ประวัติอสีติมหาสาวก พบว่าพระอชิตะ ก็บรรลุอรหันต์ แล้วเกิดมาอีกเพื่อบำเพ็ญโพธิญาณ!

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย น้องหน่อยน่ารัก, 26 เมษายน 2007.

  1. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069

    วิสัชชนา :

    เหตุที่ไม่เกิดอีก เพราะสังโยชน์ 10 สิ้นไป กล่าวอีกนัยคือ ราคะ โทสะ โมหะ สิ้นไป
    เชื้อแห่งการเกิดคือ ราคะ โทสะ โมหะ ๆ หมดไปแล้ว จึงไม่มีเชื่อแห่งการเกิดอีก

    เปรียบกับไฟ 3 กองเราดับสิ้นแล้ว ชักท่อนฟืนอันเป็นเชื้อไฟทิ้งไปแล้ว ก็ไม่มีไฟกองนั้นอีกต่อไป

    คนเรามันมีกิเลสอยู่เพียงใดมันก็ยังแสวงหาภพชาติอยู่เท่านั้น
    ที่บอกว่าต้องการเป็นพระอรหันต์ หมายถึง ความต้องการหมดกิเลส ไม่มีความต้องการเกิดอีกต่อไป ต้องการดับไฟจ้าาา

    ด้วยเหตุแห่งกิเลสหมดไป จึงขึ้นชื่อว่าเป็น พระอรหันต์ แปลว่า ผู้สามารถประหารกิเลสให้สิ้นไป
    พระอรหันต์ จึง ไม่เกิดอีก ด้วยประการะฉนี้แล

    ที่ท่านปราถนาพุทธภูมิ หมายความว่า ต้องการเกิดมาสร้างบารมีจนกว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าเข้าสักวันจ้าาา
    พระโพธิสัตว์บารมีเต็ม จะทรงคุณธรรมสูงสุดแค่ โคตรภู เท่านั้น เหตุที่ทรงได้แค่นั้นเพราะมีจิตจับอยู่กับพระโพธิญาณ คือ ปราถนาเป็นพระพุทธเจ้า
    แต่ถ้า ไม่ต้องการเกิดอีก ตัดใจปราถนานิพพานในชาตินี้ เป็นพระสาวกแทน ก็จะได้ทันที

    จุดประสงค์ต่างกัน อย่าไปยำรวมมิตรนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2008
  2. นาคเสน55

    นาคเสน55 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    311
    ค่าพลัง:
    +682
    สำหรับพระอรหันต์ หากท่านเข้านิพพานเเล้ว

    ท่านก็เข้าเลยครับ ไม่กลับมาเกิดอีก


    เเต่หากเป็นอรหันต์เเล้วเเต่ยังต้องการดูเเล

    พระศาสนาอยู่ ก็ยังต้องอยู่ต่อ

    จนเมื่อจบกิจเเล้วตามที่ท่านได้ปาวรานาไว้

    จึงเข้านิพพานเลย


    ไม่ใช่หมายความว่า

    เป็อรหันต์เเล้วมาบำเพ็ญโพธิญาณต่อ

    หรือเข้านิพพานเเล้วกลับมาเกิดอีก อย่างนี้ไม่ถูกครับ


    เห็นด้วยกับคุณยายทองประสาครับที่ว่า


    พระโพธิสัตว์ ท่านยังคงไว้ซึ่งโคตรภูญาณ (ยังไม่ถึงโสดาบัน)

    จนกว่าจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

    เเล้วถึงจะบรรลุถึงอรหันต์มรรค อรหันต์ผล

    เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครับ


    ไม่ใช่เป็นอรหันต์เเล้วมาบำเพ็ญโพธิญาณอีก อันนี้เข้าใจผิดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กันยายน 2008
  3. ยกจิต

    ยกจิต สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +2
    ได้ความรู้มาก.....
     
  4. firsthand

    firsthand สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +7
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 272
    ก็ทุกขอริยสัจเป็นอย่างไร
    (ชาติปิ ทุกฺขา) แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์
    (ชราปิ ทุกฺขา) แม้ความแก่ ก้เป็นทุกข์
    (มรณมฺปิ ทุกฺขํ) แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์
    (โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา) แม้ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ความเสียใจ และความตรอมใจ ก็เป็นทุกข์
    (อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข) ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก ก็เป็นทุกข์
    (ปิเยหิ วปฺปโยโค ทุกฺโข) ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์
    (ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ) แม้ความไม่ได้สมปรารถนา ก็เป็นทุกข์
    (สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺ ขนฺธา ทุกฺขา) ย่อเข้าแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
    นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า ทุกขอริยสัจ.


    ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นอย่างไร.
    (อวิชฺชาปจฺจขา สงฺขารา) เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี สังขาร
    (สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ) เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
    (วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ) เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
    (นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ) เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
    (สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส) เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
    (ผสฺสปจฺจยา เวทนา) เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา

    (เวทนาปจฺจยา ตณฺหา) เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
    (ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ) เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
    (อุปาทานปจฺจยา ภโว) เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมี ภพ
    (ภวปจฺจยา ชาติ) เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมี ชาติ

    (ชาติปจฺจยา ชรามรณํ) เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี ชรามรณะ
    (โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ) โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
    (เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกขนฺธสฺส สมุทโย โหติ) เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
    นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.


    ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นอย่างไร.
    (อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ) เพราะอวิชชาดับไม่เหลือ สังขารก็ดับ
    (สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ) เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ
    (วิญฺญาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ) เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับนามรูป
    (นิโรธา สฬายตนนิโรโธ) เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ
    (สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ) เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ
    (ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ) เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ
    (เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ) เพราะเวทนาดับ ตัณหาก็ดับ
    (ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ) เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ
    (อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ) เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ
    (ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ) เพราะภพดับ ชาติก็ดับ
    (ชาตินิโรธา ชรามรณํ) เพราะชาติดับ ชรา มรณะ
    (โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุ ปายาสา นิรุชฺฌนติ) โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ก็ดับ
    (เอวเมตสฺส เกวลสฺส) กองทุกข์ทั้งมวลนั่นดับไป
    (ทุกฺขกขนฺธสฺส นิโรธ โหติ) ด้วยประการอย่างนี้
    นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.


    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร ?
    อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ
    สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
    สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
    สัมมาวาจา (วาจาชอบ)
    สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ)
    สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
    สัมมาวายามะ (เพียรชอบ)
    สัมมาสติ (สติชอบ)
    สัมมาสมาธิ(สมาธิชอบ)

    นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

    คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง ฯลฯ ไม่ค้าน คือ อริยสัจ ๔
    ดังนี้นี่ เราอาศัยความจริง อย่างมีทุกข์เป็นต้นนี้แลกล่าว.








    จบติตถสูตรที่ ๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...