั้นๆ ซึ่งอาจเป็นพืชหรือสัตว์ก็ตาม มีการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ไป แต่โดยแท้เป็นสิ่งยากมากที่จะจำแนกลงไปถึงสิ่งเหล่านั้นว่ามีจิตหรือไม่ ซึ่งจะเป็นเกณฑ์วินิจฉัยที่แน่นอนต่อความเป็นสัตว์นั่นเอง

    ทาง วิทยาศาสตร์ ชีวิตคือเซลล์ที่ประกอบด้วยกรดนิวคลิอิก(nucleic acids)ชนิดต่างๆ และคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตมีดังนี้คือ สามารถรับความรู้สึก สามารถสืบพันธ์ เจริญเติบโต และสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
    งั้นแสดงว่า ก็มีสิ่งซับซ้อนบางสิ่งตามธรรมชาติที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยไม่มีจิตมาควบคุม
    ตาม หลักของพระพุทธศาสนานั้น การมีจิตหรือมีวิญญาณธาตุ (การมีธาตุรู้) นั้น ก็หมายถึง สิ่งมีชีวิตนั้นสามารถตั้งเจตนาได้นั่นเอง ที่เรียกว่ามี “มโนสัญเจตนา”๑๓
    เช่น ว่า ต้องการไปทางซ้าย ต้องการไปทางขวา ต้องการขึ้นข้างบน ต้องการดู ต้องการฟัง ต้องการแพร่พันธุ์ ต้องการขับถ่าย ต้องการกิน ต้องการนอน อย่างนี้เป็นต้น

    ต้นไม้ก็ทำได้นี่นา ต้องการแสงก็ไปหา ต้องการน้ำก็ไปหา แต่ช้าหน่อย
    ใช่ครับ คิดอย่างนั้นเหมือนกัน
    เข้า ใจแล้วค่ะ คือวิทยาศาสตร์จะวัดหรือนิยามสิ่งต่างๆ จากการรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ใช่ไหมค่ะ ดังนั้นวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถรับรู้จิตได้ จึงยังไม่พบข้อแตกต่างระหว่างพืชกับสัตว์ได้เท่ากับผู้มีจิตละเอียดแล้วก็จะ รู้ว่าต้นไม้ไม่มีจิต หรือป่าวค่ะ
    ตัวอย่างที่จะ ช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้น เช่น ต้นทานตะวัน ย่อมหันเหดอกเข้าหาแสงในยามเช้าเสมอ ตอนนี้ถ้าหากว่าต้นทานตะวันหรือต้นไม้มีจิต ก็หมายถึง ต้นไม้นั้นๆ ก็ควรมีความสามารถที่จะตั้งเจตนาได้ว่า วันนี้ไม่อยากหันไปหาแสงก็ไม่หัน วันนี้อยากหันไปหาแสงก็หันดอกไป วันนี้อยากดูดน้ำและแร่ธาตุจากดินก็ดูด วันนี้ไม่อยากดูดน้ำและแร่ธาตุก็ไม่ดูด วันนี้เจอแสงอยากบานก็บาน วันนี้เจอแสงแดดแต่ไม่มีอารมณ์(ในภาษาไทย) ไม่อยากบานก็ไม่บาน
    ถ้าเป็น เช่นนี้ก็ย่อมยืนยันได้ว่าต้นไม้นี้มีชีวิต เพราะมีมโนสัญเจตนา คือ การตั้งเจตนากระทำสิ่งต่างๆ ได้ ก็ย่อมสามารถยืนยันได้ว่าต้นไม้นั้นมีจิตนั่นเอง

    อืมม การดูว่ามีปฏิกิริยาต่อสิ่งรอบข้าง ไม่ใช่การไปหากระทำอย่างเดียว ต้องมีการเลือก
    ค่ะ เข้าใจอะไรขึ้นมากเลยค่ะ
    แล้วพวกหุ่นยนต์ ที่มีการถูกโปรแกรมให้เหมือนมนุษย์อย่างมากล่ะเจ้าคะ เราจะเอาอะไรมาพิจารณาได้ นอกจากดูเจตนาในการเลือก
    ถ้า ธรรมชาติต้องเป็นไปตามกระบวนการในรูปแบบเดียว ขึ้นต่อการกระทบ เรียกว่า มีปฏิกิริยาตอบโต้ในทางเดียว และเป็นเช่นเดิมเสมอ เช่น ดอกไม้ก็ต้องบานตามฤดูกาล หันเหไปตามสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆ มีการเจริญเติบโต เปลี่ยนแปลงรูปร่าง หรือแสดงลักษณะเช่นเดิมตามสิ่งที่เข้ามากระทบ อย่างนี้คงจะสันนิษฐานได้ว่า สิ่งมีชีวิตนั้นย่อมจะไม่มีจิตใจ (เว้นแต่สัตว์พิการนะ เช่น คนเป็นอัมพาต เป็นต้น)
    ชีวิตคือกายกับจิต แบ่งออกเป็น ๕ กอง เรียกว่า ขันธ์ ๕ ประกอบด้วยกาย(รูป) กับจิต(นาม).เวทนา-สัญญา–สังขาร-วิญญาณ, เวทนา คือ อารมณ์ ความรู้สึก หุ่นยนต์ไม่มี
    เอ แล้วการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสล่ะ
    เชื้อไวรัสจะเปลี่ยนแปลงของมันเองโดยธรรมชาติ น่าจะเป็นต้นไม้น่ะคะ ในทางวิทยาศาสตร์ไม่ถือว่าไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตน่ะคะ
    มันมีเจตนาในการปรับปรุงสายพันธุ์หรือเปล่า เช่นให้ติดได้มากขึ้น ขยายตัวเองได้มากขึ้น
    มันเป็นโมเลกุลโปรตีนที่หอหุ้มหน่วยโปรตีนรหัสพันธุกรรมต่างๆ แล้วดำเนินไปตามปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเซลล์โดยธรรมชาติ
    ไวรัส โปรตีนมันมาเกาะดีเอ็นเอเรา แล้วก็หลอกให้กระบวนการถอดรหัสของเราก๊อบบี้ตัวมันด้วยน่ะคะ น่าจะเป็นไปโดยกิริยาธรรมชาติ หรือปฏิกิริยาธรรมชาติ
    อย่าง ที่ว่านั่นล่ะ องค์ประกอบทางธรรมชาติ เช่น สารเคมีของสิ่งหนึ่งๆ หรือของเชื้อโรคต่างๆ นั้น เราจะรู้ได้ว่าเป็นสัตว์หรือมีจิตหรือไม่นั้น ก็ต้องดูว่ามีมโนสัญเจตนาหรือไม่ เว้นแต่สัตว์บางประเภทเท่านั้น ที่แม้ไม่มีจิตแต่ก็มีชีวิต เช่น อสัญญสัตตพรหม๑๔ อันนี้ลึกซึ้งหน่อยนะ เรื่องของภพภูมิต่างๆ ในสังสารวัฏ
    กลับมาว่ากันต่อเรื่อง นิยาม ๕ และความสัมพันธ์ ดีไหมค่ะ
    กะลังรออยู่เนี่ย
    จะเริ่มเรื่อง นิยาม ๕ แล้วใช่ไหม
    ค่ะ
    <center>....................................</center>[SIZE=-1]

    คำว่า นิยาม หมายถึง กำหนดอันแน่นอน ความเป็นไปอันมีระเบียบที่แน่นอนของธรรมชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่า กฏธรรมชาติ นั่นเอง
    ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ได้จำแนกนิยามออกมาเป็น ๕ ประเภท
    ๑๕ คือ
    ๑. อุตุนิยาม คือ ความเป็นไปของอุตุ คือ ดินฟ้าอากาศ ที่เกี่ยวด้วยอุณหภูมิ และสภาพทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น อาจเรียกว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติก็ได้
    เช่น ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล คลื่น ลม ความเย็นความร้อนของอากาศ แสงแดด หมู่เมฆ เหล่านี้เป็นต้น

    รวมถึงทางธรณีวิทยาด้วยใช่ไม๊เจ้าคะ แผ่นดินไหว ดวงดาวหมุนไป แสงอาทิตย์
    อัน นั้นก็เช่นเดียวกัน การเกิดแผ่นดินไหว คลื่นลมในมหาสมุทร เป็นต้น เรียกง่ายๆ ว่า เรื่องที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นล่ะ ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมทางด้านวัตถุรอบตัวมนุษย์นั่นเอง
    เจ้าค่ะ
    ครับผม
    งั้นคอมพิวเตอร์ก็เป็นไปตามอุตุนิยาม พังไปตามธรรมชาติได้
    ใช่แล้ว
    ๒. พีชนิยาม กฏแห่งพืชพันธุ์ หรือกฏว่าด้วยระบบพันธุกรรม

    การสืบทอด
    เช่น คนผิวขาว ก็มีลูกผิวขาว คนสูงใหญ่ ก็มีลูกสูงใหญ่ สุนัขก็ออกลูกเป็นสุนัข ปลาทองก็ออกลูกเป็นปลาทอง ต้นกล้วยก็ออกลูกเป็นกล้วย หรือคนเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรม ก็ติดต่อไปสู่บุตรหลาน อย่างนี้เป็นต้น
    พอเข้าใจนะ

    ครับผม
    ค่ะ
    เจ้าค่ะ แล้วถ้าเซลโดนรังสี แล้วกลายพันธุ์ล่ะ พีชนิยามเปลี่ยนไปเพราะอุตุนิยาม
    ก็ นั่นล่ะ พีชนิยามก็มีการแปรสภาพไปตามสิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบทางเคมีที่เปลี่ยนแปลง ไปนั่นเอง ซึ่งถูกแล้วตามที่คุณว่า คือแปรไปได้ตามอุตุนิยามนั่นเอง
    สองนิยามแรกก็สัมพันธ์กันได้ ใช่ไม๊เจ้าคะ
    ทุกอย่างสัมพันธ์กันหมด มีผลกระทบต่อกันได้
    เหมือนว่า วิทยาศาสตร์ ก็รู้จักแค่สองข้อแรกนี้เท่านั้น
    น่าจะใช่ แค่สิ่งแวดล้อมกับเผ่าพันธุ์
    ต่อ ไป ๓. จิตตนิยาม กฏแห่งกระบวนการทำงานของจิตใจ เช่นว่า จิตใจทำงานได้อย่างไร มีขั้นตอนหรือองค์ประกอบในการทำงานอย่างไร ซึ่งเป็นลำดับขั้นตอนและกระบวนการที่แน่นอน
    จิตนิยาม มีความสัมพันธ์อย่างไรกับสองข้อแรกน้า
    เช่น ว่า ในขณะที่จิตไม่รับรู้ต่อโลก เช่น ขณะหลับสนิท จิตก็ลงสู่ภวังค์ หรือเป็นภวังคจิต คือ ไม่รับรู้อารมณ์ และเมื่อจิตเริ่มขึ้นสู่วิถีการรับรู้อารมณ์ เช่น เริ่มมีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น จิตก็ขึ้นสู่วิถีตามลำดับ
    เริ่มตั้งแต่ อตีตภวังค์->แล้วไปสู่ภวังคจลนะ->ภวังคุปปเฉทะ->แล้วเข้าสู่ปัญจ ทวาราวัชชนะ เป็นปัญจทวาราวัชชนจิต->เป็นปัญจวิญญาณจิต อย่างนี้เป็นต้น เป็นไปตามลำดับแห่งกระบวนการทำงานของจิตใจ
    ๑๖
    ซึ่งเป็นธรรมดาของจิต ที่ต้องเป็นเช่นนั้น ไปตามลำดับๆ เป็นเช่นนี้กับสัตว์ทั้งปวงที่อยู่ในปัญจโวการภูมิ (ต้องขออภัยที่ต้องใช้ศัพท์ที่เข้าใจยากในทางอภิธรรมประกอบบ้าง)

    อ่ะดิ แต่ละอันหมายความว่าอะไรอ่ะ
    พูด ง่ายๆ ก็คือ จิตใจของคนเรา ก็มีระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ซึ่งหมายถึง มีกระบวนการทำงานตามธรรมชาติของมันเองที่ไม่เปลี่ยนแปลงไป เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยที่เข้ามากระทบและปรุงแต่งด้วยกระบวนการเช่นว่านั้น อยู่เสมอนั่นเอง
    ก็ต้องมีช่องทางติดต่อกับโลกภายนอกด้วย ก็ต้องไปกระทบต่ออุตุนิยามและพีชนิยามด้วยสิ
    จิตเป็นพลังงานหรือป่าวค่ะ
    จิต ไม่ใช่พลังงานในความหมายอย่างวิทยาศาสตร์ แต่จิตสามารถสร้างพลังงานขึ้นมาได้ เช่น สร้างพลังควบคุมขึ้นมา ที่เรียกว่า มีพลังจิต สามารถบังคับควบคุมวัตถุต่างๆ ได้ เป็นต้น
    เหรอ จิตเป็นตัวสร้างขึ้นมาเหรอ นึกว่าเป็นพลังของจิตซะเอง
    ยก ตัวอย่างเช่น เราเคยคิดหรือไม่ ว่าเรายกแขนยกขาของเราได้อย่างไร ทั้งที่เพียงแต่ใจนึกเท่านั้น ว่าต้องการเดินไป ต้องการพูดคุย ร่างกายก็แสดงอาการเป็นไปต่างๆ ตามแต่จิตปรารถนา เช่นนี้ก็เห็นได้ชัดแล้วว่า จิตมีอำนาจเพียงใดในการควบคุมสรีระร่างกาย ทั้งที่จิตก็มิได้มีรูปร่างปรากฏแต่อย่างใด
    เคยอ่านเจอว่า จิตยังแบ่งเป็นจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก ในทางพุทธศาสนาเรียกว่าอะไรหรือค่ะ แบ่งแค่นี้ถูกไหมค่ะ หรือว่าหยาบไปค่ะ
    ถ้าจำไม่ผิด จะมีจิตไร้สำนึก อีก ๑ อันครับ
    ที่เข้าใจเหมือนๆ ว่าจิตใต้สำนึก กับจิตไร้สำนึกจะเป็นอันเดียวกันน่ะคะ
    ในคัมภีร์ธรรมบท๑๗ พระพุทธเจ้าตรัสถึงลักษณะของจิตไว้ว่า "ทูรํคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ เย จิตตํ" เป็นต้น ซึ่งแปลความหมายได้ว่า ธรรมชาติของจิตนี้
    " ทูรํคมํ" คือ ไปได้ไกล หมายถึง คิดไปได้ไกล คือ คิดเรื่องต่างๆ ได้มาก แม้ในเรื่องหรือในสิ่งที่อยู่ห่างไกลกันมากๆ เช่น คิดถึงเมืองนอกเมืองนาได้เป็นต้น

    เอ ตรงนี้ จิตไปถึงนั่นเลยอย่างที่เขาว่ากัน หรือว่าเพียงแค่สัญญาที่เคยมี เท่านั้นเจ้าคะ หรือว่าเป็นไปได้ทั้งสอง อย่างที่เขาเรียกว่าถอดจิต
    การ คิดไปไกลๆ นั้นให้เข้าใจว่า หมายถึง การคิดไปถึงเรื่องที่ทรงจำไว้ในใจ หรือจินตนาการในใจเท่านั้น ดังเรื่องที่มาในธรรมบท ซึ่งเป็นเหตุแห่งการกล่าวถึงเรื่องนี้
    คือ พระภิกษุท่านคิดปรุงแต่งถึงเรื่องอนาคตว่าจะสึกไปมีลูกมีเมียอย่างนั้นอย่าง นี้ เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าตรัสคาถานี้ว่า "ทูรํคมํ" คือ คิดไปไกล เป็นต้น

    สี่ทุ่มแล้ว สมาชิกยังไหวกันอยู่หรือเปล่าคะ
    ไหวครับผม

    ไหวครับ ขึ้นอยู่กับพระอาจารย์และเพื่อนสมาชิกครับ
    ที่นี่เพิ่งห้าโมงเย็นค่ะ ไหวขอรับ
    เอก จรํ คือ ไปดวงเดียว หมายถึง เกิดขึ้นได้ทีละหนึ่งดวง หรือรับรู้ได้ทีละหนึ่งอย่าง ทีละหนึ่งสิ่ง หนึ่งเรื่อง หรือหนึ่งอารมณ์ และรวมหมายถึง เวลาคิดก็คิดไปคนเดียว คนอื่นไม่เกี่ยวด้วย คือ ไม่มีใครคิดไปกับเราด้วย เราคิดของเราอยู่คนเดียว
    อย่าง นั้นเรียกว่าคิดไปเรื่อยไม่ใช่เหรอเจ้าคะ แต่ไม่ได้มีอยู่จริง เรากำลังคิดเรื่องนี้อยู่ แล้วอีกคนอยู่ๆ ก็บอกว่ากำลังคิดเรื่องนี้(เรื่องเดียวกัน)
    จิตนี่เข้าใจยากนะคะ ถ้าฝึกกรรมฐานจะรับรุ้ได้ใช่ไหมค่ะ
    อสรีรํ คือ ไม่มีรูปร่างปรากฏ หมายถึง จิตนี้ไม่อาจเห็นได้ ที่ท่านเรียกว่า “อนิทสฺสนา ธมฺมา” คือ เห็นไม่ได้ นั่นเอง
    ซึ่ง ตรงนี้ต่างกับความเชื่อของศาสนาโบราณ เช่น ศาสนาพราหมณ์ฮินดู ที่เชื่อว่า เราสามารถเห็นจิตได้ หรือเวลาคนตายไปแล้วจะมีจิตล่องลอยขึ้นมาให้เห็นได้

    ฝรั่งเขายังเอาคนที่กำลังจะตายมาชั่งน้ำหนักหาว่าเมื่อตายแล้วจิตที่ออกไปทำให้น้ำหนักลดไปเท่าไหร่ คือหาน้ำหนักของดวงจิต
    แต่ ในหลักของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตนั้นเห็นไม่ได้ แต่รับรู้ได้ คือ สามารถรับรู้ได้ด้วยอายตนะทั้ง ๖ ว่าบุคคลนั้นมีจิต หรือปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ขึ้นได้ด้วยอำนาจแห่งจิตของบุคคลนั้น
    เช่น เรารู้ว่าคนๆ นี้ใจดีหรือจิตปรุงแต่งดี คนๆ นี้ใจร้ายหรือปรุงแต่งร้าย คนๆ นี้ใจเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล เป็นต้น

    รู้ได้ด้วยการแสดงออกเหรอเจ้าคะ
    เหมือนกับสัมผัสรังสีแห่งความดี รังสีอำมหิตได้จากคนคนหนึ่งหรือป่าวค่ะ อิอิ
    นี่ล่ะ เรียกว่า "อสรีรํ" คือ ไม่มีรูปร่างให้เห็นได้ เพียงแต่รู้ได้ว่ามีจิตหรือไม่มีจิตเท่านั้น เช่น คนตายก็ไม่มีจิต เป็นต้น
    สุด ท้าย "คุหาสยํ" คือ อาศัยถ้ำอยู่ ซึ่งหมายถึง อาศัยอยู่กับอายตนะนี้ หรือร่างกายนี้นั่นเอง เช่น เราสัมผัสส่วนใดในร่างกายของเรา ก็รู้สึกได้ถึงอวัยวะส่วนนั้น เราไม่สามารถรู้สึกไปถึงสิ่งที่อยู่นอกถ้ำ คือ ร่างกายนี้ได้
    เช่น เราไม่อาจรู้ได้ว่า คนอื่นเขามีความรู้สึกอย่างไร เป็นต้น เพราะธรรมดาจิตของคนเรานั้นต้องเกิดดับอยู่ที่ร่างกายของตนเท่านั้น ไม่ออกไปภายนอก

    รู้ได้แค่สัมผัสทั้ง ๕ ที่กายที่อยู่อาศัย สามารถมีได้เท่านั้นเหรอเจ้าคะ
    จิตรู้ได้ที่กาย (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) และที่ความนึกคิดภายในจิตใจ
    อยู่ได้ด้วยตัวเองไม่ได้เหรอเจ้าคะ ต้องมีที่อาศัยอยู่เสมอเหรอเจ้าคะ
    แต่ ในกรณีนี้ เว้นไว้แต่อรูปพรหมซึ่งมีจิตแต่ไม่มีรูปให้อาศัย ซึ่งในกรณีนี้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “คุหาสยํ” นั้นหมายถึง ในปัญจโวการภูมิ คือ ในภูมิของสัตว์ที่ประกอบอยู่ด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่รวมถึงใน “จตุโวการภูมิ” คือ ภูมิของสัตว์ที่ประกอบอยู่ด้วยขันธ์ ๔ คือมีแต่เพียงนามขันธ์ทั้ง ๔ คือมีแต่เพียงนามธรรม ไม่มีรูปธรรมให้อาศัย
    ไม่มีรูป ก็ไม่มีปริมาตรสิ ไม่มีสิ่งแวดล้อม (สวรรค์ชั้นพรหมชั้นนั้น)
    แล้วการถอดจิตล่ะคะ
    คำ ว่า การถอดจิต นั้น เป็นความเข้าใจที่ไขว้เขวของผู้ปฏิบัติซึ่งยังมิได้ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่าง เพียงพอ หรือเป็นเพียงสำนวนพูดเท่านั้น ซึ่งโดยแท้คำว่า การถอดจิต นั้นไม่มี
    แล้วที่เขาว่าเขาเป็น มันคืออะไรอ่ะ
    ค่ะ บ้างก็ว่าถอดจิตจากกายหยาบอย่างนี้น่ะคะ
    ในพระไตรปิฎก พระพุทธตรัสสิ่งที่เราเข้าใจกันว่า การถอดจิต นั้น โดยตรัสเรียกว่า " มโนมยิทธิ"๑๘ คือ การแสดงฤทธิ์ด้วยใจ หรือการแสดงฤทธิ์ทางใจ เช่น ตรัสว่า "ภิกษุย่อมน้อมจิตไปเพื่อเนรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือ เนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปอันเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง ถอดดาบออกจากฝัก หรือดั่งงูลอกคราบ"
    ซึ่งในกรณีนี้หมายถึง บุคคลนั้นอาศัยจิตที่เป็นสมาธิขั้นสูง แล้วเนรมิตกายอื่นออกไป โดยมีจิตที่รูปเดิมนั่นแหละ บังคับควบคุมอาการของรูปที่ออกไปนั้น ซึ่งมิได้หมายถึงการถอดจิตออกไปดั่งเช่นเราเข้าใจ หรือผู้ปฏิบัติพระกรรมฐานโดยมากเข้าใจผิดกัน

    เป็นการแยกร่างเหมือนที่เราเห็นในหนังนินจาสิ
    โดย แท้ ถ้ารูปนี้ หมายถึง ถ้าร่างกายนี้ไม่มีใจครองเมื่อใด รูปนั้นก็จะตายลง ดังเช่นคนตายแล้วนั่นเอง (เว้นแต่การเข้านิโรธสมาบัติของพระอริยบุคคล) ถ้าร่างกายนี้ไม่มีใจครองเมื่อใด รูปนั้นก็จะตายลง ดังนั้น จึงไม่มีการถอดจิต
    ยกตัวอย่างเช่น ขณะกำลังนั่งอยู่ คนที่เข้าใจไปว่าตนถอดจิตนั้น ความจริงก็หมายถึง บุคคลผู้นั้นได้เนรมิตกายใหม่ขึ้นมาให้ตั้งอยู่ในที่เดิมที่ตนอยู่แทนรูปแท้ แล้วตนเองนั้น (ทั้งกายทั้งใจ) ก็เหาะไป หรือดำดินไปในที่ต่างๆ ด้วยอำนาจฤทธิ์ทางใจของตน ซึ่งกรณีนี้เรียกว่า การแสดง “อิทธิวิธี”
    ๑๙
    พูดง่ายๆ ว่า ไปทั้งตัวและหัวใจนั่นล่ะ ไม่ใช่ว่าถอดไปแต่จิตได้ เข้าใจไหมล่ะ

    เชิญคุณกระต่ายค่ะ
    RaBbIt:ทึ่เดิม says:
    โห้ว ดีจัง ออนกันเวลานี้ประจำหรือป่าวค่ะ

    เริ่มสองทุ่มค่ะ ทุกวันอาทิตย์ ในช่วงเข้าพรรษาค่ะ
    เอาล่ะ เวลาก็ได้ล่วงเลยมามากแล้ว จะขอกล่าวถึงนิยามอีก ๒ ข้อที่เหลือไว้แต่เพียงหัวข้อก่อนให้ครบถ้วน
    ต่อครั้งหน้านะเจ้าคะ และมาคุยกันก่อนว่า ๓ นิยามแรก มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
    ๔. กรรมนิยาม กฏแห่งกรรม หรือกฏแห่งธรรมชาติอันเกี่ยวเนื่องด้วยการกระทำของมนุษย์ซึ่งจะเป็นกรรมได้ ก็อาศัยเจตนาของบุคคลนั้น คือ การกระทำที่ประกอบอยู่ด้วยเจตนาของบุคคลนั่นเอง
    และสุดท้าย ๕. ธรรมนิยาม คือ กฏแห่งธรรม หรือกฏแห่งธรรมชาติ
    คือ ความเป็นเหตุเป็นผลของสิ่งทั้งหลาย หรือความเป็นเหตุเป็นปัจจัยของสิ่งทั้งหลาย ว่าสิ่งทั้งหลายจักต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยในธรรมชาติอย่างแน่นอน ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นได้ลอยๆ หรือโดยบังเอิญ ทุกอย่างต้องอาศัยเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น ซึ่งก็หมายถึงเหตุปัจจัยทั้ง ๔ นิยามข้างต้น หรือ ๔ ประการข้างต้นนั่นเอง
    ฉะนั้น คำว่า ธรรมนิยาม จึงหมายถึง กฏแห่งความเป็นไปตามธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย ที่ต้องเป็นไปอย่างนั้นๆ ตามเหตุตามปัจจัยทั้งอุตุ พีช จิตต และกรรม นั่นเอง

    ขอบคุณค่ะ
    จบแล้วสิเนี่ย เรื่องนี้ในวันนี้
    เวลาก็ได้ล่วงเลยมามากแล้ว
    ขอบคุณมากๆ นะคะ
    ต่อสัปดาห์หน้าไหมค่ะ หรือว่าเรื่องใหม่ดีค่ะ สัปดาห์หน้า
    สุดท้ายสำหรับค่ำคืนนี้ ขอฝากพระพุทธศาสนสุภาษิตไว้ว่า
    คืนนี้ขอฝากไว้ยาวหน่อยนะ

    ครับผม
    “อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตาน อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ
    ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา ...”
    ๒๐
    ง่า แปลว่าอะไรอ่ะ
    “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตจะอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็ยังคงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้น(ดังนี้)ว่า...
    “สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ...สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ...สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ”
    สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ นั้นเอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นแล้ว .. จึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่าย.. ดังนี้”
    เอาล่ะนะ สำหรับคืนนี้

    กราบขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
    ขอให้ญาติโยมทุกคนเจริญในธรรมยิ่งขึ้นไป
    ขอบพระคุณ ท่านพระอาจารย์ปิฯ และ พระอาจารย์เอกชัยด้วยครับ
    ที่ได้สละเวลามาให้ความรู้ครับ ขอนมัสการลาครับ
    กราบขอบพระคุณมากค่ะ อนุโมทนาธรรมด้วยค่ะ
    กราบขอบพระคุณมากครับ
    แล้วสัปดาห์หน้าคงจะได้มาต่อเนื้อหาให้บริบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง เจริญพร
    สาธุ
    ลา ญาติธรรมทุกท่านด้วยครับ สวัสดีครับ
    สวัสดีครับ
    สวัสดีค่ะ
    นมัสการลา ท่านเอกชัย ด้วยครับ
    แล้วเจอกันวันอาทิตย์หน้าค่ะ
    ไปลองคิดในเรื่องความสัมพันธ์ของทั้ง ๕ ข้อ กันดูก่อนนะคะ ครั้งหน้าจะได้มาต่อ และคุยวิเคราะห์กัน

    นมัสการพระอาจารย์ครับ

    [/SIZE][SIZE=-1]อ้างอิง
    ๑ สํ.ส.อ.๒๔ หน้า ๔๗ (อรรถกถาอุปเนยยสูตร)
    “อนิพฺพตฺเตน น ชาโต ปจฺจุปฺปนฺเนน ชีวติ จิตฺตภงฺคมโต โลโก ปญฺญตฺติ ปรมตฺถิยา.”
    [เพราะ จิตไม่เกิด สัตว์โลกก็ชื่อว่าไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สัตว์โลกก็ชื่อว่าเป็นอยู่ เพราะความแตกดับแห่งจิต สัตว์โลกจึงชื่อว่าตายแล้ว นี้เป็นบัญญัติเนื่องด้วยปรมัตถ์.]
    ๒ ที.ปา.๑๑/๓๐๖/๒๐๗; อภิ.วิ.๓๕/๑๒๐/๗๕. วิญญาณธาตุ ๖
    ๓ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต [ชีวิต น. ความเป็นอยู่, ตรงข้ามกับ ความตาย. (ป., ส.).]
    ๔ อภิ.สํ.๓๔/๙๕๕/๓๒๘ อุปาทินนกธรรม
    [๙๕๕] อุปาทินนธรรม เป็นไฉน? วิบากในภูมิ ๓ และรูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อุปาทินนธรรม.
    สงฺคห ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๖๐
    อุ ปาทินนกรูป แปลว่า รูปที่กรรมยึดครอง คือรูปที่เป็นผลเกิดจากกรรมได้แก่กรรมชรูป คือรูปเกิดแต่กรรมนั้นเอง รูปนี้มี ๑๘ ชนิด คือ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ เหล่านี้เรียกว่าอุปาทินนกรูป ส่วนรูปที่เหลืออีก ๑๐ ชนิด คือสัททรูป ๑ วิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ ลักขณรูป ๔ เรียกว่าอนุปาทินนกรูป แปลว่ารูปที่ไม่ถูกกรรมยึดครอง คือรูปที่ไม่เป็นผลเกิดจากกรรม
    ๕ สํ.ส.อ.๒๔ หน้า ๔๕ ชีวิตนาม
    ก็เมื่อ ว่าโดยปรมัตถ์ ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยมาก (เกินเปรียบ) คือสักว่าเป็นไปเพียงจิตดวงเดียวเท่านั้น (ว่าโดยปรมัตถ์ ขณะมี ๓ คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ) จึงชื่อว่า น้อย เพราะความที่ชีวิตนามนั้น เป็นของเป็นไปกับด้วยขณะ. อุปมาด้วยล้อแห่งรถ แม้เมื่อหมุนไป ย่อมหมุนไปโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งเท่านั้น แม้เมื่อหยุดอยู่ ก็ย่อมหยุดโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งนั่นแหละ ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นเมื่อจิตดวงนั้นสักว่าแตกดับแล้ว ท่านก็เรียกว่า สัตว์ตายแล้ว
    ๖ ขุ.ปฏิ.อ.๖๘ หน้า ๒๓๕
    สหชาตธรรมดำรงอยู่ได้ด้วยธรรมชาตินั้น ฉะนั้นธรรมชาตินั้นชื่อว่า ชีวิต, ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ เพราะทำชีวิตินทรีย์นั้นให้เป็นใหญ่ ในลักษณะแห่งการอนุบาลรักษาสหชาตธรรม.
    ชี วิตินทรีย์นั้นมี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ ๑. อรูปชีวิตินทรีย์ (นามชีวิตินทรีย์) ๑. ธรรมชาติที่เกิดร่วมกับกัมมชรูปทั้งหมด อนุบาลรักษาสหชาตรูปไว้ ชื่อว่า รูปชีวิตินทรีย์, เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทั้งหมด อนุบาลรักษาสหชาตนามธรรมไว้ ชื่อว่า อรูปชีวิตินทรีย์.
    ๗ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๕ เจตสิก
    สิ่ง ที่เกิดร่วมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุ (คือที่อาศัยเกิด) ร่วมกับจิตเป็นสิ่งที่ประกอบอยู่กับจิตเท่านั้น เรียกว่า เจตสิก ได้แก่นามขันธ์ ๓ คือเวทนาขันธ์ ๓ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ ในเบญจขันธ์นั่นเอง กล่าวคือขันธ์ทั้ง ๓ นั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ ประกอบกับใจเท่านั้น เช่น เวทนาขันธ์อันได้แก่สุข ทุกข์ อุเบกขา โสมนัส และโทมนัส เหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ ประกอบกับจิตเท่านั้น ถ้าไม่มีจิต เวทนาก็เกิดขึ้นไม่ได้ สัญญา และสังขารก็เช่นเดียวกัน ล้วนแต่เกิดขึ้นในจิต ประกอบกับจิตใจทั้งสิ้น
    ๘ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๔ หน้า ๘
    ขณะ คือ จิตเกิดขึ้นดวงหนึ่งก็นับเป็นขณะหนึ่ง เรียกว่า ขณะจิต บางที่ก็เรียกว่า ขณะเฉยๆ แต่ว่าจิตที่เกิดขึ้นดวงหนึ่งที่เรียกว่าขณะหนึ่งนั้นยังแบ่งได้เป็น ๓ อนุขณะ หรือ ๓ ขณะเล็กคือ
    อุปาทขณะ หมายถึง ขณะที่จิตเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ ฐิติขณะ หมายถึงขณะที่จิตที่ตั้งอยู่ ๑ อนุขณะ และภังขณะ หมายถึง ขณะที่จิตนั้นดับไป ๑ อนุขณะหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าขณะจิตหรือจิตแต่ละดวงนั้นมีอยู่ ๓ อนุขณะ คือ อุปาทขณะ ๑ ฐิติขณะ ๑ ภังคขณะ ๑ อนึ่ง จิต ๑๗ ขณะ เท่ากับอายุของรูปธรรมรูป ๑ กล่าวคือจิตเกิดดับไป ๑๗ หน รูปจึงดับไปหนหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแต่ละรูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับไป ๑๗ ขณะหรือ ๑๗ หน ดังนั้นรูปแต่ละรูปจึงมีอายุเท่ากับ ๕๑ อนุขณะ หรือ ๕๑ ขณะเล็ก เป็นอุปาทขณะ คือ ขณะที่รูปเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, เป็นฐิติขณะ คือ ขณะที่รูปตั้งอยู่ ๔๙ อนุขณะ และเป็ยภังคขณะ คือขณะที่รูปดับไป ๑ อนุขณะ
    โดย นัยนี้จึงเห็นว่า อุปาทขณะของจิตกับอุปาทขณะของรูปมี ๑ อนุขณะเท่ากัน ภังคขณะของจิตกับภังคขณะของรูปก็มี ๑ อนุขณะเท่ากันอีก, ส่วนฐิติขณะของจิตก็มี ๑ อนุขณะ แต่ฐิติขณะของรูปนั้นมีถึง ๔๙ อนุขณะ รูปจึงมีอายุยาวกว่าจิตมาก รูปที่มีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต หรือ ๕๑ อนุขณะนั้น มีชื่อเรียกว่า สตตรสายุกรูป คือรูปที่มีอายุชั่ว ๑๗ ขณะจิต
    รูปธรรม ทั้งหมดมี ๒๘ รูป แต่เป็น สตตรสายุกรูป คือรูปที่มีอายุ ๑๗ ขณะจิตเพียง ๒๒ รูปเท่านั้น ส่วนอีก ๖ รูปคือ วิญญัติรูป ๒ และลักขณะรูป ๔, หามีอายุถึง ๑๗ ขณะจิตไม่ เพราะวิญญัติรูป ๒ เป็นรูปที่เกิดพร้อมกับจิตและดับไปพร้อมกับจิต จึงมีอายุเท่ากับอายุของจิตดวงเดียวคือ ๓ อนุขณะเท่านั้น ส่วนลักขณะรูป ๔ นั้น อุปจยรูปกับสันตติรูป เป็นรูปที่ขณะแรกเกิด คือ อุปาทขณะ มีอายุเพียง ๑ อนุขณะเท่านั้นไม่ถึง ๕๑ ขณะ, ชรตารูป เป็นรูปที่ตั้งอยู่คือฐิติขณะ มีอายุ ๔๙ อนุขณะเท่านั้นไม่ถึง ๕๑ ขณะ, และอนิจจตารูปที่กำลังดับไป คือภังคขณะ ก็มีอายุเพียง ๑ อนุขณะ ไม่ถึง ๕๑ ขณะ เป็นอันว่าลักขณะรูปทั้ง ๔ นี้ แต่ละรูปก็หามีอายุไม่ถึง ๕๑ อนุขณะแต่สักรูปหนึ่งไม่
    ๙ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๑๑
    ชีวิตรูป แปลว่า รูปที่ทำให้ดำรงอยู่ ทำให้เป็นอยู่ได้ หมายความว่า ทำให้กรรมชรูป (รูปเกิดจากกรรม เช่น ปสาทรูป และภาวรูป เป็นต้น) ดำรงอยู่ได้ โดยชีวิตรูปนี้ทำหน้าที่ธำรงสหชาตรูป (รูปที่เกิดร่วมกับตน คือกรรมชรูป) มิได้สลายไป กล่าวคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้น ที่สามารถทำหน้าที่ได้อยู่ ยังเป็นอยู่ได้ ก็เพราะมีชีวิตรูปรักษาไว้ ธำรงไว้ตลอดอายุ
    ๑๐ อภิ.วิ.๓๕/๒๓๘/๑๑๗
    ชีวิตินทรีย์ เป็นไฉน ? ชีวิตินทรีย์มี ๒ อย่างคือ รูปชีวิตินทรีย์ อรูปชีวิตินทรีย์ ในชีวิตินทรีย์ ๒ อย่างนั้น
    รูปชี วิตินทรีย์ เป็นไฉน ? อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของรูปธรรมนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า รูปชีวิตินทรีย์.
    อรูปชีวิตินทรีย์ (นามชีวิตินทรีย์) เป็นไฉน ? อายุ ความดำรงอยู่ ความเป็นไปอยู่ กิริยาที่เป็นไปอยู่ อาการที่สืบเนื่องกันอยู่ ความประพฤติเป็นไปอยู่ ความหล่อเลี้ยงอยู่ ชีวิต อินทรีย์คือชีวิต ของนามธรรมนั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า อรูปชีวิตินทรีย์.
    อภิ.ธา.อ.๗๙ หน้า ๒๔
    คำว่า "ชีวิตินฺทฺริยฺ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ" ความว่า รูปชีวิตินทรีย์นับสงเคราะห์ได้ด้วยรูปขันธ์
    อรูปชีวิตินทรีย์นับสงเคราะห์ได้ด้วยสังขารขันธ์.
    วิ.ม.อ.๒ หน้า ๓๘๒
    ใน บทว่า อินทรีย์คือชีวิต นั้น อินทรีย์คือชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์๑ อรูปชีวิตินทรีย์๑. ใน ๒ อย่างนั้น ในอรูปชีวิตินทรีย์ ไม่มีความพยายาม ใครๆ ไม่สามารถปลงอรูปชีวิตินทรีย์นั้นได้. แต่ในรูปชีวิตินทรีย์ มีบุคคลอาจปลงได้. ก็เมื่อปลงรูปชีวิตินทรีย์นั้น ชื่อว่า ปลงอรูปชีวิตินทรีย์ด้วย. จริงอยู่ อรูปชีวิตินทรีย์นั้น ย่อมดับพร้อมกับรูปชีวิตินทรีย์นั้นนั่นเอง เพราะมีพฤติการณ์เนื่องด้วยรูปชีวิตินทรีย์นั้น.
    อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๒๔๔ (อรรถกถาชีวิตินทริยนิทเทส)
    พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งชีวิตินทรีย์..
    สหชาตรูปานุปาลนลกฺขณํ ชีวิตินฺทริยํ ชีวิตินทรีย์มีการตามรักษารูปที่เกิดพร้อมกันเป็นลักษณะ (สภาวะ)
    เตสํ ปวตฺตนรสํ มีความเป็นไปของรูปธรรมเหล่านั้นเป็นรส (กิจ หน้าที่ ความถึงพร้อม)
    เตสฺเยว €ปนปจฺจุปฏฺ€านํ มีความดำรงอยู่ซึ่งรูปธรรมเหล่านั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน (อาการปรากฏ)
    ยาจยิตพฺพภูตปทฏฺ€านํ มีภูตรูปอันยังรูปธรรมให้ดำเนินไปเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิด) ดังนี้แล.
    ๑๑ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๕๗
    ตาม ปกตินั้น จิตเป็นสิ่งที่รับรู้อารมณ์ ต้องมีอารมณ์จึงจะเกิดขึ้นได้ และจิตนั้นก็มีการเกิด-ดับอยู่ตลอดเวลา การเกิด-ดับนี้กำหนดเป็น ๓ ขณะ คือ อุปปาทะ (ขณะเกิด) ฐิติ (ขณะตั้งอยู่) และภังคะ (ขณะดับ) การเกิด-ดับของจิตนี้เป็นไปรวดเร็วมาก มีคำกล่าวว่า ชั่วลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น จิตจะเกิด-ดับถึงแสนโกฏิขณะ แม้จิตจะเกิด-ดับรวดเร็วอย่างนี้ จิตก็คิดอ่านหาอารมณ์อยู่เสมอ คิดปล่อยอารมณ์หนึ่งไปอารมณ์หนึ่งอยู่ตลอดเวลา
    สงฺคห ปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๖๔
    เรื่อง กิจและฐานของจิตที่กล่าวมานี้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะการทำงานของจิตนั้นกำหนดตามขณะจิตที่เกิดขึ้นแต่ละขณะ ๆ ไป การเกิดดับของจิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว ขนาดที่กำหนดกันว่าชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตก็เกิดดับนับได้ถึงแสนโกฏิครั้ง ดังนั้น การทำงานของจิตจึงเป็นไปโดยรวดเร็ว ยากที่จะเห็นได้ กำหนดได้แต่เพียงว่าจิตนั้นทำงานทุก ๆ ขณะจิต ตามลำดับกิจนั้น ๆ นับแต่ปฏิสนธิกิจเป็นต้นไป
    ๑๒ ขุ.อิติ.อ.๔๕ หน้า ๔๔๓
    อธิบายว่า การฆ่าสัตว์มีชีวิต อนึ่งขันธสันดานที่เรียกกันว่าสัตว์ ชื่อว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติปาโต นี้ ขันธสันดานนั้นโดยปรมัตถ์ ได้แก่รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์. แท้จริงเมื่อรูปชีวิตินทรีย์ที่บุคคลให้พินาศแล้ว อรูปชีวิตินทรีย์นอกนี้ก็พินาศไป เพราะอรูปชีวิตินทรีย์เนื่องกับรูปชีวิตินทรีย์นั้น.
    เจตนาคิดจะฆ่าของ ผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้น ว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ที่ยังความพยายาม อันเข้าไปตัดขาดชีวิตินทรีย์ให้ตั้งขึ้นเป็นไปแล้ว ทางกายทวาร และวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่าปาณาติบาต.
    ๑๓ ม.มู.อ.๑๗ หน้า ๕๗๐
    เจตนานั้น เอง ท่านเรียกว่า มโนสัญเจตนา....อธิบายว่า กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยพิเศษของรูปกายของสัตว์ทั้งหลายผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา ผัสสาหารเป็นปัจจัยพิเศษของเวทนา ในหมวดนาม มโนสัญเจตนาหารเป็นปัจจัยพิเศษของวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยพิเศษของนามรูป. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้อาศัยอาหารจึงดำรง (ชีพ) อยู่ได้ ไม่มีอาหาร ดำรง (ชีพ) อยู่ไม่ได้ ฉันใด. เหมือนอย่างเวทนาเกิดมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย.
    ถามว่า ก็ในอาหารวาระนี้ อาหารอะไร นำอะไรมาให้ ?
    ตอบ ว่า กวฬิงการาหาร นำรูปมีโอชะเป็นที่ ๘ มาให้ (อวินิพโภครูป ๘) ผัสสาหารนำเวทนา ๓ มาให้ มโนสัญเจตนาหาร นำภพทั้ง ๓ มาให้ วิญญาณาหาร นำนามรูปในปฏิสนธิมาให้… มโนสัญเจตนาหาร คือกรรมที่จะให้เข้าถึงกามภพ จะนำกามภพมาให้. ที่จะให้เข้าถึงรูปภพและอรูปภพ ก็จะนำรูปภพและอรูปภพมาให้.
    ๑๔ อภิ.วิ.๓๕/๑๐๙๙/๕๑๒
    [๑๐๙๙] ในขณะที่เกิด ขันธ์เท่าไรย่อมเกิดปรากฏ ฯลฯ จิตเท่าไรย่อมปรากฏ แก่เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ ?
    ในขณะที่เกิด ขันธ์ ๑ คือ รูปขันธ์ ย่อมเกิดปรากฏแก่เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์. อายตนะ ๒ คือ รูปายตนะ ธัมมายตนะ ย่อมเกิดปรากฏ. ธาตุ ๒ คือ รูปธาตุ ธัมมธาตุ ย่อมเกิดปรากฏ. สัจจะ ๑ คือ ทุกขสัจจะ ย่อมเกิดปรากฏ.
    อภิ.วิ.อ.๗๘ หน้า ๙๙๕
    อินทรีย์ ๑ คือ รูปชีวิตินทรีย์ย่อมเกิดปรากฏ. เหล่าเทวดาอสัญญสัตว์ ไม่มีเหตุ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา ไม่มีจิต ย่อมเกิดปรากฏ.
    ๑๕ อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๘๑
    ๑๖ สงฺคห ปริจเฉทที่ ๔ หน้า ๘ [​IMG]
    ๑๗ ขุ.ธ.อ.๔๐ หน้า ๔๑๒ เรื่องพระภาคิไนยสังฆรักขิตเถระ [๒๗]
    “ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.”
    [ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.]
    ๑๘ ที.สี.๙/๑๓๒/๗๒ มโนมยิทธิญาณ
    [๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตรกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝักดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง..
    ๑๙ ที.สี.๙/๑๓๓/๗๓ อิทธิวิธญาณ
    [๑๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือ ของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้...
    ๒๐ องฺ.ติก.๒๐/๕๗๖/๒๗๓ (อุปปาทสูตร)[/SIZE]
    ---------------------------------------------------------------------------

    ข้อมูลจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=dhammatree&group=10

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2008
  2. cartoony

    cartoony Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +34
    มีคำถามอะไร ก็ฝากถามได้นะคะ แล้วจะมาลงตอนที่ ๒ ต่อให้ได้อ่านกันค่ะ
    จะเป็น ธรรมะOn M. เรื่อง นิยาม ๕ ตอนที่ ๒ กรรมนิยาม-ธรรมนิยาม
     
  3. cartoony

    cartoony Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +34
    นิยาม ๕ ตอนที่ ๒ กรรมนิยาม-ธรรมนิยาม

    ธรรมะOn M. เรื่อง นิยาม ๕ ตอนที่ ๒ กรรมนิยาม-ธรรมนิยาม
    (วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๑)

    ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร
    ---------------------------------------------------------------------------
    ห้องสนทนาธรรม on M.
    ---------------------------------------------------------------------------
    เป้ says:
    นิมนต์ท่านเอกเจ้าค่ะ

    พระเอกชัยEmptiness does not mean Nothingness says:
    นมัสการพระอาจารย์ครับ
    md_๒๕๓๐@hotmail.com says:
    นมัสการพระอาจารย์ค่ะ

    duangrutai says:
    นมัสการค่ะ

    พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
    นมัสการท่านเอกชัย และเจริญพรโยมญาติมิตรทุกท่าน

    น.น้ำใจดี (FM๘๙.๒๕Mhz) says:
    นมัสการพระอาจารย์ปิฯ และพระอาจารย์เอกชัย

    Kiak.. There is no phychiatrist in the world like a puppy says:
    กราบพระอาจารย์ครับ สวัสดีครับ

    Koi-ก้อย says:
    สวัสดีค่ะ นมัสการ พระอาจารย์

    สวัสดีจ๊ะ
    วันนี้ ขอนมัสการให้พระอาจารย์บรรยายต่อจากเรื่องเมื่อครั้งที่แล้วค่ะ เรื่องที่ว่า เหตุการณ์ต่างๆ เกิดจากกรรมหรือว่าเป็นธรรมชาติค่ะ
    ใน ครั้งที่แล้ว ได้กล่าวถึงนิยาม ๕ ไว้ว่า คำว่า นิยาม หมายถึง กำหนดอันแน่นอน ความเป็นไปอันมีระเบียบที่แน่นอนในธรรมชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่า กฏธรรมชาติ ซึ่งคัมภีร์ในชั้นอรรถกถา ได้จำแนกออกมาเป็น ๕ ประเภท คือ
    ๑ อุตุนิยาม (ความแน่นอนของฤดูกาล)
    ๒ พีชนิยาม (ความแน่นอนของพืช)
    ๓ จิตตนิยาม (ความแน่นอนของจิต)
    ๔ กรรมนิยาม (ความแน่นอนของกรรม)
    ๕ ธรรมนิยาม (ความแน่นอนของธรรม)
    และในครั้งที่แล้วได้อธิบายถึงนิยามไว้แล้วด้วยกัน ๓ ข้อ คือ
    ๑.อุตุนิยาม ๒.พีชนิยาม และ ๓.จิตตนิยาม โดยในครั้งนี้จะได้มาอธิบายความหมายในอีก ๒ ข้อ คือ กรรมนิยามและธรรมนิยาม
    ๔. กรรมนิยาม กฏแห่งกรรม หรือกฏแห่งธรรมชาติอันเนื่องด้วยการกระทำของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย และ
    ๕. ธรรมนิยาม คือ กฏแห่งธรรม หรือกฏแห่งธรรมชาติ คือความเป็นไปแห่งเหตุปัจจัยในธรรมชาติ ว่าด้วยการที่สิ่งทั้งหลายจักต้องเป็นไปตามธรรม ตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆ หรือโดยบังเอิญ ทุกอย่างต้องอาศัยเหตุและปัจจัยให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น

    งั้นข้อสุดท้าย ธรรมนิยาม ก็เป็นกฏของความสัมพันธ์ของ ๔ ข้อแรกสิ
    ถูกแล้ว
    *^o^* Kae (Kitty) ....... says:
    กราบนมัสการท่านค่ะ สวัสดีค่ะ
    คำว่า กรรมนิยาม ก็หมายถึง การกระทำใดๆ อันเกิดขึ้นแต่เจตนา ย่อมมีผลเกิดขึ้นแก่ชีวิตของบุคคลนั้นอย่างแน่นอน
    งั้นในนิยาม ๓ ข้อ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตตนิยาม จะเกิดขึ้นกับเรา มีผลกับเรา ก็เพราะกรรมนิยามใช่ไม๊เจ้าคะ
    พระ พุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมทั้งหลายที่บุคคลได้กระทำไว้ ด้วยกาย วาจา และใจย่อมจะมีผลเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั้นเอง โดยไม่จำกัดด้วยกาลเวลา
    หมายถึง กรรมที่ได้กระทำแล้ว ย่อมส่งผลต่อบุคคลนั้นทันที เช่น คิดดี พูดดี ทำดี ก็ให้ผลเป็นความสุขแก่ผู้นั้นทันที แต่หากคิดร้าย พูดร้าย ทำร้าย ก็ให้ผลเป็นความทุกข์แก่ผู้นั้นทันทีเช่นกัน

    เช่น โดยกฏแห่งจิตตนิยาม ว่าด้วยธรรมชาติของจิต เมื่อจิตประกอบไปด้วยเจตสิก มีการปรุงแต่งคิดนึกด้วยอกุศลเจตนา ก็ย่อมจะให้ผลเป็นอกุศลวิบาก ทำจิตของบุคคลนั้นให้เศร้าหมองทันทีนั่นเอง

    ในข้อว่าด้วยกรรมนิยาม เราจะต้องเข้าใจความหมายพื้นฐานก่อนว่า กรรมที่จักปรากฏผลเป็นวิบากแก่มนุษย์และสัตว์นั้น หมายถึง การกระทำที่ประกอบอยู่ด้วยเจตนาเท่านั้น

    หมายถึงทั้งในอดีตและปัจจุบันด้วยใช่ไม๊เจ้าคะ ไม่ใช่เฉพาะแค่กรรมที่ทำในปัจจุบันเท่านั้น
    ใช่ ทั้งกรรมในอดีตและในปัจจุบันภพที่ได้กระทำ
    ถ้าไม่เจตนา แต่เป็นการกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ล่ะคะ หรือว่าโดยประมาท อย่างนี้ถือเป็นกรรมนิยามไหมค่ะ
    อืม ม การกระทำโดยไม่ได้เจตนา แต่เป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้อื่นทั้งดีและไม่ดี อย่างนี้เป็นกรรมนิยามที่ผู้ที่ได้รับผลนั้น (ได้เคย)ทำไว้ใช่ไม๊เจ้าคะ
    ถ้า ไม่มีเจตนากระทำ และไม่ได้กระทำโดยมีเจตนาประมาท ก็ไม่เป็นกรรม เช่นว่า เกิดความเสียหายโดยมิได้ตั้งใจให้เกิดผลเช่นนั้นขึ้น และการกระทำนั้นได้พิจารณาอย่างรอบคอบตามปกติวิสัยที่บุคคลจะพึงมี อย่างนี้ก็ไม่เป็นกรรม
    ไม่ถือว่าเป็นกรรมของบุคคลผู้กระทำ แต่ผลดีหรือไม่ดีสำหรับผู้ได้รับผล นี่คือกรรมของเขาใช่ไม๊เจ้าคะ
    แต่อย่างนี้ ผู้ที่ได้รับผลของการกระทำของเรา เกิดไม่พอใจ แล้วกลับมาทำร้ายเราด้วยวิธิใดได้ก็ตาม นั่นคืออะไรหรือค่ะ
    ถ้า เราไม่ตั้งใจกระทำกรรมชั่ว แต่ผู้ที่ได้รับผลของการกระทำนั้น กลับมาทำร้ายเรา อย่างนี้ถือว่า เป็นอกุศลวิบากของเรา ที่เกิดจากอกุศลกรรมที่เคยทำไว้
    แต่ในข้อนี้มีความซับซ้อนนะ มิใช่ว่าผลที่เกิดขึ้นจะสามารถเกิดขึ้นได้ลอยๆ แต่จะต้องอาศัยเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกัน เช่น เราสมาคมกับคนพาล หรือเราเข้าไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี หรือประมาทเลินเล่อไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อนที่จะกระทำ อย่างนี้เป็นต้น

    ผมเคยได้ยินที่เขาเรียกกันว่า 'กรรมจัดสรร' อย่างนั้นใช่ไหมครับ?
    ใช่ ส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมจัดสรร
    ค่ะ ขอบพระคุณมากนะคะ
    ส้ม says:
    สวัสดีค่ะ

    ..แล้วอย่างการถูกหวยล่ะ

    การถูกหวยก็เกิดจากกรรม คือ การซื้อหวย และเกิดจากกุศลกรรมบางประการในอดีตให้ผลเป็นเหตุให้ถูกหวย
    งั้นก็ไม่ใช่แค่ความน่าจะเป็นเท่านั้น
    แต่ส่วนใหญ่จะถูกหวยกินซะมากกว่านะครับ

    ความ น่าจะเป็น ก็เป็นเหตุผลหนึ่ง เช่น เราซื้อล๊อคเตอรี่ไว้เบอร์หนึ่ง แต่แล้วถูกล๊อคเลขไว้อีกเบอร์หนึ่ง อย่างนี้ความน่าจะเป็นก็เป็นศูนย์ ไม่มีโอกาสถูกอย่างนี้ก็ได้
    คนที่ถูกก็คือผู้ออกหมายเลขน่ะสิ
    การถูกหวย เกิดจากกุศลกรรมในอดีตประกอบเป็นเหตุให้ถูกหวย อย่างนี้การไม่ถูกหวย ต้องมีกรรมอะไรในอดีตประกอบหรือเปล่าครับ
    การไม่ถูกหวย ก็ต้องมีอดีตกรรมประกอบเช่นกัน เช่น เราไม่ซื้อหวย เรามีความโลภจัด หรือไม่ใช่กาลไม่ใช่เวลาที่เราจะได้รับผลแห่งกุศลกรรมในอดีตในขณะนั้น หรือในลักษณะเช่นนั้น
    เราสามารถหนีกรรมชั่ว ด้วยการใช้อุตุนิยาม พีชนิยาม ไปในทางที่ทำให้หนีกรรมก็ได้ใช่ไม๊เจ้าคะ (เหมือนว่าตรงข้ามกับคุณนัฐ)
    การหลีกเลี่ยงอกุศลวิบากที่จะเกิดขึ้น ด้วยกุศลกรรมที่ได้กระทำในปัจจุบันอย่างชาญฉลาด นี้ก็เป็นไปได้
    ต้องเข้าใจว่า อกุศลกรรมในอดีตที่กระทำไว้มีมากมายหลายประการ ซึ่งกุศลกรรมที่ดีงามก็เช่นเดียวกัน ใช่ว่าเราจะต้องรับผลแห่งอกุศลกรรม หรือกุศลกรรมที่กระทำไว้ในอดีตเสมอไป ขึ้นกับว่าเรามีสติปัญญาและความสามารถเพียงใดที่จะจัดการ หรือป้องกันแก้ไขสิ่งทั้งหลายที่จะเกิดแก่ชีวิตเราไปในทางที่ดีหรือ ร้ายอย่างไรประกอบไปด้วย

    เข้าใจมากขึ้นเลยค่ะ ทำให้เข้าใจด้วยว่าทำไมเราต้องดูแลจิตใจเราให้นิ่ง ให้สงบอยู่เสมอ เมื่อมีอะไรมากระทบก็ไม่หวั่นไหว เพื่อยุติกงกรรมกงเกวียนเหล่านี้นี่เอง
    แล้วอย่าง ฝรั่งล่ะเจ้าคะ ที่จัดการธรรมชาติ ประดิษฐ์สิ่งของเพื่อให้คนได้รับความสุข(ก็ถือว่าได้รับกุศลกรรม) นี่เป็นบุญหรือเปล่าเจ้าคะ
    เก๋ว่า การประดิษฐ์สิ่งของเพื่อให้คนได้รับความสุข เป็นการเพิ่มกิเลสให้มนุษย์เท่านั้น
    งั้นเป็นการทำอุกศลที่ทำให้ได้รับผลเป็นกุศล
    ถ้า อย่างนั้น ในการทำหน้าที่ตัดสินการกระทำของผู้อื่น หรือการชี้เป็นชี้ตายโดยกฏที่มนุษย์สร้างขึ้น ก็เป็นการเพิ่มวิบากกรรมให้กับคนที่ทำหน้านั้นด้วยหรือเปล่า
    เช่นการที่ตำรวจจับคนร้าย คนร้ายต่อสู้เกิดการวิสามัญ แต่คนร้ายนั้น ร้ายเพราะได้รับความกดดันจากสังคม และต้องการทำให้คนที่ตนรักมีสุข ดังจะเห็นมากมาย เช่น ที่ออกในรายการตีสิบ อย่างนี้แปลว่า ตำรวจสร้างวิบากกรรมหรือไม่ แต่เขาทำโดยเจตนาบริสุทธิ์ คือทำตามหน้าที่ที่สังคมมอบหมาย

    ผมขอโอกาสอนุญาต แจมความเห็นนี้ ด้วยบทโคลงสี่สุภาพที่ผมได้แต่งไว้นะครับ
    ทำดีดีก่อให้ ส่งผล
    ทำชั่วชั่วก็ดล ทุกข์ให้
    อันดีชั่วตัวผล เกิดก่อ ใจนา
    ใจผ่องใสสงบไซร้ ชั่วนั้น จักมี
    อตีตาล่วงแล้ว เหมือนฝัน
    อนาคตก็มองกัน บ่ได้
    ลุมาล่วงปัจจุบัน อาจเอ่ย กันนา
    กำเนิดก่อกระทำให้ ล่วงพ้น เกิดมี
    มัวหลงสุขเพ้อพร่ำ ของเก่า
    คิดว่าเป็นสุขเรา อยู่ได้
    หมดสุขไม่มีเค้า แปรเปลี่ยน ไปเฮย
    มองไป่เห็นอะไรได้ ที่แท้ ไหนเรา

    กลอนดีมากๆ เลยค่ะ ขอบคุณนะคะ
    สาธุ
    อันนี้เคยให้คุณเป้ดูแล้ว ดูอีกทีละกันครับ
    แหม งวดนี้ออกเลขท้ายสองตัว ๓๖ ถ้าเราซื้อตามอายุก็ถูกแล้วสิ นี่ไม่ซื้อเพราะไม่มีกุศลกรรม เอ.. หรือว่าซื้อแล้วจะเป็นการสร้างอกุศลให้กับจิต(คือโลภะ) เอ ไงดีเนี่ย
    โคลง ของคุณ น.น้ำใจดี ก็ให้ข้อคิดที่ดี แต่อย่างความสงสัยเมื่อกี้ว่า ก็ตำรวจทำดี จับคนร้ายได้ ยิงถูกคนร้ายคนสำคัญ ได้ทั้งเงินและของตอบแทน แปลว่า การกระทำนั้นดีแล้วตามหลักพุทธศาสนาใช่หรือไม่

    การ กระทำของผู้กระทำผิด ก็เป็นผลสะท้อนอย่างหนึ่งให้เห็นถึงสภาพความบีบรัดของสังคม แต่อย่างไรก็ตาม การกระทำของบุคคลก็ประกอบอยู่ด้วยกุศลเจตนาหรืออกุศลเจตนาเป็นเหตุผลักดัน ให้บุคคลนั้นกระทำกรรมดีบ้าง กรรมชั่วบ้าง ซึ่งเมื่อกระทำกรรมเช่นว่านั้นแล้ว ก็ย่อมจักมีผลเป็นวิบากตามมา ไม่ว่าบุคคลจะอ้างถึงการกระทำความผิดนั้นว่า เกิดจากความบีบรัดหรือความจำเป็นใดก็ตาม
    ผม ว่าคำถามของคุณดวงฤทัย อยู่ที่การกระทำของตำรวจมากกว่า เช่นว่า การยิงคนร้ายด้วยหน้าที่ โดยเจตนาเพื่อรักษาความถูกต้อง เป็นการเพิ่มวิบากกรรมให้ตัวเองหรือเปล่า ใช่หรือเปล่าครับ
    ใน ส่วนของผู้ที่ทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ว่าถึงกุศลเจตนาที่กระทำเพื่อรักษาความดีงามเอาไว้ก็เป็นกุศลกรรม แต่การกระทำที่ต้องเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ต้องฆ่าสัตว์ เป็นต้น ก็เป็นอกุศลกรรม ซึ่งจะให้ผลเช่นเดียวกัน ทั้งในส่วนแห่งบุญและบาป
    แต่ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาที่กระทำด้วยว่ามุ่งผลอย่างไร เช่น ทำด้วยความจำเป็นหรือเพื่อรักษาความดีงาม รักษาส่วนรวมหรือสังคมไว้ให้เกิดประโยชน์สุข กุศลเจตนาที่มีกำลังเช่นนี้ก็มีผลเป็นวิบากที่มีกำลังมาก แต่อกุศลกรรมที่กระทำไป ก็จักให้ผลเช่นกัน เพียงแต่ว่าเมื่อทำด้วยความจำเป็น หรือมิได้กระทำด้วยอำนาจโลภะ โทสะ โมหะที่มีกำลัง ก็จักส่งผลให้น้อยกว่า

    แต่ อย่างในกรณีที่เกิดเหตุที่ “อากิฮาบารา” คนร้ายใช้มีดแทงคนตายตั้งหลายชีวิต แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุ แปลว่าคนที่เสียชีวิตได้เคยสร้างวิบากกรรมไว้กับคนร้ายเลยต้องมารับเคราะห์ ใช่หรือไม่
    ที่ญี่ปุ่นใช่ไม๊คะ ที่ว่ามีคนบ้าการ์ตูนเที่ยวเอามีดไล่แทงคนในที่สาธารณะ
    ใช่ค่ะ แต่ไม่ได้บ้าการ์ตูน คือเกิดจากสังคมกดดัน เลยอยากดัง
    คงคล้ายๆ กับเด็กไทยที่เล่นเกมส์แล้วฆ่าแท๊กซี่ตายใช่ไม๊คะ

    ใน กรณีที่มีการทำร้ายกัน มิใช่หมายความว่า ผู้ถูกทำร้ายจะต้องเคยทำร้ายผู้กระทำมาก่อน แต่เป็นความจริงที่ว่า ผู้ถูกทำร้ายอาจได้เคยสร้างอกุศลกรรมดังกล่าวไว้กับผู้ใดผู้หนึ่ง แต่มิใช่หมายถึงจะต้องเคยกระทำต่อผู้ที่ทำร้ายตน
    ถ้า อย่างนั้น แปลว่า .. การเลี้ยงหมู เลี้ยงกุ้ง จับปลา.. เราทราบแล้วว่าอาชีพเหล่านี้เป็นอกุศลกรรมแต่ทำไมเจ้าของธุรกิจประเภทนี้ กลับเจริญรุ่งเรืองดี แปลว่ากรรมนั้นยังไม่ส่งผล เพราะเคยได้ยินว่าที่เรากำจัดไก่ เพื่อป้องกันหวัดนก เป็นการสร้างกรรมมาก แต่ที่รัฐบาลทำเพราะป้องกันประชาชนป่วย มันต่างจากเลี้ยงสัตว์เพื่อฆ่าจำหน่ายอย่างไรเจ้าค่ะ
    อนาคตข้างหน้า เราก็จะเห็นเหตุการณ์ที่แปลก ไม่คาดคิดว่าในสังคมเราจะมีได้มากกว่านี้อีก
    จริงอย่างที่คุณ น.ว่า ต่อไปเราจะเห็นอะไรแปลกๆ เยอะ

    ในที่นี้จะขอยกเรื่องราวในคาถาธรรมบทมาประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ดังนี้
    เรื่องที่ ๑ ใน ครั้งนั้นพระศาสดาประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ภิกษุหลายรูปเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต ชาวบ้านรับบาตรของภิกษุเหล่านั้นแล้ว นิมนต์ให้นั่งในโรงฉัน ถวายข้าวยาคูและของเคี้ยว ในขณะนั้น เปลวไฟลุกขึ้นจากเตาของหญิงคนหนึ่งผู้หุงข้าวแล้วปรุงสูปะและพยัญชนะอยู่ ติดชายคา. เสวียนหญ้าอันหนึ่งปลิวขึ้นจากชายคานั้น อันไฟไหม้อยู่ลอยไปสู่อากาศ. ในขณะนั้น กาตัวหนึ่งบินมาทางอากาศ สอดคอเข้าไปในเสวียนหญ้านั้น อันเกลียวหญ้าพันแล้ว ไหม้ตกลงที่กลางบ้าน.
    พวกภิกษุเห็นเหตุนั้นคิดว่า "โอ กรรมหนัก, ผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายจงดูอาการแปลกที่กาถึงแล้ว, เว้นพระศาสดาเสีย ใครจักรู้กรรมที่กานี้ทำแล้ว พวกเราจักทูลถามกรรมของกานั้นกะพระศาสดา" ดังนี้แล้ว ก็พากันหลีกไป.
    เรื่องที่ ๒ ภิกษุอีกพวกหนึ่ง โดยสารเรือไปเพื่อต้องการจะเฝ้าพระศาสดา เรือได้หยุดนิ่งเฉยในกลางสมุทร. พวกมนุษย์พากันคิดว่า "คนกาลกรรณีพึงมีในเรือนี้." ดังนี้แล้ว จึงแจกสลาก (ให้จับ). ก็ภรรยาของนายเรือ ตั้งอยู่ในปฐมวัย (กำลัง) น่าดู สลากถึงแก่นางนั้น. พวกมนุษย์พากันกล่าวว่า "จงแจกสลากอีก." แล้วให้เเจกถึง ๓ ครั้ง. สลากถึงแก่นางนั้นคนเดียวถึง ๓ ครั้ง. พวกมนุษย์แลดูหน้านายเรือ (เป็นทีจะพูดว่า) “อย่างไรกัน ? นายครับ”
    นายเรือกล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่อาจให้มหาชนฉิบหาย เพื่อประโยชน์แก่นางนี้. พวกท่านจงทิ้งนางในน้ำเถิด." นางนั้น เมื่อพวกมนุษย์จับจะทิ้งน้ำ กลัวต่อมรณภัย ได้ร้องใหญ่แล้ว นายเรือได้ยินเสียงร้องนั้น จึงกล่าวว่า "ประโยชน์อะไร ด้วยอาภรณ์ของนางนี้ (จะ) ฉิบหายเสีย (เปล่าๆ). พวกท่านจงเปลื้องเครื่องอาภรณ์ทั้งหมด ให้นางนุ่งผ้าเก่าผืนหนึ่งแล้วจงทิ้งนางนั้น. ก็ข้าพเจ้าไม่อาจดูนางนั้น ผู้ลอยอยู่เหนือหลังน้ำได้, เพราะฉะนั้น พวกท่านจงเอากระออมที่เต็มด้วยทรายผูกไว้ที่คอแล้ว โยนลงไปเสียในสมุทรเถิด (ทำ) โดยประการที่ข้าพเจ้าจะไม่เห็นเขาได้." พวกมนุษย์เหล่านั้น ได้กระทำตามนั้นเเล้ว. ปลาและเต่ารุมกินนางแม้นั้นในที่ตกนั่นเอง. พวกภิกษุฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็คิดว่า “ใครคนอื่น เว้นพระศาสดาเสีย จักรู้กรรมของหญิงนั้นได้. พวกเราจะทูลถามกรรมของหญิงนั้นกะพระศาสดา” ถึงถิ่นที่ประสงค์แล้ว จึงพากันลงจากเรือหลีกไป.
    เรื่องที่ ๓ ภิกษุ ๗ รูปอีกพวกหนึ่ง ไปจากปัจจันตชนบท เพื่อต้องการจะเฝ้าพระศาสดา เวลาเย็นเข้าไปสู่วัดแห่งหนึ่ง แล้วถามถึงที่พัก. ก็ในถ้ำแห่งหนึ่ง มีเตียงอยู่ ๗ เตียง, เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้ถ้ำนั้นแล นอนบนเตียงนั้นแล้ว. ตอนกลางคืนแผ่นหินเท่าเรือนยอดกลิ้งลงมาปิดประตูถ้ำไว้ พวกภิกษุเจ้าของถิ่นกล่าวว่า "พวกเราให้ถ้ำนี้ถึงแก่ภิกษุอาคันตุกะ, ก็แผ่นหินใหญ่นี้ ได้ตั้งปิดประตูถ้ำเสียแล้ว. พวกเราจักนำแผ่นหินนั้นออก" แล้วให้ประชุมพวกมนุษย์จากบ้าน ๗ ตำบลโดยรอบ แม้พยายามอยู่ ก็ไม่อาจยังแผ่นหินนั้นให้เขยื้อนจากที่ได้. แม้พวกภิกษุผู้เข้าไป (อยู่) ในภายใน ก็พยายามเหมือนกัน. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ยังไม่อาจให้เเผ่นหินนั้นเขยื้อนได้ตลอด ๗ วัน, พวกภิกษุอาคันตุกะ อันความหิวแผดเผาแล้วตลอด ๗ วัน ได้เสวยทุกข์ใหญ่แล้ว. ในวันที่ ๗ แผ่นหินก็ได้กลับกลิ้งออกไปเอง. พวกภิกษุออกไปแล้ว คิดว่า "บาปของพวกเรานี้ เว้นพระศาสดาเสียแล้วใครเล่าจักรู้ได้ พวกเราจักทูลถามพระศาสดา" ดังนี้แล้ว ก็พากันหลีกไป.
    พวกภิกษุกราบทูลเรื่องทั้ง ๓ นี้ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประทับนั่งแสดง ธรรมในพระเชตวันคราวเดียวกันทั้งหมด พระศาสดาตรัสว่า นั่นมิใช่ผู้อื่น กระทำ นั่นเป็นกรรมอันเขานั่นแหละทำแล้วดังนี้ เมื่อจะทรงนำเรื่องอดีตมา แสดงธรรม จึงตรัสว่า
    กาเป็นมนุษย์ในอัตภาพก่อน ไม่อาจเพื่อฝึกโคโกงตัวหนึ่ง จึงได้ผูกเขน็ดฟาง สวมคอโคจุดไฟ โคนั้นตายด้วยเหตุนั้นแหละ บัดนี้ กรรมนั้นจึงไม่ปล่อยกานั้น แม้บินอยู่ทางอากาศ.
    แม้หญิงนี้ก็เป็นหญิงคนหนึ่งนั่นแหละในอัตภาพก่อน สุนัขตัวหนึ่งคุ้นเคย กัน เมื่อเธอไปป่าก็ไปด้วย เมื่อมาก็มาด้วย พวกมนุษย์ทั้งหลายผู้ออกไปย่อม เยาะเย้ยเธอว่า บัดนี้ พรานสุนัขออกแล้ว ดังนี้ นางอึดอัดอยู่ด้วยสุนัข นั้น เมื่อไม่อาจห้ามสุนัขได้ จึงเอาหม้อใส่ทรายผูกคอแล้วเหวี่ยงไปใน น้ำ กรรมนั้นจึงไม่ปล่อยเธอในท่ามกลางสมุทร.
    ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกเธอก็เสวยกรรมอันตนกระทำแล้วเหมือนกัน. ก็ในอดีตกาล เด็กเลี้ยงโค ๗ คน วันหนึ่งเที่ยวเลี้ยงโคแล้วกลับมาพบเหี้ยใหญ่ตัวหนึ่ง จึงไล่ตาม. เหี้ยหนีเข้าไปสู่จอมปลวกแห่งหนึ่ง. ก็ช่องแห่งจอมปลวกนั้นมี ๗ ช่อง. พวกเด็กปรึกษากันว่า บัดนี้ พวกเราจักไม่อาจจับได้ พรุ่งนี้จึงจักมาจับดังนี้แล้ว จึงต่างคนต่างก็ถือเอากิ่งไม้ที่หักได้คนละกำๆ แม้ทั้ง ๗ คนพากันปิดช่องทั้ง ๗ ช่องแล้วหลีกไป.
    ในวันรุ่งขึ้นเด็กเหล่านั้นมิได้คำนึงถึงเหี้ยนั้น ต้อนโคไปในประเทศอื่น ครั้นในวันที่ ๗ พาโคกลับมา พบจอมปลวกนั้น กลับได้สติ คิดกันว่า 'เหี้ยนั้นเป็นอย่างไรหนอ' จึงเปิดช่องที่ตนๆ ปิดไว้เเล้ว. เหี้ยหมดอาลัยในชีวิต เหลือแต่กระดูกและหนังสั่นคลานออกมา. เด็กเหล่านั้นเห็นดังนั้นแล้ว จึงทำความเอ็นดูพูดกันว่า “พวกเราอย่าฆ่ามันเลย. มันอดเหยื่อตลอด ๗ วัน” จึงลูบหลังเหี้ยนั้นแล้วปล่อยไป ด้วยกล่าวว่า ‘จงไปตามสบายเถิด.’ เด็กเหล่านั้นไม่ต้องไหม้ในนรกก่อน เพราะไม่ได้ฆ่าเหี้ย. แต่ชนทั้ง ๗ นั้น ได้เป็นผู้อดข้าวร่วมกันตลอด ๗ วัน ๆ ใน ๑๔ อัตภาพ ภิกษุทั้งหลาย กรรมนั้นพวกเธอเป็นเด็กเลี้ยงโค ๗ คนทำไว้แล้วในกาลนั้น." พระศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหาอันภิกษุเหล่านั้นทูลถามแล้ว ๆ ด้วยประการฉะนี้. "
    เมื่อทรงประชุมเรื่องทั้ง ๓ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
    “นอนฺตลิกฺเขนสมุทฺทมชฺเฌนปพฺพตานํวิวรํปวิสฺสนวิชฺชเตโสชคติปฺปเทโส
    ยตฺรฏฺฐิโตมุจฺเจยฺยปาปกมฺมา”
    “บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้,
    หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้,
    หนีเข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้,
    (เพราะ) เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่วได้,
    ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่.”

    งั้น การเกิดเหตุการณ์ใดๆ ที่เป็นธรรมชาติที่เป็นอุตุนิยามแต่เกิดกับสิ่งมีชีวิตก็เป็นเพราะกรรมนิยาม สิ เช่น แผ่นดินไหวแล้วมีผู้บาดเจ็บล้มตาย สำหรับคนนั้นหรือสิ่งมีชีวิตนั้น ก็เพราะกรรมของเขาใช่ไม๊เจ้าคะ
    ใช่ ส่วนหนึ่งนั้นมาจากกรรม
    งั้นกรรมก็เป็นตัวใช้นิยามต่างๆ ให้เกิดเพื่อชดใช้กรรมนั้นสิ
    ให้ เข้าใจว่า ผู้ถูกบุคคลอื่นทำร้าย ก็เป็นอกุศลวิบากของตนเองที่เคยกระทำไว้ แต่ผู้ที่ทำร้ายนั้น เป็นการสร้าง(อกุศล)กรรมใหม่ให้แก่ตนเอง ซึ่งจะต้องได้รับผลต่อไปในภายภาคหน้าเช่นกัน
    @--InTaNiA--@ says:
    กราบนมัสการค่ะ

    [c=๓๗]Pang##@## Cs'๒๗&๗๕๖ >>>จริงใจ... แต่ไม่จริงจัง...}{[/c] says:
    สวัสดีค่ะ หวัดดีทุกคนค่ะ

    กงกรรมในวัฏวน คงไม่จบไม่สิ้น หากเราไม่ยอมออกหนีไป

    กรรมใหม่กับกรรมเก่าจะเกิดร่วมกันเสมอ เราจึงต้องระวังการกระทำของเรา ไม่ให้เกิดกรรมใหม่ที่ไม่ดีขึ้นมา
    งั้น ข้ออ้างต่างๆ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ ถ้ากรรมนั้นได้มีเจตนาสำเร็จไปแล้ว และกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะแปลกพิสดารขนาดไหน ก็เพราะกรรมที่ได้เคยทำมา (เช่น เมื่อก่อนมีข่าวเด็กตกในเสาเข็ม)
    บาง กรณีก็เป็นเช่นนั้น เรียกว่า กรรมที่เคยกระทำไว้ ก็อาศัยทั้งอุตุ ทั้งพีชะ ทั้งจิตตะ และทั้งกรรมะ เป็นอุปกรณ์ในการให้ผลแห่งกรรมนั้นปรากฏขึ้น ซึ่งรวมเรียกว่า ทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นก็อยู่ภายใต้ธรรมนิยาม คือ ความเป็นไปตามเหตุและปัจจัยส่งผลให้สภาพธรรมนั้นปรากฏขึ้นนั่นเอง
    แล้วเราจะทำให้กรรมมันเบาลงได้ด้วยวิธีไหนบ้างล่ะคะ เรื่องตรวจกรรม แก้กรรมที่เป็นกระแสอยู่บ่อยๆ นั้น ถ้ารู้แล้วแก้ได้จริงหรือคะ
    การแก้ไขวิบากกรรมที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตเรา ก็ด้วยการกระทำความดีต่างๆ ละกรรมชั่ว และการทำจิตให้ผ่องใสนั่นเอง นี่ล่ะ คือวิธีการแก้กรรมตามหลักพระพุทธศาสนา
    ต้องเข้าใจว่า การแก้กรรมก็คือ การแก้ไขความประพฤติและการกระทำของเราเองให้ดียิ่งขึ้น เมื่อเราประพฤติในทางที่ดีขึ้น ชีวิตเราก็ย่อมจะดีขึ้น อดีตกรรมบางอย่างที่ไม่ดี บางกรณีก็ไม่ต้องรับผลแห่งกรรมนั้นสืบเนื่องไป
    เช่น เราเคยด่าว่าผู้อื่น เราก็แก้กรรมด้วยการไปขอโทษเขา ความเคืองแค้น ผูกโทษ ก็อาจหมดสิ้นไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย ผลที่เราอาจถูกต่อว่า ทำร้าย ก็เป็นอันได้แก้ไขสำเร็จลุล่วงไป อย่างนี้ล่ะ การแก้กรรรม

    ก็เป็นการปรับเปลี่ยนสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้ดีขึ้น ไม่ใช่การลบล้าง น่ะสิเจ้าคะ
    หรือเรามีอดีตกรรมที่ไม่ดี เช่น เป็นคนเกียจคร้านเป็นเหตุให้ไม่มีทรัพย์ เราก็แก้ไขด้วยการขยันขันแข็ง ไม่เลือกงาน กระทำความดีต่างๆ ต่อบุคคลทั้งหลาย เป็นเหตุให้มีผู้ช่วยเหลือยินดีสนับสนุน และมีทรัพย์ขึ้นมา อย่างนี้ก็เรียกว่าการแก้กรรมเช่นกันตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา
    สำหรับกรรมที่เราสร้างในภพภูมิก่อนหน้า เราไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้ใช่มั้ยเจ้าคะ
    ให้เข้าใจว่า กรรมที่กระทำไปแล้ว ก็ชื่อว่าได้กระทำไปแล้ว ใครจะย้อนกลับไปลบล้าง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขให้เป็นไม่ได้กระทำ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ทุกคนย่อมสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในชีวิตได้ด้วยการกระทำที่จักปรากฏผลในปัจจุบันทั้งสิ้น
    เรียนถามพระคุณเจ้า ในการดำรงชีวิตแบบคนทำงานเราก็มิอาจหลีกเลี่ยงที่จะสร้างกรรมได้ บางครั้งเป็นด้วยหน้าที่การงาน บางครั้งเพื่อให้คนอื่นสบายใจ มันก็เท่ากับเราสร้างกรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สิเจ้าคะ
    เช่น บางครั้งเราก็จำเป็นต้องโกหกลูกค้าเพื่อรักษาภาพพจน์ของบริษัทน่ะเจ้าค่ะ เราจะกลับไปขอโทษเขาก็ไม่ได้

    การสร้างกรรมในปัจจุบันนั้นย่อมเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ต้องเป็นไปอยู่ แต่เราจะเลือกสร้างอะไร ระหว่างกรรมดีและกรรมชั่ว ระหว่างกรรมที่ให้ผลเป็นความสุข และให้ผลเป็นความทุกข์ อันนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องพิจารณา
    เมื่อเราโกหก ก็เป็นอันว่าเราได้มุสาวาทไปแล้ว ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ก็ไม่ดีทั้งสิ้น เพราะเริ่มแต่ใจของเราที่ย่อมเกิดความไม่สบายใจ ทุกครั้งที่เราต้องกล่าวเท็จออกไป

    คุณก้อย ลองเปลี่ยนเป็นไม่บอกดีไหมค่ะ พูดแต่เรื่องดีดีของบริษัท เรื่องไม่ดีก็ไม่พูด เลี่ยงไม่ได้ก็บอกว่าทราบหรือไม่ทราบไปตรงๆในเรื่องนี้ แล้วก็บอกเขาว่าทางบริษัทจะพิจารณาเรื่องนี้
    เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องตอบด้วยสิคะ ส่วนตัวรับผิดชอบงานด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ค่ะ ถ้ามีปัญหากับสินค้าเราจำเป็นต้องตอบเพื่อความพอใจของลูกค้า แต่บางครั้งความจริงนั้นอาจส่งผลกระทบกับการเกิดค่าใช้จ่ายมหาศาล และทางผู้ใหญ่ไม่ให้เปิดเผย ทำให้เราจำเป็นต้องโกหกค่ะ
    พระอาจารย์ครับ แล้วเทวดาปัจจัย นี่ถืออยู่ส่วนไหนของนิยามทั้ง ๕ ครับ
    กรรมนิยาม
    คำว่า กรรมนิยาม หมายถึง การกระทำของคนและสัตว์ทั้งหลาย (รวมทั้งเทวดาด้วย) ย่อมส่งผลต่อบุคคลผู้นั้นและสิ่งทั้งหลายเป็นธรรมดา

    ขอบพระคุณครับ เพราะในการปฏิบัติธรรมของผม ครูอาจารย์ท่านแนะนำให้จบลงด้วยการแผ่เมตตา และอุทิศส่วนกุศลแก่เทวดา ก็เป็นอีกอย่างที่ต้องอุทิศส่วนกุศลให้เขาด้วยเสมอ โดยผมมีการอุทิศทั้งแบบเจาะจงและไม่เจาะจงด้วยครับ
    กรรมนิยามนี่ กฏคือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วใช่ไม๊เจ้าคะ
    ถูกต้อง
    แล้วไตรลักษณ์อยู่ในนิยามไหนเหรอเจ้าคะ
    ใช่ธรรมนิยามไหมค่ะ
    ใช่แล้ว
    ในข้อว่าด้วยธรรมนิยามก็ได้แก่ ความที่สิ่งทั้งหลายต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยนั่นเอง ไม่สามารถเกิดขึ้นลอยๆ ได้ โดยกฏหนึ่งที่เห็นได้ชัด ซึ่งเป็นธรรมนิยาม สรุปลงได้ด้วยพุทธพจน์ที่ว่า
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม ธาตุ นั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดาก็คงตั้งอยู่อย่างนั้น เอง ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง .. สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ .. ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นแล้วจึงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิด เผย จำแนก ทำให้เข้าใจง่ายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง .. สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ .. ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯ”

    นิยามต่างๆ เกิดขึ้นก็เนื่องด้วยอีกนิยามนึง งั้นก็เป็นลักษณะของการเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นสังขารธรรมสิเจ้าคะ
    แล้วจิตวิญญาณที่ลงมาจุติ คือ กรรมนิยาม หรือว่าธรรมนิยามค่ะ หรือว่า พีชนิยามเกี่ยวไหมค่ะ เริ่มสับสนค่ะ
    จิตที่ลงมาจุติก็ด้วยจิตตนิยาม โดยอาศัยเหตุคือกรรมนิยาม โดยเป็นไปตามหลักธรรมดาแห่งสังขารของสัตว์ที่ยังมีอุปธิ(คือกิเลส) เรียกว่า ธรรมนิยาม โดยอาศัยองค์ประกอบแห่งพืชพันธุ์ให้เกิดขึ้น เรียกว่า พีชนิยาม และการสนับสนุนจากสิ่งแวดล้อมที่เกื้อกูล เช่น อาหารและอุณหภูมิ เรียกว่า อุตุนิยาม
    ไม่งงนะ

    ไม่งงค่ะ
    คล้องกันเป็นเหมือนห่วงหรือเปล่า ห่วง ๕ ห่วง
    เห็นภาพรวมเลยถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเลยครับ

    แบบโอลิมปิค
    ใช่ค่ะ เห็นภาพเลยค่ะ ขอบพระคุณนะคะ
    หนูอยากรู้ว่าสัตว์เดียรัจฉานสามารถเกิดเป็นคนได้ไหมค่ะ
    ได้สิ
    สัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิดไปในภพภูมิต่างๆ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจากภพนี้สู่ภพโน้น ขึ้นอยู่ต่อกรรมใดจะให้ผล ฉะนั้น ไม่ว่าสัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา เปรต อสูรกาย หรือสัตว์นรก ก็ล้วนแต่เวียนว่ายตายเกิดไปในวัฏฏะสงสารไม่รู้สิ้นสุด เป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นเทวดาบ้าง หรือพลาดพลั้งก็เกิดในนรกบ้าง

    ผมขอแสดงความคิดเห็นนะครับ สัตว์เดียรัจฉานสามารถเกิดเป็นคนได้ไหม?
    ก่อนที่เขาจะเป็นสัตว์เดียรัจฉาน เขาต้องเป็นคนมาก่อน บางช่วงเขาก็มีศีล ๕ ครบ (ธรรมของการเกิดเป็นมนุษย์) บางช่วงก็ต้องทำกรรมที่ส่งผลให้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน

    อ่อ

    ดังคำที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า
    “อนึ่ง ... จิตที่เป็นไปในภายในต่างโดยกรรม เพศ สัญญา และโวหารเป็นต้นในคติทั้งหลายอัน ต่างโดยความเป็นเทวดา มนุษย์ และสัตว์เดรัจฉานทั้งหมดนั่นแหละ พึงทราบว่า อันจิตนั้นเองกระทำแล้ว”
    “ความต่างกันแห่งคติของสัตว์ทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่ง กรรม สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า มี ๔ เท้า มีเท้ามาก มีรูป ไม่มี รูป มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ความต่างกันแห่ง ความอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย คือความสูงต่ำ เลวประณีต ไปสู่สุคติและ ทุคติ ย่อมปรากฏเพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม
    ความต่างกันในอัตภาพของสัตว์ทั้งหลาย คือความเป็นผู้มีผิวพรรณดีและผิวพรรณ ทราม ความเป็นผู้มีชาติดีและไม่ดี ความเป็นผู้ที่ทรวดทรงดีและไม่ดีย่อม ปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรม ความต่างกันในโลกธรรมของสัตว์ทั้งหลาย ในความมีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์ ย่อมปรากฏ เพราะอาศัยความต่างกันแห่งกรรมดังนี้”

    เหมือนว่านิยามทั้งหลายจะเกิดปรากฏแต่ผู้ใด เพราะกรรมนิยามเท่านั้นนะเจ้าคะ
    ดังพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    “เพศย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัญญา ย่อมเป็นไปเพราะเพศ สัตว์ทั้งหลายย่อมลงความ ต่างกันเพราะสัญญาว่า นี้เป็นหญิงหรือเป็นชาย สัตวโลกย่อมเป็นไปตาม กรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปตามกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ดุจ ลิ่มสลักเพลารถ ที่ไปอยู่ บุคคลย่อมได้เกียรติ ได้การสรรเสริญก็เพราะ กรรม ย่อมได้ความเสื่อม การถูกประหาร และการจองจำก็เพราะกรรม บุคคลรู้ความ ต่างกันแห่งกรรมนั้นแล้ว ไฉนเล่าจึงพูดว่ากรรมไม่มีในโลก”

    “ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิต สัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัต ประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไป จะเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่าง นี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น..
    ดูกรมาณพ .. ส่วนบุคคล.. ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้ มีความ ละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เขา ตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน..
    .. บุคคล.. เป็นผู้มีปรกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อน ไม้ หรือ ศาตรา เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีโรคมาก..
    .. บุคคล.. เป็นผู้มีปรกติไม่เบียดเบียนสัตว์.. เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีโรคน้อย..
    .. บุคคล.. เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธ เคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม..
    .. บุคคล.. เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ เคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ ปรากฏ เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนน่าเลื่อมใส..
    .. บุคคล.. มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การ ไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีศักดาน้อย..
    บุคคล.. เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีศักดามาก..
    .. บุคคล.. ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่ อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีโภคะน้อย..
    .. บุคคล.. ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่ อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีโภคะมาก..
    .. บุคคล.. เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้ อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ..
    .. บุคคล.. เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคนที่ ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ บูชา คนที่ควรบูชา เขาตายไป.. ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนเกิดในสกุลสูง..
    .. บุคคล.. ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อ ทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อทำย่อม เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีปัญญาทราม..
    .. บุคคล.. ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อ ทำย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไรเมื่อ ทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เขาตายไป.. ถ้ามาเป็นมนุษย์.. จะเป็นคนมีปัญญามาก
    ๑๐
    กรรมอะไรทำให้เกิดเป็นเพศหญิง และกรรมอะไรทำให้เกิดเป็นเพศชายค่ะ
    กรรมให้เกิดเป็นชายหรือแม้ปรารถนาเป็นหญิง ก็อาศัยจิตที่ตั้งไว้ ปรารถนาความเป็นชายและความเป็นหญิงนั่นล่ะ และการประกอบกุศลกรรมเนืองๆ เพื่อการได้ซึ่งเหตุนั้น โดยมากจิตยินดีในเพศใด ก็ให้กลายเป็นเพศนั้น
    คงพอสมควรนะ สำหรับคืนนี้

    ค่ะ ค่ะ
    ขอบคุณค่ะ
    ส่วนมากเขาว่าเกิดเป็นหญิงเพราะทำกรรมไม่ดีไว้มาก แต่นางวิสาขาล่ะ หรือท่านอื่นๆ ที่เป็นหญิงมาแล้วหลายชาติ ก็คงเพราะความติดในเพศหญิงมากกว่า

    ขอฝากพุทธภาษิตไว้ว่า
    กมฺมุนาวตฺตตีโลโกกมฺมุนาวตฺตตีปชา
    ๑๑
    โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม
    กมฺมนิพนฺธนาสตฺตารถสฺสาณีวยายโต
    สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ในกรรม เหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไปฉะนั้น
    กมฺมสฺสกามาณวสตฺตากมฺมทายาทากมฺมโยนีกมฺมพนฺธูกมฺมปฏิสรณา
    ๑๐
    ดูกรมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม
    มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
    กมฺมํสตฺเตวิภชติยทิทํหีนปฺปณีตตาย
    กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้

    API- เรียนรู้ใจตนเอง says:
    ครับ

    และขอฝากพุทธสุภาษิตเตือนใจไว้ว่า
    สุกรานิอสาธูนิอตฺตโนอหิตานิจยํเวหิตญฺจสาธุญฺจตํเวปรมทุกฺกรํ
    ๑๒
    กรรมใดที่ไม่ดี ไม่มีประโยชน์แก่ตน คนทำง่าย
    กรรมใดที่ดี และมีประโยชน์แก่ตน ทำได้ยากอย่างยิ่ง

    คืนนี้อาตมาขอลาล่ะนะ
    นมัสการท่านเอกชัย และขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมทุกคนที่ร่วมสนทนากันในคืนนี้ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง และมีจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน

    ขอบพระคุณครับ นมัสการครับ ขอบพระคุณมากเจ้าค่ะ
    กราบนมัสการพระอาจารย์ค่ะ
    ก่อนจาก ผมขอแสดงความคิดเห็น ปิดท้ายนิดหน่อยนะครับ
    การที่เราได้รู้ได้เห็นข่าวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ บนโลกใบนี้ และการที่เราได้มาร่วมกันฟังธรรมะจากท่านพระอาจารย์ รวมถึงการได้ศึกษาเรื่องราวของนิยาม กรรมและเหตุปัจจัยเหล่านี้ ซึ่งอาจจะตอบข้อสงสัยในใจได้มากน้อยก็ดี
    แต่พวกเราทั้งหลาย ก็อย่าได้ลืมจุดประสงค์หลักที่พระอาจารย์ และองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้กล่าวธรรมะต่าง ๆ เกี่ยวกับในเรื่องกรรม กฏแห่งกรรมเอาไว้ ก็เพื่อพวกเราชาวพุทธศาสนิกชนได้ศึกษาและนำไปปฏิบัติให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ให้เห็นความทุกข์ ที่หมู่สัตว์ต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสารด้วยอำนาจกรรม ที่เราไม่อาจหลีกหนีพ้น แม้ว่าจะไปอยู่ ณ ที่ใดๆ
    ศึกษาและปฏิบัติทั้งในเบื้องต้นก็เพื่อให้พวกเราเป็นคนดีของสังคม ในเบื้องปลายก็เพื่อให้เห็นแจ้งประจักษ์ชัด และเกิดความสลดสังเวช เบื่อหน่าย และต้องการหาทางออกจากทุกข์
    และเมื่อออกจากทุกข์ได้แล้ว ก็จะได้รับความสงบสุขภายในจิตใจ แล้วก็จะแผ่ความสงบสุขร่มเย็นอันนั้น ไปยังหมู่มวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

    ขอบคุณคับ

    สาธุจ๊ะ คุณนัฐพล
    RaBbIt::ไม่อยากไปทำงาน เจอหัวหน้าเจ้าอารมณ์เลย says:
    ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ ที่ช่วยให้ข้าพเจ้ารู้สึกดีขึ้น พร้อมต่อสู้กับปัญหาในวันพรุ่งนี้ ขอบคุณค่ะ

    ขอบพระคุณพระอาจารย์ และ ขอขอบคุณทุกท่านครับ
    กราบนมัสการลาพระอาจารย์ครับ

    ขอบพระคุณพระอาจารย์ และขอขอบคุณทุกๆ ท่านเช่นกันค่ะ
    กราบนมัสการพระอาจารย์เอกชัยด้วยครับ
    อาทิตย์หน้าเจอกันนะคะ ใครมีคำถามก็เมล์มาบอกไว้ก่อนได้นะคะ
    กราบลาเพื่อนๆ ญาติธรรมทุกๆ คนเลยนะครับ
    อาทิตย์ที่ ๒๔ เวลา ๒ ทุ่ม เจอกันค่ะ
    Ning says:
    กราบนมัสการ และลาทุกคนค่ะ

    ค่ะ ขอบคุณทุกๆ ท่านมากนะคะ กราบนมัสการพระเอกชัยด้วยค่ะ
    ข อ บ คุ ณ ผู้ จัด ด้วย คับ ป๋ม
    บ๊ายบาย
    นมัสการลาค่ะ
    นมัสการลาพระอาจารย์ทั้งสองครับ และลาทุกท่านด้วยครับ ขอบคุณครับ

    ขอบพระคุณพระอาจารย์ค่ะ
    ยินดีที่ได้รู้จักทุกท่านคับ


    [SIZE=-1]อ้างอิง
    ๑. ที.ม.อ.๑๓ หน้า ๑๐๐, อภิ.สํ.อ.๗๖ หน้า ๘๑
    ๒. ม.มู.๑๒/๙๕/๔๙, องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๕๒๙ พระธรรมคุณ ๖-อกาลิโก
    ๓. สงฺคห ปริจเฉทที่ ๑ หน้า ๒๓
    ๔. อตฺตโนมติ-ผู้บรรยาย
    [ธรรมดาธรรมชาติของจิตย่อมเหนี่ยวนำให้เกิดสิ่งที่ดีและไม่ดีขึ้น เมื่อใดอกุศลจิตมีกำลังกล้า เช่น มีความโลภจัด เป็นต้น ย่อมเป็นหตุแก่อกุศลวิบาก(บาป)ให้ผลเป็น “ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม” คือ ให้ผลทันตา เป็นเหตุให้ต้องประสบกับสิ่งร้ายๆ แม้ว่าโอกาสของกุศลวิบาก(บุญ)ในอดีตจะมีอยู่ก็ตาม ก็ถูกปิดกั้นไว้ด้วยอกุศลวิบากที่มีกำลัง เป็นเหตุให้กุศลวิบากไม่อาจส่งผลได้]
    ๕. ขุ.ชา.อ.๖๓ หน้า ๒๒ (เตมิยชาดก)
    ๖. ขุ.ธ.อ.เล่ม ๔๒ หน้าที่ ๕๔ เรื่องชน ๓ คน [๑๐๕]
    ๗. องฺ.ติก.๒๐/๕๗๖/๒๗๓ (อุปปาทสูตร)
    ๘. องฺ.จตุก.๒๑/๙/๙ (ตัณหาสูตร)
    [ผู้ที่มีตัณหาเป็นเพื่อน ย่อมท่องเที่ยวไปสู่ภพอื่นๆ จากภพนี้สู่ภพโน้น แล้วไม่สามารถก้าวพ้นไปจากสังสารวัฏฏ์อันยืดยาวนาน เพราะเป็นผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน, ภิกษุผู้มีสติสัมปชัญญะรู้โทษนี้ และรู้ตัณหาเป็นที่เกิดแห่งทุกข์ พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น ย่อมเว้นรอบ ฯ]
    ๙. อภิ.สํ.อ.๗๕ หน้า ๒๓๑
    ๑๐. ม.อุ.๑๔/๕๘๑/๒๘๗ (จูฬกัมมวิภังคสูตร)
    ๑๑. ม.ม.๑๓/๗๐๗/๔๘๙
    ๑๒. ขุ.ธ.อ.๔๒ หน้า ๒๑๖ เรื่องกระเสือกกระสนเพื่อจะทำลายสงฆ์ [๑๓๓][/SIZE]
    -----------------------------------------------------------------------
    ข้อมูลจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=dhammatree&group=10

    ;aa13
     
  4. cartoony

    cartoony Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +34
    นิยาม ๕ ตอนที่ ๓ สาระสำคัญของกรรมนิยาม (ตอนจบ)

    ธรรมะOn M. เรื่อง นิยาม ๕ ตอนที่ ๓ สาระสำคัญของกรรมนิยาม
    (วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๑) ตอนจบ

    ตัดต่อและเรียบเรียงโดย พระปิยะลักษณ์ ปัญฺญาวโร


    ---------------------------------------------------------------------------
    ห้องสนทนาธรรม on M.
    ---------------------------------------------------------------------------
    เป้ says:
    นิมนต์ท่านมหาสุเทพเจ้าค่ะ
    Moon says:
    อือๆๆๆ เอาพอประมาณนะ และก็ถามแบบธรรมดาๆ สามัญ อย่าให้ลึกจนต้องขุดหลุมตอบ และอย่าให้สูงจนต้องปีนกะไดตอบ
    เดี๋ยวขอแนะนำพระอาจารย์วิทยากรก่อนเจ้าค่ะ
    พระอาจารย์ปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโรเจ้าค่ะ
    ถวายคารวะครับ พระมหาสุเทพ อุปสมบท ๑๔/๕/๒๕๔๐
    พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
    นมัสการท่านมหาสุเทพครับ กระผม พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร วัดญาณเวศกวัน อุปสมบท ๒๖ ธ.ค.๒๕๔๒ ครับ
    แต่เกิดปีเดียวกัน ๒๕๑๖
    งั้นเรียกหลวงน้อง โดยพรรษา
    นิมนต์ครับ เรียกอย่างไรก็ได้
    เรียกท่านปิยะลักษณ์ดีกว่าครับ
    จะเริ่มดึงสมาชิกเข้าร่วมสนทนานะเจ้าคะ
    อ้าวๆ
    ร้อนเหรอ
    พระใหม่ยังไม่พร้อม
    เอาล่ะ โยมเป้ พร้อมแล้ว
    เชิญน้องแอมค่ะ
    walk says:
    นมัสการค่ะ พูดไม่ถูกนะค่ะ ขออภัย
    เชิญพี่ปานค่ะ นิมนต์ท่านเอกชัยเจ้าค่ะ
    นมัสการท่านเอกชัยครับ
    พระเอกชัยEmptiness does not mean Nothingness says:
    นมัสการพระอาจารย์ครับ
    เชิญคุณคนขับช้าค่ะ
    คนขับช้า-preephas@hotmail.com says:
    ครับ
    วันนี้คุยเรื่องอะไรดี
    นิมนต์เรียนถามท่านพระอาจารย์มหาสุเทพ ขยายความคำว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...