พระพุทธเจ้าปลุกคนตายให้ลุกขึ้นตอบปัญหา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธนานุวัตร, 25 สิงหาคม 2008.

  1. ธนานุวัตร

    ธนานุวัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    224
    ค่าพลัง:
    +968
    เรื่องนี้คัดลอกมาจากหนังสือ "รวมเรื่องจริง อิงพุทธประวัติ - พระไตรปิฎก ปาฏิหาริย์พระพุทธเจ้า" โดย นพ นันทวัน




    เรื่องมีอยู่ว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับ อยู่ที่นิคมของมัลลกษัตริย์ชื่ออนุปิยนิคม ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นมัลละ ได้มีเจ้าชายลิจฉวีพระองค์หนึ่งนามว่า "สุนักขัตตะ" เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาด้วยจุดมุ่งหมาย ที่ไม่เหมือนใครนั่นคือ เพื่อต้องการเห็นพระพุทธเจ้าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ครั้นบวชแล้วเวลาล่วงเลยไปนานพอสมควร พระสุนักขัตตะไม่เห็น พระพุทธเจ้าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อะไรสักอย่างหนึ่ง อย่างที่ตนประสงค์จึงเกิดความเบื่อหน่าย คลายความเลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า ที่มีมาแต่แรกเสียหมดสิ้น พร้อมทั้งได้ประกาศความรู้สึกของท่าน ในที่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า ด้วยว่าท่านจะไม่บวช อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าต่อไป

    พระพุทธเจ้าเมื่อครั้นทรงทราบความต้องการ ของพระสุนักขัตตะอย่างนั้นแล้ว ต่อมาเมื่อย้ายมาประทับอยู่ที่นิคมของชาวขละ ชื่ออุตตรกาในแคว้นขละ วันหนึ่งจึงได้พาพระสุนักขัตตะ เสด็จออกเที่ยวบิณฑบาต ในหมู่บ้านอุตตรกา และในขณะที่เสด็จไปตามหมู่บ้านนั้น ก็ได้พบนักบวชเปลือยรูปหนึ่งชื่อ "โกรักขัตติยะ"

    โกรักขัตติยะ เป็นนักบวชเปลือยที่มีวัตรปฏิบัติแปลกประหลาด กล่าวคือประพฤติกุกกุรวัตร ทำตัวเยี่ยงสุนัขคลานสี่ขา ไปไหนต่อไหนมาด้วยอิริยาบถนั้นท่าเดียว มิหนำซ้ำยังชอบนอนตามสถานที่สกปรก เช่น ตามหลุมถ่านหรือไม่ก็ตามเตาไฟ ของชาวบ้าน ยิ่งไปกว่านั้นถึงคราวกินอาหาร ก็หาได้ใช้มือหยิบกินไม่ตรงกันข้ามกลับใช้ปากงับอาหาร และใช้ลิ้นเลียอาหารที่ตกเกลื่อนกลาดอยู่ตามพื้นดิน

    พระสุนักขัตตะ ซึ่งในขณะนั้นกำลังเดินบิณฑบาต ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามา พอได้เห็นนักบวชเปลือยโกรักขัตติยะ แสดงวัตรปฏิบัติเยี่ยงสุนัขเช่นนั้น ก็เกิดศรัทธาในตัวนักบวชเปลือยขึ้นมาทันที พลางคิดอยู่ในใจว่า ท่านผู้นี้ถ้าจะเป็นพระอรหันต์แท้ทีเดียว พระพุทธเจ้าทรงทราบความในใจของพระสุนักขัตตะนั้น และทรงดำริว่าสุนักขัตตะเริ่มเข้าใจผิดแล้ว ทั้งทรงเห็นต่อไปว่าความเข้าใจผิดนั้นถึงขั้นเป็นมิจฉาทิฐิ ซึ่งมีแต่จะทำให้พระสุนักขัตตะ ตกต่ำยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อเป็นการช่วยเปลื้องพระสุนักขัตตะให้พ้น ไปจากความเข้าใจผิด และโดยการที่ทรงเห็นว่าไม่มีทางอื่น ที่จะช่วยได้นอกจากการพยากรณ์ความจริง เกี่ยวกับนักบวชเปลือยรูปนั้น พระพุทธเจ้าจึงหันมาทางพระสุนักขัตตะ แล้วตรัสทำนายว่า

    "ในวันที่ ๗ นับจากวันนี้ไปนักบวชเปลือยคนนี้ จะตายด้วยโรคท้องขึ้น ครั้นตายแล้วก็จะไปเกิดในหมู่อสูรชื่อกาลัญชิกา นั้นนักบวชเปลือยจะไปเกิดในขั้นต่ำสุด ส่วนศพของเขาจะถูกนำไปทิ้งไว้ ในป่าช้าชื่อวีรณถัมภกะ"

    พอได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว พระสุนักขัตตะหาเชื่อไม่พร้อมทั้งคิด อยู่ในใจว่าตนได้โอกาสจับผิด พระพุทธเจ้าแล้ว ในคัมภีร์เล่าว่าความคิด ที่จะจับผิดพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ ของพระสุนักขัตตะนั้นรุนแรงมาก ถึงขนาดท่านแอบไปหา นักบวชรูปนั้น ในเวลาต่อมา แล้วเล่าเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ให้เขาทราบ พร้อมทั้งเตือนเขาให้กินอาหาร แต่พอประมาณเพื่อจะได้ไม่ต้องตาย อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัส

    แต่พอถึงวันที่ ๗ นักบวชเปลือยโกรักขัตติยะนั้น ก็เผลอลืมคำเตือนของพระสุนักขัตตะจึงกินอาหาร และน้ำเกินพอดี และปรากฏว่าในวันนั้นเอง อาหารที่กินเข้าไปมาก ก็เกิดเป็นพิษไฟธาตุในร่างกาย ไม่สามารถจะย่อยได้ทันที จึงทำให้โกรักขัตติยะ นั้นเกิดอาการท้องขึ้น และเสียชีวิตในที่สุด ศพของนักบวชเปลือยได้ถูกนำไปทิ้ง ไว้ที่ป่าช้าชื่อวีรณถัมภกะ เหตุการณ์ทุกอย่าง เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าทำนายไว้ทุกประการ

    พระอรรถกถาจารย์เล่าว่า ผู้ที่นำศพของโกรักขัตติยะ ไปทิ้งไว้ในป่าช้าแห่งดังกล่าวนั้น ก็คือพวกเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์นี้นับได้ว่าเป็นคู่แข่งพวกหนึ่ง ของพระพุทธเจ้าในสมัยนั้น พวกเดียรถีย์ได้คอยจับตาดูพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา และในขณะเดียวกันก็คอยจ้องทำลาย พระพุทธเจ้าไปด้วย เพื่อว่าประชาชนจะได้คลายความเชื่อความเลื่อมใส แล้วหันมานับถือพวกตนมากขึ้น การที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์โกรักขัตติยะ นี้ก็เช่นกับพวกเดียรถีย์ คอยติดตามความเป็นไป ของโกรักขัตติยะ อยู่ทุกขณะด้วยหวังใจอยู่ว่าถ้าโกรักขัตติยะไม่ตายขึ้นมาจริงๆ และเพื่อเป็นการกลบเกลื่อนเรื่องนี้เสีย ไม่ให้คนส่วนมาก ได้รู้จึงได้ช่วยกันเอาเถาวัลย์ มัดร่างที่ไร้วิญญาณ ของโกรักขัตติยะแล้วลากไปตั้งใจว่าจะทิ้งในป่าลึก แต่ครั้นผ่านมาถึงป่าช้าวีรณถัมภกะนั้นเถาวัลย์เกิดขาดพวกเขาจึงตัดสินใจทิ้งไว้ที่นั่นด้วยเห็นว่าไกลพอสมควรแล้ว

    พระสุนักขัตตะเองก็ได้ทราบ ถึงการตายของโกรักขัตติยะ ว่าเป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ทุกประการแต่ด้วยเห็นว่า ยังมีช่องทางที่จะจับผิดพระพุทธเจ้าได้อีก จึงไม่ยอมรับในความสามารถ ของพระพุทธเจ้า ช่องทางที่ว่านั้นก็คือ ยังไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ว่า โกรักขัตติยะตายแล้วไปเกิดในที่ไหน?

    พระพุทธเจ้าได้ทรงบอกท่าน ให้ไปถามนักบวชเปลือยด้วยตนเอง โดยทรงแนะนำว่าพอไปถึงศพของนักบวชเปลือยนั้นแล้ว ก็ให้เอาฝ่ามือเคาะที่ศพ ๓ ครั้งก่อนแล้วจึงค่อยถามว่า ท่านรู้หรือเปล่าว่าท่านไปเกิดที่ไหน?

    พระสุนักขัตตะได้ทำตามที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำ ทันใดนั้นเองก็ปรากฏว่า ศพของนักบวชเปลือยได้ลุกขึ้น เอามือปัดหลังพร้อมทั้งตอบว่ารู้ซิท่านข้าพเจ้าไปเกิด ในหมู่อสูรชื่อกาลัญชิกา และในหมู่อสูรชื่อกาลัญชิกา นั้นข้าพเจ้าก็ได้ไปเกิดอยู่ในชั้นต่ำสุด ครั้นตอบแล้วศพนั้นก็กลับล้มลงไปนอนหงายอยู่ตามเดิม
    เมื่อได้รับคำตอบอย่างนั้นแล้วพระสุนักขัตตะ ก็กลับมาหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามเป็นการสำทับว่า เห็นแล้วใช่ไหมสุนักขัตตะ สิ่งใดที่เราพยากรณ์แล้วจะมิเป็นอย่างอื่นเลยแม้แต่น้อย พระสุนักขัตตะก็ทูลรับว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า แล้วพระพุทธเจ้าจึงตรัสต่อไปว่า เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว เธอพอจะบอกได้ไหมว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นปาฏิหาริย์เหลือวิสัยที่คนธรรมดาจะทำได้เราได้ทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำ พระสุนักขัตตะก็กราบทูลว่า ทำแล้วพระเจ้าข้า
    ท้ายที่สุดพระพุทธเจ้าได้ตำหนิพระสุนักขัตตะอย่างรุนแรงว่า "โมฆบุรุษ แล้วอย่างนี้เธอยังจะมากล่าวว่าเรา มิได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์เหลือวิสัย ที่คนธรรมดาจะทำได้แก่เธอ เธอผิดถนัดเห็นไหมโมฆบุรุษ"
    ในการแสดงปาฏิหาริย์ครั้งนี้พระอรรถกถาจารย์เล่าว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงถึง ๕ ขั้นตอนด้วยกันคือ


    ขั้นตอนที่ ๑ ได้แก่ที่ตรัสว่า นักบวชเปลือยโกรักขัตติยะจะตายในวันที่ ๗ ปรากฏว่าตายจริง
    ขั้นตอนที่ ๒ ได้แก่ที่ตรัสว่า เขาจะตายด้วยโรคท้องขึ้น ปรากฏว่าตายด้วยโรคนั้นจริง
    ขั้นตอนที่ ๓ ได้แก่ที่ตรัสว่า เขาตายแล้วจะไปเกิดในหมู่อสูรชื่อกาลัญชิกา ปรากฏว่าไปเกิดในที่นั้นจริง
    ขั้นตอนที่ ๔ ได้แก่ที่ตรัสว่า ศพของเขาจักถูกนำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าวีรณถัมภกะ ปรากฏว่าถูกทิ้งในที่นั้นจริง
    ขั้นตอนที่ ๕ ได้แก่ที่ตรัสว่า ศพนั้นสามารถตอบปัญหาได้ ปรากฏว่าตอบได้จริง


    อนึ่ง ในการที่ศพของโกรักขัตติยะลุกขึ้นตอบปัญหาได้นั้น พระอรรถกถาจารย์วินิจฉัยว่าเป็นไปได้ ๒ ทางคือ

    ๑. พระพุทธเจ้าทรงนำเอานักบวชเปลือยนั้นมาจากสถานที่ที่เขาเกิดอยู่แล้วให้มาเข้าสิงในศพของตนเองแล้วตอบ
    ปัญหา

    ๒. หรือไม่ พระพุทธเจ้าเองนั่นแหละทรงใช้อำนาจบังคับให้ศพลุกขึ้นตอบตามที่ตนเองไปเกิด


    http://poonporn.com/story/story000070.html
     
  2. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    เคยอ่านในพระไตรปิฎกแล้ว
    ผมชอบตอน.......ศพพูด
     
  3. Noppadol.Ve

    Noppadol.Ve เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +245
    ชื่อกระทู้น่าสนใจมาก และพอได้อ่านเรื่องราวในพระสูตรนี้ ก็ยิ่งน่าสนใจมากขึ้น
    (แต่ไม่ทราบว่าอยู่ในพระสูตรใดครับ)
    คงจะจดจำเรื่องนี้ไปตลอดกาลนานเลยเชียวครับ
    ขออนุโมทนาสาธุครับ
     
  4. junior phumivat

    junior phumivat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,346
    ค่าพลัง:
    +1,688
    ผู้ถาม : เมื่อทำบุญแล้ว ถ้าจะอุทิศส่วนกุศลภายหลังจะได้ไหมคะ...........?
    หลวงพ่อ : การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปี ๆ บุญก็ยังมีอยู่ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปี ก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญมันไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้ว เดี๋ยวเดียวมันหายไปไม่ใช่อย่างนั้นนะ
    ผู้ถาม :แล้วถ้าเผื่อทำบุญแล้ว ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลจะได้บุญเต็มที่ไหมคะ...?
    หลวงพ่อ : ก็ได้เต็มที่อยู่แล้ว เราเป็นผู้ได้สมบูรณ์แบบ แต่อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ การอุทิศส่วนกุศล นี่นะ ถ้าเราไม่ให้ เราก็กินคนเดียวใช่ไหม..... ทีนี้ถ้าเราให้เขาของเราก็ไม่หมดอีก ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม อย่างเรื่องของ พระอนุรุทธ สมัยที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี เวลาที่ท่านทำบุญแล้ว เจ้านายขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญน่ะจะแบ่งได้ไหม จึงไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ท่านรับบาตรนะ ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า

    "สมมุติว่าโยมมีคบ แล้วก็มีไฟด้วย คนอื่นเขามีแต่คบ ไม่มีไฟ ทุกคนต้องการแสงสว่าง ก็มาขอต่อไฟที่คบของโยมแล้วคบทุกคนสว่างไสวหมด อยากทราบว่าไฟของคุณโยมจะยุบไปไหม....?
    ท่านอนุรุทธก็บอกว่า ไม่ยุบ
    แล้วท่านก็บอกว่า "การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน ให้เขา เขาโมทนา แต่บุญของเราเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์"


    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ




    ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงพบแล้ว ขอธรรมนั้น จงสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายโดยเร็วด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอเธอเมื่อใด ขอให้เธอได้อนุโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้า ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
     
  5. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,334
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,277
    พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้แจ้งทุกอย่างในโลกนี้ ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก สาธุ
     
  6. boontar

    boontar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,717
    ค่าพลัง:
    +5,514
    ผมเอาข้อความในพระไตรปิฎกมาแถมให้ครับ
    .................................................




    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค</CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    ไปจากธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์อบาย เหมือนสัตว์นรก ฉะนั้น ฯ [๔] ดูกรภัคควะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่นิคมแห่งชาวถูลูชื่ออุตตรกาในถูลูชนบทครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า เรานุ่งแล้วถือบาตรและจีวร มีโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะเป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปบิณฑบาตที่อุตตรกานิคม สมัยนั้น มีอเจลกคนหนึ่งชื่อโกรักขัตติยะ ประพฤติอย่างสุนัข เดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปาก ดูกรภัคควะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เห็นแล้วจึงคิดว่าเขาเป็นสมณะอรหันต์ที่ดีผู้หนึ่ง ครั้งนั้น เราได้ทราบความคิดในใจของโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะด้วยใจแล้ว จึงกล่าวกะเขาว่า ดูกรโมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอก็ยังจักปฏิญาณตนว่าเป็นศากยบุตรอยู่หรือ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนพระผู้มีพระภาคจึงตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่าดูกรโมฆบุรุษ แม้คนเช่นเธอ ก็ยังจักปฏิญาณตนว่าเป็นศากยบุตรอยู่หรือ ฯ ดูกรสุนักขัตตะ เธอได้เห็นโกรักขัตติยอเจลกคนนี้ ซึ่งประพฤติอย่างสุนัขเดินด้วยข้อศอกและเข่า กินอาหารที่กองบนพื้นด้วยปาก แล้วเธอจึงได้คิดต่อไปว่า เขาเป็นสมณะอรหันต์ที่ดีผู้หนึ่งมิใช่หรือ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคยังทรงหวงพระอรหันต์อยู่หรือ ฯ ดูกรโมฆบุรุษ เรามิได้หวงพระอรหันต์ แต่ว่า เธอได้เกิดทิฐิลามกขึ้นเธอจงละมันเสีย ทิฐิลามกนั้นอย่าได้มีแก่เธอ เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและเพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน อนึ่ง เธอย่อมเข้าใจโกรักขัตติยอเจลกว่า เป็นสมณะอรหันต์ที่ดีผู้หนึ่ง อีก ๗ วัน เขาจักตายด้วยโรคอลสกะ <SUP>๑-</SUP> ครั้นแล้ว จักบังเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา <SUP>๒-</SUP> ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง และจักถูกเขานำไปทิ้งที่ป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ และเมื่อเธอประสงค์อยู่ พึงเข้าไปถามโกรักขัตติยอเจลก-*ว่า ดูกรโกรักขัตติยะผู้มีอายุ ท่านย่อมทราบคติของตนหรือ ข้อที่โกรักขัตติย-*อเจลกพึงตอบเธอว่า ดูกรสุนักขัตตะผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบคติของตนอยู่ คือข้าพเจ้าไปเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง ดังนี้ เป็นฐานะที่มีได้ ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้เข้าไปหาโกรักขัตติยอเจลกแล้วจึงบอกว่า ดูกรโกรักขัตติยะผู้มีอายุ ท่านถูกพระสมณโคดมทรงพยากรณ์ว่าอีก ๗ วัน โกรักขัตติยอเจลกจักตายด้วยโรคอลสกะ แล้วจักบังเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง และจักถูกเขานำไปทิ้งที่ป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ ฉะนั้น ท่านจงกินอาหารและดื่มน้ำแต่พอสมควร จงให้คำพูดของพระสมณโคดมเป็นผิด ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้นับวันตั้งแต่วันที่ ๑ ที่ ๒ ตลอดไปจนครบ ๗ วัน เพราะเขาไม่เชื่อต่อพระตถาคต ครั้งนั้นโกรักขัตติยอเจลก ได้ตายด้วยโรคอลสกะในวันที่ ๗ แล้วได้ไปบังเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง และถูกเขานำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะ ได้ทราบข่าวว่า โกรักขัตติยอเจลกได้ตายด้วยโรคอลสกะ ได้ถูกเขานำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ ครั้นแล้วจึงเข้าไปหาศพโกรักขัตติยอเจลกที่ป่าช้าชื่อวีรณัตถัมภกะ แล้วจึงเอามือตบซากศพเขาถึง ๓ ครั้ง แล้วถามว่า ดูกรโกรักขัตติยะ ท่านทราบคติของตนหรือ ครั้งนั้นซากศพโกรักขัตติยอเจลกได้ลุกขึ้นยืนพลางเอามือลูบหลังตนเองตอบว่า ดูกรสุนัก-*ขัตตะผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบคติของตนอยู่ คือข้าพเจ้าไปบังเกิดในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกา ซึ่งเลวกว่าอสุรกายทั้งปวง ดังนี้ แล้วล้มลงนอนหงายอยู่ ณ ที่นั้นเอง<SMALL>@๑. โรคนี้เกิดเพราะกินอาหารมากเกินไป ไฟธาตุไม่ย่อย และเพราะธาตุที่ทรมานตนโดย</SMALL><SMALL>@คลานไปด้วยศอกและเข่า ๒. อสูรพวกนี้ มีตัวสูง ๓ คาวุต มีเนื้อและโลหิตน้อย</SMALL><SMALL>@เช่นใบไม้แก่ มีตาติดบนศีรษะคล้ายตาปู มีปากเท่ารูเข็มบนศีรษะ ทั้งกินอาหาร</SMALL><SMALL>@ด้วยปากเล็กๆ นั้น ฯ</SMALL> ดูกรภัคควะ ครั้งนั้น โอรสเจ้าลิจฉวีชื่อสุนักขัตตะได้เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เราได้กล่าวกะเขาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่าสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน วิบากนั้นได้มีแล้ว เหมือนดังที่เราได้พยากรณ์โกรักขัตติยอเจลกไว้แก่เธอ มิใช่โดยประการอื่น ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากนั้นได้มีแล้ว เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ โกรักขัตติยอเจลกไว้แก่ข้าพระองค์ มิใช่โดยประการอื่น ฯ ดูกรสุนักขัตตะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ อิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ ชื่อว่าเป็นคุณอันเราได้แสดงไว้แล้วหรือมิใช่ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นอันทรงแสดงไว้แล้ว แน่นอน มิใช่ไม่ได้ทรงแสดงไว้ ฯ ดูกรโมฆบุรุษ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอยังจะกล่าวกะเราผู้แสดงอิทธิปาฏิ-*หาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยอดเยี่ยมของมนุษย์ แก่ข้าพระองค์ดังนี้ ดูกรโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า ข้อนี้ เป็นความผิดของเธอเท่านั้น ดูกรภัคควะโอรสเจ้าลิจฉวีชื่อว่าสุนักขัตตะ ถูกเรากล่าวอยู่อย่างนี้ ได้หนีไปจากพระธรรมวินัยนี้ เหมือนสัตว์ผู้ควรเกิดในอบาย เหมือนสัตว์ผู้ควรเกิดในนรก ฉะนั้น ฯ<CENTER></CENTER>




    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ บรรทัดที่ ๑๐๑ - ๑๖๒. หน้าที่ ๕ - ๗.http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=101&Z=162&pagebreak=0 อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=11&item=4&items=1&preline=1 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๑</U>http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=11&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD<CENTER></CENTER>




    </PRE>
     
  7. firsthand

    firsthand สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +7
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ( เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 1 )

    ปาฏิกสูตร
     

แชร์หน้านี้

Loading...